วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
เกียรติยศยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอโศกมหาราช
เกียรติยศยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ (คนอินเดียเรียกวาเมาระยัน) ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายว่า นกยูง
ในเบื้องต้นพระองค์เป็นกษัตริย์นักรบที่ดุร้าย ทำสงครามเพื่อขยายดินแดนแต่หลังจากสงครามแคว้นกาลิงคะ มีคนล้มตายจากการสู้รบมากมาย และที่ตายเพราะขาดอาหาร ประสบโรคระบาด บาดเจ็บ พิการ หลังสงครามอีกนับไม่ถ้วนเช่นกัน จึงเกิดความสลดสังเวชพระทัย เลิกทำสงคราม ภายหลังทรงนับถือพุทธศาสนาและทรงทำนุบำรุงศาสนาพุทธมีคุณเอนกอนันต์ดังนี้
๑. สร้างวัดจำนวน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีป
๒. เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสภานแทนการเดินทางไปล่าสัตว์หรือหาความสุขจากการเบียดเบียนเหล่าชีวิตสัตว์
๓. เลิกทำสงครามขยายดินแดน แต่หันมาสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศเพื่อนบ้านด้วยธรรม
๔.อุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ และส่งพระสงฆ์ออกไปประกาศพุทธศาสนาทั่วโลก จำนวน ๙ สาย
๕.ทรงงดดื่มสุราและเนื้อสัตว์ในวันสำคัญ ๆ ต่อมาได้กลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาคือไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแบบอย่างให้คนอินเดียปฎิบัติตาม และประชาชนชาวอินเดียมากกว่า ๘๐ % ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนันอบายมุขต่าง ๆ
๖.ทรงปักตั้งเสาศิลาไว้ในพุทธสถานและสถานที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย และต่อมาเสาศิลาเหล่านี้ได้กลายเป็นสัญญลักษรณ์ของศาสนาพุทธ เพราะมีเรื่องราวและธรรมของพระพุทธองค์ จารึกไว้
๗. ทรงเป็นแบบอย่างให้พระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ ดำเนินตาม คืออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ดังปรากฎในศิลาจารึก ฉบับน้อย จารึกฉบับใต้ ตอนที่ ๑ ความว่า
" นับเป็นเวลาเกินกว่า ๒ ปีครึ่งแล้วที่ข้า ฯ ได้เป็นอุบาสก แต่ตลอดเวลา ๑ ปี ข้่า ฯ มิได้กระทำความเพียรใด ๆ อย่างจริงจังเลย และนับแต่เป็นเวลาปีเศษแล้วที่ช้าฯ ได้เข้าหาสงฆ์ ข้า ฯ จึงได้ลงมือทำความเพียรอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา"
๘ มีพระจริยาวัตรบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน มีจริยาวัตรที่งดงามอีกหลายประการเช่น
-การแต่งตั้งอำมาตย์ผู้แนะนำประชาชนให้ตั้งอยู่ในธรรม
-การประกาศให้ข้าราชการรักษาอุโบสถศีลในวันพระ หรือวันอุโบสถ
-การขุดบ่อน้ำเพื่อสาธารณะประโยชน์
-การปลูกต้นไม้เพื่อให้คนพักในระหว่างการเดินทาง
-การตั้งโรงพยาบาลรักษาทั้งมนุษย์และสัตว์
๙. จารึกของพระองค์ที่รับสั่งให้จารึกไว้บนต้นเสา โขดหิน หรือแผ่นหิน ได้กลายเป็นหลักปฎิบัติให้ประชาชนชาวอินเดียปฏิบัติตามได้อย่างดี เรียกได้ว่า เป็นข้อปฎิบัติ ระเบียบ กฏหมายที่ดีที่สุดที่โลกเคยมีมา
๑๐. ตัวหนังสือที่พระองค์รับสั่งให้จารึกไว้ได้กลายเป็นต้นแบบอักษรในประเทศอินเดียทั้งหมด รวมทั้งเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร ศรีลังกา ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากอักษรพรามหมีของพระองค์
๑๑ . จารึกของพระองค์ทำให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นจริง ที่มีบุคคลและประวัติศาสตร์สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาปรากฎให้โลกรับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลาจารึกที่ลุมพินี ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระพุทธธเจ้าประสูติที่ลุมพินี พระพุทธองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องเล่าขาน หรือนิยายปรัมปรา
๑๒. ประกาศห้ามมิให้ฆ่าสัตว์เพื่อการกีฬา แบะรับประทานเป็นอาหาร และคำประกาศนี้ส่งผลให้ชาวอินเดียเกือบทั้งหมดเป็นมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหาร กินแต่พืชผักผลไม้ สัตว์นานาชนิด อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างมีความสุขสามารถพบเห็นได้ดาษดื่นในอินเดีย เช่น นกยูงนานาชนิด ลิง แร้ง วัว เดินได้อย่างมีความสุขบนท้องถนน ชายฝั่งทะเลที่ยาวประมาณ ๖,๐๐๐ กิโลเมตร ไม่มีการทำประมงด้วยเริือประมงขนาดใหญ่ เด็ก ๆชาวอินเดียไม่ถือหนังสติ๊กไล่ยิงนก กิ้งก่า นี่คือการรักษาศีลข้อหนึ่ง
