วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
นครกุสินารา ๑๐
พระพุทธองค์จะเข้าสู่ป่าสาละแห่งกรุงกุสินารา ตามพุทธประวัติกล่าวว่าเสด็จข้ามแม่น้ำอีกสายหนึ่งมีชื่อว่า หิรัญญวดี ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้้ำคัณฑกะน้อย ที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโคคระ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำคงคาที่เมืองจาปา
ในสมัยพุทธกาล
กุสินาราเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละตอนเหนือ
ในขณะที่เมืองปาวาเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละตอนใต้
เจ้ามัลละแห่งปาวามีพระนามว่าปาเวยยกมัลละ
เจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารามีพระนามว่า โกสินารกา
ทั้งสองฝ่ายต่างมีอำนาจบริหารบ้านเมืองในส่วนที่เป็นดินแดนของตนแยกจากกัน มีแม่น้ำ หิรัญญวดี คั่นอยู่ตรงกลาง
หลักฐานที่เป็นเครื่องยืนยันว่าทั้งสองเมืองมีการบริหารที่แยกจากกัน คือภายหลังจากพุทธปรินิพพาน มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พวกเจ่้ามัลละแห่งปาวาได้ส่งทูตมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อไว้สักการะในเมืองของตน
แม่น้ำหิรัญญวดี (หรือแม่น้ำคัณฑกะน้อย) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองกุสินารา
" อุปวัตตนสาลวัน" (ป่าไม้สาละชื่ออุปวัตตนะ) ของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือ (กุสินารา)เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำ หิรัญญวดี
ปัจจุบันเรียกแม่น้ำกันตัคน้อย ไหลผ่านอำเภอโครักปูร์ แยกจากแม่น้ำกันตัคใหญ่ไปประมาณ ๘ ไมล์ แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำ กกรา (หรือสรยู)
ส่วนแม่น้ำอีกสายที่อยู่ใกล้กรุงกุสินารา คือ กุกุฎฐา (กกุทธา,กกุฎฐา,หรือกกุธานที) ที่พระพุทธองค์ทรงสรงสนาน แม่น้ำสายนี้อยู่ในเขตของเมืองปาวา
สวนอัมพวัน (หรือสวนมะม่วง) ของนายจุนทะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกกุธานที
เมื่อพระพุทธองค์ประชวรปักขันทิกาพาธ ประทับอยู่ที่อัมพวันนี้ ตรัสบอกให้พระอานนท์นำความไปบอกแก่นายจุนทะ เพื่อให้นายจุนทะมั่นใจว่า การที่เขาถวายสุกรมัททวะแด่พระตถาคต เป็นอาหารมื้อสุดท้าย หลังจากเสวยแล้วทรงประชวรนี้ไม่มีข้อน่าตำหนิ แต่กลับมีอานิสงส์มาก
แล้วทรงสนานในแม่น้ำ กกุธานทีนี้แล้ว บริเวณริมฝั่งและปลาทุกตัวได้กลายสภาพเป็นทองคำ
ขอขอบคุณข้อมูลจากสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
(ไปปฏิบัติธรรมกลับวันที่ 26 พ.ย.คะ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น