วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๘ แคว้นกุรุ
แคว้นกุรุ
แคว้นกุรุ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นปัญจาละ ทางเหนือของแคว้นสุรเสนะและตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นมัจฉะ
พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นในสมัยพุทธกาลคือ พระเจ้าโกรัพยะ เทียบกับปัจจุบันแคว้นกุรุได้แก่เขตของเดลี นครหลวงของอินเดียขณะนี้ กับเขตใกล้เคียงอื่น ๆ คือจังหวัดมีรัต ของรัฐอุตตรประเทศ และพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป ที่รวมเรียกว่ากุรุเกษตร หรือฐาเนศวระ อันได้แก่เขตของโสนะปัต ปานีปัต และกรนาล ของรัฐหรยานะ
ในปัจจุบันเมืองหลวงของแคว้นกุรุในพุทธสมัย คือ อินทปัฏฐ์ หรือ อินทปัตถ์ หรือ อินทปัถะ
ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านอินทรปัต ในเขตจังหวัดเดลี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา ห่างจากกรุงเดลีออกไปทางใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร หรือ ๒ ไมล์
แคว้นกุรุสมัยพุทธกาล ไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดุมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่ในธรรม ฉลาด และมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวว่า นี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะ มีข้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก เช่น มหานิทานสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ
พระพุทธองค์เคยเสด็จแคว้นกุรุหลายครั้ง และปรากฏว่า นิคมชื่อกัมมาสธัมมะหรือ กัมมาสทัมมะ เป็นที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับมากที่สุด พระสูตรสำคัญทั้งสองสูตรที่กล่าวถึง ก็ทรงแสดงที่กัมมาสธัมมะนี้
พระนางมาคันทิยา มเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทนแห่งโกสัมพี เป็นบุตรพราหมณ์มาคันทิยะแห่งกัมมาสธัมมะนี้
พระสาวกผู้ใหญ่ของพระพุทธองค์ท่านหนึ่ง คือ พระรัฏฐปาละ ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะหรือ เป็นยอดของภิกษุ ผู้ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นบุตรผู้มีสกุลแห่ง นิคมถุลลโกฏฐิตะ แคว้นกุรุนี้ ประวัติกล่าวว่า ท่านได้แสดงธรรมเรื่องธรรมุทเทศสี่ แก่พระเจ้าโกรัพยะ แห่งแคว้นกุรุ จนพระเจ้าโกรัพยะ ทรงพอพระทัยและเลื่อมใสอย่างมาก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammathai.org/buddha/g42.php
แคว้นกุรุในสมัยพุทธกาลไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่่ในธรรม ฉลาดและมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวกันว่านี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะมีข้อความลึกซึ้งเข้าใจยากเช่นมหานิทานสูตรและมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ
โดยกล่าวว่าประชาชนภายใต้การนำของมันธาดา ได้พากัยอพยพมาจากอุตรกุรุ และตั้งรกรากลงในชมพูทวีป ดินแดนที่คนเหล่านี้มาตั้งรกรากอยู่เรียกว่า กุรุ ส่วนมันธาดานั้นภายหลังได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแห่งชมพูทวีป คัมภีร์มหาภารตะก็ได้กล่าวถึงกุรุเช่นกันและกล่าวว่าทักขิณากุรุกับอุตตรกุรุได้พยายามแข่งขันกันทั้งในด้านที่เกี่ยวกับความรุ่งเรือง ความสำคัญ ความก้าวหน้าและความถูกต้อง
อาจเป็นได้ว่าในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น อาณาจักรกุรุไม่ค่อยมีความสำคัญทางการเมืองมากนัก แต่ตามที่ปรากฎในชาดกนั้น กุรุเป็นราชอาณาจักรที่มีอำนาจมากอาณาจักรหนึ่งสมัยก่อนพุทธกาล
