วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554
[บทความ] มูลบทบรรพกิจของพระยาศรีสุนทรโวหาร : วิธีนับศัพท์สังขยา.
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท
ขอย้อนกลับไปหนังสือมูลบทพรรพกิจ เฉพาะเรื่อง วิธีนับศัพท์สังขยา
คำ พระภิรักชิดท้าย อมรา ต้นเอย
กลอน ท่านรังรจนา แนะไว้
สอน พวกดะรุณทา รกร่ำ เรียนเอย
เด็ก อย่าดูหมิ่นให้ เร่งรู้ ดูจำ@ อันดับนี้ข้าขอกล่าว ให้เนื่องเรื่องราว วิธีนับศัพท์สังขยา
@ เด็กเอ๋ยเจ้าจงศึกษา ตำหรับนับรา จงรู้กระทู้ที่นับ
@ ห้าสองหนเป็นสิบสับ สิบสองหนนับ ว่ายี่สิบอย่าสงไสย
@ สิบสามหนเป็นต้นไป ท่านเรียกชื่อไซร้ สามสิบสี่สิบตามกัน
@ สิบสิบหนเป็นร้อยพลัน สิบร้อยเป็นพัน สิบพันเป็นหมื่นหนึ่้งนา
@ สิบหมื่นเป็นแสนหนึ่งหนา สิบแสนท่านว่า เป็นล้านหนึ่งพึงจำไว้
@ สิบล้านนั้นเป็นโกฏิไซร้ ร้อยแสนโกฏิไป เป็นประโกฏิหนึ่งตามมี
@ ร้อยแสนประโกฏินี้ เป็นโกฏิประโกฏิ พึงกำหนดอย่าคลาดคลา
@ ร้อยแสนโกฏิปะโกฏิหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่านะหุตหนึ่งไป
@ ร้อยแสนนะหุตนั้นไซร้ ท่านเรียกชื่อไว้ ว่านินนะหุตนา
@ ร้อยแสนนินนะหุตหนา ได้นามตามมา ว่าอะโขภินีหนึ่งมี
@ ร้อยแสนอะโขภินี ได้นามตามมี ว่าพินธุอันหนึ้งนา
@ ร้อยแสนพินธุหนึ่งหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอัพพุทพึงจำไว้
@ ร้อยแสนอัพพุทไซร้ ได้นามตามใช้ ว่านิรัพพุทหนึ่งนา
@ ร้อยแสนนิรัพพุทหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าอหะหะตามมี
@ ร้อยแสนอหะหะนี้ มีนามตามที ว่า อพะพะหนึ่งหนา
@ ร้อยแสนอพะพะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอฎะฎะตามมี
@ ร้อยแสนอฎะฎะนี่้ มีนามตามที่ ว่าโสคันทิกะหนึ่งนา
@ ร้อยแสนโสคันทิกะหนา ท่านเรียกชื่อว่า เป็นกมุทอันหนึ่งไป
@ ร้อยแสนกมุทนั้นไซร้ มีนามตามใช้ ว่าบุณฑริกหนึ่งแน่
@ ร้อยแสนบุณฑริกแท้ ท่านเรียกกันแล ว่าเป็นปทุมหนึ่งไป
@ ร้อยแสนปทุมนั้นไซร้ ท่านตั้งชื่อไว้ ว่ากะถานะอันหนึ่งนา
@ ร้อยแสนกะถานะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่ามหากะถานะหนึ่งไป
@ ร้อยแสนมหากะถานะไซร้ เป้นอสงไขย คือเหลือจะนับพรรณา ซะ
@ อนึ่งลำดับที่นับมา ผิดจากเทศนา ฃองพระชืโนวาที
@ ลำดับที่นับนี้ นิรัพพุทมี แล้วอพะพะ อฎะฎะมา
@ อหะหะกมุทา โสคันทิกา แล้วอุบปละบุณฑริกนี้
@ ปทุมะกะถานะตามที่ จงรู้วิธี แล้วสังเกตุกำหนดแล
@ แต่ร้อยถึงโกฏินี้แท้ เอาสิบคูณแน่ เร่งรู้หนาอย่าหลงใหล
@ แต่โกฏิถึงอสงไขย เอาร้อยแสนไซร้่ เร่งคูณเข้าอย่าลืมแล ซะ
@ อนึ่งโสดนับมีสามแท้ นับด้วยวัดแล ด้วยตวงด้วยชั่งเป็นสาม
@ โยชน์หนึ่งสี่ร้อยเส้นตามตาม เส้นหนึ่งโดยความ ยี่สิบวาอย่างสงไสย
@ โยชน์หนึ่งสี่ศอกบอกไว้ ศอกหนึ่งท่านใช้ สองคืบไซร้ตามมีมา
@ คืบหนึ่งสิบสองนิ้วหนา นิ้วหนึ่งท่านว่า สี่กระเบียดจงจำเอา
@ กระเบียดหนึ่งสองเมล็ดเข้า เมล็ดเข้าหนึ่งเล่า แปดตัวเหาจงรู้รา
@ ตัวเหาหนึ่งนั้นท่านว่า แปดไข่เหาหนา ไข่เหาหนึ่งแปดเส้นผม
@ เส้นผมนั้นหนึ่งนิยม แปดธุลีลม ธุลีหนึ่งแปดอณูนา
@ อณูหนึ่งนั้นพึงรู้หนา ท่านใช้กันมา ว่าแปดปรมาณูแล
.........
@ ทิศแปดปันโดยนามกร คือทิศบูรพ์ก่อน เป็นทิศตระวันออกนา
@ แล้วอาคเณย์ทิศา ทักษิณนี้หนา เป็นทิศข้างใต้ตามมี
@ แล้วต่อไปทิศหรดี จึงประจิมนี้ เป็นทิศตระวันตกหนา
@ แล้วจึงทิศพายัพมา ทิศอุดรรา เป็นทิศด้านเหนือจงจำ
@ แล้วจึงทิศอิสาณสำ เหนียกให้แม่นยำ ปันทิศแปดทิศคงตรง ซะ
พลอยโพยมขอสรุป แปดทิศ คือ บูรพา (ตะวันออก) อาคเณย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทักษิณ (ทิศใต้) หรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)ประจิม (ทิศตะวันตก)พายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) อุดร (ทิศเหนือ) อีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ตัวสะกด ( สกดเดิม) ต่าง ๆ ในบทความที่เกี่ยวข้องกับท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่คงแบบเดิมในสมัยนั้นเพื่อสืบความตามต้นฉบับ เพียงเพื่อทราบ ขอให้ท่านผู้อ่านได้โปรดศึกษาและยึดใช้ตามพจนานุกรมปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น