วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ปฏิบัติธรรมที่วัดนาหลวง
ปฏิบัติธรรมที่วัดนาหลวง
พลอยโพยมเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดนาหลวง เมื่อ ปี พ.ศ. 2553 3 วัน ในช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
วัดนาหลวงที่ตั้งบนภูย่าอู เรื่องของธรรมชาติ บรรยากาศ ไม่ต้องพูดถึง พวกเราเคยไปเที่ยวตามดอยต่าง ๆ กันมากมายมาแล้ว ก็อากาศแบบนั้น ธรรมชาติแบบนั้น แต่ ที่นี่ เป็นสถานปฎิบัติธรรม ที่เพื่อน ๆ เคยไปปฎิบัติตามรีสอร์ทต่างๆ แม้พลอยโพยมไม่เคยไปแต่คิดว่าคงไม่เหมือนกัน
ความสะดวกสบาย ก็ เพียง สัปปายะ เช่น ที่นอน ปูเสื่อนอนกับพื้น ห้องน้ำ ถ้าเป็นบ้านส่วนตัวที่มีผู้มาสร้างไว้แล้วเราโชคดีได้เข้าพัก ก็จะเป็นส่วนสัดอยู่ในเรือนพัก ถ้าพักที่เรือนแถวธรรมดา ก็มีห้องน้ำ ปลูกเรือนแถวอยู่ใกล้ ๆ น้ำเย็นมาก เพราะเป็นน้ำฝน และอยู่บนเขาอีกต่างหาก ห้องน้ำที่นี่ไม่เหมือนใคร เพราะทางวัดต้องการให้ผู้มาปฎิบัติ ลดมานะตัวตน ของตัวเอง ดังนั้น ถังน้ำในห้องน้ำ เป็นถังเดียวเพียงหนึ่ง แปลว่าการใช้อาบ ล้างหน้า แปรงฟัน และ ตักน้ำราดโถส้วม รวมทั้งขันน้ำ ใช้ร่วมกัน
แต่ด้านนอกห้อง จะมีอ่างล้างหน้า ล้างมือ ให้ผู้ที่ยังรังเกียจ พอ ทำกิจ ล้างหน้า แปรงฟัน บ้วนปาก จากอ่างล้างหน้าข้างนอกได้ แปลก แต่จริงว่า ไปไปมามา ก็เห็น ญาติโยมทั้งหลาย เขาใช้ในห้อง น้ำกันได้
ไม่มีฝักบัวแม้แต่ในบ้านพักพิเศษ ยกเว้น คนที่รวยมาก ๆ มาปลูกบ้านพักปฏิบัติธรรม หลังเล็ก ๆ ราคาเป็นล้าน จะมี ปั้มน้ำ ฝักบัว น้ำอุ่น น้ำเย็น และไม่อนุญาตให้คนนอกเขาไปพักได้ หลวงปู่ เคยเทศน์ว่า คุณโยมที่มาปฏิบัติธรรม แต่ยังติดความสะดวกสบาย ไม่ละไม่เลิก ยังอาบน้ำอุ่น อยู่ คุณโยมจะไปถึงนิพพานได้ยังไง
พลอยโพยมขอสรุปว่า บรรดาเศรษฐี มีเงิน ที่มาสร้างบ้านพักส่วนตัวบนนี้ โดยมีกรรมสิทธิ์ แค่เข้ามาพัก ส่วนตั้วส่วนตัว เขานับถือหลวงปู่ ที่ขึ้นเขา เดินทางมาไกล ไม่ได้มุ่งเรื่องการปฎิบัติ แต่มุ่งหวัง ได้มากราบสักการะหลวงปู่ ทำวัตรเช้าเย็น ฟังธรรมหลวงปู่ แค่นั้นเอง
สถานที่ปฎิบัติธรรม สะอาด กว้างใหญ่ เรือนพักก็นับว่า อยู่ในเกณฑ์ สะอาด สะดวกสบาย ยกเว้นเรื่องที่นอน ปูเสื่อนอนกับพื้น และเป็นห้องรวมยาว สำหรับเรือนแถว