มหาสุตดสมชาดกกล่าวว่าอาณาจักกุรุมีความกว้างวัดได้ ๓๐๐ ลีก ส่วนนครหลวงที่มีนามว่านครอินทปัต นั้นกว้าง ๗ ลีก
แต่คัมภีร์ทีวยานทานกล่าวว่า นครหลวงของแคว้นมีนามว่านี้มีนามว่าหัสดินาปุระ ราชวงศ์ที่ครองราชยืในกรุงอินทปัตสืบสายมาจากยุธิฏฐืลโคต (คือราชวงศ์ยุธิษฐิระ)
มีชาดกหลายเรื่องที่ออกนามพระเจ้าธนัญชัยดกรัพยะว่าเป็นพระราชาปกครองประเทศกุรุ
คัมภีร์มหาภารตะกล่าวว่า อาณาจักกุรุซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่นครสาวัตถีจนจดแม่น้ำคงคานั้น ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ สามส่วนด้วยกันคือกุรุชชังคละ (ส่วนที่เป็นป่า) กุรุกลางและกุรุเกษตร ตำบลต่าง ๆ ในเวลาที่เคยเป็นอาณาจักรกุรุในอดีตได้แก่ โสเนปัต อมินเถอรนาน และปนิปัต
หากไปนครเดลี ( Delhi ) ในปัจจุบัน บริเวณ Greater Kailas ซึ่งอยูห่างไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นบริเวณที่เชื่อกันว่าในอดีต คือ กัมมาสทัมมะนิคม เป็นส่วนหนึ่งของชนบทแห่งแคว้นกุรุ ที่พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นฐานอสดงธรรมแก่นักธุรกิจ พ่อค้า นักการเมือง และประชาชนชาวกุรุ
กัมมาสทัมมะ เป็นชื่อเมืองที่ไม่ใหญ่นักเมืองหนึ่งในอาณาจักรกุรุ พระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาเมืองนี้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยพักแรมคืนที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง โดยประทับบรรทมเหนืออาสนะหญ้าที่พราหมณ์เจ้าของโรงไฟปูลาดถวาย มาคันทิยสูตรแห่งมัชฌิมนิกายได้บันทึกไว้ว่า
ในโอกาสที่ประทับแรมอยู่ในโรงบูชาไฟแห่งนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงสนทนาตอบโต้กับพราหมณ์ชาวกุรุคนหนึ่งมีชื่อว่า มาคันทิยะ เป็นเวลานาน
ในที่สุดพระพุทธองค์ก็สามารถทำให้พราหมณ์มาคันทิยะกลับมานับถือพระพุทธศาสนา พระสูตรที่สำคัญ ๆ หลายพระสูตร เช่นยมหานิทานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร (สองสูตรนี้อยู่ในคัมภีร์ทีฆนิกาย) และ อานัญชสัปปายสูตร (แห่งมัชฌิมนืกาย) พระพุทธองค์ได้ทรงอสดงที่เมืองกัมมาสทัมมะนี้ ในสังยุตตนิกายและอังคุตตรนิกาย ก็มีพระสูตรหลายพระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงที่กัมมาสทัมมะ เช่นกัน
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า ประชาชนชาวกุรุเป็นผู้มีสติอปัญญา และอาหารของชาวเมืองนี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดี อาหารที่มีคุณภาพดีมีส่วนช่วยทำให้ชาวกัมมาสทัมมะเป็นคนเฉลียวฉลาด มหาสุตโสมชาดกและชยัททิสชาดกกล่าวว่ามีสถานที่สองตำบลที่มีชื่อเดียวกัน แต่เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองตำบลนี้จึงเรียกว่าจุลกัมมาสทัมมะตำบลหนึ่ง และ มหากัมมาสทัมมะตำบลหนึ่ง
กัมมาสทัมมะเป็นนิวาสถานของภิกษุณีสองรูป คือนันทุตตราภิกษุณี และนิตตกาลิกาภิกษุณี
ในคัมภีร์ทิวายาวทาน เรียกตำบลดังกล่าวว่า กัลมาสทัมยะ
กัมมาสทัมมะนิคม ได้แก่บริเวณเขาไกรลาศทางเดลีใต้ ไม่ห่างกันนักกับวัดดอกบัวของบาร์ฮาย เขตที่เคยเป็นภูเขาถูกล้อมไว้เป็นสัดส่วน ทางรัฐบาลสงวนไว้เป็นโบราณสถาน ซึ่งมีจารึกที่ก้อนหินตัดให้เรียบบนภูเขานั้น ว่ากัรว่าเป็นอักษรพราหมีที่ใช้กันในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงมีผู้มาแวะเวียนมานมัสการทำกิจทางศาสนาเพื่อน้อมระลึกว่า ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาตเจ้าเคยมาประทับตรัสแสดงพระธรรรมเทศนาในมหาสติปัฏฐานสูตร ณ ที่แห่งนี้
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการดูแลไม่ทั่วถึง ปล่อยให้ชาวบ้านข้างเคียงบริเวณนั้นมาทิ้งขยะของเสียและถ่ายไว้ไม่เป็นที่เป็นทางทำให้สกปรก
