วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๔ ราชาปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลในจินตภาพของจิตรกรไทย
ขอขอบคุณภาพจาก www.gotoknow.org
พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ
ครั้งหนึ่งเมื่อเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้เข้ามาหมอบกราบแทบพระบาทพระพุทธองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
"มหาบพิตร มีอะไรหรือจึงแสดงความรักความเคารพตถาคตถึงเพียงนี้"
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เลื่อมใสในพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เลื่อมใสในพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ปฏิบัติดีแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ชาวสาวัตถี พระองค์ทรงกระทำให้มหาชนตั้งอยู่ในกุศล อยูาในความดี"
นอกจากนั้น พระเจ้าปเสนทืโกศลได้กราบทูลความเลื่อมใสในพระธรรม เทิดทูนในพระปัญญาอันยอดยิ่ง และความรักเคารพที่มีต่อพระพุทธองค์อีกหลายประการ ในที่สุดกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เท่ากับอายุของหม่อมฉันด้วยเหตุนี้แล หม่อมฉันจึงได้มีความรักเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงแสดงอาการฉันท์มิตรเช่นนี้"
ตรัสดังนั้นแล้วกราบทูลลาหลีกไป
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระพุุทธองค์มีรับสั่งกับพระภิกษุทั้งหลายว่า
"พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ตรัสธรรมเจดีย์ คือ พระวาจาเคารพธรรม เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์นี้ประกอบด้วยประโยขน์ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์"
พระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อมีโอกาสก็จะเสด็จมาเฝ้าเนือง ๆ เพราะความรักเคารพในพระพุทธองค์ ใคร่จะสนทนาด้วย บางครั้งพระพุทธองค์ทรงอนุเคราะห์พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นการส่วนพระองค์ เช่น ในโทณปากสูตร อสดงไว้ว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นเสวยจุ จึงทรงมีน้ำหนักมาก เวลาประทับนั่งก็ไม่สะดวก ประทับยืนก็ไม่คล่องแคล่ว เมื่อเสด็จมาเฝ้าก็มีอาการอึดอัด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า
" มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะ ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า และมีอายุยืน"
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้สติ ให้สุทัศนกุมาร พระนัดดาซึ่งตามเสด็จมาด้วยเรียนพระคาถานี้ไว้ เวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศลจะเสวยครั้งใด สุทัษนกุมารก็จะกล่าวพระคาถานี้ ทำใหเสวยแต่พอประมาณ ต่อมาปรากฎว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระวรกายกระปรี้กระเป่าคล่องแคล่วขึ้น ทรงระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ตรัสว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้งสองอย่าง คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะและสัมปรายิกัตถะ"
ยังมีบทสนทนาธรรมของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระพุทธเจ้าในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก อีกดังนี้
๑ พบพระพุทธเจ้าครั้งแรก
พระเจ้าปเสนทโกศลทรงสนพระทัยในเรื่องศาสนามาก ในสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิศาสนา ตั้งตนเป็นศาสดาสั่งสอนธรรมอยู่หลายท่าน ที่มีชื่อเสียงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ๖ ท่าน คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร ปกุธกัจจายนะ และอชิตเกสกัมพล ซึ่งมักจะรวมเรียกว่าศาสดาทั้ง ๖
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบกิตติศัพท์ (เสียงเล่าลือ) ดังกล่าวมีพระประสงค์จะพบพระอรหันต์ผู้ประกาศตนว่าเป็นพุทธะเป็นสัพพัญญู (ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง) จึงโปรดให้นิมนต์ศาสดาทั้ง ๖ ไปรับพระราชทานอาหารในพระราชวัง แล้วทรงตรัสถามตรงๆ ว่าท่านทั้งหลายสามารถปฏิญาณ (ยืนยัน) ได้หรือไม่ว่าเป็นพุทธะ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธญาณ ศาสดาทั้ง ๖ เกรงพระบรมเดชานุภาพของพระราชา คิดว่าถ้าหากทูลว่าตนเป็นพุทธะ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสถามธรรมที่ลึกซึ้งอันเป็นพุทธวิสัย จะไม่อาจทูลตอบได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะถูกลงโทษฐานหลอกลวงมหาชนว่าเป็นพุทธะจึงได้นิ่งเสีย ไม่มีผู้ใดกล้าปฏิญาณว่าตนเองเป็นพุทธะ เมื่อถูกถามซ้ำอีกไม่มีทางตอบบ่ายเบี่ยงเป็นอย่างอื่น จึงต้องยอมรับว่าพวกตนมิได้เป็นพุทธะ เป็นแต่คณาจารย์ธรรมดา คำที่เล่าลือกันว่าเป็นพุทธะนั้นเป็นเรื่องของสาวกบริวารที่ยกย่องกันเอง
เมื่อพระพุทธศาสนาตั้งมั่นในแคว้นมคธแล้วอีก ๒ ปีต่อมาก็ได้แผ่ไปถึงแคว้นโกศล มีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาบริจาคทรัพย์สร้างวัดในกรุงสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลหลายแห่ง เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารและนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม
คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน แล้วทูลถามว่าท่านพระโคดมทรงปฏิญาณได้หรือไม่ว่าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์ทรงปฏิญาณว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมแล้ว
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่าบรรพชิตเหล่าอื่น เช่น ศาสดาทั้ง ๖ เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าท่านเหล่านั้นปฏิญาณได้หรือไม่ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ไม่มีผู้ใดปฏิญาณสักคน ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีอายุมากแล้ว เป็นเจ้าลัทธิที่มหาชนยกย่อง ส่วนพระพุทธเจ้ายังทรงหนุ่มอยู่ ผนวชมาก็ไม่สู้นาน ไฉนพระองค์จึงกล้าปฏิญาณเล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนมหาบพิตร สิ่ง ๔ ประการ เหล่านี้ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย คือ
๑ .กษัตริย์ ไม่ควรดูหมิ่นว่าว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นว่ายังใหม่ต่อเพศบรรพชิต
ของ ๔ อย่างนี้ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อยไม่สำคัญ เพราะ
พระมหากษัตริย์ เมื่อได้เสวยราชสมบัติแล้ว เมื่อพิโรธย่อมทรงลงพระอาญาหนักแก่ชายหญิงได้
งู ที่บ้านหรือป่าก็ตามไม่พึงดูหมิ่นว่าตัวเล็ก เพราะงูเป็นสัตว์มีพิษ พร้อมที่จะฉกกัด ทำร้ายชายหญิงผู้เชลา เพราะฉะนั้นผู้พึงรักษาชีวิตตน พึงงดเว้นการดูหมิ่นว่างูนั้นตัวเล็ก
ไฟ แม้กองเล็ก แต่เมื่อได้เชื้อย่อมลุกเป็นกองใหญ่ ลามไหม้ชายหญิงผู้เขลาในบางคราว เพราะฉะนั้นผู้รักษาชีวิตตนพึงงดเว้นการดูหมิ่นไฟนั้นว่ากองเล็ก
ภิกษุใด ดูหมิ่นภิกษุผู้ยังใหม่ต่อเพศบรรพชิต แต่สูงด้วยคุณธรรม เดชแห่งศีลของภิกษุ ย่อมทำความพินาศแก่ผู้นั้น อีกทั้งทายาทจะไม่ได้รับทรัพย์มรดก บุคคลนั้นจะเป็นผู้ปราศจากเผ่าพันธุ์ เปรียบเสมือนตาลยอดด้วน เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต
พิจารณาเห็นกษัตริย์ผู้ทรงยศ งู ไฟ และภิกษุผู้มีศีล ว่าเป็นแก่ตน พึงประพฤติต่อสิ่งเหล่านั้นโดยชอบทีเดียว
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"ฃ้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงยกข้าพระองค์ซึ่งตกไปในอสัทธรรมไว้ในสัทธรรม เหมือนบุคคลที่หงายของที่คว่ำ ทรงเปิดพระศาสนาที่มิจฉาทิฏฐิปิดไว้ ทรงกระทำทางสวรรค์และนิพพานให้ชัดแจ้งแก่ข้าพระองค์ เมือนทรงบอกทางแก่ผู้หลงทาง ทรงชูดดวงประทีปคือพระธรรมเทศนาที่กำจัดความมืด คือ โมหะแก่ข้าพระองค์ ผู้ไม่เห็นพระรัตนตรัย เหมือนทรงส่องประทีปในความมืด ทรงประกาศธรรมแก่ข้าพระองค์โดยปริยายเป็นอันมาก ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรคมณ์จนตลอดชีวิต "
ภาพวาดพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าพบพระพุทธเจ้าครั้งที่สอง
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
๒ ทรงถวายภัตตาหารพระสงฆ์เป็นประจำ
เช้าวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับยืนอยู่ในปราสาทชั้นบนทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์จำนวนมากเดินไปตามถนน ทรงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน เมื่อราชบุรุษทูลว่าพระภิกษุเหล่านี้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีบ้าง ที่บ้านของนางวิสาขาบ้างเป็นประจำทุกวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงประราชศรัทธานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์เข้าไปรับภัตตาหารในพระราชวังติดต่อกัน ๗ วัน ในวันสุดท้ายขอนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป มารับบิณฑบาตเป็นประจำ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับภัตตาหารในที่แห่งเดียวเป็นประจำ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลขอให้พระพุทธเจ้ามอบหมายให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้แทนพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบหมายให้เป็นภาระของพระอานนท์
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเตรียมอาหารไว้ถวายพระภิกษุที่มารับบิณฑบาตวันละ ๕๐๐ รูป แต่ไม่ได้มอบหมายหน้าที่ให้ราชบุรุษผู้ใดเป็นผู้ตักบาตร ตามธรรมดาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระราชภาระมาก บางวันเสด็จมาทรงบาตรช้าไป บางวันก็ไม่สามารถมาได้ ครั้งหนึ่งทรงลืมติดต่อกันถึง ๓ วัน พระภิกษุที่มารับบิณฑบาตก็เริ่มระอา มาสู่ที่นิมนต์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่พระอานนท์รูปเดียวเท่านั้น ครั้นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระลึกขึ้นได้ เสด็จมาจะทรงบาตร ก็เห็นพระอานนท์อยู่รูปเดียว อาหารที่จัดไว้เหลืออยู่มากมาย จึงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ ทรงสดับว่าพระอานท์มารูปเดียวเท่านั้น ทรงพิโรธพระภิกษุว่ารับนิมนต์แล้วไม่มา จึงเสด็จไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงติเตียนภิกษุ แต่ทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า การที่สาวกของพระองค์ไม่เข้าไปรับบิณฑบาตในราชสำนักเพราะยังไม่มีความคุ้นเคย
๓. ทรงเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า
ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อเสด็จกลับไปแล้ว ทรงดำริว่าเราควรทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์จะทำอย่างไรดีหนอ ภิกษุสงฆ์จึงจะคุ้นเคยกับเรา ทรงดำริว่าถ้าเราอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงในตระกูลศากยะ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า ภิกษุสงฆ์ก็จะเกิดความคุนเคยกับเรา เพราะคิดว่าเราเป็นญาติของพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงส่งพระราชสาส์นไปขอธิดาของวงศ์ศากยะมาเพื่ออภิเษกเป็นพระมเหสี ปรากฏว่าทางศากยวงศ์ประชุมกันแล้วไม่เต็มใจที่จะถวาย แต่เนื่องด้วยเกรงพระราชอำนาจของพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงจำใจส่งเจ้าหญิงวาสภขัตติยา ธิดาของพระเจ้ามหานามะ ผู้เกิดจากนางทาสี (หญิงรับใช้ของพระเจ้ามหานามะ) ไปถวาย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัย อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ต่อมาพระนางวาสภขัตติยาประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง คือ วิฑูฑภะ ภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่าพระนางเป็นธิดาของนางทาสี ทรงกริ้วมาก รับสั่งให้ปลดพระนางวาสภขัตติยาจากตำแหน่งอัครมเหสีและวิฑูฑภจากตำแหน่งรัชทายาท และให้ริบเครื่องอิสริยยศที่เคยพระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยา และพระโอรส
ต่อมาอีก ๒-๓ วัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงทูลเรื่องนี้ ด้วยความน้อยพระทัยว่าพระญาติของพระพุทธเจ้าประทานลูกทาสีมาให้เป็นอัครมเหสี พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะไม่สมควรทำอย่างนี้ ธรรมดาเมื่อจะให้พระธิดาก็ควรให้พระธิดาที่มีพระชาติเสมอกัน"
เป็นการแสดงความเห็นใจ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงคลายความขุ่นพระทัยลงที่ทรงเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นฝ่ายเดียวกับพระองค์ไม่เข้าข้างฝ่ายพระญาติ เมื่อพระเจ้าปเสนิโกศลได้ระบายความน้อยพระทัย และได้รับความเห็นใจจากพระพุทธเจ้าที่ทรงยอมรับว่าพวกเจ้าศากยะทำไม่ถูก เป็นการแสดงอารมณ์ร่วมแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงชี้แจงต่อไปว่าพระนางวาสภขัตติยาเป็นราชธดาของกษัตริย์ ได้รับการอภิเษกในตระกูลของกษัตริย์ แม้วิฑูฑภะกุมารก็ถือกำเนิดจากกษัตริย์วงศ์ตระกูลฝ่ายมารดาไม่สำคัญ วงศ์ตระกูลฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยโบราณก็เคยพระราชทานตำแหน่งอัครมเหสีแก่หญิงผู้ยากจนมีอาชีพหาบฝืน และโอรสที่เกิดจากอัครมเหสีนั้นต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับพระโอวาทแล้วทรงเห็นจริงว่าวงศ์ตระกูลของบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ จึงโปรดให้คืนยศและตำแหน่งแก่พระนางวาสภขัตติยาและวิฑูฑภะพระโอรสดังเดิม
๔ ทรงถวายอสทิสทาน
ขอขอบคุณภาพจากwww.dmc.tv
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลปราศรัยถึงเรื่องต่าง ก่อนจะเสด็จกลับได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ในพระราชฐานและตรัสชวนประชาชนที่มาฟังธรรมในพระเชตวันมหาวิหารให้ไปร่วมอนุโมทนาทานนั้นด้วย เมื่อถึงเวลาพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ทรงทำภัตกิจที่ในวัง ชาวเมืองก็ไปร่วมอนุโมทนาด้วยมากมาย เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วชาวเมืองจึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้ากับภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น และทูลเชิญเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งอำมาตย์-ราชบริพารมาอนุโมทนาด้วย
พระเจ้าปเสนทิโกศลกับชาวเมืองผลัดกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ และเชิญอีกฝ่ายหนึ่งมาร่วมอนุโมทนาอย่างนี้ถึงฝ่ายละ ๖ ครั้ง ในครั้งแรก ๆ ก็เกิดด้วยศรัทธาปสาทะ แต่ครั้งหลัง ๆ กลายเป็นแข่งขันกันไปโดยไม่รู้ตัว ชาวเมืองพยายามหาของดีๆ ของแปลกๆ เช่น พืช ผัก และผลไม้ที่หายากมาถวาย พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงพยายามจัดหาของที่ดีและประณีตให้มีแปลกมีใหม่ แต่ก็สู้ชาวเมืองไม่ได้สักครั้ง เพราะชาวเมืองมีจำนวนมากร่วมกันถวายทีหลัง จึงสามารถจัดของถวายให้แปลกให้ดีกว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปริวิตกถึงเรื่องนี้จึงตรัสเล่าให้พระนางมัลลิกาเทวีทราบ
พระนางมัลลิกาเทวีทรงหาวิธีที่จะให้พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะชาวเมืองจึงจัดทานที่เรียกว่า "อสทิสทาน" แปลว่าทานที่หาผู้ทำเสมอมิได้ คือทานที่ไม่มีใครเหมือน พระนางมัลลิกาเทวีเป็นผู้ฉลาด แทนที่จะเอาชนะด้วยภัตตาหารที่แปลกที่ประณีตที่หายาก พระนางกลับเอาชนะด้วยพิธีการที่ยิ่งใหญ่จนชาวเมืองทำตามไม่ได้ คือ ให้ปลูกพระมณฑปใหญ่สำหรับเป็นที่ฉันภัตตาหารสำหรับพระ ๕๐๐ รูปที่กลางสนามหลวง ที่อาสนะสำหรับพระแต่ละรูป มีช้างยืนถือเศวตรฉัตรบูชาพระอยู่เบื้องบน และให้เจ้าหญิงแห่งราชตระกูลเป็นผู้ถวายภัตตาหาร ชาวเมืองไม่มีช้าง ไม่มีเศวตรฉัตร ไม่มีเจ้าหญิง จึงไม่อาจแข่งขันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ขอขอบคุณภาพจากpeonyice17.blogspot.com
๕. พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน..."
ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha11.html
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๓ พระเจ้าปเสนทิโกศล
ซากกำแพงเมืองสาวัตถี
ขอขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
เมืองสาวัตถี มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล
ในสมัยพุทธกาลเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการปกครองของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงบและรุ่งเรืองมาก
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า ๒๕ พรรษา
พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระนามเดิมว่า ปเสนทิ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหาโกศล กรุงสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล มีพระภคินีนามว่า เวเทหิ พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ กรุงตักศิลา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับกรุงสาวัตถีได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้หมู่ญาติมีพระชนก พระชนนีเป็นประธานได้ทอดพระเนตร ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล
ขอขอบคุณภาพจากpeonyice17.blogspot.com
เจ้าชายมีพระสหายอีก ๒ พระองค์ ที่เป็นศิษย์ร่วมรุ่นกัน คือ เจ้าชายมหาลิจากกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี และเจ้าชายพันธุละจากกรุงกุสินาราหนึ่งในเมืองหลวงของแคว้นมัลละ
เมื่อจบการศึกษาแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับมากรุงสาวัตถี และได้แสดงศิลปวิทยาให้พระชนกพระชนนีและพระประยูรญาติได้ทอดพระเนตรโดยทั่วหน้ากัน
ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล
ส่วนเจ้าชายพันธุละถูกคู่อริกลั่นแกล้ง แม้การแสดงศิลปวิทยาท่ามกลางพระประยูรญาติจะจบลงด้วยความพอใจของมหาสมาคม แต่เจ้าชายพันธุละทรงน้อยพระทัย จึงหนีออกจากเมืองกุสินารา มาขอถวายตัวเข้ารับราชการรับใช้พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ทรงดีพระทัยมาก จึงทรงแต่งตั้งให้พันธุละเป็นเสนาบดี
พระเจ้าปเสนทิโกศลเดิมทีนับถือศาสนานิครนถ์ (ศาสนาเชน) และเชื่อถือในการบูชายัญของพราหมณ์อีกด้วย เมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ยังไม่เลิกบูชายัญ และยังติดต่อกับพวกชีเปลือยเป็นต้นอยู่
เพราะว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระญาติกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ โดยพระนางเวเทหิอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระภคินีของพระองค์เอง (พระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งพระนางเวเทหิไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร และมอบเมืองในแคว้นกาสีให้พระเจ้าพิมพิสารเพื่อเป็นของขวัญ ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าพิมพิสาร)
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ
ชอขอบคุณภาพจาก prapirod.blogspot.com
ทำให้พระพุทธเจ้าสามารถมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีได้สะดวก เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมมีความเกรงใจในพระศาสดาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์เอง
ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระธรรมเทศนาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน และเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญองค์หนึ่ง โดยเป็นพระมหากษัตริย์ที่เกิดปีเดียวกันกับพระพุทธเจ้าและมีความรักเคารพและมีความสนิทสนมกับพระพุทธองค์มาก โดยทรงสร้างมหาสังฆารามถวายคือ ราชการามมหาวิหาร
ความสนิทสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระพุทธองค์นั้น ปรากฏในหลายเหตุการณ์เช่น ทรงเข้ามาจูบกอดพระบาทของพระพุทธเจ้า (ส่วนใหญ่เหตุการณ์เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน ธรรมเจดีย์สูตรโดยพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระสูตร แสดงถึงเหตุผลที่พระองค์ทรงรักและเคารพพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบกับลัทธิศาสนาอื่นไปด้วย)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธรรมเจติยสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
หรือตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวตักเตือนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่ากินจุเหมือนหมู ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสนิทสนมกับพระพุทธองค์ได้อย่างดี และถึงแม้พระเจ้าปเสนทิโกศลจะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ทว่าพระองค์ไม่ได้กีดกั้นผู้นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด และยังคงให้ความอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นเป็นอย่างดี
(ธัมมปทัฏฐกถา นาควรรควรรณนา๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล. อรรถกถาพระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[3]> (วิกิซอร์ซ). เข้าถึงเมื่อ 4-6-52)
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ
ครั้งหนึ่ง ขณะที่อยู่สำนักพระพุทธเจ้า พอดีเหล่าชีเปลือยเดินผ่านมาใกล้ ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลประคองอัญชลีประกาศว่า ขอนมัสการพระคุณเจ้าทั้งหลาย แล้วหันมาทูลพระพุทธเจ้าว่า สมณะเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติว่า
มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์ จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่ ต้องอยู่ด้วยกันนาน ๆ จะรู้ว่ามีความสะอาดหรือไม่ ด้วยการทำงาน (หรือเจรจา) จะรู้ว่ามีปัญญาหรือไม่ ด้วยการสนทนา จะรู้ว่ากำลังใจเข้มแข็งหรือไม่ ก็ต้องเมื่อตกอยู่ในอันตราย
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประกอบพิธีบูชายัญยิ่งใหญ่ มีการตระเตรียมฆ่าสัตว์อย่างละ ๗๐๐ ตัว เพราะสุบินได้ยินเสียงประหลาด บังเอิญว่าพระนางมัลลิกา พระมเหสีทรงทัดทาน การฆ่าสัตว์ครั้งมโหฬารจึงไม่เกิดขึ้นและเป็นผู้ชักจูงพระองค์เข้าสู่พระพุทธศาสนา
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา และให้ความสำคัญศาสนาต่าง ๆ ทัดเทียมกัน ต่อเมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาน้อมเอาพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น
พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้างโคตรในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์ ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่เองคือเหตุผลที่เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาที่สำคัญอันดับที่ ๒ รองจากเมืองราชคฤห์
ขอขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv
การเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นครั้งสุดท้าย
ในคราวที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ทีฑการายนะซึ่งเป็นหลานชายของพันธุละเสนาบดีที่ถูกฆ่าโดยไร้ความผิดให้รักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน
ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระพุทธองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญ ความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าวิฑูฑภะได้ถูกน้ำหลากพัดหายไปพร้อมกับกองทัพ หลังบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์และทำการกวาดล้างศากยะวงศ์จนหมดสิ้น เนื่องจากแค้นที่ถูกดูหมิ่น แคว้นโกศลก็ไร้ซึ่งรัชทายาทหรือผู้ที่จะมาเป็นพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงพระประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศล มีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ผนวกแคว้นโกศลและแคว้นสักกะเข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกันทำให้แคว้นมคธกว้างใหญ่ไพศาลตลอดมาจนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha11.html
วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๒ นครสาวัตถี ๒
สาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ปัจจุบันเหลือเพียงบริเวณซากกองอิฐ มูลดิน ก้อนหินบิ่นหักเรียงตั้งเป็นลักษณะเมืองเก่าที่ชาวบ้านเรียกกันว่า สาเหต-มาเหต หรือ สาเหฐ-มาเหฐ (Saheih-Maheih ) ในเขตจังหวัดบาห์ไรจ์ (Bahraich ) ห่างจากสถานี โคณฑา (Gonda) ๕๙ กิโลเมตร
จากการขุดสำรวจซากโบราณสถาน เซอร์ อเล็กซานเดอร์คันิ่งแฮม บริเวณที่เรียกว่า มาเหต ได้แก่ตััวเมืองสาวัตถี ส่วนสาเหตได้แก่บริเวณพระเชตวันมหาวิหาร โดยอาศัยหลักศิลาจารึกที่ว่าพระพุทธรูปองค์ที่ค้นพบ ณ ที่ตั้งของเมืองนี้ อยู่ทางด้านใต้ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ( ๓๒ เอเคอร์)
ชื่อสาเหต-มาเหต เรียกกันน้อยมาก และที่เรียกขานในภาษาสันสกฤตว่า ศราวัสตี (Srawasti ) ซึ่งบาลีที่เราใช้กันคืิอ สาวัตถี นั่นเอง
หลวงจีนถังซำจั๋ง เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เช้-โล-ฟา-ซิ-ตี้ เซอร์ อเล็กซานเดอร์คันนิ่งแฮม เป็นผู้มาสำรวจ นครสาวัตถีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ( ค.ศ. ๑๘๖๒ ) โดยอาศัยหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนกับหลวงจีนถังซำจั๋งเป็นหลัก ได้มีการขุดค้น ๒ ครั้ง ครั้งแรกได้ขุดพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง สูง ๗ ฟุตเศษ จารึกไว้ขัดเ้จนว่าสร้างที่เมืองสาวัตถี การขุดครั้งที่สอง ไม่พบอะไรที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
นายวินเซนต์ สมิธ มีความเห็นขัดแย้งว่า เมืองสาวัตถีน่าจะตั้งอยู่ในประเทศเนปาล แต่ก็ยุติข้อขัดแย้งได้เมื่อ เซอร์ จอห๋น มาร์แซล ทำการขุดในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ค.ศ ๑๙๐๙ ) พบเหรียญทองแดงมากมายซึ่งบ่งชัดว่า สาเหต-มาเหต คือเมืองสาวัตถี อย่างไม่ต้องสงสัย
ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิบายความหมายของอาณาจักรโกศลดังที่กล่าวไว้แล้ว อีกนัยหนึ่งที่เรียกว่าสาวัตถีนั้น เรียกชื่อตามฤาษี สาวัตถะ ซึ่งจำศีลอยู่ที่นั่น ท่านพุทธโฆษาจารย์ ยังได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ในคัมภีร์อรรถกถาปัญขสูทนีว่า สาวัตถี มาจากศัพท์ สัพพะ กับ อัตถะ แปลความว่า บรรดาสิ่งของทั้งปวงที่พึงปรารถนามีอยู่พร้อมแล้วที่นี่ ซึ่งมีเรื่องเดิมว่า มีเกวียนหมู่หนึ่งมาจอดพักที่นั่น ชาวบ้านจึงเข้าไปรุมล้อมถามว่า มีอะไรบ้าง ก็ได้รับคำตอบว่า สัพพะอัตถะ ดังกล่าวแล้ว แต่ในวิษณุปุราณะ กล่าวว่า กษัตริย์ผู้สืบสายจากอิกสวากุองค์หนึ่งชื่อ สารวัตถะ เป็นผู้ตั้งเมืองนี้ขึ้น
สาวัตถีมองภาพรวมเหมือนเมืองร้างทั่ว ๆ ไป เหลือเพียงซากกำแพงเมือง ที่ก่ออิฐถือปูนสูงใหญ่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ลักษณะรูปร่างเกือบคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีก เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๒ ไมล์ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือขนานไปกับแม่น้ำ อจิรวดี มีป้อมตั้งอยู่ทั้ง ๔ ทิศ และละป้อมสูงใหญ่ ป้อมทางตะวันตกสูงระหว่าง ๓๕- ๔๐ ฟุต รอบเมืองสาวัตถีมีคูเมืองขุดไปทะลุแม่น้ำอจิรวดี
เมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งมาถึง ยังเห็นกำแพงวังหลวงยาวประมาณ ๒๐ ลี้ หรือเกือบ ๔ ไมลฺ์ ท่านคงเห็นกำแพงเมืองเป็นกำแพงวัง แต่ท่านฟาเหียนจดไวั้สั้น ๆ ว่า เมืองนี้กำลังจะเป็นเมืืองร้าง มีคนอยู่ประมาณ ๒๐๐ ครัวเรือนเท่านั้น เมื่อพระถังซำจั๋งมาถึง บันทึกว่า มีแต่สิ่งปรักหักพัง มีคนเหลืออยู่ไม่มาก ปลูกผักเต็มไปหมด อากาศเย็นสบายดี ชาวบ้านมีนิสัยซื่อและใจดี เคร่งศาสนา มีนักบวชอยู่บ้าง
หลวงจีนฟาเหียนยังบันทึกว่า ในนครสาวัตถีนี้ มีสถูปที่สร้างขึ้น ณ ซากวิหารพระนางมหาปชาบดีองค์หนึ่ง ที่ซากบ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีอีกองค์หนึ่งกับที่ซึ่งองคุลิมาลสำเร็จพระอรหัตตผล อันเป็นที่เผาศพองคุลิมาลด้วยอีกองค์หนึ่ง พวกพราหมณ์ในเมืองนี้ริษยาอนุสรณ์ของพระพุทธศาสนาเหล่านี้และคิดจะทำลายส๔ูปเหล่านี้ให้หมด แต่ฟ้าลั่นและผ่าลงมาเสียก่อน พวกพราหมณ์จึงทำการไม่สำเร็จ สถูปที่กล่าวเหล่านี้ เมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งมาถึงที่นี้ยังเหลืออยู่ให้ทันเห็น
องคุลิมาลสถูป (ซากบ้านบิดาของพระองคุลีมาลซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล )
ขอขอบคุณภาพจากhttp://baanboontour.circlecamp.com
พระราชวังพระเจ้าปเสนทิโกศล บ้านท่่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บ้านปุโรหิตาจารย์ (บิดาขององคุลิมาล ) พระเชตวันมหาวิหาร และเจดีย์สถานที่อสดงยมกปาฏิหารย์ของพระพุทธองค์ ยังคงเหลือซากไว้ให้เราได้ไปปลงธรรมสังเวชเท่านั้น โดยเฉพาะวัด บุพพารามและโลหะปราสาทนั้น ไม่เหลือซากไว้ให้เห็น นัยว่าถูกแม่น้ำอจิรวดีพัดพังลงไปหมดแล้ว
บริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของวัดบุพพารามเมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว
ชอขอบคุณภาพจาก http://www.bangsaensook.com
แม่น้ำอจิรวดี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bodhigaya980.org
แม่น้ำอจิรวดี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bodhigaya980.org
แม่น้ำสายนี้เองที่เคยกลืนเอาชีวิตของพระเจ้าวิฑูฑภะและไพร่พลให้จมน้ำตาย หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพไปฆ่าฟันล้างโคตรพระเจ้าศากยะเสียสิ้น ด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น
และนางปฏาจารา ธิดาเศรษฐีแห่งนครสาวัตถี รักใคร่ลักลอบหนีไปกับคนใช้หนุ่มไปอยู่ในป่าใหญ่ ต้องพบความทุกข์ยากลำบากเลือแสนเพราะความยากแค้น จนคิดย้อนกลับมาหาบิดามารดา แต่ต้องพบกับความวิปโยคยิ่งกว่าเมื่อ ในระหว่างทางสามีถูกอสรพิษกัดถึงตาย ในขณะนางเพิ่งคลอดบุตรคนที่สอง นางพาลูกทั้งสองข้ามสายธารเชี่ยวกรากจากการที่ฝนตกหนักทั้งคืน ข้ามแม่น้ำอจิรวดีทีละคน วางลูกผูู้น้องแรกเกิดไว้ริมฝั่งแล้วย้อนกลับมารับลูกผู้พี่ แล้วลูกผู้น้องถูกกเหยี่ยวใหญ่คาบไปเป็นอาหาร ลูกผู้พี่ถูกสายน้ำอจิรวดีสายนี้กลืนกิน เมื่อเซซังถึงยังปราสาทตนแต่พบว่า ทั้งบิดามารดาและพี่ตายสิ้นเพราะฝนตกหนักจนปราสาทพังทลายกลืนกินชีวิตคนในปราสาทไปหมดสิ้น นางเสียใจกับจนเสียสติเดินละเมอเพ้อพกเข้าเขตวันพระเชตวันมหาวิหารด้วยร่างที่ไม่มีเสื้อผ้าห่มปิดร่างกาย ชนที่นั่งฟังธรรมต่างร้องกันเซ็งแช่ว่าคนบ้า คนบ้า
พระพุทธองค์ทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาจนนางได้สติกลับคืน เกิดหิริโอตปปะ ว่าตนเองมิได้นุ่งห่มเสื้อผ้า จนมีผู้นำมามาให้นางห่ม นางเข้าไปกราบทูลพระพุทธองค์ กราบทูลว่่า
ขอพระองค์จงทรางเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วยเถิด " เพราะว่าบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันเหยี่ยวได้เฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนถูกน้ำพัดพาไป สามีตายในระหว่างทาง มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนพังทับตายและถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธอค์ เมื่อสดับความในใจของนางปฏาจาราแล้วพระองค์จึงได้ตักเตือนให้เลิกคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย แล้วทรงแสดง อนมตัคคปริยายสูตร คือเรื่องสงสารไม่มีที่สิ้นสุด โดยนัยว่า "น้ำในมหาสมุทรทัั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของคนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้วเศร้าโศกมิใช่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไรเธอจึงประมาทอยู่เล่า ? "
ด้วยอมตวาจานี้จึงทำให้นางมีความเศร้าโศกอันเบาบางลง แล้วทรงแดงพระธรรมเทศนาอันส่งผลให้นางได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วขอบวชเป็นพระภิกษุณี ในไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เพราะพิจารณาสายน้ำที่ตักล้างเท้า ๓ สาย เปรียบได้กับการดับชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ ปฐมวัย มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย นางได้เป็นมหาสาวิกาองค์หนึ่ง ที่ได้รับยกย่องว่าเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย และได้ทำหน้าที่เป็นพระอุปีชฌาย์บวชให้ภิกษุณีอีกหลายรูป
แม่น้ำอจิรวดี ซึ่งบีดนี้ก็ยังไหลเรื่อยเอี่อยเป็นทางยาว แม้จะผ่านกาลเวลานั้นล่วงเลยมาแล้วกว่า ๒,๕๐๐ ปี
ขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=491332
เนื่องด้วยพระพุทธองค์ประทับที่เมืองสาวัตถีนานที่สุด จึงทำให้เป็นเมืองที่เกิดพระสูตรมากมาย เช่น มงคลสูตร ธรรมนิยามสูตร รวมไปถึงกาลามสูตร ที่ตรัสแสดง ณ เกสปุตตนิคม ก็อยู่ในอาณาเขตของแคว้นโกศลด้วย
ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสีที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายพระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิตเพราะเห็นแก่เป็นพระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมาก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลัยมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล
ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์ โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือเพื่อนำราชสมบัติคืน แต่พระองค์เสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ในเวลากลางคืน ช่วงนั้นเป็นเวลาปิดประตูเมืองไม่สามารถเข้าประตูเมืองได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตหน้าประตูเมืองในคืนนั้นเองเพราะทรงชราภาพมีพระชนม์มากถึง ๘๐ พรรษา และเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลแถมยังต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว นางสนมที่ได้ติดตามพระองค์ก็ร้องไห้ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไว้ถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่ยังไม่ทันที่จะยกทัพไปรบกับพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าอชาตศัตรูก็ได้ข่าวว่าพระเจ้าวิฑูฑภะกับกองทัพได้ถูกน้ำหลากพัดหายไป หลังจากบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะและทำการกวาดล้างศากยะวงศ์จนหมดสิ้น(โดยเฉพาะในกรุงกบิลพัสดุ์และเป็นต้นตระกูลของพระพุทธองค์)เนื่องจากแค้นที่ถูกพวกศากยะวงศ์ดูหมิ่นว่าตนเป็นลูกจัณฑาล
เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าวิฑูฑภะ สาวัตถีก็ขาดพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินีและเป็นพระภาคิไนยของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศลจึงมีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น จึงยกทัพไปบุกเข้ายึดเมืองสาวัตถีพร้อมกับแคว้นโกศลมาไว้ในอำนาจและผนวกแคว้นโกศลและแคว้นสักกะที่อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศลมาเข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกัน ทำให้เมืองสาวัตถีจึงสิ้นสุดความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล หลังจากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์และสุดท้ายที่เมืองปาฏลีบุตรในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น แต่วัดเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่ แต่ทว่าจนในที่สุดหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมืองสาวัตถีได้เสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างไปโดยสิ้นเชิงจนเหลือแต่ซากโบราณสถานในปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๑ นครสาวัตถี ๑
ขอขอบคุณภาพจากboard.palungjit.org
สาวัตถี (บาลี: Sāvatthī สาวัตถี; สันสกฤต: श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; อังกฤษ: Sravasti)
สาวัตถี คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ๑ ใน แคว้นมหาอำนาจใน ๑๖ มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ
ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ขอขอบคุณภาพจากboard.palungjit.org
เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง ๒๕ พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น
วัดเชตวันมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก
http://baanboontour.circlecamp.com
สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง ๑๙ พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธ
ชื่อของเมืองมาจากชื่อของฤๅษีชื่อ สวัตถะ หรืออีกนัยหนึ่งเมืองสาวัตถีมาจากคำภาษาบาลีที่แปลว่า มีสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพียบพร้อมทุกอย่าง หรือจากตำนานที่ว่าเมื่อพ่อค้ามาที่เมืองนี้มักถูกถามว่ามีข้าวของอะไรมาขายบ้าง ซึ่งคำว่าทุกอย่างมาจากภาษาบาลีว่า "สพฺพํ อตฺถิ" ซึ่ง สพฺพํ แปลว่า ทุกอย่าง หรือมาจากภาษาสันสกฤตว่า สรฺวํ อสฺติ จึงกลายมาเป็นชื่อเมืองนี้ว่า สาวัตถี หรือศราวัสตี
เมืองสาวัตถีมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการปกครองของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงบและรุ่งเรืองมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า ๒๕ พรรษา
กำแพงเมืองสาวัตถีโบราณยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานคงเหลืออยู่มากมาย เช่น
ซากบ้านของบิดาพระองคุลีมาล, ซากคฤหาสถ์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี, และวัดเก่าแก่ที่สร้างอุทิศแก่ พระติรธังกร (ศาสดาองค์แรกของศาสนาเชน)
บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถียังมีสถานที่สำคัญเช่น ซากยมกปาฏิหาริย์สถูป (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์) และวัดเชตวันมหาวิหาร (พระอารามที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษามากที่สุดในพุทธกาล) ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือศาสนาพุทธมาสร้างไว้ ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ศรีลังกา พม่า ธิเบตและจีน
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๕๐ อาณาจักรโกศลในปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=09-2012&date=12&group=4&gblog=172
จากลุมพินีวันแดนประสูติมุ่งสู่อาณาจักรโกศลในฝั่งของประเทศอินดีย ถ้าผ่านด่านประเทศเนปาลแล้วจะไปเมืองส่าวัตถึเพียง ๑๗๒ ไมล์ ( ๒๕๐ กิโลเมตร) ใช้เวลารถวิ่งประมาณ ๖-๗ ชั่วโมง (ด้วยอัตราความเร็วพื้นฐานของการชับรถทั่วไปของประเทศอินเดีย)
โดยไปตั้งหลักที่โครักชปุร์หรือที่นิยมก็วิ่งเลียบชายแดนประเทศเนปาลออกไปทางเมืองกบิลพัสดุ์ใหม่ก็ได้ ในระหว่างทางรถจะตัดเข้าเขตคามนิคม หมู่บ้าน ชุมชน ผู้สัญจรจะได้ศึกษาภารตวิทยา บ้านที่ฉาบด้วยโคมัยสด ชีวิตเท้าติดดินหัวภวิลถึงฟ้า ฝูงแพะ แร้ง กา วัว ควายมีให้ชมเป็นสวนสัตว์เปิด ตัดผ่านท้องทุ่ง ข่้าวสาลีเขียวชอุ่มทอดรวงยาว ยามต้องสายลมโยกโยนไปมา ดอกผักกาดระดาษเหลืองอร่าม ระบายสีแผ่นดินให้งดงาม กองมูลโคแห้งทั้งแท่งทั้งแผ่นวางไว้ข้างทาง ตลาดร้านรวงยึดถนนหลวงเป็นที่ค้าขาย หมู่ผู้ชายนุ่งโคธี เหล่าสตรีห่มส่าหรี ออกจ่ายตลาดตอนเย็น เป็นภาพชีวิตที่มีให้เห็นตลอดเส้นทางนี้
แคว้นโกศลมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าอูธ (Oudh) ชื่อนี้เลือนมาจากคำว่าอโยธยา ( Ayodhya ) อันเป็นชื่อเมืองสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย ในฐานะเป็นเมืองหลวงดั้งเดิมของแคว้น และเป็นเมืองของพระรามตามคัมภัร์ รามายณะหรือเรื่องรามเกียรตื์ อโยธยาจึงมีความสำคัญ กล่าวต่อมาชื่อเมืืองอโยธยาเลยเรียกกันเป็นชื่อแคว้นด้วย เมืองอโยธยายังมีอยู่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า อูธ บ้าง และอวัธ บ้าง
นครสาวัตถีเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโกศล เป็น ๑ ใน ๖ ของเมืองมหาอำนาจ มีความรุ่งเรืองมากในมหาชนบท ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป ซึ่งมีกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองบัลลังก์แห่งอาณาจักรโกศล มีความยิ่งใหญ่ไม้ปพ้พระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ หรือกษัตริย์วงศ์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี
ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสี แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ ก็อยู่ภายใต้อำนาจความคุ้มครองของแคว้นโกศล
เพราะเมืองสาวัตถีเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร ที่มีความพร้อมด้วยแสนยานุภาพ ทั้งในแผ่นดินก็อุดมด้วยธัญพืช พระพุทธองค์จึงทรงปักหลักประกาศพระพุทธศาสนาอยู่ ณ เมืองสาวัตถึ รวม ๒๕ พรรษา
โดยเสด็จประทับที่พระอารามเชตวันมหาวิหาร ๑๙ พรรษา และที่พระวิหารบุพพาราม ๖ พรรษา
จะเห็นได้ในธรรมนิทานทางพระพุทฑศาสนา จะเป็นชาดก อรรถกถา วรรณคดีสายบาลี ที่จะไม่เอ่ยถึงเมืองสาวัตถีเลย เห็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
ตามตำนานกล่าวว่า อาณาจักรโกศลมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน แต่ไม่มีวัดในพระพุทธศาสนามากเท่าอาณาจักรมคธ พระบรมศาสดาเสด็จมาประทับในแคว้นโกศลตอนปลายพระชนม์ชีพถึง ๒๕ พรรษา จนกระทั่งเห็นความล่มจมของกรุงกบิลพัสดุ์และศากยวงศ์แล้ว จึงเส็จออกจากเมืองสาวัตถึไปปรินิพพานที่นครกุสินารา
ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายความหมายของอาณาจักรโกศลไว้ในสุมังคลวิลาสินีอรรถกถาว่า
โกศลเป็นคำเดียวกับกุศล แปลว่าสุขสมบูรณ์ หรือสบายดี และได้เล่าเรื่องเจ้าชายมหาปนาทไม่ยิ้ม พระบิดาทรงเป็นทุกข์ ป่าวร้องว่าใครทำให้เจ้าชายยิ้มได้จะให้รางวัล พระอินทร์ส่งคนมาช่วยทำให้เจ้าชายยิ้มได้ ใคร ๆ ก็แสดงความยินดีต่อคนเก่งคนนั้น ด้วยการทักทายว่าสบายดีหรือ เขาก็ต้องตอบว่า กุศล กุศล จนคำนี้กลายเป็นชื่อเมืองโกศล ในที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๙ แคว้นโกศล
แคว้นโกศล หรือ โกสละ
แคว้นโกศล ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง ทิศเหนือจดภูเขาหิมาลัยตะวันตก ทิศใต้จดแม่น้ำคงคา ทิศตะวันออกจดแคว้นกาสีต่อกับแคว้นมคธ นครหลวงชื่อสาวัถี (ปัจจุบันเป็นดินแดนราวเมืองอโยธยา หรือ โอธ บัดนี้เรียกว่า สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำอจิรวดีหรือรับดิ ห่างจากเมืองโอธไปทางทิศเหนือราว ๘๐ กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ห่างจากเขตแดนประเทศเนปาลราว ๕๐ กิโลเมตรแคว้นโกศลคือ อุตรประเทศในปัจจุบัน)
แคว้นโกศล อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นมคธ โดยมีแคว้นกาสีคั่นอยู่ในระหว่าง ดังนั้นเขตของแคว้นโกศลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จึงติดกับแคว้นกาสี ทางตะวันตกติดกับแคว้นปัญจาละ ทางเหนือติดเทือกเขาหิมาลัย ทางตะวันออก ดูตามที่ตั้งของแคว้นต่าง ๆ จะเห็นว่าติดกับแคว้นมัลละ และต่อจากมัลละไปก็เป็นแคว้นวัชชี แต่มีบางตำรากล่าวว่า ติดกับเขตของวิเทหะ ซึ่งในสมัยพุทธกาลรวมอยู่ในแคว้นวัชชี
เมืองหลวงของแคว้นโกศลในพุทธสมัยคือ สาวัตถีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล
แคว้นโกศล มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อูธ ชื่อนี้เลือนมาจากคำว่า อโยธยา อันเป็นชื่อเมืองสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย ในฐานะ เป็นเมืองหลวงดั้งเดิมของแคว้นและเป็นเมืองของพระรามตามคัมภีร์รามายณะ หรือเรื่องรามเกียรติ์ อโยธยามีความสำคัญดังกล่าว ต่อ ๆ มาชื่อเมืองเลยเรียกกันเป็นชื่อแคว้นด้วย เมืองอโยธยา ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า อโยธยาบ้าง ว่าอูธบ้าง และว่าอวัธบ้าง
แคว้นโกศล หรืออูธดังกล่าวนี้ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ หรือรัฐเหนือของอินเดียประมาณอย่างคร่าว ๆ ได้แก่พื้นที่เริ่มแต่จังหวัดลัคเนาว์ เมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบันขยายออกทางเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือเรื่อยไปจนจดเขตประเทศเนปาล แล้วเลยเข้าไปในเนปาลจนถึงเทือกเขาหิมาลัย
รายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของแคว้น ในสมัยพุทธกาล ไม่มีบอกไว้โดยแน่ชัดที่บอกไว้บ้างก็ขัดแย้งกัน ความเห็นของผู้รู้ ส่วนมากขณะนี้ว่า ทางตะวันออกถึงลำน้ำคัณฑักน้อย ซึ่งลงความเห็นกันว่าได้แก่ แม่น้ำหิรัญวดีในพุทธสมัย ทิศตะวันตก ถึงแม่น้ำโคมตี หรือคุมตี ทิศใต้ จดแม่น้ำไซ หรือซาอี ซึ่งเรียกในสมัยก่อนว่าสุนทริกาบ้าง สยันทิกาบ้าง ส่วนทางเหนือ ก็เลยเขตอินเดียในปัจจุบันเข้าไปในเนปาล จนถึงเทือกเขาหิมาลัยดังกล่าวแล้ว
เทือกเขาหิมาลัยที่เนปาล
ขอขอบคุณภาพจากtravel.thaiza.com
สาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศลในพุทธสมัย ปัจจุบันได้แก่ซากซึ่งเรียกว่าสาเหตและมาเหต หรือสาเหฐ และมาเหฐ ที่เขตติดต่อของจังหวัดบหราอิจ และจังหวัดโคณฑา หรือคอนดา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดลัคเนาว์ ห่างจากตัวจังหวัดบหราอิจ ๔๖ กิโลเมตร (๒๙ ไมล์) จากโคณฑา ๕๙ กิโลเมตร(๓๗ไมล์) และห่างจากพลรามปูร์ ของจังหวัดโคณฑาอันเป็นชุมทางรถยนต์และรถไฟที่ใกล้ที่สุด ไปทางตะวันตก ๑๖ กิโลเมตร หรือ ๑๐ ไมล์ได้มีการขุดค้นสำรวจ และได้พบหลักฐานบ่งให้ทราบแน่ชัดว่า ซากซึ่งเรียกว่า สาเหต คือ พระเชตวันมหาวิหาร วัดซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในพุทธสมัย และที่เรียกมาเหต ให้แก่ ตัวเมืองสาวัตถี ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ซากตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งทิศใต้ ของแม่น้ำ ราปติ อันได้แก่แม่น้ำอจิรวดีในพุทธสมัย
ซากประตูเมืองสาวัตถี
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ซากพระเชตวันตั้งอยู่ทางใต้ของตัวเมือง ห่างจากเขตกำแพงเมืองตอนใกล้ที่สุดราว ๑ กิโลเมตรหรือประมาณครึ่งไมล์ ซากของสาเหตหรือ พระเชตวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ (๓๒ เคอร์) ได้มีการขุดค้นสำรวจพบซากกุฏิ วิหาร สถูปเจดีย์ และเสนาสนะสงฆ์อื่น ๆ แล้วมากมาย ส่วนที่มาเหตหรือตัวเมืองสาวัตถี ซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวางมากกว่ามากนั้น การขุดค้นสำรวจยังทำได้ไม่มากนักบริเวณซึ่งรวมเรียกว่า สาเหตมาเหต ครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวาง ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตโคณฑา อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเขตของบหราอิจ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตบหรากิจปัจจุบันชื่อ สาเหตมาเหต เรียกกันน้อยลง โดยมานิยมเรียกกันในชื่อว่า ศราวัสตีอันเป็นชื่อสันสกฤตของชื่อบาลีว่า สาวัตถี ที่เราใช้เรียกกัน
ซากพุทธสถานในวัดเชตวันมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสีในสมัยนั้นก็ขึ้นกับแคว้นโกศล มีหลักฐานมากแห่งทั้งทางฝ่ายพุทธและอื่น ๆ แสดงว่าแคว้นสักกะแห่งกษัตริย์ศากยวงศ์ของพระพุทธองค์ ก็อยู่ภายใต้อำนาจ หรือความคุ้มครองของแคว้นโกศล นครหลวงสาวัตถีของแคว้นโกศล เกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับพระพุทธองค์ และการพระศาสนาในสมัยนั้น พระพุทธองค์ ประทับจำพรรษาที่สาวัตถีรวม ๒๕ พรรษา โดยเสด็จประทับที่พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ พรรษา และที่บุพพาราม ๖ พรรษา
พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระนางมัลลิกาอัครมเหสี ทรงมีส่วนอย่างมากในการประกาศคำสอนของพระพุทธองค์ที่สาวัตถีนี้ พระพุทธองค์ทรงได้บุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญที่สุด ในฝ่ายอุบาสกและอุบาสิกา คืออนาถบิณฑิกะเศรษฐีมหาอุบาสก และนางวิสาขามหาอุบาสิกา
นางวืสาขา
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.kunkroo.com
ท่านทั้งสองได้บริจาคทรัพย์จำนวนมหาศาลสร้างพระเชตวันมหาวิหารและบุพพารามโดยลำดับ ถวายแด่พระพุทธองค์เพื่อเป็นสังฆารามในพระพุทธศาสนา ทั้งยังได้ถวายอุปถัมภ์แก่พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ในด้านอื่น ๆ อีกนานัปการ ปรากฏเป็นเกียรติเด่นอยู่ในประวัติของพระศาสนาตราบจนกระทั่งปัจจุบัน พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้สร้างวัดถวายแด่พระพุทธองค์วัดหนึ่ง ชื่อ วัดราชการามโดยพระพุทธองค์เสด็จจำพรรษา ณ สาวัตถี รวมถึง ๒๕ พรรษา จากจำนวนทั้งหมด ๔๕ พรรษา ของระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น ณ สาวัตถี ขณะที่พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธองค์ด้วย จึงมีอยู่เป็นอันมาก ยกเว้นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปเสนทิโกศล เกี่ยวกับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และนางวิสาขาแล้ว
เรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีก็มีอีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เรื่องพระองคุลิมาล เรื่องปฏาจาราเถรี เรื่องนางกาลียักขินีเรื่องนางจิญจมาณวิกา เรื่องนางสีกาโคตมีเถรี เรื่องนางมัลลิกา เรื่องการถวายอสทิสทาน เรื่องพันธุละเสนาบดี และนางมัลลิกาภรรยา เรื่องพระเจ้าวิฑูฑพภะ เรื่องพระนางวาสภขัตติยา เรื่องพระพุทธองค์ทรงปฏิบัติพระภิกษุไข้ เรื่องพราหมณ์จูเฬกสาฏก เรื่องพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ พระสุบินนิมิต ๑๖ ประการ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เรื่องทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ และเรื่องพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ
พระสูตรต่าง ๆ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงขณะประทับอยู่ ณ สาวัตถีมีมากมายสุดที่จะนับได้ เฉพาะบางสูตรซึ่งรู้จักกันดีหรือได้ยินชื่อบ่อย ๆ มีอาทิเช่น มงคลสูตร ธชัคคสูตร ทสธัมมสูตร สาณียธัมมสูตร อหิราชสูตร เมตตานิสังสสูตรคิริมานนทสูตร ธัมมนิยามสูตร อปัณณกสูตร อนุตตริยสูตร พลสูตร มัคควิภังคสูตรโลกธัมมสูตร ทสนาถกรณธัมมสูตร อัคคัปปสาทสูตร ปธานสูตร อินทรยสูตร อริยธนสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร ทั้งหมดทรงแสดง ณ พระเชตวันมหาวิหาร
สิ้นรัชสมัยของพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจของแคว้นโกศลเริ่มลดถอยลงถึงรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นสำนักที่ใหญ่โตและรุ่งเรือง เมื่อหลวงจีนฟาเหียนมาสาวัตถี (ประมาณระหว่างปี พ.ศ. ๙๔๔ ถึง๙๕๓) ตัวเมืองอยู่ในสภาพที่ถูกทิ้งร้าง แต่พระเชตวันยังคงเป็นสำนักสำคัญอยู่
เมื่อหลวงจีนฮวนฉางหรือถังซัมจั๋งมา (ประมาณระหว่างปี พ.ศ. ๑๑๗๓ ถึง ๑๑๘๖)เมืองคงเป็นเมืองร้าง และพระเชตวันก็ร้าง แต่จากการขุดค้นสำรวจในยุคหลังนี้ได้พบหลักฐานแสดงชัดว่า พระเชตวันได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นใหม่ ภายหลังจากการมาของหลวงจีนฮวนฉางไม่นาน และจากนั้นก็ได้เป็นสำนักสำคัญของพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งเรื่อยมา จวบกระทั่งมาถึงคราวสิ้นอายุในระยะเดียวกันกับสารนาถ หรืออิสิปตนะมฤคทายวัน ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นเมืองและสถานที่อื่น ๆ ในแคว้นโกศล ซึ่งมีชื่อปรากฏในพระคัมภีร์ และมีเรื่องเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เมืองสาเกต เมืองอโยชฌา หรืออโยธยา เมืองเสตัพยา เมืองเกสปุตตะของชาวกาลามะ หมู่บ้านอิจฉานังคละ และป่าอันธวันใกล้สาวัตถีเป็นต้น
เมืองสาเกต เป็นเมืองที่อยู่ของธนัญชยะเศรษฐีบิดาของนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของแคว้นโกศล และจัดเป็น ๑ ใน ๖ นครใหญ่ของของชมพูทวีปสมัยนั้น ดังได้กล่าวข้างต้นมีกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า อยู่ห่างจากสาวัตถี ๖โยชน์ แต่บางแห่งก็บอกว่า ๗ โยชน์ พระพุทธองค์เคยเสด็จเมืองนี้หลายครั้ง รวมทั้งพระสาวกผู้ใหญ่อีกมากท่าน ที่ได้มาเยี่ยมเมืองนี้
อโยชฌา หรือ อโยธยา ความในพระคัมภีร์แสดงว่าเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่งพระพุทธองค์เคยเสด็จเมืองนี้อย่างน้อยสองครั้ง ครั้งหนึ่งได้ทรงแสดง เผณสูตรและอีกครั้งหนึ่งทรงแสดง ทารุกขันธสูตร
ในสมัยของหลวงจีนฟาเหียน และหลวงจีนถังซัมจั๋ง อโยธยาเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาผู้รู้ในปัจจุบันยังมีความเห็นขัดแย้งกัน เกี่ยวกับที่ว่าเมืองซึ่งเรียกชื่อในคัมภีร์บาลีว่า อโยชฌา เป็นเมืองเดียวกันหรือต่างเมืองกับ อโยธยา ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของฝ่ายฮินดูดังได้กล่าวข้างต้นและกับที่ว่า เมืองสาเกต กับอโยธยา เป็นเมืองเดียวหรือต่างเมืองกัน หากอโยชฌาในคัมภีร์บาลีเป็นเมืองเดียวกันกับอโยธยาของทางฮินดู ดังกล่าว เมืองนี้ก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน โดยส่วนหนึ่งติดต่อกันกับเมืองไฟซาบาด ซึ่งเป็นจุดแห่งความเจริญใหม่ และเป็นที่ตั้งที่ทำการของจังหวัดชื่อเดียวกันคัมภีร์ทางเชนและฮินดูส่วนมาก กล่าวแสดงให้เข้าใจว่า สาเกตกับอโยธยาเป็นเมืองเดียวกัน ผู้รู้ปัจจุบันบางท่านเห็นด้วยกับการที่กล่าวนี้ แต่ก็มีหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย โดยให้น้ำหนักแก่ ข้อที่เมืองทั้งสองมีชื่อกล่าวถึงในคัมภีร์บาลีในลักษณะเป็นคนละเมือง ฝ่ายหลังนี้สันนิษฐานว่า เมืองสาเกตได้แก่ซากที่ สุชานโกฏิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำไช ในเขตจังหวัดอุเนา ของรัฐอุตตรประเทศห่างจาก ตัวเมืองอุเนา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๕๔ กิโลเมตร หรือ ๓๔ ไมล์ ขณะนี้ ยังไม่มีการขุดค้นสำรวจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.vichadham.com/buddha/city16.html
วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๘ แคว้นกุรุ
แคว้นกุรุ
แคว้นกุรุ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นปัญจาละ ทางเหนือของแคว้นสุรเสนะและตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นมัจฉะ
พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นในสมัยพุทธกาลคือ พระเจ้าโกรัพยะ เทียบกับปัจจุบันแคว้นกุรุได้แก่เขตของเดลี นครหลวงของอินเดียขณะนี้ กับเขตใกล้เคียงอื่น ๆ คือจังหวัดมีรัต ของรัฐอุตตรประเทศ และพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป ที่รวมเรียกว่ากุรุเกษตร หรือฐาเนศวระ อันได้แก่เขตของโสนะปัต ปานีปัต และกรนาล ของรัฐหรยานะ
ในปัจจุบันเมืองหลวงของแคว้นกุรุในพุทธสมัย คือ อินทปัฏฐ์ หรือ อินทปัตถ์ หรือ อินทปัถะ
ปัจจุบันได้แก่หมู่บ้านอินทรปัต ในเขตจังหวัดเดลี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา ห่างจากกรุงเดลีออกไปทางใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร หรือ ๒ ไมล์
แคว้นกุรุสมัยพุทธกาล ไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดุมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่ในธรรม ฉลาด และมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวว่า นี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะ มีข้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก เช่น มหานิทานสูตร และมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ
พระพุทธองค์เคยเสด็จแคว้นกุรุหลายครั้ง และปรากฏว่า นิคมชื่อกัมมาสธัมมะหรือ กัมมาสทัมมะ เป็นที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับมากที่สุด พระสูตรสำคัญทั้งสองสูตรที่กล่าวถึง ก็ทรงแสดงที่กัมมาสธัมมะนี้
พระนางมาคันทิยา มเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าอุเทนแห่งโกสัมพี เป็นบุตรพราหมณ์มาคันทิยะแห่งกัมมาสธัมมะนี้
