มัศยา....เยื้องกรายสายนที 4
หอยกะปุก
หอยกะปุก
เจ้าหอยกะปุกเอย ไว้จุกกะแป้นแล่น
เขารักเจ้านัก เขาจะชักแสรกแขวน
จิ้มลิ้มแป้นแล่น ให้พี่แหงนเปล่าเอย........
หอยกะพง
เจ้าหอยกะพงเอย ตกลงในกะทะ
เขาต้มตัวเจ้า หน้าเว้าหวำหวะ
ตกลงในกะทะ รับธุระของน้องเอย........
นกดุเหว่าลาย หรือนกกาเหว่าตัวเมีย ภาพจาก นกสามถิ่น ของ น.พ. บุญส่ง เลขะกุล
นกกาเหว่า ตัวผู้ มีสีดำเหมือน นกกา กำลัง โผไป โผมา ในกรงหนีกล้อง
ปาก ไม่ไซร้หาเหยื่อ แต่ร้องเพื่อข่มขู่ ผู้ถ่ายภาพ เสียงระงมกรง
กาเหว่า
กาเหว่าเอย.... ไข่ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อไว้ให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อน จะสอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปหากิน ถึงปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา จับต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพรานคนหนึ่ง เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง จ้องเอาแม่กาดำ
ยิงต้องหัวอก แม่กาก็หกคะมำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ โอ้ว่าเป็นกรรมของแม่กา...
แน่นอนว่าเป็นเรื่องของหอย แต่ต้องขออภัย ที่ไม่มีการกล่าวถึงหอยในบทกล่อมทั้งสามเพลงนี้เลย
คือหอยกะปุก หอยกะพง รวมทั้งหอยกะพังที่แม่กาพาลูกกาเหว่าไปไซ้กินที่ปากน้ำพระคงคา
มารู้จักหอยกันก่อนสักนิด
ภาพนี้ต้องการสื่อ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาเปลือกหอยมาเรียงร้อยเป็นผืนภาพ
หอย
หอย เป็นสัตว์ที่ถูกจัดอยู่ใน Phylum Mollusca มีลักษณะทั่วไปคือ ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่มไม่แบ่งเป็นข้อปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่างๆได้แก่ หัว เท้า แมนเทิลกับช่องแมนเทิล และอวัยวะภายใน สัตว์ในไฟลัมนี้ประกอบด้วย ลิ่นทะเล (Chiton) หอยงาช้าง (Tusk Shell) หอยฝาเดียว (Gastropod) ทากทะเล (Nudibranch) ทากบก (Land Snail) หอยสองฝา (Bivalve) หอยงวงช้าง (Nautilus) หอยงวงช้างกระดาษ (Paper Nautilus) และหมึก (Squid, Cuttlefish, Octopus)
หอยจัดเป็นสัตว์อีกไฟลัมหนึ่งที่มีความหลากหลายสูงและมีความสำคัญในอาณาจักร สัตว์ มีการค้นพบกว่า 100,000 ชนิด
หอยกาบหรือหอยสองฝาอยู่ใน ชั้นไบวาลเวีย (Class Bivalvia)
เป็นสัตว์ที่มีฝาสองฝา มีประมาณ 30,000 ชนิด เปลือกหอยทั้ง สองฝาจะมีรูปร่างเหมือนกัน ขนาดใกล้เคียงกัน แต่กลับซ้าย-ขวา ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อยึดฝา และ เอ็นยึดฝาหรือบานพับ ซึ่งบานพับจะยึดเปลือกทาง ด้านหลัง มักมีสีดำ บริเวณใต้บานพับประกอบด้วยฟันเรียกว่าhinge teeth ซึ่งช่วยยึดเปลือกไว้ ด้วยกัน ประกอบด้วยฟันซูโดคาร์ดินัล และฟันแลเทอรัล (พบในวงศ์ Amblemidae) หรือฟัน คาร์ดินัล (พบในวงศ์ Corbiculidae)
สำหรับการปิดและเปิดของฝา เมื่อกล้ามเนื้อยึดเปลือกคลาย ตัว เอ็นจะเป็นตัวดึงให้ฝาเปิด และการหดตัวของกล้ามเนื้อยึดเปลือกทำให้ฝาถูกปิด เปลือก ส่วนที่ถูกสร้างขึ้นก่อนและแก่ที่สุดเรียกว่า อัมโบ
การเพิ่มขนาดของเปลือกทำโดยการสร้าง เปลือกใหม่รอบอัมโบเป็นวงๆ ซ้อนขยายออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดเส้นลายบนเปลือกรอบอัมโบ ออกเป็นชั้นๆ เรียกว่าเส้นการเจริญเติบโต (growth line) ในการดูว่าเป็นเปลือกซ้ายหรือขวา ทำได้โดยถือเปลือกหอยให้ด้านอัมโบตั้งขึ้นและให้ด้านบานพับของเปลือกหันเข้าหาผู้สังเกต เปลือกที่อยู่ซีกขวามือคือเปลือกขวา ส่วนเปลือกที่อยู่ทางซ้ายมือคือเปลือกซ้าย
หอยที่จะกล่าวถึงจากบทความทางวิชาการส่วนนี้คือหอยกาบน้ำจืด
หอยกาบน้ำจืด
เป็นกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกกลุ่มหนึ่งที่มีสมาชิกจำนวนมาก และมีความสามารถใน การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี จึงพบแพร่กระจายได้ทั่วไป มีรูปร่างและขนาดตัวต่างๆกัน หอยกาบน้ำจืด เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการนำมาใช้ ประโยชน์อย่างหลากหลาย อาทิ เนื้อหอย ประชาชนบางกลุ่มนำมาปรุงเป็นอาหาร เปลือกหอย เมื่อขัดผิวนอกออกจะมีความมันวาว ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ หอยบางชนิด นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงไข่มุกแทนหอยมุกทะเล เปลือกหอยบางชนิดนำมาเข้าเป็น เครื่องยา นอกจากนี้หอยบางชนิดยังนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆตามแต่ความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน
หอยกาบน้ำจืดมีการแพร่กระจายในเกือบทุกแหล่งน้ำในทุกจังหวัดของประเทศไทย จากการศึกษาของจุฑามาศ และคณะ (2550) พบว่า ลุ่มน้ำที่มีหอยกาบมากที่สุดได้แก่ลุ่มน้ำใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหอยกาบทั้งหมด 57 ชนิด จากที่พบทั้งหมด 72 ชนิด ของหอยกาบทั้งหมดที่พบรองมาได้แก่ ลุ่มน้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออก 47 ชนิด สำหรับลุ่มน้ำในภาคใต้ พบ 41 ชนิด ส่วนลุ่มน้ำในภาคกลาง และภาคตะวันตกพบหอยกาบน้อยชนิดที่สุดคือ ภาคละ 36 ชนิด
www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/new6.pdf
หากสนใจเรื่องหอยกาบน้ำจืด เชิญติดตามได้ที่ หอยกาบน้ำจืดไทย ของ จุฑามาศ จิวาลักษณ์,พิชิต พรหมประศรี,อรภา นาคจินดา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง
หอยกาบน้ำจืดสองฝา นี้พลอยโพยมขอไม่ลงรายละเอียด เพราะหอยกาบน้ำจืดสองฝาที่พบเห็นที่บางกรูดนั้น เป็นหอยที่ไม่ได้นำมาเป็นอาหาร เพียงแต่เป็นหอยที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศชายน้ำบางปะกง ส่วนที่เป็นอาหารได้ ส่วนใหญ่พบเห็นได้ที่อำเภอบางปะกง ซึ่งพลอยโพยมไม่คุ้นเคย แต่รับประทานบ่อยๆ เท่านั้น
นอกจากหอยกาบน้ำจืดสองฝาแล้วย ที่บางกรูด ยังมีหอยอื่นอีกคือ
หอยโข่ง หอยขม หอยคัน หอยเชอรี่ หอยขี้นก ซึ่งล้วนเป็นหอยฝาเดียว
หอยโข่ง ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th
หอยโข่ง
หอยโข่ง Pila scutata
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยโข่ง
ลักษณะทั่วไป
เป็นหอยขนาดใหญ่มีฝาปิด ขนาด ๒-๙ x ๒-๑๐ ซม. เปลือกแข็งรูปร่างครึ่งวงกลม
มีลายพาดขวางบนเปลือก พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทยหอยโข่ง Pila politaเป็นหอย
ขนาดใหญ่มีฝาปิด รูปร่างเป็นรูปไข่ มีส่วนท้ายรีแหลมพบได้ทั่วไปในประเทศไทยหอยโข่ง
Pila ampullaceal เป็นหอยขนาดใหญ่ มีฝาปิด รูปร่างครึ่งวงกลม พบได้ทั่วไปในประเทศไทย
แหล่งที่พบ
พบได้ในนาข้าว หนองและบึงทั่วไป
อาหารธรรมชาติ
ข้าว พืชน้ำต่าง ๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บัว ฯลฯ
ประโยชน์และความสำคัญ
ภาคอีสานนิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกง ทอดและปิ้ง
หอยขม ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th
หอยขม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sinotaia ingallsiana
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ POND SNAIL, RIVER SNAIL
ชื่อพื้นบ้าน หอยขม
ลักษณะทั่วไป
หอยขมเป็นหอยฝาเดียวอาศัยในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม
เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่จะงอยปาก
สั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย
ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูก
เป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละ
ประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ๆมีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจน
แตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่
จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม
แหล่งที่พบ
หอยขมชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง
มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือ
ตามพื้นอาหารธรรมชาติ กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้ง
ซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน
ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อนิยมนำมาต้มแกงเป็นอาหาร หอยขมซึ่งมีขนาดเล็กมักใช้เป็นอาหารเป็ดและสัตว์อื่น ๆ
เป็นหอยที่มีฝาปิด รูปร่างเป็นเกลียว ขนาด ๑.๕- ๓ x ๒.๕- ๔ ซม. เปลือกส่วนที่กว้างที่สุดเป็น
เส้นนูนเป็นวงรอบ อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชอบเกาะอยู่ตามเสาสะพาน หรือขอนไม้ที่จมอยู่ในน้ำหอยขม
Filopaludina(Siamopaludina) javanicaเป็นหอยที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ๑ - ๒ x ๒. - ๓ ซม.
สีน้ำตาล
หอยคัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยคัน
ลักษณะทั่วไป -
แหล่งที่พบ
หอยคันชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง
มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้น
อาหารธรรมชาติ
กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
และผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน
หอยเชอรี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacea canaliculata Lamarck
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ Ampullariidae
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยโข่งเหลือง, หอยเปาฮื้อน้ำจืด
ลักษณะทั่วไป
สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและ
หนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว
เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูก
หอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน
ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้
ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกัน
เป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวย
งาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่
แหล่งที่พบ
พบได้ในนาข้าว หนองและบึงทั่วไป
อาหารธรรมชาติ
ข้าว พืชน้ำต่าง ๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บัว ฯลฯ
ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34 - 53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบ
อาหารได้หลายอย่าง หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด
ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือก
ถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้
ผลผลิตดีไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย
หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
หอยขี้นก ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th
หอยขี้นก (Cerithidea)
เป็นหอยฝาเดียวขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เปลือกเวียนเป็นเกลียวรูปเจดีย์ พบเกาะอยู่ตามรากต้นโกงกาง
หรือคลานอยู่ตามพื้นป่าเมื่อหอยเหล่านี้ตายลงเปลือกจะเป็น
ที่อยู่อาศัยของลูกปูเสฉวนขนาดเล็ก
ที่มาของบทความหอย.
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ผืนนาเป็นรูรัง.. เลนชายฝั่งดั่งคูหา.ปูนา ปูเปี้ยว
มัศยา....เยื้องกรายสายนที 3
ภาพจากหนังสือ บทกลอนกล่อมเด็ก ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปูนา
จับปูดำ ขยำปูนา
จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล
ชะโอละเห่ นอนเปลจนหลับเอย
เพลงกล่อมเด็ก ที่เราเคยได้ยิน คุณพ่อ คุณแม่ ร้องกล่อมพวกเรา ยังพอจำกันได้ไหมคะ ( ใครจำได้ก็เยี่ยมยอดมาก ขอปรบมือให้ดังๆ หลายๆทีเลย สำหรับพลอยโพยมเองจำไม่ได้ว่าตัวเองได้ยินเพลงกล่อมนี้ตอนเด็กๆ ) แต่ ตัวเองต่างหากที่ร้องให้ลูก ๆ ฟังกับได้ยิน คุณพ่อ คุณแม่ของตัวเองร้องกล่อมหลานๆ และรู้ว่า เพลงกล่อมมากมายที่คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ร้องให้หลานๆ และลูกของตัวเองฟัง เหล่านี้ เป็นเพลงที่พลอยโพยมและพี่ๆน้องๆ ถูกร้องกล่อมมาก่อนตอนเด็ก
คุณพ่อมีสมุดเล่มใหญ่ยาว จดเพลงกล่อมเด็กไว้มากมายด้วยลายมือคุณพ่อ สีหมึก จางซีด บางแห่งก็เลือนราง กระดาษบางเฉียบ ( สมุดเล่มนี้เป็นของมีค่ายิ่งของพลอยโพยม) แม้ปัจจุบันมีหนังสือบทร้องเพลงกล่อมเด็กมากมายหลายสำนักพิมพ์ แต่รับรองว่าพลอยโพยมยังมีบทเพลงของคุณพ่อที่ไม่มีในหนังสือเหล่านั้นอีกมากเลยทีเดียว
เปลที่บ้านเป็นเปลผ้าดิบขอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คุณแม่เย็บตัวเปลเอง ขอบเปลก็ทำพิเศษถอดได้ เป็นไม้สอดสลักสี่ชิ้น ขนาดกว้างถูกกำหนดตายตัวตามขนาดของไม้ขอบเปล แต่ความลึกของเปลก็เย็บขนาดได้ตามใจชอบในการเย็บแต่ละครั้ง คือแต่ละรุ่นของเด็กที่จะต้องนอนเปล จะเอาเมาะนอนใส่เปลด้วยก็ได้หรือปูแค่ผ้ารองในเปลก็ได้ เมื่อประกอบเปลแล้วมีเชือก 2 เส้น คล้องสี่มุมเปล คือ ซ้ายขวาเปล หมายถึง หัวเปล คล้องมุมด้านซ้ายมัดให้แน่นที่ขอบเปล ปลายเชือกคล้องผ่านขื่อพันตรึงไม่ให้เลื่อนรูด แล้วปลายเชือกย้อนลงมาผูกหัวเปลด้านขวา นี่คือ เชือก 1 เส้น ส่วนอีกเส้นทำที่ปลายเปลเหมือนกับหัวเปล ที่สำคัญคือเชือกทั้งสองเส้นที่คล้องกับขื่อบ้านนั้น บนขื่อต้องยึดตรึงเพื่อไม่ให้เชือกรูดเคลื่อนที่ไปมาได้
ความยาวของเชือกจากเปลถึงขื่อบ้านจะค่อนข้างยาว เพราะบ้านโบราณต้องการความโปร่ง ดังนั้นจากพื้นบ้านถึงหลังคาบ้านจึงค่อนข้างสูงทีเดียว ซึ่งทำให้เปลแบบนี้จะไกวได้แรงเพื่อให้เด็กที่นอนเปล มึนงง ง่วงนอนจะได้หลับเร็วๆ จากการโยนตัวของเปล และการไกวเปลยังเพื่อไม่ให้มี ยุง ริ้นไร มด มารบกวนเด็กในเปล อีกทั้งมีลมผ่านเย็นสบาย
ในสมัยก่อนเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้จึงไม่มีพัดลมใช้กัน มีแต่พัดเฉยๆ( แต่พัดแล้วก็ได้ลมเหมือนกัน )ให้ใช้กันในบ้าน เป็นพัดทำจากกาบหมากในสวนเอามาเจียนตัดเป็นรูปพัด โดยเจียนตัดโค้งเป็นตัวพัด ส่วนด้ามจับก็เจียนเรียวเกือบเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเหมาะมือของแต่ละคน ขนาดพัดเล็กใหญ่ต่างๆกันเป็นพัดประจำตัวแต่ละคนกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นพัดซื้อจะเป็นพัดทำจากใบลานแผ่ทั้งใบมีผ้าสีแดงเย็บขอบรอบตัวพัด ด้ามเป็นแกนของใบลานเอง (ยังไม่มีพัดทำจากไม้ไผ่สาน เส้นๆ สีสวยลายสองแบบที่เห็นกันสมัยนี้ในร้านขายของที่ระลึกเลย )
จากเปลมาพัดเสียอีกแล้ว ยังมีแซ่ปัดยุงทำจากก้านของดอกจากอีกนะ แต่ยังไม่เล่าละค่ะ
คนไกวเปลมีเชือกผูกยาวจากกลางขอบเปล แล้วคนไกวก็นั่งหรือนอนกับพื้นห่างเปลตามระยะเชือกไกวเปล การดึงเชือกไกวเปลทีหนึ่ง ปฏิกิริยาของเปลที่แกว่งจะโยนตัวเปลต่อไปอีกหลายครั้งจนหมดแรงเหวี่ยง คนไกวก็ดึงเชือกใหม่ การไกวเปลแบบนี้ไม่ต้องใช้แรงมาก ( ใช้หลักเหมือนการใช้เครื่องผ่อนแรง)และไม่ต้องไกวเปลตลอดเวลา สำหรับเด็กที่ไม่โยเย งอแง แกว่งไป ร้องเพลงกล่อมไป ไม่ช้านาน ก็หลับปุ๋ย พอเด็กหลับปุ๋ยคนไกวเปลก็หลับตามสะลึมสะลือ พอคนไกวรู้สึกตัวก็เอามือดึงเชือกเสียทีหนึ่ง
อ่านแล้วเหมือนการไกวเปลก็ง่ายๆดี แต่อันที่จริงไม่ง่ายอย่างนั้นเพราะเด็กจะนอนหลับได้ยาวนานจริงๆนั้น จังหวะเปลต้องเอื่อยๆ สม่ำเสมอ ไม่ใช่กระตุก ๆ เดี๋ยวแรงเดี๋ยวค่อยอย่างที่เขียน คุณพ่อไกวเปลเก่งมาก ไกวในลักษณะที่ไม่ต้องดึงเชือกทุกครั้งที่เปลโยนตัว แต่จังหวะทำได้สม่ำเสมอ ลมที่พัดผ่านเด็กในเปลเพียง เรื่อย ๆ ริน ริน คุณพ่อจึงเป็นมือไกวเปลชั้นเยี่ยม เพลงร้องกล่อมก็ทอดเสียงยาว
มีเปลอีกแบบ ง่ายมาก คือใช้ผ้าขาวม้า รวบหัวท้ายแล้วมีเชือกผูกโยงกับหัวขมวดของผ้าขาวม้า ปลายอีกด้านของเชือกผูกกับเสาบ้าน 2 เสา ที่หัวขมวดผ้าขาวม้ามีไม้ขวางตัวผ้า เพื่อเป็นการขยายความกว้างของการที่ผ้าขาวม้าห่อตัวเข้าหากัน เป็นหัว - ท้ายเปล เปลผ้าขาวม้าจะให้ความรู้สึกเหมือนเด็กถูกห่อหรือถูกกอด แต่เด็กที่นอนเปลแบบนี้จะนอนได้ไม่นาน เพราะความเมื่อยจากการนอน มือขา ถูกจัดท่าที่ขยับตัวไม่ได้ เหมาะสำหรับการนอนระยะสั้น ลักษณะการนอนเปลผ้าขาวม้าน่าจะทำให้เด็กหลังงอ
สำหรับเด็กงอแง โยเย มากๆ ก็จับใส่เปลผ้าขาวม้าก่อน เด็กจะรู้สึกอบอุ่นมีผ้าขาวม้าห่อตัวเหมือนถูกกอด ไกวแกว่งไปมาก็จะหลับง่ายแต่หลับไม่นาน ดังนั้น เมื่อเด็กหลับแล้วก็อุ้มมาใส่เปลสี่เหลี่ยมผ้าดิบ
พลอยโพยมนอนเปลแกว่งมากไป ปัจจุบันพอนั่งรถ เมื่อรถเคลื่อนที่ปุ๊บก็ตาปรือแล้วไม่นานก็หลับปุ๋ย พอรถหยุดเพราะติดไฟแดงนานหน่อยก็ตื่น เป็นที่รู้กันและน่าเป็นห่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุคงคอหักตายในรถเพราะไม่ได้ตั้งตัว แต่จะทำอย่างไรได้นั่งรถเมล์ก็หลับ โชคดีว่าถ้าขับเองก็ไม่ง่วงหลับยกเว้นขับไกลๆ แดดจ้าๆ (เพื่อนๆ ก็อย่าจับลูกหลาน นอนไกวเปล มากเกินไปก็แล้วกัน) อะไรที่มากเกินไปก็เกิดโทษ ประเภท มีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์
นี่คือวิถีชาวบ้านในการนอนของเด็กอ่อนในสมัย ห้า -หกสิบปีที่แล้ว
แล้วเพลงกล่อมบทนี้ ก็เป็นการร้องประกอบการฝึกหัดให้เด็กน้อยกำมือ คลายมือ ในท่าจับและขยำด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นมาอีกระยะหนึ่ง โตขนาดนั่งได้ ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น แมงมุมขยุ้มหลังคา
เนื้อร้องว่า
แมงมุม ขยุ้มหลังคา
แมวกินปลา หมากัดกระโพร้งก้น
แล้วผู้ใหญ่ก็เอาสิบนิ้วมือตัวเองตะกุยแบบโหย่ง ๆ นิ้วมือที่ก้นเด็กๆ เด็กๆ ก็จะหัวเราะชอบใจดิ้นไปมาเล็กน้อย คงเพราะจั๊กจี้นั่นเอง ( อย่าทำบ่อยนัก เดี๋ยวลูกหลานจะติดอาการบ้าจี้ขึ้นมา) หรือบางคนรักมากก็เอาปากตัวเองก้มลงกัดย้ำงับเบาๆที่ก้นเด็ก (ผู้ใหญ่คนนี้ก็เลยเป็นหมาเสียเอง)
จะเล่าเรื่องปูก็ไปเรื่องเปลเสียยาวทีเดียว เพราะปูกับเปลเผอิญมีเรื่องที่มีนัยสัมพันธ์กันตามเนื้อร้องข้างต้นที่ใช่เปิดประเด็นของคราวนี้
ทีนี้ก็เรื่อง ปู กันเสียที อารัมภบทมาเสียยาวเลย
เป็น ตอนสุดท้ายของปู ที่บางกรูด
ปูนา
ปูนา (rice field crab)
ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนาออกจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และจัดให้อยู่ในวงค์ Parathelphusidae
ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้ :
1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก1จังหวัด ภาคใต้1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด
2. S. bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
3. S. sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. S. maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
5. S. fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดลำปางและเชียงใหม่
6. S. denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดแพร่
7. S. nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบใน จังหวัดน่าน และ
8. S. dugasti (Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด
ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีค่าควรแก่การศึกษา เช่นกรณีของปูนา S. denchaii ที่พบในอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ และปูนา S. nani ที่พบใน จังหวัดน่าน เป็นต้น จังหวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก และพื้นที่ก็เป็นผืนแผ่นดินติดต่อกัน สภาพดินฟ้าอากาศ หรือปริมาณน้ำฝนก็ใกล้เคียงกัน
ปูนาชนิด S. dugasti แม้จะมีขอบเขตการแพร่กระจายคลอบคลุมถึง41 จังหวัดก็ตาม แต่ก็เป็นปูชนิดเดียวเท่านั้นที่พบมีในภาคอีสาน ด้วยเหตุผลนี้ ปูชนิดนี้เมื่อครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อว่า Esanthelphusa dugasti ซึ่งบ่งบอกถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของปูชนิดนี้เป็นอย่างดี ปูชนิดนี้ถ้าจะถือว่าเป็นมรดกดินของชนชาวอีสานก็คงไม่ผิด เพราะเป็นทรัพย์ติดแผ่นดินที่คนอีสานมีสิทธิที่จะเก็บเกี่ยวหรือนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่จะใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่าและยั่งยืน ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อตัวเองหรือผู้อื่นนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละท่านชาวอีสานเอง
ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสัตว์ราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ เป็นปูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ประมงและเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำ ปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียง 30-60 องศากับแนวระดับ รูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นมากรูปูจะไม่ลึกและมีรูขนาดไปกับพื้นดิน
ตามทุ่งนาที่มีน้ำเฉอะแฉะ เช่นระยะหลังการเก็บเกี่ยว ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ 1 เมตร ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้นภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ
การผสมพันธุ์
เมื่อปูเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดประมาณ 20 มิลลิเมตร อายุ 90 วัน หรือลอกคราบประมาณ 7-9 ครั้ง ปูเพศผู้จะมีก้ามซ้ายใหญ่กว่าก้ามขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็ก ก้ามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งที่มีลักษณะเล็กเรียวในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศ (ที่เรียกว่าปูกะเทย) ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาด ถ้าอายุเท่ากันปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ
เมื่อเข้าฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหาร ตามแหล่งน้ำ และผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยแสดงอาการปกป้องตัวเองพร้อมกับไล่ปูเพศเมียเป็นระยะ ๆ เมื่อได้จังหวะ ปูเพศผู้ตัวจะขึ้นคร่อมและใช้ขาเดินคู่ที่ 2-4 พยุงปูเพศเมียไว้ข้างล่าง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3-4 วัน จนกระทั้งปูเพศเมียลอกคราบ ในช่วงที่ปูเพศเมียกระดองนิ่มนี้ ปูเพศผู้จะทำหน้าพยุงปูเพศเมียไว้ เพื่อไม่ให้ปูเพศเมียที่ตัวนิ่มและบอบบางนั้นได้รับอันตราย ทำหน้าที่ปกป้องถ้ามีศัตรูเข้าใกล้ เมื่อจะผสมพันธุ์ ปูเพศผู้จะจับปูเพศเมียหงายกลับเอาด้านท้องขึ้น
ปูเพศเมียเมื่อได้รับน้ำเชื้อเพศผู้เรียบแล้วก็จะกลับตัวอยู่ในท่าปกติ ปูเพศผู้ยังคงเกาะหลังปูเพศเมียต่อไปอีกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองปูเพศเมียจนกว่าปูเพศเมียจะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ จึงละจากปูเพศเมียออกไปหากินตามแหล่งน้ำหาอาหาร เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตัวเอง เพื่อเตรียมตัวพร้อมสำหรับเผชิญกับชีวิตในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคมซึ่งอากาศเย็นและมีอาหารจำกัด วิธีที่ปูนาใช้ปฏิบัติและได้ผลดีจนกลายเป็นกิจกรรมหนึ่งในวิถีชีวิตของปูนา คือการลงรูจำศีลในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำเป็นเพื่อประหยัดพลังงานที่มีอยู่จำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อ เมื่อระดับน้ำลด ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ วัชพืชต่าง ๆ งอกงาม และจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้งหนึ่งในช่วงต้นฤดูฝนตามวิธีชีวิตปูนาต่อไป
การวางไข่
ปูนาจะวางไข่ปีละครั้งในช่วง เดือนกุมภาพันธุ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าน้ำนั้นจะมาจากน้ำฝนหรือจากชลประทาน ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูใหม่หรือซ่อมรูเก่าที่มีอยู่ตามคันนาสูงจากระดับน้ำ หรือตามทุ่งนาที่น้ำไม่ขัง เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
ประมาณ 10-12 วัน ไข่ที่ผสมแล้วที่ติดกับจับปิ้งในบริเวณหน้าอกก็จะฟักเป็นลูกปูขนาดเล็ก แต่ลูกปูเหล่านี้คงเกาะอาศัยอยู่กับจับปิ้งอยู่ โดยแม่ปูจะใช้รยางค์ที่บริเวณหน้าท้องโบกพัดกระแสน้ำมีอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงตัวอ่อน ประมาณ 20-23 วัน ลูกปูก็จะลอกคราบ เป็นลูกปูวัยอ่อนที่มีลักษณะครบถ้วนเหมือนพ่อและแม่ เมื่อแม่ปูเห็นว่าลูกปูแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้ว ก็จะใช้ก้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดออกจากจับปิ้ง แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะ เช่นไม่มีน้ำ หรือแล้งเกินไป การพัฒนาของลูกปูในช่วงนี้อาจจะช้า บางครั้งอาจจะยึดเวลาอีก 1- 2 เดือน ถึงจะลอกคราบ แม่ปูถึงจะเขี่ยออกจากจับปิ้ง
การกินอาหาร
ปูนากินอาหารทุกชนิด ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั้งพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว ปูนามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยทำให้ระบบนิเวศในแผ่นดินอีสานเกิดความสมบูรณ์ เพราะปูนามีระบบย่อยอาหารที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้ ดังนั้นปูนาสามารถกินดินที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง สัตว์ที่เป็นอาหารของปูนาในธรรมชาติได้ แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ กุ้งฝอย ลูกหอย ปลาขนาดเล็ก และตัวอ่อนของแมลงที่เจริญเติบโตในน้ำ รวมทั้งปูด้วยกันที่มีขนาดเล็กหรือที่กำลังลอกคราบ สำหรับพืช ปูจะกินพืชที่มีลำตันอ่อน เช่นต้นข้าว หญ้าและวัชพืชน้ำต่าง ๆ ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน
ปูนา เป็นศัตรูสำคัญในนาข้าว
ปูนา กัดทำลายข้าวในระยะต้นกล้า (ข้าวกล้าอ่อน ในช่วง 7-10 วันแรกหลังจากปักดำ ) โดยกัดกินเฉพาะส่วนที่อ่อนและอวบน้ำ ได้ตลอดทั้งวัน ยกเว้นช่วงมีแดดจัด ปูนาชอบอากาศเย็น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำที่ฝนตกพรำ ๆ
การที่ปูนากัดกินเฉพาะส่วนที่อ่อนและอวบน้ำ โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนตรงกลางลำต้น กัดกินต้นข้าวในช่วงนั้นก็เพราะ
ปูเพิ่งพ้นช่วงการจำศีล ซึ่งกำลังหิวและต้องการอาหาร ในช่วงนั้นในนาไม่มีวัชพืชอื่น นอกจาก ต้นข้าวที่ชาวนาปักดำใหม่ และเป็นพืชชนิดเดียวที่มีอยู่ในผืนนา ในขณะที่วัชพืชชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีโอกาสเติบโตเจริญงอกงามให้ปูกัดกินนั่นเอง
ปูนาไม่ได้ทำความเสียหายให้แก่ต้นข้าวเป็นไร่ ๆ หรือร้อยไร่อย่างแมลงหรือหนู ในเนื้อที่1 ไร่ ปูนา จะกัดกินต้นข้าวเพียง 1-3 หย่อม คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2-3 ตารางเมตรเท่านั้น บริเวณที่ปูชอบกัดต้นข้าว คือบริเวณพื้นนาที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำลึกและขุ่นมากกว่าปกติ อาจเป็นมุมใด มุมหนึ่ง หรือตรงกลางผืนนาก็ได้ที่ปูสามารถใช้พรางตัวหรือหลบซ่อนตัวได้
ส่วนมากปูจะกัดต้นข้าวในระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ซม. โดยจะใช้ก้ามทำหน้าที่ยึดและโน้มต้นข้าวเข้าปาก และใช้ ขากรรไกร (mandible) กัดต้นข้าว ปูไม่กินต้นข้าวทุกต้นที่ปูกัด ปูขนาดเล็กที่กำลังเจริญเติบโตจะกัดต้นข้าวมากกว่าปูเต็มวัย
ปูจะทำความเสียหายให้แก่นาดำมากที่สุด และจะกัดกินต้นข้าวในช่วง 7-10 วันแรกหลังจากปักดำเท่านั้น เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้ ลำต้นแข็งแล้วปูนาก็จะหยุดกัดต้นข้าว ในนาหว่านพบว่าปูนาทำลายต้นข้าวน้อยมาก โดยเฉพาะข้าวที่งอกจากตอซังของการปลูกในระบบล้มตอซังจะมีขนาดใหญ่และต้นแข็ง ปูนาไม่ชอบและไม่กัดกินแต่อย่างไร
ปูนาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับปูทะเลหรือปูม้า
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้ง ก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง
เมนูปูนา
ปูนามีรสชาติดี มีเอกลักษณ์ กลมกลืนกับวิถีการกินของคนอีสานและคนเหนือ ปูนาจึงจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก ที่คนอีสานสามารถจับหรือแสวงหาจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา ปูนาสามารถทำอาหารได้หลายชนิด นอกจากนำไปเผา ต้ม นึ่ง ทอด แกงส้ม แกงป่า อ่อมปูนา ยำ และอุกะปู อาหารพื้นบ้านของอีสาน ก็ยังสามารถนำไปประกอบได้อีกหลายชนิด เช่น นำตำให้ละเอียดใส่แป้งและไข่ทอดเป็นแผ่นแบบทอดมัน จิ้มกับน้ำจิ้ม ถ้าเป็นปูขนาดเล็กก็ชุบแป้งทอดทั้งตัว ทางจังหวัดนครพนมนำไปปรุงเป็นลาบปู ผัดปู ส่วนจังหวัดอุดรธานี นำไปทำน้ำยาปูกินกับขนมจีน ปูนายังนำไปดองเค็ม เพื่อนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบของส้มตำ ที่เป็นอาหารหลักของคนอีสานและคนในภาคอื่น ด้วย
นอกจากเป็นศัตรูที่คอยกัดกินต้นข้าว แล้ว การขุดรูตามคันนาของปูนา ทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
และ ปูนาบางตัวยังเป็นพาหะของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวนี้ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในปอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น แมว หนู สุนัก และคน การนำปูนามาทำอาหารควรระมัดระวัง เพราะปูนาอาจจะมีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส ไซเนนซิส (Paragonimus sianensis) ปนเปื้อนอยู่ ที่ผู้บริโภคปูนั้นอาจเป็นโรคพยาธิใบไม้ปอดได้ จึงควรกินปูนาปรุงสุก
ปูนามีไคตินสูง
ปูนามีไคตินที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซานได้เช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง เปลือกปูม้าและเปลือกปูทะเล ปูนาตัวหนึ่งมีปริมาณไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 (น้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ปูทะเลมีปริมาณของไคตินเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น
ไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งและปูนั้นมีประโยชน์ นำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
1.ทางด้านโรงงานอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ในขบวนการบำบัดน้ำเสียในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ที่มีปริมาณอินทรีย์สาร ที่มีโลหะหนักพวก ทองแดง นิคเกิล สังกะสี โครเมียม เหล็ก และแคดเมียม ในน้ำทิ้ง
2.ทางด้านโภชนาการ สามารถนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารเสริม เพื่อลดปริมาณไขมันและโคเลสเตอรอล บำรุงกระดูก นำไปใช้ในการตกตะกอนไวน์ขาว ไวน์แดง ทำเป็นฟิลม์สำหรับเคลือบอาหาร และผลไม้ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียและยืดอายุในการเก็บให้ยาวนานขึ้น ใช้เป็นสารปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต่าง ๆ ให้มีกลิ่นกุ้ง หรือปู เช่น ผลิตภัณฑ์ซอสรสกุ้ง เป็นต้น
3.นำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่นสบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น โลชั่นบำรุงผิว บำรุงผม
4.ทางด้านผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร เช่นนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินทางด้านอินทรีย์วัตถุ นำไปผสมอาหารสำหรับสัตว์ปีก กุ้ง ปูและปลา เพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงโคเร็ว แข็งแรงมีความต้านทานโรค นำไปใช้ในการกำจัดเชื้อรา Sclerotium rolfsii ที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชตระกูลถั่ว ช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดผักและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้
5.ด้านผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งทอ สามารถนำไปใช้ผลิตไส้กรอง สำหรับกรองน้ำและกรองอากาศ หรือใช้ทำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ใช้เป็นส่วนผสมในสิ่งทอเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกลิ่นและเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน เป็นต้น
6.ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม ไคโตซานสามารถทำเป็นเยื่อไคโตซานสำหรับใช้เป็นผ้าพันแผล ช่วยในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ สามารถนำมาแปรรูปเป็นยาสมานแผล ช่วยลดการปวด และลดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในด้านโรคกระดูก โรคฟัน โรคตา และโรคไขมัน
ที่มา
http://www.crab-trf.com/na_crab.php
ปูนาในบทความนี้ เป็นเรื่องราวของปูนาที่บางเรื่องบางรายละเอียดไม่ได้เกิดที่บางกรูด แต่พลอยโพยมนำบทความมาเผยแพร่ต่อทั้งต้นฉบับ เพราะอ่านแล้วพบว่า ปูนา ในบางท้องที่มีเรื่องราวรายละเอียดที่น่าสนใจมากทีเดียว ขนาดเจ้าของบทความใช้คำว่า มรดกดิน ทรัพย์ติดแผ่นดิน เอกลักษณ์ การเป็นสัตว์เศรษฐกิจ มีความสำคัญกับชีวิต รวมทั้งเมนูปูนาที่หลากหลาย
ปูนาปรากฎมี...ที่บางกรูด เป็นปูนาดำ
น่าจะเป็น ปูนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 8 ชนิด ข้างต้น (น่าจะเป็นชนิดที่ 3 )
มีข้อความในวิกิพีเดียระบุว่า
ปูนา เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae (ทั้งวงศ์ไม่ได้เป็นปูนาทั้งหมด) แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา อาจหมายถึงหลายสปีชีส์
• ปูนาสกุล Sayarmia เช่นปูนาดำ (ปูดำ)
• ปูนาสกุล Esanthelphusa
แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรอีกเลย
สำหรับข้อมูลจากภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง เกี่ยวกับปูนาดำ มีดังนี้
ชื่อสามัญปูนาดำ Somanniathelphusa spp.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sayarmia spp
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ BLACK RICE-FIELD CRAB
ลักษณะทั่วไป
เป็นปูน้ำจืด ซึ่งกระดองเป็นรูปหกเหลี่ยมมีขอบ 6 ด้าน ด้านหน้าอยู่ระหว่างเบ้าตาอยู่ตรงข้ามกับขอบหลัง อีกสองขอบอยู่ถัดจากตา ขอบทั้งสองริมหยักเป็นฟันเลื่อย ข้างละ 4 ซี่ ส่วนอีก 2 ขอบเรียบ ส่วนโคนสอบเข้าหากัน นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านสั้น ๆ สามารถขยับเคลื่อนไหวได้เมื่อมีอันตรายหรือเวลาตกใจจะพับเก็บเข้าไว้ในเบ้าตา ขามี 5 คู่ คู่แรกใหญ่ที่สุดมีลักษณะเป็นก้ามหนีบหรือที่เรียกกันว่า ก้ามปู อีก 4 คู่ เป็นขาเดินมีปลายแหลม ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ ก้ามหนีบสีน้ำตาลปนดำตัวผู้จะมีก้ามหนีบใหญ่กว่า ก้ามหนีบตัวเมีย เมื่อจับหงายท้องเราจะเห็นส่วนที่เราเรียกว่า จับปิ้ง คือส่วนท้องของสัตว์ประเภทนี้ ตัวเมียมีจับปิ้งขนาดใหญ่กว้างเกือบเต็มส่วนอก ปลายกลมมน จับปิ้งของตัวผู้มีขนาดเล็กเรียวแหลม
ถิ่นอาศัย
ขุดรูอยู่ตามท้องนาหรือในที่น้ำขังชื้นแฉะ และออกมาเดินเพ่นพ่านตอนต้นฤดูฝน
อาหาร
กินพืชโดยเฉพาะต้นข้าว ซากสัตว์และซากพืช
ขนาด
กระดองมีความยาวประมาณ 4-7 ซ.ม.
ปูนาดำ นี้ ไม่ใช่ ปูดำ ในบทร้องเพลงกล่อมเด็ก ปูดำในบทกล่อมเป็นปูทะเลซึ่งบางท้องถิ่นเรียกปูทะเลที่มีตัวสีดำว่า ปูดำ
ปูนาดำ ที่บางกรูดไม่มีใครจับมากิน
ปูนาดำ ถึงเดินในลักษณะที่เรียกว่าเพ่นพ่านได้อย่างปลอดภัยสง่าผ่าเผย ปลอดภัยจากเงื้อมมือมนุษย์
ในฤดูการทำนา ในท้องนายังมีต้นข้าวและมีน้ำในนา ปูนาดำจะออกมาเดินกินลมชมวิวตามคันนาในช่วงที่แสงแดดยังไม่แผดจ้านักในตอนเช้า เช่นช่วงที่เคยเดินเท้าไปเรียนหนังสือในสมัยเด็ก หรือไม่ก็เป็นยามเย็นที่ตะวันรอนอ่อนแสงแล้ว
หลังจากที่ได้กัดกินต้นข้าวในขณะเป็นต้นกล้าอยู่ไปแล้ว ( ช่วงนั้น ปูนาดำกำลังขะมักเขม้น อยู่กับลำต้นข้าวอวบอ้วนขาวผ่อง ไม่สนใจอย่างอื่นหรือทำกิจกรรมอื่น )
พอข้าวตั้งต้นแข็งแรง ปูนาดำก็มักแอบพรรคพวกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์กัน พบเห็นตรงนั้นสามสี่ตัว ตรงนี้ สี่ห้าตัว ส่วนใหญ่จะพบปูนาดำตัวอวบอ้วน พอพบคนปูนาดำก็จะชูก้ามขู่ขวัญคนที่พบก่อน โดยตั้งการ์ดทั้งสองก้ามแล้วจึงจะคลานหนีอย่างว่องไว การคลานหนี ไม่ใช่ คลานแบบตาลีตาลานตาเหลือกแบบปูก้ามดาบ ปูเปี้ยว คลานกัน ปูนาดำจะคลานแบบคลานเร็วก็จริงแต่ไม่ทิ้งลายเสือว่า " ข้าก็แน่นะ ลองมาแหยมดูสิ จะหนีบให้ดู ดูสิ ดูสิ ก้าม สองก้ามของฉัน มันพร้อมสู้นะจะบอกให้ เห็นไหนว่าก้ามฉันแข็งแกร่งเพียงไร ลองไหมล่ะ มนุษย์คนสวย "
ปูดาดำจะคลานลงท้องนา หรือบางทีคลานเข้าไปหลบในกอหญ้าริมคันนาแล้วก็กลมกลืนกันไปกับกอหญ้า
เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ในผืนนาก็จะแห้งไม่มีน้ำ ระยะนี้ ปูนาดำ ก็พยายามคลานไปแสวงหาหนองน้ำใหม่ บางทีตามถนนของหมู่บ้าน ( Local Road ) ที่มีรถวิ่งสัญจรไปมา ในช่วงนี้จะพบเห็นซากปูนาดำที่ถูกรถทับตายแบนแต๋คาถนน เพราะคนสมัยนี้ใจร้าย เห็นปูนาดำกำลังคลานข้ามถนนจากฝั่งที่ท้องนาแห้งเพื่อข้ามไปหาท้องนาที่มีน้ำอีกฟากถนน ก็ไม่มีหลบหลีกช่วยรักษาชีวิตให้เหล่าปูนาดำ
ปูนาดำไม่ถูกจับมากินก็จริง แต่ก็ไม่พ้นภัยจากยานพาหนะของมนุษย์อยู่ดี
โธ่...ถัง ... เจ้าปูนาดำ ....... ช่วยมีเมตตา ปูนาดำตัวน้อยกันหน่อยเถิด
ปูเปี้ยว
ปูเปี้ยวและปูก้ามดาบ รวมทั้ง ปูแสม บนฝั่งงเลนที่บางกรูด จะอยู่ใกล้ชิดกันทั่วไปบนพื้นเลนด้วยกัน จนสับสนกันว่า ปูก้ามดาบเป็นปูเปี้ยวชนิดหนึ่ง หรือปูเปี้ยวเป็นปูก้ามดาบชนิดหนึ่ง
แต่เมื่อมีการกล่าวถึงปูเปี้ยว จะพบข้อความว่า
ปูเปี้ยวปากคีบ (Uca forcipata)
เป็นปูก้ามดาบอีกชนิดหนึ่ง มีกระดองสีดำก้ามสีน้ำตาลอมม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่เป็นดินโคลน
ปูเปี้ยวขาแดง (Uca tetragonon)
เป็นปูก้ามดาบชนิดที่มีกระดองสีฟ้าแต้มด้วยจุดดำ ตรงมุมกระดองมีสีเหลืองขาเดินมีสีส้มแดงตัวเมียมีก้ามขนาดเล็กทั้งสองข้างเช่นเดียวกับปูก้ามดาบทั่วไป พบอาศัยอยู่ตามหาดโคลนใกล้แนวป่าชายเลนทางฝั่งทะเลอันดามัน
ปูเปี้ยวก้ามยาว Uca spinata Crane, ปูเปี้ยวก้ามยาว, long-finger fiddler crab, Ocypodidae.
