ปลาหางกิ่ว..ลิ่วลำน้ำ
ปลาหางกิ่วหม้อ
ชื่อไทย
หางกิ่วหม้อ
ชื่ออื่น แข้งไก่ หางแข็ง
ชื่อสามัญDUSKY JACK
ชื่อวิทยาศาสตร์Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard
ปลาหางกิ่วหม้อ : เป็นปลาทะเลของประเทศไทย และจัดเป็นตัวบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมทางทะเลได้เป็นอย่างดี ทะเลที่มีปลาหางกิ่วหม้ออาศัยอยู่นั้นแสดงว่าสภาพแวดล้อมทางทะเล บริเวณนั้นมีความสมบูรณ์ แต่ช่างน่าเสียดายเหลือเกินที่ในเวลานี้จากข้อมูลการศึกษาวิจัยข้อมูลปลาทะเลของประเทศไทยพบว่า ปริมาณของปลาหางกิ่วหม้อมีปริมาณที่ลดลงอย่างน่าตกใจ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดลงลงของปลาชนิดนี้ คือ ระดับของมลพิษทางน้ำที่เกิด ซึ่งนำมาซึ่ง การปล่อยของเสียปริมาณมากมาย ลงสู่ทะเลในแต่ละปี
ข้อมูลทั่วๆ ไปของปลาหางกิ่วหม้อ
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลประเภทปลาหางแข็งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนปลาสีกุนทั่วๆไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม เกล็ดขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างตัวมีขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหางจึงเรียกว่า ปลาหางแข็งตาโตอยู่เกือบสุดท้ายจะงอยปาก ครีบหูยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้นอันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับ ครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว
ถิ่นอาศัย
พบได้ ตามทะเลเปิดทั่วไป บางครั้งจะเข้ามาอาศัยอยู่ตามโป๊ะ อยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากบริเวณช่องเกาะคราม แสมสาร เกาะเต๋าและทะเลอันดามัน
อาหาร กินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นที่ขนาดเล็กกว่าขนาด
ความยาวประมาณ 40 – 60 ซม.
ประโยชน์ เนื้อปลามีรสดี ใช้ปรุงอาหารได้
ปลาหางกิ่วหม้อ( หางแข็ง, แข้งไก่ )
ชื่อไทย
หางกิ่วหม้อ
ชื่ออื่น แข้งไก่ หางแข็ง
ชื่อสามัญ Hardtall Scad
ชื่อวิทยาศาสตร์ Megalaspis cordyla
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลประเภทปลาหางแข็งชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลม ตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าปลาแข้งไก่ ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีสีน้ำเงินปนเขียว หลังสีเขียวเข้ม ท้องสีขาวเงิน
เป็นปลาอาศัยทั้งบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำ พบได้ทั่วไปทั้งในอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
อาหาร กินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นที่ขนาดเล็กกว่า
ขนาด โดยทั่วไปยาวประมาณ 20-30 ซม.
ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ หรือแปรรูปประเภทปลาเค็ม
ปลาหางกิ่ว
ที่บางกรูดมีปลาหางกิ่วที่มีลักษณะไม่เหมือนปลาหางกิ่วหม้อ DUSKY JACK ค่อนข้างคล้าย ปลาหางกิ่วหม้อ Hardtall Scad แต่ลักษณะสีของลำตัว ไม่เหมือนกัน
แต่โดยรุปพรรณสัณฐานปลาหางกิ่วที่บางกรูด กลับคล้ายคลึงกับปลาม้า และชาวบ้านเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาหางกิ่ว ( ไม่เรียกปลาหางกิ่วหม้อ)
ปลาหางกิ่ว
และจากการหาข้อมูล พบว่า มีคนจากถิ่นอื่นนิยมมาตกปลาหางกิ่วกันที่ฉะเชิงเทรา มีภาพปลาหางกิ่ว เปรียบเทียบกับปลาม้า ซึ่งค่อนข้างคล้ายกันมาก
และในเอกสารวิชาการฉบับที่ 30 เรื่อง สภาวะการประมง ชนิด และการแพร่กระจายของสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกง ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2526 โดยสันทนา ดวงสวัสดิ์ และคณะ ได้แสดงชนิดของสัตว์น้ำที่สำรวจพบในแม่น้ำบางปะกง ระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. 2525-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2526 ปรากฏชื่อสัตว์น้ำทั้ง ปลาม้า โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudociana soldado พบในเขต อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงอำเภอบ้านสร้าง อำเภอเมือ จังหวัดปราจีนบุรี แต่ไม่พบที่อำเภอเมืองจังหวัดนครนายก
และปลาหางกิ่ว ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudociana sp. พบในเขตอำเภอบางปะกง และอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปลาหางกิ่วตัวล่างสุด
พลอยโพยมค้นไม่พบข้อมูลปลาหางกิ่ว ( หางกิ่วเฉย ๆ ) ในหนังสือ ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทยของกรมประมง เมื่อพลอยโพยมถามคนพายเรือผีหลอกว่า ปลาม้าและปลาหางกิ่วต่างกันอย่างไร ชาวประมงเรือผีหลอกตอบว่า ปลาม้าจะมีเกล็ดสีขาวมันวาว ส่วนเจ้าปลาหางกิ่วนั้นจะมีเกล็ดออกสีเหลืองครับ ยิ่งแหล่งที่อยู่ของปลาหางกิ่วเข้าใกล้ปากอ่าวเท่าไหร่สีของปลาหางกิ่วก็จะเหลืองจัดขึ้นเรื่อยๆ ...ครับ..
ปลาม้า
ครั้งแรกพลอยโพยมได้ปลาม้า น้ำหนัก 3 กิโลกรัม กว่า ๆ มา 1 ตัว แต่เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เลยมีแต่ภาพปลาหางกิ่ว ลองดูภาพเปรียบเทียบปลาม้าและปลาหางกิ่วจากอินเทอร์เนทก็พอมองแยกออกได้เหมือนกัน
ปลาม้าตัวบน ปลาหางกิ่วตัวล่าง
ปลาหางกิ่วตัวบน ปลาม้าตัวล่าง
ที่มาของข้อมูล ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทยของกรมประมง
ภาพจากอินเทอร์เนท
ปลาหางกิ่ว กิโลละเท่าไรครับ
ตอบลบ