วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
วันลอยกระทง ปีนี้ตรงกับวันพุธ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
จุดมุ่งหมายของการลอยกระทง ตามตำนานและความเชื่อต่าง ๆ (จากบทความวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เรื่อง ลอยประทีป..ลอยกระทง)
1.เพื่อสักการะและขอขมา แด่พระแม่คงคา (หมายถึงแม่น้ำ ทั่วไป) เพราะได้อาศัยน้ำดื่ม กิน เป็นทางคมนาคม บำรุงหล่อเลี้ยง เหล่าปู ปลา เหรา สัตว์น้ำอื่นๆ พืชผลสาลีเกษตร และมนุษย์มักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ
2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาท ประดิษฐานไว้บนหาดทราย แห่งนั้น เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
3.การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณี........ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกจากนครกบิลพัสด์ เมื่อทรงข้ามแม่น้ำ อโนมา ทรงตัดพระโมลีโดยทรงจับพระโมลีด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวา ทรงพระขรรค์ตัดพระโมลี โยนขึ้นไปบนอากาศ พระอินทร์ได้นำผอบทองมารองรับไว้ และนำไปบรรจุไว้ยังจุฬามณี เจดียสถานในเทวโลก
4. เพื่อบูชาพระอุปคุต โดยตำนานเล่าว่า อุปคุตนั้น เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง เป็นพระอรหันต์หลังพุทธกาล ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถปราบมารได้ ท่านจะนั่งสมาธิอยู่ ในท้องมหาสมุทร พระอุปคุตนี้ไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม ชาวไทยเหนือหรือชาวพม่าจะนับถือพระอุปคุตมาก
5. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับจากเทวโลก
เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
6.การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
มีเรื่องย่อ ของท้าวพกาพรหม คือ มีกาเผือกคู่หนึ่งทำรังอยู่บน ต้นไม้ ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งกาผู้สามีออกไปหากิน แล้วบินกลับมาเข้ารังไม่ได้ ปล่อยให้นางกาซึ่งกำลังกกไข่ 5 ฟอง รอด้วยความกระวนกระวายใจ เกิดมีลมพายุใหญ่ พัดรังนกตกลงมากระจัดกระจาย ไข่นกตกลงในแม่น้ำ ส่วนแม่นก ถูกลมพัดไปคนละทิศทาง เมื่อแม่กาย้อนกลับมาดูไข่ที่รัง ก็ไม่พบ จึงร้องไห้จนขาดใจตาย และไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม อยู่บนพรหมโลก ส่วนใข่ทั้ง 5 ฟอง ลอยน้ำไปในสถานที่ต่าง ๆ บรรดาแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ มาพบเข้า จึงนำไปรักษาตัวละฟอง ครั้น ถึงเวลาฟัก ไข่นกนั้นกลับกลายเป็นมนุษย์ ทั้งหมด เป็นกุมาร ทั้ง 5 และล้วนต่างได้ออกบรรพชา เป็น ฤาษี ทั้ง 5 ในกาลต่อๆมา ได้เป็นพระพุทธเจ้า ในแต่และยุค ของ ภัทรกัปทั้ง 5 พระองค์ และองค์ ที่ 4 ที่แม่โค นำไปรักษา ก็คือ พระ โคตโม ( และพวกเราชาวพุทธ คือศิษย์ของพระสมณโคดม พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นี่เอง )
(ขอเสริมรายละเอียดที่ไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ต่อจากความเดิมดังนี้)
ฤาษีทั้ง 5 ได้มีโอกาสพบปะกันจึงถามถึงนามวงศ์ และมารดาของกันและกัน จึงทราบว่าเป็นพี่น้อง ฤาษีทั้ง 5 มีนามดังนี้
คนแรก ชื่อกกุสันโธ (วงศ์ไก่)
คนที่สอง ชื่อนาคมโน (วงศ์นาค)
คนที่สาม ชื่อกัสสโป (วงศ์เต่า)
คนที่สี่ ชื่อโคตโม (วงศ์โค)
คนที่ห้า ชื่อเมตเตยโย (วงศ์ราชสีห์)
ฤาษีทั้ง 5 ต่างตั้งอธิฐานว่า ถ้าจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขอให้ร้อนไปถึงพระมารดา ด้วยแรงอธิฐานจึงร้อนไปถึง ท้าวพกาพรหม จึงเสด็จลงมาและจำแลงเป็นกาเผือก แล้วเล่าเรื่องหนหลังให้ฟัง พร้อมบอกว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 11 เดือน 12 ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอบกระทงในแม่น้ำ แล้วท้าวพกาพรหมก็เสด็จกลับไป
.ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการลอยกระทงบูชาท้าวพกาพรหม และเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท ที่แม่น้ำนัมมทานที ส่วนฤาษีทั้ง 5 ต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
ฤาษีองค์แรก กกุสันโธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ
ฤาษีองค์ที่สอง โกนาคมโน ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมม์
ฤาษีองค์ที่สาม กัสสโป ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
ฤาษีองค์ที่สี่ โคตโม ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมณโคดม
ฤาษีองค์ที่ห้า เมตเตยโย ได้แก่ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย
พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ได้บังเกิดบนโลกแล้ว
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือ พระศรีอาริยเมตไตรย จะมาบังเกิดในโลกมนุษย์ในอนาคต
ขอเสริมข้อ 5. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จกลับจากเทวโลก
เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
ทรงจำพรรษาครบ 3 เดือน พระองค์จึงเสด็จกลับโลก เมื่อท้าวสักกเทาวราชทราบพุทธประสงค์ จึงเนรมิตบันไดทิพย์ขึ้น อันมีบันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ทอดลงสู่ประตูเมืองสังกัสสนคร
ในการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพ และประชาชน ทั้งหลายได้พร้อมใจ ทำการสักการบูชาด้วยพวงมาลาทิพย์ การลอยกระทงตามตำนานนี้เหมือนกับการตักบาตรเทโว
และขอเสริมข้อมูลของข้อที่ 4 การลอยกระทงเพื่อการบูชาพระอุปคุต
สันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ ที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ
ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ
เรื่องชื่อของท่านนั้น นอกจากจะเรียกว่า “พระอุปคุตเถระ” แล้ว ยังมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นอีก เช่น “พระเถรอุปคุต” “พระนาคอุปคุต” “พระกีสนาคอุปคุต” และอีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ “พระบัวเข็ม” หรือ “หลวงพ่อบัวเข็ม” เพราะว่ามีใบบัวคลุมศรีษะและมีเข็มปักอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่าน แต่ชื่อของท่านที่ใช้เรียกกันอยู่โดยทั่วไป นิยมเรียกเพียงสั้นๆ ว่า พระอุปคุต โดยชื่อมีความหมายว่า ผู้มีความคุ้มครองมั่นคง
เรื่องของพระอุปคุตและพญามารนั้น มีบันทึกไว้หลายแห่ง ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น มีอยู่ 2 บันทึก คือ จากจารึกพระเจ้าอโศก และ ใน “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่อง “พระอุปคุตกับพญามาร”
โดยอยู่ปริจเฉทที่ 28 ที่มีชื่อว่า มารพันธปริวรรต
ตำนานเรื่องพระอุปคุตต์จากพระปฐมสมโพธิกถาพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
มีความว่า
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น พระองค์มีพระราชประสงค์จะกระทำการฉลองพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 84,000 องค์ โดยจะทำการสักการบูชาให้ครบกำหนด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่เกรงจะมีอันตราย จึงทรงเสด็จไปหาพระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระให้ช่วยค้นหาพระภิกษุผู้มีมหิทธานุภาพ เพื่อป้องกันอันตรายในการกระทำสักการบูชาฉลองพระสถูปเจดีย์
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระจึงรับหน้าที่ในการแสวงหาและเลือกพระภิกษุผู้ทรงอิทธิฤทธิ์มาช่วยการกระทำมหกรรมจากนั้นพระโมคคัลลีบุตรพร้อมคณะสงฆ์จึงร่วมด้วยช่วยกันพิจารณาหาเหตุแห่งอันตรายนั้น พบว่า จะมีพญามารมาทำลายพิธีกรรมในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล จึงขอให้พระสังฆเถระมาช่วยในการป้องกันพญามารที่จะมาขัดขวางการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครั้งนี้ พระสังฆเถระกล่าวปฏิเสธรวมถึงพระอนุเถระรอง ๆ ลงมาเป็นลำดับไป จนกระทั่งถึงพระภิกษุผู้บวชใหม่
ในขณะนั้น มีพญานาคราชตัวหนึ่งขึ้นมาจากนาคพิภพเพื่อจะนมัสการพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง แต่ในเวลาที่พญานาคราชถวายวันทนาการ พญาครุฑตัวหนึ่งแลเห็นพญานาคราชจึงจะจับกิน ฝ่ายพญานาคราช จึงเลี้ยวหลบเข้าไปในระหว่างของพระสังฆเถระ ร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีพระสงฆ์รูปใดสามารถช่วยเหลือได้
ในสถานที่สังฆสันนิบาตนั้น ได้มีสามเณรอาคันตุกะรูปหนึ่ง อายุประมาณ 7 ขวบ มานั่งอยู่ที่หน้าอาสนะของพระสงฆ์ พระสงฆ์เห็นเหตุร้ายจะเกิดขึ้นเช่นนั้น จึงถามสามเณรน้อยรูปนั้นว่า จะช่วยป้องกันอันตรายให้พญานาค พ้นจากการเบียดเบียนของพญาครุฑได้หรือไม่ ทีแรกสามเณรกล่าวออกตัวแกมปฏิเสธ พระภิกษุสงฆ์จึงกล่าวขอร้องสามเณรอีกหลายครั้ง ในที่สุดสามเณรผู้มีอิทธิฤทธิ์ยิ้มหน่อยหนึ่งแล้วจึงกล่าวตกลง
พอคุรฑบินโฉบต่ำลงมา สามเณรก็เข้าฌานสมาบัติ อธิษฐานให้บังเกิดลมพายุอันร้ายแรงเหมือนลมยุคันตวาต พัดครุฑให้ปลิวปลาตนาการไป เมื่อพญานาคราชรอดตามมาได้ จึงกล่าวสรรเสริญคุณของสามเณรน้อยนั้น แล้วจึงชำแรกแผ่นดินกลับไปสู่นาคพิภพ
เวลาต่อมาพระภิกษุสงฆ์ได้ซักถามสามเณรนั้นว่า “เหตุไฉนเธอจึงไม่กระทำตามคำของพระภิกษุสงฆ์ในตอนแรก แต่กลับยิ้มเสียก่อนแล้วจึงกระทำในภายหลัง การกระทำอย่างนี้นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เธอควรจะต้องถูกลงทัณฑกรรม”
และกล่าวชี้แจงว่า
“พระเจ้าอโศกมหาราชจะทรงกระทำมหกรรมการฉลองพระมหาสถูปเจดีย์โดยมีกำหนด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน เกรงว่าพญามารจักกระทำอันตรายในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เธอจงช่วยป้องกันอันตรายในครั้งนี้”
สามเณรเห็นว่าตนไม่เหมาะจึงแนะนำ พระภิกษุรูปอื่นที่มีมหิทธิฤทธิ์ที่อาจจะทรมานให้พญามารปราชัยได้ ...ซึ่งพระภิกษุรูปนั้น คือ พระกีสนาคอุปคุตเถระ นั่นเอง
พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงได้ฟังคำบอกเล่าของสามเณร จึงใช้ให้พระภิกษุ 2 รูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติไปนิมนต์พระอุปคุตเถระซึ่ง จำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร เพื่อหลบหนีความวุ่นวายสับสนอลหม่าน มาสู่สังฆสมาคมนี้ตามสังฆมติ
เมื่อพระภิกษุทั้ง 2 รูปลงไปอาราธนาท่านมาแล้ว ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ได้กล่าวกับพระอุปคุตว่า
“ท่านไม่ได้ร่วมสามัคคีอุโบสถกับพระภิกษุสงฆ์ ไม่ช่วยเหลืองานพระศาสนา หลบไปหาความสงบสบายแต่ลำพังผู้เดียวขาดความเคารพในสงฆ์ เป็นการขัดกับพระพุทธประสงค์ แม้แต่พระมหากบิลเถระพระผู้มีพระภาคเจ้ายังตรัสติเตียน เพราะเหตุที่ไม่เคารพในสงฆ์ ฉะนั้นท่านสมควรที่จะถูกพระภิกษุสงฆ์ลงทัณฑกรรม”
พระอุปคุตเถระฟังเหตุผลของภิกษุสงฆ์ทั้งปวงแล้ว ก็ยอมรับความผิดนั้นด้วยดี พระภิกษุสงฆ์จึงบอกให้ท่านช่วยทำงานป้องกันอันตรายถวายแด่ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเป็นสังฆอุปัฏฐาก ซึ่งมีพระราชศรัทธาที่จะกระทำมหกรรมการฉลองพระสถูปเจดีย์ และพระวิหารที่ทรงสร้างไว้ถึง 84,000 แห่ง พร้อมกับมหาสถูปในพระนครนี้โดยกำหนดจะกระทำอธิสักการบูชาเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และคอยป้องกันพญามาร อย่าให้มากระทำอันตรายในการทรงบำเพ็ญพระราชมหากุศลครั้งนี้
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทราบข่าวว่าพบพระภิกษุผู้มีฤทธิ์สามารถป้องกันอันตรายแล้ว จึงลองทดสอบพระมหาเถระดูโดยการปล่อยช้างตกมันไปหาพระอุปคุต เพื่อทดลองกำลังฤทธานุภาพ
พระอุปคุตซึ่งทราบว่าพระราชาต้องการทดลองอิทฤทธิ์ของท่านจึงอธิษฐานจิตว่า “ขอให้ช้างนี้จงกลายร่างเป็นช้างศิลาอยู่ที่นี้”ช้างตัวนั้นจึงหยุด นิ่ งแข็งราวกับศิลา เมื่อเห็นดังนี้ พระเจ้าอโศกจึงหมดห่วงและกล่าวขอขมากับพระเถระ
พอถึงวันอันเป็นกำหนดการงานฉลอง พระเจ้าอโศกมหาราช พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ประชาชนทุกหมู่เหล่าและ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากมาย มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นต้น ได้พากันมาสันนิบาต คือประชุมพร้อมกันในพระอารามนั้น เพื่อจะนมัสการพระมหาเจดีย์
ในขณะนั้น วสวัตดีมาร ทราบว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะทรงกระทำมหาสักการบูชา และการฉลองพระมหาเจดีย์กับพระอารามเป็นงานมโหฬาร มีจิตเกิดความคิดริษยา คิดที่จะมาขัดขวางทำลายล้างพิธีจึงแสดงอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ท้องฟ้ามีลักษณะมืดมัวและสร้างลมพายุใหญ่พัดมาแต่ไกล ส่วนพระอุปคุตเถระ ผู้รับหน้าที่ป้องกันอันตรายในงานมหกรรมนั้นรู้แน่ชัดว่า พญามารเริ่มทำลายการบำเพ็ญกุศล จึงใช้อิทธิฤทธิ์ปัดเป่าให้พายุใหญ่ของพญามารนั้นอันตรธานหายไป
พญามารเห็นดังนั้นจึงโกรธแค้น บันดาลให้ห่าฝนทรายกรด เมล็ดกรวดกรด ห่าฝนก้อนศิลา ห่าฝนถ่านเพลิง ห่าฝนลมกรด ห่าฝนน้ำกรด ห่าฝนอาวุธต่างๆ ห่าฝนเถ้ารึง 3 ห่าฝนเปือกตม ให้ตกลงมา และยังบันดาลให้เกิดความมืดมิดอันน่ากลัว พระมหาเถระก็อธิษฐานอิทธิปาฏิหาริย์หอบเอาห่าฝนเหล่านั้นและความมืดมิดของพญามารไปทิ้งเสียนอกขอบจักรวาล
