วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ห้วงวารี....ย่อมมีเรา...หอย

มัศยา....เยื้องกรายสายนที 4



หอยกะปุก


หอยกะปุก

เจ้าหอยกะปุกเอย ไว้จุกกะแป้นแล่น
เขารักเจ้านัก เขาจะชักแสรกแขวน
จิ้มลิ้มแป้นแล่น ให้พี่แหงนเปล่าเอย........

หอยกะพง

เจ้าหอยกะพงเอย ตกลงในกะทะ
เขาต้มตัวเจ้า หน้าเว้าหวำหวะ
ตกลงในกะทะ รับธุระของน้องเอย........



นกดุเหว่าลาย หรือนกกาเหว่าตัวเมีย ภาพจาก นกสามถิ่น ของ น.พ. บุญส่ง เลขะกุล




นกกาเหว่า ตัวผู้ มีสีดำเหมือน นกกา กำลัง โผไป โผมา ในกรงหนีกล้อง
ปาก ไม่ไซร้หาเหยื่อ แต่ร้องเพื่อข่มขู่ ผู้ถ่ายภาพ เสียงระงมกรง

กาเหว่า

กาเหว่าเอย.... ไข่ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อไว้ให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อน จะสอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปหากิน ถึงปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา จับต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพรานคนหนึ่ง เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง จ้องเอาแม่กาดำ
ยิงต้องหัวอก แม่กาก็หกคะมำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ โอ้ว่าเป็นกรรมของแม่กา...

แน่นอนว่าเป็นเรื่องของหอย แต่ต้องขออภัย ที่ไม่มีการกล่าวถึงหอยในบทกล่อมทั้งสามเพลงนี้เลย
คือหอยกะปุก หอยกะพง รวมทั้งหอยกะพังที่แม่กาพาลูกกาเหว่าไปไซ้กินที่ปากน้ำพระคงคา

มารู้จักหอยกันก่อนสักนิด



ภาพนี้ต้องการสื่อ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาเปลือกหอยมาเรียงร้อยเป็นผืนภาพ

หอย
หอย เป็นสัตว์ที่ถูกจัดอยู่ใน Phylum Mollusca มีลักษณะทั่วไปคือ ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่มไม่แบ่งเป็นข้อปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่างๆได้แก่ หัว เท้า แมนเทิลกับช่องแมนเทิล และอวัยวะภายใน สัตว์ในไฟลัมนี้ประกอบด้วย ลิ่นทะเล (Chiton) หอยงาช้าง (Tusk Shell) หอยฝาเดียว (Gastropod) ทากทะเล (Nudibranch) ทากบก (Land Snail) หอยสองฝา (Bivalve) หอยงวงช้าง (Nautilus) หอยงวงช้างกระดาษ (Paper Nautilus) และหมึก (Squid, Cuttlefish, Octopus)

หอยจัดเป็นสัตว์อีกไฟลัมหนึ่งที่มีความหลากหลายสูงและมีความสำคัญในอาณาจักร สัตว์ มีการค้นพบกว่า 100,000 ชนิด


หอยกาบหรือหอยสองฝาอยู่ใน ชั้นไบวาลเวีย (Class Bivalvia)
เป็นสัตว์ที่มีฝาสองฝา มีประมาณ 30,000 ชนิด เปลือกหอยทั้ง สองฝาจะมีรูปร่างเหมือนกัน ขนาดใกล้เคียงกัน แต่กลับซ้าย-ขวา ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อยึดฝา และ เอ็นยึดฝาหรือบานพับ ซึ่งบานพับจะยึดเปลือกทาง ด้านหลัง มักมีสีดำ บริเวณใต้บานพับประกอบด้วยฟันเรียกว่าhinge teeth ซึ่งช่วยยึดเปลือกไว้ ด้วยกัน ประกอบด้วยฟันซูโดคาร์ดินัล และฟันแลเทอรัล (พบในวงศ์ Amblemidae) หรือฟัน คาร์ดินัล (พบในวงศ์ Corbiculidae)
สำหรับการปิดและเปิดของฝา เมื่อกล้ามเนื้อยึดเปลือกคลาย ตัว เอ็นจะเป็นตัวดึงให้ฝาเปิด และการหดตัวของกล้ามเนื้อยึดเปลือกทำให้ฝาถูกปิด เปลือก ส่วนที่ถูกสร้างขึ้นก่อนและแก่ที่สุดเรียกว่า อัมโบ

