วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๓๔ นครโกสัมพี. ๒
นครโกสัมพี
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net
ในนครั้งพุทธกาล ชมพูทวีปเป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่ไพศาล แบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๖ แคว้น ในจำนวนนั้นมี แคว้นวังสะที่มีนครโกสัมพีเป็นเมืองหลวง และยังเป็น ๑ ใน ๔ ของเมืองมหาอำนาจครั้งพุทธกาลกล่าวคือ
วัชชี เป็นเมืองมหาอำนาจทางการปกครอง
โกศล เมืองมหาอำนาจทางการทหาร
มคธ เมืองมหาอำนาจทางการศึกษา
วังสะ เมืองมหาอำนาจทางการค้าขาย
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net
นครโกสัมพีเคยรุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการ ในสมัยพุทธกาลเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ระหว่างเมืองโกศล กาสี กุสินารา มัลละ ด้วยว่านครโกสัมพีมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำยมุนาไหลตลอดปี ปลูกข้าวสาลีและอ้อยได้ผลดี
ภูมิประเทศของนครโกสัมพี
ทางทิศใต้ติดกับแคว้นโกศล
ทางทิศตะวันออกติดกับแคว้นกาสี
ทางทิศเหนือติดกับแคว้นอวันตี
และมีเส้นทางที่สะดวกในการติดต่อกับเมืองต่่าง ๆ ได้ดี เช่น อุชเชนี เวทิศา สาเกต สาวัตถี กุสินารา ปาวา เวสาลี ราชคฤห์ เป็นต้น
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net
พระพุทธองค์ได้เสด็จมากรุงโกสัมพีหลายครั้ง ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร เช่น โกสัมพิยสูตร สันทกสูตร ชาลิยสูตร เป็นต้น และได้บัญญัติพระวินัยไว้หลายคราว เช่น ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๒ เป็นต้น
ครังนั้นมีพุทธบริษัทจำนวนมากที่เคารพศรัทธาในพระพุทธองค์ด้วยการสร้างวัดถวายเป๋็นอารามที่พัก เช่นโฆสิตารามมหาวิหาร, กุกกุฏารามมหาวิหาร, ปาวาริการามมหาวิหาร หรือปาวาริกัมพวัน และพัทริการามมหาวิหาร โดยเฉพาะโฆสิตารามมหาวิหาร, ที่โฆสกเศรษฐี สร้างถวายพระพุทธองค์เสด็จมาประทับในพรรษาที่ ๙
ปัจจุบันกรุงโกสัมพีที่ลือชื่อในอดีตนั้น เหลือไว้เพียงซากปรักหักพัง กองอิฐ หินจากการพังทลายของปราสาทราชมณเฑียรสูงเหมือนเมืองร้างทั้งหลาย นครอันยิ่งใหญ่เหลือเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ โกสัมพี ( Kosambi ) ริมฝั่งยมุนานที ห่างจากเมือง อัลลาหบาด ( Allahabad ) ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ๑๖ กิโลเมตร
โกสัมพี เกือบจะเงียบสูญจากชมพูทวีป จะหลงเหลือให้ดูก็จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ( พ.ศ. ๙๐๐ ) กับหลวงจีนถังซำจั๋ง (พ.ศ. ๑๓๐๐ ) เท่านั้น
เมื่อเดินทางมาถึงจะเห็นสภาพโกสัมพี มีเพียงสังฆาราม ๑๐ แห่ง อยู่ในสภาพร้าง แต่ในปัจจุบัน ยังเหลือพื้นที่ไว้ให้เราได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาความเป็นมาในอดีตได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย - เนปาล
โดย พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น