วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[Article] 'Noi Jaiya' the famous musical of Lanna Thai





[Article] “Noi Jaiya” the famous musical of Lanna Thai.
Roytavan : WriterCr. - Picture Drawing by http://www.banjenjira.com/


Before the turn of the 20th century, the Lanna kingdom of northern Thailand enjoyed considerable political power and prestige. One indicator was the development of a rich body of music that is particular to northern Thailand, and often played on instruments only found in the north. Since the mid-1970s, there has been a resurgence of interest in the cultural legacy of Lanna.

One of many lanna music is “Noi Jaiya” the famous tradition song of “Charan Manopeth” a singer and songwriter, who charmed Thai audiences with his sweet guitar and the fascinating simplicity of his Lanna-style folk music. He will be remembered for promoting Lanna musical and social culture through such outstanding works as “Mida”, “Dear Big Sister”, “Reward for Dreamers” and “Noi Jaiya”.“Noi Jaiya” the musical play was performed for the first time in Chiang Mai on Chao Dararassamee”s (The consort of Phar Chula Chomklao Choyuhua, King Rama V) birthday in around 2460. It was composed by Tao Sunthornpojanakit, the royal poet of Chao Intawarorot. Tao Sunthornpojanakit presented the “Noi Jaiya” script to Jao Dararassamee, who edited this version to her highness”s satisfaction before its most famous rehearsal.

Later, Princess Artorntipayanipa in the reign of King Rama V had this play performed in Suan Sunanta Palace, whereby it really impressed the royal audience. Hence thereafter it became a highly renowned musical. Regrettably , the entire original play script by Tao Sunthornpojanakit, the one edited by Jao Dararassamee vanished, and had never been found. As a result, we don”t actually know where else the whole “Noi Jaiya” play was performed.



Today, most people assume that “Noi Jaiya” is just a local musical performance, without discerning its origin as a “real” love story between Noi Jaiya and Wan Kaew. The typical “Noi Jaiya” version that we still see from time to time, is actually just a fragment of the whole story. It contains only the scene when Noi Jaiya meets up with Wan Kaew at Huay Kaew waterfall, where Noi Jaiya expresses his disapproval toward the engagement rumor between Wan Kaew and Sang nanta.

The story of “Noi Jaiya - Wan Keaw” about the young lad of Baan Jang Katum has secretly fallen in love with “Wan Kaew” the maiden of Baan Wua Lai. Yet Wan Kaew”s parents have areed to give her away to “Sang Nanta” the teak merchant from Baan Wang Sing Khum.

This understandably devastated Wan Kaew, so she arranged to meet with Noi Jaiya, her lover, to tell him of her proposed fate. The pair gathered in hope at Huay Kaew waterfall, which wa an exceptionally beautiful natural setting at the time.

As Noi Jai learns of this terrible news, Wan Kaew comforts her lover by telling him that there has yet to be the farmal engagement between her and Sang Nanta. She confirms her true love for him, stating that she arranged that days meeting, because she lives in hope there is a solution to their dilemma.

Subsequently Noi Jaiya asks his parents to arrange to formal proposal ceremony for Wan Kaew, before Sang Nanta”s parents do. Their plan works, and fortunately Noi Jaiya wins the hand of his true love, Wan Kaew.


“Noi Jaiya” the famous musical of Lanna Thai.



[บทความ] บทละครเรื่อง "น้อยใจยา - แว่นแก้ว" ที่มาของเพลง "น้อยใจยา" อันเลื่องชื่อของชาวล้านนา


[บทความ] บทละครเรื่อง "น้อยใจยา - แว่นแก้ว" ที่มาของเพลง "น้อยใจยา" อันเลื่องชื่อของชาวล้านนา
Cr. - ภาพวาดจาก http://www.banjenjira.com/



เรื่องราวของ "น้อยใจยา-นางแว่นแก้ว" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเคยฟังและทรงประทับใจ จึงทรงอาชื่อ “นางแว่นแก้ว” ไปเป็นพระนามแฝงว่า “แว่นแก้ว” นั่นเอง

"น้อยใจยา - แว่นแก้ว" เป็นบทละครที่ท้าวสุนทรพจนกิจ (ใหม่ บุญมา) กวีประจำราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประพันธ์ขึ้นถวาย (ตามที่พระราชชายาทรงผู้เรื่อง) และประทานอนุญาตแสดงในโอกาสคล้ายวันประสูติ (ครบ 60 พรรษา แสดงที่วัดสวนดอก) ซึ่งพระราชชายาทรงแกัไขบทบางตอนให้เหมาะสม พร้อมกับทรงประพันธ์คำร้องประกอบทำนองเพลง พื้นเมืองเดิมของล้านนา ได้แก่ ซอทำนองล่องน่าน ซอทำนองเงี้ยวลา ละครจัดแบ่งเป็นฉาก ๆ คือ ฉากห้วยแก้ว ฉากบ้านท้าวไชยลังกา และฉากบนศาล

เรื่องราวของ "น้อยใจยา - แว่นแก้ว" เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มชาวบ้านชื่อ “น้อยใจยา” (คนเมืองเวลาบวชเป็นเณร เมื่อสึกออกมาจะนำหน้าว่า “น้อย” นำหน้า ส่วนถ้าสึกจากพระ จะเรียกว่า “หนาน”) ได้รักชอบพอกันกับ “นางแว่นแก้ว” ลูกสาวคหบดี แต่ว่าตางบ้านนางแว่นแก้วได้หมั่นหมายนางแว่นแก้วไว้กับ “ส่างนันตา” พ่อค้าชาวปะหล่องตองสู (พม่า)

ข่าวนี้ก็ไปเข้าหูน้อยใจยา น้อยใจยาเลยนัดนางแว่นแก้วมาสอบถามความจริง พอซักถามความจริงแล้วน้อยใจยาก็รู้ว่า แท้จริงแล้วนางแว่นแก้วได้รักน้อยใจยาอย่างแนบแน่น จึงตัดสินใจที่จะพากันหนี แต่หนีได้ไม่นานเท่าไร พ่อของนางแว่นแก้วกับส่านนันตา ก็พาคนออกติดตาม จนพบทั้งสองในที่สุด เรื่องราวก็เลยขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อให้ศาลตัดสินปัญหาความรักในครั้งนี้ ส่างนันตาหาว่าน้อยใจยา ได้ลักคู่หมั้นหนีไป แต่พอซักถามไปมา ตัวน้อยใจยากับนางแว่นแก้วก็ชนะความ ทำให้ทั้งสองคนก็ได้แต่งงานกันในที่สุด

ส่วนเนื้อเพลงที่เอามาลงไว้เป็นการตัดพ้อกันต่อว่าระหว่าง น้อยใจยากับนางแว่นแก้ว เป็นการใช้ภาษาได้อย่างสวยงาม และมีการถามความไปมาของเรื่องราวข่าวลือการหมั้น และมาถามว่าจริงไหม มีการตัดพ้อระหว่างคนรัก สุดท้ายนางแว่นแก้วก็ตอบรักน้อยใจยาอย่างไม่มีอะไรแอบแฝง ดังเช่น ในท่อนหนึ่งนางแว่นแก้ว ร้องว่า "ใจ๋คำญิง นี้หนิมเตี่ยงมั่น ….บ่เป๋นหองเปิ้น..คนใด…ยังเป๋นกระจก แว่นแก้วเงาใส …บ่ไหวคลอนเงี่ยง จาย เหนอ"





เนื้อเพลง "น้อยใจยา"

...(..ชาย.)
ปวง ดอกไม้ เบ่งบานสลอน....
ฝูงภมร ภู่ผึ้งสอดไซร้
ดอกพิกุลของเปิ้นต้นใต้
ลมปัดไม้มาสู่บ้านตู๋
ฮู้แน่ซัดเข้าสอดสองหู
ว่าสีจมปู ถูกป้อมเก๊าเนิ้ง....
เก๊ามันต๋าย ป๋ายมันเซิ่ง
ลำกิ่งเนิ้ง ต๋ายโก่นตวยแนว
ดอกพิกุล ก่คือดอกแก้ว
ไปเป๋นหองเปิ้น แล้ว เหนอ

...(.หญิง.)
แปม เก๊าเนิ้ง กิ่งมันบ่ถอน....
บ่ไหวคลอนเฟือนเตี่ยงมันแต้เล่า
ต๋ามกำลม เปิ้นปัดออกเข้า
มีแต่เก๊า ไหวหวั่นคลอนเฟือน
กิ่งมันแต้ บ่แซสะเหลือน
บ่เหมือนลมเจย
ลำเพย ก่จะนั้น....
ใจ๋คำญิง นี้หนิมเตี่ยงมั่น
บ่เป๋นหองเปิ้น..คนใด
ยังเป๋นกระจก แว่นแก้วเงาใส
บ่ไหวคลอนเงี่ยง จาย เหนอ

...(.ชาย..)
ตั๋ว ปี้น้อยจักขอถาม....
ต๋าม กำลมเปิ้นมาเล่าอู้
ว่านายมีจู้ อยู่บ้านวังสิงห์คำ
ฝ่ายตางปู้นเปิ้นมาใส่ผะจ๋ำ
บ้านวังสิงห์คำ เปิ้นมาหมั้นก่ไว้แล้ว....
ตางฝ่ายปั๋นตั๋ว น้องนางแว่นแก้ว
ก่ตกลงแล้ว บ่ไจ่กาหา
เปิ้นจะกินแขก แต่งก๋านก่วิวาห์
เมื่อใดจา ปี้น้อยไคร่ฮู้เก้า....
ส่วนใจยาบ่สมเปิงเจ้า
เพราะเขียมเข้าของ..เงินทอง
ฝ่ายตางนาย บ่หมายเกี่ยวข้อง
มาละหมองต่ำ ก้อย เหนอ

...(.หญิง.)
ตั๋ว น้องนี้บ่ลาไหลหลง....
ก๋านตกลงก่ยังบ่แล้ว
จึงเจิญตั๋วปี้มาห้วยแก้ว
เพราะใคร่ฮู้กำฟู่กำจ๋า
จึงเจิญน้อย ปี้มาเปิกษา
จะว่าใดจา ตั๋วน้องก่ไคร่ฮู้....
ก๋านตี้มาฟู่อู้
จะเอาเป็นจู้กาว่าเอาเป๋นเมีย
หรือจักลบล้างลืมลายหน่ายเสีย
บ่เอาเป๋นเมีย
หรือจักทิ้ง เสียแล้ว....
หรือเอาเป๋น เมียนางจ้างแก้ว
อยู่เป๋นกู้ ข้างเตียมคิง
ขอบอกนายหื้อแน่ใจ๋จริง
บ่อำพรางนาถ น้อง เหนอ

...(..ชาย.)
บ่จุ๊หรอกน้อง หื้อหม่นหมองหมาง..
บ่ล่อลวงพรางแม่นางฮ้างแค้ว
ปี้หมายเอาเป๋นเมียนางจ้างแก้ว
บ่หื้อคลาดแคล้วเรื่องกำสีเนห์
หลอนแก้วน้องใจยังบ่เหว
เตี่ยงสมคะเน เหมือนปี้กึ๊ดเล่า....
หลอนปี้จุ๊ก็ยังล่ายเจ้า
ขอหื้อฟ้าผ่าหัวแม่เมียตาย
ลูกแม่ญิง อู้เล่นก่บ่ดาย
ลูกป้อจาย อู้แต้ก่บ่ปัง....
หลอนนายต๋ายไปเป๋นไก่ตั้ง
ปี้น้อยจักต๋ายเป็นพื้น
ฟู่บ่ถูก วันฟูกก่บ่ขืน
ฟู่ม่าคืนตึงบ่ขืนเมื่อจ้าว....
ก๋านฮักกั๋นหองข้าตึงเจ้า
เผียบเหมือนเหล้า..กับปาง
ปากกำไดปี้ก็ตึงอ้าง
บ่ไจ่จางจาก น้อง เหนอ

...(.หญิง.)
หลอน ว่าแต้เหมือนดั่งกำจา....
น้องขอสัญญากับตั๋วปี้น้อย
บ่ขอฮักไผ ซักเต้ากึ่งก้อย
ขอฮักปี้น้อย ใจยานี้ก่คนเดียว
คนอื่นนับร้อยตึงบ่แลบ่เหลียว
จะขอฮักเดียวจายเดียวก่เต้านี้....
หลอนว่าน้องจุ๊หรือสัปปะรี้
ขอหื้อฟ้าผ่าหัวพ่อผัวต๋าย
ลูกแม่ญิงบ่ไจ่ว่าบ่ดาย
ลูกป้อจายขี้จุ๊ก่แต้ๆ....
กิ๋นก่ยังตึงแก้ สะเรียมยำใส่แย้
บะเขือแจ้ยำใส่เตา
หลอนปี้น้อยใจยาฮักแต้ข้าเจ้า
ก็ยินดีจิ่ม แต้ เหนอ...

