ปลากลายพันธุ์...อันสีเผือก..
ปลาดุกเผือก
สัตว์เผือก Albinism/ Albino
คือสัตว์ที่มีลักษณะผิดไปจากปกติ คือเปลี่ยนจากสีปกติเป็นสีขาว เกิดจากการกลายของยีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุ (pigment) ทำให้สัตว์นั้นไม่สามารถสร้างรงควัตถุสีดำ (Melanin) ได้ สัตว์เผือกจึงไม่มีสีดำปรากฎอยูบบนลำตัว และจะมีตาสีแดงหรือชมพู
ยีนที่ควบคุมสีเผือกเป็นยีนด้อย ซึ่งจะถูกข่มด้วยยีนปกติเป็นยีนเด่น
การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเปลี่ยนแปลงโดยสมบูรณ์ (Complete Albinism ) คือขาวหมดทั้งตัว หรือเปลี่ยนแปลงเฉพาะบางส่วน (Incomplete Albinism) ก็ได้
ปลากาแดงเผือก ( Red- fin shark)
ซึ่งข้อมูลจากวิกิพีเดีย ได้กล่าวถึงภาวะผิวเผือกไว้ดังนี้
ภาวะผิวเผือก (อังกฤษ: Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic)
“Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentationชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา
ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับrecessive allele ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที่
ปลาน้ำผึ้งเผือก ( Chinese algae eater )
มีข้อมูลที่ลงรายละเอียดของ อัลบินิซึม (albinism) จากhttp://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=126065.5;wap2
ลักษณะผิดปกติในตัวสัตว์ที่เปลี่ยนจากสีปกติเป็นสีขาวนี้เรียกว่า โรคอัลบินิซึม (albinism) เกิดจากยีนด้อยที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถสร้างเอนไซม์เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส (melamocyte tyrosinase) ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญตัวหนึ่งไปเป็นเมลานิน (Melanin) ซึ่งในมนุษย์ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้แสดงลักษณะเผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ส่วนในสัตว์การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงสมบูรณ์คือขาวหมดทั้งตัว(Complete Albinism) หรือเปลี่ยนแปลงเฉพาะบางส่วน (Incomplete Albinism) ก็ได้ โดยสัตว์เผือกขาวโดยสมบูรณ์นั้นรงควัตถุที่แสดงสีจะไม่ปรากฎให้เห็นเลยแม้ในดวงตา แสงจะผ่านดวงตาและสะท้อนผ่านเส้นเลือดออกมาทำให้เห็นว่าดวงตามีสีแดงทับทิมหรือในส่วนอื่นๆ ที่บอบบางของร่างกายก็จะเห็นเป็นสีชมพูของเส้นเลือดเช่นเดียวกัน สัตว์บางตัวอาจจะปรากฎสีขาวเฉพาะส่วนก็เพราะมียีนด้อยที่แสดงความเผือกยังปรากฎออกมาไม่สมบูรณ์เพราะมียีนเด่น ๆ ตัวอื่นข่มอยู่บ้าง
โอกาสที่สัตว์สองตัวต่างเพศกันที่มีเชื้อพันธุ์ที่เผือกอยู่ในตัวจะมาเจอกันและผสมพันธุ์กันในสภาพธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นน้อยมาก โดยเฉพาะสัตว์ที่มีจำนวนประชากรในธรรมชาติเหลืออยู่มาก อาจจะเป็นแค่หนึ่งในล้านก็ได้สำหรับสัตว์เผือกในธรรมชาติที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันเองของสัตว์ที่มียีนด้อย สิ่งเหล่านี้เป็นการคัดเลือกเผ่าพันธุ์ของสัตว์เองเพื่อการอยู่รอดของพวกมัน เพราะการเป็นสัตว์เผือกถือว่าเป็นปมด้อยที่ไม่ควรเหลือเอาไว้หากจะรักษาเผ่าพันธุ์ไว้นานๆในความเป็นอยู่สัตว์เผือกนั้นย่อมลำบากกว่าสัตว์ที่มีสภาพปกติอยู่แล้ว เพราะความผิดแปลกที่ติดตัวมันมาย่อมจะสร้างปัญหาให้กับตัวมันและเกือบทั้งหมดของสัตว์เผือกที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมักจะตายลง เพราะไม่สามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมของสัตว์ที่เป็นปกติ
ปลากดทองคำ (Two-spotted Bagrid Catfish )
สำหรับสัตว์ที่มีขน สีขนทีเคยซ่อนพรางไปกับสภาพแวดล้อมในสัตว์บางประเภท หากเปลี่ยนเป็นสีขาวเด่นชัด มันย่อมเป็นเป้าที่มองเห็นได้ชัดเจน สำหรับสัตว์ที่เป็นเหยื่อของสัตว์อื่นมันย่อมจะถูกล่าได้ง่ายกว่าเดิม เพราะการซ่อนพรางสีขาวเอาไว้คงเป็นเรื่องยากมาก