๑๓. ทรงมีนโยบายเอาชนะด้วยธรรม คือคุณความดี (ธรรมวินัย) ทำให้ชาวอินเดียมีจิตที่เมตตา ไม่ส่งทหารไปรุกรานประเทศอื่น ๆ ไม่แย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นประชาชนที่เรียกร้องประเทศอังกฤษ ด้วยการใช้ความอดทน ไม่เบียดเบียนสู้รบด้วยอาวุธ
๑๔. ทรงตอนกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์มอบให้พระนางสังฆมิตตา (พระธิดา) นำไปปลูกที่เมืองอนุราธปุระศรีลังกา และกลายเป็นสิ่งที่ชาวศรีลังกาเคารพสักการะมากที่สุดในประเทศ
พระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ เขียน ว่าพบต้นเสาศิลาพระเจ้าอโศกตามสถานที่และเมืองต่าง ๆ จำนวน ๒๙ ต้น บางเสาแตกหักไม่สามารถระบุขนาดเสาได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ ของวัดไทยพุทธภูมิจัดพิมพ์เผยแพร่
โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557
พระเจ้าอโศกมหาราช
การจะอำลาแคว้นมคธไปยังแคว้นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พุทธสังเวชนียสถาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกล่าวถึงพระเจ้าอโศกมหาราชอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา หากไม่มีพระองค์ ศาสนาพุทธ ก็คงไม่สามารถเผยแผ่ออกไปนอกประเทศอินเดีย ให้พุทธศาสนาได้ไปหยั่งรากลึกที่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกสำหรับในแถบเอเชีย คือประเทศศรีลังกา ญี่ปุ่น พม่า จีน เกาหลี ไทย และอื่น ๆ
พระองค์มีพระประวัติดังนี้
พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. ๒๔๐ - พ.ศ. ๓๑๒ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐- พ.ศ. ๓๑๑) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม (บางแห่งเรียกพระนางธรรมา) พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา ๑๑ พระองค์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน ๕๐๐ ใคร ไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม
พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง
นอกจากนี้ที่สำคัญคือ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น ๙ สาย สายที่ ๘ มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ ๔๑ ปี
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป เป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นับถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา
เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells; ๑๘๖๖- ๑๙๔๖ ) นักเขียนชาวอังกฤษ ก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน ๖ อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสกราตีส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น
บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป
หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคต พระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน เมื่องูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง
พระเจ้าอโศกทรงขุดพบสถานที่เผาพระพุทธสรีระหรือที่เรียกกันว่า "เนินดินเจ้าชายสิ้นชีพ"
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๖ อำลาแคว้นมคธ ๓
อำลาแคว้นมคธ ๓
บริเวณเบณจคีรีนคร เคยรุ่งเรืองตามที่พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวไว้ ว่า มีประตูใหญ่ล้อมถึง ๒๓ ประตู มีประตูเล็ก ๆ อีก ๖๔ ประตู เรียงรายอยู่ตามกำแพงเมือง มีวังอันเป็นที่ประทับของพระราชา ราขินี ราชโอรส พระธิดา และข้าราชบริพารอันสง่างามประดับด้วยแก้วมณีจากต่างนคร บัดนี้เหลิอเพียงซากปรักหักพังที่ห้อมล้อมไว้ด้วยเบญจคีรีเท่านั้น