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[Article] The legend of "Chao Luang Kham Daeng" and "Chiang Dao Cave"





[Article] The legend of "Chao Luang Kham Daeng" and "Chiang Dao Cave"Roytavan : Writer
The cave of Chiang Dao is located 70 kilometres north of Chiang Mai on the road to Fang. The Chiang Dao Caves penetrate in to the Doi Chiang Dao which is a massive outcrop of rock rising to a height of 2,175 metres to be the third highest in Thailand. The mountain is usually shrouded in cloud and the area is home to Lisu, Lahu and Karen villages.

The Caves have had a significant presence for the locals for over 1,000 years as is evident by the ancient Shan Chedi near the entrance and the folklore surrounding the Caves. The caves are venerated by the Thai and Shan people as is evidenced by the offerings, statues and decorations present at the entrance and inside. At various locations within the Caves are small temples and statues of the Buddha.

Chiang Dao shelters beneath the impressive bulk of Doi Chiang Dao, a massive outcrop of rock which rises steeply over the town to a height of 2,175 metres. The peak Thailand's third highest is usually shrouded in clouds, and is home to a number of hilltribe villages, including Lisu, Lahu and Karen settlements.




The legend of "Chao Luang Kham Daeng"
In a region where animism and Buddhism intertwine, belief in ghosts and protective spirits is still common. In Chiang Mai, it is believed that sacred spirits, called phi, watch over the city and protect its residents from misfortune.

One of the oldest and most important of the protective spirits in Chiang Mai is a being known as "Chao Luang Kham Daeng". An present day example of this old belief of spirits is the legend of "Chao Luang Kham Daeng", a royal spirit of Chiang Dao and his subordinate spirits who governed the Mount of Chiang Dao for many hundreds of years and abode in Chiang Dao cave. Their power prevails in the upper Chiang Mai and Lamphun basin as one can find shrines of "Chao Luang Kham Daeng" and spirit houses of subordinates in many communities. During the Songkran festival, many communities, such as Ban Mae Na in Chiang Dao district, will hold a ceremony to worship Chao Luang Kham Daeng. The spirit will be invited to remove sufferings and bless people with happiness.

It is widely believed that he dwells in the Chiang Dao Mountain, along with his spirit-wife, Nang In Lao. Largely by virtue of the marriage to his indigenous partner, Lanna people believe him to be Lord of the Spirits of the region, his name always invoked first in local ceremonies.




Stories about his human existence, when he was a prince of Payao, are to be found in the famous local chronicles, the "Dumnarn and Pongsawadan". According to these written, as well as the oral, sources the young ruler made the pledge to capture an elusive deer, but was exiled because he failed to do so.

However, having continued to follow the deer, he eventually reached Chiang Dao, where it turned into a bewitching beauty whom he fell in love with. Not realizing how he had been beguiled, however, he later continued on the trail of the deer down to where Chiang Mai now stands, following the advice of a reusi (hermit) there that this was a particularly auspicious location for settlement. Having married into the Lua aristocracy of the locality, and fathered a large family, Suwanna Khamdaeng - as he is also known - returned to Chiang Dao cave and is still believed to be living there and protecting those who honour him appropriately, with his eternally bewitching shape-shifting (now deer, now human being) wife, Nang In Lao.

A pavilion honouring this spirit is to be seen close to the cave entrance.












...ตำนานเจ้าหลวงคำแดงและถ้ำเชียงดาว...



...ตำนานเจ้าหลวงคำแดงและถ้ำเชียงดาว...

เรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นอมตะคู่กับดอยหลวงเชียงดาว คงจะไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม "ตำนานเจ้าหลวงคำแดง" และ "ตำนานถ้ำเชียงดาว" ซึ่งร้อยเรียงผสมผสานกับความเชื่อของคนท้องถิ่นได้อย่างลงตัว

ตำนานเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่องราวด้วยกัน แม้จะมีความต่างในรายละเอียด ทว่าหากพิจารณาให้ถึงแก่นแล้ว เจ้าหลวงคำแดงก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งขุนเขา เป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เป็นที่เคารพ สักการะ ของชาวเหนือ อย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และถ้ำเชียงดาวซึ่งเชื่อกันว่า เป็นเมืองเทวาของเจ้าหลวงคำแดง ตั้งอยู่ด้านหน้าของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นขุนเขาที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของผีเมืองเชียงใหม่ทุกองค์ตั้งแต่ก่อนพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ผีเมืองเชียงใหม่มีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประธานใหญ่กว่าผีเมืองทั้งหมด






มีเรื่องเล่าว่าทุกวันพระผีทุกผีในเมืองเชียงใหม่จะต้องไปร่วมเฝ้าและประชุมที่ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งในถ้ำเชียงดาวจะมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นห้องประชุม ในวันนั้นผีจะไม่เข้ามาหลอกหลอนชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ผีเมืองที่ดอยหลวงเชียงดาวได้เก็บข้าวจากชาวนาทุกคนที่วางไว้เซ่นไหว้พระแม่โพสพและเป็นค่าน้ำหัวนา ซึ่งจะนำข้าวไปวางไว้ที่หัวนาก่อนที่ชาวนาจะนำข้าวมาใส่ในยุ้งฉาง ข้าวเหล่านี้ผีดอยจะนำมากิน แล้วจะเหลือเพียงเปลือกหรือแกลบไว้ซึ่งจะเก็บเปลือกข้าวหรือแกลบไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทางทิศใต้ไม่ไกลจากดอยหลวงเชียงดาวชื่อว่า "ถ้ำแกลบ"ความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหลวงมิเพียงแต่ชาวบ้านจะเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว พระสงฆ์ในเขตล้านนาก็ได้แต่งและคัดลอกคัมภีร์ใบลานชื่อ ตำนานถ้ำเชียงดาวไว้หลายสำนวน ทั้งที่พบในเชียงใหม่และเมืองอื่นๆที่ห่างไกลออกไป เช่น ที่เมืองน่าน เป็นต้น




...เจ้าหลวงคำแดงเจ้าตำนาน…แห่งอมตะนิยาย
มีหลายเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงเป็นไปในลักษณะของ อมตะนิยายพิศวาส อาทิ เล่าเป็นนิยายปรัมปรายุคต้นพุทธกาล กล่าวถึง

สมเด็จองค์อัมรินทราธิราชเจ้า ประมุขแห่งปวงเทพเทวาได้ดำริให้จัดทำสิ่งวิเศษเพื่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอาริยะเมตตรัยที่จะมาตรัสรู้พระสัจธรรมในอนาคต ได้เล็งเห็นว่าถ้ำเชียงดาวเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาของวิเศษเหล่านั้น เพราะลึกเข้าไปในถ้ำจนสุดประมาณมิได้ เป็นเมืองแห่งพวกครึ่งอสูรกาย เรียกว่าเมืองลับแล มีความเป็นอยู่ล้วนแต่เป็นทิพย์ ผู้คนทั้งหลายในมนุษย์โลกธรรมดาที่เต็มไปด้วยกิเลสยากนักที่จะเข้าไปพบเห็นได้ เพราะมีด่านภยันตรายต่างๆมากมายหลายชั้นกั้นขวาง ไว้เป็นอุปสรรค

มียักษ์สองผัวเมียบำเพ็ญภาวนารักษาศีลเพราะได้ปฏิบัติตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีนางผู้เลอโฉมนามว่า "อินเหลา" อยู่ปรนนิบัติบิดามารดาผู้ทรงศีลทั้งสอง จนวันหนึ่งได้พบกับ เจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ยุวราชหนุ่ม ซึ่งเสด็จมาประพาสป่าจากแค้วนแดนไกล ได้บังเกิดความหลงใหลในความงามของนาง ก็ได้พยายามติดตามนางไปจนถึงถ้ำเชียงดาว และทิ้งกองทหารของพระองค์ไว้เบื้องหลัง จากนั้นก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ว่ากันว่าเจ้าหลวงสุวรรณคำแดงอยู่ครองรักกับเจ้าแม่อินเหลาที่ถ้ำเชียงดาวนั่นเอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าจะมีเสียงดังสะเทือนจากดอยหลวงเชียงดาว ปรากฏเป็นลูกไฟ ขนาดลูกมะพร้าว สว่างจ้าพุ่งหายไปในดอยนางซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งมีความเชื่อว่า เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงลั่นอะม็อกไปเยี่ยมเจ้าแม่อินเหลาที่ดอยนาง




นอกจากนี้ยังมีตำนานเจ้าหลวงคำแดง จากเอกสารที่เขียนขึ้นโดย พระมหาสถิตย์ ติกขญาโณ กล่าวไว้ว่า
พระผู้เป็นเจ้าได้ปกาศิตให้เทวดายักษ์ตนหนึ่งนามว่า เจ้าหลวงคำแดง กับบริวาร 10,000 คนมารักษาของวิเศษในถ้ำเชียงดาว เพื่อรักษาไว้ให้ พระเจ้าทรงธรรมมิกราชใช้ปราบมนุษย์อธรรมในอนาคต ซึ่งนามเดิมของเจ้าหลวงคำแดง คือ "เจ้าสุวรรณคำแดง" ผู้ซึ่งจะมีหน้าที่เฝ้ารักษาถ้ำและดอยหลวงเชียงดาว จะหมดเวลาของการเฝ้ารักษาเมื่อพระเจ้าทรงธรรมมาปราบมนุษย์อธรรมเสียก่อน

และกล่าวถึงเทวดาผู้เป็นชายาของเจ้าหลวงคำแดงมีนามว่า "จอมเทวี" สถิตอยู่ที่ดอยนาง ว่ากันว่าต่างรักษาศีล 8 จึงหาได้อยู่ร่วมกันไม่ ก่อนที่เจ้าหลวงคำแดงและจอมเทวีจะมาอยู่ที่ดอยหลวงเชียงดาวนั้น ชะรอยว่านางจอมเทวีมีนิวาสสถานบ้านเมืองอยู่เดิมอยู่ทางทิศใต้ ไม่ปรากฏชื่อแน่ชัด ส่วนเจ้าหลวงคำแดงนั้นเป็นบุตรของเจ้าเมืองพะเยานามว่า สุวรรณคำแดง ซึ่งพระบิดาได้สั่งให้เจ้าหลวงคำแดงพร้อมทหารไปรักษาด่านชายแดนเพื่อป้องกันศัตรู ได้มาพบเห็นสาวงามนางหนึ่ง จึงได้ติดตามนางไปแต่ไม่พบ เจอเพียงกวางทองตัวหนึ่ง จึงสั่งให้ทหารติดตามเจ้ากวางทองตัวนั้นไป และกำชับว่าต้องจับเป็นห้ามทำร้ายเจ้ากวางทองเด็ดขาด เป็นเวลา 3 วันก็ไม่สามารถจับเจ้ากวางทองได้ แต่เจ้าหลวงคำแดงก็ยังไม่ละลดความพยายาม นำทหารติดตามไปเรื่อยๆหมายจะจับกวางทองให้ได้ จนเวลาล่วงเลยไป 10 วันก็ยังไม่พบเจ้ากวางทอง คงเห็นแต่รอยเท้าเท่านั้น และในวันหนึ่งสิ่งที่ปรากฏแก่สายตาเจ้าหลวงคำแดงและเหล่าทหารก็คือ คราบของกวางทอง อยู่ใกล้กับหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสบคาบ จากตำนานเจ้าหลวงคำแดงนั่นเอง

