วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหนวดพราหมณ์

ปลาหนวดพราหมณ์




ชิ่อสามัญอังกฤษ: Paradise threadfin

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemus paradiseus

อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae)



ปลาหนวดพราหมณ์ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างภายนอกของปลาชนิดนี้จะมีทรวดทรงเหมือนปลากุเราทุกประการ แต่ปลาหนวดพราหมณ์มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียว ส่วนของหัวค่อนข้างเล็ก หน้าสั้น นัยน์ตามีขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุม ปากอยู่ทางด้านล่างของลำตัว มีฟันเล็กละเอียดอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ไม่มีริมฝีปากบน ลำตัวแบนข้าง ครีบอกยาว




ครีบหลังมี 2 อัน ครีบท้องอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบหลังอันที่สอง ก้านครีบหูแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบหูของปลาอื่น ๆ แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มี 7 เส้น 2 เส้นแรกมีความยาวเป็น 2 เท่าของความยาวลำตัว ส่วนปลากุเรามีก้านครีบฝอยค่อนข้างสั้น ข้างละ 4 เส้นเท่านั้น




เกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลาม ตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อ (สีเหลือง)หัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อ ครีบสีจาง ด้านท้องสีจาง

พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองบริเวณสันหลังเป็นสีเทาหรือเขียว ไม่มีริมฝีปากบน ปลาในวงศ์นี้อาศัยอยู่ในทะเล




ถิ่นอาศัย

พบตามชายฝั่งทะเลทั่วไป ในแหล่งน้ำจืดพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนแม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

นิสัย

นิยมอยู่เป็นฝูง บางครั้งหากินด้วยการหงายท้องล่าเหยื่อ


อาหาร

กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ขนาด

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 25 เซนติเมตร

ประโยขน์

เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคโดยการปรุงสดและทำปลาตากแห้ง นิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งด้วยความสวยงามของหนวดที่ยาว ทำให้ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เลี้ยงให้รอดได้ยากมาก เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มักตายอย่างง่าย ๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงแต่ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นอย่างมาก โดยมีราคาเฉลี่ย 500 ถึง 1,500 บาท แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของปลา

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย

หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์

ภาพปลาและสัตว์น้ำจองไทยโดยสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์




ปลาหนวดพรามณ์เป็นปลาที่พบบ่อยในบางกรูดในสมัยเด็ก ๆ แม้ในปัจจุบันก็ยังพอพบเห็นได้ บางครั้งก็กระโดดเข้ามาในเรือ สำเป๊ะ หรือ เรือเท้าวเปีะ หรือเรือเช้าเป๊ะ ซึ่งก็คือเรือผีหลอกนั่นเอง แต่นาน ๆ ครั้งและครั้งละเพียงตัวเดียว

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาจวด


วงศ์ปลาจวด (Sciaenidae)

ชื่อ อังกฤษ: Croaker, Drum

เป็นวงศ์ในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง

ปลาวงศ์ปลาจวด มีหลายสกุลและชนิด โดยมากเป็นปลาทะเลพบในน้้าจืดเพียงไม่กี่ชนิด




ปลาม้า เป็นปลาวงศ์ปลาจวดที่เป็นปลาน้ำจืด

ลักษณะทั่วไปของปลาวงศ์ปลาจวด

มีลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีส่วนหัวโต จะงอยปากยื่นยาวแต่ปลายมน ตาโตอยู่ค่อนข้างไปทางด้านบนของหัว ปากมักอยู่ไปทางด้านล่าง ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็ก ๆ มักมีรูเล็ก ๆ อยู่ใต้คาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน โคนครีบหางคอดกิ่ว ปลายหางอาจจะมีปลายแหลมหรือตัดตรง เกล็ดมีขนาดเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวจนถึงปลายครีบหาง ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก มีกระเพาะลมขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อรอบ ซึ่งสามารถทำเสียงได้เวลาตกใจหรือในฤดูผสมพันธุ์

ถิ่นอาศัยของปลาจวด

พบในเขตอบอุ่นรอบโลกมากกว่า 270 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น สกุล Aplodinotus ส่วนมากพบในน้ำกร่อย

สำหรับในประเทศไทยพบราว 40 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงชนิดเดียว คือ ปลาม้า
สำหรับปลาในวงศ์นี้ ภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจวด" หรือ "ปลาหางกิ่ว"
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ชนิดหนึ่งที่เป็นปลาที่หายากมาก พบในเขตทะเลประเทศจีน คือ Bahaba taipingensis




ภาพปลาม้า

นิสัยของปลาจวดคือรักสงบ ชอบกบดานนิ่งอยู่ตามพื้น

ขนาดความยาวประมาณ 17-60 ซม.

