วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ ...สำมะงา


สำมะงา




ชื่อไทย สำมะงา ,
บางแห่งเรียกสำมะง่า
ชื่ออื่น เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์) ส้มเนรา (ระนอง) สักขรีย่าน (ชุมพร) สำปันงา (สตูล) สำมะลีงา สำลีงา (ถาคกลาง, ตะวันออก) โฮวหลั่งเช่า, จุยหู่มั้ว (จีน) บางแห่งเรียกสำมะง่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertn.

ชื่อวงศ์ LABIATAE (LAMIACEAE)



สำมะงาเป็นไม้พุ่มกึ่งเถา รอเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากแผ่กระจัดกระจายมีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อน ๆ ทั้งหมด
ลักษณะใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอก รูปรีหรือรูปไข่ ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมหรือทู่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนาเมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็นเขียว ผิวใบเกลี้ยง หรือ อาจมีขนประปราย ทางด้านท้องใบ เส้นใบ 6 - 8 คู่ ปลายเส้นเชื่อมกับเส้นถัดไป ก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร มีขนนุ่ม ก้านใบสีน้ำตาลแดงหรือม่วงแดง




ลักษณะดอก >
เป็นดอกช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก มี3-7 ดอก แต่ส่วนมากจะพบ 3 ดอก ช่อดอกยาว 4 - 8 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2 - 5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก หลอดกลีบดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆยาว 2 - 3 เซนติเมตร กลีบดอก สีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ
เกสรเพศผู้ มี 4 อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีแดงอมม่วง ปลายเกสรและปลายหลอดท่อรังไข่ ยาวยื่นออกมาพ้นปากหลอดกลีบดอก
เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ



ลักษณะผล
ผล เป็นผลสดกลมหรือรูปไข่กลับ ผลอ่อนสีเขียว ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยง ติดอยู่ที่ขั้วผล เมื่อแก่สีออกดำ เมื่อแห้งจะมีร่องตามยาว 4 ร่อง
เมล็ดแข็งมาก มี 1 - 4 เมล็ด



ส่วนมากขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะและตอนบนของป่าชายเลน พบมากตามป่าละเมาะริมทะเล
ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด



สรรพคุณ
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณ : ใบมีรสขม เย็น แต่ก็มีพิษ (ห้ามรับประทาน)แก้บวมแผลฟกช้ำ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ฆ่าพยาธิ แผลเน่าเปื่อย โดยใช้พอกสด
ใบสดต้มกับน้ำทำความสะอาดชะล้างบาดแผล ฆ่าพยาธิโรคผิวหนัง ผื่นคัน
ใบสดตำผสมเหล้าองุ่นต้มพออุ่นๆใช้ทา แก้รอยฟกช้ำหรือบวมจากการถูกกระแทก
ใบแห้งบดเป็นผงโรยบริเวณที่เป็นแผลแก้เชื้อ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ (http://www.pharmacy.mahidol.ac.th )
http://tanhakit.blogspot.com/2010/12/blog-post_7515.html
http://thailand-an-field.blogspot.com/2010/01/blog-post_10.html



สำมะงา เป็นพรรณไม้ที่พบได้ทั่วไปแถบ ชายคลอง ริมคูน้ำ ป่าชายเลน ป่าละเมาะข้างทางของถนนตามหมู่บ้านในเมืองฉะเชิงเทรา



พลอยโพยมพบเห็นต้นสำมะงานี้มาแต่เล็กแต่น้อย แต่ก็ไม่เคยได้สนใจ ต่อมาเมื่อเรื่องราวของพืชสมุนไพรต่าง ๆ เฟื่องฟูขึ้นมาถึงได้เพิ่งมารู้จักว่า ต้นไม้ตามชายคูตลองต้นนี้ชื่อต้นสำมะงา



ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการพัฒนาเขึ้นตามชุมชนต่าง ๆ มากมาย ผลิตภัณฑ์สินค้าจากสมุนไพรพื้นเมืองก็กลายเป็นสินค้าประจำชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนที่มีการจัดตั้งรวมตัวกัน นอกจากสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี เป็นจุดเร้าใจให้เกิดความใฝ่รู้ศึกษาข้อมูลของสมุนไพรต่าง ๆ เกิดความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ที่จะนำสมุนไพรต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้า