จากนั้นเจ้าหลวงคำแดงก็ติดตามเจ้ากวางทองไปในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อว่าดงเทวี ทันทีที่เจ้าหลวงคำแดงตามไปพบ จึงสั่งให้ทหารกระจายกำลังโอบล้อมไว้พร้อมประกาศว่า หากกวางทองหลุดออกจากด่านของผู้ใดผู้นั้นจะต้องถูกตัดหัว ในที่สุดกวางทองตัวนั้นก็หลุดออกมาจากวงล้อมวิ่งผ่านไปทางที่เจ้าหลวงคำแดงอยู่ ดังนั้นเจ้าหลวงคำแดงจึงต้องไปติดตามกวางทองด้วยตัวเองและให้ทหารคอยอยู่ที่ดงเทวี และสั่งว่าหากเกิน 7 วันแล้วพระองค์ยังไม่กลับให้กลับกันไปก่อน แล้วก็ติดตามกวางทองตัวนั้นไปทางทิศตะวันตก

ซึ่งกวางทองมุ่งหน้าไปสู่เขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วกลายร่างเป็นคนเข้าไปยังถ้ำเชียงดาว เจ้าหลวงคำแดงจึงตามเข้าไปในถ้ำ ตราบเท่าทุกวันนี้ก็ยังไม่กลับออกมา ผู้คนเชื่อว่าพระองค์สิงสถิตรักษาถ้ำเชียงดาว จึงตั้งศาลไว้ชื่อว่า ศาลเจ้าหลวงคำแดง และมีรูปปั้นกวางทองด้วย




...เจ้าหลวงปฐมกษัตริย์…ล้านนา
ตำนานสุวรรณคำแดงหรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่กล่าวถึงเวียงโบราณในตำนาน คือ เวียงล้านนา เวียงนารัฏฐะ เวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอกและเวียงนพบุรีนั้น ได้รับการคัดลอกสืบต่อกันมาหลายสำนวน และเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ตำนานสุวรรณคำแดงฉบับวัดเจดีย์หลวง ดังที่สงวน โชติสุขรัตน์เขียนในหนังสือ ประชุมลานนาไทย

ในคัมภีร์ใบลาน วัดอภัย ของอำเภอเวียงสา จ.น่าน มีเรื่องราวที่กล่าวถึงเจ้าหลวงคำแดงอย่างมีที่มาที่ไปพร้อมกับความสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของอาณาจักรนามว่า "ล้านนา" ไว้ดังนี้

เจ้าหลวงคำแดงเป็นราชบุตรของ "พญาโจรณี" (ตำนานว่าเคยเป็นโจรมาแต่อดีตชาติ) มีหน้าที่ปราบคนที่ไม่เชื่อฟัง วันหนึ่ง พระวิสุทธิกรรมแปลงกายเป็นกวางทองลงมาเดินในสวนให้พญาโจรณีเห็น เมื่อพญาโจรณีพบกวางทองจึงสั่งให้ราชบุตรชื่อว่า เจ้าหลวงคำแดงออกไปติดตามกวางทองตัวนั้นให้ได้

เจ้าหลวงคำแดงและทหารออกติดตามกวางทองมาจนถึงเชิงดอยอ่างสรง (อ่างสลุง) มีนางคนหนึ่งอยู่ที่เชิงดอยอ่างสรงรู้ข่าวว่าเจ้าหลวงคำแดงมาถึงด่านป่าใกล้เชิงดอยอ่างสรง นางออกมารอดูเจ้าหลวงคำแดง ทั้งสองคนพบกันแล้วเกิดความชอบพอรักใคร่นางชวนเจ้าหลวงคำแดงได้พักแรมอยู่กับนางที่ดอยอ่างสรงแห่งนั้น ทหารที่เดินทางรอนแรมมากับเจ้าหลวงคำแดงเกิดความเบื่อหน่ายอยากกลับบ้านเมืองของตน

ต่อมาทหารก็ได้พบกับฤาษีตนหนึ่ง ฤาษีแนะนำและทำนายว่า บริเวณสถานที่เชิงดอยหลวงนี้เป็นชัยภูมิที่ดี ควรให้เจ้าหลวงคำแดงสร้างบ้านเมืองที่เชิงดอยแห่งนี้ จะอุดมสมบูรณ์มั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติ ทหารกลับลงมาบอกความของฤาษีกับเจ้าหลวงคำแดง เจ้าหลวงคำแดงจึงสร้างเมืองตามคำฤาษี เมื่อสร้างเมืองแล้วชื่อเมืองใดจึงจะเหมาะสม แต่ยังหาชื่อเมืองไม่ได้ ทหารจึงตกลงกันว่าเราควรร่วมทำนายว่าแท่นบรรทมของเจ้าหลวงคำแดงมีน้ำหนักเท่าใด

ทหารร่วมกันทำนายอย่างสนุกสนานแล้วชั่งดูน้ำหนักแท่นบรรทมของเจ้าหลวงคำแดง มีน้ำหนัก 1 ล้านหน่วย พวกเขาจึงตกลงเรียกเมืองนี้ว่าเมืองล้านนา เจ้าหลวงคำแดงอยู่กับนางอินทร์เหลาที่ดอยอ่างสรงจนสิ้นอายุ ตามความเชื่อของคนล้านนา ผู้ใดสร้างบ้านสร้างเมือง เมื่อผู้นั้นตายไปแล้ว จะได้รับการยกย่องให้เป็น เสื้อบ้านหรือเสื้อเมือง ของบ้านเมืองนั้น เจ้าหลวงคำแดงจึงกลายเป็นผีเมือง ปกปักษ์รักษาเมืองล้านนารวมทั้งเมืองเชียงดาวและเมืองเชียงใหม่ตามลำดับ เป็นอารักษ์เฝ้าแหนเมืองเชียงดาวและล้านนาคือว่าเมืองเชียงใหม่มีเทวดาคำแดงเป็นเคล้าและเทวดาอารักษ์ทั้งหลายเฝ้าแหนเมือง”




ก่อนที่เมืองเชียงใหม่จะเสียเอกราชแก่พม่า สมัยนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่คือพระเมกุฏวิสุทธิวงศ์หรือเจ้าฟ้าแม่กุ (ปกครองระหว่าง พ.ศ.2094 - 2170) และกษัตริย์พม่านามว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้น ตำนานถึงสาเหตุการเสียเมืองว่า เจ้าเมืองละทิ้งจารีตบ้านเมืองเดิมของตน ทำให้ผีเมืองทั้งหลายไม่ช่วยปกปักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่ จึงเสียเอกราชแก่พม่า

ชาวเมืองเชียงใหม่ยังเชื่อว่าผีเมืองทั้งหมดจะปกปักษ์รักษาบ้านเมืองเชียงใหม่ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการเซ่นไหว้ผีเมืองเชียงใหม่ทุกปี ผู้ทำพิธีจะกล่าวคำอันเชิญเจ้าหลวงคำแดงซึ่งเป็นหัวหน้าผีและผีเมืององค์อื่นๆ อีกหลายองค์ นอกจากนี้ประเพณีไหว้ผีครูช่างซอเมืองลำปาง ในพิธีคนทรงหรือผู้ทำพิธีจะกล่าวนามของเจ้าหลวงคำแดงด้วยสะท้อนถึงความเชื่อเรื่องเจ้าหลวงคำแดงที่กระจายออกไปถึงต่างเมืองในลักษณะพีธีกรรมและการคัดลอกตำนานดอยหลวงเชียงดาว เนื่องจากในสมัยที่เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาของพระสงฆ์และศูนย์กลางอำนาจแห่งล้านนา ผีเมืองเชียงใหม่จึงยิ่งใหญ่ไปด้วย

เพราะความศรัทธาในพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้น ได้ตอกย้ำความสำคัญของดอยหลวงเชียงดาวให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นไปอีก เพราะถือว่าเป็นพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งซึ่งชาวพุทธและชาวล้านนาทั้งปวงจะมากราบไหว้ เพราะมีพระพุทธรูป เจดีย์ ต้นโพธิ์ รวมทั้งฤาษีและที่สำคัญคือ มีดวงวิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงสิงสถิตอยู่นั่นเอง







วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[Article] The Legend of "Wang Bua Ban Wallterfalls" a sad love story of Northern Thailand.


[Article] The Legend of "Wang Bua Ban Wallterfalls" a sad love story of Northern Thailand.


The Legend of "Wang Bua Ban Waterfalls".

There is the sad love story of "Wang Bua Ban Waterfalls", a lady who was spurned by her lover and thus committed suicide at these falls.

Right at the foot of Suthep Mountain are the famous and much-visited Huay Kaew Waterfalls. In days of yore it was a romantic place where young boys and girls sat gazing at the stars and sweet talking one another.

Sadly for a certain woman called Bua Ban, her romance turned tragic and her fall has become legend.

One day during the WWII, so the story goes, Bua Ban, the most beautiful girl in her village, met a charming young soldier from Bangkok. Urban legend has it that the young woman fell deeply in love and that their bond grew so strong and sweet that they seemed to born for one another.

Then one day the young soldier received the order to return to Bangkok. He left his then pregnant lady with the promise to return to marry her and be a real father to the unborn child. Months passed and the man never fulfilled his promise. Bua Ban then found out that her beloved already had a wife in Bangkok and the idea of marrying her had never entered his mind. Broken-hearted and ashamed to be carrying a fatherless child, Bua Ban went up the rocky cascades of the Huay Kaew Waterfalls and watched her last sunrise through tears.

Days later her body was found on the rocks. The very place where she took the fatal leap is now locally recognized as Wang Bua Ban. It’s said that her spirit still lingers there, and hopeful lovers go to the falls to ask for her blessing.

So, in this season of love, we ourselves wish - and hope for you too - to have a happy love life. Be faithful to the one you love, and hold him/her dear.

...ตำนานรัก "วังบัวบาน"...


...ตำนานรัก "วังบัวบาน"...
(น้ำตกวังบัวบาน จังหวัีดเชียงใหม่)


วังบัวบาน เป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ วังน้ำนี้เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ด้วย มีเรื่องเล่ามาก่อนว่ามี "คูลวา-กุลา"ซึ่งหมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ คำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนาหมายถึงแขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ วังน้ำที่เกิดเหตุจึงได้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์กล่าวไว้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยเหตุที่มีหญิงชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในวังน้ำนี้อีก วังน้ำอาถรรพณ์นี้จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า
"วังบัวบาน"

เรื่องราวการตายของบัวบานมีการโจษจันกันอยู่สองกระแส บ้างเชื่อว่าเป็นการฆ่าตัวตาย บ้างว่าเป็นเพราะหญิงคนงามดังกล่าว พลัดตกโดยอุบัติเหตุ แต่ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องชู้สาว

ที่ตั้งบ้านของบัวบาน ปัจจุบันอยู่ฟากถนนตรงกันข้ามกับอาคารอำนวยการหลังเก่าของโรงเรียนปรินส์รอย แยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ มีอาชีพเป็นครูสอนในโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนฮั่วเคี้ยวและโรงเรียนฮั่วเอง ครูบัวบานมีคนรักเป็นนายทหารรักษาพระองค์ ต่อมาถูกทหารดังกล่าวสลัดรัก บัวบานจึงเสียใจมากและได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยการกระโดดลงไปในวังน้ำแห่งนั้น




ครูบัวบาน...เป็นคนสวยจนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป ในช่วงที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๘) ครูบัวบานคนสวยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่ ครั้งนั้นได้มีทหารหน่วยราบจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาตั้งอยู่ที่วัดฟ้าฮ่ามด้วย นายร้อยตรีหนุ่มรูปงามในกองทหารนั้นได้พบกับครูบัวบานคนสวยบ่อยครั้งเข้าก็ สนิทสนมแล้วกลายเป็นคู่รักและได้เสียกันขึ้น ต่อมานายร้อยตรีผู้นั้นกลับลงไปกรุงเทพฯ

ตามคำสั่งพร้อมกับคำสัญญาว่าจะขึ้นมาแต่งงานกับครูบัวบานคนงาม แต่คำสัญญานั้นลงท้ายก็กลายเป็นคำลวงเพราะนายร้อยตรีนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว ครูบัวบานรออยู่นานจนผิดสังเกตและเห็นว่าครรภ์โตมากขึ้น เมื่อแน่ใจว่าตนถูกหลอกแน่แล้วจึงตัดสินใจไปกระโดดน้ำตาย

...บัวบานเทวีผู้มีความช้ำ...

