วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ช่อนเรียว...โฉบเฉี่ยวชล..ปลากระสง ปลาช่อนงูเห่า-ข้าหลวง

ปลาวงศ์ปลาช่อนมีหลายฃนิด ดังที่กล่าวมาแล้ว
ในครั้งนี้มีเพียงปลากระสง ที่พลอยโพยมได้พบเห็นในลำน้ำบางปะกง แต่ก็อยากให้ข้อมูลถึง ปลาช่อนงูเห่า และปลาช่อนช้าหลวง เพราะ มีภาพปลาประกอบอยู่แล้ว หากลงเรื่องปลากระสงชนิดเดียวก็ดูว่าเนื้อหาจะน้อยไปนั่นเอง ยังมีภาพปลาวงศ์ปลาช่อนอีกหลายชนิด แต่ไม่ขอลงข้อมูล เพราะพลอยโพยมไม่เคยพบเห็น


ปลากระสง

กระสง (ชื่อสามัญ)
Channa lucius (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BLOTCHED SNAKE-HEAD FISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)



ปลากระสง

ลักษณะทั่วไป
ปลากระสง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa striata) แต่มีขนาดเล็กกว่า

มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวตอนบนสีน้ำตาลแก่ และมีจุดดำทั่วไป ข้างลำตัวมีแถบสีดำขวางลำตัวประมาณ 12 แถบ ท้องสีเหลืองจาง ครีบทุกครีบสีดำ บางถิ่นสีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้


ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร


พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง
รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทย บึง มีชุกชุมในภาคกลาง
และประเทศเพื่อนบ้าน

อาหาร

กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีชีวิต

ประโยชน์


นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้เพราะมีสีสันสวยงาม
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กระจอน" ในภาษาอีสาน "ช่อนไช" ในภาษาใต้

ข้อมูลจาก ภาพปลาและสัตว์น้ำเมืองไทย และวิกิพีเดีย



ปลากระสง

ปลากระสงมีอวัยวะพิเศษเหนือบริเวณเหงือกช่วยในการหายใจ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
อุปนิสัย
ชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ปกติจะเคลื่อนตัวช้าอยู่ใกล้ผิวน้ำบริเวณชายฝั่งที่มีพืชน้ำ และค่อย ๆ โผล่ขึ้นฮุบอากาศเป็นครั้งคราวเพื่อเก็บไว้หายใจ




ปลากระสง
ภาพจาก http://www.petfamilyonline.com


เป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีข้อมูลจากผู้ที่เลี้ยงปลากระสงดังนี้


ปลากระสงขนาดเล็กนั้น สีสัน และลวดลายจะยังไม่ชัดเจน ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ถึงเข้ม และมีขีดดำพาดผ่านตลอดแนวลำตัวมองเห็นชัดเจน ในช่วงแรกเกิดถึงขนาดประมาณ 2 นิ้ว จะอยู่รวมกันเป็นฝูง (ลูกครอก) เหมือนปลาช่อน โดยมีพ่อ และแม่ปลา คอยให้ความคุ้มครอง จากปลาชนิดอื่นที่จะเข้ามากินลูกปลา แต่เมื่อขนาด 3 นิ้วขึ้นไป จะเริ่มหากินเอง และแยกตัวสันโดษ

อาหารของลูกปลาในวัยนี้ ก็ได้แก่พวก ลูกน้ำ, ไรทะเล, แมลงขนาดเล็กต่างๆ และจะเปลี่ยนไปตามขนาดของตัวปลา โดยที่เราสามารถฝึกปลาให้กินอาหารสด เช่นกุ้งขาวหั่นชิ้นเล็กๆ หรือกุ้งฝอยแช่แข็งได้ การให้อาหารแก่ลูกปลาเล็กที่เลี้ยงรวมกันเป็นฝูง จะทำให้ปลาเชื่องเร็ว และกินอาหารดีขึ้น เพราะแย่งกันกิน...


