วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554
[บทความ] วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์
วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์
พลอยโพยมขออภัยที่เสนอบทความค่อนข้างหนักสำหรับผู้อ่านโดยทั่วไป แต่ด้วยความตั้งมั่นในอันจะประกาศเกียรติคุณ ของท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) ปราชญ์ภาษาไทยแผ่นดินสยามสามสมัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านเป็นชาวฉะเชิงเทราให้แพร่หลายสืบไป ซึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าของผู้ที่มีความสนใจ แต่ก็ขอเสนอบทความอย่างรวบรัด
วาหนิติ์นิกร บรรยายด้วยบทโคลงของท่านพระยาศรีสุนทร เองได้ดังนี้
พากเพียรเวียนคิดค้น คัดคำ
พวกอักษรสูงนำ แนะไว้
กุมารหมั่นดูสำ เหนียกนึก เทอญพ่อ
รู้รอบชอบจักได้ ทรัพย์ซ้องสรเสิญ
คำณวนควรนับอ้าง อักษร
วาหะนิติ์นิกร ชื่อชี้
ตัวสูงหากสังหร ตัวต่ำ ขึ้นนา
ถ่องกระบวนแบบนี้ นับผู้ชาญเฉลียว
เรื่องนี้นามตั้งว่า วาหะนิติ์
สองอักษรนำสนิท นับอ้าง
ร่วมเสียงสระชิด เชิงชอบ
เชิญเร่งเรียนอย่าร้าง รอบรู้ชูศรี
วิธีอักษรไทย มีอักษรเสียงสูง ๑๑ อักษร ยังหาพอใช้แก่สำเนียงสูงภาษาไทยไม่ ต้องคิดจัดเอาอักษรสูง ๑๑ นั้น นำผสมอักษรต่ำที่ควรจะนำขึ้นอีก อักษรสูงนำอักษรต่ำให้มีสำเนียงสูงขึ้นได้ทั้ง ๑๑ อักษร แต่อักษรสูง ๑๐ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส นี้ กับ ตัว (ห) แปลกกันอยู่สังเกตดูจึงรู้แยบคาย ตัว (ห) นำนั้นเป็นแต่จูงอักษรต่ำให้มีเสียงสูงขึ้นอย่างเดียว อ่านไม่ต้องออกสำเนียง ตัว (ห) เช่น บุหงา ปะหนัน เป็นต้น อักษรสูง ๑๐ ตัว นำข้างหน้าตัวใดก็ชักเสียงตัวนั้นสูงขึ้น ทั้งต้องอ่านให้ตัวนำนั้นออกเสียงเป็น ประวิสัญชะนี บรรจบเข้ากับตัวอักษรกลืนกันอยู่ด้วย เหมือนคำว่า ขนุน ขนอน ขนม เป็นต้น
แต่ตัว ข ฃ...ศ ษ ส นี้มิใช่นำได้ทั่วไป จำเพาะนำได้แต่ตัวที่ควรนำ คิดตรวจดูเห็นใช้คำนำ ตัว ง น ม ย ร ล ว เท่านี้โดยมากนำได้ทั้งในแม่ กน กง กก กด กบ กม เกย แลผันด้วยไม้ ่ ้ เหมือนตัวอักษรสูงที่นำข้างหน้าได้ทุก ๆแม่ไป
(มีรายละเอียด ตั้งแต่หน้า ๑๐๒- ๑๖๒)
อักษรประโยค
มีโคลงอธิบาย ๒ บท แต่ขอข้ามเลยไป
วิธีประสมอักษรใช้ในคำภาษาไทย แต่เพียงอักษรสูงนำอักษรต่ำ ดังที่แจกใน วาหนิติ์นิกร นั้น ยังหาพอที่จะใช้คำในภาษาไทยไม่ ต้องจัด ตัว ( ร ล ว) ประสมกับอักษรที่ควรประสมกันได้ สองอักษร ร่วมสระกันเป็นคำเดียว ตั้งชื่อว่า อักษรประโยค สำหรับประสมคำใช้ให้เต็มตามสำเนียงไทย ตัว ( ร ล ว) เป็นตัวประโยคสำหรับเอามาควบเข้ากับอักษรที่ควรควบ แล้วแจกเป็น ก กา กน กง กก กด กบ กม เกย แลผันด้วย ่ ้ ๊ ๋ ตามอักษรตัวต้นที่ประสมกันนั้นทุก ๆ แม่ไป