เป็นปูที่มีขนาดใหญ่ 8-10 เซนติเมตร ตัวผู้มีก้ามสีเหลือง ลำตัวมีสีดำลายน้ำเงิน อาศัยอยู่บริเวณพื้นดินเลนอ่อนตามริมคลอง
แล้วก็พบชื่อ ปู อีกหลายชื่อว่ามี
ปูเปี้ยวก้ามขาว (Uca perplexa)
ปูเปี้ยวชนิด Uca manii
ปูก้ามดาบชนิด Uca dussumieri พบที่บางปูและ ในอ่าวไทย
Uca marionis พบแถวบางปะกง
Uca annutipes พบแถวเกาะสมุย
Uca manonis พบที่จังหวัดภูเก็ต
พลอยโพยมไม่แน่ใจว่า ปูเปี้ยวที่บางกรูดคือปูเปี้ยวชนิดใด ด้วยลักษณะดูจะคล้ายเป็นปูเปี้ยวปากคีบ (Uca forcipata) ส่วน Uca marionis ที่ว่าพบแถวบางปะกง ไม่มีการบอกรายละเอียดของปูชนิดนี้ ก็เลยไม่แน่ใจในปูชนิดนี้ว่าเป็นปูเปี้ยวชนิดใด
ในช่วงที่น้ำกร่อย รอเคยกะปิได้ บนเลนจะพบลูกปูตัวเล็กๆ มีก้ามสีสวย เช่น สีส้ม สีฟ้า คลานเข้าออกรูปูมากมาย แต่ไม่เคยเห็นปูตัวโตๆ มีก้ามเป็น สีฟ้า สีส้ม ก็ไม่ทราบว่า ปูตัวเล็กๆที่มีก้ามสดใสเหล่านี้ เป็นปูอะไร แต่เป็นปูที่เด็กๆ ชอบกันมาก เราจะนิยมตกปูตัวเล็กๆ เหล่านี้ มาใส่ให้คลานเล่นในกระแป๋ง ดูเบื่อแล้วก็ปล่อยปูไปบนเลนตามเดิม
การตกปู ก็เพียงเอาหนังยางคล้องกับปลายสุดแกนกลางของใบจาก คือตัดใบจากมา1 ใบ ลิดเอาใบออก จะเหลือแกนกลางเล็กๆ ที่โคนจะแข็งแล้วค่อยๆเล็กบางไปจนสุดปลายเหมือนปลายก้านมะพร้าว สั่นไหวโค้งงอ ยืดหยุ่นได้ จะได้เบ็ดที่มีสายเป็นก้านใบจาก ใช้ปลายสุดผูกหนังยาง คนตกปูทอดตัวลงพังพาบกับนอกชานบ้านเอาหนังยางปล่อยวางบนพื้นเลน (ที่ไม่เหลวนักเพราะเป็นบนฝั่งของแม่น้ำ) พอปูเดินเข้ามาในวงยาง ซึ่งเราต้องใจเย็นรอคอยไม่ทำให้ยางเคลื่อนที่ ปูก็จะหลงคลานผ่าน พอได้จังหวะที่ก้ามปูอยู่ในตำแน่งขอบหนังยาง ก็ยก ก้านใบจากขึ้นมา หนังยางจะคล้องที่ก้ามปูพอดี เมื่อยกก้านขึ้นมาหย่อนในกระแป๋ง ปูก็จะลอยละลิ่วขึ้นมาลงไปอยู่ในกระแป๋ง ใช้เวลาไม่มาก ก็จะได้ลูกปูตัวเล็กสีสวยคลานไต่ไปมาในกระแป๋งหลายๆตัว เป็นกิจกรรมยอดฮิตของเด็กๆ ว่าใครจะตกปูสวยได้กี่ตัว ( ดูเบื่อแล้ว ก็ปล่อยคืนที่อยู่ของปู)
ปัจจุบัน ด้วยความเห็นแก่ได้ของนักหากุ้งหาปลาที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านด้วยสาเหตุต่างๆกัน ใช้สารเคมีโรยตามชายฝั่ง ขนาดกุ้งก้ามกรามลอยตัวขึ้นมาให้จับง่ายๆ ปลาบางชนิดลอยตายเป็นแพเลยก็มี คนเหล่านี้เมื่อจับกุ้งปลาที่ขึ้นลอยริมฝั่งต้องเอาไปขายที่อื่น เพราะคนในหมู่บ้านไม่มีใครซื้อ ด้วยสารเคมีเหล่านี้ ที่ชาวบ้านเรียกว่าการหยอดยา ได้ทำลายพิฆาตฆ่าสัตว์น้ำหลายประเภทรวมทั้งลูกปูและหอยๆต่างๆ นอกจากทำให้ปูสีสวยๆ กำลังจะสูญพันธุ์เกือบไม่มีให้คนบางกรูดได้พบเห็นกันแล้ว ยังทำให้หิ่งห้อยพลอยหายลับไปจากต้นลำพูอีกด้วย น่าเศร้าจริง ๆ..... เนื่องเพราะหิ่งห้อยจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามกาบหอย ซอกจาก ที่พื้นชายฝั่งในเวลากลางวัน เมื่อระบบนิเวศถูกทำลาย หิ่งห้อยและสัตว์น้ำชายฝั่งหลายชนิดรวมทั้งพันธุ์ไม้ชายฝั่ง เช่นต้น ใบพาย ก็ไม่สามารถดำรงพันธุ์ให้คนรุ่นหลังได้พบเห็นกันเสียแล้ว
ภาพจากหนังสือ บทกลอนกล่อมเด็ก ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปูนา
จับปูดำ ขยำปูนา
จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล
ชะโอละเห่ นอนเปลจนหลับเอย
เพลงกล่อมเด็ก ที่เราเคยได้ยิน คุณพ่อ คุณแม่ ร้องกล่อมพวกเรา ยังพอจำกันได้ไหมคะ ( ใครจำได้ก็เยี่ยมยอดมาก ขอปรบมือให้ดังๆ หลายๆทีเลย สำหรับพลอยโพยมเองจำไม่ได้ว่าตัวเองได้ยินเพลงกล่อมนี้ตอนเด็กๆ ) แต่ ตัวเองต่างหากที่ร้องให้ลูก ๆ ฟังกับได้ยิน คุณพ่อ คุณแม่ของตัวเองร้องกล่อมหลานๆ และรู้ว่า เพลงกล่อมมากมายที่คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ร้องให้หลานๆ และลูกของตัวเองฟัง เหล่านี้ เป็นเพลงที่พลอยโพยมและพี่ๆน้องๆ ถูกร้องกล่อมมาก่อนตอนเด็ก
คุณพ่อมีสมุดเล่มใหญ่ยาว จดเพลงกล่อมเด็กไว้มากมายด้วยลายมือคุณพ่อ สีหมึก จางซีด บางแห่งก็เลือนราง กระดาษบางเฉียบ ( สมุดเล่มนี้เป็นของมีค่ายิ่งของพลอยโพยม) แม้ปัจจุบันมีหนังสือบทร้องเพลงกล่อมเด็กมากมายหลายสำนักพิมพ์ แต่รับรองว่าพลอยโพยมยังมีบทเพลงของคุณพ่อที่ไม่มีในหนังสือเหล่านั้นอีกมากเลยทีเดียว
เปลที่บ้านเป็นเปลผ้าดิบขอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คุณแม่เย็บตัวเปลเอง ขอบเปลก็ทำพิเศษถอดได้ เป็นไม้สอดสลักสี่ชิ้น ขนาดกว้างถูกกำหนดตายตัวตามขนาดของไม้ขอบเปล แต่ความลึกของเปลก็เย็บขนาดได้ตามใจชอบในการเย็บแต่ละครั้ง คือแต่ละรุ่นของเด็กที่จะต้องนอนเปล จะเอาเมาะนอนใส่เปลด้วยก็ได้หรือปูแค่ผ้ารองในเปลก็ได้ เมื่อประกอบเปลแล้วมีเชือก 2 เส้น คล้องสี่มุมเปล คือ ซ้ายขวาเปล หมายถึง หัวเปล คล้องมุมด้านซ้ายมัดให้แน่นที่ขอบเปล ปลายเชือกคล้องผ่านขื่อพันตรึงไม่ให้เลื่อนรูด แล้วปลายเชือกย้อนลงมาผูกหัวเปลด้านขวา นี่คือ เชือก 1 เส้น ส่วนอีกเส้นทำที่ปลายเปลเหมือนกับหัวเปล ที่สำคัญคือเชือกทั้งสองเส้นที่คล้องกับขื่อบ้านนั้น บนขื่อต้องยึดตรึงเพื่อไม่ให้เชือกรูดเคลื่อนที่ไปมาได้
ความยาวของเชือกจากเปลถึงขื่อบ้านจะค่อนข้างยาว เพราะบ้านโบราณต้องการความโปร่ง ดังนั้นจากพื้นบ้านถึงหลังคาบ้านจึงค่อนข้างสูงทีเดียว ซึ่งทำให้เปลแบบนี้จะไกวได้แรงเพื่อให้เด็กที่นอนเปล มึนงง ง่วงนอนจะได้หลับเร็วๆ จากการโยนตัวของเปล และการไกวเปลยังเพื่อไม่ให้มี ยุง ริ้นไร มด มารบกวนเด็กในเปล อีกทั้งมีลมผ่านเย็นสบาย
ในสมัยก่อนเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้จึงไม่มีพัดลมใช้กัน มีแต่พัดเฉยๆ( แต่พัดแล้วก็ได้ลมเหมือนกัน )ให้ใช้กันในบ้าน เป็นพัดทำจากกาบหมากในสวนเอามาเจียนตัดเป็นรูปพัด โดยเจียนตัดโค้งเป็นตัวพัด ส่วนด้ามจับก็เจียนเรียวเกือบเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเหมาะมือของแต่ละคน ขนาดพัดเล็กใหญ่ต่างๆกันเป็นพัดประจำตัวแต่ละคนกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นพัดซื้อจะเป็นพัดทำจากใบลานแผ่ทั้งใบมีผ้าสีแดงเย็บขอบรอบตัวพัด ด้ามเป็นแกนของใบลานเอง (ยังไม่มีพัดทำจากไม้ไผ่สาน เส้นๆ สีสวยลายสองแบบที่เห็นกันสมัยนี้ในร้านขายของที่ระลึกเลย )
จากเปลมาพัดเสียอีกแล้ว ยังมีแซ่ปัดยุงทำจากก้านของดอกจากอีกนะ แต่ยังไม่เล่าละค่ะ
คนไกวเปลมีเชือกผูกยาวจากกลางขอบเปล แล้วคนไกวก็นั่งหรือนอนกับพื้นห่างเปลตามระยะเชือกไกวเปล การดึงเชือกไกวเปลทีหนึ่ง ปฏิกิริยาของเปลที่แกว่งจะโยนตัวเปลต่อไปอีกหลายครั้งจนหมดแรงเหวี่ยง คนไกวก็ดึงเชือกใหม่ การไกวเปลแบบนี้ไม่ต้องใช้แรงมาก ( ใช้หลักเหมือนการใช้เครื่องผ่อนแรง)และไม่ต้องไกวเปลตลอดเวลา สำหรับเด็กที่ไม่โยเย งอแง แกว่งไป ร้องเพลงกล่อมไป ไม่ช้านาน ก็หลับปุ๋ย พอเด็กหลับปุ๋ยคนไกวเปลก็หลับตามสะลึมสะลือ พอคนไกวรู้สึกตัวก็เอามือดึงเชือกเสียทีหนึ่ง
อ่านแล้วเหมือนการไกวเปลก็ง่ายๆดี แต่อันที่จริงไม่ง่ายอย่างนั้นเพราะเด็กจะนอนหลับได้ยาวนานจริงๆนั้น จังหวะเปลต้องเอื่อยๆ สม่ำเสมอ ไม่ใช่กระตุก ๆ เดี๋ยวแรงเดี๋ยวค่อยอย่างที่เขียน คุณพ่อไกวเปลเก่งมาก ไกวในลักษณะที่ไม่ต้องดึงเชือกทุกครั้งที่เปลโยนตัว แต่จังหวะทำได้สม่ำเสมอ ลมที่พัดผ่านเด็กในเปลเพียง เรื่อย ๆ ริน ริน คุณพ่อจึงเป็นมือไกวเปลชั้นเยี่ยม เพลงร้องกล่อมก็ทอดเสียงยาว
มีเปลอีกแบบ ง่ายมาก คือใช้ผ้าขาวม้า รวบหัวท้ายแล้วมีเชือกผูกโยงกับหัวขมวดของผ้าขาวม้า ปลายอีกด้านของเชือกผูกกับเสาบ้าน 2 เสา ที่หัวขมวดผ้าขาวม้ามีไม้ขวางตัวผ้า เพื่อเป็นการขยายความกว้างของการที่ผ้าขาวม้าห่อตัวเข้าหากัน เป็นหัว - ท้ายเปล เปลผ้าขาวม้าจะให้ความรู้สึกเหมือนเด็กถูกห่อหรือถูกกอด แต่เด็กที่นอนเปลแบบนี้จะนอนได้ไม่นาน เพราะความเมื่อยจากการนอน มือขา ถูกจัดท่าที่ขยับตัวไม่ได้ เหมาะสำหรับการนอนระยะสั้น ลักษณะการนอนเปลผ้าขาวม้าน่าจะทำให้เด็กหลังงอ
สำหรับเด็กงอแง โยเย มากๆ ก็จับใส่เปลผ้าขาวม้าก่อน เด็กจะรู้สึกอบอุ่นมีผ้าขาวม้าห่อตัวเหมือนถูกกอด ไกวแกว่งไปมาก็จะหลับง่ายแต่หลับไม่นาน ดังนั้น เมื่อเด็กหลับแล้วก็อุ้มมาใส่เปลสี่เหลี่ยมผ้าดิบ
พลอยโพยมนอนเปลแกว่งมากไป ปัจจุบันพอนั่งรถ เมื่อรถเคลื่อนที่ปุ๊บก็ตาปรือแล้วไม่นานก็หลับปุ๋ย พอรถหยุดเพราะติดไฟแดงนานหน่อยก็ตื่น เป็นที่รู้กันและน่าเป็นห่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุคงคอหักตายในรถเพราะไม่ได้ตั้งตัว แต่จะทำอย่างไรได้นั่งรถเมล์ก็หลับ โชคดีว่าถ้าขับเองก็ไม่ง่วงหลับยกเว้นขับไกลๆ แดดจ้าๆ (เพื่อนๆ ก็อย่าจับลูกหลาน นอนไกวเปล มากเกินไปก็แล้วกัน) อะไรที่มากเกินไปก็เกิดโทษ ประเภท มีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์
นี่คือวิถีชาวบ้านในการนอนของเด็กอ่อนในสมัย ห้า -หกสิบปีที่แล้ว
แล้วเพลงกล่อมบทนี้ ก็เป็นการร้องประกอบการฝึกหัดให้เด็กน้อยกำมือ คลายมือ ในท่าจับและขยำด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นมาอีกระยะหนึ่ง โตขนาดนั่งได้ ผู้ใหญ่ก็จะสอนให้เล่น แมงมุมขยุ้มหลังคา
เนื้อร้องว่า
แมงมุม ขยุ้มหลังคา
แมวกินปลา หมากัดกระโพร้งก้น
แล้วผู้ใหญ่ก็เอาสิบนิ้วมือตัวเองตะกุยแบบโหย่ง ๆ นิ้วมือที่ก้นเด็กๆ เด็กๆ ก็จะหัวเราะชอบใจดิ้นไปมาเล็กน้อย คงเพราะจั๊กจี้นั่นเอง ( อย่าทำบ่อยนัก เดี๋ยวลูกหลานจะติดอาการบ้าจี้ขึ้นมา) หรือบางคนรักมากก็เอาปากตัวเองก้มลงกัดย้ำงับเบาๆที่ก้นเด็ก (ผู้ใหญ่คนนี้ก็เลยเป็นหมาเสียเอง)
จะเล่าเรื่องปูก็ไปเรื่องเปลเสียยาวทีเดียว เพราะปูกับเปลเผอิญมีเรื่องที่มีนัยสัมพันธ์กันตามเนื้อร้องข้างต้นที่ใช่เปิดประเด็นของคราวนี้
ทีนี้ก็เรื่อง ปู กันเสียที อารัมภบทมาเสียยาวเลย
เป็น ตอนสุดท้ายของปู ที่บางกรูด
ปูนา
ปูนา (rice field crab)
ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนาออกจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และจัดให้อยู่ในวงค์ Parathelphusidae
ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้ :
1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก1จังหวัด ภาคใต้1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด
2. S. bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
3. S. sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. S. maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
5. S. fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดลำปางและเชียงใหม่
6. S. denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดแพร่
7. S. nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบใน จังหวัดน่าน และ
8. S. dugasti (Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด
ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการแพร่กระจายของปูแต่ละชนิด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีค่าควรแก่การศึกษา เช่นกรณีของปูนา S. denchaii ที่พบในอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ และปูนา S. nani ที่พบใน จังหวัดน่าน เป็นต้น จังหวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก และพื้นที่ก็เป็นผืนแผ่นดินติดต่อกัน สภาพดินฟ้าอากาศ หรือปริมาณน้ำฝนก็ใกล้เคียงกัน
ปูนาชนิด S. dugasti แม้จะมีขอบเขตการแพร่กระจายคลอบคลุมถึง41 จังหวัดก็ตาม แต่ก็เป็นปูชนิดเดียวเท่านั้นที่พบมีในภาคอีสาน ด้วยเหตุผลนี้ ปูชนิดนี้เมื่อครั้งหนึ่งเคยใช้ชื่อว่า Esanthelphusa dugasti ซึ่งบ่งบอกถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของปูชนิดนี้เป็นอย่างดี ปูชนิดนี้ถ้าจะถือว่าเป็นมรดกดินของชนชาวอีสานก็คงไม่ผิด เพราะเป็นทรัพย์ติดแผ่นดินที่คนอีสานมีสิทธิที่จะเก็บเกี่ยวหรือนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่จะใช้ประโยชน์อย่างไรถึงจะคุ้มค่าและยั่งยืน ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อตัวเองหรือผู้อื่นนั้นขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละท่านชาวอีสานเอง
ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสัตว์ราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ เป็นปูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่ประมงและเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำ ปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง รูปูจะเอียงเล็กน้อยและไม่ลึกนัก ปากรูจะอยู่เหนือน้ำ หรือต่ำกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูส่วนใหญ่จะเป็นแนวเอียง 30-60 องศากับแนวระดับ รูจะตรง ไม่คดเคี้ยว ในที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นมากรูปูจะไม่ลึกและมีรูขนาดไปกับพื้นดิน
ตามทุ่งนาที่มีน้ำเฉอะแฉะ เช่นระยะหลังการเก็บเกี่ยว ปูจะขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นนามีความลึกประมาณ 1 เมตร ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้นภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ
การผสมพันธุ์
เมื่อปูเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขนาดประมาณ 20 มิลลิเมตร อายุ 90 วัน หรือลอกคราบประมาณ 7-9 ครั้ง ปูเพศผู้จะมีก้ามซ้ายใหญ่กว่าก้ามขวาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนท้องที่เรียกว่าจับปิ้งจะมีฐานกว้างปลายเรียวแหลมคล้ายตัวที ส่วนเพศเมียก้ามเล็ก ก้ามทั้งสองมีความแตกต่างกันไม่มาก จับปิ้งที่มีลักษณะเล็กเรียวในระยะที่ยังไม่สมบูรณ์เพศ (ที่เรียกว่าปูกะเทย) ก็จะขยายเป็นแผ่นกว้างครึ่งวงกลมเกือบเต็มส่วนท้อง ปลายมน ที่ขอบมีขนละเอียดเพื่อประโยชน์ในการอุ้มไข่ เมื่อเปรียบเทียบขนาด ถ้าอายุเท่ากันปูเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปูเพศเมียเสมอ
เมื่อเข้าฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหาร ตามแหล่งน้ำ และผสมพันธุ์ ในฤดูผสมพันธุ์ปูเพศเมียจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุ เมื่อตัวผู้เข้าใกล้ ปูเพศผู้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยแสดงอาการปกป้องตัวเองพร้อมกับไล่ปูเพศเมียเป็นระยะ ๆ เมื่อได้จังหวะ ปูเพศผู้ตัวจะขึ้นคร่อมและใช้ขาเดินคู่ที่ 2-4 พยุงปูเพศเมียไว้ข้างล่าง การจับคู่ในลักษณะนี้จะดำเนินต่อเนื่องกันประมาณ 3-4 วัน จนกระทั้งปูเพศเมียลอกคราบ ในช่วงที่ปูเพศเมียกระดองนิ่มนี้ ปูเพศผู้จะทำหน้าพยุงปูเพศเมียไว้ เพื่อไม่ให้ปูเพศเมียที่ตัวนิ่มและบอบบางนั้นได้รับอันตราย ทำหน้าที่ปกป้องถ้ามีศัตรูเข้าใกล้ เมื่อจะผสมพันธุ์ ปูเพศผู้จะจับปูเพศเมียหงายกลับเอาด้านท้องขึ้น
ปูเพศเมียเมื่อได้รับน้ำเชื้อเพศผู้เรียบแล้วก็จะกลับตัวอยู่ในท่าปกติ ปูเพศผู้ยังคงเกาะหลังปูเพศเมียต่อไปอีกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ความคุ้มครองปูเพศเมียจนกว่าปูเพศเมียจะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ จึงละจากปูเพศเมียออกไปหากินตามแหล่งน้ำหาอาหาร เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตัวเอง เพื่อเตรียมตัวพร้อมสำหรับเผชิญกับชีวิตในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคมซึ่งอากาศเย็นและมีอาหารจำกัด วิธีที่ปูนาใช้ปฏิบัติและได้ผลดีจนกลายเป็นกิจกรรมหนึ่งในวิถีชีวิตของปูนา คือการลงรูจำศีลในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำเป็นเพื่อประหยัดพลังงานที่มีอยู่จำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อ เมื่อระดับน้ำลด ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ วัชพืชต่าง ๆ งอกงาม และจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้งหนึ่งในช่วงต้นฤดูฝนตามวิธีชีวิตปูนาต่อไป
การวางไข่
ปูนาจะวางไข่ปีละครั้งในช่วง เดือนกุมภาพันธุ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าน้ำนั้นจะมาจากน้ำฝนหรือจากชลประทาน ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูใหม่หรือซ่อมรูเก่าที่มีอยู่ตามคันนาสูงจากระดับน้ำ หรือตามทุ่งนาที่น้ำไม่ขัง เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว
ประมาณ 10-12 วัน ไข่ที่ผสมแล้วที่ติดกับจับปิ้งในบริเวณหน้าอกก็จะฟักเป็นลูกปูขนาดเล็ก แต่ลูกปูเหล่านี้คงเกาะอาศัยอยู่กับจับปิ้งอยู่ โดยแม่ปูจะใช้รยางค์ที่บริเวณหน้าท้องโบกพัดกระแสน้ำมีอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงตัวอ่อน ประมาณ 20-23 วัน ลูกปูก็จะลอกคราบ เป็นลูกปูวัยอ่อนที่มีลักษณะครบถ้วนเหมือนพ่อและแม่ เมื่อแม่ปูเห็นว่าลูกปูแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้ว ก็จะใช้ก้ามเขี่ยลูกปูให้หลุดออกจากจับปิ้ง แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะ เช่นไม่มีน้ำ หรือแล้งเกินไป การพัฒนาของลูกปูในช่วงนี้อาจจะช้า บางครั้งอาจจะยึดเวลาอีก 1- 2 เดือน ถึงจะลอกคราบ แม่ปูถึงจะเขี่ยออกจากจับปิ้ง
การกินอาหาร
ปูนากินอาหารทุกชนิด ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั้งพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว ปูนามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยทำให้ระบบนิเวศในแผ่นดินอีสานเกิดความสมบูรณ์ เพราะปูนามีระบบย่อยอาหารที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้ ดังนั้นปูนาสามารถกินดินที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง สัตว์ที่เป็นอาหารของปูนาในธรรมชาติได้ แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ กุ้งฝอย ลูกหอย ปลาขนาดเล็ก และตัวอ่อนของแมลงที่เจริญเติบโตในน้ำ รวมทั้งปูด้วยกันที่มีขนาดเล็กหรือที่กำลังลอกคราบ สำหรับพืช ปูจะกินพืชที่มีลำตันอ่อน เช่นต้นข้าว หญ้าและวัชพืชน้ำต่าง ๆ ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน
ปูนา เป็นศัตรูสำคัญในนาข้าว
ปูนา กัดทำลายข้าวในระยะต้นกล้า (ข้าวกล้าอ่อน ในช่วง 7-10 วันแรกหลังจากปักดำ ) โดยกัดกินเฉพาะส่วนที่อ่อนและอวบน้ำ ได้ตลอดทั้งวัน ยกเว้นช่วงมีแดดจัด ปูนาชอบอากาศเย็น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำที่ฝนตกพรำ ๆ
การที่ปูนากัดกินเฉพาะส่วนที่อ่อนและอวบน้ำ โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนตรงกลางลำต้น กัดกินต้นข้าวในช่วงนั้นก็เพราะ
ปูเพิ่งพ้นช่วงการจำศีล ซึ่งกำลังหิวและต้องการอาหาร ในช่วงนั้นในนาไม่มีวัชพืชอื่น นอกจาก ต้นข้าวที่ชาวนาปักดำใหม่ และเป็นพืชชนิดเดียวที่มีอยู่ในผืนนา ในขณะที่วัชพืชชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีโอกาสเติบโตเจริญงอกงามให้ปูกัดกินนั่นเอง
ปูนาไม่ได้ทำความเสียหายให้แก่ต้นข้าวเป็นไร่ ๆ หรือร้อยไร่อย่างแมลงหรือหนู ในเนื้อที่1 ไร่ ปูนา จะกัดกินต้นข้าวเพียง 1-3 หย่อม คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2-3 ตารางเมตรเท่านั้น บริเวณที่ปูชอบกัดต้นข้าว คือบริเวณพื้นนาที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำลึกและขุ่นมากกว่าปกติ อาจเป็นมุมใด มุมหนึ่ง หรือตรงกลางผืนนาก็ได้ที่ปูสามารถใช้พรางตัวหรือหลบซ่อนตัวได้
ส่วนมากปูจะกัดต้นข้าวในระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 2 ซม. โดยจะใช้ก้ามทำหน้าที่ยึดและโน้มต้นข้าวเข้าปาก และใช้ ขากรรไกร (mandible) กัดต้นข้าว ปูไม่กินต้นข้าวทุกต้นที่ปูกัด ปูขนาดเล็กที่กำลังเจริญเติบโตจะกัดต้นข้าวมากกว่าปูเต็มวัย
ปูจะทำความเสียหายให้แก่นาดำมากที่สุด และจะกัดกินต้นข้าวในช่วง 7-10 วันแรกหลังจากปักดำเท่านั้น เมื่อต้นข้าวตั้งตัวได้ ลำต้นแข็งแล้วปูนาก็จะหยุดกัดต้นข้าว ในนาหว่านพบว่าปูนาทำลายต้นข้าวน้อยมาก โดยเฉพาะข้าวที่งอกจากตอซังของการปลูกในระบบล้มตอซังจะมีขนาดใหญ่และต้นแข็ง ปูนาไม่ชอบและไม่กัดกินแต่อย่างไร
ปูนาเลี้ยงได้เช่นเดียวกับปูทะเลหรือปูม้า
ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้ง ก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง
เมนูปูนา
ปูนามีรสชาติดี มีเอกลักษณ์ กลมกลืนกับวิถีการกินของคนอีสานและคนเหนือ ปูนาจึงจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก ที่คนอีสานสามารถจับหรือแสวงหาจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา ปูนาสามารถทำอาหารได้หลายชนิด นอกจากนำไปเผา ต้ม นึ่ง ทอด แกงส้ม แกงป่า อ่อมปูนา ยำ และอุกะปู อาหารพื้นบ้านของอีสาน ก็ยังสามารถนำไปประกอบได้อีกหลายชนิด เช่น นำตำให้ละเอียดใส่แป้งและไข่ทอดเป็นแผ่นแบบทอดมัน จิ้มกับน้ำจิ้ม ถ้าเป็นปูขนาดเล็กก็ชุบแป้งทอดทั้งตัว ทางจังหวัดนครพนมนำไปปรุงเป็นลาบปู ผัดปู ส่วนจังหวัดอุดรธานี นำไปทำน้ำยาปูกินกับขนมจีน ปูนายังนำไปดองเค็ม เพื่อนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบของส้มตำ ที่เป็นอาหารหลักของคนอีสานและคนในภาคอื่น ด้วย
นอกจากเป็นศัตรูที่คอยกัดกินต้นข้าว แล้ว การขุดรูตามคันนาของปูนา ทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
และ ปูนาบางตัวยังเป็นพาหะของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวนี้ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในปอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น แมว หนู สุนัก และคน การนำปูนามาทำอาหารควรระมัดระวัง เพราะปูนาอาจจะมีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส ไซเนนซิส (Paragonimus sianensis) ปนเปื้อนอยู่ ที่ผู้บริโภคปูนั้นอาจเป็นโรคพยาธิใบไม้ปอดได้ จึงควรกินปูนาปรุงสุก
ปูนามีไคตินสูง
ปูนามีไคตินที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซานได้เช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง เปลือกปูม้าและเปลือกปูทะเล ปูนาตัวหนึ่งมีปริมาณไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 (น้ำหนักแห้ง) ในขณะที่ปูทะเลมีปริมาณของไคตินเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น
ไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งและปูนั้นมีประโยชน์ นำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
1.ทางด้านโรงงานอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ในขบวนการบำบัดน้ำเสียในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ที่มีปริมาณอินทรีย์สาร ที่มีโลหะหนักพวก ทองแดง นิคเกิล สังกะสี โครเมียม เหล็ก และแคดเมียม ในน้ำทิ้ง
2.ทางด้านโภชนาการ สามารถนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารเสริม เพื่อลดปริมาณไขมันและโคเลสเตอรอล บำรุงกระดูก นำไปใช้ในการตกตะกอนไวน์ขาว ไวน์แดง ทำเป็นฟิลม์สำหรับเคลือบอาหาร และผลไม้ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียและยืดอายุในการเก็บให้ยาวนานขึ้น ใช้เป็นสารปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต่าง ๆ ให้มีกลิ่นกุ้ง หรือปู เช่น ผลิตภัณฑ์ซอสรสกุ้ง เป็นต้น
3.นำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่นสบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น โลชั่นบำรุงผิว บำรุงผม
4.ทางด้านผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร เช่นนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินทางด้านอินทรีย์วัตถุ นำไปผสมอาหารสำหรับสัตว์ปีก กุ้ง ปูและปลา เพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงโคเร็ว แข็งแรงมีความต้านทานโรค นำไปใช้ในการกำจัดเชื้อรา Sclerotium rolfsii ที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชตระกูลถั่ว ช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดผักและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้
5.ด้านผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งทอ สามารถนำไปใช้ผลิตไส้กรอง สำหรับกรองน้ำและกรองอากาศ หรือใช้ทำบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ใช้เป็นส่วนผสมในสิ่งทอเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกลิ่นและเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน เป็นต้น
6.ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม ไคโตซานสามารถทำเป็นเยื่อไคโตซานสำหรับใช้เป็นผ้าพันแผล ช่วยในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ สามารถนำมาแปรรูปเป็นยาสมานแผล ช่วยลดการปวด และลดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในด้านโรคกระดูก โรคฟัน โรคตา และโรคไขมัน
ที่มา
http://www.crab-trf.com/na_crab.php
ปูนาในบทความนี้ เป็นเรื่องราวของปูนาที่บางเรื่องบางรายละเอียดไม่ได้เกิดที่บางกรูด แต่พลอยโพยมนำบทความมาเผยแพร่ต่อทั้งต้นฉบับ เพราะอ่านแล้วพบว่า ปูนา ในบางท้องที่มีเรื่องราวรายละเอียดที่น่าสนใจมากทีเดียว ขนาดเจ้าของบทความใช้คำว่า มรดกดิน ทรัพย์ติดแผ่นดิน เอกลักษณ์ การเป็นสัตว์เศรษฐกิจ มีความสำคัญกับชีวิต รวมทั้งเมนูปูนาที่หลากหลาย
ปูนาปรากฎมี...ที่บางกรูด เป็นปูนาดำ
น่าจะเป็น ปูนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 8 ชนิด ข้างต้น (น่าจะเป็นชนิดที่ 3 )
มีข้อความในวิกิพีเดียระบุว่า
ปูนา เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae (ทั้งวงศ์ไม่ได้เป็นปูนาทั้งหมด) แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา อาจหมายถึงหลายสปีชีส์
• ปูนาสกุล Sayarmia เช่นปูนาดำ (ปูดำ)
• ปูนาสกุล Esanthelphusa
แต่ไม่มีรายละเอียดอะไรอีกเลย
สำหรับข้อมูลจากภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง เกี่ยวกับปูนาดำ มีดังนี้
ชื่อสามัญปูนาดำ Somanniathelphusa spp.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sayarmia spp
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ BLACK RICE-FIELD CRAB
ลักษณะทั่วไป
เป็นปูน้ำจืด ซึ่งกระดองเป็นรูปหกเหลี่ยมมีขอบ 6 ด้าน ด้านหน้าอยู่ระหว่างเบ้าตาอยู่ตรงข้ามกับขอบหลัง อีกสองขอบอยู่ถัดจากตา ขอบทั้งสองริมหยักเป็นฟันเลื่อย ข้างละ 4 ซี่ ส่วนอีก 2 ขอบเรียบ ส่วนโคนสอบเข้าหากัน นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านสั้น ๆ สามารถขยับเคลื่อนไหวได้เมื่อมีอันตรายหรือเวลาตกใจจะพับเก็บเข้าไว้ในเบ้าตา ขามี 5 คู่ คู่แรกใหญ่ที่สุดมีลักษณะเป็นก้ามหนีบหรือที่เรียกกันว่า ก้ามปู อีก 4 คู่ เป็นขาเดินมีปลายแหลม ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ ก้ามหนีบสีน้ำตาลปนดำตัวผู้จะมีก้ามหนีบใหญ่กว่า ก้ามหนีบตัวเมีย เมื่อจับหงายท้องเราจะเห็นส่วนที่เราเรียกว่า จับปิ้ง คือส่วนท้องของสัตว์ประเภทนี้ ตัวเมียมีจับปิ้งขนาดใหญ่กว้างเกือบเต็มส่วนอก ปลายกลมมน จับปิ้งของตัวผู้มีขนาดเล็กเรียวแหลม
ถิ่นอาศัย
ขุดรูอยู่ตามท้องนาหรือในที่น้ำขังชื้นแฉะ และออกมาเดินเพ่นพ่านตอนต้นฤดูฝน
อาหาร
กินพืชโดยเฉพาะต้นข้าว ซากสัตว์และซากพืช
ขนาด
กระดองมีความยาวประมาณ 4-7 ซ.ม.
