วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ..สมอทะเล

สมอทะเล



สมอทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapium indicum Willd.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กระหุด (กลาง); คูระ, กือเราะ, คือรัก (มลายู-ใต้); กุระ, กุลา




สมอทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 เมตร ไม่ผลัดใบ
ลำต้น
เรือนยอดเป็นพุ่ม ปลายกิ่งเรียว ยาวย้อยลง มีน้ำยางสีขาวเฉพาะที่ยอดอ่อน ช่อดอก และผล เปลือกเรียบ ถึงแตกเป็นร่องถี่ สีเทาคล้ำ ถึงเกือบดำ เปลือกชั้นในสีเหลือง ถึงสีน้ำตาลอ่อน








ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ถึงรูปใบหอก ปลายใบแหลม ถึงเรียวแหลม โคนใบมนมีต่อม 1 คู่ อยู่ชิดก้านใบ ขอบใบหยักมน ใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีชีด ก้านใบเรียว






ดอก
ออกที่ง่ามใบ หรือปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เป็นดอกแยกเพศ ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ที่โคนก้านช่อดอก มีก้านเกสร 3 อัน แยกกันเป็นอิสระ ดอกเพศผู้มีหลายดอกเรียงตลอดความยาวของก้านช่อดอก



ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม




ผล
เป็นผลแห้งแตก เปลือกหนาแข็ง มี 3 พู ค่อนข้างกลม ปลายเป็นตึ่งแหลม ผลสีเขียวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล แต่ละผลมี 3 เมล็ด


ออกผลระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน




สมอทะเลพบตามชายป่าพรุและชายแม่น้ำลำคลอง ในป่าน้ำกร่อย หลังป่าชายเลนทางภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย
ในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย



ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ทำฟืน  ใช้ทำเรือแคนนู
ผลให้สีดำและสีเขียวเหลือง ใช้ย้อมผ้า
ผลอ่อนใช้เบื่อปลา





สรรพคุณทางสมุนไพร
มีข้อพิเศษคือ ห้ามใช้ในคนที่เป็นไข้ตัวร้อน
เมล็ด รสร้อน ขับพยาธิไส้เดือน
เปลือกต้น ขับผายลม
ราก แก้โลหิตระดูพิการมาไม่ปกติ
ใบ ถ่ายอุจจาระธาตุ ถ่ายลมเป็นพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
ผล แก้ลมพิษต่าง ๆ แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ แก้ซางขโมย




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.aquatoyou.com
http://www.doa.go.th
http://www.dnp.go.th


นอกจากสมอทะเลที่ถือเป็นพันธุ์ไมเป่าชายเลน หรือพรรณไม้น้ำยืนต้น แล้ว ยังมีพรรณไม้ที่มีชื่อเรียกว่าสมออีกหลายชนิด เช่น

สมอไทย, (สมออัพยา ) สมอพิเภก สมอร่องแร่ง สมอนั่ง  ซึ่งล้วนแต่เป็นไม้ยืนต้นและมีสรรพคุณในทางสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น