แม้ว่าในธรรมชาติจะมีสัตว์บางอย่างที่มีสีขาวไม่ว่าจะเป็นนกกระยาง หมีขั้วโลก หรือแมลงมากมาย แต่นั่นก็เป็นการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากสีขาวมาเนิ่นนานแล้ว ไม่เหมือนกับสัตว์เผือกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด
การขยายพันธุ์สัตว์นั้นจำเป็นต้องผสมเอาไว้มาก ๆเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อในอนาคตจะได้ไม่เกิดปัญหาจากการผสมกันเองในหมู่เครือญาติ (inbreed) ซึ่งจะทำให้สัตว์อ่อนแอมากยิ่งขึ้น
Xanthochroism เป็นการผิดปกติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากการเพิ่มรงควัตถุ zooxanthin ทำให้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เรียกสัตว์ที่เผือกเหลืองนี้ว่า Lutino ซึ่งก็คล้ายกับสัตว์ที่ผิดปกติแบบเผือก ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนล้วนมีจำนวนน้อยและหาได้ยาก จึงไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นสัตว์เหล่านี้กันมากนัก
ส่วนข้อมูลจาก http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=126065.5;wap2
ได้สรุปไว้ว่า
ลักษณะผิดปกติแบบเผือกหรือคล้ายเผือก ของปลามักจะพบ 3 แบบคือ
Albinism - เผือกแท้
Leucism - ขาว
Xanthism - ทอง
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
หลากหลาย..สายพันธุ์ปลาตู้
หลากหลาย..สายพันธุ์ปลาตู้
ขออภัยที่ภาพไม่สวยงาม เหมือนปลาตัวจริงในตู้ที่ตัวปลาล้วนสวยงาม ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบมาแล้ว จึงได้มาโชว์โฉมในงานของกรมประมง เมื่อปี พ. ศ 2553
และ พลอยโพยมก็ไม่มีความรู้เรื่องชื่อของปลาตู้สวยงามพวกนี้ พอจะรู้จักปลากัดแต่ก็ไม่รู้จักชื่อ ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่คนใกล้เคียงเรียงชิดไปร่วมงานมาแล้วเก็บภาพมาฝาก เพราะรู้ว่าพลอยโพยมกำลังเก็บรวบรวมภาพปลาอยู่นั่นเอง โดยฝีมือการถ่ายภาพแย่กว่าพลอยโพยมเสียอีก (ข้อนี้พลอยโพยมตัดสินเอง)
ขออภัยที่ภาพไม่สวยงาม เหมือนปลาตัวจริงในตู้ที่ตัวปลาล้วนสวยงาม ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบมาแล้ว จึงได้มาโชว์โฉมในงานของกรมประมง เมื่อปี พ. ศ 2553
และ พลอยโพยมก็ไม่มีความรู้เรื่องชื่อของปลาตู้สวยงามพวกนี้ พอจะรู้จักปลากัดแต่ก็ไม่รู้จักชื่อ ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่คนใกล้เคียงเรียงชิดไปร่วมงานมาแล้วเก็บภาพมาฝาก เพราะรู้ว่าพลอยโพยมกำลังเก็บรวบรวมภาพปลาอยู่นั่นเอง โดยฝีมือการถ่ายภาพแย่กว่าพลอยโพยมเสียอีก (ข้อนี้พลอยโพยมตัดสินเอง)
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
ปลาสวยงาม..อร่ามเรืองรอง
ปลาสวยงาม..อร่ามเรืองรอง
ปลาเลมอนต้าเผือก
ปลาบอลลูนเงินและปลาบอลลูนทอง
ปลาบอลลูนทอง
ปลาบอลลูนเงิน
ปลาบอลลูนเงิน
ปลามาลาวีเผือก
ปลาเลมอนต้าเผือก
ปลาบอลลูนเงินและปลาบอลลูนทอง
ปลาบอลลูนทอง
ปลาบอลลูนเงิน
ปลาบอลลูนเงิน
ปลามาลาวีเผือก
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
[บทความ] ปลาม้าลาย ...เชื้้อสายอินเดีย
ปลาม้าลาย ...เชื้้อสายอินเดีย
ปลาม้าลาย
ชื่อไทย ปลาม้าลาย หรือ ปลาซีบรา
ชื่ออังกฤษZebra Danio
ชื่อวิทยาศาสตร์Brachydanio rerio
ถิ่นที่อยู่อาศัย-มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาตัวเล็กๆ สวยงามน่ารักมักว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงไปมาด้วยความรวดเร็ว
ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว มีแถบยาวตามลำตัว 4 แถบคล้ายลายของม้าลาย มันจึงถูก
เรียกว่า ปลาม้าลาย ปลาชนิดนี้มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 5-6 ซม. เท่านั้น ปลาม้า
ลายตัวเมียค่อนข้างอ้วนป้อมกว่าตัวผู้
อุปนิสัย
