อัญชันนั้นหลากสี...มีหลายพรรณ
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ดอกอัญชัน...เมื่อวันวาน
ดอกอัญชัน...เมื่อวันวาน
พลอยโพยมมีความประทับใจกับดอกอัญชันในวันวานที่อยากเล่าขานในวันนี้
ในสมัยที่พลอยโพยมยังทำงานอยู่่ พลอยโพยมมีกลุ่มเพื่อนสนิทสิบกว่าคนทั้งหญิงและชาย ทั้งที่เป็นระดับหัวหน้างาน ระดับงานเดียวกัน อายุไล่เลี่ยกันบ้าง ห่างกันหลายปีบ้าง มีการพบปะกินข้าวด้วยกันค่อนข้างบ่อย ทั้งในโอกาส วันเกิดของแต่ละคน เทศกาลต่าง ๆ เช่นฉลองปีใหม่กันส่วนตัวในกลุุ่มเพื่อน กราบอวยพรผู้บริหารที่พ้นวาระไปแล้วในวาระต่าง ๆ กัน และด้วยเหตุผลอยากกินโน่นกินนี่ที่ว่าอร่อย ๆ กินแก้เซ้ง กินไปบ่นไปเรื่องงาน แล้วแต่เหตุผลที่จะยกมาใช้ในการกินข้าวร่วมกัน ร้อยแปดพันประการ บางครั้งในหนึ่งสัปดาหฺ์ ถึง2-3 ครั้งก็มี
จะมีเพื่อนท่านหนึ่งเป็นคุณนายท่านอัยการใหญ่ เพื่อนคนนี้อายุอ่อนกว่าพลอยโพยมเพียงปีเดียว แต่เขามีสุขภาพผมดีมาก เส้นผมเล็กนุ่มสลวยเงางาม ในขณะที่พลอยโพยมต้องย้อมผม 2-3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง หลังวัย 50 ปี แต่เพื่อนคนนี้ จนวัยใกล้ 55 ปี ก็ยังไม่ต้องย้อมเส้นผม
ในระยะหลัง ๆ เวลานัดหมายกินข้าวในกลุ่ม เพื่อนจะมีดอกอัญชัญสีน้ำเงินชั้นเดียว ใส่ถุงพลาสติกใสมาฝาก เพื่อน ๆ ให้เอากลับบ้านบ้าง และมักมีเผื่อเอามาใช้กินกับรายการอาหารมื้อนั้นเลย โดยการเทใส่จานวางบนโต๊ะอาหาร กินเป็นผักสดชนิดหนึ่งกับอาหารหลากหลายอย่างบนโต๊ะ รสชาติดอกอัญชันก็จืด ๆ อาจมีกลื่นเหม็นเขียวนิดหน่อยถ้าเคี้ยวดอกอัญชันเปล่า ๆ แต่หากกินเป็นผักสดประเภท เครื่องเคียงผักสด ก็ไม่รู้สึกถึงกลิ่น
เพื่อนบอกว่ากินเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณหลายอย่างโดยเฉพาะมีตัวอย่างคือเส้นผมของเพื่อนคนนี้ที่สลวยเงางามยังไม่ต้องย้อมผมเลย
ตอนที่กินกันบนโต๊ะอาหารก็สนุกดี ดอกอัญชันก็มักหมดจาน ( ก็คนที่กินร่วมโต๊ะอาหารมากคนด้วย) แต่พอเอากลับมาบ้าน ที่กว่าจะกลับมาถึงบ้านก็มิดค่ำทุกวันหรือบางวันก็ค่อนข้างดึกด้วยซ้ำไป ดอกอัญชันก็เข้าไปนอนสงบแน่นิ่งในตู้เย็น กว่าจะนึกได้ก็หลายวันผ่านไป ก็เลยไม่ได้นำมากินสมความตั้งใจดีอารีจิตจากเพื่อน
จนกระทั่งทั้งพลอยโพยมและเพื่อนคนนี้อำลาชีวิตการทำงาน กระจายแยกวงออกมา จะพบกันแต่เพียงนัดหมายวาระพิเศษ ปีละไม่กี่ครั้ง