การเพิ่มขนาดของเปลือกทำโดยการสร้าง เปลือกใหม่รอบอัมโบเป็นวงๆ ซ้อนขยายออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดเส้นลายบนเปลือกรอบอัมโบ ออกเป็นชั้นๆ เรียกว่าเส้นการเจริญเติบโต (growth line) ในการดูว่าเป็นเปลือกซ้ายหรือขวา ทำได้โดยถือเปลือกหอยให้ด้านอัมโบตั้งขึ้นและให้ด้านบานพับของเปลือกหันเข้าหาผู้สังเกต เปลือกที่อยู่ซีกขวามือคือเปลือกขวา ส่วนเปลือกที่อยู่ทางซ้ายมือคือเปลือกซ้าย

หอยที่จะกล่าวถึงจากบทความทางวิชาการส่วนนี้คือหอยกาบน้ำจืด


หอยกาบน้ำจืด
เป็นกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกกลุ่มหนึ่งที่มีสมาชิกจำนวนมาก และมีความสามารถใน การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี จึงพบแพร่กระจายได้ทั่วไป มีรูปร่างและขนาดตัวต่างๆกัน หอยกาบน้ำจืด เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการนำมาใช้ ประโยชน์อย่างหลากหลาย อาทิ เนื้อหอย ประชาชนบางกลุ่มนำมาปรุงเป็นอาหาร เปลือกหอย เมื่อขัดผิวนอกออกจะมีความมันวาว ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ หอยบางชนิด นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงไข่มุกแทนหอยมุกทะเล เปลือกหอยบางชนิดนำมาเข้าเป็น เครื่องยา นอกจากนี้หอยบางชนิดยังนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆตามแต่ความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน

หอยกาบน้ำจืดมีการแพร่กระจายในเกือบทุกแหล่งน้ำในทุกจังหวัดของประเทศไทย จากการศึกษาของจุฑามาศ และคณะ (2550) พบว่า ลุ่มน้ำที่มีหอยกาบมากที่สุดได้แก่ลุ่มน้ำใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหอยกาบทั้งหมด 57 ชนิด จากที่พบทั้งหมด 72 ชนิด ของหอยกาบทั้งหมดที่พบรองมาได้แก่ ลุ่มน้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออก 47 ชนิด สำหรับลุ่มน้ำในภาคใต้ พบ 41 ชนิด ส่วนลุ่มน้ำในภาคกลาง และภาคตะวันตกพบหอยกาบน้อยชนิดที่สุดคือ ภาคละ 36 ชนิด

www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/new6.pdf

หากสนใจเรื่องหอยกาบน้ำจืด เชิญติดตามได้ที่ หอยกาบน้ำจืดไทย ของ จุฑามาศ จิวาลักษณ์,พิชิต พรหมประศรี,อรภา นาคจินดา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง



หอยกาบน้ำจืดสองฝา นี้พลอยโพยมขอไม่ลงรายละเอียด เพราะหอยกาบน้ำจืดสองฝาที่พบเห็นที่บางกรูดนั้น เป็นหอยที่ไม่ได้นำมาเป็นอาหาร เพียงแต่เป็นหอยที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศชายน้ำบางปะกง ส่วนที่เป็นอาหารได้ ส่วนใหญ่พบเห็นได้ที่อำเภอบางปะกง ซึ่งพลอยโพยมไม่คุ้นเคย แต่รับประทานบ่อยๆ เท่านั้น