ปลาที่มีขนาดเล็กมักจะว่องไว เพื่อความรวดเร็วในการ กินอาหารหรือหลบหลีกศัตรูปลาม้าลาย ก็เช่นเดียวกันเป็นปลาว่องไว เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีแต่ควรจะมีขนาดไม่แตกต่างกันมากนัก ปลาม้าลายเป็นปลา กินผิวน้ำ และชอบที่ซึ่งมีน้ำไหล
ตู้เลี้ยงปลาม้าลายควรเป็นตู้ค่อนข้างกว้างพอพืชน้ำสามารถปลูกได้ เพราะปลาม้าลายกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร พื้นตู้ควรรองด้วยกรวดทรายที่สะอาด แอร์ปั๊ม จะช่วย ให้ปลาม้าลายสดใส มีชีวิตชีวามากขึ้น อาหารที่ชอบ ได้แก่ ไรแดง ลูกน้ำ
อาหารเม็ดลอยน้ำ เป็นต้น
ปลาม้าลายสีทอง
เผอิญพลอยโพยมมีภาพปลาม้าลายสีทอง แต่ตัวเองก็ไม่รู้จักปลาม้าลาย ก็เลยหาบทความทำความรู้จักกับปลาม้าลาย ก็เลยนำบทความที่หาได้มาเผยแพร่ต่อ
ที่มาของข้อมูล http://pirun.ku.ac.th/~g5174004/page2.htm
ที่มาของภาพhttp://www.petth.com/index.php?module=news&page2=detail&id=96
ตะพาบเผือก
ปลาม้าลาย
ชื่อไทย ปลาม้าลาย หรือ ปลาซีบรา
ชื่ออังกฤษZebra Danio
ชื่อวิทยาศาสตร์Brachydanio rerio
ถิ่นที่อยู่อาศัย-มีแหล่งกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาตัวเล็กๆ สวยงามน่ารักมักว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงไปมาด้วยความรวดเร็ว
ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว มีแถบยาวตามลำตัว 4 แถบคล้ายลายของม้าลาย มันจึงถูก
เรียกว่า ปลาม้าลาย ปลาชนิดนี้มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 5-6 ซม. เท่านั้น ปลาม้า
ลายตัวเมียค่อนข้างอ้วนป้อมกว่าตัวผู้
อุปนิสัย
ปลาที่มีขนาดเล็กมักจะว่องไว เพื่อความรวดเร็วในการ กินอาหารหรือหลบหลีกศัตรูปลาม้าลาย ก็เช่นเดียวกันเป็นปลาว่องไว เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีแต่ควรจะมีขนาดไม่แตกต่างกันมากนัก ปลาม้าลายเป็นปลา กินผิวน้ำ และชอบที่ซึ่งมีน้ำไหล
ตู้เลี้ยงปลาม้าลายควรเป็นตู้ค่อนข้างกว้างพอพืชน้ำสามารถปลูกได้ เพราะปลาม้าลายกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร พื้นตู้ควรรองด้วยกรวดทรายที่สะอาด แอร์ปั๊ม จะช่วย ให้ปลาม้าลายสดใส มีชีวิตชีวามากขึ้น อาหารที่ชอบ ได้แก่ ไรแดง ลูกน้ำ
อาหารเม็ดลอยน้ำ เป็นต้น
ปลาม้าลายสีทอง
เผอิญพลอยโพยมมีภาพปลาม้าลายสีทอง แต่ตัวเองก็ไม่รู้จักปลาม้าลาย ก็เลยหาบทความทำความรู้จักกับปลาม้าลาย ก็เลยนำบทความที่หาได้มาเผยแพร่ต่อ
ที่มาของข้อมูล http://pirun.ku.ac.th/~g5174004/page2.htm
ที่มาของภาพhttp://www.petth.com/index.php?module=news&page2=detail&id=96
ตะพาบเผือก
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
ปลาสวย...ด้วยแปลกสี
ปลาพื้นเมืองไทยที่มีสีผิดไปจากธรรมชาติ ในสองสี คือสีเผือก และสีทอง ของกรมประมง
ซึ่งศูนย์ต่าง ๆ (สถานีประมง เดิม) ของจังหวัด ต่าง ๆ นำมาแสดง
ปลาบางชนิดมีนัยน์ตาสีแดงด้วยอีกต่างหาก
ปลากดคังเผือก
ปลากาดำเผือก
ปลาช่อนเผือก
ปลาเสือสุมาตราทอง
ปลาหมอตาลเผือก
ปลาแรดเผือกตาแดง
ปลาตะเพียนทองเผือกตาแดง
ซึ่งศูนย์ต่าง ๆ (สถานีประมง เดิม) ของจังหวัด ต่าง ๆ นำมาแสดง
ปลาบางชนิดมีนัยน์ตาสีแดงด้วยอีกต่างหาก
ปลากดคังเผือก
ปลากาดำเผือก
ปลาช่อนเผือก
ปลาเสือสุมาตราทอง
ปลาหมอตาลเผือก
ปลาแรดเผือกตาแดง
ปลาตะเพียนทองเผือกตาแดง
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555
[บทความ} ปลาชะโด ..โอ้ปลาแมลงภู่
ปลาชะโด ..โอ้ปลาแมลงภู่
ปลาชะโด
กาพย์ยานี ๑๑
แมลงภู่คู่เคียงว่าย
เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสม
สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาชะโด
ปลาชะโด
ปลาชะโดหรือปลาแมลงภู่ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า ปลาอ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ : Giant Snake-head Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes
อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และเป็นปลาขนาดใหญ่สุดในวงศ์ปลาช่อน
ปลาชะโด
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาวทรงกระบอก ลักษณะครีบต่าง ๆ คล้ายกับปลาช่อน แต่เมื่อเติบโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่กว่า พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม
เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด
เ มื่อเริ่มโตขึ้นมา เป็นปลาความยาวลำตัว 40-50 ซ.ม. แถบสีและลายต่าง ๆ จะเริ่มลบเลือนจางหายไปสีของลำคัวกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาล หรือ สีน้ำเงินเข้มเหลือบเขียวคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทนตลอดตัว
โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ปลาชะโด" หรือ "ปลาอ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "ปลาแมลงภู่" ตามสีของลำตัว
ปลาชะโด
นิสัย
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลา คือช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน ปลาชะโดตัวผู้ จะทำรัง บริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยจะกัดต้นไม้น้ำทำให้ล้มเป็นแพและทำให้กอไม้น้ำนั้นแหว่งเป็นแอ่งตรงกลาง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง " และคอยกบนานนิ่งเผ้าดูแลไข่และลูกอ่อน และจะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ นี่้เป็นวาระแห่งชาติพ่อปลาชะโดที่ธรรมชาติเสกสรร และสร้างสรรค์ให้โลกนี้
ปลาชะโดมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจโดยไม่ต้องกรองผ่านช่องเหงือกเหมือนปลาช่อน จึงมักพบว่ายน้ำขึ้นมาหายใจในอากาศเป็นครั้งคราว
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาที่พบได้ในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศไทย และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ลูกปลาชะโด
อาหาร-กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ประโยชน์- เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีเนื้อมาก รสชาติดี แต่เนื้อปลาแข็งมีก้างมาก บริโภคทั้งปรุงสดและตากแห้งหรือทำเป็นปลาเค็ม
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลาขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าปลาตอร์ปิโด พบมีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาตู้สวยงามและมีราคาถูก
ที่มาของข้อมูล กรมประมง และวิกิพีเดีย
มีบทความเกี่ยวกับปลาชะโดและลูกครอกปลาชะโด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง เจ้าสุดสายสวาสดิ์
ปลาชะโด
กาพย์ยานี ๑๑
แมลงภู่คู่เคียงว่าย
เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสม
สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาชะโด
ปลาชะโด
ปลาชะโดหรือปลาแมลงภู่ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า ปลาอ้ายป๊อก
ชื่อสามัญ : Giant Snake-head Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes
อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และเป็นปลาขนาดใหญ่สุดในวงศ์ปลาช่อน
ปลาชะโด
ลักษณะทั่วไป
มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาวทรงกระบอก ลักษณะครีบต่าง ๆ คล้ายกับปลาช่อน แต่เมื่อเติบโตเต็มวัยมีขนาดใหญ่กว่า พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม
เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด
เ มื่อเริ่มโตขึ้นมา เป็นปลาความยาวลำตัว 40-50 ซ.ม. แถบสีและลายต่าง ๆ จะเริ่มลบเลือนจางหายไปสีของลำคัวกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาล หรือ สีน้ำเงินเข้มเหลือบเขียวคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทนตลอดตัว
โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ปลาชะโด" หรือ "ปลาอ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "ปลาแมลงภู่" ตามสีของลำตัว
ปลาชะโด
นิสัย
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลา คือช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน ปลาชะโดตัวผู้ จะทำรัง บริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยจะกัดต้นไม้น้ำทำให้ล้มเป็นแพและทำให้กอไม้น้ำนั้นแหว่งเป็นแอ่งตรงกลาง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง " และคอยกบนานนิ่งเผ้าดูแลไข่และลูกอ่อน และจะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ นี่้เป็นวาระแห่งชาติพ่อปลาชะโดที่ธรรมชาติเสกสรร และสร้างสรรค์ให้โลกนี้
ปลาชะโดมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจโดยไม่ต้องกรองผ่านช่องเหงือกเหมือนปลาช่อน จึงมักพบว่ายน้ำขึ้นมาหายใจในอากาศเป็นครั้งคราว
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาที่พบได้ในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศไทย และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ลูกปลาชะโด
อาหาร-กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ประโยชน์- เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีเนื้อมาก รสชาติดี แต่เนื้อปลาแข็งมีก้างมาก บริโภคทั้งปรุงสดและตากแห้งหรือทำเป็นปลาเค็ม
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลาขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าปลาตอร์ปิโด พบมีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาตู้สวยงามและมีราคาถูก
ที่มาของข้อมูล กรมประมง และวิกิพีเดีย
มีบทความเกี่ยวกับปลาชะโดและลูกครอกปลาชะโด เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง เจ้าสุดสายสวาสดิ์
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555
[บทความ ] ปลาแปบแนบกาย... ในสายวารี
ปลาแปบแนบกาย... ในสายวารี
กาพย์ยานี ๑๑
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
ชะวาดแอบแปลบปนปลอม
เหมือนพี่แนบแอบถนอม
จอมสวาทนาฎบังอร
กาพย์เห่เรือ
เห่ชมปลา พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาแปบ
ชื่อสามัญ ปลาแปบ ปลาแปบควาย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SIAMESE RIVER ABRAMINE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paralaubuca riveroi
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
วงศ์ย่อย Alburninae
ปลาแปบ
ในภาคกลางเรียกปลาแปบ มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาท้องพลุ" และในภาษาตะวันออกเฉัยงเหนือเรียกว่า "ปลาแตบ", "ปลาแตบขาว" หรือ "ปลามะแปบ" เป็นต้น
ปลาแปบบเป็นปลาน้ำจืด
ปลาแปบ
ลักษณะทั่วไป
ปลาแปบ มีลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เกล็ดบางและหลุดง่าย เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50-85 แถว ครีบอกยาว เกือบถึงครีบหลัง ครีบหางเว้าลึก ครีบสีจาง ลำตัวมีสีเงินอมเหลือง ครีบหางสีเหลืองอ่อน มีขอบคล้ำบางเล็กน้อย
เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
นิสัย
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามบริเวณผิวน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีจำนวนไม่มากนัก ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว
มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล
ถิ่นอาศัย
ชอบอยู่ในแหล่งน้ำไหลในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว พบในแม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทย พบในแม่น้ำลำคลอง ในภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง
อาหาร-กินแมลงและตัวอ่อนของแมลงตามผิวน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ขนาด-ความยาวประมาณ 7-18 ซ.ม.