เมื่อเห็นดังนั้น พญามารจึงโกรธจัด จึงเนรมิตร่างกายเป็นสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ เช่น เป็นโคใหญ่วิ่งไปจะชนทวีปทั้งสิ้นให้พินาศ พระมหาเถระก็เนรมิตร่างกายเป็นรูปพยัคฆ์ใหญ่วิ่งไล่ไปจะจับโค จนโคพ่ายแพ้ล้มลง ร่างก็กลับกลายเป็นรูปพญานาคราชมีเศียร 7 เศียร ตรงเข้าคาบเอากายพยัคฆ์ใหญ่ พยัคฆ์ใหญ่ก็กลับกลายร่างเป็นพญาครุฑแล้วคาบศีรษะของพญานาคราชลากไปมาจนปราชัย พญามารรีบแปลงร่างจากพญานาคราชมาเป็นยักษ์ใหญ่ตัวโต มือถือตะบองทองแดง พระมหาเถระจึงเปลี่ยนแปลงร่างจากพญาครุฑมาเป็นรูปยักษ์ที่ใหญ่ขึ้นไปกว่ายักษ์พญามารนั้น สองเท่า มือทั้งสองถือตะบองที่มีเปลวไฟตรงเข้าตีที่ศีรษะของยักษ์พญามาร สุดท้ายพญามารจึงยอมรับความพ่ายแพ้ แสดงตัวให้ปรากฏเป็นรูปพญามาร ยืนอยู่ตรงหน้าของพระมหาเถระ
พระอุปคุตเถระก็แปลงกายจากรูปยักษ์กลับมาเป็นพระมหาเถระอย่างเดิม และได้เนรมิตสุนัขเน่ามีกลิ่นเหม็นคลุ้ง เต็มไปด้วยหนอน น่าขยะแขยง เอาผูกติดไว้ที่คอของพญามารพร้อมกับอธิษฐานจิตว่า “ไม่ว่าบุคคลใดผู้หนึ่งหรือจะเป็นเทพยดาหรือพรหมเป็นต้นก็ตามที ขออย่าสามารถที่จะปลดเปลื้อง หรือแก้ออกได้”ก่อนจะไล่พญามารให้จากไป
พระยาวสวัตดีมารอับอายในซากหมาเน่ามาก ทว่าไม่มีใครสามารถปลดซากนั้นให้แก่ท่านได้ สุดท้ายจึงเข้าไปกราบแทบเท้าของพระมหาเถระ แล้วกล่าวรับสารภาพผิดและกล่าวอ้อนวอนด้วยวาจาอันสุนทรีภาพนานาประการ พระมหาเถระเห็นว่าควรจะมัดพญามารไว้ก่อน จึงมัดพญามารติดกับภูเขา เป็นการประจานด้วยโทษฐานเป็นผู้มีใจบาป คอยขัดขวางและทำลายการกระทำความดีของผู้อื่น
งานมหกรรมการฉลองพระมหาเจดีย์และพระอารามของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อปราศจากพญามารมาขัดขวาง จึงดำเนินไปอย่างเรียบร้อยครบกำหนด 7 ปี 7 เดือน 7 วันด้วยประการฉะนี้..
.
เมื่อทุกอย่างสำเร็จลงโดยเรียบร้อย พระอุปคุตเถระจึงไปยังภูเขาที่ผูกมัดพญามารไว้ พญามารนั้นละพยศหมดความดุร้าย รำพึงรำพันว่า
“สมัยเมื่อพระพุทธองค์ประทับเหนือรัตนบัลลังก์ ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ข้าพระบาทมิอาจจะอดกลั้นความโกรธไว้ได้ จึงขว้างจักรอันคมกล้า ที่สามารถจะตัดวชิรบรรพตให้ขาดไปราวกับตัดหน่อไม้ไผ่ ฉะนั้น พระพุทธองค์ทรงพิจารณาพระบารมี 30 ประการ มีทานเป็นต้น และมีอุเบกขาเป็นที่สุด จักรนั้นพลันกลับกลายเป็นดอกไม้กั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบนส่วนพวกพลบริวารได้พากันขว้างอาวุธต่างๆ แล้วอาวุธเหล่านั้นก็กลับกลายเป็นพวงบุปผชาติตกลงยังพื้นดินในที่สุดข้าพระบาทต้องพ่ายแพ้”
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกระทำประโยชน์แก่สรรพสัตว์ และเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง ผู้หาที่พึ่งมิได้สิ้นกาลนานโขพระพุทธองค์ทรงประเสริฐด้วยคุณ หาผู้เสมอมิได้ จงมาเป็นที่พึ่งของข้าพระบาทในบัดนี้ ในกาลก่อนข้าพระบาทชื่อว่าวัสวดี กระทำอันตรายแก่พระองค์โดยวิธีการหลากหลาย พระองค์ก็ไม่ได้ทรงถือโทษตอบโต้แก่ข้าพระบาท แม้แต่เพียงน้อยก็ไม่เคยมี แต่กาลบัดนี้พระสาวกของพระองค์ ช่างไม่มีเมตตากรุณา ลงโทษหนักแก่ข้าพระบาทให้ได้รับทุกข์แสนสาหัสปานฉะนี้”
“ถ้าหากข้าพเจ้ามีกุศลได้สร้างสมไว้แล้วดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญบุญบารมีไว้เพื่อการตรัสรู้ในอนาคตกาลฉันใด ขอข้าพเจ้าจงได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกนี้ฉันนั้น เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแห่งสรรพสัตว์และกระทำประโยชน์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวงในสากลโลก”
เมื่อได้ยินดังนั้นพระอุปคุตเถระจึงเดินเข้าไปแก้มัดให้ทันที และกล่าวกับพญามารว่า
“ ดูก่อนพญามาร ท่านจงอดโทษแก่อาตมาที่อาตมาได้ล่วงเกินท่าน อันว่าประโยชน์ของท่าน คือความปรารถนาพุทธภูมินั้น อาตมาก็ให้บังเกิดได้แล้ว และอาตมาขอห้ามท่านว่าอย่ากระทำอันตรายในการทรงบำเพ็ญบุญของพระบรมกษัตริย์เลย และบัดนี้ท่านได้ถือปฏิญาณที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปตัวท่านจักเป็นปูชนียบุคคล คือ พระโพธิสัตว์ควรที่ชาวโลกทั้งหลายจะกระทำนมัสการบูชา”
ฝ่ายพญามารจึงกล่าวกล่าวอย่างน้อยใจว่า “พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพุทธสาวกช่างกระไรไม่มีจิตใจกรุณาต่อข้าพเจ้าผู้เป็นมารบ้างเลย”
พระอุปคุตเถระจึงแสดงเหตุผล ว่าทั้งท่านและพญามารนั้นเป็นคู่ทรมานกัน เพราะเหตุนี้จึงไม่มีกรุณา ที่ท่านลงโทษนั้นก็เพื่อจะทำให้พญามารมีจิตยินดีปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
และพระบรมศาสดาก็ได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า ตัวท่านนี้จะได้ทรมานพระยาวัสวดีมารให้ละพยศ หมดความอหังการสิ้นความร้ายกาจในอนาคตกาล และพญามารนั้นจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
เมื่อพระมหาเถระพอกล่าวเหตุผลต่างๆ ให้พญามารได้ฟังแล้ว ก็มีความประสงค์จะให้พญามารช่วยเนรมิตตนเป็นพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้ชมเป็นมิ่งขวัญตาจึงกล่าวขอร้องพญามารให้ช่วนเนรมิตกายให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอาการทั้งปวงพร้อมทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่
พญามารฟังคำขอร้องของพระมหาเถระแล้ว จึงตกลงโดยมีข้อแม้ว่า อย่าถวายนมัสการตัวท่านป็นอันขาด และจึงได้ได้เนรมิตกายเป็นพระรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประกอบด้วยพระมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ และพระอนุพยัญชนะ 80 ประการ สว่างรุ่งเรืองด้วยพระฉัพพรรณรังสี คือ พระรัศมี 6 ประการ มีพระอัครสาวกอยู่ทั้งทางเบื้องขวาเบื้องซ้าย พร้อมกับแวดล้อมด้วยพระอสีติมหาสาวกเป็นสังฆบริวาร แสดงให้ปรากฏแก่มหาสันนิบาตบริษัททั้งปวง
(อนึ่ง เกจิอาจารย์บางท่านกล่าวไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราชกับมวลหมู่อำมาตย์และราชบริพาร ก็มาคอยทรงทัศนาการอยู่ ณ สถานที่นั้นด้วย )
ฝ่ายพระอุปคุตเถระเมื่อได้แลเห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระมหาสาวกทั้งหลายปรากฏขึ้นดังนั้น ก็บังเกิดขนลุกชูชัน ด้วยอำนาจของอจลศรัทธาปสาทะ คือ ความเชื่อและความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ทำให้ลืมคำปฏิญาณที่ให้ไว้แก่พญามาร จึงก้มลงถวายอภิวาทพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์อย่างสนิทใจ และมหาชนทั้งหลายมีพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นประธานทรงกระทำนมัสการสักการบูชาโดยพร้อมเพรียงกัน
ขณะนั้นพญามารพลันบันดาลให้พระรูปของพระบรมศาสดา และพระสาวกทั้งหลายหายไป แล้วกลับกลายมาเป็นรูปพญามารพร้อมถามพระอุปคุตเถระว่า ทำไมจึงถวายอภิวาททั้งที่สัญญากันไว้แล้ว...พระอุปคุตเถระกล่าวตอบว่า ท่านไม่ได้กราบไหว้พญามาร แต่อภิวาทพระรูปของพระบรมศาสดา และพระมหาสาวกทั้งหลายต่างหาก
เมื่อทุกอย่างสำเร็จเสร็จสิ้นลง พญามารน้อมกายถวายนมัสการพระมหาเถระ แล้วลากลับสู่เทวสถานวิมานของตน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.visudhidham.com (วัดตรีวิสุทธิธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี) โดยอิงข้อมูลจากwww.upacoot.com/ และนิตยสารซีเคร็ต )
ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น
ภาคเหนือตอนบน
นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสาน
ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า "สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป" ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
ภาคใต้
ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
และที่จะขาดเสียมิได้ของวันลอยกระทงนอกจากกระทงแล้วก็คือ เพลงรำวงวันลอยกระทง
เพลงรำวงวันลอยกระทง
ประพันธ์โดยครูแก้ว อัจฉริยกุล
ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์
ครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" มีเนื้อร้องว่า
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
ขออภัยที่ ขึ้นบทความไม่ทันวันลอยกระทง เพราะติดภาระกิจสำคัญ และบทความนี้คัดลอกมาเพื่อเสริมความ บทความเดิมของปีที่แล้วทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าของผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวันลอยกระทง
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
ในคราวกระทำ สังคายนาครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระอรหันต์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาถึง ๙ สาย หนึ่งในนั้นคือ สายสุวรรณภูมิซึ่งมีท่านพระโสณะและพระอุตตระเป็นพระอรหันต์ที่มาประกาศธรรมและสั่งสอนธรรมในดินแดนแถบนี้ ซึ่งปัจจุบันได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซีย เมื่อพระเถระทั้งสองประกาศธรรมแล้ว ก็มีการสืบทอดแนวปฏิบัติต่อๆ กันมาโดยลำดับ
พระมหาสีสะยาดอ (โสภณมหาเถระ)
ในยุคที่มีการปฏิบัติแนวสติปัฏฐานสี่นั้น ได้ปรากฏแนวการสอนวิปัสสนาแบบดูอาการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งในกาลต่อมาได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยมีท่านพระมหาสีสะยาดอ (โสภณมหาเถระ) เดินทางไปสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ จนได้รับการขนานนามว่า พองยุบในแนวสติปัฏฐานสี่ ยังประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วว่า “พองยุบบันลือโลก” และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านมหาสีสะยาดอ จึงเรียกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “มหาสีเทคนิค” ปัจจุบันมีลูกศิษย์เป็นเครือข่ายมากกว่า ๕๐๐ สาขาทั่วโลก และหนึ่งในศิษย์ของท่านมหาสีสะยาดอ คือ หลวงพ่อภัททันตะอาสภมหาเถระที่ได้สืบทอดวิปัสสนากรรมฐานในแนวนี้ และได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)
โดยได้รับอาราธนานิมนต์จากรัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยในสมัยนั้น นำโดยพระพิมลธรรม ( อาจ อาสภมหาเถระ ) ซึ่งต่อมา คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตรักษาการสมเด็จพระสังฆราช อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ทำให้งานวิปัสสนากรรมฐานในขณะนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีผู้เลื่อมใสศรัทธา ทั้งพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสเข้ามาปฏิบัติกันมากถึงขนาดว่าระเบียงพระวิหารรอบพระอุโบสถถูกเนรมิตเป็นห้องกระจกเพื่อใช้เป็นห้องกรรมฐาน แม้แต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ทรงสนพระทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่า ก็ยังทรงเสด็จมาศึกษาปฏิบัติ และทรงเลื่อมใสศรัทธาปฏิบัติต่อเนื่อง กระทั่งต้องนิมนต์พระอุดมวิชาญาณ (โชดก ญาณสิทฺธิ;สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาคือ พระธรรมธีรราชมหามุนี) เป็นผู้ถวายพระกรรมฐานและสอบอารมณ์ ณ วังสระปทุม
ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.vipassanacm.com/th/view.aspx?id=621
พระอุดมวิชาญาณ ครั้งที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ นั้น พระพิมลธรรม(อาจ อาสภมหาเถระ) ได้ส่งให้ไปเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่า และได้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อใหญ่ ( หลวงพ่อ ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ) ตั้งแต่ครั้งนั้น ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ได้สำเร็จภารกิจแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และได้เดินทางกลับมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมกันนี้ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมยังได้นิมนต์พระเถระพม่า ๒ รูป คือ หลวงพ่อ ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระรูปหนึ่งและอีกรูปหนึ่งคือท่านอาจารย์อินทวังสะ (ภายหลังเดินทางกลับไปประเทศพม่า) มาสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ เป็นระยะเวลาถึง ๑๐ ปี ฉะนั้น วิปัสสนากรรมฐาน แนวมหาสีในประเทศไทย จึงเริ่มก่อเกิดขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ ที่วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน
ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ได้ละสังขารเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ด้วยโรคปอดอักเสบที่โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๑๐๐ ปี ๘๑ พรรษา
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
ชีวประวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
นามเดิมชื่อ “หนูคล้าย นามโสม” (ภายหลังสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) แห่งวัดมหาธาตุ ได้เปลี่ยน ชื่อให้ใหม่ว่า “โชดก”เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ ปีมะเมีย ณ บ้าน หนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โยมบิดาชื่อ “นายเหง้า นามโสม” โยมมารดาชื่อ “นางน้อย นามโสม” มีพี่น้องร่วมตระกูลทั้งหมด ๙ คุณปู่ของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะดี ส่วนบิดาของท่านเป็นชาวนา แต่มีความรู้พิเศษ เป็นหมอชาวบ้าน-ช่างไม้-ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน
เมืออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง จังหวัดขอนแก่น พ.ศ.๒๔๗๘ ได้ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพมหานครโดยครั้งแรก ได้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม สอบ ป.ธ.๓, ป.ธ. ๔ และนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักนี้
พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุโดยขุนวจีสุนทรรักษ์เป็นผู้นำมาฝากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี )ขณะดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ “พระพิมลธรรม” ได้เมตตารับไว้ให้อยู่ คณะ ๑ วัดมหาธาตุฯ
วุฒิการศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียน วัดโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียน วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ป.ธ. ๓, ป.ธ.๔ ในสำนักวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ.๕-ป.ธ.๙ ในสำนักวัดมหาธาตุฯ ในสมัยสอบ ป.ธ.๙ ได้ใน พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น นับเป็นผู้สอบได้เพียงรูปเดียวในประเทศไทย
พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๒ ไปปฎิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัด ขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม-บาลี ที่วัดสว่างพิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาล เมืองขอนแก่น ปรากฏว่า ได้ส่งเสริมการศึกษาในสำนักนี้ให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมา ท่านได้ลาออกจาก ตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด เพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ สำนักเดิม
.
งานด้านวิปัสสนาธุระ
พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้ามาปฎิบัติวิปัสสนากรรมธานอยู่ ณ มณฑปพระธาตุ วัดมหาธาตุ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆังโฆสิตารามเป็นอาจารย์สอน
พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษาและปฎิบัติวิปัสสนาแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูปที่รัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่า เพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฎฐานาจริยะ และท่านอินทะวังสะ ธัมมาจริยะกัมมัฏฐานาจริยะ
เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก ๔ เดือน ในสมัยนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระพิมลธรรม” ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งประเทศไทยขึ้นที่วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งท่าน พระมหาโชดก ป.ธ.๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นรูปแรก ท่านได้รับภาระหนักมากเพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จในการวางแผนขยายสำนักงานสาขาไปตั้งในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน คัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้น และจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน
อนึ่ง ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้จัดตั้ง กองการวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการ วิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่าน มีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏ ดังนี้ จัดพิมพ์วิปัสสนาสาร ซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อตลอดมาถึงบัดนี้ มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร
จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่ คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฎิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์จะเข้าปฎิบัติหรือ ผู้มีปัญหาชีวิต เข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำ และไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์ หรือ มาปฎิบัติในเวลาว่างแล้วกลับไปพักที่บ้าน)
อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์
ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
นอกจากงานด้านวิปัสสนาธุระแล้วยังมีหน้าที่อื่นอีกคือ
หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๕๓๐ เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งนักธรรม
- บาลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นมูล ๓ ได้นิตยภัต ตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั่งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙ เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม – บาลี สนามหลวง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมา จนมรณภาพ เป็นผู้อำนวยการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา
หน้าที่เกี่ยวด้วยพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทาน พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิ วิโสธกะ พระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐
พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้อุทิศชีวิตอบรมและเผยแพร่ วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาวนาน ประมาณ ๔๐ ปี จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ
พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถรได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐานเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น.ณ.พระมณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม ได้ถวายศีลแล้ว พระอุดมวิชาญาณเถรเป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน และถวายสอบอารมณ์พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ . พระมณฑปพระบรมธาตุเวลา ๑๗.๐๐ น.รวมเวลาที่ทรงเสด็จมาสอบพระกรรมฐานทุกวันเป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฎิบัติวิปัสสนาเป็นอย่างดี จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมกันกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ
ในวันที่ ๙ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘
ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ได้มอบหมายให้พระทิพย์ปริญญา มาติดต่อกับท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม ขอให้พระอุดมวิชาญาณเถร ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่ท่าน โดยมีพระอุดมวิชาญาณเถระและพระทิพย์ปริญญา นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ ได้ไปถวายพระกรรมฐานแก่ท่านในตอนเย็นวันนั้น ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เนื่องจากท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ได้อธิษฐานไว้ว่า ท่านจะไม่ไปค้างคืนที่วัดอื่น ดังนั้นท่านจึงขอร้องให้พระอุดมวิชาญาณไปสอนภายในพระอุโบสถ วัดปากน้ำ ครั้นท่านได้ปฎิบัติครบบทเรียน ครบหลักสูตรแล้วใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน ทางสำนักได้จัดให้มีการฟังเทศน์ลำดับญานภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ โดยพระอุดมวิชาญาณเถร เทศน์จบก็ได้ถวายวิชาครูท่านไป ๑ ชุด
เป็นว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทั้งในด้านสมถะและด้านวิปัสสนา เป็นพระเถระที่ไม่มีทิฏฐิมานะสมเป็นนักปฏิบัติธรรมแท้ ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนีได้ส่งภาพของท่านมาถวายไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดมหาธาตุ และได้เขียนบันทึกใต้ภาพยกย่องว่า “ให้สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ ไว้เป็นที่ระลึก ในโอกาสที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนา ตามแบบแผนทีวัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันว่าการปฎิบัติแบบนี้ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตร ทุกประการ”
ลงชื่อ พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ ธนบุรี ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘
งานต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๒๘
- ไปดูงานการพระศาสนา และปฏิบัติกรรมฐาน ณ ประเทศพม่า
- ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ. ประเทศอังกฤษ ตามคำอารธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ
- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ
- ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อ “วัดพุทธปทีป” โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป รูปแรก
- เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปสอนต่างประเทศ
- รับชาวต่างประเทศเข้าปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานทีวัดมหาธาตุ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
งานนิพนธ์
พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระมหาเถระเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฏก และมีความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ที่นิพนธ์เรื่องศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แยกบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภท ดังนี้
ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน, คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม
ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริยสัจ ฯลฯ
ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง เช่น เรื่องอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑-๙ ฯลฯ
ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ
ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหาเรื่องบุญบาป แลนรกสวรรค์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำขวัญ คำอนุโมทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ต่างๆ ที่มีผู้ขอมาอีกด้วย
สมณศักดิ์
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเปรียญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระอุดมวิชาญาณเถระ”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฎกโกศล วิมลปัสสนาจารย์ อุดมวิชาญาณวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระเทพสิทธิมุนี สมถวิธี ธรรมมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีพระราชทินนามว่า “ พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎก บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) ได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบในอิริยาบถการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในวันพฤหัสดีที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศก แสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างยิ่ง
ประวัติย่อเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ท่านทรงบรรทม ไม่หลับต้องเสวยพระโอสถเป็นประจำ และต้องเพิ่มพระโอสถขึ้นนไปเรื่อยๆ จึงจะบรรทมหลับได้ ถ้าจำไม่ผิดก็มีคุณหมอสายหยุด ดิษฐการภักดี (เก่งระดมยิง) เป็นผู้ถวายการแนะนำพระองค์ท่านให้ทรงทราบ จนได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐานที่มณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ เวลา ๑๗.๐๐ น.โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณใหญ่ คือ พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถระ) เป็นผู้ถวายศีล และแนะนำวิธีกราบเบญจางคประดิษฐ์อีกโสดหนึ่ง พระอุดมวิชาญาณเถระ (โชดก ญาณสิทธิเถระ) เป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน ถวายการสอบอารมณ์พระกรรมฐานเป็นประจำทุกๆ วัน ที่มณฑปพระบรมธาตุ ในเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้ถวายพระพรให้พระองค์ท่านทรงเลิกเสวยพระโอสถตั้งแต่วันแรก จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณเป็นต้นมา
พระองค์ทรงได้เสด็จมาสอบพระกรรมฐานทุกๆวัน เป็นเวลาประมาณ ๑ เดือนปรากฏว่า พระองค์ทรงสนพระทัยตั้งอกตั้งใจประพฤติปฎิบัติจริงๆ ทรงเพียบพร้อมไปด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ ได้สอบอารมณ์ถวาย ได้อธิบายธรรมถวายตามโอกาสอันควร ได้เพิ่มบทเรียนถวายตั้งแต่ระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖ และเมื่อสภาวธรรมปรากฎชัดดีแล้ว ก็ให้ทรงอธิษฐานไปตามลำดับๆ ดุจหลวงพ่อวัดปากน้ำ จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมกันกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภายในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
ปรากฏว่า ได้ผลดีมากอยู่ พระองค์ท่านทรงเลิกเสวยพระโอสถแล้วก็บรรทมหลับได้สบายเสมอมา จนมีพระวรกายดีขึ้นมาเรื่อยๆ ใครได้เห็นพระองค์ท่านก็ชมว่า พระองค์มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ดี ผิวพรรณวรรณะดี ทรงเบิกบานพระทัย ทรงยิ้มแย้มแจ่มใสดี บางคนก็ถามว่า พระองค์ทรงเสวยยาอะไร จึงสมบูรณ์ดีอย่างนี้ก็มี ทรงแข็งแกร่ง เสด็จไปบำเพ็ญมหากุศลสาธารณประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าประชาชน ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาธรรมทุกหนแห่ง ดังที่ปรากฏแก่สายตาของสาธุชนอยู่แล้วนั้น