การเดินไปอาคารปฏิบัติธรรม จะเป็นการเดินขึ้นเนินสูง สำหรับผู้สูงวัย ก็เหนื่อยนิดหน่อย แต่ สองข้างทาง เป็น ป่า ที่จัดระเบียบ ร่มรื่น ไม่รกเรื้อ ทางเดิน เทลูกรังบ้าง (ถ้าเป็นทางลัด) ส่วนใหญ่เป็นหินเกล็ด
หลวงปู่เป็นประธานสงฆ์ ที่วัด และท่านตั้งสัจจะบารมี 2 เรื่องคือ ไม่รับกิจนิมนต์ใด เพื่อทำพิธีกรรม ต่างๆ 13 ปี (ถึงปี 2555) เพื่อทำกิจอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรในวัดและประชาชน ที่มาอบรมวิปัสสนา
รวมทั้งในปี 2519 ท่านตั้งสัจจะบารมี ถืออิริยาบท 3 คื อ นั่ง เดิน ยืน งดนอน 30 ปี แต่ ในปี 2544 ท่านอาพาธ ต้องผ่าตัด เพราะกระดูกสันหลังทับส้นประสาท จึงจำเป็นต้องนอนในเวลาต่อมา
ทุกวันพระใหญ่ ท่านจะแสดงธรรมเวลาประมาณ 2 ทุ่ม สำหรับเวลากลางวัน ท่านจะแสดงธรรม ทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน
ดังนั้น จะมีผู้คน หลั่งไหลกันมาวัดเพื่อฟังธรรมหลวงปู่กันมากมาย ในคราวที่พลอยโพยมไปมาเป็นวันอาสฬหและเข้าพรรษา ก่อนการฟังธรรมมีการเวียนเทียนรอบต้นไทร (ที่เคยเป็นไทรคู่ แต่ต่อมาได้ล้มลงไป 1 ต้น เพราะอายุมาก เป็นร้อย ปี ล้มตามอายุขัย ก่อนที่จะล้ม ได้มีนางไม้มาลาหลวงปู่ก่อนจึงล้มครืนลงมา)
เป็นการเวียนเทียนที่พลอยโพยมจดจำไว้ไม่ลืมเลือน ผู้คนขึ้นมาจัดพุ่มดอกไม้ถวายพระเพื่อเวียนเทียนทุกองค์และของตนเองญาติมิตรของตัว พลอยโพยมไปอย่างไม่รู้ธรรมเนียมจึงได้เพียงดอกบัวธูปและเทียนที่มีการจัดเผื่อแผ่กันไว้ ไม่ได้ถือเป็นพานพุ่มดอกไม้เหมือนคนรู้ธรรมเนียม เดินเท้าเปล่าบนหินเกล็ด เราสวมรองเท้าไม่ได้เพราะเดินตามหลังพระภิกษุสงฆ์ หากสวมรองเท้าเราจะบาปเพราะเดินอยู่เหนือพื้นดินสูงกว่าพระภิกษุนั่นเอง เดินไปสวดมนต์ไปพร้อม ๆ กัน และหลังจากเวียนเทียนแล้ว
ได้ฟังธรรมจากหลวงปู่ตอนกลางคืนครั้งแรก