กินอาหารจ้าพวกสัตว์น้้าขนาดเล็กกว่า เช่น กุ้ง ปู ตัวอ่อนแมลง แมลง และปลา



ประโยชน์ เนื้อปลามีรสชาติอร่อย นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร ถุงลมนำไปตากแห้งทำเป็นกระเพาะปลา

ปลาจวด ชนิดที่มีลักษณะคล้ายปลาม้ามาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bahaba polykladiskos (Bleeker,1852) มีรูปร่างเรียว ส่วนหางคอดกิ่ว ปากมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรบนยาวถึงกลางตาหรือขอบตาหลัง ฟันมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ครีบหลังแบ่งเป็นสองครีบ ครีบแรกเป็นก้านครีบแข็ง ครีบที่สองมีก้านครีบแข็งเป็นก้านครีบแรกต่อด้วยก้านครีบอ่อน ครีบหางเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ล้าตัวสีเทาอ่อนหรือเหลืองเหลือบเงิน มีขนาดตัวประมาณ 30-40 ซม. เกล็ดเรียบมีขนาดเล็ก เกล็ดเส้นข้างล้าตัวถึงปลายของครีบหาง


ปลาหางกิ่ว

ในทางอนุกรมวิธาน การใช้ลักษณะภายนอกอาจไม่เพียงพอในการจำแนก ต้องใช้ลักษณะภายในแยกชนิดของปลาทั้งสองออกจากกัน โดยการจำแนกปลาม้ากับปลาจวดนั้น จะดูที่กระเพาะลม (swimbladder) ซึ่งจะมีข้อแตกต่างของกระเพาะลมอยู่ตรงที่ กระเพาะลมปลาม้าจะมีเส้นแตกแขนงออกมาจากด้านหลังของผนังกระเพาะลมหลายคู่ ในขณะที่กระเพาะลมของปลาจวดมีเส้นที่แตกแขนงออกมาจากด้านหลังของกระเพาะลมเพียงคู่เดียว

หากเจอปลาม้าหรือปลาจวด แล้วไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าเป็นตัวไหนกันแน่ ก็ต้องท้าการผ่าเอากระเพาะลมออกมาดู จะสามารถบอกได้ว่าเป็นปลาม้าหรือปลาจวด และข้อแตกต่างอีกประการที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปลาม้าเป็นปลาชนิดเดียวในวงศ์ปลาจวดที่เป็นปลาน้้าจืดที่พบในประเทศไทย ดังนั้นพอสรุปได้ว่าปลาม้าแตกต่างจากปลาจวดจากลักษณะภายในคือกระเพาะลม และถิ่นอาศัยคือปลาม้าเป็นปลาที่อาศัยในแหล่งน้้าจืดส่วนปลาจวดจะมีถิ่นอาศัยในน้้ากร่อยและทะเล ทำให้สามารถแยกปลาม้าออกจากปลาจวดได้

ที่มาของข้อมูล

หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ และ

ปลาม้าต่างจากปลาจวดอย่างไร

โดยอุไรวรรณ กว้างขวาง

กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรประมงน้้าจืด

มีข้อมูลปลาจวดในทะเลสาบสงขลา

ชื่อสามัญ Soldier croaker

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nibea soldado

ลักษณะทั่วไป ปลาจวดเป็นปลาน้ำกร่อย มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเขียวอ่อน ส่วนหลังมีเทาปนดำ ท้องสีขาวเงิน เกล็ดมีขนาดเล็ก หัวค่อนข้างเล็กลาดลงต่ำ ตาค่อนข้างเล็ก ปากกว้างจะงอยปากสั้นทู่ ครีบหลังมี 2 ส่วนเชื่อมติดกัน ปลายครีบยาวเป็นแพจรดโคนหาง ครีบท้องและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและแหลมคมยื่นยาว ครีบหางยาวปลายแหลม ครีบต่าง ๆ สีน้ำตาลหรือเหลืองอ่อน

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในทะเลและบริเวณปากแม่น้ำ

ประโยชน์ เนื้อปลามีรสชาติอร่อย นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร ถุงลมนำไปตากแห้งทำเป็นกระเพาะปลา

บริเวณที่พบในทะเลสาบสงขลา บริเวณปากทะเลสาบจากเกาะหนูและเกาะแมว, บริเวณตั้งแต่หัวเขาแดงถึงเกาะยอ, บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอกจากเกาะยอถึงปากรอ, จากคลองหลวงบริเวณปากรอขึ้นไปจรดเส้นเขาติดต่อระหว่างเกาะใหญ่และปลายแหลมจองถนน



ปลาหางกิ่ว

ที่ตำบลบางกรูดเราจะแยกเรียกปลาจวด และปลาหางกิ่ว เป็นปลาคนละชนิดกัน สอดคล้องกับเอกสารวิชาการฉบับที่ 30 ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง เมื่อ ปี พ.ศ. 2526 โดยสันทนา ดวงสวัสดิ์และคณะ เรื่อง สภาวะการประมง ชนิด และการแพร่กระจายของสัตว์น้ำบางปะกง โดยที่ ปลาจวด ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Johnius trachycephaius

