วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๗ ราหุลกุมาร
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระราหุลในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านเหมือนกับพระรัฏฐปาละ คือเกิดในครอบครัวคฤหบดีมหาศาล ในกรุงหังสวดี เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในฆราวาสครองเรือน
เมื่อบิดาของแต่ละคน เสียชีวิตแล้ว ท่านทั้งสอง จึงเรียก คนจัดการคลังรัตนะของตน ๆ มาแล้ว เห็นทรัพย์มีอยู่มากมาย คิดว่า คนทั้งหลายมีปู่และปู่ทวดเป็นต้น พาเอากองทรัพย์มากมายเหล่านี้ ติดตัวไปไม่ได้ บัดนี้ เราควรจะถือเอาทรัพย์ติดตัวไปให้ได้
คนทั้งสองนั้น จึงให้มหาทานแก่คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ในสถานที่ ๔ แห่ง คนหนึ่ง สอบถามคนที่มาแล้วๆ ในโรงทานของตน ผู้ใดชอบใจสิ่งใด เป็นต้นว่า ข้าวยาคูและของขบเคี้ยว ก็ให้สิ่งนั้น แก่ผู้นั้น เพราะเหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า ผู้กล่าวกะผู้มาแล้ว อีกคนหนึ่งไม่ถามเลย เอาภาชนะที่เขาถือมาแล้วๆ ใส่ให้เต็ม ๆ แล้วจึงให้ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงชื่อว่า ไม่กล่าวกะผู้มาแล้ว ๆ
ท่านพระราหุล ได้ปรนนิบัติดาบสองค์หนึ่ง ด้วยผลบุญกุศลนั้น ทำให้ท่านไปบังเกิดเป็น พระยานาคราช ต่อมาท่านเวียนว่ายในเทวโลกและมนุษยโลก อยู่หลายพันกัป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thammapedia.com/sankha/maha_rahula.php
พระราหุลได้เกิดร่วมกับพระโพธิสัตว์ หลายภพหลายชาติ ก่อนจะเกิดเป็นพระราหุล ทรงเกิดเป็นพระชาลีกุมารโอรสของพระเวสสันดรและพระนางมัทรี
พระนางพิมพาพาพระราหุลไปดูพระบิดาของพระกุมาร
วันที่เจ็ด พระนางยโสธราส่งราหุลกุมารไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลขอประทานทรัพย์ ราหุลกุมารได้ตามเสด็จไปเบื้องหลัง พลางกราบทูลขอว่า
"ข้าแต่พระสมณะ ขอได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน"
ขอขอบคุณภาพจากphramick.wordpress.com
พระบรมศาสดาทรงดำริว่า กุมารนี้ปรารถนาทรัพย์อัเป็นสมบัติของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะอันมีแต่ความคับแค้น เราจักให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมณฑลแก่กุมารนี้ เราจักกระทำกุมารนี้ให้เป็นเจ้าของโลกุตตรทรัพย์ จึงรับสั่งให้พระสารีบุตรบรรพชาราหุลกุมาร
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า
"ข้าแต่พระพุทธองค์ จะโปรดให้ราหุลกุมารทรงผนวชอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ในชั้นต้นพึงให่โกนผม แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาด ด้วยการห่มเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วให้รับไตรสรณคมม์"
ขอขอบคุณภาพจากwww.sitluangporsungwarn.com
พระโมคคัลลานะปลงพระเกศา แล้วถวายผ้ากาสาวะ พระสารีบุตรถวายสรณะ พระมหากัสสปะเป็นโอวาทาจารย์ บรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ขณะมีพระชนมายุเพียง ๗ ขวบ
พระพุทธบิดาทรงเสียพระทัยว่า เมื่อนันทะและราหุลผนวชแล้วจักไม่มีผู้สืบสันตติวงศ์ จึงเข้าไปกราบทูลขอพรว่า พระองคฺไม่พึงบรรพชากุลบุตรใดก่อนที่ผู้นั้นจะได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง พระพุทธองค์มทรงอนุญาตตามคำขอร้องของพระบิดา
จากนั้นทรงบัญญัติห้ามมิให้บรรพชาผู้ที่ยังมีอายุยังไม่ครบอุปสมบท ให้บรรพชาเป็นสามเณร โดยวิธีรับไตรสรณคมม์ คือให้เปล่งวาจาขอถึงซึ่งพระรัตนตรัยและให้สมาทานศีล ๑๐ ประการ วิธิการบวชนี้เรียกว่า ติรสรณคมปูปสัมปทา
ขอขอบคุณภาพจาก www.suanboard.net
วันที่แปด พระพุทธองค์ทรงแสดงมหาธรรมปาลชาดก ว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นเหตุให้ไม่ทำกาละในวัยหนุ่ม ตรัสว่า
"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ"
จบพระพุทธดำรัส พระพุทธบิดาดำรงอยู่ในอนาคามิผล
ในระยะนี้พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา โปรดให้ประชุมศากยะตระกูลทั้งหมด ตรัสให้กุมารตระกูลละหนึ่งคนออกบรรพชา ได้มีขัตติยกุมารหนึ่งพันองค์ออกกบรรพชาพร้อมกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๖ เจ้าชายนันทะแห่งศากยราช
ประติมากรรมศิลปะคันธาระตอนพระพุทธเจ้าโปรดนันทกุมาร
(ปัจจุบันประติมากรรมชิ้นนี้เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑ์บริติช)
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
วันที่สี่ที่เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์
พระญาติทั้งหลายได้กระทำมงคล ๓ ประการคือ
อาภรณมงคล อภิเษกมงคล อาวาหมงคล ให้แก้เจ้าชายนันทะ (พระอนุชาต่างพระมารดาของพระพุทธองค์)
เจ้าชายนันทะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางมหาปชาบดีโคตมี เมื่ออยู่ในครรภ์พระมารดา ทำให้บรรดาประยูรญาติมีความยินดีร่าเริงใจใคร่จะเห็น ด้วยเหตุนั้น เมื่อพระราชกุมารประสูติแล้ว บรรดาประยูรญาติ จึงได้ถือเอานิมิต นั้นไปถวายพระนามว่า นันทกุมาร
ในวันนั้นป็นวันที่เจ้าชายนันทะจะทรงเข้าอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชนบทกัลยาณี โดยพระประยูรญาติได้นิมนต์พระพุทธองค์และพระสงฆ์ไปรับภัตตาหารภายในพระราชนิเวศน์
พระบรมศาสดารับนิมนต์เสด็จไปในงานมงคลนั้น พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวยภัตตาหาร เมื่อพระพุทธองค์เสวยภัตตาหารเสร็จได้ทรงอนุโมทนาและเสด็จกลับ ได้ประทานบาตรในพระหัตถ์แก่เจ้าชายนันทะให้ถือบาตร พระพุทธองค์ทรงทราบว่าเจ้าชายนันทะมีบารมีควรแก่อริยผล จึงทรงใช้อุบายไม่รับบาตรคืนจากเจ้าชายนันทะ เจ้าชายนันทะจึงจำต้องถือบาตรตามเสด็จกลับ
ขอขอบคุณภาพจาก www.84000.org
เจ้าหญิงชนบทกัลยาณี ทอดพระเนตรเห็นเจ้าชายนันทะเสด็จตามพระพุทธองค์ไปเช่นนั้น จึงตรัสว่า
"ขอพระลูกเจ้าจงด่วนเสด็จกลับมา" เพื่อทำพิธีอภิเษก
ทำให้เจ้าชายนันทะถือบาตรตามเสด็จด้วยความกระวนกระวายใจ ไม่อาจกราบทูลให้พระพุทธองค์รับบาตรคืน ด้วยความเคารพได้เสด็จดำเนินตามไปสู่วิหาร
เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จมาถึงพระคันธกุฎี ภายในนิโครธาราม
พระพุทธองค์ ตรัสถามเจ้าชายนันทะว่า "นันทะ เธอจะบวชได้หรือไม่"
เจ้าชายนันทะแม้ไม่เต็มใจที่จะผนวชแต่ด้วยความเกรงพระทัยและมีความเคารพในพระพุทธองค์มาก นันทกุมารจึงกราบทูลว่า "บวชได้พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ทรงให้เจ้าชายนันทะผนวชด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมพระภิกษุทั้งปวงรวมถึงพระภิกษุุในสกุลศายราชหลายรูป สามเณรราหุล กลับสู่กรุงสาวัตถี
แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่มร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงเจ้าหญิงชนบทกัลยาณี ผู้กำลังจะเป็นเทวีแห่งนันทกุมาร พระนันทะจึงไม่มีความตั้งใจอันใดในการปฏิบัติธรรม
ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธองค์
พระบรมศาสดามีพระประสงค์จะขจัดความไม่ยินดีในการผนวชของพระนันทะ จึงพาไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยอานุภาพของพระองค์ ท้าวสักกะทราบการเสด็จจึงมาเฝ้าพร้อมหมู่นางอัปสรแวดล้อม ๕๐๐