ณ บริเวณส่วนหนึ่งของเขตพระราชฐาน ที่อชาตศัตรูกุมารกำหนดไว้เป็นที่กักบริเวณพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา หรือเรียกว่าเรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร ก็คือคุก นั่นเอง ปัจจุบันทางการของรัฐพิหาร ได้ปักเขตบอกว่า เป็น Phimbisar Jail มีการก่อห้อนหินขึ้นประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร โดยมีป่าละเมาะล้อมไว้ ตรงกลางมีห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หากยืนที่ซากกำแพงหินเรียงซ้อนหนาประมาณ ๖ ฟุต จะมองเห็นยอดเขาคิชฌกูฎได้ชัดเจน ที่แห่งนี้อธิบายกันว่าครั้งก่อนเคยเป็นที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธโดยอชาตศัตรูพระราชโอรสทำปิตุฆาต ด้วยการกักบริเวณให้อดอาหารและขังเดี่ยว พระเจ้าพิมพิสารทรงพึ่งพุทธานุภาพยืนทอดพระเนตรชายจีวรของพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่มูลคันกุฎี ยอดเขาคิชฌกูฎ จนสิ้นพระชนม์ในคุกนั้น เพียงพระชนมายุ ๕๒ พรรษา ก่อนพระพุทธองค์ปรินิพพาน ๗ ปี เท่านั้น
(ขณะเมื่อพระนางโกศลเทวี พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร ทรงพระครรภ์และแพ้ท้อง อยากเสวยโลหิตที่เข่าเบื้องขวาของพระเจ้าพิมพิสาร โหราจารย์ทำนายว่า กุมารที่เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระมเหสีตกพระทัยพยายามทำลายชีวิตพระกุมารในพระครรภ์ แต่พระเจ้าพิมพิสารไม่ยอม พยายามป้องกัน และได้สเดาะเคราะห์ ด้วยการสร้างวัด มัททกุจิมฤคทายวัน ( Maddakuci ) ถวายพระองค์
มัททกุจิมฤคทายวัน ( Maddakuci ) แปลว่าถูหรือนวด บางครั้งมีต่อท้ายว่า มัททกุจิมฤคทายวัน ในพระบาลีกล่าวว่าตั้งอยู่เชิงเขาคิชฌกูฏ พอเดินทางจะขึ้นเขาคิชฌกูฏ ข้ามสะพานเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง จะเห็นป้ายบอกว่่าที่นี่เคยมีสถูปเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่สร้างไว้เป็นเครื่องหมายว่า สถานที่นี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงกวาง และสัตว์ป่าเหมือนอย่างมฤคทายวัน ที่สงวนไว้มิให้ใครมาทำอันตรายต่อสัตว์ในบริเวณนี้
เมื่อพระเจ้าอาชาตศัตรูสำนึกในความผิดที่ปลงพระชมม์พระราชบิดา มีรับสั่งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์พาไปเผ้าพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ที่ชีวกัมพวัน ทูลถามถึงสามัญญผลที่พึงได้รับในปัจจุบัน พระพุทธองค์ทรงแสดงสามัญญผลสูตร ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ คือประโยชน์จากการกำรงเพศเป็นบรรพชิต ตรัสอานิสงส์ของการออกบวช ทรงชี้แจงให้เห็นว่าชีวิตของฆราวาสคับแคบ สมณเพศเป็นทางปลอดโปร่งในการประพฤตพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อันเป็นสามัญญผลเห็นได้ในปัจจุบัน
พระเจ้าอาชาตศัตรูทรงเลื่อมใสขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ทรงเป็นพุทมามกะ เป็นกำลังอุปถัมป์บำรุงพระศาสนาสืบมา พระบรมศาสดาตรัสกับเหล่าภิกษุหลังจากพระเจ้าอาชาตศัตรูเสด็จกลับไปแล้วว่า
"หากท้าวเธอมิได้กระทำปิตุฆาตเมื่อสดับธรรมที่เราแสดงในวันนี้ อย่างน้อยจะได้บรรลุโสกาปัตติผล แต่เพราะคบมิตรชั่ว เธอจักต้องไปบังเกิดในโลหกุมภีนรกอีกเป็นเวลานาน จากนั้นจึงจะสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า ชีวิตวิเสสะ "
พระเจ้าปเสนธิโกศลทรงพิโรธ ที่พระเจ้าอาชาตศัตรูปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา จึงยกกำลังมายึดหมู่บ้านที่พระมหาโกศล (พระราชบิดา ) ประทานแก่ พระนางโกศลเทวี (พระขนิษฐา) เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร โดยเหตุว่า กระทำปิตุฆาต ไม่มีสิทธิปกครองหมู่บ้านที่เคยเป็นอาณาเขตของแคว้นโกศล
พระเจ้าอาชาตศัตรูยกกำลังออกไปต่อสู้ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะหลายครั้ง จนพระเจ้าอาชาตศัตรูถูกพระเจ้าปเสนธิโกศลจับได้สั่งให้สละราชสมบัติ แต่ต่่อมาทรงเปลี่ยนพระทัยปล่อยให้เป็นอิสระด้วยเห็นว่าเป็นพระราชนัดดา พร้อมยกพระธิดาชื่อวชิราให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอาชาตศัตรู
ต่อมาขณะพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ที่นิคม เมทฬุปะ แคว้นสักกะของศากยราช พระเจ้าปเสนธิโกศลเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศาสดา ก่อนเสด็จเข้าคันธกุฎี ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้ฑีฆการยนะ อำมาตย์เป็นผู้เก็บรักษา เพราะเห็นว่าไม่เป็นการบังควรที่จะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาด้วยพระยศ ดำริเข้าเฝ้าแต่ลำพัง
ฑีฆการยนะ แค้นใจและอาฆาตที่พระเจ้าปเสนธิโกศลสั่งประหารชีวิตพันธุละเสนาบดีผู้เป็นลุงพร้อมบุตรชาย ๓๒ คน เพราะหลงเชื่อคำยุยงจากอำมาตย์อื่น เนื่องมาจากการตัดสินความของพันธุละ ฑีฆการยนะ ผู้เป็นหลานได้เป็นอำมาตย์แทนลุง เนื่องจากพระเจ้าปเสนธิโกศลยังไม่ประทานอภัยโทษให้พันธุละทั้งที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ฑีฆการยนะ จึงคิดแก้แค้น
