วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๑๐





พระพุทธองค์จะเข้าสู่ป่าสาละแห่งกรุงกุสินารา ตามพุทธประวัติกล่าวว่าเสด็จข้ามแม่น้ำอีกสายหนึ่งมีชื่อว่า หิรัญญวดี ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้้ำคัณฑกะน้อย ที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโคคระ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำคงคาที่เมืองจาปา
ในสมัยพุทธกาล
กุสินาราเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละตอนเหนือ

ในขณะที่เมืองปาวาเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละตอนใต้
เจ้ามัลละแห่งปาวามีพระนามว่าปาเวยยกมัลละ
เจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารามีพระนามว่า โกสินารกา
ทั้งสองฝ่ายต่างมีอำนาจบริหารบ้านเมืองในส่วนที่เป็นดินแดนของตนแยกจากกัน มีแม่น้ำ หิรัญญวดี คั่นอยู่ตรงกลาง
หลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันว่าทั้งสองเมืองมีการบริหารที่แยกจากกัน คือภายหลังจากพุทธปรินิพพาน มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พวกเจ่้ามัลละแห่งปาวาได้ส่งทูตมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อไว้สักการะในเมืองของตน

แม่น้ำหิรัญญวดี (หรือแม่น้ำคัณฑกะน้อย) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองกุสินารา
" อุปวัตตนสาลวัน" (ป่าไม้สาละชื่ออุปวัตตนะ) ของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือ (กุสินารา)เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำ หิรัญญวดี

ปัจจุบันเรียกแม่น้ำกันตัคน้อย ไหลผ่านอำเภอโครักปูร์ แยกจากแม่น้ำกันตัคใหญ่ไปประมาณ ๘ ไมล์ แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำ กกรา (หรือสรยู)

ส่วนแม่น้ำอีกสายที่อยู่ใกล้กรุงกุสินารา คือ กุกุฎฐา (กกุทธา,กกุฎฐา,หรือกกุธานที) ที่พระพุทธองค์ทรงสรงสนาน แม่น้ำสายนี้อยู่ในเขตของเมืองปาวา

สวนอัมพวัน (หรือสวนมะม่วง) ของนายจุนทะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกกุธานที
เมื่อพระพุทธองค์ประชวรปักขันทิกาพาธ ประทับอยู่ที่อัมพวันนี้ ตรัสบอกให้พระอานนท์นำความไปบอกแก่นายจุนทะ เพื่อให้นายจุนทะมั่นใจว่า การที่เขาถวายสุกรมัททวะแด่พระตถาคต เป็นอาหารมื้อสุดท้าย หลังจากเสวยแล้วทรงประชวรนี้ไม่มีข้อน่าตำหนิ แต่กลับมีอานิสงส์มาก
แล้วทรงสนานในแม่น้ำ กกุธานทีนี้แล้ว บริเวณริมฝั่งและปลาทุกตัวได้กลายสภาพเป็นทองคำ

ขอขอบคุณข้อมูลจากสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)

(ไปปฏิบัติธรรมกลับวันที่ 26 พ.ย.คะ)

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๙




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.84000.org/tipitaka/picture/f71.html

จากบ้านนายจุนทะ แห่งปาวานคร เมื่อพระพุทธองค์เสวยสุกรมัททวะแล้ว เป็นเหตุให้พระองค์เกิดการแสลงพระโรคอย่างหนัก จนแทบจะปรินิพพานที่บ้านนายจุนทะนั่นเลย แต่ทรงได้เจริญอิทธิบาทธรรม ๔ ประการ จึงทำให้ทรงมีพละกำลังเสด็จเดินต่อไปได้ ระหว่างทางนั้นเองมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ อยู่ ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาให้ดื่มเพราะทรงกระหายน้ำอย่างมาก แต่พระอานนท์บอกว่า กองคราวานเกวียนพ่อค้าเพิ่งจะข้ามแม้น้ำนี้ไป น้ำยังขุ่นอยู่มากและเสนอว่า ขอให้พระองค์รออีกนิด แม่นำกกุธานธี อันเป็นแม่น้ำที่ใส เย็น มีรสจืดสนิทอยู่ไม่ไกลข้างหน้า