ขอขอบคุณภาพจากwww.youtube.com
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระนันทะว่า
ดูกรนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้าดุจนกพิราบหรือไม่
ท่านพระนันทะทูลรับว่า
เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พระพุทธอค์ ตรัสถามอีกว่า
ดูกรนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี หรือนางอัปสร ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ
พระนันทะทูลตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้ หูและจมูกขาด ฉันใด นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี ก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่งเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า พระเจ้าข้า ฯ
พระพุทธองค์ตรัสว่า
ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้ นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
พระนันทะทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อให้ได้นางอัปสรประ มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้ ข้าพระองค์จักยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาวดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน
ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ ร้องเรียกท่านพระนันทะด้วยวาทะว่า
เป็นลูกจ้าง
และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ
พระนันทะอึดอัดระอาจึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
จนในที่สุดท่านได้สติว่า
"ความรักไม่มีที่สิ้นสุด... ความรักทำให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าโศกเสียใจไม่มีที่สิ้นสุด"
ท่านจึงเกิดความสลดใจและละวางความรักลงได้ ในไม่ช้าท่านก็บำเพ็ญเพียรต่อจนได้บรรลุพระอรหันต์
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/tipitaka/picture/f54.html
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า พระนันทะทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้องพระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจของเราว่า นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรนันทะ เมื่อใดแล จิตของเธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้นเราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนามคือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ
เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านกลับกลายเป็นผู้มีความสำรวมระวังอินทรีย์สังวรเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็น ผู้เลิศในทางอินทรีย์สังวร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f54.html
วิกิพีเดีย
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธงค์ ๘๕ พระนางยโสธรา (พิมพา )
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.palapanyo.com/pimpa/สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณี
พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธราพิมพา) ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น ๑ ในสหชาติทั้ง ๗ ของพระพุทธองค์
พระนางยโสธราทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ พระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในตระกูลศากยะแห่งโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า "ภัททากัจจานา" เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์
พอมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ ๒๙ พรรษาได้ ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล
ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระนางยโสธราทรงเกิดความเศร้าโศกพระทัยยิ่งนัก ได้ทรงละเว้นการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับนานาประการ ทรงมีจิตผูกพัน และมีความรักอันลึกซึ้งต่อพระองค์ แม้วัฒนธรรมอินเดียในยุคนั้นจะถือว่าหญิงไม่มีสามีจะถือว่าไม่มีเกียรติ และหญิงนั้นสามารถมีสามีใหม่ได้ แต่พระนางก็ไม่สนพระทัยในชายอื่น พระนางยังคงทรงเฝ้ารอพระสวามีของพระนางเพียงพระองค์เดียว
จนกล่าวได้ว่าไม่ว่าจะได้ข่าวว่าพระสวามีทรงปฏิบัติตนอย่างไร พระนางพิมพาก็ทรงปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ในวันแรกพระนางมิได้ทรงออกไปถวายการต้อนรับ
แต่ในวันที่สองขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกทรงรับบาตร พระนางยโสธราทรงชี้ให้พระราหุลได้ทอดพระเนตรพระบิดาของพระองค์แต่มิได้ออกไปทรงบาตร ทรงเก็บตัวอยู่ในพระตำหนัก
เมื่อพระพุทธบิดาดำรงอยู่ในสกทาคามิผล พระนางปชาบดีโคตมีได้บรรลุโสดาปัตติผล เหล่านางสนมกำนัลกำลังพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดา มีพระนางยโสธราผู้เดีียว กล่าวว่า
หากพระองค์เห็นคุณงามความดีของเราก็จะเสด็จมาเอง เมื่อนั้นเราจึงจะถวายบังคม
พระพุทธองค์เสด็จไปยังปราสาทของพระนางยฌสธรา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสอง
ทรงให้พระพุทธบิดารับบาตรแล้วตรัสกับพระอัครสาวกทั้งสองว่า
มารดาของราหุลมีคุณแก่เรามาก ขณะที่พระนางถวายบังคม ไม่พึงกล่าวความใด
เมื่อเสด็จถึง พระนางยโสธราถวายบังคมแล้ว เกลือกพระเศียรลงบนหลังพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอขอบคูณภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=39613&start=30
พระเจ้าสุทโธทนะตรัสถึงความรักเคารพที่พระนางมีต่อพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสุณิสาของหม่อมฉันได้ฟังข่าวว่า
ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะ (ฟ้าย้อมน้ำฝาด) พระนางก็เปลี่ยนชุดทรงมานุ่งห่มผ้ากาสาวะด้วย
ได้สดับว่าพระองค์มีภัตหนเดียว ก็มีภัตหนเดียวด้วย
ทรงสดับว่าพระองค์ทรงสละที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ก็ทรงบรรทมเฉพาะบนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า
ทรงทราบว่าพระองค์ทรงละเว้นจากของหอม มีดอกไม้เป็นต้น ก็ทรงเว้นดอกไม้ของหอมบ้าง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสุณิสาของหม่อมฉัน เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างนี้ "
พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า
มหาบพิตร ข้อที่พระสุณิสาอันพระองค์รักษาคุ้งครองอยู่ในบัดนี้ รักษาตนเองได้ในเมื่อญาณแก่กล้าแล้วนั้น ไม่น่าอัศจรรย์ ในอดีตราชธิดานี้ไม่มีการอารักขา ท่องเที่ยวอยู่ที่เชิงเขา ก็รักษาตนอยู่ได้ แม้ญาณยังไม่แก่กล้า"
เพื่อทรงบรรเทาความเศร้าโศกของพระนาง พระพุทธองค์ตรัส "จันทกินนรชาดก " ว่าด้วยเรื่องความจงรักภักดีของพระนางที่มีต่อสามีในอดีต ครั้งเสวยพระขาติเป็นกินนรอยู่ในป่าหืมพานต์ โปรดพระนางยโสธราให้บรรลุโสดาปัตติผล
(เรื่องจันทกินนรชาดก นี้ผู้สนใจเปิดหาอ่านได้ตามเว็ปไซต์ และ Blog ต่าง ๆ มากมาย)
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนนางก็ไม่ได้เอาใจออกห่างเรา มิใช่หญิงที่ผู้อื่นจะนำไปได้เหมือนกัน