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย


ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ

เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้า จึงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม



ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่(ชีวโก)

ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น



วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้



หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง

แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน

ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป

ที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย



การแพทย์แต่เดิมของไทยส่วนหนึ่งมีรากฐานมาจากการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย เข้ามาในประเทศไทยพร้อมพระพุทธศาสนา คนไทยนำมาปรับปรุงและประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมและการดำรงชีพ เรียกขานกันว่า "การแพทย์แผนโบราณ" ปัจจุบันเรียกกันใหม่ว่า "การแพทย์แผนไทย" มีการจดบันทึกเป็นตำราไว้หลายเล่ม เช่น เวชศึกษาและประมวลหลักเภสัชของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ฯ อีกส่วนหนึ่งเป็นการแพทย์พื้นบ้านซึ่งชาวบ้านในส่วนต่าง ๆ ใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากบรรพบุรุษในการรักษาตัวยามเจ็บป่วยมานานแสนนาน สืบทอดกันใรครอบครัวอาจมีการเขียนบันทึกบ้าง ไม่ได้บันทึกบ้าง



ภาควิชาเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาสมุนไพรแห่งหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้พื้นบ้านที่กระจัดกระจายกันเหล่านี้ พยายามรวบรวมประสบการณ์จากหมอพื้นบ้านและสำรวจสมุนไพรที่มีการใช้ในประเทศไทย ตรวจสอบความถูกต้องจากแหล่งข้อมูลและหมอพื้นบ้านที่เชื่อถือได้และบันทึกไว้ชัดเจน จัดพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่

ที่มาของบทความ หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สมุนไพร สวนสิรีรุกขชาติ

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ..เหงือกปลาหมอ


เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอด่าง



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกขาว



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง



เหงือกปลาหมอดอกม่วง


เหงือกปลาหมอดอกขาว

ชื่อสามัญ Sea holly

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus Vahl

เหงือกปลาหมอดอกม่วง

ชื่อวิทยาสาสตร์ Acanthus ilicifolius Linn.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง อีเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

เหงือกปลาหมอเป็นไม้พุ่มสูง 0.5-1.0 เมตร พบตามป่าชายเลนและบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลางและภาคตะวันออก

ชนิดดอกม่วงพบในภาคตะวันออก และภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

ลักษณะ

ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อ ๆ ละ 4 หนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาง 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่าง ๆ ปลาซี่เป็นหนามแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง

ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว ชนิดดอกสีม่่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก

ตำราไทย

ส่วนที่ใช้ : ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด

สรรพคุณ :

ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

-ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะช่วยบำรุงรักษารากผม

- เป็นยาอายุวัฒนะโดยปรุงรวมกับพริกไทยในอัตรา 2 : 1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด

ราก

- ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด

- รักษามุตกิดระดูขาว

เมล็ด

- ปิดพอกฝี

- ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล

สารานุกรมไทยสมุนไพรเล่มที่1 สมุนไพร สวนสิริรุกขชาติ และ

http://www.rspg.or.th

เหงือกปลาหมอเป็นพรรณไม้ที่ตามชายฝั่งแม่น้ำ ชายฝั่งคลอง คูน้ำต่าง ๆ สำหรับชายคลอง คูน้ำ เด็ก ๆ มักไม่มีส่วนเกี่ยวช้องด้วยนัก นอกจากการไปตกปลาหรือเด็กผู้ชายไปหาปูทะเล แต่สำหรับชายฝั่งแม่น้ำมีความเกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ มาก อย่างน้อยก็ตอนเล่นน้ำในแม่น้ำ ถ้าว่ายไปเล่นเลยหัวสะพานบ้านตามริมฝั่งก็จะมีต้นเหงือกปลาหมอแผ่ลำต้นและใบออกมาก่อความรำคาญอกรำคาญใจให้ เพราะใบเป็นซี่หนามแหลมประทุษร้ายพวกเรา หรือบางทีเรามีความจำเป็นต้องเดินลุยไปริมฝั่งก็จะเจอศัตรูตัวร้ายคือใบของเหงือกปลาหมอ

