งานทอดปฐมกฐิน
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ขบวนธรรมเดินทางถึงเมืองคยา ก่อนเข้าที่พัก คุณแม่นิด (คุณสุมาลี ปุญญฤทธิ์) พาขบวนผู้จาริกบุญ มากราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาสุวิทย์ ธัมศิริ และพระคุณเจ้าที่ช่วยกันดูแลงานก่อสร้างวัดอีกหลายรูปในเย็นวันแรกที่เดินทางมาถึงเมืองคยา ในขบวนธรรมนี้มีพระคุณเจ้าร่วมเดินทางด้วย ๗ รูป ซึ่งในวันรุ่งขึ้น เป็นวันสมโภชการยกยอดฉัตรทองคำ ฯ
ส่วนวันทอดกฐิน เป็นวันถัดไปอีก ๑ วัน
ลูกหลานคนงานที่ก่อสร้างวัดไทยพุทธภูมิ มานั่งเข้าแถวรอแจกสิ่งของที่คุณแม่นิด (คุณสุมาลี ปุณญญฤทธิ์ ) จัดเตรียมมาแจกจ่าย
หลังจากพิธีสมโภชหุ้มทองคำยอดฉัตรพระศรีมหาโพธิ์เจดีย์พุทธคยาในตอนเช้า วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในตอนบ่าย คุณแม่นิดพาไปนมัสการสถูปที่ สุชาดากุฎี บ้านนางสุชาดา แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่พระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำที่นางสุขาดานำข้าวมธุปายาสมาถวาย ก่อนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในตอนค่ำ ได้พาคณะมายังมณฑลพิธีพระมหาเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ สมโภชองค์กฐิน พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ ประธานสงฆ์วัดไทยพุทธภูมิ และพระคุณเจ้าของวัดไทยพุทธภูมิ พระคุณเจ้าที่เดินทางจากเมืองไทย เจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร ๑๒ ตำนาน พากระทำสักการะเดินเวียนประทักษิณาวัตรรอบพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ๓ รอบ
เป็นคืนที่แสงจันทร์ผาดผ่องส่องสว่างแสงอำไพ ให้ผู้คนดื่มดำ่ลึกล้ำกับรสพระธรรม และซาบซึ้งยึ่งในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระเมตตาแห่งองค์สมเด็จพระศาสดา ที่ทรงพระเมตตาเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่มวลสัตว์โลก
ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ รอบ ๆ มณฑลพิธี มีเสียงสกุณา นกกา ส่งเสียงเจื้อยแจ้วเป็นระยะ แต่พอถึงช่วงการชุมนุมเทวดา เสียงเจื้อยแจ้วกลับกลายเป็นเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ นกกา พากันส่งเสียงดังมากและดังตลอดจนจบช่วงการชุมนุมเทวดา ต่อด้วยบทเจริญพุทธมนต์ หลังเสร็จสิ้น ทุกคนพากันสนทนาเล่าสู่กันว่ารู้สึกขนลุกซู่ไปทั้งตัว เหมือน ๆ กันเลยทีเดียว บรรดาสรรพสัตว์ในบริเวณนั้นคงมาร่วมอนุโมทนายินดีในบุญกุศล เพียงแต่บรรดานกสามารถส่งเสียงได้ดังเด่นชัดกว่าสัตว์อื่น ๆ รวมทั้งมีจำนวนมากด้วย
ในวันที่๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นวันทอดปฐมกฐิน
วันทอดปฐมกฐินที่วัดไทยพุทธภูมิ
ปฐมกฐินสามัคคี ๒,๖๐๐ กองละ ๕,๐๐๐ บาท
กฐินสามัคคีแยกเป็นสายกฐิน หลายสาย
คุณแม่นิด เป็นสายหนึ่งในขบวนกฐินนี้ ได้เงินร่วมบุญ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท
เมื่อรวมกันได้เงินทั้งสิ้น จากการรวบรวมเงินก่อนถึงวันทอดกฐินจริงด้วย เป็นเงิน ๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๑
เนื่องในโอกาสที่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๕๖ ชาวไทย ได้จัดพิธี สมโภชหุ้มทองคำยอดฉัตรพระศรีมหาโพธิ์้เ้จดีย์พุทธคยา
มีชาวพุทธมากมายหลายชาติหลายภาษาพากันมาร่วมพิธีสมโภช ซึ่งถือได้ว่า ประเทศไทยเราเป็นเจ้าภาพ สำหรับคนไทยนั้น มีบริษัททัวร์มากมายจัดทัวร์ไปประเทศอินเดีย เนปาล สำหรับพลอยโพยมเอง พี่ชายคนที่สองเป็นเจ้าภาพพาพระพี่ชาย และตัวพลอยโพยมเองไปร่วมพิธีสมโภช ร่วมทอดปฐมกฐินที่วัดไทยพุทธภูมิ (เมืองคยา) และไปนมัสการสังเวชนียสถานของพระพุทธองค์ แต่สำหรับในวันงานสมโภชวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน เองนั้น ได้รับทราบมาว่ามีชาวไทยที่เช่าเหมาลำเครื่องบินของสายการบินไทยไปกลับในวันเดียวกัน อย่างน้อยมีหนึ่งลำของคณะคุณมดดำ ซึ่งมีเพื่อนของพลอยโพยมคนหนึ่งได้สั่งจองสำรองที่นั่งไว้ ๑ ท่าน แต่เผอิญ ในช่วงที่ มีการยืนยันการเดินทางอย่างแน่นอน ในช่วงที่เพื่อนคนนี้ไปอยู่ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาเลยยืนยันที่นั่งไม่ทัน กลับมา ที่นั่งบนเครื่องบินก็ถูกยกเลิกไปและมีคนเข้ามาจ่ายค่าเครื่องบินแทนที่เสียแล้ว เธอก็เลยอดไป เขาเล่ากันว่า มีทัวร์เหมาลำไปเช้าเย็นกลับอย่างนี้ ๓ ลำ (ไม่ขอยืนยันคำเขาเล่าว่ากันนี้) ค่าเดินทางเฉียด ๆ สามหมื่นบาท (ประมาณ ๒๘,๐๐๐ บาท เป็นราคาที่เพื่อนคนที่อดเดินทางบอกกล่าวเล่าให้ฟัง)
บริเวณด้านที่มีการตั้งนั่งร้านทำงานเป็นด้านนอกองค์พระมหาเจดีย์มีการตั้งขนมหวานไทยและผลไม้เป็นเครื่องบูชา
นั่งร้านที่ต้องใช้การชักรอกดึงยอดทองคำขึ้นสู่ยอดเจดีย์มีคณะะทำงานแต่งชุดขาวคอยรับยอดเจดีย์ทองคำ
โต๊ะวางเครื่องบูชา
ดอกดาวเรืองและดอกบัวที่ใช้เป็นดอกไม้บูชา
หลังจากยอดเจดีย์ทองคำประดิษฐานเรียบร้อย ผู้คนก็มาแบ่งปันเครื่องบูชากลับไปรับประทานเป็นมงคล กันเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นสภาพดังภาพ
บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์
ดอกไม้สดวางเป็นระยะ ๆ บนพื้นทางเดินบริเวณทางเดินข้าง ๆ รัตนจงกรมเจดีย์
ดอกบัวบานรับแสงตะวันแกะสลักจากหินทรายจำนวน ๑๙ ดอกบนแท่นหินทรายแดงยาวประมาณ 6 เมตร สูง ๔ ฟุต จากพื้นถนน
บริเวณหน้าประตูด้านหลังของมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระพุทธเมตตา
วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๐
เนื่องในโอกาสที่วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ชาวไทย ได้จัดพิธี สมโภชหุ้มทองคำยอดฉัตรพระศรีมหาโพธิ์้จดีย์พุทธคยา ซึ่งมีการเตรียมการกันมานาน
โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวโรกาสทรงเจริญพระชันษา 100 ปี เริ่มระดมศรัทธาบริจาคจากประชาชนชาวไทยทั่วสารทิศ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และปิดโครงการไปเมื่อวันที่ ๒๕ สิงกาคม ๒๕๕๖ มียอดบริจาคเป็นทองคำทั้งสิ้น ๒๕๐ กิโลกรัม
ทองคำบริจาคถูกนำไปปรับปรุงให้มีความบริสุทธิ์เท่ากันที่ 96.5% และรีดเป็นแผ่น นำประกอบขึ้นรูปกับยอดฉัตรมหาโพธิเจดีย์จำลองที่มีสัดส่วนเท่ากับของจริง แต่ละแผ่นจะจัดวางตำแหน่ง ตัดแต่งให้ลงตัวก่อนในประเทศไทย เพื่อนำไปประกอบครั้งสุดท้ายที่ประเทศอินเดีย
เดิมทีกำหนดจะขนแผ่นทองคำไปอินเดียในเดือน ก.ย. และหุ้มทองให้เสร็จในเดือน ต.ค. แต่ทว่าติดปัญหาขั้นตอนกระบวนการ ทำให้กำหนดการเลื่อนไป แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้ศรัทธา ความมุ่งมั่นของพุทธศาสนิกชนหวั่นไหว จวบจนถึงต้นเดือน พฤศจิกายน กระบวนการขนส่งแผ่นทองคำถึงดำเนินการได้ แผ่นทองคำขึ้นรูปทั้งหมดถูกนำไปเก็บไว้ในห้องเก็บรักษาที่แน่นหนา มีโทรทัศน์วงจรปิดบันทึกความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง
การเข้าห้องเก็บทองคำต้องตรวจบัตรเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาต และการเข้าไปต้องผ่านด่านตรวจ 2 ด่าน แต่ละด่านต้องผ่านทั้งเครื่องตรวจอาวุธกับเครื่องตรวจโลหะ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากไทยไปคุ้มกันตลอดเวลา
นั่งร้านถูกสร้างขึ้น เท่าความสูงของมหาโพธิ์เจดีย์ เพื่อใช้ในการขนส่งแผ่นทองคำจากห้องเก็บรักษา เพื่อให้ช่างทองไต่บันไดขึ้นไปทำงานบนแคร่ไม้ที่สร้างขึ้นล้อมรอบพระมหาเจดีย์
แผ่นทองคำขึ้นรูปที่ทำขึ้นจะถูกขนขึ้นไปบนยอดเจดีย์ด้วยการใช้รอกดึงตามสภาพงานที่ดำเนินการ
แผ่นทองที่ถูกส่งขึ้นไป ช่างทองจะเชื่อมให้ติดกันแนบสนิทถาวรด้วยการบัดกรี ตอกหมุด รัด ทับตะเข็บ แล้วแต่สภาพของแต่ละจุด
กระบวนการหุ้มทองคำดังกล่าว จะดำเนินการจนครบความสูง 4.49 เมตร ของลักษณะยอดมหาโพธิเจดีย์
ขั้นตอนที่สำคัญ เป็นมหามงคลของการหุ้มทองคำ นั่นคือ การนำบัวยอดฉัตรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสัตยาธิษฐาน ไปประดิษฐาน ณ ยอดพระมหาเจดีย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 ในประวัติศาสตร์โลก ที่ทรงร่วมบูรณะพระมหาเจดีย์พุทธคยาที่ทรงร่วมบูรณะพระมหาเจดีย์พุทธคยา ต่อจากพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าหุวิชกะ และพระเจ้ามินดง
คำจารึกในแผ่นทองคำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่จะบรรจุไว้ ณ ยอดมหาโพธิเจดีย์ ความว่า.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกมีพระราชศรัทธาทรงนำประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ร่วมกันสร้างทองคำบริสุทธิ์ 289 กิโลกรัม นำมาประดิษฐาน ณ ยอดพระมหาโพธิเจดีย์นี้ เพื่อเป็นพุทธกตเวทิตบูชาแด่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่แห่งนี้
