วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
[บทความ] เสียงเจื้อยแจ้ว....แถว ..แถว...เจ้า..
เสียงเจื้อยแจ้ว....แถวแถว ..แถวแถว...เจ้า..
เจ้านกน้อยเอย ฟังเอ่ยวาจา
สื่อภาษา.....สกุณาจงทำตาม
แถวแถว.....แถวแถว..
แตกแตก...แตกแตก..
การสื่อภาษาคนกับฝูงนกที่บินผ่านหลังคาบ้านเพื่อข้ามแม่น้ำบางปะกงในสมัยเด็ก ๆ ของพลอยโพยม
เมื่องไทยใหญ่อุดม
ดินดีสมเป็นนาสวน
แม้ที่บ้านอู่ตะเภา ตำบลบางกรูดของพลอยโพยมไม่มีท้องนาที่หลงเหลือการทำนาแล้ว แต่ในตำบลอื่น ๆ ของอำเภอบ้านโพธิ์ยังพอมีนาข้าวบ้าง เช่นภาพนี้ที่ต้นข้าวในนากำลังล้มทอดกายราบลง
นอกจากจะได้เคยเห็นนกเอี้ยงที่บินลงเกาะหลังควายทั้งควายเฒ่าและควายหนุ่มสาวแล้ว ตามท้องทุ่งนาก็จะพบเห็นนกกระยางกางปีกสีขาวพัดกระพือร่อนลงยังท้องทุ่งนา
คำโบราณไทยที่บ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น คือ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
ในเมื่อท้องทุ่งนาข้าวมีต้นข้าวแล้ว ท้องนาก็ยังมีน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงต้นข้าว ดังนั้นนอกจากนาจะมีข้าวแล้ว นาข้าวยังมีปูนา และกุ้ง ปลาหลายชนิด เติบโตแพร่พันธุ์ในนาข้าว บรรดานกหลายชนิดต่างพากันชักชวนมาเป็นฝูง ๆ และฝูงใหญ่ เพื่อมาหาอาหารในนาข้าว
หรือแม้แต่ท้องทุ่งนาที่ปล่อยว่างเปล่าไม่ปลูกข้าว แต่เมื่อมีน้ำก็ย่อมต้องมีสัตว์น้ำตัว อาศัยเติบโตอยู่
เวลา12.45.02 น - สกุณาฝูงนี้พากันบินลงสู่ท้องทุ่งนา
เวลา 12.45.06 น. - พลอยโพยมขับรถผ่านมาพบภาพนี้จึงลงจากรถ ยกมือป้องปากแล้วตะโกนว่า แตก แตก เจ้า
บรรดานกจึงพากันบินขึ้นมาใหม่ ขออภัยภาพไม่ชัด
เวลา 12.45.14 น. - นกน้อยตัวนี้ก็บินขึ้นมาใหม่ด้วยและอยู่สูงกว่านกตัวอื่น เป็นภาพที่ถ่ายไว้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเพิ่งหัดถ่ายภาพ ภาพจึงไม่ชัด รวมทั้งคุณสมบัติของกล้องด้วย
เวลา 12.45.28 น. - แล้วพลอยโพยมก็ส่งเสี่ยงสั่งอีกครั้งว่า แถวแถว แถวแถวเจ้าสกุณานิกรก็พากันบินลงมาใหม่และอยู่ในแถวดังภาพ
เวลา 12.45.36 น.
เวลา 12.45.44 น. - ดูเหมือนจะจัดแถวเสร็จ
เวลา 12.45. 48 น. - แต่มีนกอีกตัวหนึ่งบินลงมาเพิ่มในแถว น่าจะเป็นนกตัวที่บินขึ้นมาที่อยู่สูงกว่าเพื่อน ๆ นกตัวนี้ เมื่อคราวบินร่อนกลับลงมาจึงลงมาถึงพื้นได้ช้ากว่า เพื่อนนกตัวอื่น ๆ
เวลา 12.45. 58 น.
เวลา 12.46.08 น - ใกล้เรียบร้อยแล้ว
เวลา 12.46.14 น. - ฝูงนกจัดแถวเสร็จตามเสียงร้องสั่งดังภาพที่ปรากฎ
พลอยโพยมไม่สามารถถ่ายภาพที่นกกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า ดังบทกลอนได้
หมายเหตุ หากเสียงของท่านไม่เจื้อยแจ้ว แว่วเสียงสำเนียงที่นกชอบก็ไม่รับประกันว่านกจะฟังวาจาของท่านหรือไม่...ด้วย....นะ...
นกฝูงนี้เป็นนกกระยางซึ่งมีหลายชนิด
นกกระยาง
N. egret
def:[นกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดำ น้ำตาล เขียว ชอบหากินตามชายน้ำและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
syn:(นกยาง)
สำหรับนกกระยางสีขาวทั้งตัวเรียกว่า นกยางโทนใหญ่
นกยางโทนใหญ่
นกยางโทนใหญ่เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา มีขนสีขาวตลอดตัว คอยาว มีลักษณะคล้ายนกยางโทนน้อย แต่ปากจะยาวกว่า หัวไม่กลมเหมือนนกยางโทนน้อย
นกยางโทนใหญ่เป็นนกขนาดใหญ่มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 90 เซนติเมตร สีขาวตลอดตัว คอยาว ปากยาว แหลมมีสีเหลือง ตาเหลือง ไม่มีเปีย ขาและนิ้วเท้าดำ ในฤดูผสมพันธุ์มีขนประดับเป็นเส้นยาว ๆ อยู่บนหลังและยาวเลยหางออกไปเล็กน้อย นกยางโทนทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ในฤดูผสมพันธ์ปากจะมีสีดำ
ในประเทศไทย นกยางโทนใหญ่พบได้ในทุกภาคของประเทศ ตามหนองน้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึง และตามท้องนาในฤดูฝน เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยและมีบางส่วนเป็นนกอพยพ
นกยางโทนใหญ่หากินตามที่ราบที่น้ำท่วมถึง หนองบึง ทะเลสาบ และตามป่าชายเลน กินสัตว์น้ำ กบ เขียด แมลง และสัตว์ขนาดเล็กอื่นเป็นอาหาร นกยางโทนใหญ่ผสมพันธุ์ในฤดูฝนและอยู่กันเป็นฝูงชอบทำรังรวมกันอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกันกับนกยางชนิดอื่น รังทำด้วยกิ่งไม้แห้งๆ เล็กๆ ขัดสานกัน มีแอ่งตรงกลางสำหรับ เพศผู้และเพศเมียช่วยกันทำรัง กกไข่ และเลี้ยงดูลูก วางไข่คราวละ 3-4 ฟอง ระยะฟักไข่ 25-26 วัน
นกยางโทนใหญ่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น