ข้อนี้สมด้วย พระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฏกว่า “ธมฺมจารี สุขํ เสติ” ผู้ปฎิบัติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ดังนี้
ศิษย์เอกของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
สายบรรพชิต คือพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี )
สายฆราวาส คือ คุณแม่ ดร. สิริ กรินชัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารสาร“อาสภาสาส์น”
http://www.udomwid.org/index.php?mo=59&action=page&id=360582
พระมหาสีสะยาดอ (โสภณมหาเถระ)
ในยุคที่มีการปฏิบัติแนวสติปัฏฐานสี่นั้น ได้ปรากฏแนวการสอนวิปัสสนาแบบดูอาการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งในกาลต่อมาได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยมีท่านพระมหาสีสะยาดอ (โสภณมหาเถระ) เดินทางไปสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ จนได้รับการขนานนามว่า พองยุบในแนวสติปัฏฐานสี่ ยังประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วว่า “พองยุบบันลือโลก” และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านมหาสีสะยาดอ จึงเรียกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “มหาสีเทคนิค” ปัจจุบันมีลูกศิษย์เป็นเครือข่ายมากกว่า ๕๐๐ สาขาทั่วโลก และหนึ่งในศิษย์ของท่านมหาสีสะยาดอ คือ หลวงพ่อภัททันตะอาสภมหาเถระที่ได้สืบทอดวิปัสสนากรรมฐานในแนวนี้ และได้รับความไว้วางใจให้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)
โดยได้รับอาราธนานิมนต์จากรัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยในสมัยนั้น นำโดยพระพิมลธรรม ( อาจ อาสภมหาเถระ ) ซึ่งต่อมา คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตรักษาการสมเด็จพระสังฆราช อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ทำให้งานวิปัสสนากรรมฐานในขณะนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีผู้เลื่อมใสศรัทธา ทั้งพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสเข้ามาปฏิบัติกันมากถึงขนาดว่าระเบียงพระวิหารรอบพระอุโบสถถูกเนรมิตเป็นห้องกระจกเพื่อใช้เป็นห้องกรรมฐาน แม้แต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ทรงสนพระทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่า ก็ยังทรงเสด็จมาศึกษาปฏิบัติ และทรงเลื่อมใสศรัทธาปฏิบัติต่อเนื่อง กระทั่งต้องนิมนต์พระอุดมวิชาญาณ (โชดก ญาณสิทฺธิ;สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาคือ พระธรรมธีรราชมหามุนี) เป็นผู้ถวายพระกรรมฐานและสอบอารมณ์ ณ วังสระปทุม
ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.vipassanacm.com/th/view.aspx?id=621
พระอุดมวิชาญาณ ครั้งที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ นั้น พระพิมลธรรม(อาจ อาสภมหาเถระ) ได้ส่งให้ไปเรียนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่า และได้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อใหญ่ ( หลวงพ่อ ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ) ตั้งแต่ครั้งนั้น ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ได้สำเร็จภารกิจแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และได้เดินทางกลับมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมกันนี้ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมยังได้นิมนต์พระเถระพม่า ๒ รูป คือ หลวงพ่อ ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระรูปหนึ่งและอีกรูปหนึ่งคือท่านอาจารย์อินทวังสะ (ภายหลังเดินทางกลับไปประเทศพม่า) มาสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ เป็นระยะเวลาถึง ๑๐ ปี ฉะนั้น วิปัสสนากรรมฐาน แนวมหาสีในประเทศไทย จึงเริ่มก่อเกิดขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ ที่วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน
ดร.พระภัททันตะอาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ได้ละสังขารเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ด้วยโรคปอดอักเสบที่โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๑๐๐ ปี ๘๑ พรรษา
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
ชีวประวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
นามเดิมชื่อ “หนูคล้าย นามโสม” (ภายหลังสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) แห่งวัดมหาธาตุ ได้เปลี่ยน ชื่อให้ใหม่ว่า “โชดก”เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๑ ปีมะเมีย ณ บ้าน หนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โยมบิดาชื่อ “นายเหง้า นามโสม” โยมมารดาชื่อ “นางน้อย นามโสม” มีพี่น้องร่วมตระกูลทั้งหมด ๙ คุณปู่ของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ชื่อขุนวงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย มีฐานะดี ส่วนบิดาของท่านเป็นชาวนา แต่มีความรู้พิเศษ เป็นหมอชาวบ้าน-ช่างไม้-ช่างเหล็ก ประจำหมู่บ้าน
เมืออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์กลาง จังหวัดขอนแก่น พ.ศ.๒๔๗๘ ได้ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพมหานครโดยครั้งแรก ได้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม สอบ ป.ธ.๓, ป.ธ. ๔ และนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักนี้
พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุโดยขุนวจีสุนทรรักษ์เป็นผู้นำมาฝากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี )ขณะดำรงสมณศักดิ์ในราชทินนามที่ “พระพิมลธรรม” ได้เมตตารับไว้ให้อยู่ คณะ ๑ วัดมหาธาตุฯ
วุฒิการศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสำนักเรียน วัดโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสำนักเรียน วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ป.ธ. ๓, ป.ธ.๔ ในสำนักวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๙๔ สอบได้ ป.ธ.๕-ป.ธ.๙ ในสำนักวัดมหาธาตุฯ ในสมัยสอบ ป.ธ.๙ ได้ใน พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น นับเป็นผู้สอบได้เพียงรูปเดียวในประเทศไทย
พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๒ ไปปฎิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัด ขอนแก่น โดยครั้งแรกเปิดสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม-บาลี ที่วัดสว่างพิทยา อำเภอเมือง ประมาณ ๑ ปี แล้วย้ายมาอยู่วัดศรีนวล ในเขตเทศบาล เมืองขอนแก่น ปรากฏว่า ได้ส่งเสริมการศึกษาในสำนักนี้ให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมา ท่านได้ลาออกจาก ตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัด เพื่อกลับมาอยู่วัดมหาธาตุฯ สำนักเดิม
.
งานด้านวิปัสสนาธุระ
พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เข้ามาปฎิบัติวิปัสสนากรรมธานอยู่ ณ มณฑปพระธาตุ วัดมหาธาตุ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๔ รวมเวลา ๗ เดือน ๑๙ วัน โดยพระภาวนาภิรามเถระ (สุข) วัดระฆังโฆสิตารามเป็นอาจารย์สอน
พ.ศ. ๒๔๙๕ ไปดูการพระศาสนาที่ประเทศพม่า และได้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักศาสนายิสสา เมืองแรงกูน ประเทศพม่า เมื่อสำเร็จการศึกษาและปฎิบัติวิปัสสนาแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทย พร้อมกับพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒ รูปที่รัฐบาลไทยขอจากรัฐบาลพม่า เพื่อมาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประจำอยู่ในประเทศไทย พระวิปัสสนาจารย์ ๒ รูปนั้น คือ ท่านอาสภเถระ ปธานกัมมัฎฐานาจริยะ และท่านอินทะวังสะ ธัมมาจริยะกัมมัฏฐานาจริยะ
เมื่อท่านกลับมาประเทศไทยแล้ว ท่านได้ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก ๔ เดือน ในสมัยนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระพิมลธรรม” ได้ประกาศตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งประเทศไทยขึ้นที่วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งท่าน พระมหาโชดก ป.ธ.๙ ให้เป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นรูปแรก ท่านได้รับภาระหนักมากเพราะเป็นกำลังสำคัญของท่านเจ้าประคุณสมเด็จในการวางแผนขยายสำนักงานสาขาไปตั้งในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จัดทำหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน คัดเลือกพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนประจำอยู่ตามสำนักสาขาที่ตั้งขึ้น และจัดไว้สอนประจำที่วัดมหาธาตุ พระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศส่วนมากเป็นศิษย์ของท่าน
อนึ่ง ในครั้งนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้จัดตั้ง กองการวิปัสสนาธุระขึ้นเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ และได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้อำนวยการกองการ วิปัสสนาธุระ ในความอำนวยการของท่าน มีกิจการเจริญก้าวหน้ามาก มีผลงานปรากฏ ดังนี้ จัดพิมพ์วิปัสสนาสาร ซึ่งเป็นวารสารราย ๒ เดือน (ออกปีละ ๖ เล่ม) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๘ และได้ออกติดต่อตลอดมาถึงบัดนี้ มีสมาชิกให้การอุดหนุนวารสารนี้มีมากพอสมควร
จัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่ คณะ ๕ โดยจัดสร้างห้องปฎิบัติขึ้นรับผู้ประสงค์จะเข้าปฎิบัติหรือ ผู้มีปัญหาชีวิต เข้าปฏิบัติได้ทุกเวลา ทั้งประเภทอยู่ประจำ และไม่ประจำ (คือมารับพระกรรมฐานจากอาจารย์ไปปฏิบัติที่บ้านแล้วมารับสอบอารมณ์ หรือ มาปฎิบัติในเวลาว่างแล้วกลับไปพักที่บ้าน)
อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และคณะศิษย์ของท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ตึกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันพระ และวันอาทิตย์
ให้ความอุปถัมภ์สำนักวิปัสสนากรรมฐานอื่นที่เป็นสาขาอีกหลายสำนัก เช่น สำนักวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำนักวิปัสสนาภูระงำ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และสำนักบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
นอกจากงานด้านวิปัสสนาธุระแล้วยังมีหน้าที่อื่นอีกคือ
หน้าที่การงานเกี่ยวกับการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๕๓๐ เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งนักธรรม
- บาลี ในมหาธาตุวิทยาลัย ได้เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์ชั้นมูล ๓ ได้นิตยภัต ตั้งแต่เดือนละ ๖ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จนกระทั่งสอน ป.ธ. ๗-๘-๙ เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรม – บาลี สนามหลวง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๗ ตลอดมา จนมรณภาพ เป็นผู้อำนวยการแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา
หน้าที่เกี่ยวด้วยพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาไทย ในแผนกตรวจสำนวน
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจทาน พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการปาลิ วิโสธกะ พระอภิธรรมปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบรรณกรในการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนา พ.ศ. ๒๕๓๐
พระธรรมธีรราชมหามุนี ได้อุทิศชีวิตอบรมและเผยแพร่ วิปัสสนากรรมฐานติดต่อมาเป็นเวลายาวนาน ประมาณ ๔๐ ปี จึงมีศิษยานุศิษย์และมีผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และบุคคลผู้มาปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีทุกระดับชั้น ทุกฐานะอาชีพ
พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถรได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐาน แด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐานเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ เวลา ๑๙.๐๐ น.ณ.พระมณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุ ในโอกาสนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม ได้ถวายศีลแล้ว พระอุดมวิชาญาณเถรเป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน และถวายสอบอารมณ์พระกรรมฐานด้วย เป็นประจำทุกวัน ณ . พระมณฑปพระบรมธาตุเวลา ๑๗.๐๐ น.รวมเวลาที่ทรงเสด็จมาสอบพระกรรมฐานทุกวันเป็นเวลา ๑ เดือน และทรงได้รับผลจากการปฎิบัติวิปัสสนาเป็นอย่างดี จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมกันกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ
ในวันที่ ๙ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘
ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ได้มอบหมายให้พระทิพย์ปริญญา มาติดต่อกับท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม ขอให้พระอุดมวิชาญาณเถร ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่ท่าน โดยมีพระอุดมวิชาญาณเถระและพระทิพย์ปริญญา นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ ได้ไปถวายพระกรรมฐานแก่ท่านในตอนเย็นวันนั้น ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เนื่องจากท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ได้อธิษฐานไว้ว่า ท่านจะไม่ไปค้างคืนที่วัดอื่น ดังนั้นท่านจึงขอร้องให้พระอุดมวิชาญาณไปสอนภายในพระอุโบสถ วัดปากน้ำ ครั้นท่านได้ปฎิบัติครบบทเรียน ครบหลักสูตรแล้วใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน ทางสำนักได้จัดให้มีการฟังเทศน์ลำดับญานภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ โดยพระอุดมวิชาญาณเถร เทศน์จบก็ได้ถวายวิชาครูท่านไป ๑ ชุด