พระรัฏฐปาลเถระ
ท่านเป็นบุตรของรัฎฐปาลเศรษฐี ซึ่งเป็นหัวหน้าประชาชนชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แห่งแคว้นกุรุ
ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จจาริกบรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ประชาชนเป็นอันมากมาฟังพระธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใส รัฏฐปาละ เกิดความเลื่อมใสใคร่จะบวชจึงไปเฝ้ากราบทูลขอบรรพชา ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงบวชบวชกุลบุตรที่บิดามาดาไม่อนุญาต จึงกราบทูลลากลับไปขออนุญาตจากบิกามารดา ซึ่งบิดามารดาไม่อนุญาต จึงอดอาหารโดยคิดว่าถ้าไม่ได้บวขก็ขอบอมตาย มารดาบิดาจึงคิดว่า
"ถ้าไม่ได้บวชบุตรตนจักตาย จะมีประโยขน์อะไร ถ้าเขาบวชจักได้เห็นเ้ขาตามเวลาอันสมควร ถ้าเขาเบื่อหน่ายก็จะกลับมาเอง"
บิดามารดาจึงยอมอนุญาตให้บวชได้ รัฏฐปาละดีใจอยู่บริโภคอาหารพอให้ร่างกายมีกำลัง แล้วไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลขอบวช ครั้ยบวชแล้วประมาณกึ่งเดือนตามเสด็จไปเมืองสาวัตถี ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญสมณธรรม ก็ได้สำเร็จอรหัตผล แล้วถวายบังคมลากลับไปยังถุลลโกฏฐิตนิคม พักอยูที่มิคจิรวัน พระราชอุทยานแห่งพระเจ้าโกรัพยะ กษัตริย์แห่งแคว้นกุรุ
ในตอนเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านบิดามารดา ท่า่นทั้งสองได้อ้อนวอนให้ลาสิกขา แต่ท่านรัฏฐปาลเถระไม่ปรารถนา เมื่อฉันเสร็จแล้วอนุโมทนาแล้วกลับมิคจิรวัน พระเจ้าโกรัพยะเสด็จประพาสพระราชอุทยานทอดพระเนตรเห็นทรงจำได้ ตรัสปราศรัยแล้วทรงถามว่า
"ท่านผู้เจริญ คนบางจำพวกประสบความเสื่อม ๔ อย่าง คือ
๑ .แก่เฒ่าชรา ๒ . เข็บป่วย ๓.สิ้นสมบัติ ๔.ไร้ญาติ จึงออกบวช " "ส่วนท่านมีความเห็นอย่างไรจึงออกบวช"
พระรัฏฐปาลเถระกล่าวว่า " มหาบพิตร อาตมาได้ฟังธัมมุทเทส ๔ ข้อคือ
๑ .โลกคือหมู่สัตว์ถูกชรานำไปไม่ยั่งยืน
๒.โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
๓.โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้อลละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
๔ .โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป้นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
ดังนี้จึงออกบวช"
พระเจ้าโกรัพยะทรงเลื่อมใสและอนุโมทนา ท่านรัฎฐปาลเถระ พักอยู่ในนิคมนี้พอสมควร จึงกลับมายังสำนักพระบรมศาสดา ภายหลังท่านได้รับยกย่องว่า"เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชด้วยศรัทธา" ท่านดำรงเบญจขีนธ์ตามกาลอันสมควรก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
พลอยโพยมต้องขออภัยที่นำเสนอข้อมูลตามต้นฉบับเดิม โดยไม่นำข้อมูลดิบนั้นมาผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากเกรงข้อความจะผิดเพี้ยนไปจากการรวบรวมข้อมูลของตนเอง ทั้งนี้รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับสู่แดนพระพุทธองค์บทต่อ ๆ ไปด้วย ท่านที่ประสงค์จะนำข้อมูลไปใช้ต่อ กรุณารวบรวมเองใหม่
อีกทั้งยังมีเรื่องราว ของมหาภารตะยุทธ์ ที่น่าสนใจ เพราะเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก อันเป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้
รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ )
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ภาพเขียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
คงมีสักวันที่พลอยโพยมจะมีโอกาสนำเสนอเรื่องราวนี้ในโอกาสอันควรกว่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น