พลอยโพยมเห็นดอกอัญชันเมื่อไร ก็จะรำลึกถึงเรื่องน่ารัก ๆ เกี่ยวกับดอกอัญชันของเพื่อนคนนี้
เพื่อนที่เป็นภรรยาท่านอัยการ มีคุณแม่ที่น่ารัก เช้า ๆ คุณแม่จะออกมาเก็บดอกอัญชันที่หน้าบ้าน ซึ่งคงมีดอกดกมาก แล้วคุณแม่ก็นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดที่แม่ค้าพ่อค้าใช้ใส่นำแข็งถุงขาย คุณแม่จะวางถุงดอกอัญชันไว้บนโต๊ะให้ลูก ๆ หยิบเอาไปฝากเพื่อน ๆ
ปกติ เพื่อนคนนี้ก็จะอยู่แยกบ้านโดยอยู่กับครอบครัวสามีที่พระประแดง แต่ก็ยังหมั่นกลับมาค้างกับคุณแม่ที่บ้านบางจาก จึงทำให้พวกเราหมู่เพื่อน ๆ ได้ดอกอัญชัญบ่อย ๆ
โดยเฉพาะหากรดน้ำต้นอัญชันอย่างสม่ำเสมอก็จะมีดอกอัญชันกันทั้งปีไม่ต้องมีวาระฤดูกาลออกดอก
เพื่อนคนนี้และน้อง ๆ ผู้ชาย ( เพื่อนเป็นลูกสาวคนเดียวและเป็นคนโต ) จะหย่อนเงินใส่กระปุกให้คุณแม่เมื่อหยิบดอกอัญชันบนโต๊ะไปถุงละ สิบบาท แล้วคุณแม่ท่านก็จะเอาเงินในกระปุกนี้ไปใส่บาตรถวายพระที่มาบิณฑบาต
นับว่าเป็นความน่ารักระหว่างคุณแม่และคุณลูก ๆ ของครอบครัวนี้ พลอยโพยมจำไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้เริ่มต้นคิดการหยอดเงินใส่กระปุกให้คุณแม่นำเงินค่าเก็บดอกอัญชันไปใส่บาตร ซึ่งทำกันอย่างนี้เป็นกิจวัตรตลอดมาหลายปีทีเดียว จนต่อมาคุณแม่ท่านก็ป่วยและจากไปในที่สุด
ปัจจุบันไม่มีคนคอยเก็บดอกอัญชันมาล้างน้ำสะอาดแล้วใส่ถุงพลาสติกเตรียมให้ลูก ๆ เอาไปฝากเพื่อน ๆ..อีกแล้ว....
เหลือเป็นเพียงความทรงจำให้รำลึกถึงความน่ารักของท่าน..ในวันนี้ ของลูก ๆ และของเพื่อน ลูก ๆ ของท่าน ท่านชื่อคุณแม่ พาณี กาลเวลามาบัดนี้คุณแม่พาณีคงเป็นสุขสงบรับผลบุญความดีที่ท่านเพียรกอปรก่อมา อีกทั้งผลบุญที่ลูก ญาติมิตรของท่าน ของเพื่อนลูก ๆ ของท่าน ตั้งใจน้อมนำส่งไปให้ เรื่องนี้เป็นเพียงเกร็ดเล็ก ๆ ที่ประทับใจเรื่องหนึ่งของพลอยโพยม เมื่อระลึกถึงท่าน
มาจนวันนี้ ดอกอัญชัน เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ผู้ที่รู้เรื่องสรรพคุณของดอกอัญชัน
ในด้านขนมหวานไทย ๆ ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากมายแพร่หลายโดยทั่วไป มีร้านขายลอดช่องสิงค์โปร์ที่อำเภอบางคล้าใช้สีของดอกอัญชันผสมแป้งสีสวยน่ากินมาก ยังมีขนมอีกหลายชนิดเช่นขนมถั่วแปบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้าวเหนียวมูน ขนมขี้หนู ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ไปยาลใหญ่
.