“ ร้อนลมหน้าแล้ง ใบไม้แห้งร่วงลอย หล่นทยอยเกลื่อนตา ไหลตามกระแสน้ำพา ลอยมาทั้งกลีบดอกไม้ จากหุบผาไหลมาสู่ในวังน้ำ สุสานเทวีผู้มีความช้ำเหนือใคร ดอกไม้ใบไม้ไหลมา คล้ายพวงหรีดร้อยมาลา ไหลมาบูชาบัวบาน “

ปัจจุบันร่างของบัวบานถูกฝังไว้ ณ สุสานเด่นดำรงธรรม บ้านเด่น ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง เชียงใหม่





เพลง : วังบัวบาน
ศิลปิน : อรวี สัจจานนท์


วังเอ๋ยวังบัวบาน...สุสานเทพีผู้มีความรักเหนือใคร
ฝังร่างฝังรักฝากรอยอาลัย...เอาวังน้ำเย็นเช่นเรือนตาย
วิญญาณเวียนว่ายในน้ำวัง...

จากเขาลำเนาไพร สู่ในเวียงฟ้า เกิดมาไม่พ้นอนิจจา
เพราะซื่อถือนัก ว่ารักจีรัง ไม่มีระแวง ไม่เคยระวัง
ชีพนางจึงฝัง สังเวยธาร...

เหลือเพียงชื่อไว้ เหลือเพียงดอกไม้ คล้ายหรีดมาลา
ไหลมาบูชาบัวบาน น้ำวังนี่หนอที่ก่อเหตุการณ์
นี่แหละคือสุสาน เปรียบดังสถานโลงทอง...

ยินเสียงน้ำตกซ่า แว่วมาน่าฟัง
เปรียบดังแตรสังฆ์เสียงกลอง
เสียงหริ่งระงม ลมพริ้วเป็นทำนอง
ดุจดังเสียงเพลงกล่อมเมรทองให้ผู้เจ้าของวังบัวบาน...

ยินเสียงน้ำตกซ่า แว่วมาน่าฟัง
เปรียบดังแตรสังฆ์เสียงกลอง
เสียงหริ่งระงม ลมพริ้วเป็นทำนอง
ดุจดังเสียงเพลงกล่อมเมรทอง
ให้ผู้เจ้าของวังบัวบาน...


-------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[นิทานเรื่องเล่า] ตำนานรักชาวล้านนา..."เอื้องผึ้ง - จันผา"



...ตำนานรักชาวล้านนา..."เอื้องผึ้ง - จันผา"


ได้มีผู้เล่าต่อๆกันมาว่า...แต่เดิมเอื้องผึ้งและจันผานั้นเป็นคู่รักกัน ทั้งสองให้สัญญาว่าจะรักกันตลอดไปจะไม่ยอมพรากจากกัน
หากแม้นคนหนึ่งตายไป อีกคนหนึ่งก็จะไม่ขออยู่ต่อ

และแล้วโศกนาฏกรรมก็มาถึง...หนุ่มจันผาพาสาวเอื้องผึ้งไปเที่ยวบนดอย ได้เห็นดอกไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม...งอกอยู่ที่ชะง่อนผา...จันผาอยากจะเก็บมาให้เอื้องผึ้งคนรักจึงพยายามปีนขึ้นไปเก็บดอกไม้ แม้เอื้องผึ้งจะห้ามแต่จันผาก็ไม่ฟังพยายามจะเอื้อมเด็ดมาให้ได้...

และแล้ว...จันผาก็พลาดตกลงไปในเหวเลือดไหลนองสิ้นใจตาย เอื้องผึ้งร่ำไห้หัวใจแตกสลาย จึงวิ่งเอาหัวชนกับแง่หินที่หน้าผาตายตามจันผาไป...เหมือนที่เคยให้สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป...

ดอกไม้ที่จันผาพยายามจะเก็บนั้นต่อมาคนให้ชื่อว่า "ดอกเอื้องผึ้ง" ส่วนตรงที่ๆจันผาตกลงไปตายได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งงอกขึ้นมา ผู้คนกล่าวขานเรียกว่า "ต้นจันผา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ความรักที่ยั่งยืนของคนทั้งคู่ตลอดไป...

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[บทความ / นิทานเรื่องเล่า] ...ตำนานเมืองสุวัณณะโคมฅำ...


...ตำนานเมืองสุวัณณะโคมฅำ...

"สุวัณณะโคมฅำ" เป็นชื่อตำนานและชื่อเมืองโบราณในเขตจังหวัดเชียงราย ซึ่ง "จิตร ภูมิศักดิ์" ได้ศึกษาสรุปว่าตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ริมแม่น้ำโขงฝั่งลาวตรงดอนมูล เยื้องปากแม่น้ำกกลงไปทางใต้เล็กน้อย อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านสวนดอก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า ในช่วงปลายศาสนาของพระพุทธโกนาคมะนั้น ได้เกิดโรคระบาด ราชบุตรแห่งเมืองปาตลีบุตรจึงพาผู้คนอพยพไปตั้งอยู่ในเขตโพธิสารหลวง ต่อมาราชบุตรชื่อกุรุวงษากุมารได้สร้างเป็นเมืองขึ้นมา พอพระเจ้าโพธิสารหลวงทราบข่าวก็ไปรบหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้ จนพระองค์ต้องยกราชสมบัติให้แก่กุรุวงษากุมาร ต่อมาได้เรียกชื่อแคว้นนั้นว่ากุรุรัฐและเรียกประชาชนว่า "กล๋อม" ยังมีนางกุมารีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเมืองได้อพยพหนีโรคร้ายไปอยู่ในป่า และพาบริวารปลูกข้าวอยู่ที่ขอบหนองแห่งหนึ่ง และได้สร้างเมืองชื่อ "อินทปฐาน" ต่อมาเจ้ากุรุวงษากุมารได้นางนั้นเป็นชายาจึงรวมสองเมืองเข้าด้วยกันให้ชื่อว่า "อินทปัตถมหานคร"

จากนั้นก็มีกษัตริย์สืบมาถึง ๔๔๘๐๐ องค์ จนถึงสมัยพญาศรีวงษาได้ครองเมืองโพธิสารหลวง พระองค์มีราชบุตรสององค์คือ "อินทรวงษา"และองค์น้องชื่อ"ไอยกุมาร" ซึ่งอินทรวงษาก็ได้ขึ้นครองเมืองสืบจากพระบิดาและมีไอยกุมารเป็นอุปราช

ต่อมาราชบุตรของพญาอินทรวงษาชื่ออินทรปฐมได้อภิเษกกับธิดาของไอยอุปราช มีราชบุตรรวมห้าพระองค์อยู่ครองเมืองโพธิสารหลวง

ต่อมาไอยอุปราชได้ลาจาก ตำแหน่งอุปราช และพาบริวารลงเรือขึ้นไปแม่น้ำโขง จนไปถึงเขตดอนทรายกลางน้ำแม่โขงเยื้องปากน้ำแม่กก จึงตั้งเมืองอยู่ในที่นั้น

หลังจากนางอุรสา ราชเทวีของพญาอินทรปฐมคลอดราชบุตรออกทางปากมีชื่อ "สุวัณณมุกขทวาร" เมื่ออายุ ๗ เดือนก็มีอภินิหารแรงกล้า พาหิรพราหมณ์ปุโรหิตจึงไปทูลยุยงให้ลอยแพพระกุมารและพระเทวีไปเสีย มิฉะนั้นจะเกิดอุบาทว์แก่เมือง

ฝ่ายไอยมหาอุปราช ทราบว่าพระเทวีและพระกุมารถูกลอยแพก็รีบกลับเมืองแล้วให้จัดพิธีบวงสรวงพญานาคและปักเสาประทีปโคมทองทุกท่าน้ำ ครั้งนั้นพญานาคชื่อ พญาศรีสัตตนาคก็พาบริวารนำหินไปทำฝาย ปิดทางต้นน้ำแม่โขงไว้มิให้ไหลลงสู่สมุทร(ทุกวันนี้เรียกว่า"ฝายนาค"หรือ"ลี่ผี") เมื่อน้ำท้นขึ้นเต็มฝั่งแล้ว แพของพระเทวีและพระกุมารก็ย้อนไปถึงท่าโคมฅำ ไอยมหาอุปราชจึงรับธิดาและนัดดาไว้ แล้วต่อมาก็ให้สร้างเป็นเมืองให้ชื่อว่า "สุวัณณะโคมฅำ" ฝ่ายเมืองโพธิสารหลวง เมื่อลอยแพพระกุมารและพระเทวีไปแล้วก็เกิดโรคระบาด คนหนีออกจากเมืองไปสมทบกับเมืองสุวัณณะโคมฅำเป็นอันมาก



ต่อมาพระอินทร์ต้องการให้พระราชบิดาและราชบุตรได้พบกัน จึงบันดาลให้มีม้าอัศดรไปยังเมืองโพธิสาร ซึ่งผู้จับขี่ได้คือราชกุมาร ชื่อเทวินทรบวรและม้านั้นก็พาไปพบไอยอุปราชและทุกท่านในเมืองสุวัณณะโคมฅำ เมื่อพระบิดาได้ทราบข่าวแล้วก็เชิญให้พระเทวีและพระโอรสกลับเมือง แต่นางไม่ยอมกลับ พญาอินทรปฐมและไอยอุปราชจึงอภิเษกสุวัณณมุกขทวารราชกุมารขึ้นเป็นพญาในเมืองสุวัณณะโคมฅำ