นอกจากหอยกาบน้ำจืดสองฝาแล้วย ที่บางกรูด ยังมีหอยอื่นอีกคือ

หอยโข่ง หอยขม หอยคัน หอยเชอรี่ หอยขี้นก ซึ่งล้วนเป็นหอยฝาเดียว



หอยโข่ง ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th

หอยโข่ง
หอยโข่ง Pila scutata
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยโข่ง

ลักษณะทั่วไป
เป็นหอยขนาดใหญ่มีฝาปิด ขนาด ๒-๙ x ๒-๑๐ ซม. เปลือกแข็งรูปร่างครึ่งวงกลม
มีลายพาดขวางบนเปลือก พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทยหอยโข่ง Pila politaเป็นหอย
ขนาดใหญ่มีฝาปิด รูปร่างเป็นรูปไข่ มีส่วนท้ายรีแหลมพบได้ทั่วไปในประเทศไทยหอยโข่ง
Pila ampullaceal เป็นหอยขนาดใหญ่ มีฝาปิด รูปร่างครึ่งวงกลม พบได้ทั่วไปในประเทศไทย

แหล่งที่พบ
พบได้ในนาข้าว หนองและบึงทั่วไป

อาหารธรรมชาติ
ข้าว พืชน้ำต่าง ๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บัว ฯลฯ

ประโยชน์และความสำคัญ
ภาคอีสานนิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกง ทอดและปิ้ง



หอยขม ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th

หอยขม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sinotaia ingallsiana
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ POND SNAIL, RIVER SNAIL
ชื่อพื้นบ้าน หอยขม

ลักษณะทั่วไป
หอยขมเป็นหอยฝาเดียวอาศัยในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม
เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่จะงอยปาก
สั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย
ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูก
เป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละ
ประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ๆมีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจน
แตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่
จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม
แหล่งที่พบ
หอยขมชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง
มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือ
ตามพื้นอาหารธรรมชาติ กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้ง
ซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน

ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อนิยมนำมาต้มแกงเป็นอาหาร หอยขมซึ่งมีขนาดเล็กมักใช้เป็นอาหารเป็ดและสัตว์อื่น ๆ
เป็นหอยที่มีฝาปิด รูปร่างเป็นเกลียว ขนาด ๑.๕- ๓ x ๒.๕- ๔ ซม. เปลือกส่วนที่กว้างที่สุดเป็น
เส้นนูนเป็นวงรอบ อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชอบเกาะอยู่ตามเสาสะพาน หรือขอนไม้ที่จมอยู่ในน้ำหอยขม
Filopaludina(Siamopaludina) javanicaเป็นหอยที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาด ๑ - ๒ x ๒. - ๓ ซม.
สีน้ำตาล



หอยคัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ -
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยคัน
ลักษณะทั่วไป -


แหล่งที่พบ
หอยคันชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง
มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้น
อาหารธรรมชาติ
กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
และผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน


หอยเชอรี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacea canaliculata Lamarck
อันดับ Mesogastropoda
วงศ์ Ampullariidae
ชื่อสามัญ -
ชื่อพื้นบ้าน หอยโข่งเหลือง, หอยเปาฮื้อน้ำจืด

ลักษณะทั่วไป
สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและ
หนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว
เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูก
หอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน
ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้
ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกัน
เป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวย
งาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่
แหล่งที่พบ
พบได้ในนาข้าว หนองและบึงทั่วไป
อาหารธรรมชาติ
ข้าว พืชน้ำต่าง ๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บัว ฯลฯ

ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34 - 53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบ
อาหารได้หลายอย่าง หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด
ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือก
ถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้
ผลผลิตดีไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย
หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช



หอยขี้นก ภาพจาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th

หอยขี้นก (Cerithidea)
เป็นหอยฝาเดียวขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เปลือกเวียนเป็นเกลียวรูปเจดีย์ พบเกาะอยู่ตามรากต้นโกงกาง
หรือคลานอยู่ตามพื้นป่าเมื่อหอยเหล่านี้ตายลงเปลือกจะเป็น
ที่อยู่อาศัยของลูกปูเสฉวนขนาดเล็ก

ที่มาของบทความหอย.
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น