ฑีฆการยนะนำเครื่องราขกกุกภัณฑ์อันเป็นสัญญลักษณ์กษัตริย์ไปถวาย วิฑูฑภะ พระราชโอรสพระเจ้าปเสนธิโกศลกับพระนางวาสภขัตติยา แต่งตั้งวิฑูฑภะ เป็นพระราชา เหลือเพียงม้าและนางทาสีไว้ให้พระเจ้าปเสนธิโกศล
เมื่อพระเจ้าปเสนธิโกศลเสด็จออกจากที่เข้าเฝ้า ทราบความจากนางทาสี จึงเสด็จไปกรุงราชคฤห์เพื่อขอกำลังจากพระเจ้าอาชาตศัตรู เมื่อเสด็จไปถึงเป็นเวลาที่ประตูพระนครปิดแล้ว จึงเสด็จไปบรรทมอยู่ในศาลาแห่งหนึ่ง เนื่องจากทรงพระชรามากแล้ว ประกอบกับทรงเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง พระเจ้าปเสนธิโกศลสวรรคตในศาลาที่พักในคืนนั้นเองเพราะต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว และมีพระชนม์มากถึง 80 พรรษา เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง
พระเจ้าวิฑูฑภะ เมื่อเจริญวัยได้รับตำแหน่งเสนาบดี ขณะ ๑๖ ชันษา พระกุมารเสด็จไปเยี่ยมศากยะตระกูล มหาดเล็กที่ตามเสด็จได้ยินนางทาสีคนหนึ่งกล่าวว่า นี่เป็นอาสนะที่บุตรของนางทาสีวาสนชัตติยานั่ง แล้วเอาน้ำเจือน้ำนมล้างอาสนะนั้น มหาดเล็กกราบทูลความให้ทราบ วิฑูฑภะ อาฆาตว่า หากได้ครองราชสมบัติ จะทำลายล้างเหล่าศากยะทั้งหลาย
เมื่อได้เสวยราชสมบัติจึงยกกองทัพมาหมายจะทำลายล้างเหล่าศากยะให้หมดแม้แต่ทารกซึ่งดื่มน้ำนม ยกเว้นแต่พระมหานามะผู้เป็นพระเจ้าตาเท่านั้น
พระพุทธองค์เสโ่จไปห้ามทัพหลายครั้งหลายหน ในที่สุดทรงเห็นว่าเป็นกรรมที่เคยกระทำกันมา จึงไม่ืทรงห้ามอีก ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก โลหิตเหล่าศากยะไหลประดุจสายน้ำ
ขณะเสด็จกลับกรุงสาวีตถี ถึงแม่น้ำอจิรวดีในเวลากลางคืน พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ตั้งค่ายพัก พวกทหารที่มีกรรมหนักล้มตัวลงนอนบนหาดทราย ที่มีกรรมเบาขึ้นไปนอนในที่สูง
คืนนั้นฝนตกหนัก น้ำหลากมามากมายหนีไม่ทัน ทำให้พระเจ้าวิฑูฑภะ ซึ่งบรรทมอยู่ที่หาดทรายริมน้ำ สิ้นพระชนม์พร้อมด้วยบริวาร ถูกน้ำท่วมไหลสู่มหาสมุทร เป็นเหยื่อของปลาและเต่าในท้องน้ำนั่นเอง
พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมาร
ส่วนพระเจ้าอาชาตศัตรู ทรงปกครองการเมืองโดยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมและราชสังควัตถุ ทำให้ประชาราษฎร์อยู่อย่างเป็นสุข และยังมีแสนยานุภาพเป็นที่เกรงขามของแคว้นอื่น แต่ก็ไม่สามารถอุปสมบท หรือบรรลุธรรมขั้นสูง เพราะการกระทำหนักคือปิตุฆาต พระองค์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยดีโดยตลอด
แม้พระเจ้าอชาตศัตรูจะทำนุบำรุงพระพระพุทธศาสนามากมายเพียงใดก็ไม่อาจลบล้างบาปกรรมจากการปิตุฆาตได้ ในที่สุดพระองค์จึงถูกพระเจ้าอุทัยภัทร ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ลอบปลงพระชนม์และยึดราชสมบัติไป
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้บอกกล่าวไว้ว่า เมื่อพระองค์สวรรคต กุศลที่พระองค์ได้มาจากการเป็นศาสนูปถัมภ์ในการปฐมสังคายนาบวกกับทำนุบำรุงพระพระพุทธศาสนาได้นำมาหักล้างบาปแห่งอนัตริยกรรมที่ทำไว้จึงทำให้พระองค์ไม่ไปบังเกิดในมหานรกอเวจี แต่ไปบังเกิดในนรกที่ชื่อว่า โลหกุมภีนรก เสวยทุกขเวทนาเป็นเวลา 60,000 ปีนรก เมื่อชดใช้กรรมนหมดแล้ว พระองค์ก็ไปบังเกิดเป็นพระปักเจกพระพุทธเจ้าอีกองค์ มีนามว่า ชีวิตวิเสส ในอนาคตเช่นเดียวกับพระเทวทัต
สถูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์
หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอุทัยภัทรปกครองได้ไม่นานก็ถูกพระราชโอรสทำการลอบปลงพระชนม์และชิงราชสมบัติ หลังจากนั้นพระราชโอรสก็ถูกพระราชโอรสลอบปลงพระชนม์อีกจนรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนชาวเมืองต่างก็ไม่พอใจเพราะเห็นว่าราชวงศ์หารยังกะได้กลายเป็นราชวงศ์แห่งปิตุฆาตไปแล้ว เป็นเสนียด ไม่สมควรแก่การปกครอง อำมาตย์สุสุนาค ก็เห็นด้วยจึงทำการก่อรัฐประหารล้มล้างราชวงศ์หารยังกะและก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
ภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)
วิกิพีเดีย
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๕ อำลาแคว้นมคธ ๒.