พระอานนท์ทูลผลัดว่า เกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งผ่านไปน้ำกำลังขุ่น ขอให้รอสักครู่ พระองค์ก็ดำรัสอีก ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์เกรงพระทัยจึงถือบาตรตรงไปยังแม่น้ำน้อย เพื่อนำน้ำไปถวายพระพุทธองค์
แต่เมื่อพระอานนท์เดินเข้าไปใกล้ น้ำในแม่น้ำที่ขุ่นมัวเพราะถูกล้อเกวียนย่ำไป กลับใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีกระแสไหลไปตามปกติ เหมือนกับว่าไม่มีล้อเกวียนย่ำผ่านไป
พระอานนท์เอาบาตรตักน้ำแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลถึงเหตุอัศจรรย๋ว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เรื่องที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ได้เป็นแล้วในตอนนี้ แม่น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดน่ำแล้ว มีน้ำน้อยขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อข้าพระองค์เข้าไปใกล้ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว ไหลไปแล้ว เพราะความที่พระตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสวยน้ำเถิด ขอพระสุคตจงเสวยน้ำเถิด "

พุทธาปทาน ( ข้ออ้างหรือประวัติของพระพุทธเจ้า )

( ในที่นี้จะนำพุทธาปทานอีกบทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ อันมีชื่อว่าปุพพกัมมปิโลติกะ( ท่อนผ้าเก่าแห่งบุพพกรรม ) ส่วนใหญ่แสดงถึงกรรมชั่วที่พระผู้มีพระภาคเคยทรงทำไว้อันส่งผลร้ายแก่พระองค์ แม้ในพระชาติสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ ในการเปิดเผยพระประวัติทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยทรงทำไว้ทั้งกรรมดีกรรมชั่ว เฉพาะเรื่องนี้ จะพยายามถอดความให้ละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจทั่วไป). เรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคอันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับเหนือพื้นศิลาอันน่ารื่นรมย์ใกล้สระอโนดาด ตรัสเล่าบุพพกรรม ( กรรมในกาลก่อน ) ของพระองค์ ดังนี้.

" เราเคยเป็นนายโคบาลในชาติก่อน ๆ ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่นจึงห้ามไว้ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ ( ใช้พระอานนท์ไปตักน้ำ พระอานนท์ไม่ตักกลับมากราบทูลว่า น้ำขุ่น ต้องตรัสย้ำให้ไปใหม่ พอพระอานนท์ไปตัก น้ำกลับใส-มหาปรินิพพาน-สูตร ).


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=493233

เมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จถึงยังแม่นำกกุธานธี แล้วได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าใครจะตำหนินายจุนทะเกี่ยวกับเรื่องถวายสุกรมัทวะแก่พระองค์ ขอให้ช่วยกันชี้แจงปลอบโยนนายจุนทะให้สบายใจนายจุนทะได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่แล้ว

ได้ตรัสเรื่องการถวายอาหาร ๒ อย่าง มีผลเสมอกัน คือ
๑. อาหารบิณฑบาตที่เสวยแล้วตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ (นางสุชาดาถวาย)
๒. บิณฑบาตที่เสวยแล้วปรินิพพาน (นายจุนทะถวาย)

บิณฑบาตสองกาลนี้มีผลมาก กว่าบิณฑบาตรในกาลไหน ๆ เพราะว่าเป็นอานิสงส์แห่งการเข้าถึงพระนิพพานเหมือนกัน
ด้วยว่าบิณฑบาตรที่ถวายโดยนางสุชาดา เป็นเหตุให้พระองค์เข้าถึงด้วยสอุปาทิเสสนิพพานคือการดับกิเลสโดยมีเบญจขันธ์อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ส่วนที่นายจุนทะถวายนั้นเป็นเหตุให้พระพุทธองค์เข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับกิเลสโดยไม่มีเบญจขันธ์นั้นหลงเหลืออยู่

จากนั้นได้สรงน้ำในแม่น้ำกกุธานทีแห่งนี้ ช่วงนั้นเกิดเหตุมหัศจรรย์ว่าปลาในแม่น้ำและสัตว์น้ำทุกตัวเป็นสีทองและแม่น้ำสีใสดั่งเงิน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd32.htm
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=824450
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=493233
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)

หมายเหตุ
ในhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=493233 มีบันทึกตอนท้ายของผู้เขียนว่า

แม่น้ำกกุธานทีสายนี้ ได้สอบถามชาวบ้านๆ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ธาธีนะดีอยู่ห่างจากบ้านนายจุนทะประมาณเจ็ดกิโลเมตร ยังมีแม่น้ำไหลเย็นสนิท ตลอดปี และได้ลงไปสำรวจ ณ ที่แม่น้ำล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยทรายมีลักษะคล้ายกากเพชรที่ส่งแสงระยิบระยับตลอดแม่น้ำอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สูกรมัททวะ ๒