ขออานุภาพแห่งการบูชาสูงสุดนี้ บันดาลให้ชาติไทยรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนาตลอดกาลนิรันดร์ ให้คนไทยมีความสามัคคีกัน มีความ สันติ และสุขสถาพรตลอดไปเทอญฯ
มหาชนพุทธศาสนิกชนทั่วโลก หลั่งไหลไปยังมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ในวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมพิธีถวายทองคำหุ้มยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์ งานพิธีเริ่มจากขบวนแห่อัญเชิญทองคำหุ้มฉัตรอันตระการตา จากนั้นเป็นพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพยดา
การถวายทองคำหุ้มยอดฉัตร โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต ประธานโครงการ ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานอำนวยการโครงการ
พิธีการทั้งหมดสร้างความปีติแก่ผู้ที่อยู่ในอาณาบริเวณปริมณฑล เสียงอนุโมทนาสาธุการสนั่นหวั่นไหว เป็นเสมือนตัวแทนพลังศรัทธาของชาวไทยที่ยึดมั่นศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคง
.
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.posttoday.com
วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๙
บริเวณพุทธคยา
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-857-page-e.html
หมายเหตุ
๑.วิษณุบาท
แม่น้ำเนรัญชราที่เรียกว่าแม่น้ำผัลคุหน้าเมืองคยานั้นในปัจจุบันมีอาศรมของชาวฮินดู เรียกว่าวัดวิษณุบาท มีหินขนาดเท่ารอยเท้าคนธรรมดาเหยียบลงไว้ วัดจากปลายนิ้วหัวแม่เท้า ถึงปลายส้นยาว ๒๗ เซนติเมตร วีดที่ส่วนกว้างโคนนิ้วยาว ๙ เซนติเมตร สลักเป็นหิินสีดำอยู่กลางมณเฑียร (บางท่านบอกว่า นี่คือรอยบาทของพระพุทธองค์ก็มี )
บริเวณด้านในเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ มีผู้คนไปกราบไหว้เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นำน้ำนมไปสักการะรดราดที่รอยเท้านั้น น้ำนมส่งกลิ่นอบอวลภายในมณเฑียร ห้ามผู้ที่นับถือศาสนาอื่นเข้าไป รวมทั้งพระสงฆ์ในพุทธศาสนาด้วย วิษณุบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ๑ ใน ๗ แห่งของศาสนาฮินดู
๒. พิธีสารทเมืองคยา
บริเวณลานเสาหินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมหาโพธิ์เจดีย์ ใกล้กับสระมุจลินทร์ใหม่ ในเวลาข้างแรมเดือนสิบ จะมีผู้คนมาประกอบพิธีสารทล้นหลามไปจนถึงฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแม่แต่บริเวณมหาเจดีย์
ประเพณีสารทของอินเดียมีมาแต่นานปี มาจากความเชื่อที่อสูรคยาขอพรว่า
ตราบชั่วฟ้าดิน ภูเขา ทะเล และดวงดาวยังอยู่ ให้พระวิษณุ พระพรหม พระมหาเทพตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ประทับบนธรรมศิลานี้และให้เรียกว่าคยาเกษตร ขอให้บ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ ์เกิดขึ้น ผู้ที่ต้องการความสุขจงมาประชุมที่นี่ ผู้ใด้อาบน้ำหรือถวายข้าวบิณฑ์ หรือทำพิธีสารท ณ ที่นี้ จะหลุดพ้นจากบาปทั้งมวล ขอให้บรรพบุรุษของเขาที่ล่วงลับไปแล้วได้ขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมโดยทั่วกันเถิด ขอให้สถานที่นี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้ผู้คนที่มีโทษหนักถึงขั้นฆ่าพราหมณ์เมื่อมาล้างบาปที่นี่ ขอให้กลับมาเป็นผู้บริสุทธิ์ทุกประการ