อำลาแคว้นมคธ ๒
แคว้นมคธในพุทธกาล เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของชมพูทวีป พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสารทรงมีความสำคัญในทางด้านการเมืือง การศาสนา การเศรษฐกิจ และทางทหาร มีความรุ่งเรืองมั่งคั่งสมบูรณ์เป็นที่ชุมนุมเจ้าศาสดาลัทธิ และมีเศรษฐีมากมาย มีอำนาจมาก
เมืองหลวงของแคว้นคือกรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นอังคะ อาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกันแคว้นอังคะ ทิศเหนือติดกับแคว้นวัชชี ทิศตะวันตกติดกับแคว้นกาสี
พรมแดนของแคว้นมคธ ทางตะวันออกจดแม่น้ำจัมปาอันเป็นแดนแบ่งเขตแคว้นอังคะ กับแคว้นมคธ ทางทิศเหนือจดแม่น้ำคงคา อันเป็นแดนแบ่งเขต ของแคว้นมคธกับแคว้นวัชชี
กรุงปาฏลีบุตรหรือปัฏนาปัจจุบันตั้งอยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคา อันเป็นที่สุดเขตของแคว้นมคธในสมัยนั้น
ทิศตะวันตกฝ่ายประวัติศาสตร์และโบราณคดีลงความเห็นว่า น่าจะจดแม่น้ำโสณะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐพิหาร เป็นแม่น้ำที่กว้างมาก มีสะพานรถยนต์และสะพานรถไฟข้ามยาวถึง ๓ กิโลเมตรเศษ กล่าวว่าเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในอินเดีย
ทางทิศใต้บางพวกกล่าวว่า ถึงแนวด้านเหนือของจังหวัดหะซารีบาฆ บางพวกว่าเลยไปจนถึงเขาวินธัย หรือวินธยะ อันควรเป็นแนวแบ่งเขตโดยธรรมชาติ
พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ที่มีน้ำพระทัยกว้างขวาง ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรือง โดยนำศาสนกุศโลบายมาเป็นส่วนเชื่อมประสาน กรุงราชคฤห์เป็นเมืองอุทยานการศึกษาเสรี
มหานครราชคฤห์
จัดเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งใน ๖ นครของอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาของชมพูทวีป มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ศิริวลาศ กุสาครปุระ พารพัทรถปุระ ราชคหะ เป็นต้น ในคัมภีร์พระพุทธศานากับศาสนาชินเรียกว่า กุสาคร เพราะเหตุว่ามีหญ้ากุสะ ขึ้นเต็มเมือง
ในรามเกียรติ์เรียกเมืองนี้ว่า วสุมาตี เพราะกษัตริย์วสุ เป็นผู้สร้าง
ตามตำนานเมืองราชคฤห์นี้มหาโควินท์ วิศวกรเอกในครั้งกระโน้นเป็นผู้ออกแบบและอำนวยการสร้าง เดิมเมืองนี้ชื่อว่ากุสานคร อยู่บนภูเขา ถูกไฟป่าไหม้บ่อย ๆ จึงสร้างเมืองใหม่ที่เชิงเขา มีผู้เรียกเมืองราชคฤห์ที่สร้างใหม่นี้ว่า พิมพิสารปุระก็มี
พระพุทธองค์เมื่อเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ก็มุ่งตรงมายังแคว้นมคธ
ตลอดเวลา ๖ ปีที่ทรงแสวงหาโมกธรรมก็ประทับอยู่ในแคว้นมคธทั้งสิ้น พระพุทธศาสนามีความมั่นคงในแคว้นนี้มาตลอด โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนาได้แผ่ไปสู่ดินแดนต่าง ๆ แห่งแคว้นมคธจนถึงยุคอัปปางเมื่อชาวมุสลิมเตอร์กเข้ารุกรานในปี พ.ศ. ๑๗๔๓
เป็นเวลาเกือบ ๘๐๐ ปี ที่แคว้นมคธเมืองแห่งวิหาร สังฆาราม สถูปเจดีย์ ได้กลายเป็นเพียงซากแห่งอดีตตั้งแต่บัดนั้น
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ เขียนไว้ว่า เมืองราชคฤห์แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนในเรียกว่า อันตรนคร ส่วนนอกเรียกว่าพาหิรนคร ตามคัมภีร์พุทธวังสะกล่าวว่าตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์เคยเสด็จแวะเวียนมาประทับจำพรรษาอยู่ในนครราชคฤห์ ในพรรษาที่ ๒, ๓ ,๔ ,๗ และ ๒๐ โปรดประทับ ณ ที่เวฬุวันวิหารหลายพรรษา
เพียงซากกำแพงเมืืองที่ตระหง่านเลื่อยตามถูเขาก่อนกำแพงเมืองจีนของจิ๋นซีฮ่องเต้จะอุบัติ และบริเวณเวียงวังที่กว้างใหญ่ เพียงนี้ก็ส่อให้เห็นแวดวงแห่งความยิ่งใหญ่ เหมือนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนา และการปกครองแว่นแคว้นนี้แต่หนหลัง
พระไตรปิฎก คือคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา ในส่วนของพระสูตรต่าง ๆ โดยเฉพาะธรรมนิทาน มีต้นเค้้ามาจากเมืองนี้มากมายอันเป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงไว้ที่สำคัญ หลายสูตร และยังบอกถึงสถานที่ ๑๐ แห่งในเมืองราชคฤห์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ ให้ดำรงรูปกายอยู่เกินกว่า ๑๐๐ กัปป์ คือ เขาคิชฌกูฏ โคตมนิโครธ เหวทิ้งโจร สัตบรรณกาลีศิลา สีตวัน ตโปธาราม เวฬุวัน ชีวกัมพวัน มัททกุจิมฤคทายวัน โดยเฉพาะสีตวันนั้น หลวงจีนถังซำจั๋งสันนิษฐานว่า คือที่ตั้งเมืองราชคฤห์ใหม่ของพระเจ้าอชาตศัตรู แต่ในพระบาลีกล่าวว่า สีตวันอยู่บนเขาลูกหนึ่ง ลักษณะที่เป็นปราการตามธรรมชาติ ที่ผู้มาแสวงบุญควรจะได้ชม คือ เบญจคีรี คือภูเขา ๕ ลูก ที่ล้อมมหานครดุจกำแพงอันทรงพลัง ได้แก่ เวภาระ เวปุลละ บัณฑวะ คิชฌกูฎ อิสีคิลิ
เขาคิชฌกูฏ คือหนึ่งในเบญจคีรี ที่มีลักษณะเหมือนนกแร้ง หรือเป็นที่เกาะอาศัยของฝูงแร้งที่มาคอยกินซากศพโจรที่ถูกประหารและทิ้งลงเหว ต้องใช้ความพยายามมาก ๆ ที่จะมองภาพให้เหมือนแร้งให้ได้
ในประวัติการขุดค้น กล่าวว่า ศรีอัศวินีกุมารทัตต์ ชาวเมืองพาริศาลในแคว้นเบงกอล เป็นคนแรกที่ค้นคว้าหาแหล่งสำคัญของพระพุทธศาสนาในเมืองราชคฤห์ ได้พบถนนสายขึ้นสู่ยอดเขาคิชฌกูฏ บริเวณที่ตั้งของเวฬุวนาราม ชีวกัมพวัน ก็ดีเป็นผลงานของท่านศรีอัศวินีกุมารทัตต์ ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๙ ภิกษุชาวพม่า เข้ามาสำรวจอย่างจริงจังและถากถางทางขึ้นไปสู่ยอดเขา
