วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๓ พระเจ้าปเสนทิโกศล
ซากกำแพงเมืองสาวัตถี
ขอขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เมืองสาวัตถี มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล
ในสมัยพุทธกาลเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการปกครองของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงบและรุ่งเรืองมาก
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า ๒๕ พรรษา
พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระนามเดิมว่า ปเสนทิ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหาโกศล กรุงสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระภคินีนามว่า เวเทหิ พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ กรุงตักศิลา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับกรุงสาวัตถีได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้หมู่ญาติมีพระชนก พระชนนีเป็นประธานได้ทอดพระเนตร ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล
ขอขอบคุณภาพจากpeonyice17.blogspot.com
เจ้าชายมีพระสหายอีก ๒ พระองค์ ที่เป็นศิษย์ร่วมรุ่นกัน คือ เจ้าชายมหาลิจากกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี และเจ้าชายพันธุละจากกรุงกุสินาราหนึ่งในเมืองหลวงของแคว้นมัลละ
เมื่อจบการศึกษาแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับมากรุงสาวัตถี และได้แสดงศิลปวิทยาให้พระชนกพระชนนีและพระประยูรญาติได้ทอดพระเนตรโดยทั่วหน้ากัน
ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล
ส่วนเจ้าชายพันธุละถูกคู่อริกลั่นแกล้ง แม้การแสดงศิลปวิทยาท่ามกลางพระประยูรญาติจะจบลงด้วยความพอใจของมหาสมาคม แต่เจ้าชายพันธุละทรงน้อยพระทัย จึงหนีออกจากเมืองกุสินารา มาขอถวายตัวเข้ารับราชการรับใช้พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ทรงดีพระทัยมาก จึงทรงแต่งตั้งให้พันธุละเป็นเสนาบดี
พระเจ้าปเสนทิโกศลเดิมทีนับถือศาสนานิครนถ์ (ศาสนาเชน) และเชื่อถือในการบูชายัญของพราหมณ์อีกด้วย เมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ยังไม่เลิกบูชายัญ และยังติดต่อกับพวกชีเปลือยเป็นต้นอยู่
เพราะว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระญาติกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ โดยพระนางเวเทหิอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระภคินีของพระองค์เอง (พระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งพระนางเวเทหิไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร และมอบเมืองในแคว้นกาสีให้พระเจ้าพิมพิสารเพื่อเป็นของขวัญ ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าพิมพิสาร)
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ
ชอขอบคุณภาพจาก prapirod.blogspot.com
ทำให้พระพุทธเจ้าสามารถมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีได้สะดวก เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมมีความเกรงใจในพระศาสดาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์เอง
ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระธรรมเทศนาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน และเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญองค์หนึ่ง โดยเป็นพระมหากษัตริย์ที่เกิดปีเดียวกันกับพระพุทธเจ้าและมีความรักเคารพและมีความสนิทสนมกับพระพุทธองค์มาก โดยทรงสร้างมหาสังฆารามถวายคือ ราชการามมหาวิหาร
ความสนิทสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระพุทธองค์นั้น ปรากฏในหลายเหตุการณ์เช่น ทรงเข้ามาจูบกอดพระบาทของพระพุทธเจ้า (ส่วนใหญ่เหตุการณ์เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน ธรรมเจดีย์สูตรโดยพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระสูตร แสดงถึงเหตุผลที่พระองค์ทรงรักและเคารพพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบกับลัทธิศาสนาอื่นไปด้วย)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธรรมเจติยสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
หรือตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวตักเตือนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่ากินจุเหมือนหมู ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสนิทสนมกับพระพุทธองค์ได้อย่างดี และถึงแม้พระเจ้าปเสนทิโกศลจะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ทว่าพระองค์ไม่ได้กีดกั้นผู้นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด และยังคงให้ความอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นเป็นอย่างดี
(ธัมมปทัฏฐกถา นาควรรควรรณนา๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล. อรรถกถาพระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[3]> (วิกิซอร์ซ). เข้าถึงเมื่อ 4-6-52)
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ
ครั้งหนึ่ง ขณะที่อยู่สำนักพระพุทธเจ้า พอดีเหล่าชีเปลือยเดินผ่านมาใกล้ ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลประคองอัญชลีประกาศว่า ขอนมัสการพระคุณเจ้าทั้งหลาย แล้วหันมาทูลพระพุทธเจ้าว่า สมณะเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติว่า
มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์ จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่ ต้องอยู่ด้วยกันนาน ๆ จะรู้ว่ามีความสะอาดหรือไม่ ด้วยการทำงาน (หรือเจรจา) จะรู้ว่ามีปัญญาหรือไม่ ด้วยการสนทนา จะรู้ว่ากำลังใจเข้มแข็งหรือไม่ ก็ต้องเมื่อตกอยู่ในอันตราย
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประกอบพิธีบูชายัญยิ่งใหญ่ มีการตระเตรียมฆ่าสัตว์อย่างละ ๗๐๐ ตัว เพราะสุบินได้ยินเสียงประหลาด บังเอิญว่าพระนางมัลลิกา พระมเหสีทรงทัดทาน การฆ่าสัตว์ครั้งมโหฬารจึงไม่เกิดขึ้นและเป็นผู้ชักจูงพระองค์เข้าสู่พระพุทธศาสนา
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา และให้ความสำคัญศาสนาต่าง ๆ ทัดเทียมกัน ต่อเมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาน้อมเอาพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น
พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้างโคตรในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่เองคือเหตุผลที่เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาที่สำคัญอันดับที่ ๒ รองจากเมืองราชคฤห์
ขอขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv
การเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย
ในคราวที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ทีฑการายนะซึ่งเป็นหลานชายของพันธุละเสนาบดีที่ถูกฆ่าโดยไร้ความผิดให้รักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน
ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระพุทธองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญ ความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าวิฑูฑภะได้ถูกน้ำหลากพัดหายไปพร้อมกับกองทัพ หลังบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์และทำการกวาดล้างศากยะวงศ์จนหมดสิ้น เนื่องจากแค้นที่ถูกดูหมิ่น แคว้นโกศลก็ไร้ซึ่งรัชทายาทหรือผู้ที่จะมาเป็นพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงพระประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศล มีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ผนวกแคว้นโกศลและแคว้นสักกะเข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกันทำให้แคว้นมคธกว้างใหญ่ไพศาลตลอดมาจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha11.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น