ปลาหางกิ่วใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudosciaena sp. ซึ่งในวิกิพีเดียได้แยกสกุลชองปลาจวดไว้ดังนี้

Aplodinotus

Argyrosomus

Aspericorvina

Atractoscion

Atrobucca

Austronibea

Bahaba

Bairdiella

Boesemania

Cheilotrema

Chrysochir

Cilus

Collichthys

Corvula

Ctenosciaena

Cynoscion

Daysciaena

Dendrophysa

Elattarchus

Equetus

Genyonemus

Isopisthus

Johnius

Kathala

Larimichthys

Larimus

Leiostomus

Lonchurus

Macrodon

Macrospinosa

Megalonibea

Menticirrhus

Micropogonias

Miichthys

Miracorvina

Nebris

Nibea

Odontoscion

Ophioscion

Otolithes

Otolithoides

Pachypops

Pachyurus

Panna

Paralonchurus

Paranibea

Pareques

Pennahia

Pentheroscion

Plagioscion

Pogonias

Protonibea

Protosciaena

Pseudosciaena

Pseudotolithus

Pteroscion

Pterotolithus

Roncador

Sciaena

Sciaenops

Seriphus

Sonorolux

Stellifer

Totoaba

Umbrina

ปลาจวดเป็นปลาที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกับหน้าตาของคน ว่า "หน้าตาเหมือนปลาจวด " และโดยทั่วไปน่าจะนิยมใช้มากกว่า "หน้าตาเหมือนปลากระทุงเหว"

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลากาดำ






กลับมาเรื่องปลาที่พลอยโพยมเคยพบเห็นในวัยเด็กตามลุ่มน้ำบางปะกงที่ตำบลบางกรูด


ปลากาดำ


มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos chrysophekadion เดิมใช้ฃื่อว่า Labeo chrysophekadion


อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)


วงศ์ย่อย Cyprininae




ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "เพี้ย" ในภาษาเหนือ "อีตู๋" หรือ "อีก่ำ" ในภาษาอีสาน


ลักษณะทั่วไป


 

ปลากาดำเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง


ปลากาดำ มีลำตัวยาว ด้านข้างแบนเล็กน้อย ด้านหลังโค้งสูง ส่วนท้องแบน ปากอยู่ในแนวเดียวกับสันท้อง ยืดหดได้และมีลักษณะแบบปากดูด ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ เหมือนชายครุยอยู่รวมกันเป็นกระจุกรอบบริเวณปาก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบท้องยาวจดตอนต้นของครีบก้น ครีบหางเว้าลึก ครีบสีดำทั้งสิ้น สีของลำตัวมีตั้งแต่ม่วงแก่ไปจนถึงดำเข้ม เกล็ดมีขนาดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด


ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย




นิสัย


เป็นปลามีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลาตัวอื่น


ถิ่นอาศัย


พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในระดับน้ำตื้น ๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ ยกเว้นภาคใต้


อาหาร


มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืช และตัวอ่อนแมลงน้ำ


ขนาด


มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร


ประโยชน์ ปลากาดำใช้บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


ปัจจุบันปลากาดำเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง


ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย และ ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทยโดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์


ปลากาดำเคยมีชุกชุมในลำน้ำบางปะกง รุ่นพี่ ๆ ของพลอยโพยมจะคุ้นเคยดี แต่ตัวพลอยโพยมเองไม่ค่อยคุ้นเคยนักจะจำได้เฉพาะปลาที่ตัวเองชอบกินและจำไม่ได้ว่าเมนูปลากาดำของที่บ้านเอามาทำรายการกับข้าวอะไรกัน


ธรรมดาเมื่อนึกถึงสัตว์ที่ชื่อกาคนก็มักนึกถึงนกอีกาที่ตัวดำกะปิ๊ดกะปี๋มิดหมี ขนาดที่ว่าหากเราจะอุปมาอุปไมยเปรียบเปรยว่าใครสักคนที่ใจร้ายและเห็นแก่ตัวว่า "ใจดำเหมือนอีกา " ส่วนปลาที่ชื่อว่าปลากาดำนั้น ต้องเรียกให้เต็มยศว่าปลากาดำ เนื่องจากยังมีปลากาแดงอีกพันธุ์หนึ่งซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาทรงเครื่อง และปลากาดำ ซึ่งปลากาแดงนี้ก็มีลำตัวสีดำ แต่ครีบและหางเป็นสีแดง (คล้ายปลาทรงเครื่อง)