ปูนาดำ นี้ ไม่ใช่ ปูดำ ในบทร้องเพลงกล่อมเด็ก ปูดำในบทกล่อมเป็นปูทะเลซึ่งบางท้องถิ่นเรียกปูทะเลที่มีตัวสีดำว่า ปูดำ
ปูนาดำ ที่บางกรูดไม่มีใครจับมากิน
ปูนาดำ ถึงเดินในลักษณะที่เรียกว่าเพ่นพ่านได้อย่างปลอดภัยสง่าผ่าเผย ปลอดภัยจากเงื้อมมือมนุษย์
ในฤดูการทำนา ในท้องนายังมีต้นข้าวและมีน้ำในนา ปูนาดำจะออกมาเดินกินลมชมวิวตามคันนาในช่วงที่แสงแดดยังไม่แผดจ้านักในตอนเช้า เช่นช่วงที่เคยเดินเท้าไปเรียนหนังสือในสมัยเด็ก หรือไม่ก็เป็นยามเย็นที่ตะวันรอนอ่อนแสงแล้ว
หลังจากที่ได้กัดกินต้นข้าวในขณะเป็นต้นกล้าอยู่ไปแล้ว ( ช่วงนั้น ปูนาดำกำลังขะมักเขม้น อยู่กับลำต้นข้าวอวบอ้วนขาวผ่อง ไม่สนใจอย่างอื่นหรือทำกิจกรรมอื่น )
พอข้าวตั้งต้นแข็งแรง ปูนาดำก็มักแอบพรรคพวกขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์กัน พบเห็นตรงนั้นสามสี่ตัว ตรงนี้ สี่ห้าตัว ส่วนใหญ่จะพบปูนาดำตัวอวบอ้วน พอพบคนปูนาดำก็จะชูก้ามขู่ขวัญคนที่พบก่อน โดยตั้งการ์ดทั้งสองก้ามแล้วจึงจะคลานหนีอย่างว่องไว การคลานหนี ไม่ใช่ คลานแบบตาลีตาลานตาเหลือกแบบปูก้ามดาบ ปูเปี้ยว คลานกัน ปูนาดำจะคลานแบบคลานเร็วก็จริงแต่ไม่ทิ้งลายเสือว่า " ข้าก็แน่นะ ลองมาแหยมดูสิ จะหนีบให้ดู ดูสิ ดูสิ ก้าม สองก้ามของฉัน มันพร้อมสู้นะจะบอกให้ เห็นไหนว่าก้ามฉันแข็งแกร่งเพียงไร ลองไหมล่ะ มนุษย์คนสวย "
ปูดาดำจะคลานลงท้องนา หรือบางทีคลานเข้าไปหลบในกอหญ้าริมคันนาแล้วก็กลมกลืนกันไปกับกอหญ้า
เมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ในผืนนาก็จะแห้งไม่มีน้ำ ระยะนี้ ปูนาดำ ก็พยายามคลานไปแสวงหาหนองน้ำใหม่ บางทีตามถนนของหมู่บ้าน ( Local Road ) ที่มีรถวิ่งสัญจรไปมา ในช่วงนี้จะพบเห็นซากปูนาดำที่ถูกรถทับตายแบนแต๋คาถนน เพราะคนสมัยนี้ใจร้าย เห็นปูนาดำกำลังคลานข้ามถนนจากฝั่งที่ท้องนาแห้งเพื่อข้ามไปหาท้องนาที่มีน้ำอีกฟากถนน ก็ไม่มีหลบหลีกช่วยรักษาชีวิตให้เหล่าปูนาดำ
ปูนาดำไม่ถูกจับมากินก็จริง แต่ก็ไม่พ้นภัยจากยานพาหนะของมนุษย์อยู่ดี
โธ่...ถัง ... เจ้าปูนาดำ ....... ช่วยมีเมตตา ปูนาดำตัวน้อยกันหน่อยเถิด
ปูเปี้ยว
ปูเปี้ยวและปูก้ามดาบ รวมทั้ง ปูแสม บนฝั่งงเลนที่บางกรูด จะอยู่ใกล้ชิดกันทั่วไปบนพื้นเลนด้วยกัน จนสับสนกันว่า ปูก้ามดาบเป็นปูเปี้ยวชนิดหนึ่ง หรือปูเปี้ยวเป็นปูก้ามดาบชนิดหนึ่ง
แต่เมื่อมีการกล่าวถึงปูเปี้ยว จะพบข้อความว่า
ปูเปี้ยวปากคีบ (Uca forcipata)
เป็นปูก้ามดาบอีกชนิดหนึ่ง มีกระดองสีดำก้ามสีน้ำตาลอมม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่เป็นดินโคลน
ปูเปี้ยวขาแดง (Uca tetragonon)
เป็นปูก้ามดาบชนิดที่มีกระดองสีฟ้าแต้มด้วยจุดดำ ตรงมุมกระดองมีสีเหลืองขาเดินมีสีส้มแดงตัวเมียมีก้ามขนาดเล็กทั้งสองข้างเช่นเดียวกับปูก้ามดาบทั่วไป พบอาศัยอยู่ตามหาดโคลนใกล้แนวป่าชายเลนทางฝั่งทะเลอันดามัน
ปูเปี้ยวก้ามยาว Uca spinata Crane, ปูเปี้ยวก้ามยาว, long-finger fiddler crab, Ocypodidae.
เป็นปูที่มีขนาดใหญ่ 8-10 เซนติเมตร ตัวผู้มีก้ามสีเหลือง ลำตัวมีสีดำลายน้ำเงิน อาศัยอยู่บริเวณพื้นดินเลนอ่อนตามริมคลอง
แล้วก็พบชื่อ ปู อีกหลายชื่อว่ามี
ปูเปี้ยวก้ามขาว (Uca perplexa)
ปูเปี้ยวชนิด Uca manii
ปูก้ามดาบชนิด Uca dussumieri พบที่บางปูและ ในอ่าวไทย
Uca marionis พบแถวบางปะกง
Uca annutipes พบแถวเกาะสมุย
Uca manonis พบที่จังหวัดภูเก็ต
พลอยโพยมไม่แน่ใจว่า ปูเปี้ยวที่บางกรูดคือปูเปี้ยวชนิดใด ด้วยลักษณะดูจะคล้ายเป็นปูเปี้ยวปากคีบ (Uca forcipata) ส่วน Uca marionis ที่ว่าพบแถวบางปะกง ไม่มีการบอกรายละเอียดของปูชนิดนี้ ก็เลยไม่แน่ใจในปูชนิดนี้ว่าเป็นปูเปี้ยวชนิดใด
ในช่วงที่น้ำกร่อย รอเคยกะปิได้ บนเลนจะพบลูกปูตัวเล็กๆ มีก้ามสีสวย เช่น สีส้ม สีฟ้า คลานเข้าออกรูปูมากมาย แต่ไม่เคยเห็นปูตัวโตๆ มีก้ามเป็น สีฟ้า สีส้ม ก็ไม่ทราบว่า ปูตัวเล็กๆที่มีก้ามสดใสเหล่านี้ เป็นปูอะไร แต่เป็นปูที่เด็กๆ ชอบกันมาก เราจะนิยมตกปูตัวเล็กๆ เหล่านี้ มาใส่ให้คลานเล่นในกระแป๋ง ดูเบื่อแล้วก็ปล่อยปูไปบนเลนตามเดิม
การตกปู ก็เพียงเอาหนังยางคล้องกับปลายสุดแกนกลางของใบจาก คือตัดใบจากมา1 ใบ ลิดเอาใบออก จะเหลือแกนกลางเล็กๆ ที่โคนจะแข็งแล้วค่อยๆเล็กบางไปจนสุดปลายเหมือนปลายก้านมะพร้าว สั่นไหวโค้งงอ ยืดหยุ่นได้ จะได้เบ็ดที่มีสายเป็นก้านใบจาก ใช้ปลายสุดผูกหนังยาง คนตกปูทอดตัวลงพังพาบกับนอกชานบ้านเอาหนังยางปล่อยวางบนพื้นเลน (ที่ไม่เหลวนักเพราะเป็นบนฝั่งของแม่น้ำ) พอปูเดินเข้ามาในวงยาง ซึ่งเราต้องใจเย็นรอคอยไม่ทำให้ยางเคลื่อนที่ ปูก็จะหลงคลานผ่าน พอได้จังหวะที่ก้ามปูอยู่ในตำแน่งขอบหนังยาง ก็ยก ก้านใบจากขึ้นมา หนังยางจะคล้องที่ก้ามปูพอดี เมื่อยกก้านขึ้นมาหย่อนในกระแป๋ง ปูก็จะลอยละลิ่วขึ้นมาลงไปอยู่ในกระแป๋ง ใช้เวลาไม่มาก ก็จะได้ลูกปูตัวเล็กสีสวยคลานไต่ไปมาในกระแป๋งหลายๆตัว เป็นกิจกรรมยอดฮิตของเด็กๆ ว่าใครจะตกปูสวยได้กี่ตัว ( ดูเบื่อแล้ว ก็ปล่อยคืนที่อยู่ของปู)
ปัจจุบัน ด้วยความเห็นแก่ได้ของนักหากุ้งหาปลาที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านด้วยสาเหตุต่างๆกัน ใช้สารเคมีโรยตามชายฝั่ง ขนาดกุ้งก้ามกรามลอยตัวขึ้นมาให้จับง่ายๆ ปลาบางชนิดลอยตายเป็นแพเลยก็มี คนเหล่านี้เมื่อจับกุ้งปลาที่ขึ้นลอยริมฝั่งต้องเอาไปขายที่อื่น เพราะคนในหมู่บ้านไม่มีใครซื้อ ด้วยสารเคมีเหล่านี้ ที่ชาวบ้านเรียกว่าการหยอดยา ได้ทำลายพิฆาตฆ่าสัตว์น้ำหลายประเภทรวมทั้งลูกปูและหอยๆต่างๆ นอกจากทำให้ปูสีสวยๆ กำลังจะสูญพันธุ์เกือบไม่มีให้คนบางกรูดได้พบเห็นกันแล้ว ยังทำให้หิ่งห้อยพลอยหายลับไปจากต้นลำพูอีกด้วย น่าเศร้าจริง ๆ..... เนื่องเพราะหิ่งห้อยจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามกาบหอย ซอกจาก ที่พื้นชายฝั่งในเวลากลางวัน เมื่อระบบนิเวศถูกทำลาย หิ่งห้อยและสัตว์น้ำชายฝั่งหลายชนิดรวมทั้งพันธุ์ไม้ชายฝั่ง เช่นต้น ใบพาย ก็ไม่สามารถดำรงพันธุ์ให้คนรุ่นหลังได้พบเห็นกันเสียแล้ว
วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ป่าแสมแลป่าจาก...เป็นที่ฝากฝังกายา.ปูแสมและปูจาก
มัศยา ..เยื้องกรายสายนที 2
ปูแสม เป็นๆ ที่พ่นน้ำออกมาเป็นฟอง
สำหรับนางเอกปูของพลอยโพยมขอยกให้ปูแสม
ปูทะเลธรรมชาติราคาแพง หายาก ต้องเป็นคนที่มีความถนัดเป็นส่วนตัวจึงจะหาปูได้ง่ายๆ ส่วนปูทะเลเลี้ยงอย่างไรเสียก็ไม่อร่อยเท่า มีปูที่หาได้ง่ายมีจำนวนมากมายในอดีต ในบางท้องถิ่นนั่นคือปูแสม
ปูแสมที่นักบริโภคส้มตำย่อมรู้จักดี แม้ว่าในปัจจุบันปูแสมดองเค็ม จะถูกปูม้าดองคลานมาแซงหน้าไปไกล แถมเมนูส้มตำก็พลิกแพลงมากมาย ทั้งไข่เค็มและอื่นๆ ที่คิดหามาทดแทนปูแสมดอง (ไม่นับรวมปลาร้า สูตรดั้งเดิมของส้มตำอีสาน) แต่คนที่นิยมปูแสมก็ยังมีอีกมากเพราะราคาย่อมเยากว่า เมื่อนำมาใส่ในส้มตำ ส้มตำปูแสมดองก็ยังเป็นที่นิยมของคนเงินเดือนน้อยอยู่ดี แต่วิกฤตของปูแสมในเมืองไทย ก็คือ ความวิตกว่าปูแสมจะสูญพันธ์
ชื่อไทย ปูแสม
ชื่อสามัญ MEDER'S MANGROVE CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesarma mederi
ประเทศไทยมีปูแสมถึง 29 สกุล 71 ชนิด แต่ชนิดที่นิยมนำมาดองเค็มและเป็นที่ต้องการของตลาด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesarma mederi (H. Milne-Edward)
ในจำนวนนี้มีเพียง 1 สกุล 1 ชนิด เท่านั้นที่มีถิ่นอาศัยในป่า เหมือนกับปูป่าและปูน้ำตก คือ ปูแสมภูเขา โดยมีรายงานว่า พบเฉพาะบริเวณน้ำตกกระทิง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีเท่านั้น จัดเป็นปูแสมที่มีความสวยงามต่างจากปูแสมอื่น ๆ กล่าวคือ กระดองครึ่งส่วนหน้าและก้ามหนีบมีสีเหลืองสด และกระดองครึ่งส่วนหลังและขาเดินมีสีดำ จัดได้ว่าเป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic species) ชนิดหนึ่งของประเทศไทย
ลักษณะโดยทั่วไป
กระดอง เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างมากกว่ายาวเล็กน้อย มีขนสั้นๆเป็นกลุ่มๆกระจายอยู่ทั่วไปบนกระดองมีสีน้ำตาลถึงสีม่วง กลุ่มขนสีน้ำตาลเข้ม ก้ามหนีบสีม่วง มองเผินๆตัวมีสีม่วงโดยทั่วไป
ก้าม ซ้ายขวามีขนาดเท่าเทียมกัน ค่อนข้างอ้วนม้อต้อปลายก้ามสีน้ำตาลแดง
ปูแสมเป็นสัตว์จำพวกที่มีระยางค์เป็นข้อปล้อง
สีสันของปูแสมจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และแหล่งที่ปูอยู่อาศัย ปูที่อาศัยอยู่ตามป่าจาก ดงแสมดำ หรือตามป่าบก จะมีก้ามขาว ตัวเขียว แต่ถ้าเป็นปูแสมที่อยู่ในป่าชายเลน ใกล้ทะเล ก้ามจะสีแดงม่วง ตัวสีแดง ปูแสมขนาดใหญ่ที่พบโตประมาณ 4.3 ซม.
