วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๑๑๓ พระอานนท์ ๘
พระพุทธองค์เสด็จเวสาลีครั้งสุดท้ายก่อนปรินิพพาน ทรงประทับ ณ สวนมะม่วงของนางอัมพปาลีคณิกา หญิงงามเมืองแห่งเวสาลี ซึ่งได้อุทิศถวายเป็นสังฆารามในพระพุทธศาสนา
เช้าวันรุ่งขึ้นเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี หลังเสร็จภัตกิจแล้ว ในเวลาบ่ายพระพุทธองค์ทรงชวนพระอานนท์ไปยังปาวาลเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่อยู่ของยักษ์ฃื่อปาวาละ ตรัสเรื่องอืทธิบาท ๔ แอันเป็นทางแห่งความสำเร็จ ๔ ประการ คือ
๑.ฉันทะ ความพอใจในสิ่งนั้น
๒.วิริยะ ความพยายามที่จะกีะทำสิ่งนั้น
๓.จิตตะ ความเอาใจฝักใผ่ในสิ้งนั้น
๔.วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น
ธรรม ๔ ประการนี้ หากผู้ใดเจริญให้มาก กระทำให้มาก เมื่อ ปรารถนาก็จะดำรงชีพอยู่่ได้ตลอดกัป
ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ แต่พระอานนท์เถระก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายดังนี้ เพราะถูกมารเข้าดลใจแล้ว
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกับพระอานนท์ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งกับพระอานนท์ ฯลฯ
เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นเสขบุคคลอยู่ จึงไม่เฉลียวใจในคำปรารภของพระบรมศาสดา มิได้กราบทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรงอยู่ คล้ายถูกมารดลใจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับพระอานนท์ว่า บัดนี้เธอจงสำคัญกาลอันควรเถิด
พระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ฯล
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อเห็นพระอานนท์เถระหลีกไปแล้วไม่นานเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มารผู้มีบาปยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิดบัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
มารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับมารผู้มีบาปว่า
ตราบใดที่บริษัท ๔ ของเรา ยังมีคุณสมบัติไม่ครบ ๓ ประการ ตราบนั้นเราจักยังไม่ปรินิพพาน สมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นผู้รู้ ผู้เข้าใจ และปฏิบัติตามคำสอนได้ถูกต้อง
๒.สามารนำธรรมนั้นไปแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้
๓.หากมีผู้ใดกล่าวเตือน จ้วงจาบ หรือแสดงคำสอนผิดพลาด สามารถกล่าวแก้ไขชี้แจงให้ถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนาได้
มารกรา่บทูลต่อว่า บัดนี้บริษัท ๔ ของพระองค์ มีคุณสมบัติครบทั้ง ๓ ประการแล้ว
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า มาร อย่ากังวลเลย จากนี้ล่วงอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน
“อัปเปหิ ดูกร มาร เจ้าจงหลีกไปก่อน”
เมื่อมารหลีกออกไปแล้ว องค์พระบรมศาสดางได้ทรงเรียกพระอานนท์ เข้ามาเฝ้า ทรงแสดงนิมิตว่าควรจะอยู่หรือว่าควรจะปรินิพพาน
ตามปฐมสมโพธิท่านกล่าวไว้ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า
“อานันทะ ดูกร อานนท์ สมมติว่าเรามีเกวียนเก่าอยู่เล่มหนึ่ง แต่ว่าเกวียนเก่าเล่มนั้นชราภาพมากแล้ว ทั้งดุม ทั้งกง ทั้งคาน ทั้งทุกสิ่งทุกอย่างมันจะผุมันจะพัง เรามีสตางค์ แต่ทว่าเราควรจะซ่อมเกวียนเก่าไว้ หรือว่าจะสร้างเกวียนใหม่ดี” ปรากฏว่าเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์ถามอย่างนี้ถึง ๓วาระ แต่อาศัยมารเข้าดลใจพระอานนท์ พระอานนท์ก็ทูลองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“เกวียนเก่ามันผุ ก็ควรจะหาเกวียนใหม่มาใช้ดีกว่า เพราะมีความคงทนแข็งแรง”
เมื่อพระองค์ทรงแสดงนิมิตให้แก่พระอานนท์ ๓ วาระ พระอานนท์ไม่ทูลอาราธนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสว่า
“อานันทะ ดูกร อานนท์ จงไป”
หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงทรงปลงอายุสังขารว่า นับตั้งแต่บัดนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้าเราจะปรินิพพานที่เมือง กุสินารามหานคร
เมื่อสมเด็จพระชินวรทรงปลงอายุสังขารอย่างนั้น ก็ปรากฏว่าแผ่นดินไหว พระอานนท์มีความแปลกใจ เข้าไปเฝ้าองค์พระบรมศาสดา ถามว่าทำไมแผ่นดินจึงไหวแรงเป็นกรณีพิเศษ พระพุทธองค์งได้ทรงแสดงเหตุที่แผ่นดินไหวไว้ ๘ ประการด้วยกัน
อรรถกถากล่าว่า พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)
ขอขอบคุณช้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
http://www.banloktip.com/webboard/index.php?topic=1246.0
http://www.84000.org/tipitaka/picture/f68.html
http://dhammaweekly.wordpress.com/2011/01/24/ความสำเร็จของพญามาร-พระ/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น