ประโยชน์-ใช้บริโภคเป็นอาหารได้ ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลาแปบ
ภาพจากhttp://www.siamensis.org/taxonomy/term/1777/0
ปลาแปบ มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 ชนิด
Paralaubuca barroni (Fowler, 1934)
Paralaubuca harmandi (Sauvage, 1883)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca typus (Bleeker, 1865)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca riveroi (Fowler, 1935)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca stigmabrachium (Fowler, 1934)
ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ปลาแปบควายทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ที่มาของข้อมูลจาก กรมประมง ,
วิกิพีเดีย จากหนังสือ หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ และหนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ ,
http://guru.sanook.com/dictionary/dict_fish/%E0%
กาพย์ยานี ๑๑
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
ชะวาดแอบแปลบปนปลอม
เหมือนพี่แนบแอบถนอม
จอมสวาทนาฎบังอร
กาพย์เห่เรือ
เห่ชมปลา พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ปลาแปบ
ชื่อสามัญ ปลาแปบ ปลาแปบควาย
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SIAMESE RIVER ABRAMINE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paralaubuca riveroi
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
วงศ์ย่อย Alburninae
ปลาแปบ
ในภาคกลางเรียกปลาแปบ มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาท้องพลุ" และในภาษาตะวันออกเฉัยงเหนือเรียกว่า "ปลาแตบ", "ปลาแตบขาว" หรือ "ปลามะแปบ" เป็นต้น
ปลาแปบบเป็นปลาน้ำจืด
ปลาแปบ
ลักษณะทั่วไป
ปลาแปบ มีลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เกล็ดบางและหลุดง่าย เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50-85 แถว ครีบอกยาว เกือบถึงครีบหลัง ครีบหางเว้าลึก ครีบสีจาง ลำตัวมีสีเงินอมเหลือง ครีบหางสีเหลืองอ่อน มีขอบคล้ำบางเล็กน้อย
เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน
นิสัย
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามบริเวณผิวน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีจำนวนไม่มากนัก ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว
มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล
ถิ่นอาศัย
ชอบอยู่ในแหล่งน้ำไหลในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว พบในแม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทย พบในแม่น้ำลำคลอง ในภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง
อาหาร-กินแมลงและตัวอ่อนของแมลงตามผิวน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ขนาด-ความยาวประมาณ 7-18 ซ.ม.