ทรงประชุมชาดกว่า
พระราชาในครั้งนั้นได้มาเป็นเทวทัต
ท้าวสักกะได้มาเป็นอนุรุทธะ
จันทากินรี ได้มาเป็นมารดาเจ้าราหุล(ยโสธรา)
ส่วนจันทกินนรได้มาเป็นเราตถาคตแล.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.vichadham.com/buddha/yasotara.html
พลอยโพยมขอคัดลอกงานวิจัยการศึกษาวิเคราะห์การสร้างบารมีของพระนางพิมพาที่ปรากฏในชาดก (๒๕๔๖)
Researcher : นางไพลิน องค์สุพรรณ
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee : พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล
นายสนิท ศรีสำแดง
นาย รังษี สุทนต์
Graduate : ๓ เมษายน ๒๕๔๖
มีดังนี้
งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเกิดร่วมชาติเพื่อสร้างบารมี ๑๐ ประการ ของพระนางพิมพากับพระโพธิสัตว์ คือ (๑) ทานบารมี (๒) ศีลบารมี (๓) เนกขัมมบารมี (๔) ปัญญาบารมี (๕) วิริยบารมี (๖) ขันติบารมี (๗) สัจจบารมี (๘) อธิฐานบารมี (๙) เมตตาบารมี (๑๐) อุเบกขาบารมี
เนื่องจากพระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้จนบริบูรณ์เต็มเปี่ยมแล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกในโลก ซึ้งต้องใช้เวลานานแสนนานนับอสงไขย และต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ยาวนาน จะต้องมีบุคคลผู้มีส่วนร่วมคอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง สำหรับพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีแล้วมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมนี้
ผู้มีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือในการบำเพ็ญบารมีที่สำคัญ คือ พระนางพิมพา พระนางได้ตั้งความปรารถนาขอร่วมสร้างบารมีตั้งแต่พบพระพุทธเจ้าทีปังกร เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ทรงเกิดเป็นสุเมธดาบส
จากการศึกษา ผู้วิจัยได้ค้นพบประเด็นสำคัญและน่าสนใจ พอสรุปได้ ดังนี้
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระนางพิมพา ได้ทรงพบพระโพธิสัตว์ ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นสุเมธดาบส ส่วนพระนางพิมพาเกิดเป็นนางสุมิตตา ทั้งสองได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกรพร้อมกัน นางทราบว่า สุเมธดาบสปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเกิดความเลื่อมใส จึงมอบดอกบัวให้พระโพธิสัตว์เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกัน โดยนางอธิฐานขอเกิดร่วมสร้างบารมีคอยรับใช้สุเมธดาบส จนกว่าจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ต่อจากนั้น พระนางพิมพาได้ทรงเกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์หลายภพชาตินับไม่ถ้วน แต่ที่ปรากฏในชาดกมี ๓๒ ชาติ รวมชาติสุดท้ายที่เกิดเป็นพระนางพิมพาเป็น ๓๓ ชาติ
พระนางพิมพา ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือในการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์สร้างบารมีได้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้าขาดพระนางแล้วการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์คงจะไม่ถึงที่สุด โดยเฉพาะในข้อที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ต้องบำเพ็ญปัญจมหาบริจาคให้ครบถ้วน บารมีที่เด่นชัดของพระนางพิมพา ได้แก่ ความเสียสละและความอดทน
ซึ่งเป็นปัจจัยโดยอ้อมต่อการบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์
ในชาติสุดท้าย พระนางพิมพา แม้จะทรงลืมความตั้งใจในอดีตชาติโดยรู้สึกเสียพระทัยที่พระโพธิสัตว์เสด็จหนีออกผนวช แต่ภายหลังพระนางก็ทรงเข้าพระทัยแล้วได้ออกบวชบำเพ็ญบารมีจนบรรลุอรหัตตผลสิ้นภพสิ้นชาติ ถือว่าแรงอธิษฐานของพระนางที่ได้ตั้งไว้ในอดีตชาติสมประสงค์
การตั้งความปรารถนาร่วมกันของพระโพธิสัตว์กับของพระนางพิมพาแล้วอุทิศทั้งกายและจิตใจบำเพ็ญคุณความดีอย่างไม่ย่อท้อ ถือเป็นแบบอย่างที่อนุชนทั้งหลายพึงศึกษาแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามเหมาะสมแก่เพศ ภาวะ ของแต่ละคน ได้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.mcu.ac.th/En/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=108
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๔ พุทธวงศ์ ของพระพุทธองค์
ขอขอบคุณภาพวาดของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเวสสันดรชาดกแล้ว พระญาติทั้งปวงสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ถวายบังคมทำประทักษิณแล้วหลีกไป ไม่มีผู้ใดแม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะ หรืออำมาตย์ ที่จะกราบทูลนิมนต์ไห้รับบิณฑบาตรเลย
วันที่สอง ที่พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ขณะที่ทรงบิณฑบาตอยู่มหาชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว
พระนางพิมพาทรงทราบจึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้นบนเพื่อจะทอดพระเนตรพระพุทธองค์
ทรงดำริ นัยว่า เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงเป็นพระลูกเจ้าเสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทอง เป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่งใหญ่ มาบัดนี้ ปลงปมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ถือกระเบื้องเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตรดู
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระอันเรืองรองด้วยแสงสีต่าง ๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธสิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สดใสด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้านละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จนถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา ๑๐ คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้นพระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้งอ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป ดังนี้.
แล้วจึงเสด็จไปกราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนะว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว.
พระเจ้าสุทโธทนะสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อยพลางรีบด่วนเสด็จออกรีบเสด็จดำเนินไป ประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตรัสว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงกระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไรจึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงทรงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุมีประมาณเท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร.
พระบรมศาสดาตรัสว่า
มหาบพิตร นี้เป็นการประพฤติตามวงศ์ของอาตมภาพ.
พระเจ้าสุทโธทนะตรัสว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่าวงศ์ของเราทั้งหลายเป็นวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราช ก็วงศ์กษัตริย์มหาสมมตราชนี้ ย่อมไม่มีกษัตริย์สักพระองค์เดียว ชื่อว่าผู้เที่ยวไปเพื่อภิกษา.