ปูแสมเพศผู้จะมีสีสันสดใส และตัวโตกว่าเพศเมีย
การแพร่กระจาย
พบตั้งแต่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อ่าวไทย ประเทศจีน และในทะเลอันดามัน ขุดรูอยู่ตามป่าไม้ชายเลน หรือบางครั้งอาจจะอาศัยอยู่ในรูร้างของปูทะเล ในประเทศไทยพบทุกจังหวัดริมอ่าวไทย ตั้งแต่ตราดจนถึงนราธิวาส โดยอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลขึ้นน้ำลง ตามป่าชายเลน เช่น ป่าแสม ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าลำพู ลักษณะของรูแตกต่างจากรูปูก้ามดาบและรูปลาตีนในบริเวณเดียวกัน
ปูแต่ละตัวจะมีรูของตัวเอง และออกหากินไม่ไกลจากรูมากนัก หากตกใจก็จะกลับลงรูอย่างรวดเร็วเพื่อทั้งหลบและหลีกภัย (คุ้นๆ หู มากเลยใช่ไหมคะ)โดยถอยหลังลงแล้วชูก้ามตั้งท่าระวังภัยไว้เหมือนปูก้ามดาบ
รูของปูแสมมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปากหลุมที่ขุดจะมีกองดินอุจจาระ ( บรรดาปูแสมนี้ไม่มีสุขอนามัยนัก เอาส้วมตั้งไว้หน้าบ้านตัวเองนะนี่)
รูปูแสมก็คล้ายกับรูปูทะเล แตกต่างกันที่รูปูแสมมีขนาดเล็กและกลมกว่ารูปูทะเลเท่านั้น รูที่มีปูอาศัยอยู่จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าที่ปากรูจะมีรอยตีนของปูแสมเต็มไปหมด เพราะปูแสมต้องขึ้นจากรูเพื่อออกหากิน พอมีภัยมาก็วิ่งหนีลงรู เมื่อเห็นว่าเงียบและปลอดภัยก็โผล่ออกมาใหม่ รอยตีนของปูแสมมีลักษณะเป็นรอยรี ๆ ตื้นเล็กกว่ารอยตีนของปูทะเล เพราะปูแสมเดินโหย่งตัว รอยตีนจึงเบา ปูแสมบางครั้งก็เข้าไปอาศัยอยู่ในรูร้างของปูทะเลก็มี โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ รูปูทะเลรูหนึ่งอาจจะมีปูแสมอาศัยอยู่ประมาณ 20-80 ตัวก็ได้
รูปแบบของรูของปูแสมนั้น เคยมีผู้วิจัยพบว่า
มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นรูปตัวไอ คือเป็นโพรงเส้นตรง
ตัวแอล คือโพรงหักศอก
ตัวยู คือ ช่วงที่หักศอกเป็นรูปโค้ง
หากเป็นตัวไอจะมีทางเข้าออกทางเดียว หากเป็น L และ U จะมีทางเข้าออกสองทาง ความลึกก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เท่าที่ลองขุดดูลึก ระหว่าง 50 เซนติเมตร –165 เซนติเมตร มีความลาดเอียง 30 – 80 องศา
การกินอาหารของปูแสม
ปูแสมกินอาหารตามพื้นดินเลนอาจเป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตาย ใบไม้สด และกินดินทรายเพื่อช่วยบดย่อยอาหาร ลักษณะท่วงท่าการกินอาหารของปูแสมนั้นจะค่อยๆกินไม่รีบร้อนโดยใช้ก้ามหยิบอาหารป้อนเข้าปาก ผู้เขียน ( สุวรรณา จิตรสิงห์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ) เคยสังเกตพบว่าปูป้อนเฉลี่ย 15 – 25 ครั้งต่อนาที ปูใช้ก้ามทั้งสองข้างหยิบอาหารป้อนเข้าปากที่มีระยางค์หลายคู่ช่วย มักออกหากินในเวลากลางคืน เช่นเดียวกันกับปูทะเลและปูม้า
ส่วนกลางวันจะหลบภัยอยู่ในรูรอจนมืดจึงออกมาเต็มบริเวณ ในช่วงข้างขึ้นหรือข้างแรม 1 –2 ค่ำปูจะออกมามากหลังน้ำขึ้นปริ่มรูปู
ปูแสมตัวผู้มักจะต่อสู้กันให้เห็นเสมอเพื่อต้องการแสดงอาณาเขตหรือการเป็นเจ้าของพื้นที่ และเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ปูจะใช้ก้ามหนีบทำร้ายกันจนก้ามหรือขาหักหรือหลุด ฝ่ายที่แพ้ก็จะหนีไป หรือตายและตกเป็นอาหารของตัวอื่นๆไป
ก้ามที่หลุดไปจะงอกได้ใหม่ เช่นกัน
ปูแสม ในยามลอกคราบจะเป็นปูนิ่ม และอ่อนแอเหมือนปูอื่นๆ
การผสมพันธุ์ เมื่อปูเพศเมียได้รับการผสมกับปูเพศ ผู้แล้ว ไข่จะเจริญอยู่ภายในกระดอง
เมื่อถึงฤดูกาลผสมพันธุ์
ปูแสมจะมีการผสมพันธุ์แบบภายใน ผิดกับสัตว์ทะเลหลายชนิดที่ผสมพันธุ์แบบภายนอก แม่ปูจะเลี้ยงไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ไว้ภายในตัว จนกระทั่งไข่แก่ มันจึงจะปล่อยฟองไข่ออกมาเก็บไว้ที่จับปิ้งใต้ท้อง บริเวณหน้าอก แม่ปูจะคอยดูแลทำความสะอาดไข่อยู่เสมอ โดยการพัดโบกตลอดเวลาเพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงไข่ที่มีสีเหลืองเข้ม หากไข่ใบใดเสียจะมีสีดำ รังหนึ่งๆจะมีไข่ประมาณ 12,000 – 82,000 ฟอง - เมื่อวันเวลาผ่านไปประมาณ 14 –15วันหลังจากนั้น แม่ปูก็จะปล่อยไข่ ซึ่งมี 2 ช่วง ช่วงแรกเดือน เมษายน –กรกฎาคม และช่วงที่ 2 กันยายน –พฤศจิกายน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เรียกว่า “ปูชะไข่” (hatching) หลังจากน้ำทะเลขึ้นสูงสุดและเมื่อน้ำทะเลเริ่มลงปูก็จะพากันเคลื่อนลงไปในน้ำแล้วชะไข่ให้ลอยออกสู่ปากแม่น้ำ ในป่าแสม ป่าโกงกาง ที่มีความเค็มระหว่าง 5-20 ส่วนในพัน (ppt) และออกสู่ทะเลต่อไป
ไข่แก่ลอยออกสู่ทะเลบ้างตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ แล้วก็จะ พัฒนาผ่านขั้นตอน 2 ระยะ ระยะแรกคือ zoeaและระยะที่ 2 megalopa แล้ว พัฒนาเป็นลูกปูขนาดเล็กและว่ายตามกระแสน้ำทะเลในช่วงน้ำขึ้นกลับเข้าฝั่ง เมื่อถึงป่าชายเลนมันก็จะลงเกาะพื้นคืบคลานขึ้นมาหากินเช่นเดียวกับพ่อแม่ของปู สีสันของลูกปูนั้นกลมกลืนเหมือนกับโคลนเลนมากและมีขนาดเล็กเกือบเท่าเมล็ดพริกไทย ทำให้มันปลอดภัยจากผู้ล่า เช่นนก กิ้งก่า ลิงแสม มันจะอาศัยหากินจนกระทั่งเติบโตและเป็นปูตัวโตเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์และขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป
การจับปูแสม
การจับปูแสม เป็นอาชีพพื้นบ้านอาชีพหนึ่ง สมัยก่อนการจับปูแสม นิยมจับในเวลากลางคืนในช่วงเดือนมืด เพราะถ้าเดือนหงาย ปูจะเปรียวจับยาก ปกตินักจับปูแสมจะออกจากบ้านในราว 6 โมงเย็นหรือหลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้ว อุปกรณ์ในการจับปูก็มีเพียงตะเกียง และข้องใส่ปู เท่านั้น ถ้าต้องไปจับปูไกล ๆ ก็ลงเรือไป แต่ถ้าไม่ไกลนักก็จะเดินไปเพราะสะดวกและสนุกกว่า การจับปูนิยมไปกันเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่งประมาณ 3-4 คนกว่าจะกลับก็จวนรุ่งสาง คืนหนึ่งคนหนึ่งจะจับปูแสมได้ประมาณ 600-700 ตัว
การจับปูแสมมีหลายวิธี
วิธีหนึ่งที่นิยมคือจับปูจากรู การจับปูแสมด้วยวิธีนี้ต้องว่องไว พอเห็นปูแสมออกมาที่ปากรู ก็ต้องตะครุบแล้วบีบให้แน่น ถ้าไม่แน่นพอก็อาจจะโดนหนีบ การใส่ถุงมือจะช่วยให้ความเจ็บปวดจากการถูกปูหนีบน้อยลงได้บ้าง สำหรับคนที่ไม่ว่องไวหรือไม่ปราดเปรียวพอ ก็จะใช้ไผ่เสี้ยมปลายแหลมเป็นรูปปากเป็ดคอดดักแทงรูกันปูหนีลงรูก็ได้ ถ้าตะครุบไม่ทันและออกแรงขุดรูปูบางทีก็ได้ตัวปู หรือบางคนเพียงแต่ใช้เท้ากระทืบหนัก ๆ เหนือรู หลาย ๆ ครั้งปูแสมก็จะค่อย ๆ คลานขึ้นมาให้จับเหมือนกัน
อีกวิธีหนึ่ง
จับปูที่หนีน้ำไปอยู่ตามกิ่งหรือตามลำต้นแสมโกงกาง แต่จะออกจับได้เฉพาะในช่วงน้ำเกิดเท่านั้น เพราะเมื่อน้ำท่วมรูปูแสมจะหนีน้ำไปอยู่ตามกิ่งหรือตามลำต้นแสมโกงกาง จับง่าย แต่ก็ต้องใช้ความเงียบพอสมควร ถ้าทำเสียงดัง ปูแสมก็จะทิ้งตัวลงกับพื้นน้ำหนีหายไป แต่คนที่ชำนาญแล้วก็จะจับปูแสมที่ไต่ยั้วเยี้ยตามกิ่งไม้เหล่านั้นลงในข้องของตนทีละตัวจนหมด
อีกฤดูหนึ่งที่นักจับปูแสมรอคอย ก็คือฤดูที่ปูแสมขึ้นจากรู อพยพลงน้ำเดินทางสู่ปากแม่น้ำเพื่อวางไข่ ฤดูนี้ชาวบ้านเรียกว่าฤดูปูชะไข่ ในราวเดือนเมษายน-กรกฎาคม ปูที่จับได้ในช่วงนี้จะมีรสมันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตัวเมียที่มีไข่ในกระดอง น่ากิน ส่วนที่มีไข่นอกกระดองชาวประมงจะคัดทิ้ง ฤดูนี้ชาวประมงจะจับปูแสมด้วยอวน หรือโพงพางที่วางขวางทางน้ำ
ปัจจุบันปูหายาก การจับปูแสมด้วยวิธีข้างต้นได้ปูน้อย จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือจับปูแบบง่าย ๆ ขึ้น โดยใช้ถ้วยพลาสติกมาเจาะรู มีกลไกสำคัญก็คือกระเดื่อง ที่ใช้สำหรับแขวนเหยื่อ และทำหน้าที่ดึงฝาถ้วยให้อ้าไว้ เมื่อปูมากินเหยื่อ กระเดื่องหลุดจากกลไกที่ทำหน้าที่อ้าฝาถ้วย ฝาถ้วยจะหลุดมาปิดปากถ้วย ปูจะถูกขังในแร้วนั้นจนว่าจะมีคนมากู้ การจับปูแสมด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่ผู้จับมักจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งนั้น ๆ ซึ่งการจับปูแต่ละวันจะได้ไม่มากนัก
นักจับปูพเนจร
ที่น่าวิตกในเวลานี้ก็คือมีนักจับปูพเนจร ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ใช้รถปิ๊กอัพ บรรทุกอุปกรณ์จับปู ถังดองปู และที่นอนหมอนมุ้ง พเนจรรอนแรม ตระเวนออกจับปูแสมตามป่าแสมโกงกางต่าง ๆ ในช่วงเดือนมืด เมื่อพบป่าแสมโกงกางที่มีปูแสมชุม นักจับปูประเภทนี้จะปักหลัก ออกจับปูแสมทุกคืนจนหมด เมื่อไม่มีปูให้จับอีกก็จะย้ายไปจับปูในแหล่งอื่นต่อไป จนกระทั่งเข้าช่วงเดือนหงายจึงเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากนักจับปูประเภทนี้เป็นคนต่างถิ่น จึงขาดจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรอันมีค่านั้น นอกจากความคิดที่จะจับปูให้ได้มากที่สุดที่จะมากได้ และจะจับจนหมดไม่มีเหลือ นอกจากเป็นการทำลายพันธุ์ปูแสมที่ตัวเองจับโดยตรงแล้ว บางครั้งยังทำลายสิ่งแวดล้อมที่ปูอยู่อาศัยด้วย พฤติกรรมเช่นนี้นักจับปูแสมในท้องถิ่นจะไม่ทำกัน
การดองปูเค็ม
วิธีการดองปูแสมที่ชาวบ้านได้ถ่ายทอดให้ คือทำให้ปูสลบเสียก่อน ภาษาพื้นบ้านเรียกว่าอัดน้ำ คือเทปูที่จะดองใส่ตุ่มน้ำเค็ม ปูเมื่อถูกอัดอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็จะสลบ แล้วนำไป ดองในน้ำเกลืออิ่มตัว ผสมด้วย aluminum ammomia sulphate เล็กน้อย และปูนแดง เพื่อทำให้ เปลือกปูกรอบ
วิธีทดสอบว่าน้ำเกลือที่ดองปูนั้นอิ่มตัวหรือยัง ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ที่จังหวัดสมุทรสงครามจะใช้วิธีสังเกตจากเมื่อใส่ปูแสมลงไปในน้ำเกลือแล้วปูจมหรือไม่ ถ้าปูที่ใส่จมก็แสดงว่าน้ำเกลือยังไม่เข้มข้นพอ ต้องเติมเกลือลงไปอีก จนกว่าปูจะไม่จม
ส่วนคนทำปูเค็มที่ระนองใช้ข้าวสุกใส่ลงไป ถ้าข้าวสุกจมน้ำแสดงดว่าน้ำเกลือยังไม่เข้มข้นพอ เมื่อเตรียมน้ำเกลือได้ที่แล้วก็ใส่ปูแสมลงไป ดองน้ำเกลือประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด ประมาณ 3-4 ครั้ง
ส่วนอีกวิธีหนึ่งนั้นนำปูที่สลบแล้วไปเคล้ากับเกลือแล้วนำไปขายในวันรุ่งขึ้น วิธีหลังนี้เรียกว่าปูจืดหรือปูหวาน วิธีนี้ปูเน่าเสียง่าย ถ้าขายไม่หมดต้องเติมเกลือไปเรื่อย ๆ มิฉะนั้นจะเน่า
ที่ศูนย์พัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งฉะเชิงเทรา มีงานวิจัยปูแสม และดองเค็มปูแสมคล้ายกับที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพียงแต่ไม่อัดน้ำปู มีวิธีการดังนี้
เลือกเอาปูตัวที่ยังเป็นๆอยู่ นำมาใส่ตะกร้าแล้วล้างน้ำให้สะอาด โดยการให้น้ำไหลผ่านแล้วเขย่าเบาๆ หลังจากนั้น ต้มน้ำให้เดือดกะน้ำตามปริมาณของปู แล้วใส่เกลือลงไปต้มใส่เกลือจนกระทั่งเกลืออิ่มตัวสังเกตได้จากเกลือไม่ละลาย แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้นนำตัวปูใส่ภาชนะที่เป็นแก้วหรือพลาสติก แล้วราดน้ำเกลือลงไปให้ท่วมตัวปู หาภาชนะมาปิด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง หรือลองหักขาปูดู ถ้ากินได้แล้วเนื้อปูจะแข็ง ดึงออกจากขาง่าย มีรสชาติเค็มนิดหน่อย และถ้าจะเก็บไว้ให้กินได้นานๆ ให้นำปูไปล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นไว้ ปูก็จะมีรสชาติคงเดิม และไม่เสีย แต่ถ้าเก็บไว้โดยวิธีการแช่น้ำเกลือต่อไปเรื่อยๆปูก็จะเก็บได้นานเช่นเดียวกัน แต่จะมีรสชาติเค็มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะกินไม่อร่อย
ปัจจุบันมีการบรรจุปูเค็มลงกระป๋อง แช่น้ำเกลือสามารถส่งออกไปต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการของคนลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
เมนูปูเค็ม
ปูเค็มสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่นยำกับน้ำตาล น้ำปลา พริกและมะนาว หรือนำไปปรุงกับหอม กระเทียม มะดัน พริก มะกรูด ส้มมะขามเปียก น้ำตาลแล้วราดด้วยกะทิ รับประทานกับผักสดหรือผักทอด ที่รู้จักกันในนามของปูแสมหน้านวล นอกจากยำแล้ว ปูเค็มเมื่อนำมาปรุงกับกุ้งแห้ง มะขาม พริก กระเทียม กะปิ น้ำตาล น้ำปลา มะนาว ก็ได้น้ำพริกปูเค็มรับประทานกับผักสด รสดีนัก เมื่อนำไปตำกับส้มตำ กลิ่นและรสของปูเค็มก็จะช่วยให้ส้มตำมีรสชาติที่อร่อยขึ้น
ปูแสม มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ
ปูแสมเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ถ้าไม่มีเนื้อสัตว์ปูแสมก็จะกินใบไม้ โดยเฉพาะใบแสมโกงกางเป็นอาหารได้ ปูแสมจึงช่วยคอยกำจัดใบแสมโกงกางที่ร่วงหล่นตามลงพื้น ไม่หมักหมกเน่าเสียอยู่ตามพื้นดิน ถ้าขุดรูปูแสมดู จะพบว่ามีใบแสมมากมาย ซึ่งเป็นอาหารที่ปูหามาสำรองไว้กินในเวลากลางวันในขณะที่ข้างบนมีศัตรูไม่ปลอดภัย ปูแสมมีส่วนช่วยย่อยใบแสมให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่จุลชีพต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เป็นอาหารได้ มิฉะนั้นจะต้องใช้เวลานานกว่าใบแสมโกงกางเหล่านั้นจะเน่าเปื่อยหรือสลายตัว จึงนับได้ว่าปูแสมมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศน์ป่าชายเลนอย่างมาก
ปูแสมมรดกของท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์
ปูแสมจัดว่าเป็นมรดกของท้องถิ่นอย่างหนึ่ง ที่เจ้าของท้องถิ่นควรหวงแหนและรักษา การอนุรักษ์ปูแสมให้คงอยู่ยั่งยืนซึ่งเป็นของยากมากในปัจจุบันด้วยปัจจัยหลายประการ
ที่มา
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมบางประการและระบบนิเวศของปูแสม Sesarma (sesarma) mederi. โดย สุวรรณา จิตรสิงห์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.crab-trf.com/Sesarma_crab.php
http://www.nicaonline.com
เกรียงศักดิ์ เผด็จภัย.2535.ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฉะเชิงเทรา เพาะ "ปูแสม" เพื่ออนุรักษ์.
ปัจจุบันปูแสมชนิดดองเค็มในเมืองไทยหาได้น้อยเต็มที เพราะถูกชาวบ้านจับจนปูรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน
นอกจากปูแสมจะสูญพันธ์เพราะนักจับปูพเนจรแล้ว สำหรับคนท้องถิ่นป่าชายเลนเองนั้นก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งอื่นอีก
ปูแสมกับป่าชายเลนเป็นของคู่กัน ชาวบ้านแถบป่าชายเลนจึงมี อาชีพจับปูแสม ขาย เป็นอาชีพที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไร นอกจากออกแรงไปหาจับปูซึ่งมีอยู่มากมายในอดีต เมื่อป่าชายเลนลดจำนวนลง เพราะมีการรุกพื้นที่เข้าไปในป่าชายเลนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อาชีพการลี้ยงกุ้งกุลาดำกำลังเฟื่องฟูนั้น มีการบุกรุกป่าชายเลนมากมายทุกจังหวัด และเมื่อธุรกิจกุ้งซบเซาลง พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้กลับคืนเป็นป่าชายเลนดังเดิมอีกเลย แต่กลายเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ของบ่อกุ้งร้าง เหมือนกับที่เกิดกับนาข้าวเช่นกัน
นอกจากการรุกพื้นที่เพื่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้ว บางทีป่าชายเลนก็กลายเป็นเขตเมือง เป็นแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม ซึงมีผลตามมาคือมลพิษทั้งหลาย ทั้งสารเคมีมากมายจากบ่อกุ้งกุลาดำ โรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสีย ขยะ จากบ้านเรือน ทำให้ป่าชายเลนที่มีอาณาเขตติดกันได้รับผลกระทบ ระบบนิเวศเปลี่ยนไป ทั้งพืชและสัตว์ต่างได้รับผลกระทบ ดังนั้นในบางพื้นที่ที่ยังหลงเหลือป่าชายเลนใกล้แหล่งชุมชนคนเมือง ความอุดมสมบูรณ์ก็ลดหายลง รวมทั้งปูแสมที่ ลดจำนวนลงซึ่งอีกไม่นานป่าชายเลนก็จะค่อยๆหายไป
เมื่อไม่มีป่าชายเลน ก็ย่อมไม่มี ปูแสม รวมทั้งอาชีพ จับปูแสม อีกต่อไป
(พลอยโพยมขอตั้งข้อสังเกตที่มีการรุกพื้นที่ป่าชายเลน ในช่วงที่กุ้งกุลาดำ เฟื่องฟู จะได้ยินเรื่องผู้มีเงินทั้งหลาย ไปซื้อที่ป่าชายเลนกัน คนนั้น สองร้อยไร่ คนนี้ สี่ร้อยไร่ ฯ เป็นข่าวรายเดือนทีเดียว)
ปูแสมในเมืองไทยจะหมดไปถึงขั้นสูญพันธ์ ก็เพราะเราคนไทยด้วยกันเองแท้ๆ ที่ฉะเชิงเทราเคยจัดพิธีแต่งงานปูแสมด้วยเมื่อไม่นานมานี้เองเพื่อรณรงค์ให้อนุรักษ์และฟื้นป่าชายเลน รักษาปูแสม ให้เหลืออยู่ต่อไป
ปูแสมดองเค็มที่กินกันอยู่ส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทบทั้งสิ้นคือจากพม่าและกัมพูชา
แต่ที่ฉะเชิงเทรา เรายังบริโภคปูแสมดองจากพื้นที่ ในบางวันที่ตลาดเย็นวัดโสธรที่ชายแม่น้ำ จะพบเห็นปูแสมเป็นๆที่แม่ค้าเอามาขายในถังพลาสติก พ่นน้ำฟู่ๆเป็นฟองเต็มไปหมด
ปูแสมจะเอาน้ำที่พ่นออกมาจากปากใช้ก้ามเช็ดน้ำนั้นแล้วนำไปถูที่ตา จะทำซ้ำๆหลายๆครั้งจนกระทั่งมันสามารถมองเห็น
ป่าแสมที่มืดครึ้ม เห็นแสงตะวันลอดยอดไม้
ที่บางกรูดจะพบเห็นปูแสมได้น้อย แม้ว่าจะมีป่าจากมากมาย ปูแสมที่ได้พบเห็นกลับเป็น ปูจากเสียมากกว่า แต่ที่บ้านจะคุ้นเคยกับปูแสมที่ถูกจับมาแล้ว เนื่องจากมีญาติชื่อป้าถนอม ได้แต่งงานกับคนคลองผีขุดตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง ทุกปีป้าถนอมจะต้องมากวนกระยาสารทกับคุณยาย ซึ่งมี สอง คุณยาย และมีสองบ้านติดกัน ป้าถนอมต้องมาเตรียมตัวจัดหาเครื่องประกอบกระยาสารทต้องใช้เวลามาค้างหลายวัน ป้าจะแจวเรือมาจากผีขุดผ่านบ้านท่าไข่เลาะเรื่อยมาตามคลองต่างๆออกสู่แม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าถั่ว ป้าจะมาพร้อมปูแสม จำนวนมากเต็มโอ่ง ขนาดกลาง (สูงประมาณ1 เมตร) โดยป้าจะซัดเกลือเม็ดมาในโอ่งก่อนออกจากบ้านคลองผีขุด เมื่อมาถึงบางกรูด ก็ แบ่งปูแสม ออกเป็นสองส่วนใส่อ่างเคลือบใบใหญ่ อีก 2 คืน ก็สามารถกินปูดองเค็มนี้ได้ ( ปูแสมนี้ป้าถนอมจะไปจับมาจากป่าแสม ล้างสะอาดดี เอาปูใส่โอ่ง เอาเกลือเม็ดใส่ ทั้งคลุกทั้งเคล้าตัวปูมา ปิดฝาโอ่งจากนั้นน้ำจากตัวปูจะออกมาละลายเม็ดเกลือ 2 คืน เกลือก็ละลายหมด ) ปูแสมดองเค็ม ก็ ได้ที่กินได้อร่อยดี และยังดองอยู่ในอ่างนั้นได้ต่ออีกหลายวัน ความเค็มของปูดองก็อยู่ที่ความชำนาญของป้าถนอมผู้ ซัดเกลือมาแต่คลองผีขุด
แต่หลังจากคุณยายย้ายไปอยู่กับคุณน้าเพราะท่านชรามาก ก็ไม่มีการกวนกระยาสารทกันอีก ปูแสมจากคลองผีขุด ก็เลยไม่ได้ลงเรือแจวมาเป็นอาหารให้คนบางกรูด
เมนูของที่บ้าน
ปูแสมดองที่เรียกกันว่า ปูเค็ม นั้นนอกจากกินกับข้าว โดยไม่ปรุงรสอะไรเลยนอกจากความเค็มและหวานของเนื้อปูแล้ว ทำปูหลนก็ได้
นอกจากนี้ ยังเอามายำ
การยำของที่บ้าน ใช้ ฝักมะขามอ่อนตำละเอียดกับกะปิ หัวหอม พริกขี้หนู ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาลปี๊บ รสเปรี้ยวนั้นอยู่ในเนื้อมะขามอ่อนอยู่แล้ว จากนั้นแกะกระดองปูเค็ม หักปลายเล็บตีนปูออก แบ่งชิ้นส่วนปูที่แหวะออกมา เป็น สองข้างข้างละสองชิ้น( เพราะปูในสมัยนั้นตัวใหญ่ )น้ำพริกจะได้ซึมเข้าเนื้อปู เอามะขามที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว คลุกกับปูแสมดองที่แกะแล้ว ทีนี้ก็จะได้รสเค็มจากปูเค็ม ทำให้ได้ครบสามรส ตอนเด็กๆ พลอยโพยมชอบกินส่วนของกระดองปูมาก เนื้อมะขามได้คลุกกับบรรดาชิ้นส่วนเครื่องในของตัวปูที่ค้างอยู่ในกระดอง เด็ดเอาขี้ดำๆ ออกอย่างเดียว ช่วงที่กวนกระยาสารทในงานสารทกระยาสารท เป็นช่วงที่มะขามกำลังออกติดฝักอ่อนพอดีเลย นอกจากฝักมะขามอ่อนแล้วใช้มะดันแทนก็ได้แต่อร่อยสู้มะขามอ่อนไม่ได้
ต้มกะทิสายบัวปูเค็ม
การต้มกะทิสายบัวปูเค็มนั้น ก็แกะกระดองออกแล้วใส่ตัวปูแบ่งสองส่วน ( ในปัจจุบันถึงจะเป็นปูพม่า ปูกัมพูชา ไม่เคยเห็นใหญ่เท่าปูแสคลองผีขุดแน่นอน) ส่วนประกอบของต้มกะทิไม่ต้องอธิบายแล้วกัน ปูที่ต้มสุกจะออกสีแดงน่ากิน แต่เนื้อปูจะหดหายหากเทียบกับกินเป็นปูเค็มตัวๆกับข้าว พลอยโพยมชอบต้มกะทิสายบัวปูเค็มมากกว่าต้มกะทิสายบัวปลาทู อย่างไรเสียก็รู้สึกอยู่เสมอว่าต้มกะทิสายบัวปลาทูมีกลิ่นคาวปลานั่นเอง ทั้งที่เนื้อปลาทูจะเยอะกว่าเนื้อปูเค็ม
อันว่าส้มตำปูแสมดองนั้น ในตอนเด็กไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เราจะกินข้าวมันส้มตำ (ไทย) กินกับยอดใบทองหลาง ยอดใบแต้ว ยอดใบมะยมอ่อน ส่วนปลาร้านั้นที่บ้านกินปลาร้าไม่เป็น แม้จะได้ปลามามากมายก็ไม่เคยทำปลาร้ากันเลย
และสำหรับการดองปูเค็มของแม่ค้าในตลาดแปดริ้วที่ดองปูเค็มเองขายเองเล่าว่า ใช้น้ำปลาต้มเดือด รอจนน้ำปลาเย็น จึงเอาปูแสม หรือปูม้า แช่ในน้ำปลา ประมาณ 3 ชั่วโมง ก็สามารถเอามาขายได้ ส่วนปูนั้นปกติตายก่อนมาถึงมือแม่ค้า ปูจะมีรสเค็มไม่มากนัก หากต้องการรสเค็มขึ้น ต้องใช้เกลือ
ในปัจจุบัน พบว่าในปูน้ำจืดซึ่งมักอยู่ตามเลนตามโคลน เช่นปูแสมมีพยาธิมากหลายชนิด ทำให้นักบริโภคปูแสมดองพากันขยาดกลัวแม้แต่ตัวพลอยโพยมเองก็ยังขยาด หากกินส้มตำก็จะกินปูม้าดองหรือไข่เค็มแทนเสียแล้วในเวลานี้
จากบทความข้างต้นที่เขียนเล่าวิธีการจับปูแสมอ่านแล้วเหมือนง่ายๆ แต่ในความจริงไม่ได้สะดวกง่ายเสียทีเดียว มีปัญหาคือความยากลำบากในการไปจับปูแสม เพราะในป่าแสมในสมัยก่อนยุงชุมมาก ยุงตัวใหญ่อยู่กันเป็นฝูงๆ
ตอนเด็กๆ พลอยโพยมเคยไปบ้านป้าถนอม บ้านอยู่ติดคลองผีขุดรอบๆเป็นท้องนา ป่าแสมจะอยู่คนละฝั่งถนนของฝั่งคลองอีกฝั่ง ตอนเย็นแค่สี่ห้าโมงเย็นเท่านั้น ยุงมากันเต็มบ้านเป็นฝูงๆ จำได้ว่ากินข้าวเย็นเร็วมาก พอกินเสร็จก็กางมุ้ง คนเข้าไปนั่งในมุ้งแต่ละมุ้งแล้วคุยกันข้ามมุ้งทั้งที่ยังไม่มืด ยังไม่ต้องจุดตะเกียงด้วยซ้ำไป ถ้ามืดแล้วก็ไม่ต้องบรรยายกันละว่าเป็นอย่างไรขนาดบ้านโปร่งโล่งไม่ได้อยู่ใกล้ดงแสมแท้ๆ
การไปจับปูแสม
คนจับต้องอดทนเพียงไรที่จะรบราฝ่าฟันกับยุงในป่าแสม ที่ทั้งแฉะ ชื้น ครึ้ม มืดด้วยต้นแสม ต้องเอาโคลนมาทาตัวกันละ เพราะในสมัยนั้นไม่มียาทากันยุงแบบปัจจุบัน ถ้ายุงมีพิษแบบยุงก้นปล่อง นักจับปูแสมคงเป็นมาเลเรียกันไปหมด ไม่คุ้มออกไปจับปูแสมแน่นอน
การจับปูแสมต้องไปในเวลาหัวน้ำขึ้น เดินลุยน้ำลงไปที่ต้นแสมหากเป็นเวลากลางคืนมักเป็นเดือนมืดต้องเอาไฟฉายส่องแสงให้ ไม่นิยมจับคืนเดือนหงายเหมือนบทความข้างต้น
ปูแสมจะหนีน้ำไต่ขึ้นไปอยู่ตามต้นแสม คนจับก็ใช้มือปัดตัวปูแสมให้หล่นใส่กระป๋องทีละตัว (ภาชนะนี้ที่บางกรูดเรียกว่ากระแป๋ง) สมควรเรียกกระแป๋งจริงๆเพราะเสียงปูตัวแรกๆ ที่หล่นลงมา จะเป็นเสียง แป๊ง แป๊ง แป๋ง แป๋ง ไม่ใช่เสียง ป๊องป๊อง ป๋อง ป๋อง แน่นอน เสียงดังมาจากกระดองปูกระทบภาชนะนั่นเอง คนที่ไปจับปูไม่ได้จับใส่ข้องเพราะไม่ได้จับตัวปู เป็นการปัดปูลงภาชนะจึงต้องใช้ภาชนะปากกว้าง แล้วจึงเปลี่ยนอุปกรณ์ใส่ปูอีกที
แต่ในปัจจุบัน ก็คือ ไม่มีปูแสมจะให้ปัดตกจากต้นแสมเสียแล้วในเวลานี้
ปูจาก
ฃื่อสามัญไทย ปูจาก (หรือปูแป้น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Varuna litterata
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ GREEN TIDAL CRAB
ปูจากหรือปูแป้น พบอาศัยอยู่ตามป่าจากซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งของป่าชายเลน บางครั้งอาจพบซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินริมฝั่งบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย
ลักษณะทั่วไป
กระดองปูจากเป็นรูปโค้งกลม ค่อนข้างแบน ตรงกลางกระดองเป็นร่องลึกเป็น รูปอักษร H กระดองแบนและมีสีน้ำตาลแกมเหลือง
สีของกระดองจะเข้มกว่าสีของขาเดิน มีหนามข้างกระดองหยักเป็นฟันเลื่อยมี 2 ซี่ ขอบตาเว้าระยะห่างพอ ๆ กัน ก้ามซ้ายขวามีลักษณะค่อนข้างแบนและขนาดใกล้เคียงกัน ขนอ่อนเส้นสั้น ๆ เรียงติดกันเป็นแผงตามขอบบนด้านในของข้อที่ 3-4 ส่วนข้อที่ 5 มีหนามยื่นยาวอยู่หนึ่งอันเล็ก ๆ อีกข้างละอัน ข้องที่ 4 ขาเดินทั้งสี่ไม่มีหนาม แต่มีขนอ่อนเรียงเต็มนิ้วของขาเดินแบนกว้าง
ปูจากเป็นปูสองน้ำสามารถอาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อยได้ ปูขนาดเล็กมักซ่อนตัวอยู่ใต้ซอกหินริมฝั่งแม่น้ำและพบในช่วงมีนาคม-สิงหาคม ส่วนตัวเต็มวัยพบช่วงเดือนกันยายน-มกราคม
ป่าจากในช่วงน้ำขึ้น
ถิ่นอาศัย พบที่ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ฯ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส
อาหารของปูจาก หรือปูแป้น กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว เหมือนปูอื่นๆ
ปูจากหรือปูแป้น เป็นปูที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยการนำมาดองรับประทานกับข้าวต้ม
ที่มา ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง
และข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา.