ประโยชน์-ใช้บริโภคเป็นอาหารได้ ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลาแปบ
ภาพจากhttp://www.siamensis.org/taxonomy/term/1777/0
ปลาแปบ มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 ชนิด
Paralaubuca barroni (Fowler, 1934)
Paralaubuca harmandi (Sauvage, 1883)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca typus (Bleeker, 1865)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca riveroi (Fowler, 1935)**พบในประเทศไทย
Paralaubuca stigmabrachium (Fowler, 1934)
ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ปลาแปบควายทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ที่มาของข้อมูลจาก กรมประมง ,
วิกิพีเดีย จากหนังสือ หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ และหนังสือสาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ ,
http://guru.sanook.com/dictionary/dict_fish/%E0%
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555
[บทความ] ปลาสร้อย....ลอยล่องธาร
ปลาสร้อย....ลอยล่องธาร
ปลาสร้อยขาว
ปลาสร้อยขาว
ปลาสร้อยที่พบเห็นในลำน้ำบางปะกงคือปลาสร้อยขาว
กาพย์ยานี ๑๑
ปลาสร้อยลอยล่องชล
ว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย
ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
กาพย์เห่เรือบทชมปลา พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ชื่อสามัญ ปลาสร้อยขาว (ภาคกลาง) ปลาสร้อยหัวกลม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) ปลากระบอก (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญอังกฤษ: Siamens mud carp
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
ปลาสร้อยขาวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
ปลาสร้อยขาว
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก ปลายของริมฝีปากล่างเป็นตุ่มที่สวมเข้ากับรอยต่อของขากรรไกรบนพอดี ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาสกุลนี้ ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีขนาดปานกลาง ลำตัวสีเทาเงิน บริเวณหลังสีเงินอมเทาเข้ม
นิสัย-พฤติกรรมของปลาสร้อยขาวรักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ละฝูงมีจำนวนไม่มากนัก
ในฤดูผสมพันธุ์ คือช่วงฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายน - กันยายน ปลาสร้อยขาวจะรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ เพื่ออพยพย้ายถิ่นออกจากหนองบึงโดยอพยพเป็นฝูงทวนกระแสน้ำไปไปหาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์วางไข่ อันได้แก่บริเวณทุ่งนาและที่ลุ่มน้ำฝนท่วมขังอยู่ ไข่ครึ่งลอยครึ่งจม เมื่อเป็นลูกปลาจะหาอาหารเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตอยู่ในแหล่งน้ำเหล่านั้น
ครั้นถึงปลายฤดูหนาว น้ำเริ่มแห้งขอดลง ปลาสร้อยขาวก็จะเดินทางออกจากแหล่งหากินลงสู่แม่น้ำลำคลอง และรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ลอยหัวอยู่ตามผิวน้ำ ในช่วงนี้จะจับปลาสร้อยขาวได้ครั้งละมาก ๆ สาเหตุที่ทำให้ปลาลอยตัวอยู่ตามผิวน้ำนั้น อาจจะเป็นเพราะออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ทำให้ปลาต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ อาการเช่นนี้ ชาวประมงเรียกว่า "ปลาเมาน้ำ"
ปลาสร้อยขาว
ถิ่นอาศัย
มีอยู่่ทั่วไป พบในแหล่งน้ำหลาก แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ทุกภาคของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
อาหาร-ปลาสร้อยกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่นสาหร่าย แพลงก์ตอน อินทรีย์สาร สัตว์หน้าดิน แมลงน้ำ
ขนาด-ที่พบใหญ่สุดประมาณ 20 เซนติเมตร
มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สร้อยหัวกลม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือ กระบอก ในภาคเหนือ
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เนื้อใช้ปรุงอาหาร ในอดีตถ้าจับได้ครั้งละมาก ๆ นิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" กล่าวกันว่าปลาซึ่งทำมาจากปลาสร้อยมีความอร่อยหอมหวาน
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาสร้อยขาวได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2528
นอกจากปลาสร้อยขาวแล้ว ยังมีปลาสร้อยอีก 2 ชนิด คือ
ปลาสร้อยหลอด หรือปลากาแดงมีถิ่นอาศัยบริเวณลุ่มน้ำโขง แม่น้ำภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย
และปลาสร้อยเกล็ดถี่ หรือปลาเรียงเกล็ด หรือปลานางเกล็ด ซึ่งพบมากในแม่น้ำลำคลองและในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งแม่น้ำทางภาคเหนือของประเทศไทย ใช้ปรุงอาหาร ทำปลาร้า หมักทำน้ำปลา
ที่มาของข้อมูล กรมประมง และ วิกิพีเดีย
ปลาสร้อยเป็นปลาขนาดเล็กแต่ขนาดก็ยังใหญ่กว่าปลาซิว ปลาสร้อยมักถูกคนไทย หยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาซิวว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็กนั่นเอง
ปลาสร้อยขาว
ปลาสร้อยขาว
ปลาสร้อยที่พบเห็นในลำน้ำบางปะกงคือปลาสร้อยขาว
กาพย์ยานี ๑๑
ปลาสร้อยลอยล่องชล
ว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย
ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
กาพย์เห่เรือบทชมปลา พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ชื่อสามัญ ปลาสร้อยขาว (ภาคกลาง) ปลาสร้อยหัวกลม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) ปลากระบอก (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญอังกฤษ: Siamens mud carp
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae
ปลาสร้อยขาวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
ปลาสร้อยขาว
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก ปลายของริมฝีปากล่างเป็นตุ่มที่สวมเข้ากับรอยต่อของขากรรไกรบนพอดี ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาสกุลนี้ ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีขนาดปานกลาง ลำตัวสีเทาเงิน บริเวณหลังสีเงินอมเทาเข้ม
นิสัย-พฤติกรรมของปลาสร้อยขาวรักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ละฝูงมีจำนวนไม่มากนัก
ในฤดูผสมพันธุ์ คือช่วงฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายน - กันยายน ปลาสร้อยขาวจะรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ เพื่ออพยพย้ายถิ่นออกจากหนองบึงโดยอพยพเป็นฝูงทวนกระแสน้ำไปไปหาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์วางไข่ อันได้แก่บริเวณทุ่งนาและที่ลุ่มน้ำฝนท่วมขังอยู่ ไข่ครึ่งลอยครึ่งจม เมื่อเป็นลูกปลาจะหาอาหารเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตอยู่ในแหล่งน้ำเหล่านั้น
ครั้นถึงปลายฤดูหนาว น้ำเริ่มแห้งขอดลง ปลาสร้อยขาวก็จะเดินทางออกจากแหล่งหากินลงสู่แม่น้ำลำคลอง และรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ลอยหัวอยู่ตามผิวน้ำ ในช่วงนี้จะจับปลาสร้อยขาวได้ครั้งละมาก ๆ สาเหตุที่ทำให้ปลาลอยตัวอยู่ตามผิวน้ำนั้น อาจจะเป็นเพราะออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ทำให้ปลาต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ อาการเช่นนี้ ชาวประมงเรียกว่า "ปลาเมาน้ำ"
ปลาสร้อยขาว
ถิ่นอาศัย
มีอยู่่ทั่วไป พบในแหล่งน้ำหลาก แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ทุกภาคของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
อาหาร-ปลาสร้อยกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่นสาหร่าย แพลงก์ตอน อินทรีย์สาร สัตว์หน้าดิน แมลงน้ำ
ขนาด-ที่พบใหญ่สุดประมาณ 20 เซนติเมตร
มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น สร้อยหัวกลม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, หรือ กระบอก ในภาคเหนือ
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง เนื้อใช้ปรุงอาหาร ในอดีตถ้าจับได้ครั้งละมาก ๆ นิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" กล่าวกันว่าปลาซึ่งทำมาจากปลาสร้อยมีความอร่อยหอมหวาน
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาสร้อยขาวได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2528
นอกจากปลาสร้อยขาวแล้ว ยังมีปลาสร้อยอีก 2 ชนิด คือ
ปลาสร้อยหลอด หรือปลากาแดงมีถิ่นอาศัยบริเวณลุ่มน้ำโขง แม่น้ำภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย
และปลาสร้อยเกล็ดถี่ หรือปลาเรียงเกล็ด หรือปลานางเกล็ด ซึ่งพบมากในแม่น้ำลำคลองและในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งแม่น้ำทางภาคเหนือของประเทศไทย ใช้ปรุงอาหาร ทำปลาร้า หมักทำน้ำปลา
ที่มาของข้อมูล กรมประมง และ วิกิพีเดีย
ปลาสร้อยเป็นปลาขนาดเล็กแต่ขนาดก็ยังใหญ่กว่าปลาซิว ปลาสร้อยมักถูกคนไทย หยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาซิวว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็กนั่นเอง