จากหนังสือ “คุยกันวันพุธ” (ฉบับรวมเล่ม โดยคณะสหายธรรม) กล่าวถึง การอาพาธของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะเสด็จปรินิพพาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี

: การที่พระองค์เสวยสูกรมัททวะอันเป็นอาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวายอย่างประณีต แล้วทรงอาพาธนั้น เห็นจะไม่ถูกต้องนัก เพราะความจริงนั้นพระองค์ทรงอาพาธหนักมาก่อนแล้ว ตั้งแต่เมื่อเสด็จออกจากเมืองเวสาลี เพื่อจะมาปรินิพพานที่เมืองกุสินารา แต่ทรงข่มอาพาธเสียได้ด้วยอำนาจสมาบัติ คือทำให้บรรเทาลง จึงสามารถเสด็จเดินทางไปได้ตามลำดับ

จนกระทั่งมาถึงเมืองปาวาที่นายจุนทะผู้นี้อยู่ ก็นายจุนทะนั้น ท่านเป็นพระโสดาบันในคราวที่พบพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก และได้ถวายสวนมะม่วงของตนให้เป็นอารามของสงฆ์ ธรรมดานั้นพระโสดาบันเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแน่นแฟ้น ยากจะหาผู้ใดเสมอ เพราะฉะนั้นนายจุนทะท่านก็จะต้องถวายอาหารที่ประณีตแก่พระพุทธเจ้าแน่นอน จะไม่ถวายอาหารที่เป็นพิษแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันขาด

แต่เพราะเทวดาในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ รวมทั้งทวีปน้อยด้วย ได้พากันมาใส่โอชะลงในสูกรมัททวะนั้น จึงยากที่ไฟธาตุของภิกษุอื่นจะย่อยได้ พระพุทธองค์เสวยแล้วจึงรับสั่งให้เอาไปฝังเสีย

ในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตรกล่าวไว้ว่า สูกรมัททวะนั้นมิได้เป็นพิษแก่พระองค์ ที่แท้กลับทำให้พระองค์ทรงคลายความอาพาธลง จนสามารถเสด็จต่อไปจนถึงเมืองกุสินาราตามพระประสงค์ได้ เพราะถึงแม้พระองค์จะมิได้เสวยสูกรมัททวะ พระองค์ก็ทรงอาพาธอยู่แล้ว

ด้วยอำนาจของอกุศลกรรมที่ตามมาให้ผล และจะอาพาธหนักกว่านี้อีก หากไม่ได้อาหารของนายจุนทะ แต่เพราะได้อาหารที่ประณีตของนายจุนทะ ทุกขเวทนาจึงเบาบางลงพอที่จะเสด็จต่อไปได้ ก็กรรมที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงอาพาธหนัก จนถึงกับมีพระโลหิตไหลไม่หยุดนั้น พระองค์ตรัสเล่าไว้เองในขุททกนิกาย อปทาน ตอนพุทธาปทานที่ชื่อว่า ปุพพกรรมปิโลติตอนหนึ่งว่า เมื่อก่อนนี้เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตรถึงแก่ความตาย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันธิกาพาธจึงมีแก่เรา เพราะฉะนั้นกรรมจึงเป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้นจริงๆ เมื่อเขาได้โอกาสให้ผล แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ทรงฤทธิ์ทรงอานุภาพมากอย่างพระพุทธเจ้า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=836054



ในพระคัมภีร์มหายาน ได้กล่าวไว้ว่า สูกรมัททวะที่พระองค์ทรงฉันนั้น คือ เห็ดชนิดหนึ่ง จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับฝ่ายมหายาน ส่วนทางเถรวาทนั้น ได้เคยแปลตามๆกันมาว่า เนื้อสุกรอ่อน หรือ เนื้อหมูอ่อน (สูกร = สุกร หรือ หมู, มัททวะ = อ่อน) คัมภีร์ชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกัน

บางมติว่าได้แก่ เห็ดชนิดหนึ่ง และบางมติว่าได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวายแก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้าเป็นต้น เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส บางมติว่าอาจเป็นโอสถ หรือ อาหารที่เป็นยาอย่างหนึ่ง ที่นายจุนทะปรุงขึ้นถวายเพื่อรักษาโรค ด้วยทราบข่าวว่า พระพุทธองค์ได้เคยทรงประชวร และจะทรงปรินิพพานในระยะเวลาอันใกล้นั้น