แต่ พลอยโพยมมีความเห็นส่วนตัวว่า
สีของดอกอัญชันสวยก็จริง มีกลิ่นพึงประสงค์อย่างที่ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่งกล่าวถึงก็ดี แต่เมื่อถูกนำไปผสมในขนมผ่านความร้อน ไม่ได้แห้งเองด้วยการอบดอกหรือนำดอกไปตากแห้งจนน้ำระเหยออกมาย่อส่วนลง แทบจะไม่รู้สึกได้กลิ่นของดอกอัญชันไม่เหมือนกลิ่นของใบเตยหอมที่ฟุ้งขึ้นมาจากตัวขนม พลอยโพยมเคยสั่งขนมชั้นดอกอัญชัญล้วน ขนมชั้นดอกอัญชันและสีแดง ขนมชั้นดอกอัญชันและใบเตย รู้สึกว่าขนมชั้นที่ถูกปรุงแต่งสีตามสั่งนั้น เรียงลำดับความอร่อย คือขนมชั้นดอกอัญชันล้วนอร่อยน้อยที่สุด เมื่อเพิ่มชั้นสีแดงคั่นกลางรสชาติถูกปากพลอยโพยมขึ้นมากว่าขนมชั้นดอกอัญชันล้วน แต่ถ้าเป็นดอกอัญชันและใบเตยหอมคั่นกลางก็หอมหวนชวนให้กินที่สุด
นี่เป็นนานาจิตตังของพลอยโพยมเอง
พลอยโพยมมีความประทับใจกับดอกอัญชันในวันวานที่อยากเล่าขานในวันนี้
ในสมัยที่พลอยโพยมยังทำงานอยู่่ พลอยโพยมมีกลุ่มเพื่อนสนิทสิบกว่าคนทั้งหญิงและชาย ทั้งที่เป็นระดับหัวหน้างาน ระดับงานเดียวกัน อายุไล่เลี่ยกันบ้าง ห่างกันหลายปีบ้าง มีการพบปะกินข้าวด้วยกันค่อนข้างบ่อย ทั้งในโอกาส วันเกิดของแต่ละคน เทศกาลต่าง ๆ เช่นฉลองปีใหม่กันส่วนตัวในกลุุ่มเพื่อน กราบอวยพรผู้บริหารที่พ้นวาระไปแล้วในวาระต่าง ๆ กัน และด้วยเหตุผลอยากกินโน่นกินนี่ที่ว่าอร่อย ๆ กินแก้เซ้ง กินไปบ่นไปเรื่องงาน แล้วแต่เหตุผลที่จะยกมาใช้ในการกินข้าวร่วมกัน ร้อยแปดพันประการ บางครั้งในหนึ่งสัปดาหฺ์ ถึง2-3 ครั้งก็มี
จะมีเพื่อนท่านหนึ่งเป็นคุณนายท่านอัยการใหญ่ เพื่อนคนนี้อายุอ่อนกว่าพลอยโพยมเพียงปีเดียว แต่เขามีสุขภาพผมดีมาก เส้นผมเล็กนุ่มสลวยเงางาม ในขณะที่พลอยโพยมต้องย้อมผม 2-3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง หลังวัย 50 ปี แต่เพื่อนคนนี้ จนวัยใกล้ 55 ปี ก็ยังไม่ต้องย้อมเส้นผม
ในระยะหลัง ๆ เวลานัดหมายกินข้าวในกลุ่ม เพื่อนจะมีดอกอัญชัญสีน้ำเงินชั้นเดียว ใส่ถุงพลาสติกใสมาฝาก เพื่อน ๆ ให้เอากลับบ้านบ้าง และมักมีเผื่อเอามาใช้กินกับรายการอาหารมื้อนั้นเลย โดยการเทใส่จานวางบนโต๊ะอาหาร กินเป็นผักสดชนิดหนึ่งกับอาหารหลากหลายอย่างบนโต๊ะ รสชาติดอกอัญชันก็จืด ๆ อาจมีกลื่นเหม็นเขียวนิดหน่อยถ้าเคี้ยวดอกอัญชันเปล่า ๆ แต่หากกินเป็นผักสดประเภท เครื่องเคียงผักสด ก็ไม่รู้สึกถึงกลิ่น
เพื่อนบอกว่ากินเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณหลายอย่างโดยเฉพาะมีตัวอย่างคือเส้นผมของเพื่อนคนนี้ที่สลวยเงางามยังไม่ต้องย้อมผมเลย
ตอนที่กินกันบนโต๊ะอาหารก็สนุกดี ดอกอัญชันก็มักหมดจาน ( ก็คนที่กินร่วมโต๊ะอาหารมากคนด้วย) แต่พอเอากลับมาบ้าน ที่กว่าจะกลับมาถึงบ้านก็มิดค่ำทุกวันหรือบางวันก็ค่อนข้างดึกด้วยซ้ำไป ดอกอัญชันก็เข้าไปนอนสงบแน่นิ่งในตู้เย็น กว่าจะนึกได้ก็หลายวันผ่านไป ก็เลยไม่ได้นำมากินสมความตั้งใจดีอารีจิตจากเพื่อน