พระบรมศาสดาตรัสว่า
มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์กษัตริย์นี้ เป็นวงศ์ของพระองค์ ส่วนชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะฯลฯ พระกัสสปเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้และอื่น ๆ นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงพระชนม์ชีพด้วยการเที่ยวภิกขาจารเท่านั้น
ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาได้บรรลุโสดาปัตติผลในระหว่างถนนนั่นเอง
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะทูลอาราธนาถวายภัตตาหารในพระราชนิเวศน์
ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านาง พระนางปชาบดีโคตมี ยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล
วันที่สาม เสด็จไปเสวยภัตตาหารในพระราชนิเเวศน์อีก
ภายหลังภัต พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า
"บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า "
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.thammapedia.com/sankha/bhikkhuni_pachabadee.php
http://www.vichadham.com/buddha/yasotara.html
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพทธองค์ ๘๓ เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสด์
กบิลพัสดุ์ ขอขอบคุณภาพจากwww.wathuataparn.com
เมื่อพระกาฬุทายีเถระ กราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ๋ นั้น เหล่าพระประยูรญาติทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อเตรียมหาที่ประทับแก่พระบรมศาสดาเห็นว่าปราสาทของเจ้านิโครธศากยะน่ารื่นรมย์ จึงซ่อมแซมตกแต่งเพื่อเตรียมรับเสด็จ
นิโครธาราม ขอขอบคุณภาพจาก www.watthailumbini-th.org
บริเวณวัดนิโครธารามแห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นพระอารามหลวงของขาวศากยะแห่งกรุงกบิลพ้สดุ์ ในปัจจุบันเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า กุดาน (Kudan ) มีสถูปขนาดใหญ่ ฐานโดยรอบนับว่าสมบูรณ์มากเมื่อเทียบกับสถูปในบริเวณเดียวกันนี้
ในครั้งพุทธกาล เป็นสถานที่พระประยูรญาติของพระพุทธองค์ จัดเตรียมไว้เป็นที่รองรับการเสด็จกลับนครกบิลพัสดุ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่ให้การบรรพชาแก่พระราหุล พระนันทะและแสดงธรรมในพระสูตรสำคัญจำนวนมาก ปัจจุบันกองโบราณสถานได้รักษาไว้ให้เห็นถึงมหาวิหารที่ปรากฎในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ในกาลนั้นพระพุทธองค์เสด็จนิวัติเมืองกบิลพัสดุ๋เป็นครั้งแรก มีพระสาวกตามเสด็จ ๒๐,๐๐๐ รูป พระกาฬุทายีเถระแห่งศากยะนำทางเสด็จ ได้ประทับแรมที่นิโครธาราม ซึ่งเป็นสวนอยู่ใกล้เมือง ทรงแสดงเวสสันดรชาดก กินรีชาดก มหาธรรมแาลชาดก ยังให้พระเจ้าสุทโธทนะได้สำเร็จพระอนาคามี
กรุงกบิลพัสด๋ในครั้งพุทธกาล เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง มีคนนหนทางสมบูรณ์ มีตลาดหลายแห่ง มีสวนไม้ดอกไม้ผล มีประตูทั้ง ๔ ทิศ หอคอยสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นที่ชุมนุมของนักปราชญ์ราชบัณฑืตทั้งหลาย ไม่มีการเก็บภาษีอากรที่ไม่สมควร และไม่ปรากฏความยากจนในที่ใด ๆ ปรากฏแต่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างเดียว
ประตูเมืองด้านตะวันออกของกบิลพัสดุ์ ที่ระบุไว้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวช
ขอขอบคุณภาพจากwww.palungdham.com
เมื่อพระบรมศาสดา เสด็จกหรุงกบิลพ้สดุ์แล้วปรัะทับที่นิโครธารามของเจ้านิโครธศากยะ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้ว เหล่าศากยะวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ดำริว่า สิทธัตถะอาวุโสน้อยกว่าพวกเรา จึงรับสั่งให้ราชกุมารหนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงถวายบังคม พวกเราจักนั่งข้างหลังพวกเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเหล่าเจ้าศากยะ ทรงดำริว่า พวกพระญาตืไม่ยอมไหว้เรา จึงทรงเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิยญา ทรงทำปาฏิหารย์ราวจะทรงโปรยธุลีบาทลงบนพระเศียรแห่งพระญาติเหล่านั้น
ขอขอบคุณภาพจากwww.kunkroo.com
พระเจ้าสุทโธทนะเห็นอัศจรรย์ดังนั้นตรัสว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หลังจากพระองค์ประสูติแล้ว ๗ วัน ขณะที่ะี่เลี้ยงนำเข้าไปไหว้กาฬเทวินดาบส หม่อมฉันได้เห็นพระบาทของพระองค์ไปประดิษฐานบนชฎาของดาบส จึงไหว้พระองค์เป็นครั้งแรก ต่อมาในวันวัปปมงคลแรกนาขวัญ หม่อมฉันเห็นเงาไม้หว้าต้นที่พระองค์ประทับ มิได้คล่อยไปตามดวงตะวัน หม่อมฉันจึงไหว้เป็นครังที่สอง บัดนี้ หม่อมฉันเห็นปาฏิหารย์ซึ่งยังไม่เคยเห็นมาก่อน จึงถวายบังคมพระบาทของพระองค์ นี่เป็นการไหว้ครั้งที่สามของหม่อมฉัน "
ขอขอบคุณภาพจากtopicstock.pantip.com
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะราชทั้งปวงได้พากันถวายบังคมทั้งหมดไม่เหลือแต่พระองค์เดียว พร้อมกันนั่งประชุมด้วยพระหฤทัยที่แน่วแน่ ลำดับนั้นฝนโบกขรพรรษได้ตกลงมา น้ำแม้แต่หยาดหนึ่งก็มิได้ตกลงบนสรีระของผู้ใด พระญาติทั้งปวงทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว เกิดความอัศจรรย์ยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ฝนโบกขรพรรษที่ตกในญาติสมาคมของเรา มิใช่กาลนี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ได้ตกแล่ว "
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