ข้อสันนิษฐานอื่นของสูกรมัทวะ คือ อาจหมายถึง อาหารอันอ่อนนุ่มหรือโอชะที่หมูชอบ ซึ่งอาจเป็นไปได้ โดยเฉพาะมีเห็ดชนิดหนึ่งซึ่งงอกอยู่ใต้ดิน จากโคนไม้ส่วนที่ฝังอยู่ในดิน เรียกกันว่า เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) เห็ดทรัฟเฟิล (Truffle) เป็นเห็ดที่หมูชอบกิน แต่ไม่ใช่หมูจะชอบเท่านั้น คนก็ชอบกินด้วย เพราะมีกลิ่นหอมหวาน ใช้ปรุงอาหารโดยฝานใส่กับอาหาร ทำให้อาหารจานนั้นหอมกลมกล่อมมีรสชาด ถือว่าเป็นอาหารโอชะที่มีค่า (delicacy) และเป็นของที่หาได้ยาก ซึ่งนิยมกันมากโดยเฉพาะในยุโรป.......


ขอขอบคุณที่มา :พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานด้วยโรคอะไร? น.พ.คงศักดิ์ ตันไพจิตร, ดร.นงนุช ตันไพจิตร, ดร.สุนทร พลามินทร์

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สูกรมัทวะ ๑





สูกรมัทวะคือ อาหารหรือยาบำรุงกึ่งอาหารประเภทโสม ซึ่งเป็นสิ่งนายจุนทกัมมารบุตร อังคาสแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมื้อสุดท้ายก่อนปรินิพพาน ซึ่งนายจุนทะตบแต่งตามรสายนวิธี ด้วยประสงค์ว่า การปรินิพพานจะยังไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ก็เกิดอาพาธอย่างร้ายแรง มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิต (ถ่ายเป็นเลือด) ใกล้จะนิพพาน

ทำให้บุรพาจารย์ท่านวินิจฉัยว่า สูกรมัทวะ เป็นอาหารหรือยา หรือสิ่งอะไรกันแน่ โดยบุรพาจารย์ท่านวินิจฉัยไว้ ๗ ประการคือ

๑. ปวัตตมังสะ ของสุกรที่ใหญ่ที่สุดตัวหนึ่ง ไม่หนุ่มนัก ไม่แก่นัก. นัยว่า ปวัตมังสะนั้นนุ่มสนิท. อธิบายว่า ให้จัดปวัตตมังสะนั้น ทำให้สุกอย่างดี. ๒. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ก็คำว่า สูกรมัททวะนี้เป็นชื่อ ของข้าวสุกอ่อน ที่จัดปรุงด้วยปัญจโครส (ขีร นมสด ทธิ นมส้ม ฆตํ เนยใส ตกฺตํ เปรียง และโนนีตํ เนยแข็ง)และถั่ว เหมือนของสุกชื่อว่า ควปานะ ขนมผสมน้ำนมโค.

๓. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิธีปรุงรส ชื่อว่าสูกรมัททวะ ก็สูกรมัททวะนั้นมาในรสายนศาสตร์.
๔. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูกรมัทวะ ความว่า ไม่ใช่เนื้อสุกร แต่เป็นหน่อไม้ไผ่ ที่พวกสุกรแทะดุน.
๕. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า เห็ด ที่เกิดในถิ่นที่พวกสุกรแทะดุน.
๖. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บ่อเกิดแห่งรสชนิดหนึ่ง อันได้นามว่า สุกรอ่อน.
๗. อีกพวกหนึ่งเห็นว่า น่าจะเป็นอาหารบำรุงประเภทโสม ซึ่งมีพวกสมุนไพรผสมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่า สูกรมัทวะ