องค์เทวินทรบวรราชกุมารจึงได้ครองเมืองโพธิสาร สืบจากพระราชบิดา และได้เนรเทศพาหิรพราหมณ์เสีย พาหิรพราหมณ์จึงพาบริวารไปตั้งอยู่ที่เชิงเขา ปลายแม่น้ำกกเบื้องตะวันตก ไกลจากเมืองสุวัณณะโคมฅำชั่วระยะ ๓ คืน เนื่องจากที่อยู่นั้นเป็นถ้ำใหญ่ ต่อมาจึงตั้งชื่อว่าเมือง "อุมงคเสลานคร"
กษัตริย์ในเมืองสุวัณณะโคมฅำสืบต่อจากพญาสุวัณณมุกขทวารมีถึง ๘๔๕๕๐ องค์ จึงสิ้นสุดลง และเชื้อสายฝ่ายพาหิรพราหมณ์ เมืองอุมงคเสลานครได้เป็นใหญ่ในสุวัณณะโคมฅำ และได้ข่มเหงไพร่เมืองให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก ยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง ทำไร่อยู่ริมแม่น้ำโขง ระหว่างเมืองสุวัณณะโคมฅำและเมืองโพธิสารหลวง มีนางนาคธิดา ๓ นางไปกินข้าวไร่ของปลูกในไร่ของชายนั้น เมื่อพญาศรีสัตตนาคได้รับแจ้งจากชายเข็ญใจว่า ธิดาของตนไปลักกินพืชผลดังกล่าว จึงให้ธิดาทั้งสามแปลงเป็นคนไปรับใช้มานพนั้น ต่อมา นางทั้งสามแนะให้ชายหนุ่มไปค้าขายที่เมืองสุวัณณะโคมฅำ แต่ก็ถูกชาวเมืองทำอุบายใส่ความแล้วริบสินค้า ภายหลังนางนาคธิดาจึงไปกับเรือค้านั้นด้วย เมื่อพญาขอมในเมืองนั้นทำอุบายมาพนันเพื่อจะริบเอาสินค้า นางก็บันดาลให้พญาขอมแพ้ แต่พญาขอมไม่ยอมให้สินพนันตามสัญญาและยังหาเหตุไล่ออกจากเมืองด้วย นางจึงไปทูลพญานาคผู้บิดา พญานาคจึงพาบริวารไปขุดฝั่งน้ำ"ขลนที-ขรนที"คือน้ำของหรือแม่โขง ทำให้เมืองล่มลงในเวลาราตรี พญาขอมเจ้าเมืองและชาวเมืองจมน้ำตายไปมาก ที่เหลือก็แตกกระจายกันไป และมีจำนวนมากที่ไปสมทบอยู่กับชายเข็ญใจพ่อค้าผู้นั้นจนกลายเป็นเมืองใหญ่ขึ้นมา เมืองสุวัณณะโคมฅำก็ร้างกลายเป็นท่าหลวงไปได้ชื่อว่า "ท่าโคมฅำ"

อนึ่ง "ตำนานเมืองสุวัณณะโคมฅำ" นี้ เป็นที่มาของวรรณกรรมล้านนาหลายเรื่อง ดังพบว่าเรื่อง "สิรสากุมารชาดก" ในชุดปัญญาสชาดก ก็ได้กล่าวถึงสิรสากุมารว่าคลอดจากทางปาก ถูกเนรเทศ และมีปู่ "อัยยอามาตย์" เป็นผู้อุปถัมภ์คล้ายกับเรื่องในตำนาน และยังมีเรื่องชายหนุ่มไปทำไร่และมีธิดาพญานาคไปกินพืชผล จนต้องไปเป็นผู้รับใช้ ดังปรากฏในเรื่อง "อ้อมล้อมต่อมฅำ"หรือ"ชมพูราชแตงเขียว" เป็นต้น

ที่มา : http://rustanyou.com/
(อุดม รุ่งเรืองศรี เรียบเรียงจาก พงศาวดารโยนก)

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[บทความ]...ตุง : สัญลักษณ์แห่งศิริมงคล...


ตุง : สัญลักษณ์แห่งศิริมงคล

ตุง คือ ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา พบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย ทำด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ เป็นรูปแถบยาว ห้อยลง ใช้ประดับ หรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่ใช้ตุง

'ตุง' สัญลักษณ์แห่งล้านนา

"ตุง" ของล้านนา ก็คือ "ธง" ของไทยภาคกลางนั่นเอง มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำ ตุงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

ส่วนจุดประสงค์ของการทำตุงล้านนาก็คือ ทำถวายเป็นพุทธบูชาโดยทั้งชาวไทยยวน ไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ จะถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์

ความงามของตุงจะวัดกันที่ลวดลาย และ สีสรรที่แต่งแต้มประดิษฐ์ลงไปที่ผืนตุง โดยจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำตุงดังนี้

ตุงผ้าทอ โดยทั่วไปมีขนาดกว้าง 15-50 ซม. ยาว 1-6 เมตร โครงสร้างประกอบด้วย ส่วนหัว-ตัว-หาง นิยมทอด้วยฝ้ายสีขาว มีลวดลายขิตสีดำและแดงเป็นเส้นพุ่ง อาจสอดสีอื่น ๆ เพื่อความสวยงาม

ตุงใย ใช้เส้นฝ้ายสีขาวมัดหรือถกคล้ายแมงมุมชักใย มีไม้ไผ่สอดเป็นโครงยึดเป็นช่วงๆ ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เป็นดอกไม้ หรือพู่ห้อย

ตุงกระดาษ เช่น ตุงไส้หมู ไส้ช้าง ตุงพญายอ โดยการนำกระดาษแก้วสีต่าง ๆ อย่างน้อยแผ่นละสีมารวมกัน พับไปมาแล้วตัดสลับไม่ให้ขาดจากกันเมื่อคลี่ออก และจับหงายขึ้นจะเป็นช่อพวงยาว ผูกติดกับไม้ยาวประมาณ 1 เมตร ปักตกแต่งหรือใช้ร่วมขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดหรือปักเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์




ตุง กับงานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ มี 4 ประเภท คือ

1. ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง
2. ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย
3. ตุงไจยหรือธุงไชย ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย
4. ช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆ

ตุงจัดเป็นเครี่องสักการะของล้านนาไทย มีตุงหลายชนิดที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น งานฉลอง หรืองานปอย งานสืบชาตา หรือขบวนแห่ต่าง ๆ เป็นต้น แม้จนกระทั่งปัจจุบัน ตุงก็ยังมีหน้าที่สำคัญผูกพันกับความศรัทธาของชาวล้านนา นอกจากนั้นก็ยังมีหน้าที่ใหม่เพิ่มเข้ามาได้แก่ การแห่แหนหรือการประดับประดาเพื่อเฉลิมฉลองงานการท่องเที่ยว ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบที่ยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้นไปอีก ดังเช่น การแห่ตุงพันวาในขบวนแห่สลุงหลวงที่ จ.ลำปาง และในขบวนแห่ต่างๆ ที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย เป็นต้น


ประเภทของตุง


ตุงช่อ ทำด้วยกระดาษสี ใช้ปักตกแต่ง
ตุงร้อยแปด ทำด้วยกระดาษสี ใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์
ตุงค่าคิง ทำด้วยกระดาษว่าวสีขาว ใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์และงานสงกรานต์
ตุงไส้หมู ทำด้วยกระดาษสี ใช้ในงานสงกรานต์ และพิธีทางศาสนา
ตุงใย ทำด้วยเส้นด้ายหรือไหม ใช้แขวนหน้าพระพุทธรูป
ตุงไชย ทำด้วยผ้าสี ยกเว้นสีดำ มีลักษณะยาว ใช้ในการฉลองวัด
ตุงสามหาง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรใช้เป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย
ตุงกระด้าง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม
-ตุง-หลายท่านอาจเข้าใจว่า,ตุง,เป็นธง แต่อันที่จริงแล้วตุงไม่ใช่ธง ตุงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น ตุงที่มีการแบ่งเป็น 7 ช่องซึ่งหมายถึง สวรรค์ทั้ง 7 ชั้น เป็นต้น






ความเชื่อและอานิสงส์การตานตุง (ถวายตุง)

เรื่องการตานตุงหรืออานิสงส์การถวายตุงนี้ ปรากฏในหนังสือสังขยาโลก ตัวอักษรพื้นเมืองในคัมภีร์ใบลานมีว่า... มีภิกษุรูปหนึ่งท่านได้ไปเห็นไม้ตายแห้งท่อน หนึ่งมีลักษณะยาวงามดีมาก ท่านก็นึกที่จะเอาต้นไม้ไปทำ เป็นเสาตุงบูชาไว้ในวัดที่ท่านจำ พรรษาอยู่ แต่บังเอิญท่านมีอันเป็นลมปัจจุบันถึงแก่มรณกรรมลงในทันทีก่อนที่วิญญาณของท่านจะล่องลอยออกจากร่าง ท่านมีจิตประหวัดถึงแต่ไม้ท่อนนั้นจึงทำ ให้ต้องไปปฏิสนธิเป็นตุ๊กแก อาศัยอยู่ที่ไม้ท่อนนั้นได้รับทุขเวทนาเป็นเวลานาน ท่านจึงดลใจให้ชาวบ้านทราบว่า เวลานี้ท่านได้มาเกิดเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ไม้ต้นนั้น หากพอ
พวกชาวบ้านศรัทธาอยากจะให้ท่านพ้นจากกองทุกข์ ก็ขอให้สร้างตุงเหล็ก ตุงทองถวายทานไว้ในพระศาสนา จึงจะช่วยบันดาลให้ท่านหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ได้ เมื่อชาวบ้านทราบเช่นนั้น ก็สร้างตุงเหล็กตุงทอง ถวายไว้ในพระศาสนา พระภิกษุรูปนั้นจึงพ้นจากกองทุกข์ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏศักราช มีความดังนี้ สิงห์คุตต์อำ มาตย์เอาตุงไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่และพระเจดีย์คีรี ครั้นสิ้นอายุจะไปตกนรก พระยายมราชก็แสดงตุงนั้นให้เห็นแล้วกล่าวว่า “เมื่อท่านทำ บุญวันนั้น ท่านยังกรวดนํ้าแผ่กุศลถึงเราและบัดนี้ท่านจงขึ้นไปบนสวรรค์เทอญ”

และอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ยังมีนายพรานผู้หนึ่งล่าเนื้อมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีจนถึงอายุ ได้ ๔๘ ปี วันหนึ่งเข้าป่าไปเพื่อจะล่าเนื้อ บังเอิญไปถึงวัดศรีโคมคำ ได้เห็นพระปฏิมากร องค์ใหญ่ และมีการประดับตุงเป็นพุทธบูชา เมื่อยามลมพัดต้องเกิดความสวยงามก็มีใจ พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จัดแจงหาผ้ามาทำ ตุง แล้วเอาไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่นั้น ครั้นนายพรานผู้นี้ตายไป พระยายมราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดนั้น ตุงที่นายพรานเคยทำเพื่อถวายพระประธานองค์ใหญ่นั้นก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรกเสีย พระยายมจึงพิจารณาดูแล้วก็บอกนายพรานขึ้นไปบนสวรรค์

จุดมุ่งหมายในการสร้างตุง

- ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างบุญกุศลให้ตนเองและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์
- ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
- เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดไป โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่า เกิดจากภูติผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย
- ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทำ เสน่ห์ บูชาผีสางเทวดา
- ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ เช่น พิธีสวดพุทธมนต์ พิธีสืบชะตา การขึ้นท้าวทั้งสี่ การตั้งธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์ประเพณีเกี่ยวกับคนตาย

อานิสงส์ของการสร้างตุง

จากหลักฐาน ตำ นาน ลิลิต และพงศาวดารต่าง ๆ ได้เขียนถึงอานิสงส์ของการสร้างตุงว่าผู้ที่สร้างตุงถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ตกนรก ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำ ไว้ จากอานิสงส์ดังกล่าวนี้ทำ ให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขั้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี พื้นฐานความเชื่อ ของคนในสังคม วัสดุและความสามารถของชาวท้องถิ่น ในการที่จะนำ เอาวัสดุที่มีมาประดับตุง โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ

สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง

ปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุง เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาลและเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยงานทั้งภาคราชการและเอกชนมักนิยมใช้ตุงประดับตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม ซึ่งเรื่องนี้ศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า งานบางงานสามารถใช้ตุงปักได แต่ควรใช้ตุงให้ถูกประเภท บางงานนำ ตุงไปใช้อย่างไม่เหมาะสม เป็นการทำ ลายคติความเชื่อดั่งเดิมของชาวล้านนา เช่น การนำ ตุงไปประดับประดาบนเวทีประกวดนางงาม เป็นต้น หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนนำ ไปใช้แล้ว อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้เพี้ยนไปในที่สุด


ขอขอบคุณ “ตุงล้านนา”
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
อดิสร/วรวรรณ/พิมพ์
รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์/ตรวจทาน
๒๗/๓/๒๕๔๕.


วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[บทความ]...ประเพณีเลี้ยงขันโตกบายศรีสู่ขวัญ...



...ประเพณีเลี้ยงขันโตกบายศรีสู่ขวัญ...
กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ(ร้อยตะวัน) : เขียน


...ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน…
เป็นศรีบ้านเฮื๋อน เปิ้นแล้ว...


ประเพณีเลี้ยงขันโตกหรือขันโตกดินเนอร์ เป็นอีกหนึ่งศิลปะในการรับประทาน ที่ประมวลทั้งภาชนะ อาหาร การแสดงที่เป็นพื้นเมืองมาไว้ในงานเดียวกัน สะท้อนถึงความเป็นวัฒนธรรมของภาคเหนือ ที่มีการบูรณาการได้อย่างงดงาม

ประเพณีเลี้ยงขันโตก เพิ่งจะมีขึ้นมีราวปี 2500 เป็นต้นมา โดย นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นายธนาคารและนักธุรกิจของภาคเหนือ ผู้ซึ่งสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องโบราณคดีของล้านนาไทยได้รวบรวมเอาประเพณีที่ชาวเหนือประพฤติปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เช่น ประเพณีที่รับประทานอาหารโดยใช้ขันโตกเป็นภาชนะ ใช้กล่องข้าวใส่ข้าวรับประทานแบบชาวบ้านในภาคเหนือ มาบูรณาการเข้ากับศิลปะการแสดงและวงมโหรีของภาคเหนือเข้าไว้ด้วยกัน โดยได้นำมาใช้ในพิธีการต้อนรับชาวต่างชาติที่มาเป็นแขกร่วมที่มาประชุมเรื่องธนาคาร ทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศจะได้ร่วมรับประทานอาหารแบบไทยเหนือ ซึ่งสำหรับกับข้าวจัดเลี้ยงจะประกอบด้วยของไทยภาคเหนือ ใส่ขันโตกและกล่องข้าวเหนียวไว้รับประทานกัน ในระหว่างที่รับประทานอาหารจะมีประเพณีการแสดง การละเล่นตามแบบฉบับศิลปะวัฒนธรรมไทยล้านนาไทยต่าง ๆประกอบด้วย ในการจัดเลี้ยงครั้งนั้นเป็นที่กล่าวขวัญและพึงพอใจแก่แขกผู้มาร่วมงานกันมากเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้อาจารย์ไกรศรีได้จัดงานเลี้ยงในรูปแบบเช่นนี้อีกหลายครั้ง และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประเพณีขันโตกหรือขันโตกดินเนอร์ที่ชาวต่างชาติเรียกกัน ก็กลายเป็นที่นิยมทำกันทั้งส่วนเอกชนและทางราชการ....



สถานที่สำหรับทำพิธีกรรมแห่ขันโตกบายศรีสู่ขวัญ

การจัดสถานที่ในประเพณีขันโตก ต้องหาลานกว้างเพียงพอแก่จำนวนแขก โดยมากจะเป็นสนามหญ้าในบ้านหรือสำนักงาน ถ้าจัดงานใหญ่จริงๆ ก็ต้องหาสนามขนาดใหญ่ เพราะนอกจากเป็นที่นั่งรับประทานแล้วยังต้องมีที่เล่นมหรสพด้วย สถานที่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดประเพณีขันโตก

จากนั้นก็จะมีการขัดราชวัตร คือรั้วพิธี โดยมากทำคล้ายๆรั้วพิธีตามวัด เวลามีงานสมโภชหรืองานเทศกาล เช่น เดือนยี่เป็ง การฟังเทศน์มหาชาติ เป็นต้น ราชวัตรนั้นก็คือ รั้วกั้นพิธีทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นตอกแล้วสานตามคร่าวที่ติดกับเสากั้นเขตนั้น ทำทางเข้าไว้ 4แห่ง หรือ 2 แห่ง แล้วแต่การทำของผู้เตรียมงาน แล้วเอาก้านมะพร้าวมาทำโค้งให้เป็นเหมือนประตูป่า เป็นทางเข้าไป ส่วนต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นกุ๊ก(พืชตระกูลข่า) นำมาปักไว้รอบๆราชวัตรหรือรั้วพิธีนั้น ถือเสมือนว่าสถานที่นั้นเป็นเขาวงกตที่พระเวสสันดรพำนักอยู่ เป็นที่สำราญพระทัย และถือว่าแขกที่เข้าไปสู่พิธีนั้นมีเกียรติยศประดุจเจ้าบ้านผ่านเมือง

นอกจากนี้ ยังมีด้ายสายสิญจน์ ใช้วงรอบราชวัตรในกรณีที่การเลี้ยงขันโตกมีพิธีบายศรีสู่ขวัญด้วย ถ้ามีจะเอาเงื่อนด้ายด้านหนึ่งไปผูกติดพระพุทธรูป วนรอบฐานพระพุทธรูป 3 รอบ จากนั้นก็นำมาเวียนรอบราชวัตร แล้วเอาด้านปลายลงสู่พานบายศรี ส่วนรอบๆราชวัตรจะมีแสงสว่างที่ทำจากประทีปโคมไฟโดยใช้เทียนสีผึ้งหรือเทียนไข หรือวางถ้วยประทีปใส่น้ำมันมะพร้าว แล้วฟั่นด้ายเป็นตีนกาสำหรับเป็นไส้ประทีป บางแห่งใช้น้ำมันก๊าดใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วทำไส้ขึ้นมาจุด ใช้แทนตะเกียงโดยปักรอบๆราชวัตรที่ใช้เป็นสถานที่จัดเลี้ยง ส่วนด้านในสนาม สถานที่จัดเลี้ยงจะมีการปูเสื่อจนเต็ม เพื่อให้แขกมานั่งชมการละเล่นและนั่งรับประทานอาหารแล้วก็จะมีการตั้งคนโท (น้ำต้น) กระโถน พานมูลีขี้โย และเมี่ยงไว้เป็นชุด ๆ

เครื่องอาหารที่ประกอบในขันโตก

...จักบอกนายแพง เจ้าแป้งกลิ่นกู๊
เจ้าแต่งต้อนหลายอัน
มีพร่ำพร้อม โต๊ะโตกกัวะขัน
ของจื๋นจ่าวมัน หอมหวนใส่ต้วย...


อาหารที่ใส่ไว้ในโตกหรือขันโตก มักจะประกอบด้วยอาหารพื้นเมืองของภาคเหนือ พร้อมทั้ง บุหรี่พื้นเมือง เมี่ยง เป็นต้น

มูลีขี้โย คือ บุหรี่ที่นิยมสูบกันในภาคเหนือ โดยมากชาวไทยใหญ่นิยมสูบมากเป็นพิเศษตลอดจน พ่ออุ้ย แม่อุ้ย ก็นิยมสูบเหมือนกัน โดยจะเอายอดตองกล้วยไปทาบกับไฟร้อนแล้วเอามามวนกับยาสูบกับยาสูบพื้นเมืองใส่ขี้โยด้วย ขี้โยทำจากไม้ข่อย เอากิ่งข่อยมาหั่นให้ละเอียดเอามาโรยบุหรี่แล้วมวนพร้อมกัน เวลาจุดไฟสูบ ขี้โยจะช่วยลดความฉุนของยาลง และมีความหอมหวนอร่อย นอกจากนี้การยังมีการวางจานเมี่ยงเพื่อใช้อมหลังอาหาร

เมี่ยง เป็นไม้ยืนต้นขึ้นในป่าภาคเหนือของไทยจนถึงแถบยูนนาน ชาวจีนเก็บเอายอดมาตากแห้งและคั่วให้เป็นชา ชาวล้านนาไทยเก็บใบอ่อนมานึ่งแล้วหมักไว้เป็นเวลานานให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด สำหรับอมรักษาท้องและช่วยย่อยอาหารด้วย คนล้านนาไทยเป็นส่วนมากตามอำเภอรอบนอกของทุกจังหวัดยังนิยมอมเมี่ยงกันอยู่ ถือว่าเป็นเครื่องต้อนรับแขกได้อย่างหนึ่ง

อาหาร ในขันโตกนั้นประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งใส่กล่องข้าว แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว แคบหมู น้ำพริกอ่อง จิ้นลาบ พร้อมผักต่างๆ ส่วนของหวาน ขนมที่ใช้ส่วนมากเป็นขนมจ๊อกหรือขนมเทียน บางแห่งนิยมขนมปาด หรือพวกขนมศิลาอ่อนของภาคกลางใส่ไว้ในถ้วย แซมไปกับอาหารในขันโตก บางแห่งใส่ข้าวพอง ซึ่งทางเหนือเรียกว่าข้าวควบ และข้าวแตน ภาคกลางเรียกว่า นางเล็ด ขนมเหล่านี้จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็กๆวางไว้ในขันโตก แล้วใช้ฝาชีครอบ เพื่อรอทำพิธีแห่ขันโตกต่อไป

ขันโตกและภาชนะใส่อาหารของล้านนาไทย

ชาวไทยล้านนาใช้ภาชนะใส่อาหารหลายชนิด อันได้แก่ ขันโตก กัวะข้าว ไถลข้าว กล่องข้าวถ้วยแกง จ๊อน เป็นต้น ภาชนะเหล่านี้ส่วนมากทำด้วยไม้สัก และกะลามะพร้าวเป็นพื้น ขันโตก หรือโตก เป็นภาษาดั้งเดิม ที่ใช้เรียกภาชนนะที่ทำด้วยไม้ซึ่งมีมาช้านานแล้ว ขันโตกโดยมากทำจากไม้สัก นำมากลึงโดยเครื่องกลึง คนล้านนาไทยเรียกว่าเคี่ยนไม้ จึงมีหมู่บ้านช่างกลึงว่าบ้านช่างเคี่ยน วัดช่างเคี่ยนเป็นต้น พวกช่างจะนำเอาไม้สักท่อนใหญ่ๆมาตัดให้พอเหมาะและนำมากลึงกับเครื่องกลึงหรือเครื่องเคี่ยน เมื่อกลึงหรือเคี่ยนได้รูปแล้วก็จะทำเชิงหรือตีนเชิงเข้ารับเป็นฐานแล้วลงรักหรือทาหาง ซึ่งภาคกลางเรียกว่าลงชาด เมื่อแห้งแล้ว ก็นำมาใส่อาหารได้ การเรียกขันโตกมักเรียกไม่เหมือนกันตามภาษาท้องถิ่น เช่น ขันโตก โตก สะโตก ซึ่งก็เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับใส่อาหารเหมือนกัน ขันโตกมี 3 ขนาด คือ ขันโตกหลวง(สะโตกหลวง) ขันโตกฮาม(สะโตกทะราม ) และขันโตกหน้อย(สะโตกหน้อย)




การแสดง

ส่วนการแสดงในการแห่ขันโตก ประกอบด้วย การฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเทียนโดยมีเครื่องดนตรีประโคมแห่นำขบวน ตลอดจนมีการฟ้อนดาบ ฟ้องเจิงหรือฟ้อนสาวไหม แสดงระหว่างการรับประทานอาหาร



พิธีกรรมแห่ขันโตกบายศรีสู่ขวัญ

โดยพิธีการในการต้อนรับแขก จะเริ่มด้วยมองพวงมาลัยดอกมะลิ หรือดอกบานไม่รู้โรยคล้องคอแขกทุกคนแล้วเชิญเข้าสู่บริเวณที่เลี้ยงขันโตกในราชวัตรเพื่อคอยชมขบวนแห่ขันโตก โดยรูปแบบการจัดขบวนประกอบด้วย พานบายศรี ช่างฟ้อนนำหน้า ดนตรีกลองตึ่งโนง ขันโตกเอก ขันโตกโท หรือรอง กล่องข้าวใหญ่ ขันโตกบริวาร กล่องข้าวเล็กและอาหารหวาน

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[นิทานเรื่องเล่า]...นิทานสายลม...