จนกระทั่งทั้งพลอยโพยมและเพื่อนคนนี้อำลาชีวิตการทำงาน กระจายแยกวงออกมา จะพบกันแต่เพียงนัดหมายวาระพิเศษ ปีละไม่กี่ครั้ง
พลอยโพยมเห็นดอกอัญชันเมื่อไร ก็จะรำลึกถึงเรื่องน่ารัก ๆ เกี่ยวกับดอกอัญชันของเพื่อนคนนี้
เพื่อนที่เป็นภรรยาท่านอัยการ มีคุณแม่ที่น่ารัก เช้า ๆ คุณแม่จะออกมาเก็บดอกอัญชันที่หน้าบ้าน ซึ่งคงมีดอกดกมาก แล้วคุณแม่ก็นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดที่แม่ค้าพ่อค้าใช้ใส่นำแข็งถุงขาย คุณแม่จะวางถุงดอกอัญชันไว้บนโต๊ะให้ลูก ๆ หยิบเอาไปฝากเพื่อน ๆ
ปกติ เพื่อนคนนี้ก็จะอยู่แยกบ้านโดยอยู่กับครอบครัวสามีที่พระประแดง แต่ก็ยังหมั่นกลับมาค้างกับคุณแม่ที่บ้านบางจาก จึงทำให้พวกเราหมู่เพื่อน ๆ ได้ดอกอัญชัญบ่อย ๆ
โดยเฉพาะหากรดน้ำต้นอัญชันอย่างสม่ำเสมอก็จะมีดอกอัญชันกันทั้งปีไม่ต้องมีวาระฤดูกาลออกดอก
เพื่อนคนนี้และน้อง ๆ ผู้ชาย ( เพื่อนเป็นลูกสาวคนเดียวและเป็นคนโต ) จะหย่อนเงินใส่กระปุกให้คุณแม่เมื่อหยิบดอกอัญชันบนโต๊ะไปถุงละ สิบบาท แล้วคุณแม่ท่านก็จะเอาเงินในกระปุกนี้ไปใส่บาตรถวายพระที่มาบิณฑบาต
นับว่าเป็นความน่ารักระหว่างคุณแม่และคุณลูก ๆ ของครอบครัวนี้ พลอยโพยมจำไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้เริ่มต้นคิดการหยอดเงินใส่กระปุกให้คุณแม่นำเงินค่าเก็บดอกอัญชันไปใส่บาตร ซึ่งทำกันอย่างนี้เป็นกิจวัตรตลอดมาหลายปีทีเดียว จนต่อมาคุณแม่ท่านก็ป่วยและจากไปในที่สุด
ปัจจุบันไม่มีคนคอยเก็บดอกอัญชันมาล้างน้ำสะอาดแล้วใส่ถุงพลาสติกเตรียมให้ลูก ๆ เอาไปฝากเพื่อน ๆ..อีกแล้ว....
เหลือเป็นเพียงความทรงจำให้รำลึกถึงความน่ารักของท่าน..ในวันนี้ ของลูก ๆ และของเพื่อน ลูก ๆ ของท่าน ท่านชื่อคุณแม่ พาณี กาลเวลามาบัดนี้คุณแม่พาณีคงเป็นสุขสงบรับผลบุญความดีที่ท่านเพียรกอปรก่อมา อีกทั้งผลบุญที่ลูก ญาติมิตรของท่าน ของเพื่อนลูก ๆ ของท่าน ตั้งใจน้อมนำส่งไปให้ เรื่องนี้เป็นเพียงเกร็ดเล็ก ๆ ที่ประทับใจเรื่องหนึ่งของพลอยโพยม เมื่อระลึกถึงท่าน
มาจนวันนี้ ดอกอัญชัน เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ผู้ที่รู้เรื่องสรรพคุณของดอกอัญชัน
ในด้านขนมหวานไทย ๆ ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากมายแพร่หลายโดยทั่วไป มีร้านขายลอดช่องสิงค์โปร์ที่อำเภอบางคล้าใช้สีของดอกอัญชันผสมแป้งสีสวยน่ากินมาก ยังมีขนมอีกหลายชนิดเช่นขนมถั่วแปบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้าวเหนียวมูน ขนมขี้หนู ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ไปยาลใหญ่
.