และยังมีปลากาดำเผือกอีก ดังภาพข้างล่าง


เมื่อสองปีที่แล้วที่พลอยโพยมไปถ่ายภาพปลาที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพ ฯ ที่บางเขน ในตูู้เลี้ยงปลาตู้หนึ่งมีปลากระมัง 3-4 ตัว ปลากาดำ 2-3 ตัว และมีปลากาดำเผือก พบว่าปลากาดำและปลากาดำเผือก เป็นปลาเกเรจริง ๆ ว่ายฉวัดเฉวียนโฉบเฉี่ยวไปหาปลากระมังบ่อย ๆ แต่ปลากระมังก็หลบทัน บางทีทั้งปลากาดำและปลากาดำเผือกก็ทำท่าราวีกันเองก็มี แต่ในปี พ.ศ. 2555 นี้ เมื่อไปเยี่ยมเยียนบรรดาคุณปลา ปลา ทั้งหลายใหม่ ก็หดหู่ใจในความไม่เที่ยงของสัตว์โลกจริง ๆ จำนวนปลาในหลาย ๆ ตู้ ลดลง บางชนิดก็หายไปเลย เช่นปลาสวายเผือก ก็หายไปไม่มีเหลือในตู้รวมทั้งปลากาดำเผือกด้วย พลอยโพยมใช้เวลาค้นภาพคุณปลากาดำเผือกนานทีเดียวเนื่องจากแต่แรกคิดจะไม่พาดพิงถึงเพราะสมัยเด็ก ๆ ไม่เคยพบเห็นปลากาดำเผือก แต่ก็ได้ถ่ายภาพเก็บไว้ในคราวที่ไปถ่ายภาพปลากาดำและปลากระมัง ยังจดจำท่าที่ปราดเปรียวเกเรของปลากาดำและปลากาดำเผือกได้ดี



ปลากาดำเผือก



















blogger มีการปรับปรุง blog ใหม่ พลอยโพยมเองยังเรียนรู้การปรับปรุง blog ใหม่ ได้น้อย รวมทั้ง Hard disk ของพลอยโพยมเกิดปัญหา รวมทั้งอาการผิดปกติของนิ้วและข้อมือจากใช้คอมพิวเตอร์มากไปทำให้บทความของพลอยโพยมไม่ค่อยได้ up date ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

งานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย





ภาพคุณแม่จากหนังสือ ด้วยรัก อาลัย เทิดทูนและบูชา แด่คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ดร.สิริ กรินชัย ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อเวลา 17.30 น.

คุณแม่ เป็นคุณแม่ในทางธรรมของบรรดาลูกโยคี ผู้เพียรเพ่งเผากิเลศด้วยการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานมากมาย เดินตามรอยคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า



ภาพคุณแม่จากอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่



ฉันสิริกรินชัยผู่้ใจซื่อ

พระรัตนตรัยนั้นหรือคือสิ่งหวัง

เป็นที่พึ่งดั่งร่มไม้มีใบบัง

ถึงถูกแสงแดดบ้างยังพอทน



ไม่เดือดร้อนดิ้นรนจนเกินสุข

ยอมรับทุกข์เพระเชื่อมั่นในเหตุผล

วิปัสสนากรรมฐานผลญาณดล

ได้หยั่งรู้เหตุผลต้นอวิชชา



เมื่อใดหนอเพื่อนเราชาวมนุษย์

จะยั้งหยุดรู้ทางวางตัณหา

ได้สบสุขปราศทุกข์เพราะเมตตา

ผลกุศลนั้นจะพาโลกรื่นรมย์



ฉันห่วงใยชาวโลกเป็นยิ่งนัก

จึงผินพักตร์แสวงหาผู้สร้างสม

ช่วยตัดกายตัดใจในสังคม

กำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน



ธรรมคำกลอนของคุณแม่





ภาพวัยต่าง ๆของคุณแม่จากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่





วิปัสนากรรมฐานงานดูจิต

เหมือนมีมิตรคอยเตือนเพื่อนคอยสอน

กำหนดรู้ยิ่งรู้ทางจิตจร

จะยืนเดินนั่งนอนสำรวมตน



ระวังตัวกลัวภัยอันใหญ่หลวง

ภพทั้งปวงข้องอยู่ทุกแห่งหน

รู้รับทุกข์รับโทษรู้อดทน

รู้ดิ้นรนเพื่อรอดจากอวิชชา



หวังสิ่งใดก็จะได้ตั้งใจหวัง

กุศลจิตมีพลังเสกสรรหา

สมาธิตั้งมั่นเกิดปัญญา

ได้วิชาทำลายทุกข์สุขอนันต์

ธรรมคำกลอนของคุณแม่







หมายกำหนดงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่






คำอวยพรของคุณแม่
.



