วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๘ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๑
อนาถบิณฑิกะ เป็นบุตรชายของสุมนเศรษฐีแห่งกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
เมื่อถือกำเนิดบิดาขนานนามว่า สุทัตตะ เหตุที่ได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ เพราะเป็นผู้ชอบทำทานแก่คนยากจน อันเป็นนามที่ตนได้ปรารถนาไว้แต่อดีตชาติ เมื่อบิดาสิ้นชีวิตก็ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติเป็นเศรษฐี สืบต่อมา
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
สุทัตตะเศรษฐีสร้างโรงทานสำหรับบริจากทานแก่คนยากจนทุกวัน จนได้ชื่อว่า "อนาถบิณฑิกะ" แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถา
อนาถบิณฑกะเศรษฐี มีภริยาชื่อ นางปุญญลักขณา มีบุตร ๑ คน ชื่อ กาฬะ มีธิดา ๓ คน คือ มหาสุภัททา จูฬสุภัททา และสุมนาเทวี ตามลำดับ
ในอรรถกถาธรรมบท กล่าวว่า ภรรยาของอนาถบิณฑิกเศรษฐี คิอนางปุญญลักขณานั้นเป็นน้องสาวของราชคหเศรษฐ๊ชาวกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ผู้ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลัง ดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน น้องสาวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ได้แต่งงานกับ ราชคหเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ผู้ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลัง เสร็จภายใน หนึ่งวัน แล้วถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในทิศทั้ง ๔
สุทัตตะ หรือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เดิมนับถือลัทธิปริพาชก ต่อมาหันมานับถือพระพุทธศาสนา
สาเหตุเนื่องจาก
ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทำธุระกิจที่เมืองราชคฤห์ โดยพักอยู่ที่บ้านน้องเขย ท่านได้เห็นคนในบ้านวุ่นวายกับการจัดเตรียมการ คล้ายกับจะมีงานจัดเลี้ยงมโหฬาร ก็เกิดความประหลาดใจจึงถามคนในบ้านว่า "จะจัดงานอะไร" เมื่อคนในบ้านตอบให้ทราบข้อเท็จจริงแล้ว สุทัตตะจึงตัดสินใจเดินทางไปยังป่าสีตวันซึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่
ขณะนั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่สีตวัน เสด็จลุกขึ้นเดินจงกรมอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
เมื่อทอดพระเนตรเห็น อนาถบิณฑิกเศรษฐีกำลังเดินมา จึงเสด็จจากที่เดินจงกรมมาประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้พร้อมทั้งตรัสว่า "มาเถิดสุทัตตะ"
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเกิดความรื่นเริงบันเทิงใจเป็นอย่างมากว่า "พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา"
จากนั้นจึงเดินตรงไปเฝ้า พร้อมทั้งซบศรีษะลงแทบพระยุคลบาทแล้วกราบทูลว่า
"พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
"พราหมณ์ผู้ดับกิเลศแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดในกาม เป็นคนเยือกเย็นไม่มีอุปธิกิเลศ ตัดกิเลศเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบย่อมเป็นสุข "
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ได้แสดงอนุบุพพิกถาโปรดสุทัตตะ ซึ่งว่าด้วยเรื่องทานกถา (เรื่องทาน ) สัลกถา (เรื่องศีล) สัคคกถา (เรื่องสวรรคฺ) กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำเศร้าหมองแห่งกาม) และ เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) จากนั้นทรงแสดงสามุกกังสิกธรรมเทศนา ซึ่งว่าด้วยอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดอนาถบิณฑิกเศรษฐี จนได้บรรลุุโสดาปัตติผล อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต
ท่านได้พิจารณาตามจนบรรลุพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล ดังนั้น สุทัตตะจึงขออนุญาตน้องเขยเพื่อเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ทั้งหมด เป็นระยะเวลา ๗ วัน ในวันสุดท้าย สุทัตตะจึงทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกให้เสด็จไปเมืองสาวัตถีเพื่อที่ท่านจะได้ถวายการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมดาของสมณะจะยินดีในสถานที่สงบสงัด" สุทัตตะเข้าใจความหมายได้ทราบว่าพระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว เมื่อเดินทางกลับไปยังเมืองสาวัตถี จึงออกสำรวจหาสถานที่ดังกล่าว และพบว่าสถานที่เหมาะแก่การเจริญสมณธรรม คือ สวนป่าเจ้าเชตกุมาร ซึ่งอยู่นอกเมืองสาวัตถีตอนใต้ เพื่อสร้างอารามถวายพระบรมศาสดา
ในตอนแรกเจ้าเชตไม่ยอมขายที่ดินให้ และพูดอย่างเสียไม่ได้ว่า ถ้าอนาถบิณฑิกเศรษฐีเอาเหรียญทองมาปูให้เต็มพื้นที่สวนป่าจึงจะยอมขายที่ดินให้
อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็เอาเหรียญทองมาปูเต็มสวนป่าจริง ๆ ทำให้เจ้าเชตวันเห็นความศรัทธาอันแรงกล้าของอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงยอมลดราคาให้กึ่งหนึ่ง โดยคิดแต่เพียง ๑๘ โกฏิกหาปณะ แล้วอนาถบิณฑิกเศรษฐีใช้เงินอีก ๑๘ โกฏิกหาปณะ สร้างมหาวิหาร และทำการฉลอง อีก ๑๘ โกฏิกหาปณะ รวม เป็นเงินทั้งสิ้น๕๔ โกฏิกหาปณะ