...นิทานสายลม...
กาลครั้งหนึ่งนานมา...ตั้งแต่สมัยที่ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกสีฟ้าๆ เขียวๆ ใบนี้ ยังใช้ภาษาเดียวกัน...มีสายลมพัดแกว่งไกวอยู่ 4 สาย ทั้งสี่เป็นพี่น้องกัน ....

ลมเหนือ เป็นพี่คนโต...เขาเป็นสายลมเยือกเย็น ดุจเดียวกับอารมณ์ของเขา เมื่อเขาพัดพาไปทางใด ที่แห่งนั้นจะได้สัมผัสอากาศหนาวเย็นแต่ก็แสนสดชื่น ในบางคราวที่ลมเหนืออารมณ์ดีมากๆ หิมะที่เขาหอบมาด้วย ก็จะโปรยปรายเป็นเกล็ดสีขาว เบาบางลงมา
เปลี่ยนสีสันของโลกเบื้องล่างให้เป็นสีขาวบริสุทธิ์ ที่งามราวกับสวรรค์

...ลมเหนือไม่เคยทำให้อากาศหนาวเย็นมากเกินไปหรือปล่อยให้หิมะตกลงมามากนัก เพราะเขาไม่อยากเห็นเด็กๆ และสัตว์ทั้งหลายข้างล่างต้องหดหู่อยู่แต่ในที่พัก เขาไม่ชอบเลย หากต้นไม้ดอกไม้จะต้องเ่ยวเฉาเพราะความหนาวเย็นที่มากจนทนไม่ไหว
เขาจึงควบคุมตนเองได้ดีเสมอ สมกับเป็นพี่คนโต...


ลมใต้ พี่คนรอง... เธอร่าเริงสดใส ยิ้มแย้มและเบิกบานอยู่เป็นนิจ เมื่อลมใต้ออกท่องเที่ยว เธอมักจะนำกลิ่นเย็นฉ่ำของสายฝน
กลิ่นหอมหวานของผลไม้,ดอกไม้ในป่าดงดิบ และกลิ่นของทะเลไปด้วยเสมอ เมื่อเธอผ่านไปทางใด ไม่ว่าผู้คน สัตว์ ต้นไม้หรือดอกไม้ ต่างก็เบิกบานและร่าเริงไปกับเธอด้วย... เธอชักชวนให้พวกเขาเต้นรำ ร้องเพลง ยิ้มแย้มและหัวเราะให้กว้างที่สุดเท่าที่เคยหัวเราะมา...


ลมตะวันตก น้องคนที่สาม... มีรูปร่างใหญ่โต และแข็งแรงที่สุดในบรรดาพี่น้องทั้งสี่...ยามเขาบ่ายหน้าไปทางใด สายลมแรงก็จะติดตามไปกับเขา ต้นไม้ในท้องทุ่งลู่เอียงไปตามแรงพัดพา เขาพัดเอากระเบื้องบนหลังคากระท่อมหลุดลอยไป...

เมื่อลมเหนือพี่ใหญ่รู้เข้า ก็มักจะดุเอา...แต่เขาก็บอกว่า เขาทำเพื่อให้ผู้คนรู้ต่างหาก ว่าหลังคาตรงไหนควรซ่อมแซมได้แล้ว...แม้เด็กๆ ส่วนใหญ่จะกลัวลมตะวันตก (เพราะไม่เคยพูดกับเขาได้ทันสักที)...แต่ผู้ใหญ่ก็รู้ว่า ลมตะวันตกช่วยให้เด็กๆ เชื่อฟังและระมัดระวังตัว ไม่เล่นซนจนเป็นอันตรายแก่ตัวเอง (เนื่องจาก สิ่งอื่นๆ บนโลกใบนี้ อาจไม่ใจดีแบบลมพี่น้องทั้งสี่ก็ได้)...


ลมตะวันออก น้องสุดท้อง... เขาเป็นสายลมที่แสนจะอ่อนโยน ยามเมื่อพระอาทิตย์สาดแสงร้อนแรงเกินไป เขาจะพาเอาความเย็นชื่นมาไล้อยู่ข้างกายของผู้คนที่เหน็ดเหนื่อยกลางเปลวแดดแตะแผ่ว ๆ บนแก้มเด็กน้อยที่วิ่งเล่นจนเหนื่อยและหลับไหลใต้ต้น ไม้ใหญ่

ลมตะวันออกชอบแวะคุยกับต้นไม้ดอกไม้ ผู้คนและส่ำสัตว์ตามทางที่เขาพัดผ่าน...บางครั้ง เขาได้ฟังเรื่องราวการผจญภัยของเหล่านกที่ย้ายถิ่นฐานในฤดูหนาว... บางครั้ง ตัวตุ่นก็เล่าให้เขาฟังถึงสิ่งต่างๆ ใต้พื้นดินที่เขาไม่เคยเห็น...เขาจึงมักมีเรื่องราวต่างๆ นานามาเล่าให้พี่ทั้งสาม และเพื่อนๆ ฟังอยู่เสมอ...พี่ทั้งสามรักและเอ็นดูลมตะวันออกมาก...และไม่ว่าใครที่ได้พบเขา ก็มักจะอดรักเขาไม่ได้เลย...


วันหนึ่งขณะที่ลมเหนือกลับเข้ามาในบ้าน...

เขาก็เรียกให้น้องรอง-ลมใต้ นั่งลง ก่อนที่เธอจะออกไปท่องเที่ยวตามปกติ เขาเล่าให้น้องๆ ทั้งสามคนฟังว่า
"ได้พบกับดอกไม้ดอกหนึ่งในป่าใหญ่ที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านของพวกเขา ดอกไม้ดอกนั้นดูท่าทางเศร้าโศกท่าทางไม่มีแก่ใจจะต้านทานลมหนาว (ที่หนาวเพียงนิดเดียว) เลยแม้สักนิด"

...ลมเหนือผ่อนสายลมลง แล้วเข้าไปถามดอกไม้ดอกนั้นว่า "ทำไมจึงได้โศกเศร้าเช่นนี้"

แต่ดอกไม้ก็ไม่ยอมตอบ แม้ว่าลมเหนือเพียรถามสักเท่าใดก็ตาม

ในที่สุด ลมเหนือจึงจากมา....


...ลมใต้ถามพี่ชายว่า "พี่รู้หรือไม่ ดอกไม้ดอกนั้นสีอะไร หากน้องผ่านไปทางนั้น ความร่าเริงของน้องอาจช่วยเขาได้ "

"พี่ไม่อาจรู้ได้เพราะตอนนั้น สีขาวของหิมะได้ปกคลุมกลีบดอกของเขาจนหมดแล้ว แต่พี่จำได้ว่าเขาอยู่ที่ริมธารน้ำเล็กๆ ข้างป่าสน" ลมเหนือตอบ...

ลมใต้จึงเตรียมตัวออกท่องเที่ยว พร้อมกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า "งั้นน้องจะพยายามหาเขาให้เจอ" แล้วลมใต้ก็ออกจากบ้านไป

ขณะที่ลมเหนือ ผู้ซึ่งเหน็ดเหนื่อยกับการท่องเที่ยวอันยาวนาน กำลังเตรียมตัวพักผ่อน และลมตะวันตก เริ่มจัดเสื้อผ้าพร้อมสิ่งที่จะนำติดตัวไปด้วยระหว่างเดินทางเมื่อลมใต้กลับมา





ส่วนลมตะวันออกก็เริ่มครุ่นคิดเกี่ยวกับดอกไม้ดอกนั้น...ทั้งสงสัยว่าความทุกข์ที่ดอกไม้ได้พบมากมายเพียงใดและเกิดจากเหตุใด
ลมตะวันออกได้แต่เฝ้ารอให้ถึงเวลาที่ตนเองจะออกเดินทางบ้าง เขาตั้งใจว่าต้องหาดอกไม้ดอกนี้ให้เจอและพูดคุยกับดอกไม้ให้ได้

ในที่สุดลมใต้ก็กลับมา...และเล่าให้พี่น้องฟังว่าเธอได้พบดอกไม้ดอกนั้นแล้ว เมื่อหิมะละลายออกไปหมด เธอได้พบว่าดอกไม้ดอกนั้นเป็นสีฟ้า...เธอร้องเพลงและเต้นรำไปรอบตัวเขา...เธอชักชวนแมกไม้รอบๆ ให้เต้นรำไปด้วย...แต่ดอกไม้สีฟ้ากลับนิ่งเฉย ราวกับไม่เหลือความรู้สึกใดๆ อีกแล้ว...

เมื่อลมใต้เล่าจบ...ลมตะวันตกก็ออกไปพร้อมประตูปิดเสียงดังลั่นด้วยความแข็งแรงของเขา ลมตะวันออกถามลมใต้ขณะที่เธอกำลังจะมุดเข้าไปในผ้าห่มอุ่น ๆ ว่า "ดอกไม้สีฟ้าไม่สนใจสิ่งใดเลยหรือพี่ ?"

"ใช่...แม้เมื่อพี่ร้องเพลงที่ทำให้ป่าทั้งป่าเต้นรำ ใบของเขาก็ยังไม่กระดิกเลย " ลมใต้ตอบพร้อมกับอ้าปากหาวไปด้วย

ไม่นานนักลมตะวันตกก็กลับมา...ลมตะวันออกถามพี่ชายก่อนที่ตนเองจะออกเดินทางว่าได้พบดอกไม้สีฟ้าหรือไม่

"ข้าไม่ได้ผ่านไปทางนั้น เพราะข้ากลัวว่าความรุนแรงของข้าจะทำให้ดอกไม้ที่น่าสงสารนั่นถอนรากออกมา " แล้วลมตะวันตกก็เดินเข้าบ้านไป

ลมตะวันออกขยับหมวกของเขาให้เข้าที่แล้วก็มุ่งหน้าไปยังป่าใหญ่ที่ดอกไม้สีฟ้าอยู่ทันที เขาเลาะเลียบริมธารน้ำไป...จนในที่สุดเขาก็ได้พบดอกไม้สีฟ้า

ดอกไม้ดอกนั้นสีฟ้าจัดจ้าแต่เป็นความจัดจ้าที่เต็มไปด้วยความเศร้าหมอง...ลมตะวันออกนั่งลงข้างดอกไม้ ไม่ได้พูดสิ่งใดนานนับนาน เฝ้าแต่ปลอบโยนดอกไม้ด้วยสายลมแผ่ว ๆ อยู่ตลอดเวลา...


...จนวันหนึ่ง... ลมตะวันออกเอ่ยปากถามดอกไม้เป็นครั้งแรก "ท่านอยู่ที่นี่มานานหรือยัง ?"

ดอกไม้สีฟ้านิ่งเงียบไม่ขยับแม้สักนิด จนเมื่อลมตะวันออกคิดว่าดอกไม้คงไม่ตอบแล้ว

ดอกไม้สีฟ้าก็เอ่ยเสียงแผ่ว ๆ ขึ้นมาว่า "ข้าอยู่ที่นี่มานานมากแล้ว อาจจะนานเกินไปเสียด้วยซ้ำ"

ลมตะวันออกขยับตัวนั่งอย่างตั้งใจฟังเต็มที่ ดอกไม้สีฟ้าจึงเล่าเรื่องราวของตนเองและเหตุแห่งความเศร้าโศกอันใหญ่หลวงนี้ ดอกไม้มีผู้ซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าสิ่งใด...แต่เธอจากไปและไม่เคยกลับมาทั้งที่สัญญาไว้ว่าจะกลับมาหาเขาทุกฤดูร้อน...