ในพระไตรปิฎก ฉบับฉลองศิริราชสมบัติ ๖๐ ปี กล่าวไว้ในเชิงอรรถ ว่า สูกรมัทวะ หมายถึง เนื้อสันของสุกรที่เจริญเติบโตอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งกล่าวกันว่า อ่อนนุ่ม และอุดมด้วยไขมัน ได้รับการจัดแจงปรุงรสอย่างดี
มีมติของอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า คำว่า สูกรมัทวะ หมายถึง ชื่อของวิธีปรุงน้ำซุปเบญจโครสผสมด้วยข้าวสุกนุ่ม นอกจากนี้
ยังมีเกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า “ชื่อว่าสูกรมัทวะ ได้แก่วิธีปรุงยาบำรุงกำลัง (รสายนวิธี) ชนิดหนึ่ง ซึ่งนายจุนทะตั้งใจปรุงเป็นพิเศษ ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงปรินิพพาน” อนึ่งในสูกรมัทวะนั้น เหล่าเทวดาในมหาทวีปทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปเล็กจำนวน ๒,๐๐๐ ทวีป เป็นบริวาร ต่างพากันใส่โอชารสเข้าไป (นัย ที.ม.อ. ๑๗๒)

สรุปแล้วก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไปว่า สูกรมัทวะ คืออะไร แต่เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงต้องฉัน สูกรมัทวะ แล้วเกิดอาการประชวร ไม่ใช่พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงทราบ หากแต่เป็นกรรมเก่าที่พระองค์เคยสร้างไว้ บุพกรรมที่ทำให้ถ่ายด้วยการลงพระโลหิต การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด.



ได้ยินว่าในอดีตกาล
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม. พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำจึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตรเศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอกออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อมกับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้.

กำลังช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประทับนั่งในที่หลายแห่ง กระหายน้ำทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วยความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุบันสมัยใกล้รุ่ง. แม้เป็นพระพุทธเจ้ากรรมเก่าก็ไม่ละเว้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วยวิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา” จะเห็นได้ว่าแม้เป็นอริยบุคคล ผู้สูงสุดคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังหนีกรรมเก่าไม่พ้น ไม่สามารถแก้กรรมได้ แต่ในปัจจุบันผู้ที่เรียกตนเองว่า ชาวพุทธกลับพยายามที่จะแสวงหาวิธีที่จะหลีกหนีจากกรรม หรือวิธีแก้กรรมกัน ซึ่งถ้ามีวิธีที่ว่าจริงพระพุทธเจ้า คงไม่ต้องรับเวทนาจากกรรมเก่าที่เคยกระทำมาในอดีตชาติ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://dhammaweekly.wordpress.com/2011/03/12/สูกรมัทวะ-สิ่งที่นายจุน/

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๘




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=836054

ในวันนั้นเองหลังจากที่เสวยสุกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว พระพุทธองค์ทรงประชวรด่วยโรคชื่อ ปักขันทิกาพาธ มีอาการลงพระโลหิต ทรงได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า แต่ยังทรงมีสติสัมปชัญญะมั่นคง ไม่ทุรนทุราย ด้วยพลังขันติธรรม คือ อธิวาสนขันติ

ตรัสให้พระอานนท์นำความไปบอกแก่นายจุนทะ โดยทำให้เขามั่นใจว่า การที่นายจุนทะถวายสุกรมัททวะแก่พระคถาคต เป็นอาหารมื้อสุดท้าย หลังจากที่ทรงเสวยแล้วประชวรนี้ ไม่มีข้อที่น่าตำหนิ แต่กลับมีอานิสงส์มาก

 มีตำนานบอกว่า พระพุทธองค์ทรงลงสรงสนาน ในแม่น้ำกกุธานที แม่น้ำกกุธานที เป็นแม่น้ำอยูีในเขตของเมือปาวา อยู่ใกล้กรุงกุสินารา มีชื่อเรียกว่า กุกุฑฐา (กกุทธา กกุฎฐา) สวนอัมพวัน (หริอสวนมะม่วง) ของนายจุนทะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกกุธานที เมื่อพระพุทธองค์ทรงสรงสนานในแม่น้ำกกุฎฐา นี้แล้ว ยริเวณริมฝั่งแม่น้ำและปลาทุกตัวในแม่น้ำ ได้กลายสภาพเป็นทองคำ


 แม่น้ำกกุธานที


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนท์มา แล้วเสด็จออกจากเมืองปาวา ไปยังเมืองกุสินารา การประชวรลงพระโลหิตของพระพุทธองค์ พระสังติติกาจารย์ ผู้ร่วมทำสังคายนา ได้ให้ข้อสังเกตุว่า