เจ้าอาวาสวัดจะต้องรายงานผลการดำนินการของวัด ทั้ง การเผยแผ่ธรรม จำนวนโครงการ และรายละเอียด ผู้เข้าร่วมโครงการ ก็เกินครึ่งชั่วโมง ท่านแสดงธรรมเสร็จตอนสี่ทุ่ม ปรากฎว่า ผู้คนที่มาแบบไม่ค้างคืน ก็เดินทางลงเขากลับบ้านกันแบบ เป็นเรื่องปกติ แต่วันนั้นพลอยโพยมเองลงเขามา เกือบเที่ยงคืน กลัวแทบตาย แต่คราวหน้า คงไม่กลัวแล้ว เดินทางกลับกรุงเทพ ฯ เลยในคืนนั้น มาเจอพายุฝนฟ้าคะนองในช่วงออกจากเขตป่า วิ่งบนถนนลาดยางระหว่างอำเภอกับตัวจังหวัดอุดรธานี เพราะบารมีหลวงปู่เราจึงไม่เจอฝนในช่วงที่วิ่งในป่าแถบเชิงภู
การปฏิบัติธรรมที่วัดนาหลวง ที่ไม่ใช่ปฏิบัติเข้ม 3 เดือน ผู้ประสงค์จะมาปฏิบัติ ที่ไม่ใช่กลุ่มใหญ่ จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ กี่วันก็ได้ การปฎิบัติ ก็แล้วแต่ ที่ทุกคน มีพื้นฐานเดิมมา ดังนั้น จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกมาก่อนเลย เพราะไม่มีการสอนว่า เดินจงกรม อย่างไร นั่งสมาธิอย่างไร ช่วงปฎิบัติธรรม เพียงเวลาแค่ 12.00-15.00 น. และ 19.00-22.00 น.
กิจวัตรประจำวัน
ตื่นนอน 3.00-4.00 ทำกิจส่วนตัว
การทำ วัตรเช้า 04.00-05.00
นั่งสมาธิต่อ ถึง 6.00 น
(คนที่ต้องการกินเช้า ก็ไปที่โรงครัว มีข้าวต้ม เลี้ยงค่ะ (ชา กาแฟ ต้องเตรียมไปเอง แต่มีหม้อต้มน้ำร้อนให้)
7.00-8.00 บำเพ็ญประโยชน์ เช่น ช่วยจัดอาหารในครัว กวาดใบไม้ที่เรือนพัก และทางเดินต่าง ๆ ถึงเวลาตอนนี้ ต่อมขยัน มันพลุ่งขี้นมาเองค่ะ ว่า เราควรจะทำอะไร เพราะถ้าขี้เกียจจะแอบนอนในห้องพักก็ได้ รู้อยู่แก่ใจตัวเองว่าเราไม่ได้ร่วมกิจกรรม ขนาดหนุ่มสำอางเอี่ยมอย่างใบไผ่ ยังไม่กล้านอน ต้องออกมากวาดใบไม้ หนูใบเตย ก็ ไปช่วยในโรงครัว รวมทั้งพลอยโพยมและรุ่นน้องที่ทำงานที่พลอยโพยมชวนไปด้วย
8.00-9.00 ไปเตรียมตัวรับอาหาร พระไปบิณฑบาต คือพวกเราก็ไปที่อาคารที่จะกินข้าวนั่งสงบสติอารมย์ หาที่นั่งที่จัดไว้เป็นแถวมีอาสนาะรองนั้ง นั่งเรียงแถวเป็นระเบียบ คือ แม่ชี และผู้สูงวัยหญิง ผู่หญิง อีกด้าน เป็นผู้ชาย
9.00 น เดินแถวไปรับอาหาร นำแถวด้วยแม่ชี ผู้ชาย ผู้สูงวัย แล้วก็แถวผู่หญิงเดินเรียงหนึ่งไปที่โรงทานที่มีผู้บำเพ็ญประโยชน์ตอน เช้าไปช่วย แม่ครัวจัดทำจัดเตรียมอาหาร ต่างๆ ช่วยกันใส่รถเข็นนำไปจัดวางที่โรงทาน
จะมีพระภิกษุ เดินแถวเรียงหนึ่งลงมาจากกุฏิต่าง ๆ เป็นระเบียบตามอาวุโสพระ เดินอุ้มบาตรมาตักอาหารใส่บาตร เป็นการบิณฑบาต ที่พระหยิบอาหารที่จัดเรียง เป็น 2 แถว ของโต๊ะยาว