มีหมู่อักษรสูง ๑๑ ยกแต่ (ห) ตัวเดียว นอกนั้นประโยคได้สิ้น
ในหมู่อักษรกลาง ๙ ตัว (ฎ ฏ ต ป อ) ๕ ตัวนี้ประโยคไม่ได้ ( ก จ ต ป) ๔ ตัวนี้ประโยคได้
อักษรต่ำ ๒๔ ตัว ยก ๑๗ ตัว คือ (ต ฆ ง ช ฌ ญ ฑ ฒ ณ ธ น ฟ ภ ม ย ฬ ฮ)นี้ไม่ควรประโยค ยังเหลือ ๗ ตัวคือ (ค ซ ท พ ร ล ว) ยก (ร ล ว)เป็นตัวประโยคเสีย ยังคงได้อักษรต่ำที่ควรประโยค คือ ตัว ( ค ซ ท พ ) ๔ ตัวเท่านี้ ตัว (ซ) นี้ถึงประโยคได้แต่ก็ไม่มีที่ใช้ ควรแจกประโยคอักษรต่ำ ได้แต่ ( ค ท พ) เท่านี้
อักษรสูงควรประโยคได้ ๑๐ ตัวจริง แต่ยกตัวที่ซ้ำกันแลตัวที่ใช้ไม่ได้ คือ (ฃ ฐ ฝ ศ ษ) ๕ ตัวนี้ออกเสีย ก็ยังคงควรแจกประโยค ๕ ตัวคือ ( ข ฉ ถ ผ ส) เท่านี้ ได้แจกประโยคไว้ในวิธิ วาหนิติ์ นั้นแล้ว ในเล่มนี้จะแจกประโยคแต่อักษรกลาง ๔ ตัว กับอักษรต่ำ ๓ ตัว เท่านี้
ตัวอย่าง เช่น
ตัว (ก) กับ ตัว (ร) ประโยคกันแจกดังนี้
กร กรา กริ กรี
ตัว (ก) ควบกับตัว (ร) แม่ ก กา ใช้ได้ ๑๓ คือ
จักรา ตะกร้า จักกรี เอาใบไม้กรุ วิ่งกรู ต้นไทร โกรธา นอนโกร๋ กันเกรา กรากกรำ กระลา กระถี กระลำภร
แจก ใน แม่ กน...จนแม่เกย แล้วก็เป็นการ ประโยค (ก) ควบกับ (ล) ประโยค ควบ อื่น ๆ จบที่ ตัว (พ)ประโยคกับตัว (ว)
แต่นี้จะว่า กับ แก่ แต่ ต่อ สี่คำนี้ต่อไป ผู้เขียนต้องใช้ให้ถูกกับความ ถ้าใช้ที่ ควรจะว่า กับ ว่าเป็น แก่ เคลื่อนคลาศ นักปราชญ์ที่มีใจละเอียด ก็จะรังเกียดติเตียน แลแบบที่ถูกต้องถ่องแท้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เอกอรรคอุดมบัณฑิตย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแบบฉบับไว้เป็นตัวอย่างดังนี้
คำพูดคำเขียนใช้ลงหนังสือ ย่อมแปลก ๆ ต่าง ๆ ตามลักษณะนิยมถ้อยคำนั้น ๆ ให้ท่านผู้จะพูดแลจะใช้หนังสือสังเกตที่ควรไม่ควรจะประจักษ์คือ ที่ควรจะว่า กับ กับ ก็มี ว่าอย่างอื่นผิดไม่ถูก แลที่ควรจะว่า แก่ แก่ ก็มี ว่าต่อก็มี ว่าอย่างอื่นไม่ได้ไม่ถูก แลที่ควรต้องว่า แต่ แต่ ก็มี ว่าอย่างอื่นไม่ชอบไม่ถูก แลที่ควรจะว่าแต่ ว่าใน ใช้ในคำสูงก็มี เป็นหลายจำพวกดังนี้ ในทุกวันนี้ใช้คำผิด ๆ มากนัก เลือนเลอะปะปนกันไป ใช้คำว่า กับ กับ กับ มากนักทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ไม่มีผู้สังเกตว่าที่ควร ที่ไม่ควรเลย เพราะฉะนั้นจึงขอตั้งแบบชี้แจงไว้ให้เห็นดังนี้...
.... จบคำกำหนดใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ เท่านี้ ซะ
อนึ่งพึงให้กุลบุตรมีความสังเกตถ้อยคำที่ท่านใช้อักษรสูง กับอักษรต่ำรวบเข้าเป้นสำเนียงเดียวกัน แต่อักษรสูงไม่มีอำนาจที่จะจูงนำอักษรกลางให้เป็นเสียงสุงได้ ถึงควบกันเข้าก็คงเป็นสำเนียงอักษรกลางอยู่เดิม ดุจคำเหล่านี้
สกล สนธ์ สเก็ด สกุณ สุกล สกอ..............สอาด สอิดสเอียน ผอบ
คำเช่นนี้มีมากชักมาว่าไว้พอเป็นอย่างเท่านี้ ซะ
มีรายละเอียด อักษรประโยค หน้า ๑๖๓- ๒๑๐
สังโยคพิธาน
มีโคลงอธิบายถึง ๕ บทโคลง
รวบรวมตัวอักษรที่ใช้สกด ในแม่ กน กก กด กบ ซึ่งมาในภาษามคธบ้าง คำบาลีบ้าง มีมาโดยข้อบัญญัติ ในภาษาไทยใช้สืบกันมาแต่โบราณบ้าง เพื่อให้กุลบุตรสังเกต จำเป็นแบบอย่าง ในการจะอ่านจะเขียนให้ถูกถ้วนตามกระบวนอักษร ตามรู้ตามเห็น พอเป็นสำเนาเล่าความ
ตัว ญ ณ น ร ล ฬ เป็นอักษรสกดในแม่กน
ตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฏ ฎ..... ศ ษ ส เว้น ณ น รวม ๑๘ อักษรใช้สกดในแม่ กด
ตัว บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ยกเว้น ม รวม ๗ อักษร เป้นตัวสกด แม่กบ
หน้า ๒๑๑-๒๓๘
ไวพจน์พิจารณ์
เป็นลักษณะใช้ถ้อยคำขบวนหนึ่ง ตัวต่างกัน แต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน บางทีตัวเดียวกัน แต่ตัวสกดต่างกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน แลต่างแค่สำเนียงสั้นบ้าง ยาวบ้าง กุลบุตรควรสังเกตจำไว้เป็นแผนกหนึ่ง ที่ต่างด้วยตัวสกดนั้น ได้จัดแจกไว้ใน สังโยคพิธานแล้ว แต่ยังแยกย้ายเรี่ยรายกันอยู่ จึงคิดคัดจัดคำ ที่มีสำเนียงเดียวกัน มารวบรวมเข้าไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ให้ชื่อว่า ไวพจน์พิจารณ์ ต่อเรื่องเนื่องกับสังโยคพิธาน ควรจำกำหนดไว้โดยแผนกหนึ่งดังนี้
หน้า ๒๔๒-๒๖๒
พิศาลการันต์
มีโคลง ๒ บทอธิบาย
วิธีใช้ถ้อยคำขบวนหนึ่ง มีอักษรเพิ่มไว้ข้างท้ายแต่มิใช่ตัวสกด เติมลงไว้เพื่อจะให้เต็มคำซึ่งมาแต่ภาษามคธ แลเสียงภาษาอื่นบ้าง เสียงไทยอ่านไม่ตลอดไปถึง จึงลงไม้ ์ ไว้เป็นที่สังเกตุว่าไม่อ่าน ควรเรียกชื่อว่า การันต์ ยักย้ายตามตัวที่เติมท้ายคำ คือ (ก)การันต์ (ข) การันต์ (ค) การันต์ ...........
ตัวอย่างเช่น บัลลังก์ เขาวงก์ แตรสังข์ ความทุกข์ พระขรรค์ อุโมงค์...
จบตัวการันต์ที่หน้า ๒๗๑
และยังมีคำบรรยาย คำที่ต้องใช้ ไม้ ๊ ๋ มักใช้ในอักษรกลางโดยมาก ส่วน ็ เพื่อชักให้สำเนียงสั้น
ซึ่งเป็นอักษรไทย ภาษาอื่นบ้าง
หนังสือเล่มนี้จบลงที่หน้า ๒๗๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น