ป่าจาก เมื่อน้ำลง จะพบเห็น รูปูมากมาย
ในอดีต ปูจากหรือปูแป้นนี้ไม่ได้รับความสนใจเพราะมีปูแสมมากมาย ไม่เคยเจอปูแป้นหรือปูจากนี้ในท้องตลาด แต่ในปัจจุบันจะมีปูจากหรือปูแป้นดองเค็มวางขายข้างเคียงกับปูแสมดองเค็มกันเลยทีเดียว
ในวัยเด็ก ปูจาก หรือปูแป้น เป็นปูที่เด็กผู้ชายในบ้านไปไล่จับด้วยความสนุกสนาน เพราะพอเวลาน้ำเริ่มขึ้น บรรดาปูจากก็จะไต่คลานขึ้นทางจากในป่าจาก ปูจะไต่ได้ว่องไวปราดเปรียวจากโคนทางจากไปสู่ยอดทางจาก เด็กๆ จะเอาสองมือรูดตัวปูบนทางจากให้ตกลงพื้น แล้วตะครุบจับที่พื้น ตะครุบได้บ้างไม่ได้บ้างไปตามเรื่องของเด็กๆ การจะจับปูบนทางจากเหมือนที่ทำกับปูแสมทำได้ยากอาจเพราะไม่มีความชำนาญด้วยก็ได้ ปูจากหรือปูแป้นที่จับได้ ถ้าได้ไม่มากก็เอาไปทำอะไรไม่ได้ ถ้าได้มากพอก็เอาไปติดไฟต้มกินกันตามประสาเด็ก
ปูจาก เป็นสัตว์อีกชนิด ที่ไม่ได้เข้าครัวของบ้าน และเด็กผู้หญิงไม่เคยได้กินว่ารสชาติเป็นอย่างไร เพราะพวกเด็กผู้ชายเขาจับมากินกันเองข้างล่าง
เพิ่มเติมภาพ ขอบคุณภาพของคุณจ้อ นั่งจ้อเรือนลำพูรีสอร์ท
ปูแสม เป็นๆ ที่พ่นน้ำออกมาเป็นฟอง
สำหรับนางเอกปูของพลอยโพยมขอยกให้ปูแสม
ปูทะเลธรรมชาติราคาแพง หายาก ต้องเป็นคนที่มีความถนัดเป็นส่วนตัวจึงจะหาปูได้ง่ายๆ ส่วนปูทะเลเลี้ยงอย่างไรเสียก็ไม่อร่อยเท่า มีปูที่หาได้ง่ายมีจำนวนมากมายในอดีต ในบางท้องถิ่นนั่นคือปูแสม
ปูแสมที่นักบริโภคส้มตำย่อมรู้จักดี แม้ว่าในปัจจุบันปูแสมดองเค็ม จะถูกปูม้าดองคลานมาแซงหน้าไปไกล แถมเมนูส้มตำก็พลิกแพลงมากมาย ทั้งไข่เค็มและอื่นๆ ที่คิดหามาทดแทนปูแสมดอง (ไม่นับรวมปลาร้า สูตรดั้งเดิมของส้มตำอีสาน) แต่คนที่นิยมปูแสมก็ยังมีอีกมากเพราะราคาย่อมเยากว่า เมื่อนำมาใส่ในส้มตำ ส้มตำปูแสมดองก็ยังเป็นที่นิยมของคนเงินเดือนน้อยอยู่ดี แต่วิกฤตของปูแสมในเมืองไทย ก็คือ ความวิตกว่าปูแสมจะสูญพันธ์
ชื่อไทย ปูแสม
ชื่อสามัญ MEDER'S MANGROVE CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesarma mederi
ประเทศไทยมีปูแสมถึง 29 สกุล 71 ชนิด แต่ชนิดที่นิยมนำมาดองเค็มและเป็นที่ต้องการของตลาด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesarma mederi (H. Milne-Edward)
ในจำนวนนี้มีเพียง 1 สกุล 1 ชนิด เท่านั้นที่มีถิ่นอาศัยในป่า เหมือนกับปูป่าและปูน้ำตก คือ ปูแสมภูเขา โดยมีรายงานว่า พบเฉพาะบริเวณน้ำตกกระทิง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีเท่านั้น จัดเป็นปูแสมที่มีความสวยงามต่างจากปูแสมอื่น ๆ กล่าวคือ กระดองครึ่งส่วนหน้าและก้ามหนีบมีสีเหลืองสด และกระดองครึ่งส่วนหลังและขาเดินมีสีดำ จัดได้ว่าเป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (endemic species) ชนิดหนึ่งของประเทศไทย
ลักษณะโดยทั่วไป
กระดอง เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างมากกว่ายาวเล็กน้อย มีขนสั้นๆเป็นกลุ่มๆกระจายอยู่ทั่วไปบนกระดองมีสีน้ำตาลถึงสีม่วง กลุ่มขนสีน้ำตาลเข้ม ก้ามหนีบสีม่วง มองเผินๆตัวมีสีม่วงโดยทั่วไป
ก้าม ซ้ายขวามีขนาดเท่าเทียมกัน ค่อนข้างอ้วนม้อต้อปลายก้ามสีน้ำตาลแดง
ปูแสมเป็นสัตว์จำพวกที่มีระยางค์เป็นข้อปล้อง
สีสันของปูแสมจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และแหล่งที่ปูอยู่อาศัย ปูที่อาศัยอยู่ตามป่าจาก ดงแสมดำ หรือตามป่าบก จะมีก้ามขาว ตัวเขียว แต่ถ้าเป็นปูแสมที่อยู่ในป่าชายเลน ใกล้ทะเล ก้ามจะสีแดงม่วง ตัวสีแดง ปูแสมขนาดใหญ่ที่พบโตประมาณ 4.3 ซม.
ปูแสมเพศผู้จะมีสีสันสดใส และตัวโตกว่าเพศเมีย
การแพร่กระจาย
พบตั้งแต่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อ่าวไทย ประเทศจีน และในทะเลอันดามัน ขุดรูอยู่ตามป่าไม้ชายเลน หรือบางครั้งอาจจะอาศัยอยู่ในรูร้างของปูทะเล ในประเทศไทยพบทุกจังหวัดริมอ่าวไทย ตั้งแต่ตราดจนถึงนราธิวาส โดยอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยที่มีน้ำทะเลขึ้นน้ำลง ตามป่าชายเลน เช่น ป่าแสม ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าลำพู ลักษณะของรูแตกต่างจากรูปูก้ามดาบและรูปลาตีนในบริเวณเดียวกัน
ปูแต่ละตัวจะมีรูของตัวเอง และออกหากินไม่ไกลจากรูมากนัก หากตกใจก็จะกลับลงรูอย่างรวดเร็วเพื่อทั้งหลบและหลีกภัย (คุ้นๆ หู มากเลยใช่ไหมคะ)โดยถอยหลังลงแล้วชูก้ามตั้งท่าระวังภัยไว้เหมือนปูก้ามดาบ
รูของปูแสมมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปากหลุมที่ขุดจะมีกองดินอุจจาระ ( บรรดาปูแสมนี้ไม่มีสุขอนามัยนัก เอาส้วมตั้งไว้หน้าบ้านตัวเองนะนี่)
รูปูแสมก็คล้ายกับรูปูทะเล แตกต่างกันที่รูปูแสมมีขนาดเล็กและกลมกว่ารูปูทะเลเท่านั้น รูที่มีปูอาศัยอยู่จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าที่ปากรูจะมีรอยตีนของปูแสมเต็มไปหมด เพราะปูแสมต้องขึ้นจากรูเพื่อออกหากิน พอมีภัยมาก็วิ่งหนีลงรู เมื่อเห็นว่าเงียบและปลอดภัยก็โผล่ออกมาใหม่ รอยตีนของปูแสมมีลักษณะเป็นรอยรี ๆ ตื้นเล็กกว่ารอยตีนของปูทะเล เพราะปูแสมเดินโหย่งตัว รอยตีนจึงเบา ปูแสมบางครั้งก็เข้าไปอาศัยอยู่ในรูร้างของปูทะเลก็มี โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ รูปูทะเลรูหนึ่งอาจจะมีปูแสมอาศัยอยู่ประมาณ 20-80 ตัวก็ได้
รูปแบบของรูของปูแสมนั้น เคยมีผู้วิจัยพบว่า
มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นรูปตัวไอ คือเป็นโพรงเส้นตรง
ตัวแอล คือโพรงหักศอก
ตัวยู คือ ช่วงที่หักศอกเป็นรูปโค้ง
หากเป็นตัวไอจะมีทางเข้าออกทางเดียว หากเป็น L และ U จะมีทางเข้าออกสองทาง ความลึกก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เท่าที่ลองขุดดูลึก ระหว่าง 50 เซนติเมตร –165 เซนติเมตร มีความลาดเอียง 30 – 80 องศา
การกินอาหารของปูแสม
ปูแสมกินอาหารตามพื้นดินเลนอาจเป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตาย ใบไม้สด และกินดินทรายเพื่อช่วยบดย่อยอาหาร ลักษณะท่วงท่าการกินอาหารของปูแสมนั้นจะค่อยๆกินไม่รีบร้อนโดยใช้ก้ามหยิบอาหารป้อนเข้าปาก ผู้เขียน ( สุวรรณา จิตรสิงห์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ) เคยสังเกตพบว่าปูป้อนเฉลี่ย 15 – 25 ครั้งต่อนาที ปูใช้ก้ามทั้งสองข้างหยิบอาหารป้อนเข้าปากที่มีระยางค์หลายคู่ช่วย มักออกหากินในเวลากลางคืน เช่นเดียวกันกับปูทะเลและปูม้า
ส่วนกลางวันจะหลบภัยอยู่ในรูรอจนมืดจึงออกมาเต็มบริเวณ ในช่วงข้างขึ้นหรือข้างแรม 1 –2 ค่ำปูจะออกมามากหลังน้ำขึ้นปริ่มรูปู
ปูแสมตัวผู้มักจะต่อสู้กันให้เห็นเสมอเพื่อต้องการแสดงอาณาเขตหรือการเป็นเจ้าของพื้นที่ และเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ปูจะใช้ก้ามหนีบทำร้ายกันจนก้ามหรือขาหักหรือหลุด ฝ่ายที่แพ้ก็จะหนีไป หรือตายและตกเป็นอาหารของตัวอื่นๆไป
ก้ามที่หลุดไปจะงอกได้ใหม่ เช่นกัน
ปูแสม ในยามลอกคราบจะเป็นปูนิ่ม และอ่อนแอเหมือนปูอื่นๆ
การผสมพันธุ์ เมื่อปูเพศเมียได้รับการผสมกับปูเพศ ผู้แล้ว ไข่จะเจริญอยู่ภายในกระดอง
เมื่อถึงฤดูกาลผสมพันธุ์
ปูแสมจะมีการผสมพันธุ์แบบภายใน ผิดกับสัตว์ทะเลหลายชนิดที่ผสมพันธุ์แบบภายนอก แม่ปูจะเลี้ยงไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ไว้ภายในตัว จนกระทั่งไข่แก่ มันจึงจะปล่อยฟองไข่ออกมาเก็บไว้ที่จับปิ้งใต้ท้อง บริเวณหน้าอก แม่ปูจะคอยดูแลทำความสะอาดไข่อยู่เสมอ โดยการพัดโบกตลอดเวลาเพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงไข่ที่มีสีเหลืองเข้ม หากไข่ใบใดเสียจะมีสีดำ รังหนึ่งๆจะมีไข่ประมาณ 12,000 – 82,000 ฟอง - เมื่อวันเวลาผ่านไปประมาณ 14 –15วันหลังจากนั้น แม่ปูก็จะปล่อยไข่ ซึ่งมี 2 ช่วง ช่วงแรกเดือน เมษายน –กรกฎาคม และช่วงที่ 2 กันยายน –พฤศจิกายน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เรียกว่า “ปูชะไข่” (hatching) หลังจากน้ำทะเลขึ้นสูงสุดและเมื่อน้ำทะเลเริ่มลงปูก็จะพากันเคลื่อนลงไปในน้ำแล้วชะไข่ให้ลอยออกสู่ปากแม่น้ำ ในป่าแสม ป่าโกงกาง ที่มีความเค็มระหว่าง 5-20 ส่วนในพัน (ppt) และออกสู่ทะเลต่อไป
ไข่แก่ลอยออกสู่ทะเลบ้างตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ แล้วก็จะ พัฒนาผ่านขั้นตอน 2 ระยะ ระยะแรกคือ zoeaและระยะที่ 2 megalopa แล้ว พัฒนาเป็นลูกปูขนาดเล็กและว่ายตามกระแสน้ำทะเลในช่วงน้ำขึ้นกลับเข้าฝั่ง เมื่อถึงป่าชายเลนมันก็จะลงเกาะพื้นคืบคลานขึ้นมาหากินเช่นเดียวกับพ่อแม่ของปู สีสันของลูกปูนั้นกลมกลืนเหมือนกับโคลนเลนมากและมีขนาดเล็กเกือบเท่าเมล็ดพริกไทย ทำให้มันปลอดภัยจากผู้ล่า เช่นนก กิ้งก่า ลิงแสม มันจะอาศัยหากินจนกระทั่งเติบโตและเป็นปูตัวโตเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์และขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป
การจับปูแสม
การจับปูแสม เป็นอาชีพพื้นบ้านอาชีพหนึ่ง สมัยก่อนการจับปูแสม นิยมจับในเวลากลางคืนในช่วงเดือนมืด เพราะถ้าเดือนหงาย ปูจะเปรียวจับยาก ปกตินักจับปูแสมจะออกจากบ้านในราว 6 โมงเย็นหรือหลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้ว อุปกรณ์ในการจับปูก็มีเพียงตะเกียง และข้องใส่ปู เท่านั้น ถ้าต้องไปจับปูไกล ๆ ก็ลงเรือไป แต่ถ้าไม่ไกลนักก็จะเดินไปเพราะสะดวกและสนุกกว่า การจับปูนิยมไปกันเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่งประมาณ 3-4 คนกว่าจะกลับก็จวนรุ่งสาง คืนหนึ่งคนหนึ่งจะจับปูแสมได้ประมาณ 600-700 ตัว
การจับปูแสมมีหลายวิธี
วิธีหนึ่งที่นิยมคือจับปูจากรู การจับปูแสมด้วยวิธีนี้ต้องว่องไว พอเห็นปูแสมออกมาที่ปากรู ก็ต้องตะครุบแล้วบีบให้แน่น ถ้าไม่แน่นพอก็อาจจะโดนหนีบ การใส่ถุงมือจะช่วยให้ความเจ็บปวดจากการถูกปูหนีบน้อยลงได้บ้าง สำหรับคนที่ไม่ว่องไวหรือไม่ปราดเปรียวพอ ก็จะใช้ไผ่เสี้ยมปลายแหลมเป็นรูปปากเป็ดคอดดักแทงรูกันปูหนีลงรูก็ได้ ถ้าตะครุบไม่ทันและออกแรงขุดรูปูบางทีก็ได้ตัวปู หรือบางคนเพียงแต่ใช้เท้ากระทืบหนัก ๆ เหนือรู หลาย ๆ ครั้งปูแสมก็จะค่อย ๆ คลานขึ้นมาให้จับเหมือนกัน
อีกวิธีหนึ่ง
จับปูที่หนีน้ำไปอยู่ตามกิ่งหรือตามลำต้นแสมโกงกาง แต่จะออกจับได้เฉพาะในช่วงน้ำเกิดเท่านั้น เพราะเมื่อน้ำท่วมรูปูแสมจะหนีน้ำไปอยู่ตามกิ่งหรือตามลำต้นแสมโกงกาง จับง่าย แต่ก็ต้องใช้ความเงียบพอสมควร ถ้าทำเสียงดัง ปูแสมก็จะทิ้งตัวลงกับพื้นน้ำหนีหายไป แต่คนที่ชำนาญแล้วก็จะจับปูแสมที่ไต่ยั้วเยี้ยตามกิ่งไม้เหล่านั้นลงในข้องของตนทีละตัวจนหมด
อีกฤดูหนึ่งที่นักจับปูแสมรอคอย ก็คือฤดูที่ปูแสมขึ้นจากรู อพยพลงน้ำเดินทางสู่ปากแม่น้ำเพื่อวางไข่ ฤดูนี้ชาวบ้านเรียกว่าฤดูปูชะไข่ ในราวเดือนเมษายน-กรกฎาคม ปูที่จับได้ในช่วงนี้จะมีรสมันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตัวเมียที่มีไข่ในกระดอง น่ากิน ส่วนที่มีไข่นอกกระดองชาวประมงจะคัดทิ้ง ฤดูนี้ชาวประมงจะจับปูแสมด้วยอวน หรือโพงพางที่วางขวางทางน้ำ
ปัจจุบันปูหายาก การจับปูแสมด้วยวิธีข้างต้นได้ปูน้อย จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือจับปูแบบง่าย ๆ ขึ้น โดยใช้ถ้วยพลาสติกมาเจาะรู มีกลไกสำคัญก็คือกระเดื่อง ที่ใช้สำหรับแขวนเหยื่อ และทำหน้าที่ดึงฝาถ้วยให้อ้าไว้ เมื่อปูมากินเหยื่อ กระเดื่องหลุดจากกลไกที่ทำหน้าที่อ้าฝาถ้วย ฝาถ้วยจะหลุดมาปิดปากถ้วย ปูจะถูกขังในแร้วนั้นจนว่าจะมีคนมากู้ การจับปูแสมด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่ผู้จับมักจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งนั้น ๆ ซึ่งการจับปูแต่ละวันจะได้ไม่มากนัก
นักจับปูพเนจร
ที่น่าวิตกในเวลานี้ก็คือมีนักจับปูพเนจร ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ใช้รถปิ๊กอัพ บรรทุกอุปกรณ์จับปู ถังดองปู และที่นอนหมอนมุ้ง พเนจรรอนแรม ตระเวนออกจับปูแสมตามป่าแสมโกงกางต่าง ๆ ในช่วงเดือนมืด เมื่อพบป่าแสมโกงกางที่มีปูแสมชุม นักจับปูประเภทนี้จะปักหลัก ออกจับปูแสมทุกคืนจนหมด เมื่อไม่มีปูให้จับอีกก็จะย้ายไปจับปูในแหล่งอื่นต่อไป จนกระทั่งเข้าช่วงเดือนหงายจึงเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากนักจับปูประเภทนี้เป็นคนต่างถิ่น จึงขาดจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรอันมีค่านั้น นอกจากความคิดที่จะจับปูให้ได้มากที่สุดที่จะมากได้ และจะจับจนหมดไม่มีเหลือ นอกจากเป็นการทำลายพันธุ์ปูแสมที่ตัวเองจับโดยตรงแล้ว บางครั้งยังทำลายสิ่งแวดล้อมที่ปูอยู่อาศัยด้วย พฤติกรรมเช่นนี้นักจับปูแสมในท้องถิ่นจะไม่ทำกัน
การดองปูเค็ม
วิธีการดองปูแสมที่ชาวบ้านได้ถ่ายทอดให้ คือทำให้ปูสลบเสียก่อน ภาษาพื้นบ้านเรียกว่าอัดน้ำ คือเทปูที่จะดองใส่ตุ่มน้ำเค็ม ปูเมื่อถูกอัดอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็จะสลบ แล้วนำไป ดองในน้ำเกลืออิ่มตัว ผสมด้วย aluminum ammomia sulphate เล็กน้อย และปูนแดง เพื่อทำให้ เปลือกปูกรอบ
วิธีทดสอบว่าน้ำเกลือที่ดองปูนั้นอิ่มตัวหรือยัง ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ที่จังหวัดสมุทรสงครามจะใช้วิธีสังเกตจากเมื่อใส่ปูแสมลงไปในน้ำเกลือแล้วปูจมหรือไม่ ถ้าปูที่ใส่จมก็แสดงว่าน้ำเกลือยังไม่เข้มข้นพอ ต้องเติมเกลือลงไปอีก จนกว่าปูจะไม่จม
ส่วนคนทำปูเค็มที่ระนองใช้ข้าวสุกใส่ลงไป ถ้าข้าวสุกจมน้ำแสดงดว่าน้ำเกลือยังไม่เข้มข้นพอ เมื่อเตรียมน้ำเกลือได้ที่แล้วก็ใส่ปูแสมลงไป ดองน้ำเกลือประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด ประมาณ 3-4 ครั้ง
ส่วนอีกวิธีหนึ่งนั้นนำปูที่สลบแล้วไปเคล้ากับเกลือแล้วนำไปขายในวันรุ่งขึ้น วิธีหลังนี้เรียกว่าปูจืดหรือปูหวาน วิธีนี้ปูเน่าเสียง่าย ถ้าขายไม่หมดต้องเติมเกลือไปเรื่อย ๆ มิฉะนั้นจะเน่า
ที่ศูนย์พัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งฉะเชิงเทรา มีงานวิจัยปูแสม และดองเค็มปูแสมคล้ายกับที่จังหวัดสมุทรสงคราม เพียงแต่ไม่อัดน้ำปู มีวิธีการดังนี้
เลือกเอาปูตัวที่ยังเป็นๆอยู่ นำมาใส่ตะกร้าแล้วล้างน้ำให้สะอาด โดยการให้น้ำไหลผ่านแล้วเขย่าเบาๆ หลังจากนั้น ต้มน้ำให้เดือดกะน้ำตามปริมาณของปู แล้วใส่เกลือลงไปต้มใส่เกลือจนกระทั่งเกลืออิ่มตัวสังเกตได้จากเกลือไม่ละลาย แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้นนำตัวปูใส่ภาชนะที่เป็นแก้วหรือพลาสติก แล้วราดน้ำเกลือลงไปให้ท่วมตัวปู หาภาชนะมาปิด แล้วทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง หรือลองหักขาปูดู ถ้ากินได้แล้วเนื้อปูจะแข็ง ดึงออกจากขาง่าย มีรสชาติเค็มนิดหน่อย และถ้าจะเก็บไว้ให้กินได้นานๆ ให้นำปูไปล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นไว้ ปูก็จะมีรสชาติคงเดิม และไม่เสีย แต่ถ้าเก็บไว้โดยวิธีการแช่น้ำเกลือต่อไปเรื่อยๆปูก็จะเก็บได้นานเช่นเดียวกัน แต่จะมีรสชาติเค็มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะกินไม่อร่อย
ปัจจุบันมีการบรรจุปูเค็มลงกระป๋อง แช่น้ำเกลือสามารถส่งออกไปต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการของคนลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
เมนูปูเค็ม
ปูเค็มสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่นยำกับน้ำตาล น้ำปลา พริกและมะนาว หรือนำไปปรุงกับหอม กระเทียม มะดัน พริก มะกรูด ส้มมะขามเปียก น้ำตาลแล้วราดด้วยกะทิ รับประทานกับผักสดหรือผักทอด ที่รู้จักกันในนามของปูแสมหน้านวล นอกจากยำแล้ว ปูเค็มเมื่อนำมาปรุงกับกุ้งแห้ง มะขาม พริก กระเทียม กะปิ น้ำตาล น้ำปลา มะนาว ก็ได้น้ำพริกปูเค็มรับประทานกับผักสด รสดีนัก เมื่อนำไปตำกับส้มตำ กลิ่นและรสของปูเค็มก็จะช่วยให้ส้มตำมีรสชาติที่อร่อยขึ้น
ปูแสม มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ
ปูแสมเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ถ้าไม่มีเนื้อสัตว์ปูแสมก็จะกินใบไม้ โดยเฉพาะใบแสมโกงกางเป็นอาหารได้ ปูแสมจึงช่วยคอยกำจัดใบแสมโกงกางที่ร่วงหล่นตามลงพื้น ไม่หมักหมกเน่าเสียอยู่ตามพื้นดิน ถ้าขุดรูปูแสมดู จะพบว่ามีใบแสมมากมาย ซึ่งเป็นอาหารที่ปูหามาสำรองไว้กินในเวลากลางวันในขณะที่ข้างบนมีศัตรูไม่ปลอดภัย ปูแสมมีส่วนช่วยย่อยใบแสมให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่จุลชีพต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เป็นอาหารได้ มิฉะนั้นจะต้องใช้เวลานานกว่าใบแสมโกงกางเหล่านั้นจะเน่าเปื่อยหรือสลายตัว จึงนับได้ว่าปูแสมมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศน์ป่าชายเลนอย่างมาก
ปูแสมมรดกของท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์
ปูแสมจัดว่าเป็นมรดกของท้องถิ่นอย่างหนึ่ง ที่เจ้าของท้องถิ่นควรหวงแหนและรักษา การอนุรักษ์ปูแสมให้คงอยู่ยั่งยืนซึ่งเป็นของยากมากในปัจจุบันด้วยปัจจัยหลายประการ
ที่มา
วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมบางประการและระบบนิเวศของปูแสม Sesarma (sesarma) mederi. โดย สุวรรณา จิตรสิงห์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.crab-trf.com/Sesarma_crab.php
http://www.nicaonline.com
เกรียงศักดิ์ เผด็จภัย.2535.ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฉะเชิงเทรา เพาะ "ปูแสม" เพื่ออนุรักษ์.