จากหนังสือสุดอาลัยคุณแม่จากใจโยคีภาคใต้

ข้างในเล่มเป็นคำไว้อาลัยของลูกโยคีทางภาคใต้ของคุณแม่





ชีวิตนี้เพื่อชาติศาสน์กษัตริย์

จะยืนหยัดเกื้อการงานศาสนา

ทดแทนคุณองค์สมเด็จพระศาสดา

ทดแทนคุณกษัตราทุกพระองค์



จะอบรมปฏิบัติธรรมนำทางสุข

แก่ชนทุกหมู่เหล่าที่ประสงค์

ด้วยธรรมะวิเศษสุดของพุทธองค์

ด้วยซื่อตรงด้วยจงรักด้วยภักดี

พลอยโพยมได้รับโทรศัพท์จากญาติผู้พี่ถึงหมายกำหนดการ งานพระราชทานเพลิงศพของคุณแม่ ใจจริงอยากชวน ลูกสาวและลูกชายไปด้วย เพราะเป็นลูกศิษย์คุณแม่ด้วยกัน แต่เผอิญลูกชายต้องบินไปลงแท่นโดยมีลูกสาวไปส่งที่สนามบิน พลอยโพยมจึงต้องไปงานคนเดียวเป็นเวลาที่มีช่างมาซ่อมบ้านที่แตกร้าวเพราะแรงสะเทือนของบรรดารถบรรทุกสิบแปดล้อ เป็นวันที่สอง

กว่าจะเคลียร์ตัวเองได้ อาบน้ำแต่งตัวก็บ่ายสามโมงเย็นแล้ว ก่อนที่จะได้ขึ้นรถตู้เป็นเวลา 15.23 น. เมื่อขึ้นนั่งบนรถ คำนวณระยะทาง และระยะเวลาแล้ว ก็นั่งลุ้นเวลา คิดว่าน่าจะไปถึงวัดเลย ห้าโมงเย็น โดยที่พี่สาวแจ้งทางโทรศัพท์ว่า พระราชทานเพลิง 15.00 น. กระสับกระส่าย แล้วก็ตั้งสติว่า หากไปไม่ทันช่วงที่ปิดถนนขณะเสด็จ ไปได้ถึงตรงไหน ก็จะลงเดินไปที่วัด ลูกศิษย์คุณแม่คงมามากมาย อย่างไรเสีย ก็ต้องได้ทันขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์แม้จะเป็นคนสุดท้าย หรือ หากไม่ทันจริง ๆ ก็ขอไปแสดงความเคารพคุณแม่ ขณะที่ร่างของคุณแม่อยูในกองไฟ แต่ก็ไม่วายอธิษฐานจิตว่าขอให้ไปได้ทันวางดอกไม้จันทน์คุณแม่

พลอยโพยมเคยตั้งอธิษฐานจิตถึงคุณแม่เมื่อคราวส่งลูกสาวลูกชายเข้าปฎิบัติธรรมครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2546 ที่ยุวพุทธิกสมาคม ฯ เพราะสมัครช้า เลยไม่มีที่นั่ง หลังจากตั้งอธิษฐานจิตถึงคุณแม่ และติดต่อไปที่ยุวพุทธฯ ด้วยแรงอธิษฐาน ลูกทั้งสองคนก็ได้เข้าปฏิบัติธรรม

ปรากฏว่าหมายกำหนดการพระราชทานเพลิงคือ 17.30 น.พลอยโพยมไปถึงวัดทันก่อนขบวนเสด็จมาถึง ตำรวจเริ่มปิดถนนหลังพลอยโพยมไปถึงแบบฉิวเฉียด ดีใจมากที่ไม่ท้อใจตอนขึ้นรถตู้ จึงได้เข้างานทันพิธี

และโชคดีที่ได้พบญาติธรรมท่านหนึ่งเดินเข้าวัดมาพร้อม ๆ กับพลอยโพยม ก็เลยได้เพื่อนใหม่ 1 ท่าน ไม่เด๋อด๋าเดินเข้างานคนเดียว ทุกศาลารอบเมรุที่นั่งเต็มหมดแล้ว ลูกทางธรรมของคุณแม่มากมาย และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมื่อหาเก้าอี้ได้และยกมาที่ศาลาก็มีคนขยับที่แบ่งพื้นที่ให้ เพื่อนใหม่เป็นคนคล่องแคล่ว ทำให้พลอยโพยมได้ทั้งที่นั่ง ได้ไปลงทะเบียนและรับของที่ระลึกเป็นหนังสือทีระลึกหนึ่งชุด (หนังสือสี่เล่ม แผ่นซีดี ถาพคุณแม่ บรรจุในกระเป๋าผ้า) ทันการก่อนการหยุดธุรกรรมทุกอย่างเพื่อรอรับเสด็จ ส่งเสด็จ นำพาพลอยโพยมให้ได้ขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ได้ทันการที่จะนั่งรถตู้ที่หมอชิตกลับบ้านก่อนหนึ่งทุ่มได้ทัน และยังให้พลอยโพยมอาศัยนั่งรถมาแยกลงที่ใกล้ ๆ สถานีขนส่งหมอชิตเพื่อนั่งรถตู้กลับบ้าน