เป็นว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทั้งในด้านสมถะและด้านวิปัสสนา เป็นพระเถระที่ไม่มีทิฏฐิมานะสมเป็นนักปฏิบัติธรรมแท้ ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนีได้ส่งภาพของท่านมาถวายไว้เป็นที่ระลึกแก่สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดมหาธาตุ และได้เขียนบันทึกใต้ภาพยกย่องว่า “ให้สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุ ไว้เป็นที่ระลึก ในโอกาสที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนา ตามแบบแผนทีวัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันว่าการปฎิบัติแบบนี้ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตร ทุกประการ”
ลงชื่อ พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ ธนบุรี ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘
งานต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๒๘
- ไปดูงานการพระศาสนา และปฏิบัติกรรมฐาน ณ ประเทศพม่า
- ไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ. ประเทศอังกฤษ ตามคำอารธนาของคณะสงฆ์สมาคมแห่งประเทศอังกฤษ
- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตประจำประเทศอังกฤษ
- ริเริ่มสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ ปัจจุบันได้สร้างเป็นวัดไทยโดยสมบูรณ์ ชื่อ “วัดพุทธปทีป” โดยท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป รูปแรก
- เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตที่จะไปสอนต่างประเทศ
- รับชาวต่างประเทศเข้าปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานทีวัดมหาธาตุ และให้ได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
งานนิพนธ์
พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระมหาเถระเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฏก และมีความทรงจำเป็นเลิศ สามารถบอกเรื่องราวต่างๆ ว่าอยู่ในเล่มใด และบางครั้งบอกหน้าหนังสือเล่มนั้นด้วย และท่านยังเป็นนักประพันธ์ที่นิพนธ์เรื่องศาสนาได้รวดเร็ว และได้นิพนธ์ไว้มากมายหลายเรื่อง เฉพาะที่หาข้อมูลได้ แยกบทนิพนธ์ของท่านเป็นประเภท ดังนี้
ประเภทวิปัสสนากรรมฐาน มีหนังสือประมาณ ๒๑ เรื่อง เช่น เรื่องความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน, คำบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน ๙ เล่ม
ประเภทพระธรรมเทศนา มีหนังสือประมาณ ๔ เรื่อง เช่น เรื่องเทศน์คู่อริยสัจ ฯลฯ
ประเภทวิชาการ มีหนังสือประมาณ ๘ เรื่อง เช่น เรื่องอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๑-๙ ฯลฯ
ประเภทสารคดี มีหนังสือประมาณ ๒๐ เรื่อง เช่น เรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก ฯลฯ
ประเภทตอบปัญหาทั่วไป มีหนังสือประมาณ ๕ เรื่อง เช่น ตอบปัญหาเรื่องบุญบาป แลนรกสวรรค์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำขวัญ คำอนุโมทนา คติธรรม เพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ต่างๆ ที่มีผู้ขอมาอีกด้วย
สมณศักดิ์
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (อายุ ๓๖ พรรษา ๑๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะเปรียญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระอุดมวิชาญาณเถระ”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระราชสิทธิมุนี ศรีปิฎกโกศล วิมลปัสสนาจารย์ อุดมวิชาญาณวิจิตร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ (อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ “พระเทพสิทธิมุนี สมถวิธี ธรรมมาจารย์ วิปัสสนาญาณโสภณ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (อายุ ๖๙ พรรษา ๔๘) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีพระราชทินนามว่า “ พระธรรมธีรราชมหามุนี คัมภีรญาณวิมล โสภณธรรมานุสิฐ ตรีปิฎก บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) ได้ถึงแก่มรณภาพ โดยอาการอันสงบในอิริยาบถการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในวันพฤหัสดีที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. รวมสิริอายุได้ ๗๐ ปี ๒ เดือน ๑๕ วัน นำความเศร้าโศก แสนเสียดายอาลัยมาสู่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างยิ่ง
ประวัติย่อเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ท่านทรงบรรทม ไม่หลับต้องเสวยพระโอสถเป็นประจำ และต้องเพิ่มพระโอสถขึ้นนไปเรื่อยๆ จึงจะบรรทมหลับได้ ถ้าจำไม่ผิดก็มีคุณหมอสายหยุด ดิษฐการภักดี (เก่งระดมยิง) เป็นผู้ถวายการแนะนำพระองค์ท่านให้ทรงทราบ จนได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐานที่มณฑปพระบรมธาตุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ เวลา ๑๗.๐๐ น.โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณใหญ่ คือ พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถระ) เป็นผู้ถวายศีล และแนะนำวิธีกราบเบญจางคประดิษฐ์อีกโสดหนึ่ง พระอุดมวิชาญาณเถระ (โชดก ญาณสิทธิเถระ) เป็นผู้ถวายพระกรรมฐาน ถวายการสอบอารมณ์พระกรรมฐานเป็นประจำทุกๆ วัน ที่มณฑปพระบรมธาตุ ในเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้ถวายพระพรให้พระองค์ท่านทรงเลิกเสวยพระโอสถตั้งแต่วันแรก จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณเป็นต้นมา
พระองค์ทรงได้เสด็จมาสอบพระกรรมฐานทุกๆวัน เป็นเวลาประมาณ ๑ เดือนปรากฏว่า พระองค์ทรงสนพระทัยตั้งอกตั้งใจประพฤติปฎิบัติจริงๆ ทรงเพียบพร้อมไปด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ ได้สอบอารมณ์ถวาย ได้อธิบายธรรมถวายตามโอกาสอันควร ได้เพิ่มบทเรียนถวายตั้งแต่ระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖ และเมื่อสภาวธรรมปรากฎชัดดีแล้ว ก็ให้ทรงอธิษฐานไปตามลำดับๆ ดุจหลวงพ่อวัดปากน้ำ จนกระทั่งได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมกันกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภายในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุ
ปรากฏว่า ได้ผลดีมากอยู่ พระองค์ท่านทรงเลิกเสวยพระโอสถแล้วก็บรรทมหลับได้สบายเสมอมา จนมีพระวรกายดีขึ้นมาเรื่อยๆ ใครได้เห็นพระองค์ท่านก็ชมว่า พระองค์มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ดี ผิวพรรณวรรณะดี ทรงเบิกบานพระทัย ทรงยิ้มแย้มแจ่มใสดี บางคนก็ถามว่า พระองค์ทรงเสวยยาอะไร จึงสมบูรณ์ดีอย่างนี้ก็มี ทรงแข็งแกร่ง เสด็จไปบำเพ็ญมหากุศลสาธารณประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าประชาชน ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาธรรมทุกหนแห่ง ดังที่ปรากฏแก่สายตาของสาธุชนอยู่แล้วนั้น
ข้อนี้สมด้วย พระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฏกว่า “ธมฺมจารี สุขํ เสติ” ผู้ปฎิบัติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ดังนี้
ศิษย์เอกของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
สายบรรพชิต คือพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี )
สายฆราวาส คือ คุณแม่ ดร. สิริ กรินชัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วารสาร“อาสภาสาส์น”
http://www.udomwid.org/index.php?mo=59&action=page&id=360582
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เรื่องเล่าจากพระสูตร... ขอนไม้
เรื่องเล่าจากพระสูตร
คำสอนของพระบรมศาสดาที่ทรงสอนภิกษุทั้งหลายในการประพฤติพรหมจรรย์ไว้ในทารุกขันโธปมสูตร ที่ทรงยกเอาขอนไม้ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำมาเป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมะ จึงอยากจะยกมาเป็นเครื่องเตือนสติตนเองและผู้ปฏิบัติธรรมให้ได้รู้เท่าทันอารมณ์ของจิตจะได้รอดพ้นจากภัย ถึงจุดหมายปลายทางดังที่ปรารถนาและเป็นการศึกษาพุทธพจน์ไปด้วย โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า...
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ คงคา เขตกรุงโกสัมพีได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำ คงคา จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำ คงคาหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถึงปัญหาและอุปสรรคที่จะทำ ให้ขอนไม้ล่องลอยไปไม่ถึงจุดหมายคือมหาสมุทรว่า
“ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลางแม่นำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำ ไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่ผุภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ ไหลไปสู่สมุทรได้ เลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ก็เพราะกระแสแม่น้ำคงคาลุ่มไปสู่สมุทร ลาดไปสู่สมุทร ไหลไปสู่สมุทร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้เธอทั้งหลายก็จักน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไรชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร” ดังนี้
พระผู้มีพระภาคจึงได้อธิบายขยายความข้ออุปมาอุปมัยดังต่อไปนี้ว่า
คำ ว่า “ฝั่งนี้” หมายถึง อายตนะภายใน
๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คำว่า “ฝั่งโน้น” หมายถึง อายตนะภายนอก ๖ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
คำว่า “การจมในท่ามกลาง” หมายถึงนันทิราคะ เป็นชื่อของกิเลสที่มีความยินดี หรือความกำ หนัดด้วยอำนาจความยินดี
คำ ว่า “การเกยตื้น” หมายถึง การถือตัวด้วยอำนาจมานะ เป็นหนึ่งในเครื่องผูกคือสังโยชน์เบื้องสูง ที่เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ มานะ หมายถึงความถือตัว ถือตน ทนงตนความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ จึงย่อมก่อให้เกิดการปรุงแต่งกิเลสต่างๆนานา ซึ่งไม่ใช่ มานะตามความหมายในภาษาไทยที่หมายถึง ความพยายาม ความตั้งใจแต่อย่างใด
มานะ ๓ คือ
๑) ความถือตัวว่าเสมอเขา
๒) ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา
๓) ความถือตัวว่าดีกว่าเขา มานะทั้ง ๓ นี้ควรละ
คำว่า “การถูกมนุษย์จับไว้” หมายถึง ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อ เขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำ เกิดขึ้นก็ช่วยทำกิจนั้นด้วยตนเอง นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
คำว่า “การถูกอมนุษย์เข้าสิง” หมายถึง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’ นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง
คำว่า “การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้” หมายถึง ถูกกามคุณ ๕ ประการดึงดูดให้จมปลักอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์อันน่าหลงใหล
คำว่า“ความเน่าภายใน” หมายถึง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล คือไม่มีศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด หมายถึง กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่รหมจารีแต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุแล้ว แต่ยังเรียกตนว่า“เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ยังใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์แต่ภายในชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ อันหมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน
เมื่อตรัสเรื่องนี้จบลง ขณะนั้นนายนันทโคบาล คือคนเลี้ยงโค ได้ยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จักไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“นันทะ ถ้าอย่างนั้นเธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
นายนันทโคบาลได้มอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค หลังจากท่านอุปสมบทได้ไม่นานก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ท่านได้เป็นพระอรหันต์องค์ หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
บทความจาก “อาสภาสาส์น” วารสารรายสี่เดือน ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒๓ ประจำเดือน กันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๓ สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดภัททันตะอาสภาราม
ขอขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เนท
คำสอนของพระบรมศาสดาที่ทรงสอนภิกษุทั้งหลายในการประพฤติพรหมจรรย์ไว้ในทารุกขันโธปมสูตร ที่ทรงยกเอาขอนไม้ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำมาเป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมะ จึงอยากจะยกมาเป็นเครื่องเตือนสติตนเองและผู้ปฏิบัติธรรมให้ได้รู้เท่าทันอารมณ์ของจิตจะได้รอดพ้นจากภัย ถึงจุดหมายปลายทางดังที่ปรารถนาและเป็นการศึกษาพุทธพจน์ไปด้วย โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า...