เหล่าเจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารหลังใหม่ถวายแด่พระพุทธองค์ทรงใช้สอยก่อนเป็นปฐมฤกษ์ พระบรมศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ โปรดให้เจ้าศากยะให้เห็นแจ้งในสมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยพระธรรรมเทศนาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสอานิสงส์ของการถวายอาวาสว่า
"ดูกรมหาบพิตร การถวายที่อยู่เป็นทานใหญ่ เสนาสนะของพวกท่าน เราตถาคตได้ใช้สอยแล้ว ภิกษุสงฆ์ใช้แล้ว อันพระธรรมรัตนะก็ได้ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระรัตนะทั้งสามใช้สอยแล้ว ก็เมื่อพวกท่านถวายอาวาสทานแล้ว ท่านทั้งปวงก็เป็นอันว่าพวกท่านได้ถวายแล้วเหมือนกัน อานิสงส์ของบรรณศาลาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินก็ดี มณฑปที่ตั้งอยู่บนต้นไม้ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะวิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน ฝน ลมและแดดให้บรรเทา ย่อมป้องกันให้พ้นจาก งู ยุง และสัตว์ทั้งหลาย การถวายวิหารแก่งสงฆ์เพื่ออยู่เร้น เพื่อเพ่งฌาน เพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ "
จากนั้นมีรับสั่งให้พระอานนท์กล่าวเลขปฏิปทาต่อจากพระองค์เพื่อพระองค์จะทรงสำเร็จสีหไสยา ด้วยมีพุทธประสงค์จะใช้สอยสัณฐาคารนี้ด้วยอิริยาบททั้ง ๔
จากนั้น ตรัสเวสสันดรชาดก
ขอขอบคุณ ภาพวาดอาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต .ที่www.watjakdaeng.com
บุคคลสำคัญๆที่อยู่ในชาดกเรื่องนี้ว่า ได้มาเกิดเป็นใครในสมัยพุทธกาล
ขอขอบคุณภาพจากwww.bl.msu.ac.th
ชูชก มาเกิดเป็น พระเทวทัต
นางอมิตดา มาเกิดเป็น นางจิญจมาณวิกา
พรานเจตบุตร มาเกิดเป็น พระฉันนะ
อัจจุตดาบส คือ พระสารีบุตร
ท้าวสักกเทวราช มาเกิดเป็น พระอนุรุทธะ
พระเจ้าสญชัย มาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ
พระนางผุสดี มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา
พระนางมัทรี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา
ชาลี มาเกิดเป็น พระราหุล
กัณหา มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พระเวสสันดร มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า
ขอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๒ กาฬุทายีอำมาตย์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับว่า พระโอรสของพระองค์ประพฤติทุกรกิริยา ๖ ปี ได้บรรลุพระสัมมามัมโพธิญาณ แล้วประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่เวฬุวันในกรุงราชคฤห์ จึงรับสั่งให้อำมาตย์ผู้หนึ่ง พร้อมบริวาร ๑, ๐๐๐ ไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อกราบทูลนิมนต์ให้พระพุทธองค์เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ๋ ด้วยพระราชบิดาประสงค์จะพบ
อำมาตย์รับพระดำรัสของพระเจ้าสุทโธทนะแล้วก็เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ เข้าไปยังเวฬุวันวิหารในเวลาที่พระพุทธองค์แสดงธรรม อำมาตย์ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาแล้วได้บรรลุอรหัตผล พร้อมบุรุษบริวาร ๑,๐๐๐ ทั้งที่ยืนอยู่นั่นเอง จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ชนทั้งหมด
จำเดิมแต่บรรลุพระอรหัต ชนเหล่านั้นมิได้ส่งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงส่งอำมาตย์พร้อมบริวาร ๑,๐๐๐ โดยทำนองเดียวกัน ตามมา ถึง ๙ ครั้ง ก็มิมีผู้ใดนำข่าวกลับมาแจ้ง เมื่อทุกคนยังกิจของตนให้สำเร็จ คือได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พำนักอยู่ที่กรุงราชคฤห์นั่เอง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
อำมาตย์ที่พระเจ้าสุทโธทนะส้่งไปกรุงราชคฤห์ในครั้งสุดท้ายนั้น ก็คือ กาฬุทายีอำมาตย์
ผู้ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นว่ากาฬุทายีเป็นผู้มีความจงรักภักดีมั่นคงนักทั้งยังรักใคร่สนิทสนมกับพระบรมศาสดา คงจะอาราธนาพระพุทธองค์กลับมาที่กบิลพัสดุ์ได้ ซึ่ง กาฬุมายีนั้นเป็นหนึ่งในสหชาติของพระพุทธองค์นั่นเอง กาฬุทายีรับพระดำรัสแล้ว กราบทูลว่า ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้บวชด้วย พระเจ้าสุทโธทนะก็รับสั่งกำชับว่า เธอจะบวชหรือไม่ก็ตามที จักต้องนำลูกเรากลับมาให้ได้
กาฬุทายี ชื่อเดิม อุทายี เป็นชื่อที่บิดาและมารดาตั้งให้ เพราะเกิดในวันที่ชาวพระนครทั้งสิ้นมีจิตเบิกบาน เกิดวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ แต่เพราะมีผิวพรรณค่อนข้างดำ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า กาฬุทายี
บิดาและมารดาไม่ปรากฎนามในตำนาน แต่บอกว่า บิดาเป็นอำมาตย์รับราชการในกรุงกบิลพัสดุ์
พระกาฬุทายีนั้น เติบโตมาพร้อมกันกับพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นสหายรักใคร่ ชอบใจ คุ้นเคยกัน ฉลาดในทางนิติบัญญัติ ต่อมาได้เป็นอำมาตย์ในราชสำนักของกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อไปถึงกรุงราชคฤห์แคว้นมคธ กาฬุทายีอำมาตย์พร้อมบริวารด้วยเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ๑,๐๐๐ คน ได้ฟังพระธรรมเทศนา แล้วได้บรรลุอรหัตผล ดำรงอยู่ในความเป็นเอหิภิกขุเช่นเดียวกัน ้
ขอขอบคุณภภาพจากhttp://www.dhammajak.net
ครั้นในวันเพ็ญเดือน ๔ พระกาฬุทายีเถระคิดว่า บัดนี้ย่่างเข้าสู่วสันตฤดู (ฤดูใบไม้ผลิ) พืชผลต่าง ๆ เก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว สะดวกแก่การเดินทาง เห็นว่าเป็นกาลสมควรที่พระทศพลจะทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติแล้ว พระกาฬุทายีเถระ จึงเข้าไปกราบทูลให้เสด็จไปนครกบิลพัสดุ์ พรรณนาถึงหนทางเสด็จ เพื่อต้องการให้พระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครของราชสกุล
