วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
นครกุสินารา ๘
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=836054
ในวันนั้นเองหลังจากที่เสวยสุกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว พระพุทธองค์ทรงประชวรด่วยโรคชื่อ ปักขันทิกาพาธ มีอาการลงพระโลหิต ทรงได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า แต่ยังทรงมีสติสัมปชัญญะมั่นคง ไม่ทุรนทุราย ด้วยพลังขันติธรรม คือ อธิวาสนขันติ
ตรัสให้พระอานนท์นำความไปบอกแก่นายจุนทะ โดยทำให้เขามั่นใจว่า การที่นายจุนทะถวายสุกรมัททวะแก่พระคถาคต เป็นอาหารมื้อสุดท้าย หลังจากที่ทรงเสวยแล้วประชวรนี้ ไม่มีข้อที่น่าตำหนิ แต่กลับมีอานิสงส์มาก
มีตำนานบอกว่า พระพุทธองค์ทรงลงสรงสนาน ในแม่น้ำกกุธานที แม่น้ำกกุธานที เป็นแม่น้ำอยูีในเขตของเมือปาวา อยู่ใกล้กรุงกุสินารา มีชื่อเรียกว่า กุกุฑฐา (กกุทธา กกุฎฐา) สวนอัมพวัน (หริอสวนมะม่วง) ของนายจุนทะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกกุธานที เมื่อพระพุทธองค์ทรงสรงสนานในแม่น้ำกกุฎฐา นี้แล้ว ยริเวณริมฝั่งแม่น้ำและปลาทุกตัวในแม่น้ำ ได้กลายสภาพเป็นทองคำ
แม่น้ำกกุธานที
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนท์มา แล้วเสด็จออกจากเมืองปาวา ไปยังเมืองกุสินารา การประชวรลงพระโลหิตของพระพุทธองค์ พระสังติติกาจารย์ ผู้ร่วมทำสังคายนา ได้ให้ข้อสังเกตุว่า
พระพุทธองค์ผู้ทรงพระปรีชา เสวยภัตตาหารของนายจุนทะผู้เป็นบุตรนายช่างทองแล้ว ทรงประชวรอย่างหนัก ใกล้จะปรินิพพาน เมื่อพระบรมศาสดาเสวยสุกรมัททวะแล้ว การประชวรบางอย่างได้เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าลงพระบังคน ได้ตรัสว่า "เราจะไปเมืองกุสินารา"
พระพุทธองค์เสด็จจากเมืองปาวาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ๋ ขณะที่ทรงดำเนิน ทรงกระหายน้ำ จึงเสด็จแวะพักลงณ ณ โคนต้นไม้รืมทางนั้น ตรัสสั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิซ้อนกันป็น ๔ ชี้น ประทับบนอาสนะที่พระอานนท์ปูลาดถวายไว้ รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำจากลำคลองเล็กที่อยู่ในบริเวณนั้นมา เพราะทรงกระหายใคร่จะได้ดื่มน้ำ
พระอานนท์ไม่ไปตักน้ำตามพุทธบัญชา เพราะเห็นว่าเกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งข่ามแม่น้ำนั้นไปไม่นาน ทำให้น้ำขุ่น กราบทูลแนะนำให้เสด็จต่อไปยังแม่น่ำใหญ่ ชื่อ กกุธานที (หรือกกุฏฐา) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นั้น พระพุทธองค์ตรัสยืนยันถึง ๓ ครั้ง ให้พระอานนท์ไปตักน้ำมา
สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น