วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ...โปรงแดง

โปรงแดง




โปรงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops tagal (Perr.) c. B. Rob.Rhizophoraceae
ชื่อสามัญ Tagal mangrove
ชื่อพื้นเมือง: โปรงแดง
ชื่ออื่น : โปรง, ปุโรงแดง โปรงใหญ่; ปรง (สมุทรสาคร, จันทบุรี); แสม (ใต้)
วงศ์ RHIZOPHORACEA

(ชื่อพ้อง Rhizophora tagal Perr.)
(หมายเหตุ คำระบุชนิด น่าจะมาจากคำว่า tagalog ที่ใช้เรียกชนเผ่าในฟิลิปปินส์)







โปรงแดง เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 7 - 15 เมตร ในบางพื้นที่อาจสูงได้กว่า 30 เมตร หรือ 40 เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นค้ำจุนขนาดเล็ก และรากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลม เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู




ลำต้น
ต้นตั้งตรง เนื้อแข็งโคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีเทา หรือสีชมพูเรื่อๆ หรือ น้ำตาลอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่มีรอยแผลเป็นช่องอากาศเห็นชัดเจนสีน้ำตาลอ่อน




ใบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบ ป้านมน หรือ เว้าตื้นๆ ขอบใบมักเป็นคลื่น มี ก้านใบ มีหูใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด






ดอก
สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4 - 8 ดอก มีก้านช่อดอกเรียวยาว มีก้านดอกย่อยสั้น มีวงกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผล ใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว หรือสีครีม









ผล
รูปแพร์กลับ สีเขียวถึงสีน้ำตาลแกมเขียว
เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอกปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบแหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง




ขอขอบคุณภาพจาก
http://tanhakit.blogspot.com
ลักษณะเด่น ฝักเป็นเหลี่ยมสันนูน
ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี





โปรงแดงมีเขตการกระจายพันธุ์ที่แอฟริกา ดามากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และออสเตรเลีย
ในไทยพบกระจายทั่วไปในป่าโกงกางทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ทั้งสองฝั่ง โดย ต้นโปรงแดง ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี หรือ ขึ้นในป่าโปรงแดงล้วน ที่ดินเลนมีสภาพเป็นกรด ค่อนข้างเป็นที่ดอน





ประโยชน์
เนื้อไม้นับว่ามีความทนทานมากที่สุดในบรรดาไม้ในป่าโกงกาง ลำต้นใช้ก่อสร้าง ทำที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือประมง ทำฟืนและถ่านคุณภาพดี
เปลือกใช้ทำสีย้อม ให้สีดำ
สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกตำให้ละเอียดฟอกแผล ห้ามเลือด ต้มกับน้ำชะล้างบาดแผล แก้ท้องร่วง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com
สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้




โชคดีที่ต้นโปรงแดงยังไม่สูงมากนัก ยังพอถ่ายภาพดอกมาได้  ต้องรออีกสักระยะจึงจะถ่ายภาพฝักมาได้ เลยต้องขออาศัยภาพของคุณวรรณี ทัฬหกิจ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนท้ายหาด
ที่พลอยโพยมเข้าไปคัดลอกข้อมูลของพันธุ์ไม้ชายเลนมาเป็นประจำ  ต้องขอขอบคุณคุณ วรรณี ทัฬหกิจ มา ณ ที่นี้  รวมทั้ง  www.aquatoyou.com และอื่น ๆ อีก หลายเว็ปไซต์



ต้นโปรงแดง   เป็นพรรณไม้ ไม่มีในธรรมชาติที่ตำบลบางกรูด แต่พอเข้าไปที่ ศ.พ.ช. ฉะเชิงเทรา ได้ภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนมาหลาย ๆ ชนิดมา แม้จะไม่มีที่ตำบลบางกรูดก็อดใจนำมาเล่าสู่ไม่ได้
ภาพโปรงแดงส่วนใหญ่อยู่ในแนวเดียวกับต้นโกงกางใบใหญ่ ในภาพจึงมีต้นโกงกางใบใหญ่ติดมาด้วยเสมอ ๆ จะกำจัดแบบวัชพืขไม่ได้แน่นอน




ถามคุณมีนกรอาสุโสในบ้านถึงคำว่า พันธุ์ไม้ป่าชายเลน  ได้ความตามที่ถามมาว่า คำว่า พันธุ์ไม้ป่าชายเลน ชัดแจ้งตามคำเรียกคือเป็นคำเรียกหาของชาว วนศาสตร์ (คือพวกป่าไม้ ถึงมีคำว่า พันธุ์ไม้ป่าและเป็นพันธุ์ไม้ที่มักพบตามป่าชายเลนตรง ๆ ตัวอยู่แล้ว พลอยโพยม มา งง งง ก่ง ก๊ง กับอะไรกัน)
ส่วนชาวมีนกร ( ประมง-ของเกษตรศาสตร์  จะเรียกหากันว่า  พรรณไม้น้ำ ซึ่งพรรณไม้น้ำ ก็แยกเป็น ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ไปจนถึงพวกสาหร่าย   ผิดถูกประการใดอยู่ที่ว่าพลอยโพยมฟังแล้วเข้าใจถูกต้องหรือแปลความมาคลาดเคลื่อน เพราะคำว่า พันธุ์ และพรรณ  ก็ใช้คำเรียกว่า พัน เหมือน ๆ กัน




ในความเป็นจริง พลอยโพยมกับคุณมีนกรคนนี้ไม่ค่อยได้พูดคุยกันนัก ส่วนใหญ่เป็นการโทรศัพท์ถามไถ่ความสงสัย   ในหนึ่งสัปดาห์ก็พบกันแค่วันเสาร์กลางคืนถึงบ่ายต้น ๆ ของวันอาทิตย์ และต่างคนต่างมีภาระกิจ  คุณมีนกรคนนี้มี paper สารพัดงานของตนเองมาอ่านทุกคืนอ่านจนดึกดื่น ส่วนพลอยโพยมก็ post บทความ ค้นภาพ ใน file ทั้งคืน บางทีข้ามวันข้ามคืนก็มี  ส่วนเวลากลางวันต่างคนต่างไปทำนองนั้นเลยทีเดียว  พลอยโพยมก็เข้าข่ายใกล้เกลือกินด่างนั่นเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น