กาฬุทายีอำมาตย์ ได้ทูลพรรณนาหนทางที่จะเสด็จดำเนินให้เพลิดเพลินด้วยคาถา ๖๐ คาถา เป็นต้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้กำลังผลัดใบ ใบเก่าล่องไป ใบใหม่เกิดแทน ดูแล้วแสนเจริญตา สีแดงเจิดจ้าอุปมาดังถ่านเพลิง น่ารื่นเริงทั่วพนาวัน
ไม้ดอกก็ออกดอกทั่วกัน บ้างก็บาน บ้างยังตูม เป็นที่ลุ่มหลงแห่งภมร กลิ่นเกสรหอมกระจายไปทั่วทิศ ชวนรื่นรมย์ดวงจิตทั้งมนุษย์และเทวดาที่ได้มาพบเห็น
ไม้ผลก็ออกผล ให้ทั้งคนและสัตว์ป่า พอสืบชีวาอยู่ได้ตามวิสัยของผู้มีเมตตา ไม่เบียดเบียนเข่นฆ่า ชีวิตใคร
อากาศก็สบายไม่หนาวนักไม่ร้อนนัก จะหยุดพักหรือเดินทางก็ไม่สร้างปัญหา โรคาไม่เบียดเบียน
ขอเชิญพระพิชิตมารคมนาการสู่กบิลพัสดุ์ เพื่อตรัสเทศนาโปรดพระบิดาและประยูรญาติ ประกาศ ญาตัตถจริยา ตามธรรมดาของสัมมาสัมพุทธะ พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธองค์เสด็จพร้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่นองค์ (พระขีณาสพหมายถึง พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี )
ระหว่างการเดินทางพระกาฬุทายีเถระได้นำข่าวการเสด็จพระพุทธดำเนินมาให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบด้วยฤทธิ์ พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นพระเถระมาทรงพอพระทัย ถวายอาหารบิณฑบาตที่ได้จัดเตรียมไว้แก่พระเถระ แล้วตรัสว่า
"นิมนต์ท่านฉันภัตตาหารนี้ก่อน แล้วจึงค่อยนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายแก่บุตรของเรา จนกว่าบุตรของเราจะเดินทางมาถึงพระนคร"
พระกาฬุทายีถวายบาตรแด่พระพุทธองค์
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45513&start=30
พระเถระได้นำบิณบาตไปทุกวันโดยอุบายนี้ เมื่อชนชาววังกำลังเฝ้าดูอยู่ในที่นั้นแหละ พระเถระโยนบาตรที่เต็มไปด้วยภัต อันจะนำไปถวายพระบรมศาสดาในท่ามกลางอากาศ แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาสแล้วน้อมเอาบิณฑบาตเข้าไปถวายพระพุทธองค์ทุกวันเช่นนี้ พระบรมศาสดาเสวยบิณฑบาตของพระเจ้าสุทโธทนะเท่านั้นในระหว่างการเดินทาง
ทุกวันหลังกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ท่านกาฬุทายีเถระได้แสดงธรรมีกถา ที่ประกอบด้วยพุทธคุณ แก่พระเจ้าสุทโธทนะและบริษัท
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระกาฬุทายีเถระกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบว่า วันนี้พระพุทธองค์เสด็จมาสิ้นระยะทางเท่านี้ เท่านี้แล้ว พระเถระได้ทำราชสกุลทั้งสิ้นให้มีความเลื่อมใสเกิดขึ้นในพระบรมศาสดาโดยที่ยังไม่เห็นพระองค์
สิ้นเวลา ๖๐ วัน พระบรมศาสดาจึงเสด็จถึงกบิลพัสดุ์
โปรดพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติ ประกาศพระพุทธศาสนาในสักกประเทศ แล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่นิโครธาราม
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านพระกาฬุทายีเถระว่า เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายผู้ยังราชสกุลให้เลื่อมใส
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระกาฬุทายีเถระนี้ ได้สั่งสมบุญกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในพุทธกาลเป็นอันมาก
ในกาล แห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่ง ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส จึงเร่งกระทำบุญกรรมสะสมไว้เพื่อได้ตำแหน่งนั้นแล้ว ได้ตั้งความปรารถนา พระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว เวลาผ่านไปหนึ่งแสนกัปป์ ความปรารถนาของเขาได้สำเร็จในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ดังได้กล่าวมาแล้ว
พระกาฬุทายีเถระ ได้บรรลุพระอรหัตผลอันเป็นประโยชน์สูงสุดของตนแล้ว ได้ช่วยพระศาสดา ประกาศพระศาสนาตามความสามารถ
ธรรมวาทะ ของพระกาฬุทายีเถระ
ชาวนาหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนตกลงมาบ่อย ๆ
ชาวนาไถนาบ่อย ๆ แว่นแคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อย ๆ
พวกยาจกเที่ยวขอทานบ่อย ๆ ผู้เป็นทานาธิบดีให้ทานบ่อย ๆ
ครั้นให้ทานบ่อย ๆ ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ
บุรุษผู้มีความเพียร มีปัญญากว้างขวาง
เกิดในสกุลใด ย่อมทำสกุลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาด
ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสามารถทำสกุลให้บริสุทธิ์ เพราะพระองค์เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า นักปราชญ์
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิกขุ... จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญมหาเถระเป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมเถระในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ และทรงเปลี่ยนวิธีใหม่เป็น ติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.gongtham.net/my_data/luksut/anududdha/5bud_10.html
วิกิพีเดีย
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ดอกไม้เหล็กประดับแจกัน ของ ค.ส.ช. คุณสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ นี้ สถานีโทรทัศน์ ไทพีบีเอส ในรายการตอบโจทย์ มีประเด็นตอบโจทย์ในวันนั้นคือ
" แผนยกเครื่องกระทรวงคมนาคม งานท้าทายหญิงเหล็กสร้อยทิพย์ ไตรสุทธื์ "
ทำให้ความคิดที่จะจบเรื่องราวของเพื่อนที่เป็นความภาคภูมิใจ ดาวดัดรุณีรุ่นยอดเยี่ยมของคุณครูสอิ้ง เตรียมเรื่องดาวดัดดรุณีอีกดวงที่ส่องประกายเจิดจ้าเวหาหาวคราวปีนี้เช่นกัน