พลอยโพยมขอขอบพระคุณผู้มีคุณท่านนี้เป็นอย่างสูงท่านเป็นข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านมีอายุมากกว่าพลอยโพยม 1 ปี รูปร่างหน้าตางดงามอ่อนกว่าวัยจริงดูเหมือนว่าเพิ่งอายุห้าสิบปี งดงามทั้งรูปกายและจิตใจสมเป็นลูกโยคีของคุณแม่

เมื่อสมเด็จพระเทพฯ เสด็จกลับ บรรดาลูกโยคีของคุณแม่ก็ทะยอยกันขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์และกราบร่างคุณแม่เป็นครั้งสุดท้าย มีพระพิรุณโปรยปรายเบา ๆ เหมือนเหล่าเทวาพรมน้ำมนต์ใหัพรลูกโยคีของคุณแม่่ให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเดินทางกลับบ้านโดยปลอดภัยทุกคน

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธุดงค์วัตร...ของวัดนาหลวง

ธุดงค์วัตร...ของวัดนาหลวง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 พระจากวัดนาหลวงได้ธุดงค์มาที่ วัดหนองรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการนี้ หลวงปู่ ได้เดินทางมาที่วัดหนองรี เป็นกำลังใจให้พระธุดงค์ และเป็นการมาโปรดชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และมาดูความก้าวหน้าในการก่อสร้างของวัดหนองรี ที่กำลังสร้างกุฏิสงฆ์ และสถานที่ที่ปฏิบัติธรรมด้วย ปกติพระภิกษุที่วัดนาหลวงจะออกเดินธุดงค์มาโดยตลอดทุกปี หลังออกพรรษาจนถึงก่อนช่วงเข้าพรรษา โดยเป็นพระภิกษุที่ต้องผ่านการคัดเลือก เพราะการออกธุดงค์ จะใช้เวลายาวนานโดยไปเป็นกลุ่ม


พลอยโพยมทราบข่าวจึงไปกราบนมัสการและฟังธรรม ทั้งที่ไม่เคยไปที่วัดหนองรีมาก่อน ทราบมาว่ามีญาติโยมมารอกันตั้งแต่กลางวัน รถราจอดล้นออกมานอกวัด ทั้งที่หมายกำหนดการหลวงปู่จะมาถึงวัดเวลา ประมาณสี่โมงเย็นถึง หกโมงเย็น พลอยโพยมจึงไปกะเวลาได้ฟังธรรม ปกติหลวงปู่จะแสดงธรรมเวลาประมาณสองทุ่ม พลอยโพยมจึงไปถึงวัดเวลาหนึ่งทุ่ม พอไปถึงก็สับสนกับผู้คนที่มานั่งคอยบนศาลาการเปรียญที่มีสองหลังเชื่อมต่อถึงกัน มีผู้คนเต็มศาลา เต็นท์ข้างล่างมีการ ใช้การถ่ายทอดภาพให้ญาติโยมได้เห็นหลวงปู่ และนั่งฟังธรรมที่เต็นท์ข้างล่างซึ่งเป็นเก้าอี้นั่งสบายกว่าการนั่งพื้นบนศาลา




พลอยโพยม ขึ้นไปบนศาลาการเปรียญหลังหนึ่ง แต่มองไปมองมาบนศาลาก็เดาได้ว่าหลวงปู่คงไม่นั่งแสดงธรรมที่ศาลาหลังนี้จึงลงมาและอ้อมไปขึ้นศาลาอีกหลังหนึ่งซึ่งผู้คนนั่งกันแน่นขนัด พลอยโพยมคิดว่าน้องชายและหลาน ๆ ที่มาถึงก่อนคงอยู่บนศาลาหลังนี้มีพระภิกษุองค์หนึ่งบอกว่า ที่นั่งเต็มแล้วคุณโยม ไปนั่งที่เต็นท์จะดีกว่า แต่พลอยโพยมซึ่งไปกับ ใบไผ่ ลูกชาย ดื้อที่จะขึ้นไป โดยกราบเรียนท่านว่ามีน้องและหลานอยู่ข้างบนแล้วแต่ลูกชาย บอกว่า เขาจะไปหาที่นั่งในเต็นท์ แม่ขึ้นไปคนเดียวแล้วกันเพราะคงไม่มีที่นั่งแล้ว




แต่พอขึ้นไปจริง ๆ ก็ไม่พบน้องชายและหลาน ๆ เก้ ๆ กัง ๆ แล้วก็นั่งแปะลงข้างช่องทางเดินที่เป็นทางเดินของหลวงปู่ และบนอาสนะกำลังมีพระภิกษุองค์อื่นแสดงธรรมอยู่ คนที่นั่งอยู่ก่อนก็ใจดี เขยิบที่ให้พลอยโพยมและบอกว่านั่งตรงนี้ก็ได้แบ่ง ๆ กันไป สักครู่ น้องชายและหลานที่นั่งในเต็นท์เห็นพลอยโพยมขึ้นมาบนศาลาเขาก็ตามหลังขึ้นมา ก็เลยนั่งแปะอยู่ริมช่องทางเดินหลังพลอยโพยม เวลาสองทุ่มหลวงปู่ก็ขึ้นมาแสดงธรรม