ปัจจุบันปูแสมชนิดดองเค็มในเมืองไทยหาได้น้อยเต็มที เพราะถูกชาวบ้านจับจนปูรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน
นอกจากปูแสมจะสูญพันธ์เพราะนักจับปูพเนจรแล้ว สำหรับคนท้องถิ่นป่าชายเลนเองนั้นก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งอื่นอีก
ปูแสมกับป่าชายเลนเป็นของคู่กัน ชาวบ้านแถบป่าชายเลนจึงมี อาชีพจับปูแสม ขาย เป็นอาชีพที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไร นอกจากออกแรงไปหาจับปูซึ่งมีอยู่มากมายในอดีต เมื่อป่าชายเลนลดจำนวนลง เพราะมีการรุกพื้นที่เข้าไปในป่าชายเลนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อาชีพการลี้ยงกุ้งกุลาดำกำลังเฟื่องฟูนั้น มีการบุกรุกป่าชายเลนมากมายทุกจังหวัด และเมื่อธุรกิจกุ้งซบเซาลง พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้กลับคืนเป็นป่าชายเลนดังเดิมอีกเลย แต่กลายเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ของบ่อกุ้งร้าง เหมือนกับที่เกิดกับนาข้าวเช่นกัน
นอกจากการรุกพื้นที่เพื่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้ว บางทีป่าชายเลนก็กลายเป็นเขตเมือง เป็นแหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม ซึงมีผลตามมาคือมลพิษทั้งหลาย ทั้งสารเคมีมากมายจากบ่อกุ้งกุลาดำ โรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสีย ขยะ จากบ้านเรือน ทำให้ป่าชายเลนที่มีอาณาเขตติดกันได้รับผลกระทบ ระบบนิเวศเปลี่ยนไป ทั้งพืชและสัตว์ต่างได้รับผลกระทบ ดังนั้นในบางพื้นที่ที่ยังหลงเหลือป่าชายเลนใกล้แหล่งชุมชนคนเมือง ความอุดมสมบูรณ์ก็ลดหายลง รวมทั้งปูแสมที่ ลดจำนวนลงซึ่งอีกไม่นานป่าชายเลนก็จะค่อยๆหายไป
เมื่อไม่มีป่าชายเลน ก็ย่อมไม่มี ปูแสม รวมทั้งอาชีพ จับปูแสม อีกต่อไป
(พลอยโพยมขอตั้งข้อสังเกตที่มีการรุกพื้นที่ป่าชายเลน ในช่วงที่กุ้งกุลาดำ เฟื่องฟู จะได้ยินเรื่องผู้มีเงินทั้งหลาย ไปซื้อที่ป่าชายเลนกัน คนนั้น สองร้อยไร่ คนนี้ สี่ร้อยไร่ ฯ เป็นข่าวรายเดือนทีเดียว)
ปูแสมในเมืองไทยจะหมดไปถึงขั้นสูญพันธ์ ก็เพราะเราคนไทยด้วยกันเองแท้ๆ ที่ฉะเชิงเทราเคยจัดพิธีแต่งงานปูแสมด้วยเมื่อไม่นานมานี้เองเพื่อรณรงค์ให้อนุรักษ์และฟื้นป่าชายเลน รักษาปูแสม ให้เหลืออยู่ต่อไป
ปูแสมดองเค็มที่กินกันอยู่ส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทบทั้งสิ้นคือจากพม่าและกัมพูชา
แต่ที่ฉะเชิงเทรา เรายังบริโภคปูแสมดองจากพื้นที่ ในบางวันที่ตลาดเย็นวัดโสธรที่ชายแม่น้ำ จะพบเห็นปูแสมเป็นๆที่แม่ค้าเอามาขายในถังพลาสติก พ่นน้ำฟู่ๆเป็นฟองเต็มไปหมด
ปูแสมจะเอาน้ำที่พ่นออกมาจากปากใช้ก้ามเช็ดน้ำนั้นแล้วนำไปถูที่ตา จะทำซ้ำๆหลายๆครั้งจนกระทั่งมันสามารถมองเห็น
ป่าแสมที่มืดครึ้ม เห็นแสงตะวันลอดยอดไม้
ที่บางกรูดจะพบเห็นปูแสมได้น้อย แม้ว่าจะมีป่าจากมากมาย ปูแสมที่ได้พบเห็นกลับเป็น ปูจากเสียมากกว่า แต่ที่บ้านจะคุ้นเคยกับปูแสมที่ถูกจับมาแล้ว เนื่องจากมีญาติชื่อป้าถนอม ได้แต่งงานกับคนคลองผีขุดตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง ทุกปีป้าถนอมจะต้องมากวนกระยาสารทกับคุณยาย ซึ่งมี สอง คุณยาย และมีสองบ้านติดกัน ป้าถนอมต้องมาเตรียมตัวจัดหาเครื่องประกอบกระยาสารทต้องใช้เวลามาค้างหลายวัน ป้าจะแจวเรือมาจากผีขุดผ่านบ้านท่าไข่เลาะเรื่อยมาตามคลองต่างๆออกสู่แม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าถั่ว ป้าจะมาพร้อมปูแสม จำนวนมากเต็มโอ่ง ขนาดกลาง (สูงประมาณ1 เมตร) โดยป้าจะซัดเกลือเม็ดมาในโอ่งก่อนออกจากบ้านคลองผีขุด เมื่อมาถึงบางกรูด ก็ แบ่งปูแสม ออกเป็นสองส่วนใส่อ่างเคลือบใบใหญ่ อีก 2 คืน ก็สามารถกินปูดองเค็มนี้ได้ ( ปูแสมนี้ป้าถนอมจะไปจับมาจากป่าแสม ล้างสะอาดดี เอาปูใส่โอ่ง เอาเกลือเม็ดใส่ ทั้งคลุกทั้งเคล้าตัวปูมา ปิดฝาโอ่งจากนั้นน้ำจากตัวปูจะออกมาละลายเม็ดเกลือ 2 คืน เกลือก็ละลายหมด ) ปูแสมดองเค็ม ก็ ได้ที่กินได้อร่อยดี และยังดองอยู่ในอ่างนั้นได้ต่ออีกหลายวัน ความเค็มของปูดองก็อยู่ที่ความชำนาญของป้าถนอมผู้ ซัดเกลือมาแต่คลองผีขุด
แต่หลังจากคุณยายย้ายไปอยู่กับคุณน้าเพราะท่านชรามาก ก็ไม่มีการกวนกระยาสารทกันอีก ปูแสมจากคลองผีขุด ก็เลยไม่ได้ลงเรือแจวมาเป็นอาหารให้คนบางกรูด
เมนูของที่บ้าน
ปูแสมดองที่เรียกกันว่า ปูเค็ม นั้นนอกจากกินกับข้าว โดยไม่ปรุงรสอะไรเลยนอกจากความเค็มและหวานของเนื้อปูแล้ว ทำปูหลนก็ได้
นอกจากนี้ ยังเอามายำ
การยำของที่บ้าน ใช้ ฝักมะขามอ่อนตำละเอียดกับกะปิ หัวหอม พริกขี้หนู ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาลปี๊บ รสเปรี้ยวนั้นอยู่ในเนื้อมะขามอ่อนอยู่แล้ว จากนั้นแกะกระดองปูเค็ม หักปลายเล็บตีนปูออก แบ่งชิ้นส่วนปูที่แหวะออกมา เป็น สองข้างข้างละสองชิ้น( เพราะปูในสมัยนั้นตัวใหญ่ )น้ำพริกจะได้ซึมเข้าเนื้อปู เอามะขามที่ปรุงเรียบร้อยแล้ว คลุกกับปูแสมดองที่แกะแล้ว ทีนี้ก็จะได้รสเค็มจากปูเค็ม ทำให้ได้ครบสามรส ตอนเด็กๆ พลอยโพยมชอบกินส่วนของกระดองปูมาก เนื้อมะขามได้คลุกกับบรรดาชิ้นส่วนเครื่องในของตัวปูที่ค้างอยู่ในกระดอง เด็ดเอาขี้ดำๆ ออกอย่างเดียว ช่วงที่กวนกระยาสารทในงานสารทกระยาสารท เป็นช่วงที่มะขามกำลังออกติดฝักอ่อนพอดีเลย นอกจากฝักมะขามอ่อนแล้วใช้มะดันแทนก็ได้แต่อร่อยสู้มะขามอ่อนไม่ได้
ต้มกะทิสายบัวปูเค็ม
การต้มกะทิสายบัวปูเค็มนั้น ก็แกะกระดองออกแล้วใส่ตัวปูแบ่งสองส่วน ( ในปัจจุบันถึงจะเป็นปูพม่า ปูกัมพูชา ไม่เคยเห็นใหญ่เท่าปูแสคลองผีขุดแน่นอน) ส่วนประกอบของต้มกะทิไม่ต้องอธิบายแล้วกัน ปูที่ต้มสุกจะออกสีแดงน่ากิน แต่เนื้อปูจะหดหายหากเทียบกับกินเป็นปูเค็มตัวๆกับข้าว พลอยโพยมชอบต้มกะทิสายบัวปูเค็มมากกว่าต้มกะทิสายบัวปลาทู อย่างไรเสียก็รู้สึกอยู่เสมอว่าต้มกะทิสายบัวปลาทูมีกลิ่นคาวปลานั่นเอง ทั้งที่เนื้อปลาทูจะเยอะกว่าเนื้อปูเค็ม
อันว่าส้มตำปูแสมดองนั้น ในตอนเด็กไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่เราจะกินข้าวมันส้มตำ (ไทย) กินกับยอดใบทองหลาง ยอดใบแต้ว ยอดใบมะยมอ่อน ส่วนปลาร้านั้นที่บ้านกินปลาร้าไม่เป็น แม้จะได้ปลามามากมายก็ไม่เคยทำปลาร้ากันเลย
และสำหรับการดองปูเค็มของแม่ค้าในตลาดแปดริ้วที่ดองปูเค็มเองขายเองเล่าว่า ใช้น้ำปลาต้มเดือด รอจนน้ำปลาเย็น จึงเอาปูแสม หรือปูม้า แช่ในน้ำปลา ประมาณ 3 ชั่วโมง ก็สามารถเอามาขายได้ ส่วนปูนั้นปกติตายก่อนมาถึงมือแม่ค้า ปูจะมีรสเค็มไม่มากนัก หากต้องการรสเค็มขึ้น ต้องใช้เกลือ
ในปัจจุบัน พบว่าในปูน้ำจืดซึ่งมักอยู่ตามเลนตามโคลน เช่นปูแสมมีพยาธิมากหลายชนิด ทำให้นักบริโภคปูแสมดองพากันขยาดกลัวแม้แต่ตัวพลอยโพยมเองก็ยังขยาด หากกินส้มตำก็จะกินปูม้าดองหรือไข่เค็มแทนเสียแล้วในเวลานี้
จากบทความข้างต้นที่เขียนเล่าวิธีการจับปูแสมอ่านแล้วเหมือนง่ายๆ แต่ในความจริงไม่ได้สะดวกง่ายเสียทีเดียว มีปัญหาคือความยากลำบากในการไปจับปูแสม เพราะในป่าแสมในสมัยก่อนยุงชุมมาก ยุงตัวใหญ่อยู่กันเป็นฝูงๆ
ตอนเด็กๆ พลอยโพยมเคยไปบ้านป้าถนอม บ้านอยู่ติดคลองผีขุดรอบๆเป็นท้องนา ป่าแสมจะอยู่คนละฝั่งถนนของฝั่งคลองอีกฝั่ง ตอนเย็นแค่สี่ห้าโมงเย็นเท่านั้น ยุงมากันเต็มบ้านเป็นฝูงๆ จำได้ว่ากินข้าวเย็นเร็วมาก พอกินเสร็จก็กางมุ้ง คนเข้าไปนั่งในมุ้งแต่ละมุ้งแล้วคุยกันข้ามมุ้งทั้งที่ยังไม่มืด ยังไม่ต้องจุดตะเกียงด้วยซ้ำไป ถ้ามืดแล้วก็ไม่ต้องบรรยายกันละว่าเป็นอย่างไรขนาดบ้านโปร่งโล่งไม่ได้อยู่ใกล้ดงแสมแท้ๆ
การไปจับปูแสม
คนจับต้องอดทนเพียงไรที่จะรบราฝ่าฟันกับยุงในป่าแสม ที่ทั้งแฉะ ชื้น ครึ้ม มืดด้วยต้นแสม ต้องเอาโคลนมาทาตัวกันละ เพราะในสมัยนั้นไม่มียาทากันยุงแบบปัจจุบัน ถ้ายุงมีพิษแบบยุงก้นปล่อง นักจับปูแสมคงเป็นมาเลเรียกันไปหมด ไม่คุ้มออกไปจับปูแสมแน่นอน
การจับปูแสมต้องไปในเวลาหัวน้ำขึ้น เดินลุยน้ำลงไปที่ต้นแสมหากเป็นเวลากลางคืนมักเป็นเดือนมืดต้องเอาไฟฉายส่องแสงให้ ไม่นิยมจับคืนเดือนหงายเหมือนบทความข้างต้น
ปูแสมจะหนีน้ำไต่ขึ้นไปอยู่ตามต้นแสม คนจับก็ใช้มือปัดตัวปูแสมให้หล่นใส่กระป๋องทีละตัว (ภาชนะนี้ที่บางกรูดเรียกว่ากระแป๋ง) สมควรเรียกกระแป๋งจริงๆเพราะเสียงปูตัวแรกๆ ที่หล่นลงมา จะเป็นเสียง แป๊ง แป๊ง แป๋ง แป๋ง ไม่ใช่เสียง ป๊องป๊อง ป๋อง ป๋อง แน่นอน เสียงดังมาจากกระดองปูกระทบภาชนะนั่นเอง คนที่ไปจับปูไม่ได้จับใส่ข้องเพราะไม่ได้จับตัวปู เป็นการปัดปูลงภาชนะจึงต้องใช้ภาชนะปากกว้าง แล้วจึงเปลี่ยนอุปกรณ์ใส่ปูอีกที
แต่ในปัจจุบัน ก็คือ ไม่มีปูแสมจะให้ปัดตกจากต้นแสมเสียแล้วในเวลานี้
ปูจาก
ฃื่อสามัญไทย ปูจาก (หรือปูแป้น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Varuna litterata
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ GREEN TIDAL CRAB
ปูจากหรือปูแป้น พบอาศัยอยู่ตามป่าจากซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งของป่าชายเลน บางครั้งอาจพบซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินริมฝั่งบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย
ลักษณะทั่วไป
กระดองปูจากเป็นรูปโค้งกลม ค่อนข้างแบน ตรงกลางกระดองเป็นร่องลึกเป็น รูปอักษร H กระดองแบนและมีสีน้ำตาลแกมเหลือง
สีของกระดองจะเข้มกว่าสีของขาเดิน มีหนามข้างกระดองหยักเป็นฟันเลื่อยมี 2 ซี่ ขอบตาเว้าระยะห่างพอ ๆ กัน ก้ามซ้ายขวามีลักษณะค่อนข้างแบนและขนาดใกล้เคียงกัน ขนอ่อนเส้นสั้น ๆ เรียงติดกันเป็นแผงตามขอบบนด้านในของข้อที่ 3-4 ส่วนข้อที่ 5 มีหนามยื่นยาวอยู่หนึ่งอันเล็ก ๆ อีกข้างละอัน ข้องที่ 4 ขาเดินทั้งสี่ไม่มีหนาม แต่มีขนอ่อนเรียงเต็มนิ้วของขาเดินแบนกว้าง
ปูจากเป็นปูสองน้ำสามารถอาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อยได้ ปูขนาดเล็กมักซ่อนตัวอยู่ใต้ซอกหินริมฝั่งแม่น้ำและพบในช่วงมีนาคม-สิงหาคม ส่วนตัวเต็มวัยพบช่วงเดือนกันยายน-มกราคม
ป่าจากในช่วงน้ำขึ้น
ถิ่นอาศัย พบที่ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ฯ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส
อาหารของปูจาก หรือปูแป้น กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว เหมือนปูอื่นๆ
ปูจากหรือปูแป้น เป็นปูที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยการนำมาดองรับประทานกับข้าวต้ม
ที่มา ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง
และข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา.
ป่าจาก เมื่อน้ำลง จะพบเห็น รูปูมากมาย
ในอดีต ปูจากหรือปูแป้นนี้ไม่ได้รับความสนใจเพราะมีปูแสมมากมาย ไม่เคยเจอปูแป้นหรือปูจากนี้ในท้องตลาด แต่ในปัจจุบันจะมีปูจากหรือปูแป้นดองเค็มวางขายข้างเคียงกับปูแสมดองเค็มกันเลยทีเดียว
ในวัยเด็ก ปูจาก หรือปูแป้น เป็นปูที่เด็กผู้ชายในบ้านไปไล่จับด้วยความสนุกสนาน เพราะพอเวลาน้ำเริ่มขึ้น บรรดาปูจากก็จะไต่คลานขึ้นทางจากในป่าจาก ปูจะไต่ได้ว่องไวปราดเปรียวจากโคนทางจากไปสู่ยอดทางจาก เด็กๆ จะเอาสองมือรูดตัวปูบนทางจากให้ตกลงพื้น แล้วตะครุบจับที่พื้น ตะครุบได้บ้างไม่ได้บ้างไปตามเรื่องของเด็กๆ การจะจับปูบนทางจากเหมือนที่ทำกับปูแสมทำได้ยากอาจเพราะไม่มีความชำนาญด้วยก็ได้ ปูจากหรือปูแป้นที่จับได้ ถ้าได้ไม่มากก็เอาไปทำอะไรไม่ได้ ถ้าได้มากพอก็เอาไปติดไฟต้มกินกันตามประสาเด็ก
ปูจาก เป็นสัตว์อีกชนิด ที่ไม่ได้เข้าครัวของบ้าน และเด็กผู้หญิงไม่เคยได้กินว่ารสชาติเป็นอย่างไร เพราะพวกเด็กผู้ชายเขาจับมากินกันเองข้างล่าง
เพิ่มเติมภาพ ขอบคุณภาพของคุณจ้อ นั่งจ้อเรือนลำพูรีสอร์ท
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ห้า
เป็นภาพที่มีผู้ส่งมาให้ ขออภัยที่ไม่ทราบที่มา และขออนุญาตใช้ภาพนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า
.......มีสติอยู่ทุกเมื่อ……..
ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือ ความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย
ด้วยประการฉะนี้
เธอจะเบาสบาย คลายทุกข์ คลายกังวล
ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวาง
......และการสำรวมตนอยู่ในธรรม....
เบญจขันธ์ หรือขันธ์ห้า
ที่เป็นหัวใจใน อนัตตลักขณสูตร ที่ทำให้พระโสดาบัน ปัญจวัคคีย์ ได้ บรรลุ อรหัตผล คืออะไร
ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ มี ห้าขันธ์ เท่ากัน ไม่ว่าหญิงหรือชาย ไทยหรือเทศ
ขันธ์ห้านี้ได้แก่
๑. รูปขันธ์ กองรูป คือ กายทั้งหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
๒. เวทนาขันธ์ ความรู้สึกหรือเสวยอารมณ์
มีสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา
มีเวทนา ๕ คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาเวทนา สุขอิงอามิส ไม่อิงอามิส ทุกข์อิงอามิส หรือไม่อิงอามิส
เวทนา จึงเรียกว่าความรู้สึก
๓. สัญญาขันธ์ คือความจำได้ หมายรู้
สัญญาจำได้ จำสี จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส จำอารมณ์ สัญญาความจำที่เรียนหนังสือมาจนจบ นั่นคือรู้จำอย่างสัญญา
๔. สังขารขันธ์ รู้คิดปรุงแต่ง คิดดี คิดไม่ดี คิดไปหาบุญ คิดไปทางบาป
สังขารนี้ปรุงให้ไปทำดี เรียกว่าปุญญาภิสังขาร
ปรุงแต่งให้ไปทำบาปเรียก อปุญญาภิสังขาร
ปรุงแต่งคิดไป ฌาน เรียกว่า อเนญชาภิสังขาร
เจตสิกมี ๕๒ ตัว เป็นเวทนาเจตสิก ๑ สัญญาเจตสิก ๑
ฉะนั้นในสังขารจึงมีเจตสิกอยู่ ๕๐ ตัว ทำให้ปรุงแต่งไปต่างๆนานา
เวทนา สัญญา สังขาร จึงเรียกว่า เจตสิกขันธ์ ๓
๕ .วิญญาณขันธ์ จิตนั้นโดยสภาวะต้องอาศัย เจตสิก เข้าไปปรุงแต่งให้แปรไปเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง
ที่เรียกว่าวิญญาณขันธ์ หมายถึงจิตที่ทำหน้าที่รับรู้ในทวารทั้ง หก มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทั้ง ๕ ขันธ์ นี้ ย่อลงมาได้สอง คือ รูป กับนาม คือ
รูปขันธ์ ๑
ส่วนนาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ ขันธ์
ในนาม ขันธ์ ๔ นี้ เป็น เจตสิกขันธ์ ๓ เป็น จิต ๑ รวมเป็น ๔ ขันธ์
คำนาม หรือจิต เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ จำอารมณ์ คิดอารมณ์ เก็บอารมณ์ จิตทำหน้าที่หลายอย่าง จึงมีชื่อแทนคำว่า จิต เข่น
ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น เรียกว่า จิต
ธรรมชาติใดที่น้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น เรียกว่า มโน
ธรรมชาติใดที่มีฉันทะในใจ ธรรมชาตินั้น เรียกว่า มนัส
ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งในอารมณ์ ๖ ธรรมชาตินั้น เรียกว่า วิญญาณ
จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส เรียกว่า ปัณฑระ
มนะนั่นเองเป็นอายตนะ เรียกว่า มนายตนะ
มนะนั่นเองเป็นอินทรีย์ เรียกว่า มินินทรีย์
มนะนั่นเองเป็นธาตุ เรียกว่า วิญญาณธาตุ
วิญญาณนั่นเองเป็นขันธ์ เรียกว่า วิญญาณขันธ์
จิต นั่นแหละ เป็นที่รวมของอารมณ์ เรียกว่า หทัย
ฉะนั้น จิต จึงต้องเรียกเปลี่ยนไปตามหน้าที่ เมื่อทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง หก คือ
ทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณเกิด
ไปรับรู้ทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณเกิด
ไปรับรู้ทางจมูก เรียกว่า ฆานะวิญญาณเกิด
ไปรับรู้อารมรณ์ทางลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณเกิด
ไปทำหน้าที่รับรู้ทางกาย ก็เรียกว่า กายวิญญาณเกิด
ไปรับรู้ทางใจ ก็เรียกว่า มโนวิญญาณเกิด
วิญญาณ จะใช้เรียกขณะจิตไปเกิดใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิวิญญาณ
จิต นี้จะมีลักษณะ
๑. อสรีรัง ไม่มีรูปร่าง ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี แต่มีพลังงานสูง
๒. เอกจรัง เกิดดับทีละดวง จิตจึงรับรู้ทีละหนึ่ง
๓. ทูรังคมัง ท่องเที่ยวไปดวงเดียว
๔. คูหาสยัง อาศัยอยู่ในกายคือถ้ำ มีหทัยวัตถุหมายถึงรูปหัวใจ
ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่
พันธนัง ดิ้นรนแส่ไปหากามคุณอารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
จปรัง กวัดแกว่งไม่คงที่
ทุรักขัง รักษายาก ที่จะให้อยู่กับความดี
ทุนนิวารยัง ห้ามยาก ห้ามจิตจากความคิดชั่ว คิดผิด ที่เป็นบาปกุศล
และ จิต นี้
พุททสัง เห็นได้ยาก
สุนัปปนัง ละเอียดอ่อนยิ่งนัก
ลหุโน เป็นธรรมชาติที่เบา
เพราะเหตุนี้จึงจำเป็นต้อง พัฒนาจิต ฝึกจิต อบรมจิต
จิตตํ ทนฺติ สุขาวหํ , จิตที่ฝึกดีแล้วจะนำสุขมาให้
จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
การเจริญสติปัฏฐานสี่ เป็นการนำเอารูปนาม ขันธ์ห้า นี้มาเป็นอารมณ์ เป็นฐานที่ตั้งสติกำหนด
คือ
ฐานกาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ฐานเวทนา เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ฐานจิต เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และธรรม เป็นฐาน เรียกว่า ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการกำหนดรู้อาการของ รูป นาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิด วิปัสสนาญาณ ในทุกขณะที่กำหนดได้ ขันธ์ห้า เกิดแล้ว ก็ดับ
สรุปขันธ์ห้า ง่ายๆ คือ
๑. รูปขันธ์ คือร่างกาย
๒. เวทนาขันธ์ รู้สึกเสวยอารมณ์
๓. สัญญาขันธ์ รู้จำ จำอารมณ์
๔. สังขารขันธ์ รู้คิด
๕. วิญญาณขันธ์ รู้จัก
ดังนั้น ทุกคน จึงมีขันธ์ห้า เท่ากัน ทุกคน ใช่ไหมคะ
อนัตตลักขณสูตร
เอ วันเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า,
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า,
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ,
ใกล้นครพาราณสี,
ตัต์ระ โข ภะคะวา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า,
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน,
รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้,
นะ ยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ,
รูปนี้จะไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
สัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า, ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด, อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
ยัส์มา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน,
ตัส์มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ, ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ,
นะจะ สัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ, เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ,
และไม่ได้ตามปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด, อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย,
เวทะนา อะนัตตา เวทนามิใช่ตัวตน,
เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเวทนานี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้,
................
................
(ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสถาม พระปัญจวัคคีย์ ว่า
ภิกษุ ทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
พระปัญจวัคคีย์ทูลตอบว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ ทรงรับสั่งต่อไปว่า ก็สิ่งใดที่มีความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
พระปัญจวัคคีย์ ทูลตอบว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งต่อไปอีกว่า ก็สิ่งใดมีความไม่เที่ยง ต้องแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็น ทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า, นั่นของเรา , นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา
พระปัญจวัคคีย์ ทูลตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ ทรงสรุปว่า ด้วยเหตุนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต, ภายใน ภายนอก, หยาบ ละเอียด ,เลว ประณีต ,ใกล้หรือไกล ก็สักแต่ว่าเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เท่านั้น นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นมิใช่ตัวตนของเรา)
................
................
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต์วา อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้,
รูปัส์มิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป,
เวทะนายะปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา,
สัญญายะปิ นิพพินทะติ , ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา,
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร,
วิญญาณัส์มิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ,
นิพพินทัง วิรัชชะติ, เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,
วิราคา วิมุจจะติ , เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น,
วิมุตตัส์มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ,
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว, ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พ์รห์มะจะริยัง,
ย่อมรู้ขัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ,
กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว,
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขุ ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง,
ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีใจยินดี,ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัส์มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส์มิง ภัญญะมาเน,
ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้อยู่
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ, จิตตานิ วิมุจจิงสูติ,
จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์, ก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย,เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล
เพราะปัญจวัคคีย์ เคยเจริญสมถภาวนามาก่อน เมื่อ ยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนา กำหนดรู้ใน ขันธ์ห้า รูป-นาม จนเห็นพระไตรลักษณ์อย่างชัดเจน เกิด วิปัสสนาญาณ จึงสามารถทำลายกิเลศ ตัณหา อุปาทาน ให้หมดสิ้นไป
พระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ขึ้นต้นว่า เอ วันเม สุตัง คือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้เล่าประทานให้พระอานนท์ฟัง ตามที่พระอานนท์ได้ทูลขอพรไว้ ๘ ข้อ และนี่เป็นข้อที่ ๘ ในการรับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
(พรข้อที่๘ คือ ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก
เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร ๘ ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์)
พระอานนท์ เป็นสหชาติและพุทธอุปัฏฐากของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระสาวกอื่นถึง ๕ ประการ
๑. มีสติ รอบคอบ
๒. มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
๓. มีความเพียรดี
๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
และที่เป็นพหูสูต เนื่องจากเป็นผู้ทรงจำพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ และเป็นผู้ที่สาธยายพระสูตร จนทำให้ปฐมสังคายนาสำเร็จเรียบร้อย
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้, เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา,
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า
ที่มา ขันธ์ห้า จาก ธรรมบรรยายของท่านอาจารย์เรณู ทัศณรงค์
หมายเหตุ (เพิ่มเติม)
พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง
ทุกขัง คือ สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ
ธรรมของพระพุทธเจ้า
เป็นภาพที่มีผู้ส่งต่อมาให้ ขออภัยที่ไม่ทราบว่าเป็นภาพจากท่านใดขออนุญาตใช้ภาพนี้
พลอยโพยมไปปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธิกสมาคม ฯ วิปัสสนากรรมฐาน กับพระวิปัสสนาจารย์พม่าหลักสูตรของพระเชมเย สยาดอ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะ อาชิน ชนกาภิวงศ์ แต่พระอาจารย์ติดภารกิจ รับทอดผ่าป่าจัดที่สำนักต่างประเทศหลายแห่ง เลยมีตัวแทน คือ พระวิปัสสนาจารย์ อู โสภิตะ (พม่า ) พระวิปัสสนาจารย์ อู ปัญญานันทะ (พม่า) พระวิปัสสนาจารย์ อู ญาณรังสี (มาเลเซีย )มาแทน
ฟังภาษาพม่าและอังกฤษ มา สิบสองวัน แต่มีล่ามแปลไทยค่ะ ( แถมยอดเยี่ยมล่าม ล่ามนั้นใครๆก็แปลได้ แต่ล่ามแปลธรรมมะหาได้ยาก คนแปลต้องรู้ลึกในธรรมมะด้วย มิหนำซ้ำรู้ลึกมากจริงๆ) ที่จริงพระวิปัสสนาจารย์พม่าท่านพูดอังกฤษได้ ท่านใช้พูดในเวลาสอบอารมณ์ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม แต่การแสดงธรรมท่านใช้ภาษาพม่า เวลาใช้คำบาลีก็จะเพี้ยนสำเนียงไทยบ้าง แต่ วิปัสสนาจารย์ฝรั่งการออกเสียงบาลี ชัดแบบภาษาไทยเรามากๆเลย
ภาษาพม่าก็ไพเราะดี รัวเร็ว มีทอดเสียงสูงท้ายประโยค น่าฟังทีเดียว
แต่เวลาสวดมนต์โดยเฉพาะให้ศีลให้พร ในวันสุดท้าย ทำนองสวดต่างจากไทยเราแถมฟังไม่ชัด กว่าจะจับเสียงได้ว่านี่ท่านกำลังให้พร ก็สวดเลยมาถึง อายุวรรโณสุขังพลัง โน่นน่ะค่ะ
ก็ขอให้ท่านน้อมรับกุศลที่พลอยโพยมไปปฏิบัติมาในคราวนี้อีกครั้งนะคะ ขอให้ท่าน อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ รับกุศลจากพลอยโพยม กันนะคะ
การฟังธรรม พระวิปัสสนาจารย์ทั้งสามองค์ ใช้การเทศน์ที่หยิบยกมาจากพระสูตรต่างๆ เช่นเทศน์เรื่องทุกข์ เรื่องเกิด เรื่องกรรม ฯลฯ ไม่เน้นวิธีปฏิบัติเลย เป็นเรื่องธรรมล้วนๆ เลยนึกได้ว่ามีหนังสือคำแปลไทย ในบทสวดพระสูตรต่างๆ มาจากวัดนาหลวง อุดรธานี ที่ ตัวเองไปร่วมสวดมาเมื่อวันอาสาฬหบูชา ขณะที่ร่วมสวดอยู่นั้นรู้สึกว่า หากการสวดมนต์แบบรู้คำแปลไทย ให้ความรู้สึกดื่มด่ำในพระธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทสวด ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงขอนำมาปันสู่ เพื่อนๆ ค่ะ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อยู่ ทางเหนือของเมืองพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยพุทธกาลอยู่ใน แคว้นมคธ ชมพูทวีป (ในปัจจุบันอยู่ใน รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า เขตป่าอภัยทานแก่สัตว์ เป็นที่บำเพ็ญตบะของฤษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมมันตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์ ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกขกริยา ได้มาบำเพ็ญตบะที่นี่แทน
ในวันเพ็ญเดือนหก หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา ในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณ ว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เองต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ห้า พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
หลังจากทรงสามารถทำให้ปัญจวัคคีย์เชื่อว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แน่แล้วและยินยอมฟังธรรม
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะอันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
(ขอใช้คำภาษาไทยแทนคำบาลี และเล่าไม่จบบทค่ะเพราะยาวมาก)
เอ วันเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย, ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ,
ใกล้นครพาราณสี,
ตัต์ระ โข ภะคะวา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ,
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า
เทว์เม ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ,
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย
โย จากัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่, ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,
หิโน , เป็นของต่ำทราม
คัมโน, เป็นของชาวบ้าน
โปถุชขะนิโก, เป็นของคนชั้นปุถุชน
อะนะริโย , ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย , นี้อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,
อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,
ทุกโข, เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์,
อะนะริโย, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,
อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,
เอเต เต ภิกขเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ,ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
กะตะมา จะสา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฎิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น, เป็นอย่างไรเล่า?
อะยะเมวะ อะริโย อัฎฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ, ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(๑ )สัมมาทิฎฐิ, ความเห็นชอบ ( ๒ ) สัมมาสังกับโป , ความดำริชอบ (๓ )สัมมาวาจา,การพูดจาชอบ( ๔ ) สัมมากัมมันโต,การทำการงานชอบ ( ๕ ) สัมมาอาซีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ (๖)สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ (๗ ) สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ (๘) สัมมาสะมาธิ,ความตั้งใจมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชณิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , นี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ, เป็นไปเพื่อความสงบ,
อะภิญญาญะ, เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง,
สัมโพธายะ, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม,
นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นไปเพื่อนิพพาน,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือทุกข์นี้ มีอยู่คือ,
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข , ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย , ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,
ยายัง ตัณหา , นี้คือตัณหา,
โปโนพภะวิกา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,
นันทิราคะ สะหะคะตา, อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน,
ตัต์ระ ตัต์ราภินันทินี, อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,
เสยยะถีทัง, ได้แก่ ตัณหาเหล่านี้คือ,
กามะตัณหา, ตัณหาในกาม,
ภะวะตัณหา, ตัณหาในความมี ความเป็น,
วิภะวะตัณหา, ตัณหาในความไม่มี ไม่เป็น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี่, มีอยู่
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปแห่งตัณหา,โดยไม่มีเหลือนั้นนั่นเอง,
จาโค, เป็นความสละทิ้ง
ปะฏินิสสัคโค, เป็นความสลัดคืน,
มุตติ, เป็นความปล่อย,
อะนาละโย, เป็นความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่ ,
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
(๑) สัมมาทิฎฐิ,ความเห็นชอบ (๒).......(๓)...........(๘)สัมมาสะมาธิ , ความตั้งใจมั่นชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาาทิ, ญาณัง, อุทะปาทิ , ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า,
อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้,
ตังโข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์ นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ
ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณขึ้นแล้วแก่เรา , ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,
....…………………..
…………………….
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานั้น โกณฑัญญะ ได้ "ธรรมจักษุ" (ดวงตาเห็นธรรม) คือเข้าใจแจ่มแจ้ง และบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า " โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" ด้วยพระอุทานว่า "อญฺญาสิ" ที่แปลว่า ได้รู้แล้วนั้น คำว่า "อญฺญา" จึงได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อท่านว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่บัดนั้นมา
ครั้นท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกและเป็นปฐมสาวก
จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
ในวันต่อมา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา
ในวันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒
ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓
ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔
ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕
อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตรคือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ด้วยกันทั้งหมด ในคราวเดียวกันซึ่ง
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ,
จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์, ก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย,เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล.. ( อนัตตลักขณสูตร)
ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา พระปัญจวัคคีย์ก็ได้จาริกไปบำเพ็ญศาสนกิจในถิ่นต่างๆ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะนั้น เป็นพระอสีติมหาสาวก ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้รัตตัญญูคือ "ผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศานาและได้บวชก่อนผู้อื่น
เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าสู่วัยชรามากแล้ว ท่านได้ทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ อยู่ที่นั่นได้ ๑๒ ปี จึงปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน
(พระอัญญาโกณฑัญญะได้เคยตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ
ว่าขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด
พระพุทธเจ้า ปทุมุตตระ ทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู
รวมทั้งพระปัญจวัคคีย์อีกสี่ท่านนี้มีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน)
ธรรมบรรยาย โดย พระมหาทองมั่น สุทธจิตโต
พระพุทธองค์ทรงตรัสอุปมาชีวิตมนุษย์ ทุกคนที่เกิดมาไว้ เจ็ด ประการ ดังนี้
๑.ชีวิตคนเรานั้น เหมือนกับหยาดน้ำค้าง เพราะว่าหยาดน้ำค้างที่ตกลงมาในตอนกลางคืนนั้นพอรุ่งเช้า ก็จะคงอยู่ได้ไม่นาน พอตะวันขึ้น แสงแดดส่องต้องหยาดน้ำค้าง หยาดน้ำค้างก็สลายหายไป ฉันใดชีวิตของคนเรานั้นก็เหมือนกัน เกิดมาแล้วมีชีวิตที่ไม่ยั่งยืน บางคนยังไม่ทันคลอดจากท้องแม่ ก็ตายก่อนในครรภ์มารดา บางคนคลอดแล้วได้ไม่นานก็ตาย แม้จะได้เติบโตขึ้นแต่ชีวิตของเรานี้ช่างสั้นนัก
๒.ชีวิตของคนเรานั้นเหมือนตอมน้ำ
ในเวลาที่ฝนตกลงมานั้น เม็ดฝนที่ตกลงมาถูกพื้นนั้นจะมีน้ำกระเด็นขึ้นมา จะมี ฟองน้ำ ตอมน้ำเกิดขึ้น ตอมน้ำนี้ตั้งอยู่อยู่ได้ไม่นานย่อมจางหายแตกสลายไป เช่นกันกับชีวิตของคนเราที่ จะดับสูญสิ้นสุดลงได้ทุกขณะอย่างไม่ทันได้ตั้งตัวเตรียมใจ เราจึงควรต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
๓.ชีวิตคนเรานั้นเหมือนรอยไม้ขีดลงในน้ำ
เมื่อใช้ไม้ขีดลงในน้ำ มีร่องรอยของไม้ที่ขีดลงเป็นช่องว่างได้ครู่เดียวเพียงชั่วพริบตา ร่องรอยนั้นก็เลือนหายไป ผืนน้ำกลับมาสนิทติดกันเหมือนดังเดิมไม่หลงเหลือร่องรอยขีดนั้นให้เห็นอีกต่อไป
๔.ชีวิตคนเรานั้นเหมือนลำธารอันไหลมาจากภูเขา
โดยเหตุผลว่า ลำธารหรือสายน้ำที่ไหลมาจากภูเขานั้นมีแต่จะไหลงลงเพียงอย่างเดียว ไม่มีการไหลคืนกลับ ชีวิตของคนเราก็เหมือนกัน เมื่อได้เกิดขึ้นมาแล้ว ก็มีแต่จะต้องแก่ เจ็บและตาย จากไปเพียงอย่างเดียว ที่จะได้คืนกลับมาเป็นหนุ่มเป็นสาว เหมือนดังเดิมได้ไม่มี เหมือนกับสายน้ำที่ไหลงลงมาจากภูเขาที่ไหลงลงได้อย่างเดียวไม่อาจไหลย้อนกลับได้ ฉันนั้นนั่นเอง
๕. ชีวิตคนเรานั้น เหมือนกับก้อนเขฬะในปากบุรุษ
มนุษย์สามารถที่จะถ่มก้อนเขฬะ หรือน้ำลายโดยง่ายฉันใด ชีวิตของคนเราก็ดับสูญ ไปได้ง่ายดายเช่นเดียวกันกับน้ำลาย
๖.ชีวิตคนเรานั้น เหมือนชิ้นเนื้อนาบไฟ
ชิ้นเนื้อด้านที่ปิ้งนาบไฟอยู่ ก็จะถูกนาบไฟอยู่เช่นนั้น หากไม่มีคนพลิกชิ้นเนื้อด้านนั้นกลับด้าน
เนื้อด้านนาบไฟก็มีแต่จะไหม้ไป ๆ จนกระทั่งถูกเผาไหม้หมด เหลือแต่ไม้เหล็กที่ใช้เสียบชิ้นเนื้อเพียงอย่างเดียว ชีวิตคนเราก็เหมือนกัน เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับสูญ ต้องแก่ ต้องเจ็บและต้องตาย เป็นของธรรมดา มีแต่จะสิ้นไปหมดไปเหมือนชิ้นเนื้อนาบไฟที่ถูกไฟเผาย่างเป็นประจำ
๗.ชีวิตคนเรานั้นเหมือนโคที่เขาจะฆ่าและนำไปสู่ที่ฆ่า
โคเมื่อถูกชี้ระบุตัวแล้วว่าเป็นโคตัวที่จะต้องเอาไปฆ่า ก็มีแต่ทางไปเพียงอย่างเดียวสู่ที่ตาย การที่จะมีโอกาส ถูกผู้คนมาขอไถ่ชีวิตรอดมานั้นเป็นของเป็นไปโดยยาก มีบ้างเหมือนกันแต่เกิดได้น้อยมาก ฉะนั้นเมื่อเขาจะเอาไปฆ่าแล้ว ก็ไม่มีการได้หันกลับมีแต่เดินหน้าไปสู่สถานที่ตายเพียงอย่างเดียว
ทรงตรัสอุปมาไว้เพื่อให้เราไม่ประมาทกับชีวิต ชีวิตนี้เป็นของน้อย ไม่ใช่ของมาก
โอกาสจะสร้างคุณงามความดีก็มีน้อย ก็ขอให้เพื่อนๆ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ว่าไว้โอกาสหน้าเถิด ขอให้เร่งสร้างแต่ในปัจจุบันวันนี้กันนะคะ