แต่จากการออกรายการในคืนนั้น ทำให้พลอยโพยมที่เป็นเพื่อนกับคุณสร้อยทิพย์มา ๔๕ ปี คิดว่ารู้จักคุณสร้อยทิพย์มากในความเป็นเพื่อน เพราะชาว ม.ศ.สามก. สนิทและรักกันสามัคคีกันมากทั้งห้อง
แต่พลอยโพยมไม่เคยสัมผัสคุณสร้อยทิพย์ในเรื่องงาน เพราะต่างคนก็ต่างทำงานตามเส้นทางชีวิตอันลิขิตแล้วด้วยตนเอง พลอยโพยได้รู้เห็นแต่ความก้าวหน้าของเพื่อนฝูงแต่ละคน แต่ละสายอาชีพ มีโอกาสก็ไปแสดงความยินดีกัน
พลอยโพยมรู้สึกนับถือและศรัทธา คุณสร้อยทิพย์ นอกเหนือจากความภาคภูมิใจ
ขอขอบคุณภาพจากwww.janywhere.com
ในสมัยที่ทำงานธนาคาร พลอยโพยมมีเจ้านายท่านคือ ว่าที่ รท.อนิวรรตน์ อารมย์สุข ที่ให้แนวคิดอย่างหนึ่งกับผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอมา และพลอยโพยมขอนำมาเล่าสู่ด้วยสำนวนของตัวเอง เพราะไม่สามารถจดจำเรียบเรียงคำพูดของเจ้านายอย่างคำพูดจริงของท่านได้ แต่สาระเป็นดังที่พลอยโพยมกำลังสื่อความ
ในโลกนี้ มีมนุษย์บางคนมีคุณสมบัติพิเศษในตัวที่ไม่เหมือนคนทั่วไป เหมือนติดตัวมาแต่กำเนิด คนอื่นสามารถมองเห็นความโดดเด่นนั้นได้ประจักษ์ตาเป็นที่ยอมรับ สิ่งนั้นคือ"พรสวรรคฺ์"
แต่ก็มีบางอย่างที่มนุษย์ไม่มีอยู่ในตัวเองมาก่อน แต่ก็สามารถฝึกฝนเรียนเรียนรู้จนได้สิ่งนั้นมา สิ่งนั้นคือ "พรแสวง"
ซึ่งผู้ที่มีความตั้งมั่นตั้งใจจริงจะได้รับสิ่งนี้ได้
พรสวรรค์สรรสร้างนั้นติดตัวคน ๆ นั้นมา แต่พรแสวงทุกคนสามารถหาได้และมีโอกาสที่จะได้มา
แต่ทั้งพรสวรรค์และพรแสวงนั้น จะสื่อออกมาได้อย่างไร
ของดีที่มีอยู่ในตัวจะแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้อย่างไร
ขอขอบคุณภาพจาก www.jittraflorist.com
ในร่างกายมนุษย์ทุกคนมีอวัยวะมากมายทั้งที่มองเห็นภายนอก ทั้งที่หลบซ่อนอยู่ภายใน โดยเฉพาะอวัยวะที่อยู่ภายใน เช่น สมอง หัวใจ ม้าม ตับ ปอด กระเพาะ ไปยาลน้อย ทุกคนก็รู้จักกันดี
ในช่องท้องของทุกคนยังมีอวัยวะที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าอวัยวะอื่น ๆ และอวัยวะนี้คนไทยมักเอาไปเปรียบเปรยกับคนฉลาด ปราดเปรื่อง มีไหวพริบ เป็นอัจฉริยะ เป็นคนสร้างสรรค์ สารพันดี ๆ มีอยู่ในความคิด ทัศนคติ การสื่อความในความเป็นสุดยอดของตนให้คนอื่นได้ประจักษ์ เป็นเสมือนดั่งมีดโกนคมกริบ หรือไม่ก็ดาบซามูไรฟันฉับเดียวตายสนิท
อวัยวะส่วนนั้น เราเรียกว่า กึ๋น
เราจะเรียกบุคคลที่มีสารพันสิ่งดี ๆ ในตัวเองและสื่อออกมาให้เห็นว่าเป็นคนมี "กึ๋น"
คนฉลาดบางคนที่ไม่มี กึ๋นก็มี หลาย ๆ ท่านคงนึกถึงเพื่อนฝูงของตนเองได้ นักเรียนร่วมรุ่น ที่เรียนเก่งสอบได้ระดับเกียรตินิยม เพราะมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวงอยู่ในตัวเองแต่ไม่สามารถแสดงถึง ของดี ดี เด็ด เหมือนเพชรเหมือนทอง ภายในของตนเองให้คนอื่นมองเห็นความเป็นเนื้อทองนพคุณได้ ก็มีมากมาย
ขอขอบคุณภาพจาก www.wonderflowershop.com
ย้อนกลับมาที่คุณสร้อยทิพย์ ที่มาตอบโจทย์ของคุณ จิรชาตา เอี่ยมรัศมี
แล้วพลอยโพยมก็บอกกับตัวเองว่า คุณสร้อยทิพย์มี กึ๋น คุณสร้อยทิพย์ตอบโจทย์ทุกข้อ อย่างคล่องแคล่ว ไม่ต้องหยุดคิด ไม่ต้องเรียบเรียงคำตอบในใจ ทุกอย่างเหมือนการพูดคุยเรื่องลมฟ้าอากาศรอบ ๆ ตัว ทั้งที่โจทย์ เป็นโจทย์ที่เป็นปัญหาใหญ่ทั้งสิ้น
คุณจีรชาตา เอี่ยมรัศมี มีคำถามมากมายหลายประเด็นถามคุณสร้อยทิพย์ ซึ่งพลอยโพยมก็จดจำมาไม่ได้หมด ขอกล่าวเพียงคร่าว ๆ เข่น
ประเด็นร้อนเรื่องราวของการรถไฟในคดีเขย่าขวัญคนไทยทั้งประเทศ จากการที่ ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ น้องแก้ม เด็กหญิงอายุ ๑๓ ปี หายจากขบวนรถไฟสุราษฎร์ธานี-กรุงเทพฯ ต่อมาทราบว่าพนักงานบนรถไฟข่มขืนแล้วโยนน้องออกมานอกขบวน
คูณสร้อยทิพย์ ตอบคำถามนี้ดีมาก เล่าถึงความสะเทือนใจของผู้คน ไม่แต่ประชาชนเท่านั้น แม้แต่คนรถไฟทั้งที่ยังทำงานอยู่และที่เกษียณงานไปแล้วก็รู้สึกสะเทือนใจและเสียขวัญในเรื่องราวที่เกิดขึ้น มิหนำซ้ำยังรู้สึกเสียศักดิ์ศรีอีกด้วย เล่าว่ามีชาวรถไฟอายุ เจ็ดสิบกว่า แปดสิบกว่ามาหา แสดงความสะเทือนใจ ห่วงใยในภาพลักษณ์ของการรถไฟ
สิ่งเหล่านี้ชาวรถไฟจะกู้กลับคืนมา
และคำตอบอื่น ๆ อีกด้วย
ประเด็นรัฐวิสหาหกิจ ที่กระทรวงคมนาคมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ๓ รัฐวิสาหกิจใหญ่ที่ประสบภาวะผลการดำเนินงานขาดทุนมาอย่างยาวนาน คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยกเว้น บริษัทท่าอากาศยานไทย ( ทอท.) ที่เคยทำกำไรได้บ้างมาก่อนหน้านี้แต่ในปัจจุบันอยู่ในภาวะดำเนินการขาดทุนและเป็นมาหลายปีแล้ว
ด้วยประสบการณ์ ๓๗ ปี ของการทำงานในกระทรวงคมนาคม เหมือนคุณสร้อยทิพย์หลับตา มองเห็นเส้นสายขอบข่ายงานของกระทรวง ฯ เด่นชัดอยู่ตรงหน้า ทางรถไฟ โบกี้รถไฟ เส้นทางเดินรถไฟทั่วราชอาณาจักร ปัญหาของการรถไฟ ทางแก้ไขที่คิดไว้ในใจและกำลังจะดำเนินการ
คุณสร้อยทิพย์เน้นว่า ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด และ ตัดสินใจให้เร็วที่สุด
แผนยุทธศาสตร์ คือความสุขของประชาขน ต้องซื้อชีวิต ซื้อเศรษฐกิจของชาติคืนให้ได้
ส่วนใหญ่ประชาชนมองกระทรวงคมนาคมในด้านการสร้างถนนอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงกระทรวงคมนาคมคำนึงการเติมเต็มในสิ่งที่ขาดเช่นเรื่องการรถไฟ สร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้
การรถไฟจะมิใช่เพื่อการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารเท่านั้น จะเพิ่มเติมเรื่องการท่องเที่ยว
ตัวอย่างเช่น เส้นทางรถไฟอุบลราชธานี วารินชำราบ คุณสร้อยทิพย์มองว่า การรถไฟน่าจะทำประโยชน์เพิ่มเติมได้ในเรื่องการท่องเที่ยว คือไปช่องเม็กด้วย