สถานที่ถวายข้าวบิณฑ์มักทำกันที่เขารามศิลาทางเหนือหรือเปรตศิลา ทางตะวันตก และที่พุทธคยาแห่งนี้ก็นับรวมไปด้วย
พิธีสารทกับข้าวบิณฑ์เป็นพิธีเกี่ยวกับคนตาย ทำคู่กันเสมอในหมู่ชาวฮินดู การปลงศพนั้นเป็นอวมงคล ส่วนพิธีสารทเป็นมงคล เขาถือว่าเมื่อคนตาย ร่างกายที่เป็นสถุลสรีระย่อมถูกเผาผลาญไป แต่ดวงวิญญาณจะไม่ไปไหน จนกว่าจะมีพาหนะมารับ
พิธีถวายข้าวบิณฑ์ คือการนำผงแป้งมาคลุกกับน้ำ แล้วปั้นก้อนข้าวสาลีให้กลม ตั้งภาชนะหรือใบตอง และถ้วยน้ำ และอาหารกับนม พร้อมกรวดน้ำลงพื้นดินร้องเรียกชื่อผู้ตายให้มากินอาหารและให้มาอาบน้ำ เสร็จแล้วกรวดน้ำไปให้เปรต ถือว่าเปรตได้กินอิ่ม เป็นอันเสร็จพิธีโดยย่อที่นี่
พิธีสารทตามที่เห็น ทำกันที่เมืองคยา เรียกว่าคยาสารทนี้ น่าจะสืบต่อสัมพันธ์กับประเพณีไทย ที่เป็นการทำบุญลักษณะส่งให้ผู้ที่ตายไปแล้ว คล้าย ๆ กับทางใต้ที่มีงาน บุญชิงเปรต ทางภาคอิสานเรียกบุญข้าวประดับดิน หรือพิธีบุญช้าวสารท เป็นต้น แม้แต่ขนมหวานในเทศกาลที่เรานำไปทำบุญตักบาตร แจกจ่ายญาติพี่น้อง ในการทำบุญเดือนสิบ เรียกว่า กระยาสารท รั้น อาจจะเป็นคำเพี้ยนมาจาก คยาสารท ก็เป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
พระราชรัตนรังษี (วีรยุทโธ)
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962
ที่เมืองคยานี้ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นฮินดู และความเป็นพุทธ ที่ดูจะสับสนปนเปกันไป พลอยโพยมเห็นแล้ว งง งง อยู่กับการที่เห็นมีพวกฮินดูเข้ามาเดินปะปนกับชาวพุทธที่พุทธคยา เผอิญในหนังสือมีเรื่องราวของวิษณุบาท และพิธีสารทเมืองคยา ขอนำมาเผยแพร่ต่อ น่าเสียดายที่ไม่มีภาพของวัดวิษณุบาทมาประกอบบทความ มีแต่ภาพของนักบวชมหันต์ของฮินดู
ภาพที่สื่อข้างล่างต่อไปนี้ส่วนใหญ่นำมาจาก
http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-857-page-e.html
เที่ยวอินเดียตามมุมมองของพระมหานรินทร์
บันไดท่าน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ที่อยู่ของนักบวชมหันต์นนิกายทัสนามิสันยาสี ของฮินดู ซึ่งครอบครองพื้นที่พุทธคยา
ภายในที่อยู่ของนักบวชมหันต์ ซึ่งหลาย ๆ คนเรียกว่าวังมหันต์
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962
พุทธบาทศิลา อายุไม่ต่ำกว่าพันปี อยู่ในครอบครองของพวกมหันต์ โดยมหันต์อ้างว่าเป็นเจ้าของ
พระพุทธรูป ภายในครอบครองของนักบวชมหันต์ นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ยังมีศิลปโบราณอันมีค่าที่สร้างสมัยคุปตะและโมริยะอีกมาก
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235962