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
วัดพระเชตวันมหาวิหาร ประกอบด้วยซุ้มประตู ( มีบทความบางแห่งกล่าวว่าเจ้าเชตกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม จากhttp://www.84000.org/one/3/02.html) ศาลา หอฉัน โรงไฟ กัปปิยกุฎี วัจจกุฎี ที่จงกรม โรงจงกรม บ่อน้ำ ศาลาบ่อน้ำ เรือนไฟ ศาลาเรือนไฟ สระโบกขรณี มณฑป ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ แล้วเสด็จไปยังกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี ตามคำอาราธนาของเจ้าลิจฉวีมหาลี แล้วเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ประมาณปลายพรรษา ที่ ๒ คือต้นพรรษาที่ ๓ การก่อสร้างวิหารที่เชตวันก็สำเร็จเรียบร้อยขนานนามว่าเชตวันวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเชตกุมารผู้เป็นเจ้าของที่ดิน
ในที่สุดจึงกล่าวเรียกกันว่า พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเสรษฐี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ส่งตัวแทนไปอาราธนาพระบรมศาสดา เพื่อมารับถวายพระเชตวันวิหาร พร้อมกับจัดพิธีอย่างมโหฬารยิ่ง
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึง อนาถุบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เข้าไปในวิหาร เมื่อพระพุทธองค์ประทับนั่งแล้วยังพุทธอาสน์แล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐี กราบทูลถามว่า
"จะให้ข้าพระองค์ปฏิบัติต่อพระวิหารนี้เข่นไร พระพุทธเจ้าข้า "
พระพุทธองค์ตรัสว่า
" ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงถวายแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ที่มาจากทิศทั้ ๔ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา "
อนาถบิณฑิกเศรษฐ๊ จึงนำเต้าน้ำทองคำมาหลั่งน้ำบนพระหัตถ์ของพระพุทธองค์กล่าวคำอุทิศว่า
"ข้าพระองค์ขอถวายเชตวันวิหารนี้ แด่พระพุทธองค์และบรรดาสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้ว และยังไม่มา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป "
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนา ได้ตรัสอานิสงส์ของการถวายวิหารว่า
"เสนาสนะย่อมป้องกัน ความร้อน หนาว ลมและแดด ย่อมบรรเทาไป นอกจากนั้นยังป้องกันสัตว์ร้าย น้ำค้าง และฝน การถวายวิหารเพื่อเป็นที่พำนักสงฆ์ เพื่อเป็นที่เร้นอยู่ เพื่อเพ่งพิจารณา เพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ บัณฑิตเมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูตพำนักเถิด พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และคิลานเภสัชแก่ท่านเหล่านั้น เมื่อท่านรู้แจ้งธรรมอันใดแล้ว ท่านย่อมแสดงธรรมนั้น มหาชน จักเป้นผู้ไม่มีอาสวะ เข้าถึงพระนิพพาน "
เสร็จแล้วทำการฉลองพระเชตวันวิหารนานถึง ๙ เดือน สิ้นทรัพย์ ๑๘ โกฎฺิกหาปณะ (การฉลองนั้นมีการถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ ภายในเรือนก็จัดเตรียมทานและไทยธรรมจำนวนมากเป็นประจำทุกวัน)
อนาถบิณฑิกเศรษฐี บริจาคทรัพย์รวมทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิกหาปณะ เพื่อพระศาสนา
พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ระยะหนึ่งจึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์
Anathapindika covers Jetavana with coins (Bharhut, Brahmi text: jetavana ananthapindiko deti kotisanthatena keta
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ทรงยกย่อง อนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า " เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดียิ่งในการถวายทาน "
พระพุทธองค์ทรงโปรดประทับจำพรรษาอยู่ที่เชตวันวิหาร ถึง ๑๙ พรรษา
ชื่อและอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มักถูกนำมากล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เรื่องสั้นบ้างยาวบ้าง ไม่น้อยกว่า ๒๗ เล่ม เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว ได้ไปเกิดเป็นอนาถบิณฑิกเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต
หมายเหตุ
คิลาน (อ่านว่า คิ-ลา-นะ) แปลว่า คนเจ็บ, คนป่วย, คนไข้ แปลว่า ปัจจัยสำหรับภิกษุไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของภิกษุไข้ คือปัจจัยสำหรับภิกษุไข้ ได้แก่ ยารักษาโรค วัตถุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาโรคและเป็นอุปการะแก่ภิกษุไข้ เช่น หม้อต้มยา กาต้มน้ำ หินบดยา ผ้าปิดฝี นับเป็นคิลานปัจจัยทั้งสิ้น เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔ หรือจตุปัจจัย อันเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับดำรงชีวิตอยู่ของภิกษุ ปกตินิยมใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกี่ยวกับคนป่วยไข้โดยเฉพาะก็คือใช้กับภิกษุไข้- วิกิพีเดีย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดัย
http://www.84000.org/one/3/02.html
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
ชอบมากค่ะ
ตอบลบ