พระพุทธองค์ผู้ทรงพระปรีชา เสวยภัตตาหารของนายจุนทะผู้เป็นบุตรนายช่างทองแล้ว ทรงประชวรอย่างหนัก ใกล้จะปรินิพพาน เมื่อพระบรมศาสดาเสวยสุกรมัททวะแล้ว การประชวรบางอย่างได้เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าลงพระบังคน ได้ตรัสว่า "เราจะไปเมืองกุสินารา"

พระพุทธองค์เสด็จจากเมืองปาวาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ๋ ขณะที่ทรงดำเนิน ทรงกระหายน้ำ จึงเสด็จแวะพักลงณ ณ โคนต้นไม้รืมทางนั้น ตรัสสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิซ้อนกันป็น ๔ ชี้น ประทับบนอาสนะที่พระอานนท์ปูลาดถวายไว้ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำจากลำคลองเล็กที่อยู่ในบริเวณนั้นมา เพราะทรงกระหายใคร่จะได้ดื่มน้ำ


พระอานนท์ไม่ไปตักน้ำตามพุทธบัญชา เพราะเห็นว่าเกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข่ามแม่น้ำนั้นไปไม่นาน ทำให้น้ำขุ่น กราบทูลแนะนำให้เสด็จต่อไปยังแม่น่ำใหญ่ ชื่อ กกุธานที (หรือกกุฏฐา) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นั้น พระพุทธองค์ตรัสยืนยันถึง ๓ ครั้ง ให้พระอานนท์ไปตักน้ำมา

สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)


วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๗




ขอขอบคุณภาพจากhttp://no1thai.blogspot.com/2013_07_01_archive.html


ในพรรษาสุดท้าย พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่เมืองเวสาลี หรือไพสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี
และเมืองนี้เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นที่กำเนิดของพระมหาวีระศาสดาของศาสนาเชน

และที่เป็นต้นกำเนิดของการทำน้ำมนต์ในพุทธศาสนา เนื่องจากได้เกิดทุพิกขภัยร้ายแรงทั่วเมืองเวสาลีมีคนตายมากมายกษัตริย์จึงได้นิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้มาโปรดชาวเมือง พระพุทธเจ้าจึงนำเหล่าภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางไปโปรดที่เมืองเวสาลีพร้อมทั้งได้มีการประพรมน้ำมนต์ทั่วทั้งเมือง เป็นที่มาของการสวดรัตนปริต

นอกจากนี้เวสาลียังเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าได้ปลงสังขารที่ปาวาลเจดีย์ ในสวนของนางอัมพปาลี หญิงคณิกาแห่งเมืองเวสาลี
ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “อีกสามเดือนจากนี้ไป ตถาคตจะดับขันธ์ปรินิพพาน”
หลังจากนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จไปเมืองกุสินาราซึ่งเป็นสถานที่เสด็จปรินิพพาน

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จออกจากนครเวสาลี ทรงประทับยืนอยู่ ณ ประตูเมืองเป็นครู่ ผินพระพักตร์ดูนครเวสาลีอันมั่งคั่งเรืองรุ่งดุจสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทรงตรัสกับพระอานนท๋ว่า



" อานนท์เอย
การมองดูเวสาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายของตถาคตแล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีการเริ่มต้นแล้ว ย่อมมีการสิ้นสุด
ใครเล่าจะหน่วงเหนี่ยวสิ่งซึ่งจะต้องเป็น มิให้เป็นได้..."





ขอขอบคุณภาพจากthanyathorn.wordpress.com

เมืองกุสินารานี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสสัมมาสัพุทธเจ้า
เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยสวรรคตที่เมืองนี้ ๗ ครั้ง
เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.pimpudcha.com/index.php/travel/58-2013-07-19-05-58-59

พระพุทธองค์ทรงรอนแรมไปสู่หมู่บ้านภัณฑุคาม ตรัสเทศนาสั่งสอนบุคคลในหมู่บ้านนั้น แล้วเสด็จไปสู่หมู่บ้านหัตถีคาม อัมพคาม และชัมพูคาม ตามลำดับถึงเมืองโภคนคร ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่บุคคลทั้งหลายอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงเสด็จไปเมืองปาวา ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ตระกูลวิศวกรรมนายช่างทอง ณ เมืองปาวานั่นเอง พระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะจัดถวาย

เมืองปาวานั้นเป็นศูนย์กลางของพวกนับถือศาสนาของศาสดามหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร และท่านมหาวีระก็ละสังขารที่เมืองนี้

นายจุนทะได้ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองปาวา กำลังประทับอยู่ ณ อัมพวัน จึงไปเดินทางไปเข้าเฝ้า กราบทูลนิมนต์พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น


นายจุนทะจัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต และสุกรมัททวะ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์

ตรัสเรียกให้นายจุนทะนำสุกรมัททวะมาถวายเฉพาะพระองค์ ให้ถวายอาหารอื่นแก่พระภิกษุสงฆ์ เมื่อฉันเสร็จแล้วตรัสให้นำสุกรมัททวะที่เหลือไปฝังเสีย

"ดูก่อนจุนทะ ท่านจงฝังสุกรมัททวะที่ยังเหลือเสัยในหลุม เรายังไม่เห็นใครเลยในมนุษยโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่บริโภคสุกรมัททวะนั้นแล้ว จักพึงให้ย่อยไปด้วยดี นอกจากตถาคต"


นายจุนทะทำตามพระพุทธบัญชา เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ทำให้นายจุนทะเกิดความเข้าใจในข้ออรรถ ข้อธรรม มีความรื่นเริงเบิกบานในธรรมะที่ได้สดับนั้น
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จกลับที่ประทับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.oknation.net/blog/somran/2009/07/23/entry-2

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๖ พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ ๓




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.web-pra.com/Shop/panor304/Show/695731


ท้าวสักกะสร้างธรรมปราสาทถวาย

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ประสงค์จะสร้างปราสาทถวายพระเจ้ามหาสุทัสสนะ จึงเรียกวิศวกรรมเทพบุตรมา รับสั่งให้สร้างพระราชวังชื่อว่า ธรรมปราสาท เพื่อถวายแด่ท้าวเธอ

วิศวกรรมเทพบุตรจึงได้ไปจัดการตามนั้น โดยการสร้างปราสาทยาวไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑ โยชน์ และกว้างไปทางทิศเหนือและทิศใต้กึ่งโยชน์ ธรรมปราสาทสวยสดงดงามตระการตาด้วยวัสดุที่มีค่ายิางนัก เช่นอิฐ มี ๔ ชนิด คือ ทอง เงิน ไพฑูรย์ และแก้วผลึก มีเสาถึง ๘๔,๐๐๐ ต้น แบ่งเป๋็น ๔ ชนิด คือเสาทอง เสาเงิน เสาไพฑูรย์ และเสาแก้วผลึก ตามลำดับกระดาน ๔ สี่ คือ ทอง เงิน ไพฑูรย์ และแก้วผลึก เหล่านี้เป็นต้น


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.web-pra.com/Shop/panor304/Show/695731

พระเจ้ามหาสุทัสสนะสวรรรคต

พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรางพระราชดำริว่า เพราะผลของกรรมหรือวิบากของกรรมอะไร จึงทำให้มีฤทธิ์ มีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ แล้วก็ได้รู้ว่าเป็นเพราะผลกรรม ๓ อย่างคือ

ทาน การให้
ทมะ การฝึกจิต
และสัญญมะ การสำรวมจิต
แล้วท้าวเธอก็เสด็จเข้าเรือนยอดหลังใหม่ เปล่งพระอุทานว่า หยุดกามวิตก หยุดพยาบาทวิตก และหยุดวิหิงสาวิตก (ความเบียดเบียน)
ดังนี้แล้ว ได้สมถกรรมฐาน จนได้บรรลุจตุตถฌาน
เมื่อเสด็จออกจากเรือนแล้ว ทรงมีจิตอันสหรคตด้วย เมตตา กรุฯา มุฑิตา และอุเบกขา เป็นอัปปมัญญาทั่วไปตลอดทิศทั้ง ๔
ครั้นแล้วก็รับสั่งให้ราชบุรุษยกบัลลังก์ทองไปตั้งไว้ที่ราชอุทยาน จากนั้นท้าวเธอทรงสำเร็จสีหไสยาสน์และเสด็จสวรรคตโดยสงบ ทรงอุบัติในพรหมโลก เพราะบำเพ็ญพรหมวิหารธรรม กระทั่งดับจิต