ชาวบ้านที่ต้องการใส่บาตร ขึ้นเขามา ต้องเอาอาหารของตน จัดวางบนโต๊ะ เรียงจาก ข้าวสวย ข้าวเหนียว กับข้าวคาว ของหวาน ผลไม่ นม น้ำผลไม้ น้ำดื่ม พระอยากหยิบอะไร ก็เอาใส่บาตรของท่าน ชาวบ้านจะคอยชะเง้อมองว่าของที่ตนอุตส่าห์เอาขึ้นเขามาวางรอพระบิณฑบาต จะถูกหยิบใส่บาตรพระหรือไม่ ถ้าของหมดเร็ว คนเตรียมมาก็จะยิ่มแฉ่งแก้มปริเลยทีเดียว
บรรดา แถวแม่ชี ผู้ชาย และผู้หญิง รอจนพระ บิณฑบาต เสร็จ (พระจะเดินเรียงหนึ่งกลับไปกุฎิของท่าน) แม่ชีก็ถึงจะขึ้นไปหยิบอาหารใส่บาตร พวกเราชายหญิง ก็มีถาดหลุมและช้อนให้หยิบ ชะเง้อมองว่าอยากกินอะไร ก็หยิบ ๆ ใส่ถาดมา อย่าร่ำไรเพราะแถวยาวมาก
กลับมาที่อาคาร เรามานั่งรอ ที่ก่อนการตั้งแถว รอจน ทุกคนกลับมาพร้อมกัน นั่งตามแถวตามที่ของตนเองเรียบร้อย
แม่ชี จะนำสวด ถวายข้าวพระพุทธ สวดขอบคุณผู้มีพระคุณในอาหาร ( มีแผ่นกระดาษอัดพลาสติคเป็นโฉนดสวด) แล้วจึงลงมือรับประทาน ต้องรอให้เสร็จ หมดทุกคนจึงจะออกมาจากอาคารได้ โดยเดินออกมาเรียงแถวอย่างเดียวกับตั้งแถวไปรับอาหาร
แม่ชีก็อุ้มบาตรกลับเรือน พวกเราก็ถือถาดเอาไปล้างเอง ต่างคนต่างล้างที่ ล้างชามในโรงครัว ดังนั้น ก็ต้องรู้ตัวเองว่าตัวเองจะ จัดที่นั่งของตัวเองอย่างไร เพื่อการตั้งแถวไปรับอาหารและ ตั้งแถวไปล้างจาน
กลับไปทำกิจส่วนตัว ถึงเวลา 12.00 น. ก็เดินไปปฏิบัติธรรม
12.00-15.00 น ปฏิบัติธรรม
15.00-16.00 น. กลับที่พัก
17.00-19.00 น. ทำวัตรเย็น
19.00-22.00 น. ฟังธรรม และปฎิบัติธรรม
22.00 กลับที่พัก
ช่วงปฏิบัติธรรม ใคร จะทำ ถึงเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วแต่วิริยะอุตสาหะของแต่ละคน
การเดินกลับที่พัก ต้องมีไฟฉายส่วนตัวพกเพื่อส่องทางเดิน
การไปในช่วงตอนเข้าพรรษาก็จะเจอปัญหาฝนตกบ่อยมาก และเพราะอยู่ในป่าบนเขาฝนก็ต้องตกมากกว่าพื้นราบ
ดังนั้น ร่ม เป็นของสำคัญ ต้องมีติดตัวตลอดเวลา
และร่มน่าจะเป็นของ จำเป็นของวัด คิดจะถวายของที่วัด ร่ม น่าจะดีกว่าของอื่นๆ พวก ของใช้ สบู่ กระดาษทิชชู ผงซักฟอก วัดมีเป็นโกดังเลย
นี่เป็นข้อมูลในปี 2553
พลอยโพยมเอาเรื่องเก่ามาเล่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น