พระสาวกผู้ใหญ่ของพระพุทธองค์ท่านหนึ่ง คือ พระรัฏฐปาละ ผู้ซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะหรือ เป็นยอดของภิกษุ ผู้ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นบุตรผู้มีสกุลแห่ง นิคมถุลลโกฏฐิตะ แคว้นกุรุนี้ ประวัติกล่าวว่า ท่านได้แสดงธรรมเรื่องธรรมุทเทศสี่ แก่พระเจ้าโกรัพยะ แห่งแคว้นกุรุ จนพระเจ้าโกรัพยะ ทรงพอพระทัยและเลื่อมใสอย่างมาก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammathai.org/buddha/g42.php
แคว้นกุรุในสมัยพุทธกาลไม่มีความสำคัญทางด้านการเมืองมากนัก แต่ก็เป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนพลเมืองมีสุขภาพอนามัยดี ใฝ่่ในธรรม ฉลาดและมีความคิดลึกซึ้ง กล่าวกันว่านี่เป็นเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยธรรมะมีข้อความลึกซึ้งเข้าใจยากเช่นมหานิทานสูตรและมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น แก่พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์แห่งแคว้นกุรุ
โดยกล่าวว่าประชาชนภายใต้การนำของมันธาดา ได้พากัยอพยพมาจากอุตรกุรุ และตั้งรกรากลงในชมพูทวีป ดินแดนที่คนเหล่านี้มาตั้งรกรากอยู่เรียกว่า กุรุ ส่วนมันธาดานั้นภายหลังได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแห่งชมพูทวีป คัมภีร์มหาภารตะก็ได้กล่าวถึงกุรุเช่นกันและกล่าวว่าทักขิณากุรุกับอุตตรกุรุได้พยายามแข่งขันกันทั้งในด้านที่เกี่ยวกับความรุ่งเรือง ความสำคัญ ความก้าวหน้าและความถูกต้อง
อาจเป็นได้ว่าในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นั้น อาณาจักรกุรุไม่ค่อยมีความสำคัญทางการเมืองมากนัก แต่ตามที่ปรากฎในชาดกนั้น กุรุเป็นราชอาณาจักรที่มีอำนาจมากอาณาจักรหนึ่งสมัยก่อนพุทธกาล
มหาสุตดสมชาดกกล่าวว่าอาณาจักกุรุมีความกว้างวัดได้ ๓๐๐ ลีก ส่วนนครหลวงที่มีนามว่านครอินทปัต นั้นกว้าง ๗ ลีก
แต่คัมภีร์ทีวยานทานกล่าวว่า นครหลวงของแคว้นมีนามว่านี้มีนามว่าหัสดินาปุระ ราชวงศ์ที่ครองราชยืในกรุงอินทปัตสืบสายมาจากยุธิฏฐืลโคต (คือราชวงศ์ยุธิษฐิระ)
มีชาดกหลายเรื่องที่ออกนามพระเจ้าธนัญชัยดกรัพยะว่าเป็นพระราชาปกครองประเทศกุรุ
คัมภีร์มหาภารตะกล่าวว่า อาณาจักกุรุซึ่งมีอาณาเขตตั้งแต่นครสาวัตถีจนจดแม่น้ำคงคานั้น ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ สามส่วนด้วยกันคือกุรุชชังคละ (ส่วนที่เป็นป่า) กุรุกลางและกุรุเกษตร ตำบลต่าง ๆ ในเวลาที่เคยเป็นอาณาจักรกุรุในอดีตได้แก่ โสเนปัต อมินเถอรนาน และปนิปัต
หากไปนครเดลี ( Delhi ) ในปัจจุบัน บริเวณ Greater Kailas ซึ่งอยูห่างไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นบริเวณที่เชื่อกันว่าในอดีต คือ กัมมาสทัมมะนิคม เป็นส่วนหนึ่งของชนบทแห่งแคว้นกุรุ ที่พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นฐานอสดงธรรมแก่นักธุรกิจ พ่อค้า นักการเมือง และประชาชนชาวกุรุ
กัมมาสทัมมะ เป็นชื่อเมืองที่ไม่ใหญ่นักเมืองหนึ่งในอาณาจักรกุรุ พระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาเมืองนี้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยพักแรมคืนที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง โดยประทับบรรทมเหนืออาสนะหญ้าที่พราหมณ์เจ้าของโรงไฟปูลาดถวาย มาคันทิยสูตรแห่งมัชฌิมนิกายได้บันทึกไว้ว่า
ในโอกาสที่ประทับแรมอยู่ในโรงบูชาไฟแห่งนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงสนทนาตอบโต้กับพราหมณ์ชาวกุรุคนหนึ่งมีชื่อว่า มาคันทิยะ เป็นเวลานาน
ในที่สุดพระพุทธองค์ก็สามารถทำให้พราหมณ์มาคันทิยะกลับมานับถือพระพุทธศาสนา พระสูตรที่สำคัญ ๆ หลายพระสูตร เช่นยมหานิทานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร (สองสูตรนี้อยู่ในคัมภีร์ทีฆนิกาย) และ อานัญชสัปปายสูตร (แห่งมัชฌิมนืกาย) พระพุทธองค์ได้ทรงอสดงที่เมืองกัมมาสทัมมะนี้ ในสังยุตตนิกายและอังคุตตรนิกาย ก็มีพระสูตรหลายพระสูตรที่พระองค์ทรงแสดงที่กัมมาสทัมมะ เช่นกัน
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า ประชาชนชาวกุรุเป็นผู้มีสติอปัญญา และอาหารของชาวเมืองนี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดี อาหารที่มีคุณภาพดีมีส่วนช่วยทำให้ชาวกัมมาสทัมมะเป็นคนเฉลียวฉลาด มหาสุตโสมชาดกและชยัททิสชาดกกล่าวว่ามีสถานที่สองตำบลที่มีชื่อเดียวกัน แต่เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองตำบลนี้จึงเรียกว่าจุลกัมมาสทัมมะตำบลหนึ่ง และ มหากัมมาสทัมมะตำบลหนึ่ง
กัมมาสทัมมะเป็นนิวาสถานของภิกษุณีสองรูป คือนันทุตตราภิกษุณี และนิตตกาลิกาภิกษุณี
ในคัมภีร์ทิวายาวทาน เรียกตำบลดังกล่าวว่า กัลมาสทัมยะ
กัมมาสทัมมะนิคม ได้แก่บริเวณเขาไกรลาศทางเดลีใต้ ไม่ห่างกันนักกับวัดดอกบัวของบาร์ฮาย เขตที่เคยเป็นภูเขาถูกล้อมไว้เป็นสัดส่วน ทางรัฐบาลสงวนไว้เป็นโบราณสถาน ซึ่งมีจารึกที่ก้อนหินตัดให้เรียบบนภูเขานั้น ว่ากัรว่าเป็นอักษรพราหมีที่ใช้กันในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงมีผู้มาแวะเวียนมานมัสการทำกิจทางศาสนาเพื่อน้อมระลึกว่า ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาตเจ้าเคยมาประทับตรัสแสดงพระธรรรมเทศนาในมหาสติปัฏฐานสูตร ณ ที่แห่งนี้
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการดูแลไม่ทั่วถึง ปล่อยให้ชาวบ้านข้างเคียงบริเวณนั้นมาทิ้งขยะของเสียและถ่ายไว้ไม่เป็นที่เป็นทางทำให้สกปรก
พระรัฏฐปาลเถระ
ท่านเป็นบุตรของรัฎฐปาลเศรษฐี ซึ่งเป็นหัวหน้าประชาชนชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แห่งแคว้นกุรุ
ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จจาริกบรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ประชาชนเป็นอันมากมาฟังพระธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใส รัฏฐปาละ เกิดความเลื่อมใสใคร่จะบวชจึงไปเฝ้ากราบทูลขอบรรพชา ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงบวชบวชกุลบุตรที่บิดามาดาไม่อนุญาต จึงกราบทูลลากลับไปขออนุญาตจากบิกามารดา ซึ่งบิดามารดาไม่อนุญาต จึงอดอาหารโดยคิดว่าถ้าไม่ได้บวขก็ขอบอมตาย มารดาบิดาจึงคิดว่า
"ถ้าไม่ได้บวชบุตรตนจักตาย จะมีประโยขน์อะไร ถ้าเขาบวชจักได้เห็นเ้ขาตามเวลาอันสมควร ถ้าเขาเบื่อหน่ายก็จะกลับมาเอง"
บิดามารดาจึงยอมอนุญาตให้บวชได้ รัฏฐปาละดีใจอยู่บริโภคอาหารพอให้ร่างกายมีกำลัง แล้วไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลขอบวช ครั้ยบวชแล้วประมาณกึ่งเดือนตามเสด็จไปเมืองสาวัตถี ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญสมณธรรม ก็ได้สำเร็จอรหัตผล แล้วถวายบังคมลากลับไปยังถุลลโกฏฐิตนิคม พักอยูที่มิคจิรวัน พระราชอุทยานแห่งพระเจ้าโกรัพยะ กษัตริย์แห่งแคว้นกุรุ
ในตอนเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านบิดามารดา ท่า่นทั้งสองได้อ้อนวอนให้ลาสิกขา แต่ท่านรัฏฐปาลเถระไม่ปรารถนา เมื่อฉันเสร็จแล้วอนุโมทนาแล้วกลับมิคจิรวัน พระเจ้าโกรัพยะเสด็จประพาสพระราชอุทยานทอดพระเนตรเห็นทรงจำได้ ตรัสปราศรัยแล้วทรงถามว่า
"ท่านผู้เจริญ คนบางจำพวกประสบความเสื่อม ๔ อย่าง คือ
๑ .แก่เฒ่าชรา ๒ . เข็บป่วย ๓.สิ้นสมบัติ ๔.ไร้ญาติ จึงออกบวช " "ส่วนท่านมีความเห็นอย่างไรจึงออกบวช"
พระรัฏฐปาลเถระกล่าวว่า " มหาบพิตร อาตมาได้ฟังธัมมุทเทส ๔ ข้อคือ
๑ .โลกคือหมู่สัตว์ถูกชรานำไปไม่ยั่งยืน
๒.โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
๓.โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้อลละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
๔ .โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป้นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
ดังนี้จึงออกบวช"
พระเจ้าโกรัพยะทรงเลื่อมใสและอนุโมทนา ท่านรัฎฐปาลเถระ พักอยู่ในนิคมนี้พอสมควร จึงกลับมายังสำนักพระบรมศาสดา ภายหลังท่านได้รับยกย่องว่า"เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชด้วยศรัทธา" ท่านดำรงเบญจขีนธ์ตามกาลอันสมควรก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี ( ว.ป. วีรยุทฺโธ)
พลอยโพยมต้องขออภัยที่นำเสนอข้อมูลตามต้นฉบับเดิม โดยไม่นำข้อมูลดิบนั้นมาผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากเกรงข้อความจะผิดเพี้ยนไปจากการรวบรวมข้อมูลของตนเอง ทั้งนี้รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับสู่แดนพระพุทธองค์บทต่อ ๆ ไปด้วย ท่านที่ประสงค์จะนำข้อมูลไปใช้ต่อ กรุณารวบรวมเองใหม่
อีกทั้งยังมีเรื่องราว ของมหาภารตะยุทธ์ ที่น่าสนใจ เพราะเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก อันเป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้
รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ )
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ภาพเขียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
คงมีสักวันที่พลอยโพยมจะมีโอกาสนำเสนอเรื่องราวนี้ในโอกาสอันควรกว่านี้
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สูแดนพระพุทธองค์ ๔๗ แคว้นอวันตี
แคว้นอวันตี หรือแคว้นมาลวะ ตั้งอยู่เหนือภูเขาวินธัย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอัสสกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ นครหลวงชื่ออุชเชนี (บัดนี้คือเมืองอุเทนในประเทศอินเดีย)
แคว้นอวันตี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเทือกเขาวินธัยหรือวินธยะ ทางใต้ของแคว้นมัจฉะ และทางตะวันตกของแคว้นวังสะ
เทือกเขาวินธัยถือเป็นแดนกำหนดเขตที่เรียกกันว่า อินเดียตอนเหนือของอินเดียตอนใต้
ผู้รู้ในปัจจุบันทั่วไปมีความเห็นว่า เขตของมัชฌิมประเทศแห่งชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล ด้านทิศใต้คงแค่จดเทือกเขาวินธัย แล้วเริ่มจากฟากเขาด้านทิศใต้เป็นต้นไป ก็เป็นปัจจันตชนบท แคว้นอัสสกะตั้งอยู่ใต้เทือกเขาวินธัยลงไป จึงจัดว่าอยู่นอกเขตมัชฌิมประเทศ
เขตของแคว้นอวันตีเองก็มีส่วนหนึ่งที่นับเข้าในปัจจันตชนบทเทียบกับปัจจุบัน เขตของแคว้นอวันตี กล่าวอย่างคร่าว ๆ ได้แก่ อาณาเขตในบริเวณจังหวัดอุชเชน หรืออุซไชน์ นิมาร์ตะวันตก นิมาร์ตะวันออก อินโดร์ และวิทิศา รวมกับอาณาเขตใกล้เคียงด้วยทั้งหมดอยู่ในรัฐมัธยประเทศ ซึ่งมีโภปาลเป็นเมืองหลวงจากหลักฐานที่มีปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธและอื่น ๆ
แคว้นอวันตีในสมัยพุทธกาลคงจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเป็นอวันตีเหนือ ซึ่งมีอุชเชนี เป็นเมืองหลวง กับอวันตีใต้ หรือ อวันติทักขิณาปถะ ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อมาหิสสติ หรือมาหิศมตี อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงแคว้นอวันตี ปกติก็เป็นที่เข้าใจกันว่า มีเมืองหลวงหรือราชธานีอยู่ที่อุชเชนี และมีพระเจ้าจัณฑปัชโชตเป็นพระราชาผู้ครองแคว้น
อุชเชนี ปัจจุบันได้แก่เมืองอุชเชน หรืออุชไชน์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสิปรา ส่วนมาหิสสตินั้น กล่าวว่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาหรือ นรมทา
แต่ยังไม่มีความเห็นลงกันแน่นอนเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองอวันติทักขิณาปถะ
ความในบาลีจัมมักขันธกะ แห่งมหาวรรควินัยปิฎก แสดงว่า อยู่ในเขตซึ่งจัดเป็นปัจจันตชนบทพระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุที่อวันติทักขิณาปถะนี้ ตามคำกราบบังคมทูลของพระมหากัจจายนะ ผ่านพระโสณะกุฏิกัณณะจึงได้มีพระพุทธานุญาตผ่อนปรนข้อปฏิบัติบางอย่างเกี่ยวกับพระวินัย ให้แก่ภิกษุผู้อยู่ในปัจจันตชนบท อาทิเช่น ให้สงฆ์ปัญจวรรคคือมีจำนวนภิกษุ ๕ รูป ให้อุปสมบทแก่กุลบุตรได้
ซึ่งในมัชฌิมประเทศสงฆ์ทศวรรค คือมีจำนวนภิกษุ ๑๐ รูปจึงจะสามารถทำกรรมนั้นได้
ในสมัยพุทธกาล อวันตีเป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองยิ่งอาณาจักรหนึ่ง พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งมาก พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ และต่อมากับพระเจ้าอุเทนแห่งแคว้นวังสะหรือกรุงโกสัมพีเกี่ยวกับการศาสนา
พระพุทธศาสนาได้แผ่มายังแคว้นอวันตี และถึงความเป็นปึกแผ่นมั่นคงตั้งแต่ในสมัยของพระพุทธองค์
มีกล่าวไว้ว่า ภายหลังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ และทรงแสดงธรรมแก่ประชุมชน และธรรมที่ทรงแสดงนั้นบริสุทธิ์แท้จริง ให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามเป็นธรรมมีเหตุผล ซึ่งผู้สดับสามารถนำไปปฏิบัติให้เห็นจริงได้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงสดับข่าวนั้น ทรงมีพระราชประสงค์จะใคร่เชิญเสด็จพระพุทธองค์ ไปประกาศพระศาสนาที่กรุงอุชเชนี จึงได้ตรัสสั่งปุโรหิตของพระองค์ชื่อ กัจจานะ หรือกัจจายนะให้ไปเชิญเสด็จ
กัจจายนะปุโรหิตทูลลาบวชด้วยครั้นแล้วได้ออกเดินทางพร้อมกับบริวาร ๗ คน ไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทั้งหมดสดับพระธรรมเทศนาแล้ว บรรลุพระอรหัตผล และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุพุทธสาวก
หลังจากนั้นท่านพระมหากัจจายนะได้ทูลเชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต
พระบรมศาสดาตรัสให้กลับไปเอง โดยรับสั่งว่า เมื่อท่านไปแล้วพระเจ้าแผ่นดินจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะถวายบังคมลา กลับไปกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร ประกาศพระพุทธศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต และประชาชนเลื่อมใสยอมรับนับถือ จนมีผู้ออกบวชในพระศาสนาเป็นจำนวนมาก
พระพุทธศาสนาจึงตั้งมั่นเป็นปึกแผ่นในแคว้นอวันตีเริ่มแต่นั้นมาท่านพระมหากัจจยนะ เป็นพระสาวกขั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเอตทัคคะ หรือเป็นยอดแห่งภิกษุผู้มีความสามารถอธิบายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร ผลงานเพื่อพระศาสนาของท่าน นอกจากที่ได้แสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและประชาชนชาวอวันตีเลื่อมใส ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นอวันตีเป็นผลสำเร็จอย่างน่าชื่นชมดังกล่าวแล้ว
ท่านยังได้แสดงธรรมแก่พระเจ้ามธุราชอวันตีบุตร แห่งกรุงมธุราหรือมถุราดังได้กล่าวถึงแล้ว ในเรื่องของแคว้นสุรเสนะ จนพระเจ้ามธุรราช ทรงมีความเลื่อมใสยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาตามด้วยประชาชนชาวแคว้นอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในแคว้นนี้อีก
พระเจ้าอัสสกะแห่งกรุงโปตลิกับพระราชกุมาร สดับธรรมเทศนาของท่านแล้วมีความเลื่อมใสประกาศพระองค์เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ผลงานของท่านนอกจากที่กล่าวนี้ยังมีอีกมาก ท่านเป็นพระสาวกซึ่งได้รับยกย่องอย่างยิ่งสูงยิ่งองค์หนึ่ง
ราวพุทธศักราช ๒๐๐ แคว้นอวันตีได้ถูกรวมเข้าในมหาอาณาจักรเมารยันแห่งปาฏลิบุตรหรือแคว้นมคธ เข้าใจกันว่าในรัชสมัยของ พระเจ้าพินทุสาร พระราชบิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช ก่อนได้ราชสบัติสืบต่อจากพระราชบิดา
พระเจ้าอโศกได้มาเป็นอุปราช ปกครองแคว้นอวันตีอยู่ที่อุชเชนี ในการเสด็จจากกรุงปาฏลีบุตรมายังอุชเชนี เมื่อเสด็จกถึงวิทิศาอันเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอวันตีทรงได้พระชายาองค์แรก คือพระนางเทวี ผู้ซึ่งตำนานกล่าวว่า เป็นเชื้อสายแห่งกษัตริย์ศากยวงศ์ที่หนีภัยจากการทำลายล้างของพระเจ้าวิฑูฑพภะ มาอยู่ที่วิทิศาพระมหินทเถระพระนางสังฆมิตตาเถรี ผู้นำพระพุทธศาสนาไปประกาศในลังกาทวีป ซึ่งทราบกันดีว่า เป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นประสูติแต่พระนางเทวีนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
ซึ่งตามมติของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่า ทรงครองราชย์เมื่อพุทธศักราช ๒๑๘ และทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลา ๔๐ ปีการพระศาสนาในแคว้นนี้เจริญรุ่งเรืองมาก แคว้นนี้เป็นที่ตั้งแห่งสถูปเจดีย์จำนวนมาก เช่น พระสถูปสาญจี อันเป็นปชนียวัตถุที่สำคัญและมีชื่อเสียงยิ่งแห่งหนึ่งในปัจจุบันนี้ เป็นต้น
กลุ่มพระที่เป็นชาวแคว้นอวันตีโดยกำเนิด มี ๒ รูป คือ พระมหากัจจายนะ และพระโสณกุฏิกัณณะ แต่ละรูปมีประวัติที่น่าศึกษา ดังนี้
พระโสณกุฏิกัณณะ ครั้นบรรลุอรหัตผลแล้ว มีความประสงค์จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล จึงบอกพระมหากัจจายนะผู้เป็นอุปัชฌาย์ให้ทราบ
พระอุปัชฌาย์ได้มอบหมายให้ท่านทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงผ่อนผันพระวินัย ๕ ข้อ ท่านทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดียิ่ง กล่าวคือ พระพุทธเจ้าทรงผ่อนผันให้พระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบทปฏิบัติได้ตามที่พระมหากัจจายนะทูลขอดังกล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับพระที่จำพรรษาอยู่ในปัจจันตชนบท
คราวที่เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าทรงต้อนรับท่านด้วยดี ทรงอนุญาตให้ท่านพักค้างคืนในพระคันธกุฏีของพระองค์ ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ท่านได้แสดงสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรค ได้อย่างไพเราะ ไม่ผิดทั้งสระและพยัญชนะ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสชมท่าน ท่านอยู่กับพระพุทธเจ้า เป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ทูลลากลับแคว้นอวันตี
ต่อมาโยมมารดาของท่านทราบว่า ท่านแสดงธรรมถวายพระพุทธเจ้า จึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ตนฟังบ้าง ขณะโยมมารดากำลังฟังธรรมอยู่นั้น โจรก๊กหนึ่งจำนวน ๙๐๐ คน ได้เข้าปล้นบ้าน ขนข้าวของมีค่าจำนวนมากไป ขณะที่โจรขนของไปเป็นระยะๆนั้น มีคนใช้มารายงานให้โยมมารดาของท่านทราบอยู่ตลอดเวลา นางหาได้หวาดวิตกแต่อย่างใดไม่ ยังคงตั้งใจฟังธรรม พร้อมบอกอนุญาตให้โจรขนของออกไป ขอเพียงอย่ามารบกวนการฟังธรรมเท่านั้น
หัวหน้าโจรทราบเรื่องราวทั้งหมดของนางจากคนใช้แล้วรู้สึกประหลาดใจ ขณะเดียวกันก็นึกได้ว่า ตนเองทำไม่ถูกที่มาประทุษร้ายคนที่ไม่ประทุษร้าย และรู้สึกเกรงกลัวผลของความชั่วขึ้นมาทันที เขาบอกบริวารให้ขนของกลับ
และเมื่อการฟังธรรมสิ้นสุดลง หัวหน้าโจรก็เข้าไปหาโยมมารดาของท่าน ขอโทษแล้วก็ขอล้างบาปด้วยการขอบวชเป็นสัทธิวิหาริกของพระโสณกุฏิกัณณะ ท่านได้บวชให้โจรเหล่านั้นตามความประสงค์ สัทธิวิหาริกของท่านทุกรูปได้บรรลุอรหัตผลเสมอเหมือนกัน เพราะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา
พระมหากัจจายนะ วนเวียนจำพรรษาอยู่ในแคว้นอวันตีและแคว้นสุรเสนะ ซึ่งอยู่ใกล้กับแคว้นอวันตี คราวหนึ่งมีผู้คนจำนวนมากเข้ามาหาท่านขณะจำพรรษาอยู่ที่ป่าคุนธาวัน เมืองมธุรา แคว้นสุรเสนะ พราหมณ์กัณฑรายณะเข้าไปสนทนาด้วย แล้วกล่าว หาว่าท่านไม่มีสามีจิกรรม คือไม่ยอมไหว้ ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า ท่านได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องคนแก่หนุ่มไว้ว่า
คนอายุ ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี ถ้ายังเสพกามอยู่ ก็ยังนับว่าเป็นคนหนุ่มสาวอยู่ แต่คนหนุ่มแม้จะอยู่ในวัยแรกรุ่น ถ้าไม่เสพกาม ก็นับว่าเป็นคนแก่ได้ พราหมณ์กัณฑรายณะ ฟังแล้วเกิดความซาบซึ้ง จึงก้มกราบท่านแล้วประกาศตนนับถือพระรัตนตรัย
อีกคราวหนึ่ง ที่เมืองมธุราเช่นกัน พระเจ้ามธุรราชได้เข้าไปสนทนากับท่าน เรื่องการถือตัวของคนวรรณะพราหมณ์ ที่ถือตัวว่าประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม
พระมหากัจจายนะได้กล่าวถึงความไม่มีอะไรที่แตกต่างกันของคนทุกวรรณะ(ทุกชั้น) ดังนี้
๑. คนวรรณะใดเป็นผู้มั่งคั่ง คนวรรณะเดียวกันและวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นพวกของคนวรรณะนั้น
๒. คนวรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เมื่อตายแล้วคนวรรณะนั้นย่อมไปเกิดในอบายเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
๓. คนวรรณะใดทำการปล้นสดมภ์ เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น คนวรรณะนั้นต้องไดัรับโทษราชอาญาเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
๔. คนวรรณะใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม คนวรรณะนั้นย่อมได้รับการนับถือ การบำรุง และการคุ้มครองเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
พระเจ้ามธุรราชทรงฟังแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใส ถึงขั้นประกาศนับถือพระมหากัจจายนะเป็นสรณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ และทูลพระเจ้ามธุรราชให้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
พระเจ้ามธุรราชทรงทำตามที่ท่านแนะนำ แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรู้สึกเสียดายที่มาพบพระพุทธศาสนา หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระโสณกุฏิกัณณะ ไม่มีกล่าวถึงบั้นปลายชีวิตของท่านไว้ แต่ก็สันนิษฐานว่า ท่านคงอยู่ที่แคว้นอวันตีนั้นเอง และส่วนใหญ่คงจำพรรษาอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ เมืองกุรรฆระ อันเป็นชาติภูมิของท่านเอง จนกระทั่งนิพพาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2554 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ
http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152705
วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๖ แคว้นวังสะ
แคว้นวังสะ
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.indiaindream.com
แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำยมุนา ทิศใต้ของแคว้นโกศล และทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี นครหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา (ปัจจุบันนครโกสัมพี เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าโกสัมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอัลลาฮาบัด)
แคว้นวังสะ แคว้นวังสะ หรือวัตสะ ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นโกศล และทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ให้ชัดเจน
ในสมัยพุทธกาลแคว้นวังสะเป็นราชอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือพระเจ้าอุเทน
เทียบกับปัจจุบัน แคว้นวังสะ ได้แก่เขตจังหวัดอัลลฮาบาด ของรัฐอุตตรประเทศและบริเวณใกล้เคียง
แคว้นวังสะมีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net