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=147038

สังเวคกถา
พระผูมีพระภาคเจ้าได้ตรัสสรุปเรื่องว่า

"ดูกร อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะสมัยนั้นคือ เรา (ตถาคต) ในกาลนี้นั่นเอง สมัยเมื่อเราเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เรามีนครในปกครอง ๘๔,๐๐๐ แห่ง นั้น มีกรุงกุสาวดีเป็นราชธานี แต่ถึงกระนั้นเราก็อยู่อาศัยเพียงนครเดียวเท่านั้น เช่นเดียวกันนี้ เรามีปราสาท เรือนยอดบัลลังก์ ช่้าง ม้า รถ แก้ว สตรี คหบดี ปริณายก โคนม ผ้า ถาดพระกระยาหารอย่างละ ๘๔,๐๐๐ ทุกอย่างเหล่านี้ล้วนแต่เป็นของเลิศ แต่เราก็ได้ใช้เพียงคราวละครั้งเท่านั้น ดูเถิด อานนท์ สังขารเหล่านั้นล่วงไป ดับแล้ว แปรปรวน แล้ว สังขารไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าวางใจอย่างนี้

ฉะนั้น จึงควรเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ควรเพื่อจะคลายกำหนัด ควรเพื่อจะพ้นไปเสีย


ดูกรอานนท์ เราย่อมรู้ที่ทอดทิ้งร่างกาย เราทอดทิ้งร่างกายไว้ในประเทศนี้. การที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ การทอดทิ้งร่างกายไว้นี้นับเป็นครั้งที่เจ็ด

ดูกรอานนท์ เราไม่เล็งเห็นประเทศนั้นๆในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่ตถาคตจะทอดทิ้งสรีระไว้เป็นครั้งที่แปด ดังนี้.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.atlanteanconspiracy.com/2012/08/the-immaterial-physical-world.html

มีความละเอียดอยู่ในมหาสุทัสสนสูตร หรือติดตามอ่านได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read100/read100163_02.php

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นครกุสินารา ๕ พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ ๒




ขอขอบคุณภาพจาก ขอขอบคุณภาพจาก http://www.naryak.com/forum/บึงบอระเพ็ด-f1-t83.html

ฤทธิ์ ๔ ของพระจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ

พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีฤทธิ์ ๔ ประการคือ
๑.ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผ่องใส ยิ่งกว่ามนุษย์เหล่าอื่นใดในโลกนี้

๒.ทรงมีชนมายุยืนนาน ยิ่งกว่ามนุษย์เหล่าอื่น คือเป็นพระกุมาร ๘๔,๐๐๐ ปี ดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ครองราชสมบัติ ๘๔,๐๐๐ ปี และประพฤตืพรหมจรรย์ในธรรมปราสาทอีก ๘๔,๐๐๐ ปี

๓.มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีพระเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมที่มีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ยิ่งกว่ามนุษย์เหล่าอื่น
  ๔.เป็นที่รักใครของประขาขน ราวกับเป็นบิดาที่รักใคร่ของบุตรฉะนั้น อย่างเช่นเมื่อครั้งที่ท้าวเธอเสด็จประพาสพระราชอุทยานด้วยจาตุรงคเสนา พสกนิกรที่รอเข้าเฝ้ารับเสด็จกราบทูลว่า

"ขอเดชะ พระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจักได้เห็นพระองค์นาน ๆ
ท้าวเธอจึงตรัสเตือนสารถีว่า

"จงขับช้า ๆ เราจะได้ดูพสกนิกรของเรานาน ๆ

ขอขอบคุณภาพจาก

พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีถึง ๘๔,๐๐๐ สระ ด้วยอิฐ ๔ ชนิด คือ ทอง เงิน แก้วไพฑูรย์ และแก้วผลึก ล้วนแต่วิจิตรตระการตา จากนั้นโปรดให้ปลูกดอกบัวชนิดต่าง ๆ ซึ่งผลิดอกออกผลได้ในทุกฤดูกาลในสระเหล่านั้น




พร้อมกันนั้นก็ให้ตั้งโรงทานที่ฝั่งของสระนั้น สิ่งของที่มีไว้แจกทานก็มีข้าว น้ำ ผ้า ยา เงิน และทอง เป็นต้น

บรรดาพ่อค้าคหบดีเข้าเฝ้าท้าวเธอ พร้อมทั้งกราบทูลถวายสิ่งของมีค่า
มีรับสั่งว่า
"ขอทรัพย์สมบัติทั้งหมดนั้น จงเป็นของพวกเธอเถิด "
พ่อค้าคหบดีเหล่านั้น จึงนำทรีพย์จำนวนนั้นมาจ้ดสร้างนิเวศน์ถวายแด่ท้าวเธอ



ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.palungjit.org/f13/พระนางสามาวดี-เอตทัคคะผู้ถูกไฟ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)