วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ...ช้าเลือด

ช้าเลือด





ช้าเลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Premna obtusifolia R.Br.

ชื่อพื้นเมือง: ช้าเลือด

ชื่ออื่น มันไก่ (ลำปาง); สามประงาใบ (ประจวบ); อัคคีทวารทะเล, เค็ดน้ำมัน (ใต้)

วงศ์ VERBENACEAE





ช้าเลือด เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1 - 4 เมตร แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อนในระยะแรกๆ มีขนประปราย และจะหลุดร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ขึ้น เมึ่อขยี้ใบจะมีกลิ่นเหม็น





ลำต้น แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อนในระยะแรกๆ มีขนประปราย และจะหลุดร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ขึ้น



ใบ

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ สลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรีถึงรี ปลายใบทู่ ฐานใบมน หรือ ค่อนข้างสอบแคบ และมักเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบสีจางมีต่อมหลายต่อม มักมีเส้นใบ 3 เส้น จากจุดโคนใบเส้นใบ 2 - 3 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ มีขนนุ่ม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นเหม็น



ดอก










เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงหลั่น ด้านบนดอกเสมอกัน มีขนสั้นนุ่ม หรือ เกือบเกลี้ยง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ก้านดอกย่อยสั้นมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ที่ขอบแยกเป็นจักเล็กๆ 4 แฉก มีขนประปรายตามผิวด้านนอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายผายกว้างออก มีขนตามผิวด้านใน เกสรเพศผู้ 4 อัน แยกเป็น 2 คู่ ติดอยู่ใกล้ๆปากหลอดด้านใน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ


ผล เล็กกลม เมื่อสุกสีดำ ภายในมีเมล็ดแข็งหนึ่งเมล็ด






ช้าเลือด ขึ้นตามที่โล่งและชายฝั่งทะเลทั่วๆไป

ประโยชน์ ใบต้มแก้เม็ดผดผื่นคัน






ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com



หมายเหตุ ข้อมูลของ aquatoyou.com ใช้ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Preman obtusifolia R. Br.
ใช้ชื่อวงศ์ว่า LABIATAE
ขออภัยที่ยังหาข้อมูลอื่นอีกไม่ได้ ขอค้างไว้ก่อน
ช้าเลือด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นปะปนกับเบญจมาศน้ำเค็ม ถั่วคล้า ถอบแถบน้ำ เถาคัน ไมยราบ และอื่น ๆ




สำหรับในพจนานุกรมให้ความหมายของช้าเลือดว่า
ช้าเลือด
ความหมาย
น. ชื่อไม้เถาชนิด Caesalpinia mimosoides Lam. ในวงศ์ Leguminosae เถามีหนามมาก ใบเป็นฝอยคล้ายใบมะขาม ดอกเป็นช่อสีเหลือง มีฝัก ใบและช่อมีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นตัวเรือด ใช้ทํายาได้, ปู่ย่า ก็เรียก.


ซึ่งยังมี พรรณไม้ที่ชื่อช้าเลือดอีกขนิดหนึ่ง มีข้อมูลของศูนย์วิจัยพืชชุมพรดังนี้
ชื่อ : ช้าเลือด
ชื่ออื่น : ผักปู่ย่า, หนามปู่ย่า, ผักคายา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia mimosoides Lamk.
วงศ์ : FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ช้าเลือด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีขนและหนามทั่วทั้งต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ ดอก ออกดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ผล เป็นฝัก
สรรพคุณและประโยชน์
ยอดอ่อน เคี้ยวกินสด ๆ แก้ลมวิงเวียน, หน้ามืด
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยพืขชุมพร


และมีข้อมูลของ สถาบันวิจัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผักกาดย่า หรือผักคายา
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia mimosoides Lamk.
ชื่อพื้นเมือง ผักปู่ย่า หนามปู่ย่า (เหนือ) ช้าเลือด (กลาง)
ผักกาดย่า เป็นผักพื้นเมืองทางภาคอีสาน และภาคเหนือ ซึ่งนิยมรับประทาน และมีจำหน่ายในตลาด
ทางภาคเหนือมีเรื่องเล่าว่า มีสองตายาย เดินไปทำนาระหว่างทาง ทั้งสองได้พักรับประทานอาหาร และหลังจากรับประทานผักนี้เข้าไปรู้สึกว่ามีแรงมีกำลังเพื่มขึ้น จึงเล่าต่อกันมา ทำให้คนรุ่นหลังรู้จักและเก็บผักนี้มารับประทานเรื่อยมา ชาวพื้นเมืองภาคเหนือจึงเรียกผักนี้เพื่อว่า"ผักปู่ย่า" ส่วนชาวอีสานเรียกผักนี้ว่า "ผักกาดย่า หรือผักคายา"

ผักกาดย่า มีลำต้นตั้งตรง ปลายยอดยืดยาว และ/หรือเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นสูงถึง 1 เมตร ลำต้น และกิ่งก้านใบ มีหนามแหลมขนาดเล็กๆ กระจาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคู่ข้ามกัน ก้านใบยาว 25-40 ซม. ก้านใบสีแดง มีหนามแหลมตามกิ่งก้านทั่วไป ดอกช่อ ดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก มี 2 เมล็ด ใบ ยอดอ่อน และช่อดอกมีกลิ่นเฉพาะ หอมฉุน คล้ายกลิ่นแมงแคง (มวนลำไย)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.walai.msu.ac.th


ข้อมูลของพรรณไม้ที่เรียกหากันว่าช้าเลือด คงจะมี 2 พันธู์ เป็นพรรณไม้เมืองเหนือ ,อีสาน และพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

ผู้จะใข้ข้อมูลกรุณาตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น