แต่ พลอยโพยมมีความเห็นส่วนตัวว่า
สีของดอกอัญชันสวยก็จริง มีกลิ่นพึงประสงค์อย่างที่ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่งกล่าวถึงก็ดี แต่เมื่อถูกนำไปผสมในขนมผ่านความร้อน ไม่ได้แห้งเองด้วยการอบดอกหรือนำดอกไปตากแห้งจนน้ำระเหยออกมาย่อส่วนลง แทบจะไม่รู้สึกได้กลิ่นของดอกอัญชันไม่เหมือนกลิ่นของใบเตยหอมที่ฟุ้งขึ้นมาจากตัวขนม พลอยโพยมเคยสั่งขนมชั้นดอกอัญชัญล้วน ขนมชั้นดอกอัญชันและสีแดง ขนมชั้นดอกอัญชันและใบเตย รู้สึกว่าขนมชั้นที่ถูกปรุงแต่งสีตามสั่งนั้น เรียงลำดับความอร่อย คือขนมชั้นดอกอัญชันล้วนอร่อยน้อยที่สุด เมื่อเพิ่มชั้นสีแดงคั่นกลางรสชาติถูกปากพลอยโพยมขึ้นมากว่าขนมชั้นดอกอัญชันล้วน แต่ถ้าเป็นดอกอัญชันและใบเตยหอมคั่นกลางก็หอมหวนชวนให้กินที่สุด
นี่เป็นนานาจิตตังของพลอยโพยมเอง
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ดอกเอ๋ย .... ดอกอัญชัน
ดอกเอ๋ย...ดอกอัญชัน
ความรู้เรื่องดอกอัญชัน จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
ดอกอัญชัน พันธุ์ดังเดิมของไทย เป็นดอกชั้นเดียวที่เรียกกันว่าดอกลา ส่วนพันธุ์ดอกซ้อนที่พบเห็นกันในขณะนี้คาดว่าน่าจะมาจากการกลายพันธุ์
สีของดอกอัญชัน จะมีมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับสภาพดินที่ปลูก ถ้าดินที่ปลูกมีความเป็นกรด ดอกของสีอัญชัน จะเป็นสีอ่อนกว่าปกติ และถ้าสภาพดินที่ปลูกมีความเป็นด่างสีของดอกอัญชันก็จะเข้ม
ความจริงแล้วดอกอัญชันเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม กลิ่นหอมนี้เกิดจากต่อมน้ำมันที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของดอก ซึ่งในขณะที่ดอกอัญชันยังมีความสดอยู่ กลิ่นหอมนั้นจะผสมอยู่กับน้ำ ทำให้ไม่ได้กลิ่นหอม แต่เมื่อดอกอัญชันแห้ง เนื้อเยื่อของดอกไม่คงรูปเดิม ดอกมีการย่อส่วนลงเพราะสูญเสียน้ำ จะทำให้กลิ่นที่ซ่อนอยู่ของดอกอัญชัน ระเหยออกมา
และเมื่อเก็บดอกอัญชันแห้งไว้นาน ๆ กลิ่นของดอกอัญชันก็จะเปลี่ยนแปลงอีก คล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง
กลิ่นของดอกอัญชันเป็นกลิ่นที่พึงประสงค์ เมื่อได้กลิ่นแล้วจะทำให้รู้สึกอยากดื่มน้ำ เมื่อได้ดื่มน้ำแล้ว ก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
สรรพคุณทางยาของดอกอัญชัน
ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน(สารรงควัตถุ ที่ทำให้มีสี) ซึ่งสารนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันดอกและผลของตัวเอง โดยป้องกันอันตรายจากแสงแดด สารแอนโธไซยานิน มีคุณสมบัติช่วยชะลอความชรา โดย ป้องกันความจำเสื่อม ผิวพรรณหน้าตา เพราะมีผลในการเพิ่มปริมาณสาร อะซิตี้โกลีน และลดปริมาณสารอะซิตี้โกลีนแอสเตอเลส (ซึ่งหากมีสารตัวนี้มากจะทำให้ความจำเสื่อม)
สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้ จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น ในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
ใน ดอก เมล็ด ใบ และรากของอัญชันยังมีสารต่าง ๆ ที่สำคัญ อีก ดังนี้
สารอดีโนซีน (adenosine) มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
สารแอสตรากาลิน (astragalin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
สารเคอร์เซติน (quercetin) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ
นอกจากนี้ยังมี
สารแอฟเซลิน (afzelin)