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ คงคา เขตกรุงโกสัมพีได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำ คงคา จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำ คงคาหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถึงปัญหาและอุปสรรคที่จะทำ ให้ขอนไม้ล่องลอยไปไม่ถึงจุดหมายคือมหาสมุทรว่า
“ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลางแม่นำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำ ไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่ผุภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ ไหลไปสู่สมุทรได้ เลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ก็เพราะกระแสแม่น้ำคงคาลุ่มไปสู่สมุทร ลาดไปสู่สมุทร ไหลไปสู่สมุทร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้เธอทั้งหลายก็จักน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไรชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร” ดังนี้
พระผู้มีพระภาคจึงได้อธิบายขยายความข้ออุปมาอุปมัยดังต่อไปนี้ว่า
คำ ว่า “ฝั่งนี้” หมายถึง อายตนะภายใน
๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คำว่า “ฝั่งโน้น” หมายถึง อายตนะภายนอก ๖ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
คำว่า “การจมในท่ามกลาง” หมายถึงนันทิราคะ เป็นชื่อของกิเลสที่มีความยินดี หรือความกำ หนัดด้วยอำนาจความยินดี
คำ ว่า “การเกยตื้น” หมายถึง การถือตัวด้วยอำนาจมานะ เป็นหนึ่งในเครื่องผูกคือสังโยชน์เบื้องสูง ที่เรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ มานะ หมายถึงความถือตัว ถือตน ทนงตนความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ จึงย่อมก่อให้เกิดการปรุงแต่งกิเลสต่างๆนานา ซึ่งไม่ใช่ มานะตามความหมายในภาษาไทยที่หมายถึง ความพยายาม ความตั้งใจแต่อย่างใด
มานะ ๓ คือ
๑) ความถือตัวว่าเสมอเขา
๒) ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา
๓) ความถือตัวว่าดีกว่าเขา มานะทั้ง ๓ นี้ควรละ
คำว่า “การถูกมนุษย์จับไว้” หมายถึง ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อ เขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำ เกิดขึ้นก็ช่วยทำกิจนั้นด้วยตนเอง นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
คำว่า “การถูกอมนุษย์เข้าสิง” หมายถึง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’ นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง
คำว่า “การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้” หมายถึง ถูกกามคุณ ๕ ประการดึงดูดให้จมปลักอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและอารมณ์อันน่าหลงใหล
คำว่า“ความเน่าภายใน” หมายถึง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล คือไม่มีศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด หมายถึง กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่รหมจารีแต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุแล้ว แต่ยังเรียกตนว่า“เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ยังใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์แต่ภายในชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ อันหมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน
เมื่อตรัสเรื่องนี้จบลง ขณะนั้นนายนันทโคบาล คือคนเลี้ยงโค ได้ยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จักไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“นันทะ ถ้าอย่างนั้นเธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
นายนันทโคบาลได้มอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค หลังจากท่านอุปสมบทได้ไม่นานก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ท่านได้เป็นพระอรหันต์องค์ หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
บทความจาก “อาสภาสาส์น” วารสารรายสี่เดือน ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒๓ ประจำเดือน กันยายน -ธันวาคม ๒๕๕๓ สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดภัททันตะอาสภาราม
ขอขอบคุณภาพจาก อินเทอร์เนท
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ท่านปรมาจารย์ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ พระอาจารย์เชมเย สยาดอ
ชีวประวัติโดยย่อของท่านปรมาจารย์ อาชิน ชะนะกาภิวังสะเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน เชมเย เยกต้า นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ชื่อ/ฉายา :พระอาจารย์ เชมเย สยาดอ
ประวัติ :
ท่านอาจารย์ อาชิน ชะนะกะ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ณ หมู่บ้าน พยินมา จังหวัดตองทวิงยิ ประเทศพม่า ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คนของ อู ฟยู มิน (บิดา) และ ดอว์ ชเว ยี (มารดา) บิดามารดาของท่านอาจารย์เป็นกสิกรเจ้าของผืนนากว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์
จากวัยเยาว์สู่ร่มกาสาวพัสตร์
ในวัยเยาว์ ท่านสนุกสนานอย่างอิสระอยู่ในไร่นา และช่วยบิดามารดาในกิจกรรมที่เด็กพึงจะทำได้ ท่ามกลางธรรมชาติของผืนนานี่เองที่ท่านได้เริ่มเรียนรู้กฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติที่ผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ประสบการณ์ที่ เด็ก ๆในไร่นาเท่านั้นจะได้สัมผัส บิดาของท่านขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธายิ่งในพระพุทธศาสนา ได้ดูแลสั่งสอนบุตรธิดาอย่างเหมาะสม มิได้เข้มงวดจนเกินไป แต่ก็หาได้หย่อนยานในการอบรมไม่ ส่วนมารดาของท่านก็เป็นสตรีผู้มีความอ่อนโยน เอื้ออารีต่อทุกคนโดยรอบอยู่เป็นนิจ
เมื่อถึงวัยเข้าเรียน ท่านอาจารย์เริ่มต้นชีวิตการศึกษาที่โรงเรียนปฐมศึกษา ปยินมา ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐ จากนั้นก็มาต่อการศึกษาชั้นกลางที่โรงเรียน วัดเตายา เพียกมัน จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรภายใต้การอบรมสั่งสอนของพระเดชพระคุณ อู มาละวังสะ เจ้าอาวาส วัดเตายา เพียกมัน ผู้มอบฉายาทางธรรมให้ท่านว่า ชิน ชะนะกะ
แม้จะเป็นเพียงสามเณร แต่ท่านก็มีความสนใจใคร่รู้ในธรรมะอย่างมาก ท่านอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาคัมภีร์พระบาลี(ไตรปิฏก)อย่างลึกซึ้ง และยังได้ศึกษาคัมภีร์อังคุตตรนิกาย(ภาษิตสั้นๆ)ด้วยตนเองอีกด้วย จากความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาทำให้ความรู้ของท่านแตกฉานยิ่งในแง่มุมต่างๆของธรรมะในพระไตรปิฎก จนกระทั่งครูบาอาจารย์ของท่านมอบหมายให้ท่านสอนนักเรียนอื่นๆด้วย แม้ว่าท่านจะยังเป็นเพียงสามเณรอยู่ก็ตาม
สามเณร ชิน ชะนะกะ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ อาชิน ชะนะกะ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยมีพระเดชพระคุณ อาจารย์ อู ปทุมะ แห่งวัดเตายาเพียกมัน เป็นพระอุปัชฌาย์
การศึกษาที่สำคัญ
หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่าน อาชิน ชะนะกะ ก็ได้ทุ่มเทศึกษาพระบาลีขั้นสูงต่อ โดยได้รับการสั่งสอนจากท่านอาจารย์สำคัญ ๆ ผู้มีชื่อเสียงหลายท่านด้วยกัน อาทิ
ท่านอาจารย์ สิ-ชิน แห่งมหาวิสุทธาราม มหาวิทยาลัยสงฆ์ฝั่งตะวันตกของมัณฑเลย์
ท่านอาจารย์ อู ชาเนยยพุทธิ
ท่านอาจารย์ อู สุวัณณโชติ แห่งอโสการาม
ท่านอาจารย์ อู อานันทปัณฑิตา จาก พาราณสี
ท่านอาจารย์ อู วาสวะ จาก ถันเดาสินทะ
เพียงศึกษาต่อมาไม่นาน ท่านก็สอบผ่านหลักสูตรต่าง ๆ อย่างง่ายดายโดยลำดับ ตั้งแต่หลักสูตรการศึกษาชั้นต้น (ปฐมแง) การศึกษาชั้นสูง(ปฐมจยี) และ หลักสูตรของสมาคมสักยสีหะ (พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2495 ด้วยวัยเพียง 24 ปี .
ท่านได้สอบผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบาลี(ซึ่งรัฐบาลรับรอง) ด้วยคะแนนยอดเยี่ยมถึง 5 วิชา และในกลางปีนั้นเอง ท่านได้เข้าเป็นอาจารย์บรรยายที่มหาวิทยาลัย มหาวิสุทธาราม ย่างเข้าวัยเพียง 27 ปี ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นขั้น ภิวังสะ(ภิวงศ์) โดย Pariyatti Sasana Hita Association of Mandalay สมณศักดิ์นี้จะมอบเป็นเกียรติเฉพาะพระภิกษุที่มีความรู้แตกฉานและมีความเชี่ยวชาญสูงยิ่งในพระไตรปิฎก อรรถกถา และ ฎีกาเท่านั้น
ผู้คนจึงเรียกขานท่านว่า อาชิน ชะนะกาภิวังสะ( ชะนะกาภิวงศ์) นับแต่นั้นมา
ท่านได้รับมอบหมายให้มีส่วนช่วยเหลือพุทธสมาคม ถึง 6 แห่ง ในการตรวจทานบาลีปกรณ์ หลังจากนั้นจึงได้เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับพระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ จากมเยือง-มยา
ปี พ.ศ. 2500 ท่านเดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี และภาษาสิงหล ที่วัดมหาวิสุทธารามกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เป็นเวลาเกือบ 6 ปี
ระหว่างนั้น ท่านได้สอบผ่านหลักสูตร London GCE ระดับ A ด้วย ที่กรุงโคลัมโบ มหาวิทยาลัยวิทโยทยะ สถาบันการศาสนาซึ่งอุปถัมภ์โดยรัฐบาลศรีลังกาได้เสนอให้ท่านเป็นผู้บรรยายอภิธรรมในการสอนทางไปรษณีย์ แต่เนื่องจากล้มป่วยลง ท่านจึงจำต้องปฏิเสธ
ศึกษากับ ปรมาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐาน มหาสี สยาดอ
แม้ว่าก่อนหน้านี้ ท่านจะได้ศึกษาและฝึกฝนการปฏิบัติสมถกรรมฐานมาบ้างแล้ว แต่ในปีพ.ศ. 2496 ขณะที่ท่านอายุได้ 25 ปี ท่านได้มีโอกาสพบกับปรมาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมหาสี สยาดอ และได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเข้มข้นที่สำนักวิปัสสนากรรมฐาน มหาสี สาสนะ เยกต้า นครย่างกุ้ง ภายใต้การอบรมดูแลของท่านอาจารย์ใหญ่ พระเดชพระคุณ มหาสี สยาดอ เป็นเวลาติดต่อกันนานถึง 4 เดือน
และในกาลต่อมา ท่านคือหนึ่งใน 5 ศิษย์เอกของท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ ท่านได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยในการจัดพิมพ์หนังสือของท่านมหาสี สยาดอ หลายเล่มด้วยกัน
ในปี พ.ศ. 2510 เมื่ออายุได้ 39 ปี ท่านเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน(นายะกะ สยาดอ) ที่สำนัก มหาสี สาสนะ เยกต้า โดยการถ่ายทอดความรู้จากท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ ผู้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ
ในขณะนั้น นิตยสาร World Buddhism ซึ่งตีพิมพ์ที่กรุงโคลัมโบ ได้ลงบทความวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติกรรมฐานในแนวของท่านมหาสี สยาดอ ว่าไม่เป็นไปตามพระคัมภีร์ ทั้งยังได้ท้าทายให้มีการพิสูจน์ความถูกต้องอีกด้วย ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ จึงได้เขียนบทความโต้ตอบคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น และได้โน้มน้าวให้ผู้อ่านพิสูจน์สัจจธรรม นิตยสาร World Buddhism ได้นำลงบทความโต้ตอบของท่านอย่างต่อเนื่องนานถึง 15 เดือน
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมในแนวมหาสีของท่านเองมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้บทความโต้ตอบของท่านมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และได้ช่วยสลายความลังเลสงสัยที่เคยมีอยู่จนหมดสิ้น
ความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวมหาสีได้แพร่หลายกว้างขวางออกไป ไม่เพียงชาวพม่าเท่านั้นที่ให้ความสนใจ หากแต่มีชาวพุทธในเอเซียและซีกโลกตะวันตกเริ่มทยอยหลั่งไหลเข้ามาสู่สำนักวิปัสสนา มหาสี สาสนะ เยกต้า เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนที่ท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ จะละสังขารไม่นานนัก ท่านอาจารย์ใหญ่ได้รับเชิญให้จาริกเผยแพร่พระพุทธศาสนาและแนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่านในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีพ.ศ. 2522-2523 ท่านได้เลือกให้ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ร่วมเดินทางกับคณะธรรมฑูตของท่านด้วย ประหนึ่งจะเป็นการเพาะเมล็ดพันธ์ไว้ให้ท่านได้จาริกสั่งสอนและเผยแพร่ธรรมะไปทั่วโลกต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลากว่า 24 ปีแล้ว (ขณะที่รวบรวมชีวประวัติของท่านอยู่นี้ เป็นปี พ.ศ. 2547 ด้วยวัย 76 ปีของท่าน ท่านอาชิน ชะนะกาภังสะ ก็ยังคงเปี่ยมด้วยเมตตาเดินทางเผยแพร่ธรรมะและสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปทั่วทุกทวีปถึง 28 ประเทศ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย)