ดอกไม้เฝ้ารอมานานแสนนาน...จนแทบหมดสิ้นความหวังไปแล้ว แต่ใจส่วนลึก ๆ ก็ยังรอคอยเธอผู้เป็นที่รัก ทั้งที่เธออาจจะมา หรือไม่มาก็ตาม...ดอกไม้บอกว่า "การไม่รู้ถึงการตัดสินใจนั้นแย่ยิ่งกว่าเสียอีก"...

เมื่อลมตะวันออกได้ฟังเรื่องราวของดอกไม้สีฟ้า เขาสงสารดอกไม้มากและอยากจะช่วยตามหาเธอผู้นั้น เขาบอกดอกไม้สีฟ้าว่าเขาจะไปตามหาและเขาจะกลับมาแน่นอน...

ลมตะวันออก...ออกเดินทางจากป่าใหญ่เมื่อพบใครก็ถามถึงเธอผู้นั้น หลายคนเคยเห็นแต่ก็นานมากแล้วจนเขามาพบตัวตุ่นตัวหนึ่งที่ขุดรูอาศัยอยู่ริมหนองน้ำใหญ่

ตัวตุ่นบอกว่า "เธอผู้นั้นถูกราชาคางคกจับไปเพื่อจะให้เธอเป็นราชินีของเขา...แต่ตอนนี้ยังมิได้เข้าพิธีแต่งงาน เพราะนางแมงมุมที่เป็นช่างทอผ้าที่เก่งที่สุดและเป็นผู้ทอชุดเจ้าสาวถวายนั้นได้ลมป่วยลง"

ตัวตุ่นบอกว่า "เขาอยากช่วยเธอ แต่บริวารของราชาคางคกก็เยอะเหลือเกินจนเขาสู้ไม่ได้" ตัวตุ่นจึงบอกให้ลมตะวันออกรู้ว่าวังของราชาคางคกอยู่ที่ไหน

ลมตะวันออกดีใจมากที่ในที่สุดก็ได้ข่าวของเธอผู้นั้น เขาขอบใจตัวตุ่นเป็นการใหญ่ และเร่งรุดไปยังวังของราชาคางคกทันที ถึงจะพูดว่าเป็นวัง แต่ที่จริงแล้วกลับดูเหมือนกองดินขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยเศษซากแมลงเขละขละ

...ลมตะวันออกเรียกราชาคางคกออกมาและบอกว่า "เธอผู้นั้นไม่อาจเป็นราชินีของเจ้าได้ เธอมีผู้ที่เธอรักแล้วเจ้าจงไปหาราชินีที่เหมาะสมกับเจ้าเถิด"

ราชาคางคกไม่ยอม เขาสั่งบริวารมากมายให้ล้อมตัวเธอผู้นั้นไว้แต่เมื่อเทียบขนาดแล้ว...ลมตะวันออก (ซึ่งอันที่จริงก็ตัวเล็กที่สุดแล้วในหมู่พี่น้อง) ตัวใหญ่กว่ามากนัก ราชาคางคกไม่รู้จะทำอย่างไรเลยต้องปล่อยตัวเธอผู้นั้นให้ลมตะวันออกไป

ลมตะวันออกให้เธอนั่งอยู่บนฝ่ามือของเขาและโอบเธอไว้อย่างนุ่มนวล แล้วลมตะวันออกก็เร่งไปยังป่าใหญ่ที่ดอกไม้สีฟ้าหยัดยืนอยู่

เมื่อมาถึงป่าใหญ่ ลมตะวันออกค่อยๆ วางเธอผู้นั้นลงบนก้อนหินริมลำธารที่ดอกไม้สีฟ้ายืนอยู่ ดอกไม้หันมาพบเธอ และตะลึงงันไปราวไม่เชื่อว่านี่คือความจริง ทั้งสองจ้องมองกันอยู่ชั่วครู่แล้วทั้งคู่ก็ร้องไห้และหัวเราะไปด้วยกัน ส่วนลมตะวันออกน่ะ ยืนยิ้มกว้างอยู่ตั้งนานแล้ว)

.





...ตั้งแต่นั้นมา ดอกไม้สีฟ้า และลมตะวันออกก็เป็นเพื่อนรักกันตลอดมา..


วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[นิทานเรื่องเล่า]...ตำนานดอกซากุระ...




...ตำนานดอกซากุระ...
..."ซากุระ"...มาจากคำเก่าแก่สองคำ คือ "ซา" หมายถึง วิญญาณแห่งพืชพันธุ์ และ "กุระ" หมายถึง ที่ประทับของเทพเจ้า ดังนั้นคำว่า "ซากุระ" จึงหมายถึง ที่สถิตของจิตวิญญาณแห่งพืชพันธุ์ทั้งปวง

ในแง่ของตำนาน ซากุระเกิดขึ้นมาเพราะเทวนารีองค์หนึ่ง คือโคโนะฮานะ ซากุยะ ฮิเมะเชื่อกันว่า พระนางเป็นผู้ริเริ่มปลูกซากุระขึ้นเป็นครั้งแรก จึงได้ชื่อตามพระนามของนาง

...โคโนะฮานะ, ซากุยะ, ฮิเมะ เป็นธิดาของโอโฮยามัทซูมิ เทพแห่งภูเขา...

วันหนึ่งพระนางได้พบเทพนินิงิที่ชายทะเล และตกหลุมรักซึ่งกันและกัน...เทพนินิงิทูลขอเทพโอโฮยามัทซูมิเพื่อขอนางมาเป็นชายา

ในตอนแรก เทพโอโฮยามัทซูมิได้เสนอธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเทพีแห่งก้อนหินมาเป็นคู่สยุมพรแทนแต่เทพนินิงิไม่ยอม พระองค์ยังยืนกรานในรักมั่นที่มีต่อเทวีแห่งซากุระ

ในที่สุดจึงได้วิวาห์ดังที่ปรารถนาหลังอภิเษกได้เพียงวันเดียวเทพีโคโนะฮานะ, ซากุยะ, ฮิเมะ ก็ทรงครรภ์ เทพโอโฮยามัทซูมิทรงคลางแคลงพระทัยว่าบุตรในท้องเป็นลูกของพระองค์จริงหรือไม่

การที่เทพีโคโนะฮานะ, ซากุยะ, ฮิเมะ ได้กำเนิดโอรสในกองเพลิงนี่เอง ทำให้ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระนางควบคุมไฟได้...
เลยก็เลยมีการสร้างศาลบูชาพระนางขึ้นที่ตีนภูเขาไฟฟูจิ ในปี ค.ศ.806 ด้วยความหวังว่า... พระนางจะช่วยไม่ให้ภูเขาไฟพิโรธ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน พระนางจึงกลายเป็นเทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิด้วย...

...จนถึงทุกวันนี้ผู้ที่ไปเยือนภูเขาไฟฟูจิมักจะแวะไปสักการะศาลของพระนาง และเชื่อกันอีกอย่างว่าเมล็ดพันธุ์ของต้นซากุระที่พระนางนำมาปลูกเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากภูเขาไฟฟูจิซึ่งพระองค์ดูแลอยู่นี่เอง

นอกจากนั้น...พระนางยังเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในบ้านและเปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นดี ให้ผู้คนได้ตามที่หัวใจปรารถนาด้วย...









วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

[นิทานเซน]...ผีเสื้อในฝัน...


...ผีเสื้อในฝัน...


...ช่วงเย็นของวันหนึ่ง ชายหนุ่มคนหนึ่งเดินมาตามลำพังอยู่ที่สนามหญ้าชานเมืองแห่งหนึ่ง เขาไม่ได้เดินปล่อยอารมณ์อย่างนี้มานานแล้ว เพราะว่าไม่มีใครที่เข้าใจจิตใจจริงๆของเขาสักคน เขาจำเป็นต้องกดข่มอารมณ์ของตัวเองไม่ให้ฟุ้งซ่าน เพราะว่าวิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่จะไม่ให้เขาจมปรักคิดถึงแต่เรื่องต่างๆของตัวเอง


...ขานอนลงกับพื้นหญ้าและมองขึ้นไปบนท้องฟ้า พลางสูดดมความหอมของไอดินกลิ่นหญ้า แล้วปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ ไม่นานเขาก็เผลอหลับแล้วฝัน ในความฝันเขาได้กลายเป็นผีเสื้อตัวหนึ่งที่มีปีกสีสวยงามตระการตา บินวนเวียนอยู่อย่างมีความสุข อยู่กลางสวนดอกไม้...


...ที่มีท้องฟ้าสีครามและมีเมฆขาวอยู่เบื้องบน และมีพื้นหญ้าที่นุ่มและเขียวชอุ่มอยู่เบื้องล่าง และมีสายลมพัดเอื่อยๆผ่านใบหลิว
มวลดอกไม้ต่างๆ ต่างแย่งกันอวดชูช่อและสีสัน คลื่นน้ำในสระพลิ้วไหวเป็นระลอกๆ ยามต้องลม ชายหนุ่มนั้นดื่มด่ำมีความสุขอยู่กับความฝันนั้นจนลืมโลกลืมตัวเองไปจนหมดสิ้น


...ฉับพลันนั้นเขาก็ตื่นขึ้นมา เขาแบ่งแยกไม่ออกจริงๆว่าเมื่อกี้นั้นเป็นความจริงหรือความฝัน และเมื่อเขารู้ตัวแล้วว่าเป็นความฝัน จึงพูดว่า “ข้าก็ยังคือข้า ผีเสื้อก็ยังคือผีเสื้อ”


กาลเวลาผ่านไป ในที่สุดเขาก็เริ่มรู้แล้วว่า ที่แท้ผีเสื้อที่มีปีกสีสวยงาม และบินวนเวียน อย่างมีความสุขนั้นคือตัวเขาเองและในขณะนี้เขาก็ยังเป็นเขาคนเดิม กับความเป็นตัวตนของตัวเองยังเหมือนเดิมทุกอย่างแต่ที่แตกต่างก็คือ ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปจากเดิมทุกอย่างแล้ว


เขานอนลงกับพื้นหญ้าและมองขึ้นไปบนท้องฟ้า พลางสูดดมความหอมของไอดินกลิ่นหญ้า แล้วปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ ไม่นานเขาก็เผลอหลับแล้วฝัน ในความฝันเขาได้กลายเป็นผีเสื้อตัวหนึ่งที่มีปีกสีสวยงามตระการตา บินวนเวียนอยู่อย่างมีความสุขอยู่กลางสวนดอกไม้ ที่มีท้องฟ้าสีครามและมีเมฆขาวอยู่เบื้องบน และมีพื้นหญ้าที่นุ่ม และเขียวชอุ่มอยู่เบื้องล่าง และมีสายลมพัดเอื่อยๆผ่านใบหลิว... มวลดอกไม้ต่างๆ ต่างแย่งกันอวดชูช่อและสีสัน คลื่นน้ำในสระพลิ้วไหวเป็นระลอกๆ ยามต้องลม ชายหนุ่มนั้นดื่มด่ำมีความสุขอยู่กับความฝันนั้นจนลืมโลกลืมตัวเองไปจนหมดสิ้น...


ฉับพลันนั้นเขาก็ตื่นขึ้นมา เขาแบ่งแยกไม่ออกจริงๆว่าเมื่อกี้นั้นเป็นความจริงหรือความฝัน และเมื่อเขารู้ตัวแล้วว่าเป็นความฝัน จึงพูดว่า “ข้าก็ยังคือข้า ผีเสื้อก็ยังคือผีเสื้อ”


กาลเวลาผ่านไป... ในที่สุดเขาก็เริ่มรู้แล้วว่า ที่แท้ผีเสื้อที่มีปีกสีสวยงาม และบินวนเวียน อย่างมีความสุขนั้นคือตัวเขาเองและในขณะนี้เขาก็ยังเป็นเขาคนเดิม กับความเป็นตัวตนของตัวเองยังเหมือนเดิมทุกอย่างแต่ที่แตกต่างก็คือ ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปจากเดิมทุกอย่างแล้ว ...