สารอปาราจิติน (aparajitin)
กรดอราไชดิก (arachidic acid)
กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy)
และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น
สรรพคุณของอัญชัน
ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร เพิ่มสีสันให้สดสวย หุงข้าวสวย ข้าวเหนียว ผสมแต่งสีในขนมหวานไทย ๆ เช่นขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ขนมชั้น ขนมดอกอัญชัน และอื่น ๆ
น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ใช้ดื่มดับกระหาย
ใช้ดอกทาผม ขนคิ้ว ให้ดกดำ
อัญชัน ใช้บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เป็นเงา คนโบราณเชื่อกันว่าดอกอัญชันช่วยปลูกผม ปลูกคิ้วได้ดี จึงนิยมใช้ดอกอัญชันเขียนคิ้วโดยนำมาขยี้ ๆ แล้วนำมาทาคิ้วเด็ก จะทำให้ขนคิ้วขึ้นดกดำ มีเหตุผลเสริมความเชื่อเรื่องนี้ว่า เด็กอ่อนอยู่ในวัยสร้างรูขุมขนการใช้ดอกอัญชันวาดคิ้วเหมือนเป็นการใส่ปุ๋ย
เด็กอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตนั้น เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังสร้างรูขุมขน เมื่อนำดอกอัญชันไปวาดคิ้วจึงเป็นการใส่ปู๋ยให้ขนขึ้น เมื่อขึ้นแล้วก็เป็นขนที่แข็งแรงดกดำ เพราะดอกอัญชันมีสารเร่งบำรุงรากขนให้แข็งแรง
แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าดอกอัญชันสามารถกระตุ้นให้เกิดการงอกของขนผม แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากรงควัตถุ สีของดอกอัญชัน เข้าไปแทรกตามเส้นผมในขณะสระผม จึงทำให้เส้นผมดูดำและเงางาม คนคิดว่าสระผมด้วยสมุนไพรดอกอัญชันแล้วผมจะมีสุขภาพผมดี ทั้งนี้เพราะในขณะสระผมเราจะใช้มือนวดศีรษะซึ่งมีส่วนช่วยให้มีการไหลเวียนของเส้นเลือดบนศีรษะ
ในปัจจุบันจึงนำดอกอัญชันมาใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด
สีจากกลีบดอกสดของอัญชันซึ่งมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)
เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง
หมายเหตุ
บทความนี้เน้นความหมายถึงดอกอัญชันที่เป็นสีน้ำเงิน
ไม่เกี่ยวข้องกับการสื่อด้วยภาพ เพราะมีเจตนาใช้ภาพเป็นเพียงการเบรคสายตาในการอ่านตัวอักษรเท่านั้น
เมล็ด เป็นยาระบาย
ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
และhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/349042
http://www.braklung.com/?p=1316
ความรู้เรื่องดอกอัญชัน จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
ดอกอัญชัน พันธุ์ดังเดิมของไทย เป็นดอกชั้นเดียวที่เรียกกันว่าดอกลา ส่วนพันธุ์ดอกซ้อนที่พบเห็นกันในขณะนี้คาดว่าน่าจะมาจากการกลายพันธุ์
สีของดอกอัญชัน จะมีมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับสภาพดินที่ปลูก ถ้าดินที่ปลูกมีความเป็นกรด ดอกของสีอัญชัน จะเป็นสีอ่อนกว่าปกติ และถ้าสภาพดินที่ปลูกมีความเป็นด่างสีของดอกอัญชันก็จะเข้ม
และเมื่อเก็บดอกอัญชันแห้งไว้นาน ๆ กลิ่นของดอกอัญชันก็จะเปลี่ยนแปลงอีก คล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง
กลิ่นของดอกอัญชันเป็นกลิ่นที่พึงประสงค์ เมื่อได้กลิ่นแล้วจะทำให้รู้สึกอยากดื่มน้ำ เมื่อได้ดื่มน้ำแล้ว ก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
สรรพคุณทางยาของดอกอัญชัน
ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน(สารรงควัตถุ ที่ทำให้มีสี) ซึ่งสารนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันดอกและผลของตัวเอง โดยป้องกันอันตรายจากแสงแดด สารแอนโธไซยานิน มีคุณสมบัติช่วยชะลอความชรา โดย ป้องกันความจำเสื่อม ผิวพรรณหน้าตา เพราะมีผลในการเพิ่มปริมาณสาร อะซิตี้โกลีน และลดปริมาณสารอะซิตี้โกลีนแอสเตอเลส (ซึ่งหากมีสารตัวนี้มากจะทำให้ความจำเสื่อม)
สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้ จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น ในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
ใน ดอก เมล็ด ใบ และรากของอัญชันยังมีสารต่าง ๆ ที่สำคัญ อีก ดังนี้
สารอดีโนซีน (adenosine) มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
สารแอสตรากาลิน (astragalin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
สารเคอร์เซติน (quercetin) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ
นอกจากนี้ยังมี
สารแอฟเซลิน (afzelin)
สารอปาราจิติน (aparajitin)
กรดอราไชดิก (arachidic acid)
กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy)
และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น
สรรพคุณของอัญชัน
ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร เพิ่มสีสันให้สดสวย หุงข้าวสวย ข้าวเหนียว ผสมแต่งสีในขนมหวานไทย ๆ เช่นขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ขนมชั้น ขนมดอกอัญชัน และอื่น ๆ
น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ใช้ดื่มดับกระหาย
ใช้ดอกทาผม ขนคิ้ว ให้ดกดำ
อัญชัน ใช้บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เป็นเงา คนโบราณเชื่อกันว่าดอกอัญชันช่วยปลูกผม ปลูกคิ้วได้ดี จึงนิยมใช้ดอกอัญชันเขียนคิ้วโดยนำมาขยี้ ๆ แล้วนำมาทาคิ้วเด็ก จะทำให้ขนคิ้วขึ้นดกดำ มีเหตุผลเสริมความเชื่อเรื่องนี้ว่า เด็กอ่อนอยู่ในวัยสร้างรูขุมขนการใช้ดอกอัญชันวาดคิ้วเหมือนเป็นการใส่ปุ๋ย
เด็กอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตนั้น เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังสร้างรูขุมขน เมื่อนำดอกอัญชันไปวาดคิ้วจึงเป็นการใส่ปู๋ยให้ขนขึ้น เมื่อขึ้นแล้วก็เป็นขนที่แข็งแรงดกดำ เพราะดอกอัญชันมีสารเร่งบำรุงรากขนให้แข็งแรง
แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าดอกอัญชันสามารถกระตุ้นให้เกิดการงอกของขนผม แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากรงควัตถุ สีของดอกอัญชัน เข้าไปแทรกตามเส้นผมในขณะสระผม จึงทำให้เส้นผมดูดำและเงางาม คนคิดว่าสระผมด้วยสมุนไพรดอกอัญชันแล้วผมจะมีสุขภาพผมดี ทั้งนี้เพราะในขณะสระผมเราจะใช้มือนวดศีรษะซึ่งมีส่วนช่วยให้มีการไหลเวียนของเส้นเลือดบนศีรษะ
ในปัจจุบันจึงนำดอกอัญชันมาใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด
สีจากกลีบดอกสดของอัญชันซึ่งมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)
เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง
หมายเหตุ
บทความนี้เน้นความหมายถึงดอกอัญชันที่เป็นสีน้ำเงิน
ไม่เกี่ยวข้องกับการสื่อด้วยภาพ เพราะมีเจตนาใช้ภาพเป็นเพียงการเบรคสายตาในการอ่านตัวอักษรเท่านั้น
เมล็ด เป็นยาระบาย
ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
และhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/349042
http://www.braklung.com/?p=1316