(ชีวกัมพวัน เป็นสังฆารามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์หลวงประจำสำนักพระเจ้าพิพิสาร มีศรัทธาถวายป่่ามะม่วงให้เป็นสังฆาราม และเคยเป็นที่ถวายการพยาบาลพระบรมศาสดาคราวถูกพระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์ชีพที่เขาคิชกูฏ บางท่านก็เรียกว่าโรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกในโลก และเป็นสถานที่แห่งแรกที่พระเจ้าอาชาตศัตรูเข้าเฝ้าเผชิญพระพักตร์พระพุทธองค์หลังจากประกอบกรรมชั่วปิตุฆาตปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดาแล้ว และสมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์พระพุทธองค์ หลังจากฟังพระธรรมเทศนาในสามัญญผลสูตร แจ่มแจ่งในขิตรำลึกถึงบาปที่ลาวงเกินพระพุทธองค์ในอดีต กรรมเวรที่ทำปิตุฆาตพระบิดาเพราะหลงผิด จึงกราบทูลขอขมาลาโทษต่อพระพุทธองค์ ขอรับไตรสรณคมม์ในท่ามกลางประชุมสงฆ์)
ทางขึ้นเขาคิชกูฎนั้นมีขนาดกว้างเกือบสองเมตร แบ่งเป็นขั้นบันไดไม่ให้ลาดชันจนหมดกำลังขาก่อนถึงปลายเขา มีจุดที่เล่ากันว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นไว้ ณ ที่ ที่พระเจ้าพิมพิสารเสด็จลงจากรถพระที่นั่งแล้วขึ้นประทับบนหลังช้างพาขึ้นเขาเพื่อเข้าเผ้าพระพุทธองค์ มีฐานสี่เหลี่ยมของเจดีย์ที่หลวงจีนถ้งซำจั๋งสันนิษฐานว่า เมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาถึงที่นี่แล้วก็ลงจากหลังช้างพระที่นั่ง โปรดให้เสนาบดีและอำมาตย์ที่ติดตามพระองค์มาคอยอยู่ที่นี่ ส่วนพระองค์ข้ามฟากไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ วิหารบนส่วนแห่งยอดเขา
ด้านขวามือจะมองเห็นเขาเวปุลละ ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงกองกระดูกของผู้เสียนว่ายตายเกิด ซ้ำ ๆ ซาก ๆ กองเท่าภูเขาหิน
เมื่อข้ามสะพานที่เป็นสายน้ำไหลผ่านจากเขาหนึ่งลงมาสู่เหวใหญ่และไหลลงไปสู่ที่ราบของตีนเขา มีป้ายบอกว่า Gichakuta คือการเข้าสู่บริเวณเขาคิชฌกูฎ ในที่ไม่ไกลมีแอ่งน้ำขังพอที่หมู่พระอรหันต์ที่จำพรรษาบริเวณนี้ ได้ฉันหรือสรงน้ำ บริเวณนี้เป็นป่าไม้ร่มรื่น เงาภูเขาที่ทอดลงมาทางเดินทำให้เย็นสบาย เข้าสู่อาณาจักของพระอริยเจ้า อันเขาหินที่ตั้งอยู่ตามธรรมชาติ ชะง่อนผาที่บางแห่งชะโงกเงื้อมเหมือนม่านที่มีศิลปินประดิษฐ์ขึ้นมา บางซอกมีโพรงเหมือนถ้าที่พระอรหันต์ทั้งหลายอาศัยจำพรรษาในครั้งพุทธกาล
ในคัมภัร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าเขาคิชฌกูฎ เป็นที่จำพรรษาของพระสารีบุตร พระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระปุณณมันตานีบุตร และพระอุบาลี เป็นต้น
เวฬุวนาราม
ขอขอบคุณภาพจาก
www.dhammajak.net
เวฬุวนารามมหาสังฆิกาวาส (Valuvanaram)
เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา เดิมเป็นอุทยานสวนไม่ไผ่นานาชนิดของพระเจ้าพิมพิสารที่ประทานให้
ส่วนที่เรียกว่ากลันทกนิวาปะ คือ เป็นที่ให้เหยื่อกระรอก กระแต
อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า โมรนิวาปะ คือ เป็นที่ให้เหยื่อนกยูง
ขอขอบคุณภาพจาก
www.oknation.net
พระเจ้าพิมพิสารทรงจับสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำมอบถวายสวนไผ่แด่พระพุทธองค์ ให้เป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งแรก
พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายส่วนที่เป็น กลันทกนิวาปะ ให้เป็นพระอารามแด่พระพุทธเจ้าและสาวก
ส่วนที่เป็น โมรนิวาปะ ทรงอนุญาตให้เป็นที่พักของปริพาชกซึ่งเป็นนักบวขพวกหนึ่ง
แสดงถึงพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นศาสนูปถัมภ์ของทุกลัทธิ แม้มิได้นับถือก๋ไม่ทรงเบียดเบียนกัน พระเจ้าพิมพิสารถวายเวฬุวันให้แก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธองค์เป็นประมุข ทรงจับสุวรรณภิงคาร หลั่งน้ำมอบถวายแด่พระพุทธองค์
ด้วยเหตุนี้ในกาลต่อมาพระพุทธองค์รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายทรงอนุญาตให้มีอารามได้
นับว่าเวฬุวันแห่งนี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธงค์ทรงประทับอยู่นาน ในพรรษา ๒, ๓,๔
ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้อัครสาวก ทั้ง ๒ องค์คือ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร
เป็นที่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระอริยสาวก ๑,๒๕๐ องค์ ในวันจาตุรงคสันนิบาต เพ็ญเดือนสาม
ทรงแต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นพระภัตตุเทสกะ และเสนาสนะเทสกะ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา ณ พระอารามเวฬุวันนี้
ทรงบัญญัติพระวินัยหลายสิกขาบท
ทรงแสดงพระธรรมเทศนาในพระสูตรสำคัญหลายพระสูตร
ขอขอบคุณภาพจาก
www.qa.mbu.ac.th
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุททฺโธ)
ภาพเก่าเล่าเรื่องพระพุทธองค์ โดยพระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ (นาลาด)
วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๔ อำลาแคว้นมคธ ๑.
