วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557
"งานบางปะกง สายน้ำแห่งชีวิต และ มหกรรมตะวันยิ้ม รักษ์บูรพาผ่านละคร ๑ "
ณ ศาลาจตุรมุข หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๗ กันยายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐-๒๐.๐๐ น.
การจัดเตรียมสถานที่ภายในศาลาจตุรมุขหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทีมงานต้องมาจัดเตรียมสถานที่กันก่อนวันงาน เพราะต้องขนย้าย อุปกรณ์ของใช้ต่าง ๆ มากมาย และต้องจัดเตรียมกันมาเอง ซึ่งทีมงานก็ได้พยายามจัดบรรยากาศในงานโดยจำลองชีวิตของชาวลุ่มน้ำบางปะกง
อีกด้านหนึ่งของศาลาจตุรมุขมีจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเยาวชน
๑๔.๐๐ น. เริ่มลงทะเบียน ชมนิทรรศการภาพถ่ายบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิต
ลงทะเบียน
ชมนิทรรศการภาพถ่าย
ตัวอย่างภาพถ่าย
การออกไปกู้อวนที่กางรอกุ้งกะปิหรือเคยในแม่น้ำบางปะกง
กุ้งกะปิ หรือเคยแม่น้ำ
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
เคย หรือ เคอย (อังกฤษ: Krill)
เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกุ้ง ในกลุ่มกุ้ง-กั้ง-ปูซึ่งเป็นสัตว์สำคัญโดยเฉพาะของแพลงก์ตอน ที่เป็นอาหารของ baleen whale, ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม, ปลาฉลามวาฬ, crabeater seal และ pinniped seals รวมทั้งนกทะเลบางสปีชีส์ที่กินเคยแต่เพียงอย่างเดียว
กุ้งเคยจัดเป็นครัสเตเชียนขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า และไม่มีกรีแหลม ๆ ที่บริเวณหัว เหมือนกุ้ง ตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีขนาดยาวประมาณ ๑.๕เซนติเมตร มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้ตามป่าชายเลน เช่น ต้น โกงกาง แสม ลำพู ชาวบ้านมักจะออกช้อน ตัวเคยกันในเวลาเช้า ช้อนกันได้ทุกวัน เพราะมีอยู่มากทุกฤดูกาล จะดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไป ซึ่งอาจจะอยู่ในน้ำลึกประมาณหน้าแข้งถึงระดับหน้าอก ในแถบขั้วโลกใต้จะเป็นแพลงก์ตอน ที่มีขนาดใหญ่ มันจะเป็นอาหารที่สำคัญ ของปลาวาฬ ส่วนในอ่าวไทย เป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็กอยู่ตามชายฝั่ง ในนากุ้งและบ่อปลา
เคยในแม่น้ำบางปะกงจะมีในช่วงที่น้ำในแม่น้ำถูกน้ำทะเลหนุนเป็นน้ำเค็มและจะตัวใหญ่กว่าเคยในทะเล
การดักสัตว์น้ำที่ชายฝั่ง
การพายเรือผีหลอก
เรือผีหลอก มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นที่อำเภอบ้านโพธิ์ว่า เรือสำเป๊ะ เรือเช้าเป๊ะ เรือเท้าวเป๊ะ
รูปร่างเพรียวกว้างประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ วา ๒ ศอก(ประมาณ ๙ เมตร ) หัวเรือเรียวเล็ก ท้องเรือแบนราบจึงแล่นในน้ำตื้นได้สะดวก คล่องตัวในการแจวหรือพายทวนน้ำ พื้นตอนท้ายเรือใช้ไม้กรุปิดและเปิดได้ยาว ๑ เมตร สำหรับให้คนยืนแจวเรือ พายเรือ ภายในมีที่ว่างสำหรับขังปลาขนาดใหญ่ที่จับได้ ตลอดลำเรือมีกงขึ้นห่างเป็นช่วง ๆ ท้องเรือปล่อยโล่งไม่มีไม้ปิดแต่ใช้ทางมะพร้าวตัดปลายใบเล็กน้อยป้องกันมิให้ปลาที่กระโดดเข้ามาหนีออกไปได้ สาเหตุที่เรียกชื่อว่า “ เรือผีหลอก “ ก็เพราะด้านข้างลำเรือมีไม้กระดานสีขาวหรือสังกะสีแผ่นสี่เหลี่ยม ผูกติดไว้กับแคมเรือมีความสูงเรี่ย ๆ น้ำ เมื่อแล่นผ่านสายน้ำก็จะสะท้อนเป็นเงาวาววับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ทำให้ปลาที่อยู่บนผิวน้ำตกใจกระโดดลอยสูงและตกลงมาบนแผงได้เลยเข้าสู่ท้องเรือกันเป็นแถว
การหาปลาจะหาในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เพราะเป็นฤดูที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ปลาก็ชุกชุมและมีขนาดใหญ่ ปลาที่เข้าเรือผีหลอกนี้ส่วนใหญ่เป็นปลาที่หากินน้ำตื้นเช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลาซิว ปลาฉลาด ปลาเนื้ออ่อน ปลากระทุงเหว ปลาเสือ ปลากระดี่ ปลากระบอก ปลากะพง (กะพงขาว และกะพงข้างลาย )เป็นต้น เวลาที่เหมาะสมในการใช้เรือผีหลอกออกจับปลา คือ เวลากลางคืนตั้งแต่ ๓ ทุ่ม ไปจนรุ่งสาง เมื่อฟ้าสว่างในตอนเช้า ผู้ที่มีบ้านอยู่ริมแม่น้ำ จะได้เห็นเรือผีหลอกพายกลับมาพร้อม ๆ กันหลายลำ (ฐิระวัตร,๒๕๓๙ ก ) แต่ในปัจจุบันชาวบ้านใช้เรือผีหลอกกันในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าในอดีต
การตัดจากในป่่าจากริมแม่น้ำบางปะกง
การเย็บจากซึ่งนำไแใช้มุงหลังคาบ้านเรือน โรงเรือน และกระแซงของเรือกระแซง เราจะเรียกจากที่เย็ยเสร็จแล้วว่าตับจาก
เรือกระแซง เป็นเรือต่อทำจากไม้สัก ท้องเรือโค้งกลมมีลักษณะคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง มีทวนหัวและทวนท้ายแบนเรียบ กงเรือเป็นไม้โค้งตามท้องเรือและวางเรียงกันถี่มาก ข้างเรือเป็นแผ่นไม้หนายึดเหนี่ยวด้วยลูกประสัก (สลัก) ที่ทำจากไม้แสมเหลากลม ด้านนอก โตกว่าด้านใน ส่วนปลายลูกประสักด้านในผ่ากราดด้วยลิ่มกันลื่นออก บนดาดฟ้าทำประทุนครอบเรือ (หลังคา) และมีฝาไม้ปิดด้านหน้าและด้านหลัง
กระแซง เป็นการเรียกเรือต่อ ที่ทำหลังคาด้วยกระแซง คลุมตลอดลำ เรียกว่าเรือกระแซง
กระแซงคือ เครื่องบังแดดบังฝนทำจาก ใบเตย ใบจาก มาเย็บเป็นแผงสมัยก่อนทำจากใบไผเบากว่าที่ทำจากใบจากและกันความร้อนได้ดี กระแซงแบบนี้คนจีนมักจะทำขาย ต่อมามีราคาแพง คนจึงหันมาใช้สังกะสีแทน ทำให้กระแซงใบไผ่หายไป
๑๕.๐๐-๑๕.๓๐ น. เปิดงานด้วยดนตรีจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ์
๑๕.๓๐-๑๖.๓๐ น.- ละครเรื่องสโนไวท์กับบุหรี่วิเศษ โดยเยาวชนละครโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกูล จังหวัดระยอง
- ละครเรื่องอดีตสู่ปัจจุบัน โดยเยาวชนละครโรงเรียนศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
- บทเพลงจากชุมชนเขาไม้แก้ว โดยเกษตรชัย บ้านเขาไม้แก้ว
- ละครเรื่องเขาไม้แก้วที่รัก โดยเยาวชนละครรักษ์เขาไม้แก้วโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
๑๖.๓๐-๑๗.๑๕ น. เสวนาหัวข้อ ละคร ศิลปะ วัฒนธรรม กับการขับเคลื่อนชุมชนตะวันออก โดย เยาวชน คนตะวันออกและเพื่อนร่วมทาง
- คุณธนวัฒน์ เจี่ยเจริญ เยาวชนละครเรียนรู้บูรพาผ่านละคร
- คุณกัญจน์ ทัตติกุล จังหวัดฉะเชิงเทรา
- คุณอรชา จันทร์เดช จังหวัดปราจีนบุรี
- คุณทวีวัฒน์ กำเนิดเพ็ชร์ จังหวัดชลบุรี
- คุณพจมาลย์ วงษ์พันธุ์ จังหวัดระยอง
- คุณอุมาภรณ์ อุเทนพันธ์ จากสวนสนานฯ
๑๗.๑๕-๑๗.๓๐ น. ละครเรื่องสืบสาน โดยเยาวชนละครกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จังหวัดระยอง
๑๗.๓๐-๑๘.๐๐ น.ละครเรื่องบางปะกง สายน้ำแห่งมังกร โดยเยาวชนละครอาสาสมัครกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ จังหวัดชลบุรี
๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. - เสวนา สารคดีบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิตกับ 10 FOTOS และชมสารคดีตัวอย่าง แลกเปลี่ยนพูดคุยโดยคุณพรชัย วิสุทธาจารย์
- บทกวีบางปะกงโดยพลอยโพยม
- บทเพลงบางปะกงขับร้องโดยธนวัฒน์ เจี่ยเจริญและทีม
๑๙.๐๐-๒๐.๐๐ น. ดนตรีจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ์ และชมนิทรรศการ
(๑๔.๐๐-๒๐. ๐๐ น. ชมนิทรรศการภาพถ่ายบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิตและร่วมกิจกรรมต่างๆ ในงาน)
ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/bangpakongramsar
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
หนังสือฉะเชิงเทราเมืองแห่งอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น