ได้รู้จักคุณประโยชน์ ของเหงือกปลาหมอตอนที่พี่สาวถูกเงี่ยงปลาดุกทะเลยักใส่มือ เพราะผู้ใหญ่ไปเก็บใบเงือกปลาหมอเอามาตำแล้วพอกที่แผล ซึ่งพลอยโพยมก็จำไม่ได้แล้วว่าต้องใช้เหล่้าขาวด้วยหรือไม่ การใช้ใบไม้ หรือส่วนต่าง ๆ ของ พันธุ์ไม้ต่าง ๆ มาทา พอก หรือ กิน เป็นเรื่องธรรมดาแล้วแต่กรณีความจำเป็นต้องพึ่งพาสมุนไพร ต่อมาเมื่อสมุนไพรต่าง ๆ โด่งดังเป็นที่นิยมก็มีการศึกษาค้นคว้าคุณประโยชน์ของสมุนไพรต่าง ๆมาก ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากมาย จนรู้สึกว่าพืชพรรณไม้ทั้งหลายมีความมหัศจรรย์ คุณประโยชน์ครอบจักรวาลประมาณนั้นเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ในครั้งพุทธกาล ที่บอกว่าต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้

ดอกของต้นเหงือกปลาหมอหากมีเวลาได้พินิจพิจารณา ก็เป็นดอกไม้ที่มีความงามในตนเองไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะดอกเหงือกปลาหมอสีม่วง

ความงามนี้ดึงดูดใจให้พลอยโพยมต้องลุยลงไปถ่ายภาพเก็บไว้ ในขณะที่ถ่ายภาพ ก็ไม่ได้คิดว่าจะนำมาใช่หรือไม่ แต่เพราะอยากเก็บภาพไว้ชื่นชมเพราะปัจจุบันพลอยโพยมมิใช่คนริมฝั่งแม่น้ำอีกต่อไปหากแต่เป็นคนบนที่ดอนเสียแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สุรีย์สาย พรายแสง แข่งสายน้ำ

สุรีย์สาย พรายแสง แข่งสายน้ำ

งามเลิศล้ำ เลื่อมลาย ประภัสสร

"บางปะกง" ดุจดั่งมุขยาภรณ์

เป็นต้นตอนรอยลิขิตชีวิตไทย.....

















ภาพชุดที่แล้วและชุดนี้เป็นฝีมือ ของใบไผ่และคุณเอ็ดดี้ที่เหมือนลูกชายอีกคนของพลอยโพยม เขาเป็นเพื่อนรักของใบไผ่

หากแม้นว่าพลอยโพยมใช้กล้องดี ๆ เป็น และถ่ายภาพเป็น รู้จักเลือกมุมกล้องเป็น วางภาพให้ดูมีมิติเป็น ให้แสง ปรับหน้ากล้องได้ ก็คงจะสามารถถ่ายความงดงามตระการตาของท้องวหาคราอาบไล้ด้วยรัศมีสุพรรณสายของดวงสุรีย์ที่ฉายฉันแพรวพราวพร่างพื้นโพยมบนได้มากมาย เพราะพลอยโพยมหลงใหลกับการไปยืนเฝ้าดวงอาทิตย์ทั้งยามเช้าตรู่ และยามเย็นย่ำมากจนแม่ละม่อมเมื่อยังมีชีวิตอยู่ห้ามปรามว่าไปเป็นประจำอาจจะเกิดอันตรายจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้โดยเฉพาะเข้าตรู่ตีสี่ตีห้า

ท้องฟ้า เมฆ และดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปทุกเมื่อเชื่อวัน องค์ประกอบของภาพดวงตะวันไขขับจับขอบฟ้า และ ลาลับกับคงคา จึงงดงามไม่ซ้ำกันเลยสักวัน