อำลาแคว้นมคธ ๑.
แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส
แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้
ราชอาณาจักรมคธถือเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในชมพูทวีป ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ ถือกำเนิดขึ้นไล่เลี่ยกับการกำเนิดของมหาชนบท ๑๖ แคว้น มีเมืองหลวงครั้งแรกชื่อราชคฤห์ ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูจึงย้ายเมืองหลวงไปยังปาฏลีบุตร (ปัฏนะ) ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มคธได้ผ่านการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะมาจากอำมาตย์สุสุนาค มหาโจรนันทะ จันทรคุปต์ พราหมณ์ปุษยมิตร ฯลฯ แคว้นมคธได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๕๑๖ กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอันธระ ต่อมา ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๙ ราชอาณาจักรมคธก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของราชวงศ์คุปตะ อันเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ
กษัตริย์แห่งแคว้นมคธเท่าที่มีหลักฐานแน่นอน แบ่งออกเป็น ๗ ราชวงศ์ ดังนี้
๑. ราชวงศ์หารยังกะ
พระเจ้าภาติกะ
พระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าอชาตศัตรู
พระเจ้าอุทัยภัทร
พระเจ้าอนุรุทธะ
พระเจ้ามุณฑกะ
พระเจ้านาคทาสกะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคเห็นว่า ราชวงศ์หารยังกะเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยตลอด จึงทำรัฐประหารเพื่อมิให้เป็นเสนียดแก่อาณาจักรอีก
๒.ราชวงศ์สุสุนาค
ตั้งโดยขุนนางชื่อสุสุนาค
พระเจ้าสุสุนาค
พระเจ้ากาฬาโศก
พระเจ้าภัทรเสน
การสิ้นสุดของราชวงศ์สุสุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะก่อรัฐประหาร
๓ ราชวงศ์นันทะ
ตั้งโดยมหาโจรชื่อนันทะ
พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
พระเจ้าธนนันทะ
บางตำราบอกว่ายังมีต่ออีก คือ
พระเจ้าปัณฑกะ
พระเจ้าปัณฑุกติ
พระเจ้าภูตปาละ
พระเจ้าราษฎระปาละ
พระเจ้าโควิสาร
พระเจ้าทสสิทธิกะ
พระเจ้าไกวารตะ
พระเจ้าธนะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์นันทะ เกิดจากการทำรัฐประหารของจันทรคุปต์ ภายใต้การวางแผนของพราหมณ์จาณักยะ ซึ่งไม่พอใจราชสำนักปาฏลีบุตรในขณะนั้น
๔.ราชวงศ์เมาริยะ
ตั้งโดยจันทรคุปต์
พระเจ้าจันทรคุปต์
พระเจ้าพินทุสาร
พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าสัมปทิ
พระเจ้าทศรถ
พระเจ้าสาลิสุกะ
พระเจ้าเทวธัมมะวรมนะ
พระเจ้าสมตะธนุ
พระเจ้าพฤหัสรถ
การสิ้นสุดของราชวงศ์เมาริยะ มาจากการทำรัฐประหารของพราหมณ์ปุษยมิตร ซึ่งนับเป็นผลกระทบจากนโยบายของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งผลกระทบต่อพราหมณ์โดยตรง เมื่อราชวงศ์อ่อนแอ กลุ่มอำนาจพราหมณ์จึงเข้าทำรัฐประหาร และกวาดล้างพระพุทธศาสนาในมคธครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา
๕.ราชวงศ์สุงคะ
ตั้งโดยพราหมณ์ชื่อปุษยมิตร
พระเจ้าปุษยมิตร
พระเจ้าอัคคนิมิตร
พระเจ้าสุชเยษฐา
พระเจ้าวสุมิตร
พระเจ้าอรทรากะ
พระเจ้าปุรินทกะ
พระเจ้าโฆษวสุ
พระเจ้าวัชรมิตร
พระเจ้าภควตะ
พระเจ้าเทวภูติ
๖.ราชวงศ์กานวะ
พระเจ้าวาสุเทวะ
พระเจ้าภูมิมิตร
พระเจ้านารายนะ
พระเจ้าสุลารมัน
หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 516 พระเจ้าศรีมุขะแห่งอันธระยึดแคว้นมคธได้เป็นอันว่าแคว้นมคธได้ล่มสลายลงเป็นครั้งแรก ก่อนจะฟื้นอีกครั้งในราชวงศ์คุปตะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557
หลวงพ่อพุทธโสธร
ขอตอบน้อง ที่ใช้นามว่าชอบเที่ยว ที่จะต้องมีการ Present หวังว่าจะพอเป็นประโยชน์สำหรับงานนี้ของน้องชอบเที่ยว
เรื่องหนังสือข้อมูลพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารนั้น