พวกเราจะพนมมือไว้จนหลวงปู่นั่งบนอาสนะเรียบร้อย พระภิกษุสงฆ์ นี่นั่งอยู่บนอาสนะ ก้มลงกราบหลวงปู่ พร้อมกัน ด้วย การกราบ 3 จังหวะ พร้อม ๆ กัน คือ อัญชลี วันทา อภิวาท หลังจากนั้นญาติโยม จึงกราบหลวงปู่พร้อม ๆ กัน ด้วย การ อัญชลี วันทา อภิวาท เช่นกัน ระหว่างที่ศีรษะจรดพื้นครั้งที่หนึ่ง เราจะพูดว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา การกราบครั้งที่สองเราจะพูดว่า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา การกราบครั้งที่สาม เราจะพูดว่า พระสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ก่อนการแสดงธรรมจะมีพระภิกษุกล่าวรายงานหลวงปู่ว่า ในการแสดงธรรมครั้งนี้มีประชาชนมาจาก 27 จังหวัด (ส่วนใหญ่เป็นชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นกรุงเทพและปริมณฑล และอื่น ๆ รวมทั้งชาวฉะเชิงเทรา รวมผู้เข้าฟังการแสดงธรรมในคืนนี้ หนึ่งพันหกร้อยคนเศษ ( พลอยโพยมก็งงกับตัวเลขนี้ แต่พอตอนเช้ารุ่งขึ้นอีกวันจึงเห็นว่า มีโต๊ะลงทะเบียนสำหรับผู้มาร่วมงานอยู่ที่เต็นท์ข้างล่าง )





หลวงปู่แสดงธรรม ชั่วโมงเศษ เสร็จประมาณ 3 ทุ่ม นิด ๆ แต่ ญาติโยมที่เข้าไปถวายปัจจัย ถวายอัฐบริขาร เข้าแถวต่อกันยาวเหยียดเบียดเสียดกัน ซึงพลอยโพยมต่อแถวไม่ไหว เลยออกจากวัดมาเกือบสี่ทุ่ม เพราะตั้งใจว่า ในเช้าวันที่สอง จะไปกราบหลวงปู่ใหม่ หลังท่านฉันเช้าเสร็จก่้อนออกเดินทางต่อไปที่อื่นนั่นเอง




ในวันที่สอง พลอยโพยมมีญาติจากกรุงเทพ ฯ ตามมากราบสักการะ หลวงปู่ด้วย พลอยโพยมไปถึงวัดหนองรี ประมาณ 7 โมงเช้า สั่ง ทำขนมชั้น แสนอร่อยเจ้าเดิม ไปใส่บาตร โดยนำไปใส่ถาดวางบนโต๊ะที่วัดจัดไว้





เมื่อไปถึงวัดหนองรีพบว่า พระวัดนาหลวงและพระที่วัดหนองรี ออกเดินบิณฑบาต รอบ ๆ วัด ส่วนภายในวัด ก็จัดโต๊ะวางอาหารคาวหวาน ผลไม้ น้ำปานะ เหมือนที่วัดนาหลวง มากมาย รวมกับของที่บิณฑบาตด้วย จนต้องใช้คำว่า ล้นหลาม















ความศรัทธาของผู้คนชาวพุทธ ที่มารร่วม ในการจัดเตรียมของใส่บาตร ในวัดหนองรี





ของใส่บาตรที่ชาวบ้านรอบ ๆ วัด ใส่บาตรพระที่ออกเดินบิณฑบาต




บนศาลาการเปรียญ มีการแสดงธรรม ผู้คนก็นั่งฟังธรรมกัน






พระภิกษุุ บิณฑบาต ในวัด ที่ญาติโยม นำของมาวางจัดสำหรับการใส่บาตร






หลังจากพระภิกษุ รับของใส่บาตร ลงบาตร ครบหมดแล้ว ญาติโยม ก็สามารถรับประทานของที่เหลือ หรือจัดสรร กันนำกลับบ้านได้ ตามใจชอบ ส้วนใหญ่ น่าจะเป็นคนรอบ ๆ วัด ที่นำของกลับบ้าน ส่วนผู้ไปร่วมบุญ คงแค่ รับประทาน พออิ่มกันเท่านั้น