ปลากระสง ขนาดเล็กสามารถปรับตัวให้คุ้นกับสถานที่เลี้ยงได้รวดเร็วเป็นอย่างดี และสามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งอาหารเม็ด ได้อีกด้วย (สำหรับปลาที่โตแล้ว (ปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ) จะใช้เวลาที่มากกว่า) และหากเลี้ยงตั้งแต่ขนาดเล็ก จะคุ้นเคยกับเจ้าของ และแค่เราเดินผ่าน ปลากระสงก็ชะเง้อมอง ขออาหาร

ปลากระสงก็เหมือนปลาตระกูลปลาช่อนทั่วไป คือกระโดดเก่ง ตู้ที่เลี้ยงจำเป็นที่จะต้องมีฝาปิดมิดชิด ควรหาวัสดุปิดช่องกรองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกระโดดเข้าไปแห้งตาย

ข้อมูลจาก

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=genus&month=06-2007&date=22&group=3&gblog=2

จากข้อมูลของ bloggang นี้ ปลากระสงตัวน้อยที่ชะเง้อมองเจ้าของหรือคนเลี้ยงเพื่อขออาหาร ช่างน่าเอ็นดูจริงๆ

ในวัยเด็ก พลอยโพยมไม่ค่อยได้พบเห็นปลากระสงบ่อยนัก และแม้แต่ในปัจจุบันนี้ การพบเห็นปลากระสงมักคู่กับคำว่า มีปลากระสงหลงมา



ปลาช่อนงูเห่า

ช่อนงูเห่า (ชื่อสามัญ)
GREAT SNAKE-HEAD FISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Channa marulius (ชื่อวิทยาศาสตร์)


ลักษณะทั่วไป
ปลาช่อนงูเห่า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว ทรงกระบอกคล้ายปลาช่อน แต่หัวมีขนาดเล็กและแบนกว่าปลาช่อน สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เกล็ดมีสีดำขอบขาวสลับบนและล่างของเส้นข้าง

เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำขอบขาวขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาช่อนดอกจันทน์" เมื่อปลาเริ่มโตขึ้น จะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว

ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า"



ปลาช่อนงูเห่า

คำร่ำลือที่ว่าปลาช่อนงูเห่า เป็นปลาซึ่งมีพิษร้ายแรง หากกัดผู้ใดก็จะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด หากนำมาขังร่วมกับปลาช่อน จะถูกปลาช่อนไล่กัดจนตาย
เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด

มีการกระจายพันธุ์ในไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย
ในไทยตามแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองซึ่งมีพื้นเป็นกรวดและหิน ในแถบภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า อ้ายล่อน ทางภาคเหนือพบที่จังหวัดตาก และในลุ่มน้ำปิง ผู้คนในแถบนั้นเรียกว่าปลาช่อนดอกจันทร์
เนื่องจากมีลายเป็นปื้นคล้ายดอกจันเรียงเป็นแนวอยู่ที่ด้านข้างลำตัว เนื้อมีรสดีคล้ายกับเนื้อปลาช่อน ด้วยลำตัวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อโตเต็มที่ยาวร่วม 1 เมตร จึงได้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Great snake – head mullet


โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย
อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริ่มน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน
อาหาร

กินปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำ

ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง
มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก้วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น[1]
ประโยชน์

เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหารมีรสชาติดี คล้ายเนื้อปลาช่อน

ข้อมูลจาก ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย และวิกิพีเดีย



ภาพจากอินเทอร์เนท

ปลาช่อนข้าหลวง
ปลาช่อนข้าหลวง เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยพบชุกชุมบริเวณเขื่อนรัชชประภา และพบไปจนถึงมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น
เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง
ปลาช่อนข้าหลวง ยังมีชื่อที่เรียกกันในเขตจังหวัดนราธิวาสว่า "ช่อนทอง" [1]


ภาพจากกรมประมง


เห็นภาพปลาสวยงามชัดเจน (ภาพที่บอกที่มาของภาพ ) หลายๆภาพ แล้ว เขินกับภาพถ่ายฝีมือของตัวเองมาก แต่เมื่อถ่ายมาด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และความยากลำบาก อย่างยิ่งยวดแล้ว ก็ต้องหักความอายกันละค่ะ
คุณปลาๆ ทั้งหลาย ไม่ค่อยอยู่นิ่งแค่ยกกล้องขึ้น คุณปลาก็เฉี่ยวโฉบ ไปมา เสียแล้ว ตากล้องหัดใหม่ เลือกเมนูการใช้กล้องก็ยังไม่เป็น เหงื่อตกทุกรอบทั้งที่แอร์เย็นเฉียบ
ยังไม่พบปลาตัวไหนน่ารักเหมือนปลากระสงตัวน้อย ที่อ่านพบมา จาก Bloggang เลยสักครั้งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น