พลอยโพยมคัดลอกมาจากหนังสือ โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแห่งบุญ ซึ่งจัดพิมพ์โดย คุณฐิระวัตร กุลละวณิขย์ ขณะดำรงตำแหน่ง อธิบกรมโยธาธิการและผังเมือง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการและบริหารงานก่่อสร้างพระอุโบสถ ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลหนังสือแห่งปี ในขณะนี้นด้วย หนังสืองามมาก ตั้งแต่กล่องใส่หนังสือ หน้าปกและภายในเล่มหนังสือ ไม่มีจำหน่ายค่ะ พลอยโพยมได้รับความอนุเคราะห์ จากเพื่อน ชื่อคุณสุดา ชัยรัต ไปตามล่าหามาให้
เรื่องใบเสมา น้องลองเข้าไปอ่านบทความนี้ใน
http://school.obec.go.th/bkngm/pic/bai-sema.html
รวมทั้งพลอยโพยมมีบทความ เกี่ยวกับ วัด หลวงพ่อพุทธโสธร และพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร รวม 4 บทความ ตามวันที่ ดังนี้
วัด..สัญลักษณ์ แห่งความศรัทธาของชาวพุทธ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554
พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร : สถาปัตยานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 255454
พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร : สถาปัตยานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
ตำนานพระพุทธรูปสามพี่น้อง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
โดย คลิกขวา ในหัวข้อคลังบทความของบล็อก เลือก ปี 2011 แล้วคลิกเดือน กันยายน
ด้านข้างพระอุโบสถมีวิหารที่มีผู้คนมากมายไปจุดธูปเทียนถวายดอกไม้บูชาที่ด้านนอกและเข้าไปปิดทองพระพุทธรูปด้านในนั้น เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธรองค์จำลองรวมทั้งพระพุทธรูปต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า
สาเหตุที่มีองค์พระพุทธโสธรองค์จำลอง (ซึ่งมีหลายองค์ ) ก็เพราะมีวาระที่ต้องอัญเชิญหลวงพ่อออกนอกพระอุโบสถหลายวาระ เช่น อัญเชิญหลวงพ่อมาแห่รอบตลาดในงานวันแห่หลวงพ่อประจำ ปี ช่วงเดือน 12 ของทุกปี เป็นการแห่หลวงพ่อทางบก มีการอัญเชิญ หลวงพ่อลงเรือแห่ทางน้ำ 2 วันหลังจากแห่ทางบกแล้ว ในบางคราวก็มีวาระอื่น ๆ อีกด้วย เป็นเรื่องราวขนบธรรมเนียมที่สืบสานมาเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้ว ส่วนหลวงพ่อองค์จริงก็สถิตอยู่บนแท่นในพระอุโบสถตลอดเวลา
ขณะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ หลวงพ่อองค์จริงซึ่งได้ก่อปูนครอบองค์พระไว้คือไม่ได้เคลื่อนย้ายท่านไปไหน จนเมื่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จซึ่งใช้เวลายาวนานหลายปี ปรากฎว่าปูนที่หุ้มองค์จริงไว้นั้นร้าว ก็เลยต้องมีการปั้นปูนหุ้มองค์พระใหม่ สังเกตุฝีมือปั้นปูนหุ้ม จะเห็นชัดว่าคนละฝีมือกันเนื่องจากเป็นคนละคนปั้นและเป็นคนละยุคสมัยกันด้วย
ในระหว่างการก่อสร้าง ก็ยังต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้คนที่นับถือศรัทธามากราบไหว้ แก้บน ปิดทององค์หลวงพ่อโสธร จึงมีวิหารชั่วคราวสำหรับการนี้ และวิหารนี้ก็มีหลวงพ่อโสธรองค์จำลององค์เดิมที่มีมาแต่เดิม เป็นพระประธาน พร้อมพระพุทธรูปที่เคยอยูในพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อให้ผู้คนที่เคารพนับถือศรัทธาปิดทองถวายบูชา และก็เลยมีวิหารนี้มาโดยตลอดแม้การสร้างพระอุโบสถเสร็จสิ้นลง ส่วนในอุโบสถจริงไม่มีการปิดทององค์พระพุทธรูป
ขอให้ Present บทความสำเร็จราบรื่นด้วยดีนะคะ
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ เพื่อ นมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ๑๓
พุทธศิลปของมหาเจดีย์พุทธคยา
ยอดมหาเจดีย์พุทธคยา
ขอขอบคุณภาพจาก
www.mattaiya.org
ขอขอบคุณภาพจาก Shunya.net
ขอขอบคุณภาพจากimages.palungjit.org
ขอขอบคุณภาพจาก www.thongthailand.com
วัดพุทธนานาชาติในเมืองคยา ของ ROYAL BHUTAN MONSATERY
ฝ้าเพดานภายในวัด
วัดพุทธญี่ปุ่น
ชาวพุทธพม่า
ร้านค้าหน้าบริเวณวัด