เป้งทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phoenix paludosa Roxb.
ชื่อพื้นเมือง: เป้งทะเล
ชื่อท้องถิ่น: เป้ง
วงศ์ : PLAMAE
เป้งทะเล เป็นพืชพวกปาล์ม ขนาดกลาง ลำต้นเกิดเป็นกอ สูง 4 - 10 เมตร ราก มีลักษณะเป็นหนามงอกจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่เป็นรากปกติ หลังจากนั้นเปลือกค่อยๆแข็ง มีลักษณะคล้ายหนาม ช่วยป้องกันโคนต้นได้
ลำต้น
มีรูปทรงกระบอก ขึ้นเป็นกอมีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบซึ่งมีหนามติดอยู่ และมีกาบซึ่งเป็นเส้นใยสีเทาหุ้ม
ใบ
ใบประกอบแบบขนนก ใบมากค่อนข้างสั้น ใบโค้ง โคนใบมีเส้นใยเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยเล็กแคบยาว ขอบพับเข้าค่อนข้างแข็ง และตรงปลายใบห้อยลง ตามก้านใบด้านล่างมีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง สีเขียวเป็นมันหรือสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีเทาคล้ายควัน
ดอก
เป็นดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่ 1 อัน หุ้ม แต่กาบนี้จะหลุดไปเมื่อดอกได้รับการผสม ก้าน ประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อย ซึ่งเป็นช่อเชิงลด เรียวตรงจำนวนมาก เรียงทำมุมแคบกับแกนหลักไปทางปลายช่อ
ผล เป็นผลสด อ่อนนุ่ม รูปไข่ มีเมล็ดเดียว ผลแก่สีส้ม มีผนังชั้นในบางคล้ายกระดาษ
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.dmcr.go.th
เป้งทะเล อยู่รวมเป็นกอ ก้านใบมีหนามเรียวแหลม ท้องใบสีเทา ใบย่อยขอบใบพับเข้า แข็งตรง ผลแก่ สีส้ม
เป้งทะเล ขึ้นตามป่าชายเลนค่อนข้างสูง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย
ประโยชน์
หัวต้มน้ำดื่มแก้เสียดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นอ่อนหรือยอดนำมาต้ม หรือ คั่วผสมน้ำดื่มแก้ลม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tanhakit.blogspot.com
ต้นอ่อนของเป้งทะเล
พลอยโพยมถามคุณมีนกรว่า ที่ ศ.พ.ช. ฉะเฃิงเทรา มีต้นเป้งทะเลไหม ได้คำตอบว่ามีต้นเป้งเฉย ๆ พลอยโพยมบอกว่า เอ...เขาต้องเรียกเป้งทะเลด้วยมิใช่หรือ คุณมีนกรตอบว่า ก็ผมเรียกต้นเป้ง พลอยโพยมสรุปว่า เป้งอะไรก็ได้พาไปถ่ายรูปหน่อย (เพราะที่ตำบลบางกรูดไม่มีต้นเป้ง และพลอยโพยมไม่รู้จักจริง ๆ ..และฉันไม่ใช่ชาว วอ.นอ . หรือชาว ปอ.มอ. (มีนกร ) นี่นา ) พอไปถึงแนวก็ได้รับคำแนะนำว่า มีต้นเป้งสามต้นเรียงต่อกันในแนวนี้้