ปัจจุบัน ณ ปี พ.ศ. 2555 ท่านมีอายุ 85 ปี
ก่อตั้งสำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า
ในสายปฏิบัติ ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้ทำหน้าที่เป็น กัมมัฏฐานาจริยะ
ที่สำนัก มหาสี สาสนะ เยกต้า เป็นเวลา 5 ปี(พ.ศ. 2512-2517)
และที่สำนัก ยะทะโพน สาสนะ เยกต้า เมืองมัณฑเลย์ อีกหนึ่งปีครึ่ง(พ.ศ. 2517-2519)
จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันบริจาคที่ดินและทรัพย์ในการสร้างอาคาร ก่อตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งใหม่ และนิมนต์ให้ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ มาเป็นเจ้าสำนัก ท่านได้ตั้งชื่อศูนย์แห่งใหม่นี้ว่า สำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า (เชมเย แปลว่า สงบ สันติ) นับแต่นั้นมาผู้คนจึงกล่าวขานถึงท่านด้วยตำแหน่งว่า ท่าน เชมเย สยาดอ ( เจ้าสำนัก เชมเย เยกต้า) ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งเป็นกัมมัฏฐานาจริยะในด้านปฏิบัติ และเป็นอาจารย์สอนปริยัติอีกด้วย
สำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า มีชื่อเสียงกว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศพม่า และต่างประเทศ จึงได้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ผู้มีจิตศรัทธาในนครย่างกุ้งและเมืองมอบีได้ร่วมกันบริจาคที่ดิน 15 เอเคอร์ท่ามกลางป่าโปร่ง สร้างเป็นสำนักวิปัสสนา สาขามอบี อันเงียบสงัด ร่มเย็น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งขึ้น
ทุกวันนี้ ท่าน เชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ปกครองดูแลสำนักวิปัสสนาเชมเย เยกต้า และสาขาต่างๆ ทั้งที่ มอบี, ปิน อู ลวิน(เมมิ้ว), เล เวย์, เมอ กาวง์, ฮิน ธาดา และ ตองยี อีกทั้งยังมีสำนักสาขาอยู่ในต่างประเทศ ทั้งที่เมือง แวนคูเวอร์ และ คาลการี่ ประเทศแคนาดา, อาฟริกาใต้ และประเทศไทย
ผลงานที่สำคัญยิ่ง
ในปี พ.ศ. 2497 ด้วยวัยเพียง 26 ปี ท่านได้รับเชิญจากองค์การพุทธศาสนาแห่งรัฐ ให้รับหน้าที่บาลีวิโสธกะ ในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 6
ปีพ.ศ. 2506 หลังจากเดินทางกลับจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา องค์การพุทธศาสนาแห่งรัฐได้เชิญให้ท่านพำนักที่ กบา เอ และทำหน้าที่บรรณาธิการในการพิมพ์ตำราพระบาลี ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เขียนคำนำ ยาวถึง 40 หน้า และเป็นผู้อ่านตรวจทานต้นฉบับหนังสือ “วิสุทธิมัคคมหาฎีกา นิสสยะ” ที่รจนาโดย ท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ
ขณะที่พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่ มหาสี สยาดอ อยู่ในระหว่างรับการผ่าตัดรักษาดวงตาอยู่นั้น ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้เขียนหนังสือ “วิสุทธิมัคค ในพม่า”(Visuddhimagga In Myanmar” ซึ่งเป็นการเขียนในนามของ ท่านอาจารย์ มหาสี สยาดอ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2521-2523 ท่านมีรายการสนทนาธรรมทางวิทยุ ในรายการชื่อ “บรรลุสู่สันติสุขนิรันดรด้วยสัมมาทิฏฐิ” ตามคำขอของกระทรวงการศาสนา การสนทนานี้ได้มีการนำมาจัดพิมพ์รวมเล่มขึ้นในภายหลัง เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ท่านได้สร้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการเทศน์อันควรค่าแก่การจารึกไว้ โดย สมาคมชาวคริสเตียนแห่งกเล็มโยได้นิมนต์ให้ท่านเทศน์เรื่อง สันติภาพและความสุข การเทศน์กินเวลาต่อเนื่องถึง 3 วัน มีผู้เข้าฟังกว่า 6,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริสเตียน นับเป็นการเทศน์ที่ได้รับความสำเร็จควรค่าแก่การจดจำ ทั้งยังผลโน้มน้าวจูงใจท่านนายก อู มันกยิน แห่งกเล็มโย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ จนสนใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากกรรมฐานอย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลสั่งสอนของท่าน หลังจากนั้น ได้กลับมานับถือพุทธศาสนาและบวชเป็นพระภิกษุอยู่ระยะหนึ่งด้วย ต่อมาภายหลังได้มีการรวบรวมบทความจากการเทศน์นี้จัดพิมพ์เป็นหนังสือออกมาแล้วกว่า 54,000 เล่ม
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2525 ท่านได้แสดงปาฐกถาที่วิหารชาวพุทธ นครลอนดอน เรื่อง อุปมาแห่งท่อนซุง (Parable of The Log) เป็นที่ไพเราะจับใจ จึงได้มีการนำบันทึกการแสดงธรรมครั้งนั้นมาตีพิมพ์ในวารสารชื่อ Buddhist Forum ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์อีกหลายครั้ง และมีการแปลเป็นหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย
ในปี พ.ศ. 2525-2526 ท่านได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาธรรมที่มหาวิทยาลัย 2 แห่งในสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ มหาวิทยาลัย Western Illinois ในปี พ.ศ. 2525 และที่มหาวิทยาลัย ฮาวาย ในปี พ.ศ. 2526
ท่านเชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ เริ่มเดินทางเข้ามาเผยแพร่ธรรมะและสั่งสอนอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวมหาสี ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2534 และยังคงมีเมตตาเดินทางมาสอนอย่างต่อเนื่องปีละครั้งทุกปีจนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งและเกียรติประวัติ ด้วยผลงานมากมายเกินคำบรรยายที่ท่านเชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้ทุ่มเทเพื่องานเผยแพร่ธรรมะมาโดยตลอด จึงได้มีการถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติให้ท่านมากมาย อาทิ ในปีพ.ศ.2537 ได้ถวายตำแหน่ง Agga-Maha-Saddhamma Jotikadhaja (แปลว่า ปรมาจารย์แห่งแสงธรรม)
และปี พ.ศ. 2538 ได้ถวายตำแหน่ง อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ (แปลว่า ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานกัมมัฏฐาน)
ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและกตเวทิตาคุณต่อท่านที่ได้ทุ่มเททำงานเผยแพร่พุทธธรรมอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยตลอดมา
นอกจากจะเป็นบรมครู ผู้เชี่ยวชาญยิ่งในการอบรมวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังมีชื่อเสียงในการสอน เมตตาภาวนา อีกด้วย ท่านได้ประยุกต์การเจริญกรรมฐานทั้งแบบสมถะและวิปัสสนา เข้าด้วยกัน ฃ่วยให้กายผ่อนคลาย ใจสงบ กระจ่างใส สมาธิก้าวหน้าไว เกิดปัญญาญาณเป็นที่น่าพึงพอใจ
ท่านดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ตลอดมา ท่านจาริกไปทั่วประเทศพม่า ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ แม้จะกันดารยากลำบากเพียงใดก็ตาม ทั้งยังเมตตาขยายสำนักของเชมเย ยิกต้า ทั้งที่เมือง ฮินตะดา ตองยี แลเว ตะมู เปียน อูลวิน และมอบี รวม 7 สำนัก ทุกแห่งสร้างขึ้นบนผืนดินที่ศิษยานุศิษย์ถวายทั้งสิ้น
ในต่างประเทศ กว่า 30 ปี ท่านอาจารย์จาริกธรรมยาตราแล้วกว่า 40 ครั้ง ในกว่า 30 ประเทศ ทุกทวีปทั่วโลก เปิดการอบรมในต่างประเทศกว่า 200 ครั้ง
ในปี พ.ศ. 2534 ศิษย์ชาวไทยที่เคยอบรมกับท่านที่ประเทศพม่าได้อาราธนานิมนต์ท่านมาสอนในเมืองไทยครั้งแรก โดยมีกรรมการบริหารและวิทยากรของยุวพุทธิกสมาคม เข้าร่วมอบรมด้วย และท่านได้เมตตามาเปิดการอบรมที่ยุวพุทธิกสมาคม ปีละ 15 วัน ทุกปีมิได้ขาด ท่านยังเมตตาไปสอนชาวเชียงใหม่ที่บ้านพพอ อำเภอแม่ริม และมูลนิธิศูนย์วิปัสสนา จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายครั้ง ที่จังหวัดภูเก็ต ท่านเปิดการอบรมที่วัดสัฏฐิสนาราม และศูนย์ปฎินิสสัคโค ปีละครั้งจนถึง พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดชลบุรี ท่านรับนิมนต์จากพระมหาทองมั่น สุทธจิตโต ไปเปิดวิปัสสนากรรมฐานที่วิเวกอาศรม 2 ปี ติดกัน ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีผู้น้อมถวายสถานที่ในจังหวัดนครปฐมให้ก่อตั้งเป็นสำนักสาขาในเมืองไทย ชื่อว่าสำนักวิปัสสนากรรมฐานธัมโมทยะ
แม้ภาระจะหนักแสนหนัก ท่านอาจารย์ยังคงสงบเบิกบาน อิ่มเอิบด้วยเมตตา ความรักธรรมชาติ อ่อนโยนต่อทุกสรรพชีวิต เป็นภาพที่คุ้นตาของศิษยานุศิษย์เสมอมา บ่งบอกถึงจิตอันเป็นอิสระจากห้วงกิเลศที่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นความพิสุทธิ์สูงส่ง ดุจประทีปส่องทางที่ศฺษญ์ทุกคนพึงน้อมไว้เป็นแบบอย่างแห่งชีวิต ดังสมณศักดิ์ที่รัฐบาลพม่าน้อมถวายไว้ว่า " พระชนกาภิวงศ์ อัครมหาสัทธัมมโชติกะธชะ " ซึ่งแปลว่า "ปรมาจารย์ผู้เป็นธงชัยแห่งแสงธรรม"
ที่มาของข้อมูล
http://bhaddanta.blogspot.com/2005/09/3_112746913639980816.html โดยพระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต
หนังสือสนทนาธรรม กับพระอาจารย์เชมเย สยาดอ จากนิตยสารประเทศสิงคโปร์ แปลโดย คุณพรกนก วิภูษณวรรณ
ชื่อ/ฉายา :พระอาจารย์ เชมเย สยาดอ
ประวัติ :
ท่านอาจารย์ อาชิน ชะนะกะ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ณ หมู่บ้าน พยินมา จังหวัดตองทวิงยิ ประเทศพม่า ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คนของ อู ฟยู มิน (บิดา) และ ดอว์ ชเว ยี (มารดา) บิดามารดาของท่านอาจารย์เป็นกสิกรเจ้าของผืนนากว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์
จากวัยเยาว์สู่ร่มกาสาวพัสตร์
ในวัยเยาว์ ท่านสนุกสนานอย่างอิสระอยู่ในไร่นา และช่วยบิดามารดาในกิจกรรมที่เด็กพึงจะทำได้ ท่ามกลางธรรมชาติของผืนนานี่เองที่ท่านได้เริ่มเรียนรู้กฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติที่ผันเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ประสบการณ์ที่ เด็ก ๆในไร่นาเท่านั้นจะได้สัมผัส บิดาของท่านขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธายิ่งในพระพุทธศาสนา ได้ดูแลสั่งสอนบุตรธิดาอย่างเหมาะสม มิได้เข้มงวดจนเกินไป แต่ก็หาได้หย่อนยานในการอบรมไม่ ส่วนมารดาของท่านก็เป็นสตรีผู้มีความอ่อนโยน เอื้ออารีต่อทุกคนโดยรอบอยู่เป็นนิจ
เมื่อถึงวัยเข้าเรียน ท่านอาจารย์เริ่มต้นชีวิตการศึกษาที่โรงเรียนปฐมศึกษา ปยินมา ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐ จากนั้นก็มาต่อการศึกษาชั้นกลางที่โรงเรียน วัดเตายา เพียกมัน จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรภายใต้การอบรมสั่งสอนของพระเดชพระคุณ อู มาละวังสะ เจ้าอาวาส วัดเตายา เพียกมัน ผู้มอบฉายาทางธรรมให้ท่านว่า ชิน ชะนะกะ
แม้จะเป็นเพียงสามเณร แต่ท่านก็มีความสนใจใคร่รู้ในธรรมะอย่างมาก ท่านอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาคัมภีร์พระบาลี(ไตรปิฏก)อย่างลึกซึ้ง และยังได้ศึกษาคัมภีร์อังคุตตรนิกาย(ภาษิตสั้นๆ)ด้วยตนเองอีกด้วย จากความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาทำให้ความรู้ของท่านแตกฉานยิ่งในแง่มุมต่างๆของธรรมะในพระไตรปิฎก จนกระทั่งครูบาอาจารย์ของท่านมอบหมายให้ท่านสอนนักเรียนอื่นๆด้วย แม้ว่าท่านจะยังเป็นเพียงสามเณรอยู่ก็ตาม
สามเณร ชิน ชะนะกะ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ อาชิน ชะนะกะ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยมีพระเดชพระคุณ อาจารย์ อู ปทุมะ แห่งวัดเตายาเพียกมัน เป็นพระอุปัชฌาย์
การศึกษาที่สำคัญ
หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่าน อาชิน ชะนะกะ ก็ได้ทุ่มเทศึกษาพระบาลีขั้นสูงต่อ โดยได้รับการสั่งสอนจากท่านอาจารย์สำคัญ ๆ ผู้มีชื่อเสียงหลายท่านด้วยกัน อาทิ
ท่านอาจารย์ สิ-ชิน แห่งมหาวิสุทธาราม มหาวิทยาลัยสงฆ์ฝั่งตะวันตกของมัณฑเลย์
ท่านอาจารย์ อู ชาเนยยพุทธิ
ท่านอาจารย์ อู สุวัณณโชติ แห่งอโสการาม
ท่านอาจารย์ อู อานันทปัณฑิตา จาก พาราณสี
ท่านอาจารย์ อู วาสวะ จาก ถันเดาสินทะ
เพียงศึกษาต่อมาไม่นาน ท่านก็สอบผ่านหลักสูตรต่าง ๆ อย่างง่ายดายโดยลำดับ ตั้งแต่หลักสูตรการศึกษาชั้นต้น (ปฐมแง) การศึกษาชั้นสูง(ปฐมจยี) และ หลักสูตรของสมาคมสักยสีหะ (พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2495 ด้วยวัยเพียง 24 ปี .