ปัจจุบันได้แก่ตำบลหรือหมู่บ้านโกสัม ในเขตจังหวัดอัลลฮาบาด ห่างจากตัวเมืองอัลลฮาบาดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๙ กิโลเมตร หรือ ๓๗ ไมล์
ได้มีการขุดค้นสำรวจ และได้หลักฐานเป็นที่แน่นอนแล้ว ซากกำแพงเมืองก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่การขุดค้นสำรวจซึ่งได้ทำแล้ว ณ บางจุด รวมทั้งจุดซึ่งเข้าใจเป็นวัดโฆสิตารามด้วย ได้พบโบราณวัตถุต่างชนิดรวมทั้งพระพุทธรูปมากมาย ส่วนใหญ่เวลานี้รักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองอัลลฮาบาด
เสาอโศกที่กรุงโกสัมพี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.gotoknow.org/posts/30117
โกสัมพีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองใหญ่และเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างแคว้นที่สำคัญแห่งหนึ่ง พระอานนท์ระบุว่าเป็นเมืองหนึ่งซึ่งควรเป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.gotoknow.org/posts/30117
วัดที่โกสัมพีในพุทธสมัยมีปรากฏชื่อ ๔ วัด คือวัดโฆสิตาราม วัดกุกกุฏาราม วัดปาวาริการาม หรือปาวาวิกัมพวัน ซึ่งเศรษฐีแห่งโกสัมพี ๓ คน คือเศรษฐีโฆสกะหรือโฆสิตะ เศรษฐีกุกกุฏะ และเศรษฐีปาวาริกะโดยลำดับ สร้างถวายแด่พระพุทธองค์ ในโอกาสเดียวกัน กับวัดที่ ๔ คือวัดพัทริการาม ซึ่งดูว่าจะอยู่ห่างออกไปเล็กน้อย
ปรากฏตามพระคัมภีร์ว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จประทับ ณ วัดทั้งสี่นี้บ่อย ๆ และบางโอกาสได้ประทับอยู่นาน ได้ทรงแสดงพระสูตรต่าง ๆ ณ วัดทั้งสี่นี้เป็นจำนวนมาก ทรงบัญญัติสิกขาบทรวมหลายสิขาบท รวมทั้งที่ห้ามภิกษุดื่มสุราด้วยพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ ๙ ณ โกสัมพีนี้
ขอขอบคุณภาพจากwww.watprokfa.com
ในปีพรรษาที่ ๑๐ พระสงฆ์ที่วัดโฆสิตารามทะเลาะกัน และแตกออกเป็นสองพวกแม้พระพุทธองค์จะได้เสด็จมาตักเตือนห้ามปราม และทรงขอให้กลับสามัคคีกัน ก็ยังไม่ทำตามพระพุทธโอวาท พระพุทธองค์ทรงมีความระอาต่อการณ์ดังกล่าวจึงได้เสด็จไปประทับจำพรรษาอยู่แต่พระองค์เดียว ที่รักขิตวันแห่งป่าปาริไลยกะ ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จ ต่อไปยังสาวัตถี พระที่ทะเลาะกันรู้สำนึกความผิด และคืนดีกันได้ภายในพรรษา ออกพรรษาแล้วจึงได้พร้อมใจกันไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ สาวัตถี เพื่อกราบทูลขอโทษ
ขอขอบคุณภาพจาก chuabode.wordpress.com
ที่โฆสิตารามนี้ พระฉันนะ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าแก่ของพระพุทธองค์ ประพฤติตนเป็นคนดื้อด้านว่ายาก ไม่ยอมฟังคำตักเตือนของผู้ใด ก่อนจะเสด็จปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสบอกท่านพระอานนท์ว่า ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะคือไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าตักเตือน และเกี่ยวข้องอะไรด้วยทั้งสิ้น เสร็จสังคายนาครั้งที่หนึ่งแล้ว โดยฉันทานุมัติจากที่ประชุมสงฆ์ ท่านพระอานนท์ พร้อมด้วยบริวารได้เดินทางจากราชคฤห์มายังโฆสิตาราม เพื่อ ประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระฉันนะได้สำนึก ประพฤติตนดี และเอาใจใส่ในการบำเพ็ญเพียร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.palungjit.org
นอกจากที่กล่าวแล้วนี้ เรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ณ โกสัมพี ที่ทราบกันแพร่หลายที่มีเล่าในอรรถกถา ธรรมบทก็มีเรื่องโฆสกะเศรษฐี เรื่องพระพากุละหรือพักกุละเรื่องพระปิณโฑลภารทวาชะ และเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระนางสามาวดีพระนางมาคันทิยา และพระนางวาสุลทัตตาเป็นต้นตามความที่ปรากฏในเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระมเหสีทั้งสามที่โกสัมพีนี้ พระพุทธองค์ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่าง ๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสียแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น แล้วตรัสพระพุทธภาษิตอันถือกันว่า เป็นธรรมะสอนใจอย่างดียิ่ง เรื่องละเอียดมีใน สามาวดีวัตถุ แห่งอรรถกถาธรรมบท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vichadham.com/buddha/city16.html
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.indiaindream.com
แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของลำน้ำยมุนา ทิศใต้ของแคว้นโกศล และทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี นครหลวงชื่อโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา (ปัจจุบันนครโกสัมพี เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าโกสัมอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอัลลาฮาบัด)
แคว้นวังสะ แคว้นวังสะ หรือวัตสะ ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นโกศล และทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ให้ชัดเจน
ในสมัยพุทธกาลแคว้นวังสะเป็นราชอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือพระเจ้าอุเทน
เทียบกับปัจจุบัน แคว้นวังสะ ได้แก่เขตจังหวัดอัลลฮาบาด ของรัฐอุตตรประเทศและบริเวณใกล้เคียง
แคว้นวังสะมีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา
ขอขอบคุณภาพจาก www.oknation.net
ปัจจุบันได้แก่ตำบลหรือหมู่บ้านโกสัม ในเขตจังหวัดอัลลฮาบาด ห่างจากตัวเมืองอัลลฮาบาดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๙ กิโลเมตร หรือ ๓๗ ไมล์
ได้มีการขุดค้นสำรวจ และได้หลักฐานเป็นที่แน่นอนแล้ว ซากกำแพงเมืองก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่การขุดค้นสำรวจซึ่งได้ทำแล้ว ณ บางจุด รวมทั้งจุดซึ่งเข้าใจเป็นวัดโฆสิตารามด้วย ได้พบโบราณวัตถุต่างชนิดรวมทั้งพระพุทธรูปมากมาย ส่วนใหญ่เวลานี้รักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองอัลลฮาบาด
เสาอโศกที่กรุงโกสัมพี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.gotoknow.org/posts/30117
โกสัมพีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองใหญ่และเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างแคว้นที่สำคัญแห่งหนึ่ง พระอานนท์ระบุว่าเป็นเมืองหนึ่งซึ่งควรเป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.gotoknow.org/posts/30117
วัดที่โกสัมพีในพุทธสมัยมีปรากฏชื่อ ๔ วัด คือวัดโฆสิตาราม วัดกุกกุฏาราม วัดปาวาริการาม หรือปาวาวิกัมพวัน ซึ่งเศรษฐีแห่งโกสัมพี ๓ คน คือเศรษฐีโฆสกะหรือโฆสิตะ เศรษฐีกุกกุฏะ และเศรษฐีปาวาริกะโดยลำดับ สร้างถวายแด่พระพุทธองค์ ในโอกาสเดียวกัน กับวัดที่ ๔ คือวัดพัทริการาม ซึ่งดูว่าจะอยู่ห่างออกไปเล็กน้อย
ปรากฏตามพระคัมภีร์ว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จประทับ ณ วัดทั้งสี่นี้บ่อย ๆ และบางโอกาสได้ประทับอยู่นาน ได้ทรงแสดงพระสูตรต่าง ๆ ณ วัดทั้งสี่นี้เป็นจำนวนมาก ทรงบัญญัติสิกขาบทรวมหลายสิขาบท รวมทั้งที่ห้ามภิกษุดื่มสุราด้วยพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ ๙ ณ โกสัมพีนี้
ขอขอบคุณภาพจากwww.watprokfa.com
ในปีพรรษาที่ ๑๐ พระสงฆ์ที่วัดโฆสิตารามทะเลาะกัน และแตกออกเป็นสองพวกแม้พระพุทธองค์จะได้เสด็จมาตักเตือนห้ามปราม และทรงขอให้กลับสามัคคีกัน ก็ยังไม่ทำตามพระพุทธโอวาท พระพุทธองค์ทรงมีความระอาต่อการณ์ดังกล่าวจึงได้เสด็จไปประทับจำพรรษาอยู่แต่พระองค์เดียว ที่รักขิตวันแห่งป่าปาริไลยกะ ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จ ต่อไปยังสาวัตถี พระที่ทะเลาะกันรู้สำนึกความผิด และคืนดีกันได้ภายในพรรษา ออกพรรษาแล้วจึงได้พร้อมใจกันไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ สาวัตถี เพื่อกราบทูลขอโทษ
ขอขอบคุณภาพจาก chuabode.wordpress.com
ที่โฆสิตารามนี้ พระฉันนะ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าแก่ของพระพุทธองค์ ประพฤติตนเป็นคนดื้อด้านว่ายาก ไม่ยอมฟังคำตักเตือนของผู้ใด ก่อนจะเสด็จปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสบอกท่านพระอานนท์ว่า ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะคือไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าตักเตือน และเกี่ยวข้องอะไรด้วยทั้งสิ้น เสร็จสังคายนาครั้งที่หนึ่งแล้ว โดยฉันทานุมัติจากที่ประชุมสงฆ์ ท่านพระอานนท์ พร้อมด้วยบริวารได้เดินทางจากราชคฤห์มายังโฆสิตาราม เพื่อ ประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระฉันนะได้สำนึก ประพฤติตนดี และเอาใจใส่ในการบำเพ็ญเพียร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.palungjit.org
นอกจากที่กล่าวแล้วนี้ เรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ณ โกสัมพี ที่ทราบกันแพร่หลายที่มีเล่าในอรรถกถา ธรรมบทก็มีเรื่องโฆสกะเศรษฐี เรื่องพระพากุละหรือพักกุละเรื่องพระปิณโฑลภารทวาชะ และเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระนางสามาวดีพระนางมาคันทิยา และพระนางวาสุลทัตตาเป็นต้นตามความที่ปรากฏในเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระมเหสีทั้งสามที่โกสัมพีนี้ พระพุทธองค์ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่าง ๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสียแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น แล้วตรัสพระพุทธภาษิตอันถือกันว่า เป็นธรรมะสอนใจอย่างดียิ่ง เรื่องละเอียดมีใน สามาวดีวัตถุ แห่งอรรถกถาธรรมบท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vichadham.com/buddha/city16.html
วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๔๕ บุรุษเข็ญใจตามโค
ขอขอบคุณภาพจากipats.exteen.com
สมัยนั้น พระพุทธองค์ เสด็จไปโปรดบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่ง ที่อาศัยในเมืองอาฬวี ซึ่งกำลังตามโคที่หนีไป
เช้าวันนั้นชาวเมืองอาฬวีทำการถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์
หลังภัตกิจได้เวลาที่จะอนุโมทนา พระพุทธองค์ก็ยังทรงนิ่งเฉยอยู่ เพราะคอยการมาของบุรุษเข็ญใจผู้นั้น เนื่องจากทรงทราบถึงความพร้อมแห่งอุปนิสัยของชายผู้จะได้บรรลุธรรม
บุรุษนั้นเมื่อได้โคมาแล้ว แม้เราจะไม่มีสิ่งใด ก็ขอแต่เพียงได้ถวายบังคมพระบรมศาสดาก็พอแล้ว จึงมุ่งหน้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระพุทธองค์ตรัสถามผู้ที่ถวายทานว่า ยังมีอาหารใดเหลืออยู่บ้าง ทราบว่ายังพอมีเหลือ
จึงรับสั่งว่า "พวกท่านจงนำอาหารนั้นมาเลี้ยงดูชายผู้นี้เถิด"
หลังจากบุรุษนั้นบริโภคเรียบร้อยแล้ว พระพุทธิงค์จึงตรัส อนุปุพพิกถา และแสดงอริยสัจ ๔ แก่ชนทั้งหลาย ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศน บุรุษนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล
พระพุทธองค์ทรงกระทำอนุโมทนาแก่มหาชน ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
"ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงแล้วพึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"
จากนั้นเสด็จต่อไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับจำพรรษา ที่ ๒๐ ณ วัดเวฬุวัน