หมายเหตุ
ช่องเม็ก คือ
จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก เป็นจุดผ่านแดนถาวรที่เชื่อมช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร (เดิมคือ อำเภอพิบูลมังสาหาร) จังหวัดอุบลราชธานี กับบ้านวังเต่า ประเทศลาว เปิดทำการเมื่อ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๓ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านหนองเมค ตำบลพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ จึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร (วิกิพีเดีย)
การเดินทางไปเที่ยวลาวใต้ จ.ปากเซ ต้องผ่าน ช่องเม็กแห่งนี้ ซึ่งเป็นด่านชายแดนไทย-ลาว แห่งเดียวที่ไม่มีแม่น้ำโขงขวางกั้น
คุณสร้อยทิพย์กล่าวถึง เรื่องการขนส่งทางน้ำ ท่าเรือชายฝั่ง ที่รัฐมีเพียงไม่กี่แห่งเช่นท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสงขลา นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นของเอกชนอยู่กระจัดกระจายกัน และพูดถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่กำลังมีปัญหาในขณะนี้ ซึ่งท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นประตูการขนส่งฝั่งทะเลอันดามัน โดยจะนำระบบรถไฟมาเชื่อมกับท่าเรือฝั่งอ่าวไทย แก้ปัญหาช่องแคบมะละกาคับคั่ง
คุณสร้อยทิพย์เปรียบเทียบว่า ขณะนี้ประเทศไทยเหมือนมีประตูแต่ไม่มีหน้าต่าง ทำให้คนหายใจไม่ออก ลมไม่ flow แต่ก็เน้นเรื่องสิทธิชุมชน ที่ประชาชนต้องเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของชุมชนว่าชุมชนจะได้ประโยชน์อะไร เสียประโยชน์อะไร
คุณจิรชาตา ตั้งโจทย์ถึงเรื่องการลงทุนในโครงการต่าง ๆ
การลงทุนโครงการต่างๆ มักเกิดคำครหา เกิดการคอรัปชั่น มีความไม่โปร่งใส
คุณสร้อยทิพย์ เน้นความโปร่งใสไปที่ราคากลาง ว่าเป็นไปตามกฎหมาย มีการประกาศราคากลาง
และต้องมีการตรวจสอบ การตรวจสอบโดยประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำ
ทุกคนต้องมี หิริโอตัปปะ
หิริ หมายถึงความละอายบาป
โอตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป
หิริโอตัปปะรวมกันคือ
ความละอายและความเกรงกลัวบาป
บาปก็คือความชั่วทั้งปวง
การตรวจสอบนั้นก่อนอื่นต้องเป็นการตรวจสอบตัวเองก่อนด้วย
คูณสร้อยทิพย์มีคำพูดที่จับใจพลอยโพยมมากว่า ต้องเป็นคนที่ ไม่โกง ไม่กิน ไม่โกย ไม่กอบ ไม่กำ
คุณจิรชาตาตั้งโจทย์เรื่องการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงคมนาคม
คุณสร้อยทิพย์ตอบว่า เห็นกระทรวงคมนาคมก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมาโดยตลอด ๓๗ ปีของการทำงาน ในปัจจุบัน เรื่องของสื่อมวลชนเป็นเรื่องที่สำคัญ เท่าที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมจะทำอะไร ก็ทำตูมตูมลงไปเลย ประชาชนไม่เคยรู้เรื่อง แต่ปัจจุบัน ประชาชนควรรู้ในสิ่งที่กระทรวงจะทำ
คุณสร้อยทิพย์บอกว่า สำหรับคุณสร้อยทิพย์เองแล้ว มีคำของตัวเองมาตลอดเวลา คือ
"ทุกนาทีหัวใจเต้นเพื่อความสุขของผู้อื่น"
คุณสร้อยทิพย๋บอกว่าแต่หัวใจเต้นแบบนี้คนเดียวไม่ได้ น้อง ๆ ในกระทรวงต้องมีหัวใจเต้นด้วย ไปทางเดียวกันเต้นไปด้วยกัน การทำงานต้องเป็นทีม
จากระยะเวลาที่เหลือเพียง ๑ ปี คุณสร้อยทิพย์จะทำให้เวลา ๑ ปี นี้ เป็นช่วงเวลาทำงานเท่ากับ ๓ ปี ซึ่งคนในกระทรวงต้องให้ร่วมมือ ต้องเสียสละ
คุณสร้อยทิพย์เองไม่เคยมีวันหยุดวันเสาร์วันอาทิตย์ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ทำงานที่ สนข. ตลอดเวลา๔ ปี คุณสร้อยทิพย์เอง ทำงานเท่ากับ ๘ ปี ไม่มีวันหยุด และน้อง ๆ ก็สลับกันมาทำงานวันเสาร์วันอาทิตย์
ครั้งนี้ก็เช่นกัน แต่คุณสร้อยทิพย์ต้องทำงาน ๑ ปี ให้ได้เท่ากับ ๓ ปี ซึ่งหมายความว่าต้องใหเ้เวลาการทำงานมากกว่าครั้งที่ทำงานที่ สนข.ทั้งนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากน้อง ๆ ชาวกระทรวงคมนาคมเรื่องการทำงานวันเสาร์วันอาทิตย์โดยการสลับเวรกกันเช่นเคย
ขอขอบคุณภาพจาก www.an-flowers.com
พลอยโพยมประขาชนคนไทยคนหนึ่ง ขอปรบมือให้กับปลัดกระทรวงหญิงคนแรกของกระทรวงคมนาคม คุณสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ จากความคิด วิธีการทำงานของท่าน และขอคารวะ ณ ที่นี้ ด้วยความศรัทธาและนับถือยิ่ง
ท่านเป็นหนึ่งในสี่ปลัดกระทรวงหญิงที่ ค.ส.ช. คัดเลือกขึ้นมา ท่านปลัดหญิงอีกสามท่านก็คงเป็นมาลี...สีตระการตา...ที่สวยงามไม่มีมลทินแปดเปื้อน ฉลาดปราดเปรื่องที่จะนำพากระทรวงแต่ละกระทรวงที่ท่านดูแลรับผิดชอบกันอยู่เป็นนาวาแล่่นฝ่ากระแสคลื่นลมของ เศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน และร่วมเป็นแรงผลักดักช่วย ค.ส.ช. นำรัฐนาวาประเทศไทยที่บรรทุกผู้คนประชาชนอยู่ในลำเรือร่วมกัน ประมาณ ๖๔ ล้านคน ผู้คนล้วนมีหลากหลายในเรื่องมุมมอง ความคิด ทัศนคติ ในทุก ๆ เรื่อง รัฐนาวาประเทศไทยจะได้ลิ่วแล่นลมพุ่งไปข้างหน้าไปไกล ไกล...และเดินทางจนไปถึงสุดขอบฟ้า..........เบื้องหน้าโพ้น
ขอขอบคุณภาพจากwww.imgion.com
คุณจิรชาตาปิดท้ายว่า คุณสร้อยทิพย์เป็นหนึ่งในสี่ดอกไม้เหล็กที่ ค.ส.ช. เลือกมาประดับแจกันของกระทรวงคมนาคม
พลอยโพยมขอสื่อความตามที่ตัวเองเข้าใจจากคำพูดคุยในรายการตอบโจทย์ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
และขอเป็นกำลังใจให้ท่านปลัดหญิงทั้งสี่ท่าน ดอกไม้เหล็ก ทั้ง ๔ ดอก ที่ประดับในแจกันของกระทรวงต่าง ๆ แม้พลอยโพยมไม่มีโอกาสติดตามเรื่องราวของอีกทั้งสามท่านปลัดหญิง แต่ก็เชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของ ค.ส. ช.
ขอขอบคุณภาพจากblog.wenxuecity.com