ท่านได้สอบผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบาลี(ซึ่งรัฐบาลรับรอง) ด้วยคะแนนยอดเยี่ยมถึง 5 วิชา และในกลางปีนั้นเอง ท่านได้เข้าเป็นอาจารย์บรรยายที่มหาวิทยาลัย มหาวิสุทธาราม ย่างเข้าวัยเพียง 27 ปี ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นขั้น ภิวังสะ(ภิวงศ์) โดย Pariyatti Sasana Hita Association of Mandalay สมณศักดิ์นี้จะมอบเป็นเกียรติเฉพาะพระภิกษุที่มีความรู้แตกฉานและมีความเชี่ยวชาญสูงยิ่งในพระไตรปิฎก อรรถกถา และ ฎีกาเท่านั้น
ผู้คนจึงเรียกขานท่านว่า อาชิน ชะนะกาภิวังสะ( ชะนะกาภิวงศ์) นับแต่นั้นมา
ท่านได้รับมอบหมายให้มีส่วนช่วยเหลือพุทธสมาคม ถึง 6 แห่ง ในการตรวจทานบาลีปกรณ์ หลังจากนั้นจึงได้เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับพระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ จากมเยือง-มยา
ปี พ.ศ. 2500 ท่านเดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี และภาษาสิงหล ที่วัดมหาวิสุทธารามกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เป็นเวลาเกือบ 6 ปี
ระหว่างนั้น ท่านได้สอบผ่านหลักสูตร London GCE ระดับ A ด้วย ที่กรุงโคลัมโบ มหาวิทยาลัยวิทโยทยะ สถาบันการศาสนาซึ่งอุปถัมภ์โดยรัฐบาลศรีลังกาได้เสนอให้ท่านเป็นผู้บรรยายอภิธรรมในการสอนทางไปรษณีย์ แต่เนื่องจากล้มป่วยลง ท่านจึงจำต้องปฏิเสธ
ศึกษากับ ปรมาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐาน มหาสี สยาดอ
แม้ว่าก่อนหน้านี้ ท่านจะได้ศึกษาและฝึกฝนการปฏิบัติสมถกรรมฐานมาบ้างแล้ว แต่ในปีพ.ศ. 2496 ขณะที่ท่านอายุได้ 25 ปี ท่านได้มีโอกาสพบกับปรมาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมหาสี สยาดอ และได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเข้มข้นที่สำนักวิปัสสนากรรมฐาน มหาสี สาสนะ เยกต้า นครย่างกุ้ง ภายใต้การอบรมดูแลของท่านอาจารย์ใหญ่ พระเดชพระคุณ มหาสี สยาดอ เป็นเวลาติดต่อกันนานถึง 4 เดือน
และในกาลต่อมา ท่านคือหนึ่งใน 5 ศิษย์เอกของท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ ท่านได้ทำหน้าที่ผู้ช่วยในการจัดพิมพ์หนังสือของท่านมหาสี สยาดอ หลายเล่มด้วยกัน
ในปี พ.ศ. 2510 เมื่ออายุได้ 39 ปี ท่านเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน(นายะกะ สยาดอ) ที่สำนัก มหาสี สาสนะ เยกต้า โดยการถ่ายทอดความรู้จากท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ ผู้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ
ในขณะนั้น นิตยสาร World Buddhism ซึ่งตีพิมพ์ที่กรุงโคลัมโบ ได้ลงบทความวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติกรรมฐานในแนวของท่านมหาสี สยาดอ ว่าไม่เป็นไปตามพระคัมภีร์ ทั้งยังได้ท้าทายให้มีการพิสูจน์ความถูกต้องอีกด้วย ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ จึงได้เขียนบทความโต้ตอบคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น และได้โน้มน้าวให้ผู้อ่านพิสูจน์สัจจธรรม นิตยสาร World Buddhism ได้นำลงบทความโต้ตอบของท่านอย่างต่อเนื่องนานถึง 15 เดือน
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมในแนวมหาสีของท่านเองมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้บทความโต้ตอบของท่านมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และได้ช่วยสลายความลังเลสงสัยที่เคยมีอยู่จนหมดสิ้น
ความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวมหาสีได้แพร่หลายกว้างขวางออกไป ไม่เพียงชาวพม่าเท่านั้นที่ให้ความสนใจ หากแต่มีชาวพุทธในเอเซียและซีกโลกตะวันตกเริ่มทยอยหลั่งไหลเข้ามาสู่สำนักวิปัสสนา มหาสี สาสนะ เยกต้า เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนที่ท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ จะละสังขารไม่นานนัก ท่านอาจารย์ใหญ่ได้รับเชิญให้จาริกเผยแพร่พระพุทธศาสนาและแนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่านในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีพ.ศ. 2522-2523 ท่านได้เลือกให้ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ร่วมเดินทางกับคณะธรรมฑูตของท่านด้วย ประหนึ่งจะเป็นการเพาะเมล็ดพันธ์ไว้ให้ท่านได้จาริกสั่งสอนและเผยแพร่ธรรมะไปทั่วโลกต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลากว่า 24 ปีแล้ว (ขณะที่รวบรวมชีวประวัติของท่านอยู่นี้ เป็นปี พ.ศ. 2547 ด้วยวัย 76 ปีของท่าน ท่านอาชิน ชะนะกาภังสะ ก็ยังคงเปี่ยมด้วยเมตตาเดินทางเผยแพร่ธรรมะและสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปทั่วทุกทวีปถึง 28 ประเทศ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย)
ปัจจุบัน ณ ปี พ.ศ. 2555 ท่านมีอายุ 85 ปี
ก่อตั้งสำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า
ในสายปฏิบัติ ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้ทำหน้าที่เป็น กัมมัฏฐานาจริยะ
ที่สำนัก มหาสี สาสนะ เยกต้า เป็นเวลา 5 ปี(พ.ศ. 2512-2517)
และที่สำนัก ยะทะโพน สาสนะ เยกต้า เมืองมัณฑเลย์ อีกหนึ่งปีครึ่ง(พ.ศ. 2517-2519)
จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีบุคคลหลายฝ่ายร่วมกันบริจาคที่ดินและทรัพย์ในการสร้างอาคาร ก่อตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งใหม่ และนิมนต์ให้ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ มาเป็นเจ้าสำนัก ท่านได้ตั้งชื่อศูนย์แห่งใหม่นี้ว่า สำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า (เชมเย แปลว่า สงบ สันติ) นับแต่นั้นมาผู้คนจึงกล่าวขานถึงท่านด้วยตำแหน่งว่า ท่าน เชมเย สยาดอ ( เจ้าสำนัก เชมเย เยกต้า) ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งเป็นกัมมัฏฐานาจริยะในด้านปฏิบัติ และเป็นอาจารย์สอนปริยัติอีกด้วย
สำนักวิปัสสนา เชมเย เยกต้า มีชื่อเสียงกว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศพม่า และต่างประเทศ จึงได้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ผู้มีจิตศรัทธาในนครย่างกุ้งและเมืองมอบีได้ร่วมกันบริจาคที่ดิน 15 เอเคอร์ท่ามกลางป่าโปร่ง สร้างเป็นสำนักวิปัสสนา สาขามอบี อันเงียบสงัด ร่มเย็น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งขึ้น
ทุกวันนี้ ท่าน เชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ปกครองดูแลสำนักวิปัสสนาเชมเย เยกต้า และสาขาต่างๆ ทั้งที่ มอบี, ปิน อู ลวิน(เมมิ้ว), เล เวย์, เมอ กาวง์, ฮิน ธาดา และ ตองยี อีกทั้งยังมีสำนักสาขาอยู่ในต่างประเทศ ทั้งที่เมือง แวนคูเวอร์ และ คาลการี่ ประเทศแคนาดา, อาฟริกาใต้ และประเทศไทย
ผลงานที่สำคัญยิ่ง
ในปี พ.ศ. 2497 ด้วยวัยเพียง 26 ปี ท่านได้รับเชิญจากองค์การพุทธศาสนาแห่งรัฐ ให้รับหน้าที่บาลีวิโสธกะ ในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 6
ปีพ.ศ. 2506 หลังจากเดินทางกลับจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา องค์การพุทธศาสนาแห่งรัฐได้เชิญให้ท่านพำนักที่ กบา เอ และทำหน้าที่บรรณาธิการในการพิมพ์ตำราพระบาลี ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เขียนคำนำ ยาวถึง 40 หน้า และเป็นผู้อ่านตรวจทานต้นฉบับหนังสือ “วิสุทธิมัคคมหาฎีกา นิสสยะ” ที่รจนาโดย ท่านปรมาจารย์ มหาสี สยาดอ
ขณะที่พระเดชพระคุณ พระอาจารย์ใหญ่ มหาสี สยาดอ อยู่ในระหว่างรับการผ่าตัดรักษาดวงตาอยู่นั้น ท่าน อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้เขียนหนังสือ “วิสุทธิมัคค ในพม่า”(Visuddhimagga In Myanmar” ซึ่งเป็นการเขียนในนามของ ท่านอาจารย์ มหาสี สยาดอ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2521-2523 ท่านมีรายการสนทนาธรรมทางวิทยุ ในรายการชื่อ “บรรลุสู่สันติสุขนิรันดรด้วยสัมมาทิฏฐิ” ตามคำขอของกระทรวงการศาสนา การสนทนานี้ได้มีการนำมาจัดพิมพ์รวมเล่มขึ้นในภายหลัง เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ท่านได้สร้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการเทศน์อันควรค่าแก่การจารึกไว้ โดย สมาคมชาวคริสเตียนแห่งกเล็มโยได้นิมนต์ให้ท่านเทศน์เรื่อง สันติภาพและความสุข การเทศน์กินเวลาต่อเนื่องถึง 3 วัน มีผู้เข้าฟังกว่า 6,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริสเตียน นับเป็นการเทศน์ที่ได้รับความสำเร็จควรค่าแก่การจดจำ ทั้งยังผลโน้มน้าวจูงใจท่านนายก อู มันกยิน แห่งกเล็มโย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ จนสนใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากกรรมฐานอย่างเข้มข้นภายใต้การดูแลสั่งสอนของท่าน หลังจากนั้น ได้กลับมานับถือพุทธศาสนาและบวชเป็นพระภิกษุอยู่ระยะหนึ่งด้วย ต่อมาภายหลังได้มีการรวบรวมบทความจากการเทศน์นี้จัดพิมพ์เป็นหนังสือออกมาแล้วกว่า 54,000 เล่ม
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2525 ท่านได้แสดงปาฐกถาที่วิหารชาวพุทธ นครลอนดอน เรื่อง อุปมาแห่งท่อนซุง (Parable of The Log) เป็นที่ไพเราะจับใจ จึงได้มีการนำบันทึกการแสดงธรรมครั้งนั้นมาตีพิมพ์ในวารสารชื่อ Buddhist Forum ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์อีกหลายครั้ง และมีการแปลเป็นหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย
ในปี พ.ศ. 2525-2526 ท่านได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาธรรมที่มหาวิทยาลัย 2 แห่งในสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ มหาวิทยาลัย Western Illinois ในปี พ.ศ. 2525 และที่มหาวิทยาลัย ฮาวาย ในปี พ.ศ. 2526
ท่านเชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ เริ่มเดินทางเข้ามาเผยแพร่ธรรมะและสั่งสอนอบรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวมหาสี ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2534 และยังคงมีเมตตาเดินทางมาสอนอย่างต่อเนื่องปีละครั้งทุกปีจนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งและเกียรติประวัติ ด้วยผลงานมากมายเกินคำบรรยายที่ท่านเชมเย สยาดอ อาชิน ชะนะกาภิวังสะ ได้ทุ่มเทเพื่องานเผยแพร่ธรรมะมาโดยตลอด จึงได้มีการถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติให้ท่านมากมาย อาทิ ในปีพ.ศ.2537 ได้ถวายตำแหน่ง Agga-Maha-Saddhamma Jotikadhaja (แปลว่า ปรมาจารย์แห่งแสงธรรม)
และปี พ.ศ. 2538 ได้ถวายตำแหน่ง อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ (แปลว่า ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานกัมมัฏฐาน)
ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและกตเวทิตาคุณต่อท่านที่ได้ทุ่มเททำงานเผยแพร่พุทธธรรมอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยตลอดมา
นอกจากจะเป็นบรมครู ผู้เชี่ยวชาญยิ่งในการอบรมวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังมีชื่อเสียงในการสอน เมตตาภาวนา อีกด้วย ท่านได้ประยุกต์การเจริญกรรมฐานทั้งแบบสมถะและวิปัสสนา เข้าด้วยกัน ฃ่วยให้กายผ่อนคลาย ใจสงบ กระจ่างใส สมาธิก้าวหน้าไว เกิดปัญญาญาณเป็นที่น่าพึงพอใจ
ท่านดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยเมตตาเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ตลอดมา ท่านจาริกไปทั่วประเทศพม่า ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ แม้จะกันดารยากลำบากเพียงใดก็ตาม ทั้งยังเมตตาขยายสำนักของเชมเย ยิกต้า ทั้งที่เมือง ฮินตะดา ตองยี แลเว ตะมู เปียน อูลวิน และมอบี รวม 7 สำนัก ทุกแห่งสร้างขึ้นบนผืนดินที่ศิษยานุศิษย์ถวายทั้งสิ้น
ในต่างประเทศ กว่า 30 ปี ท่านอาจารย์จาริกธรรมยาตราแล้วกว่า 40 ครั้ง ในกว่า 30 ประเทศ ทุกทวีปทั่วโลก เปิดการอบรมในต่างประเทศกว่า 200 ครั้ง
ในปี พ.ศ. 2534 ศิษย์ชาวไทยที่เคยอบรมกับท่านที่ประเทศพม่าได้อาราธนานิมนต์ท่านมาสอนในเมืองไทยครั้งแรก โดยมีกรรมการบริหารและวิทยากรของยุวพุทธิกสมาคม เข้าร่วมอบรมด้วย และท่านได้เมตตามาเปิดการอบรมที่ยุวพุทธิกสมาคม ปีละ 15 วัน ทุกปีมิได้ขาด ท่านยังเมตตาไปสอนชาวเชียงใหม่ที่บ้านพพอ อำเภอแม่ริม และมูลนิธิศูนย์วิปัสสนา จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายครั้ง ที่จังหวัดภูเก็ต ท่านเปิดการอบรมที่วัดสัฏฐิสนาราม และศูนย์ปฎินิสสัคโค ปีละครั้งจนถึง พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดชลบุรี ท่านรับนิมนต์จากพระมหาทองมั่น สุทธจิตโต ไปเปิดวิปัสสนากรรมฐานที่วิเวกอาศรม 2 ปี ติดกัน ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีผู้น้อมถวายสถานที่ในจังหวัดนครปฐมให้ก่อตั้งเป็นสำนักสาขาในเมืองไทย ชื่อว่าสำนักวิปัสสนากรรมฐานธัมโมทยะ
แม้ภาระจะหนักแสนหนัก ท่านอาจารย์ยังคงสงบเบิกบาน อิ่มเอิบด้วยเมตตา ความรักธรรมชาติ อ่อนโยนต่อทุกสรรพชีวิต เป็นภาพที่คุ้นตาของศิษยานุศิษย์เสมอมา บ่งบอกถึงจิตอันเป็นอิสระจากห้วงกิเลศที่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นความพิสุทธิ์สูงส่ง ดุจประทีปส่องทางที่ศฺษญ์ทุกคนพึงน้อมไว้เป็นแบบอย่างแห่งชีวิต ดังสมณศักดิ์ที่รัฐบาลพม่าน้อมถวายไว้ว่า " พระชนกาภิวงศ์ อัครมหาสัทธัมมโชติกะธชะ " ซึ่งแปลว่า "ปรมาจารย์ผู้เป็นธงชัยแห่งแสงธรรม"
ที่มาของข้อมูล
http://bhaddanta.blogspot.com/2005/09/3_112746913639980816.html โดยพระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต
หนังสือสนทนาธรรม กับพระอาจารย์เชมเย สยาดอ จากนิตยสารประเทศสิงคโปร์ แปลโดย คุณพรกนก วิภูษณวรรณ