แต่พลอยโพยมเมื่อขึ้นไปบนศาลาการเปรียญ ก็ทราบว่า ไม่มีการจัดอาสนะให้หลวงปู่ ก็นึกว่าท่านคงไม่มาที่ศาลานี้แน่ ๆ พลอยโพยม มีพี่ชายคนโต ซึ่งบวชพระหลังจากจากสิ้นคุณแม่ละม่อม พระพี่ชาย บวชที่วัดผาณิตาราม แต่ออกไปจำพรรษาที่วัด สุขศรีงาม ที่วังน้ำเขียว เป็นวัดป่าสาขาหนึ่งของวัดนาหลวง พระพี่ชายก็ตามมาต้อนรับหลวงปู่ ที่วัดหนองรี นี้ด้วย ไปนมัสการถามพระพี่ชาย พระพี่ชาย บอกว่าท่านจะให้ญาติโยมเข้าสักการะที่หน้ากุฏิที่วัดหนองรี จัดรับรองท่าน พลอยโพยมก็ไม่รอทานอาหารเข้า ไปนั่งดักรอหลวงปู่ที่หน้ากุฎิรับรอง ซึ่งต้องเดินข้ามสะพานแขวนข้ามคลองด้านหลัง




การ เดินข้ามคลองถ้าข้ามพร้อมกันหลาย ๆ คน สะพานก็จะแกว่งไกวเมื่อถ่ายภาพ ภาพก็จะไหวสั่น อย่างนี้




ประมาณ สามโมงเช้า หลังหลวงปู่ฉันข้าวแล้ว ( พระวัดป่า จะฉันมื้อเดียวในวัน ) ท่านก็ออกมาให๋ญาติโยมได้สักการะ มีการแสดงธรรม แต่เน้นไปในในการแสดงธรรม โปรดพระภิกษุ วัดหนองรี เราชาวบ้านอาศัยฟังไปด้วย เพราะเป็นธรรมในเรื่องการปฏิบัติธรรม ชาวบ้านที่ปฏิบัติธรรม สามารถนำมาใช้กับตัวเองได้ หรือผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้




หลังจากนั้นก็เป็น การปฏิสันฐานเรื่องราวของวัดหนองรี จบแล้ว ญาติโยมก็เข้าไปถวายปัจจัย ส้วนผู้ที่อยู๋บนศาลาก็ตามมาสบทบที่ลานหน้ากุฏิ รับรองหลวงปู่ และหลวงปู่ มีกิจที่จังหวัดสระแก้ว ต้องเดินทางต่อ ส่วนคณะพระธุดงค์ ก็ ออกธุดงค์ ไปที่อื่นแต่อยู่ในภาคตะวันออกนี้ ส่วนหมายกำหนดการปีหน้า หลวงปู่จะไปจังหวัดชุมพร และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคใต้




การจะบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ของวัดนาหลวง จะต้องเตรียมตัวเข้านาคก่อนเป็นเวลา 3 เดือน นุ่งขาวห่มขาวในการฝึกปฏิบัติ โดยผ่านการตรวจสุขภาพ 13 ข้อ จากโรงพยาบาล (จังหวัดอุดรธานี) ต้องสอบผ่านการฝึกนี้ก่อนการบวชเป็นพระภิกษุของวัด และจะต้องจำพรรษาที่วัดนาหลวงอย่างน้อย ห้าพรรษา จึงจะสามารถไปจำพรรษาที่วัดอื่นต่อได้ นับเป็นกฎเหล็กของการบวชพระที่วัดนาหลวง ภาพข้างล่างนี้เป็นภาพการเดินบิณฑบาตประจำวันจากกุฎิที่พักมารับอาหารที่โรงทานที่มีการจัดเตรียมอาหารไว้ของวัดนาหลวง




ธุดงค์ ๑๓ หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกในที่ต่าง ๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก “ ธุดงค์ ” และมักจะนิยมเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า “ พระธุดงค์ ” คำว่า “ ธุดงค์ ” นั้น พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ได้ให้ความหมายไว้ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์และฉบับประมวลธรรมว่า ธุดงค์ หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส , ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ

๑. ปังสุกูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรเอง

๒. เตจีวริกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือ ถือผ้าเพียงสามผืนได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิ อย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น

๓. ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้

๔. สปทานจาริกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือ รับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว หรือเที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียวลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ

๕. เอกาสนิกังคะ องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น

๖. ปัตตปิณฑิกังคะ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตรไม่ใช้ภาชนะอื่น

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือเมื่อลงมือฉันแล้ว มีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ

๘. อารัญญิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านแต่อยู่ ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น

๙. รุกขมูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง

๑๐.อัพโภกาสิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน)

๑๑.โสสานิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือ อยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ

๑๒.ยถาสันถติกังคะ องค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้ ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง

๑๓.เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือถือนั่ง ยืน เดิน เท่านั้นไม่นอน

ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือส่วนผุ้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญ หรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่น ๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป

อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระมหากัสสปเถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์

ที่มาของข้อมูล http://www.kanlayanatam.com/sara/sara71.htm