พลอยโพยมก็ ..งง.. ว่า นี่มันต้นอินทผาสัมนี่นา ก็คุณมีนกรเองแหละที่หามาปลูกในบ้านแถมอวดสรรพคุณว่า นี่เป็นพันธุ์ อิสราเอล มีต้นที่รัฐสภาของไทยเรา พอมีผลแก่ก็ถูกแย่งกันเก็บ (เอาไปทำอะไรไม่รู้ เอาไปกิน เอาไปขาย หรือ เอาไปเพาะต้น และใครแย่งกับใคร สงสัยถามคนเล่า คนเล่าก็ตอบว่า ผมจะไปรู้หรือ เขาเล่าต่อ ๆ กันมาประเภทเขาเล่่าว่า...) สรุปว่าพอต้นอินทผาลัมโต ก็ถูกแม่ละม่อมสั้งให้ฟันทิ้งให้หมดหลายต้นเสียด้วย จะเป็นพันธุ์ อิสราเอล จอร์แดน อียิปต์ หรือประเทศอาหรับไหน ๆ แม่ละม่อมไม่สน เพราะเวลาออกไปเก็บหญ้าแถบ ๆ แถวต้นอินทผาลัมซึ่งปลูกไว้หลายที่ แม่ละม่อมถูกหนามข่วนทุกครั้งหลายแผล พอโมโหเอามีดไปฟันกิ่งออก ก็ยิ่งโดนหนักกว่าเก่าทั้งหนามแหลมและจำนวนแผล คำสั่งว่าฟันทิ้งให้หมดแปลว่าคนอื่นออกไปฟันใครก็ได้ที่ไม่ใช่แม่ละม่อม ทีนี้ละงานเข้า งานใหญ่เสียด้วย กรรมวิธีมากมายจากคำแนะนำของคนปลูกกับมือเอง ร่วมกันทำงานช้างนี้กับพี่ขายและน้องชายของพลอยโพยม โดยคนงานเลี้ยงกุ้งลำบากแสนเข็ญที้สุดกว่าเพื่อน (สาเหตุที่คุณมีนกรหาพันธุ์มาปลูก ก็เพราะแม่ละม่่อมชอบกินอืนทผาลัม มาก ๆ ทำนองว่าซื้อไปซื้อมาปลูกเองดีกว่า เพราะราคาแพงเอาการ)
พลอยโพยมเห็นต้นแบบนี้ก็เกิดอาการแสยงมองไม่ออกว่า มีต้นที่แปลกประหลาดกว่าต้นอินทผาลัม อยู่สามต้น (ตรงจุดที่พลอยโพยมยืนอยู่ เป็นต้นอืนผาลัมจริง ๆ แต่ต้นเป้งอยู่เลยไปข้างหน้าอีกสองสามต้น )
ได้รับคำแนะนำว่า ต้นนั้นต่างกันอย่างไร สังเกตอย่างไร เมื่อเดินต่อไปจนถึงต้นเป้งก็เลยร้องอ๋อว่า เข้าใจแล้ว คนแนะนำทำท่าพออกพอใจว่าพลอยโพยมก็ไม่ถึงกับโง่สักเท่าไร และยังได้รับการชี้ชวนว่า ต้นนี้มีลูกด้วยเห็นไหมว่ามันต่างกันอย่างไรกับลูกอินทผาลัมที่ผ่านมา..เข้าไปดูและถ่ายรูปใกล้ ๆ สิ พลอยโพยมก็พยักหน้าว่าเห็นค่ะ เข้าใจค่ะ แล้วก็ยกกล้องถ่ายแบบไกล ๆ คนสั่งคงนึกว่าซูมภาพ.
ปกติพลอยโพยมจะกำจัด กิ่งแห้ง ๆ ใบแห้ง ๆ วัชพืชและอื่น ๆ ออกจากต้นไม้ที่จะถ่ายภาพ (ยกเว้นมดแดง) นอกจากกล้องแล้ว ก็จะมีทั้งมีดและกรรไกรตัดกิ่งเวลาจัดดอกไม้ ติดไปด้วย แต่สำหรับต้นเป้งเฉย ๆ หรือเป้งทะเลนี้ได้ภาพที่แท้จริง ไม่มีการจัดฉากแต่อย่างใด ธรรมชาติล้วน ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของเขา ก็เลยไม่ได้ภาพผลของเป้งทะเลสีส้มชัด ๆ เพราะมิอาจกล้าเข้าไปใกล้ สอดมือตัวเองลอดกิ่งของต้นเป้งเข้าไปหาผลได้ก็ใบเป้งขวางทางออกขนาดนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น