วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้ชายน้ำ...เตยทะเล

เตยทะเล





เตยทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoratissimus L.f.
ชื่ออื่น : ลำเจียก, การะเกด (กลาง); ปะหนัน ,ปาแนะ (มลายู-นราธิวาส) เตยเล
Hala (ภาษาฮาวาย), Bacua (ภาษาสเปน), และ Vacquois (ภาษาฝรั่งเศส)
วงศ์ : Pandanaceae






เตยทะเลเป็นไม้ยืนตัน สูง 4-8 เมตร เป็นพืชท้องถิ่นในไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียตะวันออก และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก







สำต้น
ลำต้นกลมเป็นข้อถี่ ๆ ตั้งดรง หรือ เอนชูยอดขึ้น ลำต้นมักแตกแยกออกเป็นสองหรือสามกิ่ง ที่ลำต้นและกิ่งมักมีหนาม ลำต้นสีขาวอมน้ำตาลอ่อน ๆ มีรากค้ำจุนทื่โคนตัน











ใบ
เป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน ออกเวียนรอบต้นเป็น 3 แถว โคนใบเป็นกาบหุ้มรอบลำตัน แผ่นใบรูปใบดาบ ขอบใบสองข้างเกือบขนานกัน ปลายใบเรียวแหลมโค้งรูปแช่ กลางใบเป็นร่องตามยาว เมื่อตัดใบตามขวางจะได้เป็นรูปตัว M ใบอ่อนปลายใบตรงแข็ง แต่เมื่ออายุมากขื้นปลายใบจะห้อยตกลงตั้งแต่กลางใบ ด้านท้องใบมีนวลเห็นได้ชัด ขอบใบและเส้นกลางใบด้านล่างมีหนามแหลมแข็ง ถี่ ๆ ตลอดใบ






ดอก

เป็นดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น


 ดอกช่อออกที่ปลายยอดเป็นช่อเชิงลด ดอกสีขาวอัดตัวกันแน่น เป็นช่อสั้้น ๆ ออกตามซอกใบ ปลายกิ่ง  ไม่มีกลีบดอก ห่อหุ้มด้วยใบประดับรูปร่างเรียวยาวสีขาว  มีกลิ่นหอม  ช่อดอกอายุสั้น ดอกเหี่ยวอย่างรวดเร็วหลังจากบานเต็มที่
ต้นที่ออกดอกเพศผู้เรียกว่า ลำเจียก




ดอกเพศเมียออกที่ปลายยอด มีก้านช่อดอก มีก้านดอก และใบประกอบ ใบประดับใบล่างสุดสักษณะคล้ายใบ ใบประดับบนสุดสั้น สีเหลืองอ่อน ดอกอยู่ชิดติดกันเป็นก้อน ลักษณะเกือบกลม กึ่งรูปทรงรี
ต้นที่ดอกเป็นเพศเมีย เรียกว่าเตยทะเล





ดอกของลำเจียก และเตยทะเล ไม่มีกลีบดอก




ผล
เป็นผลกลุ่ม ผลย่อยยุึดกันแน่นมองเหมือนเป็นผลเดี่ยว คล้ายผลสับปะรด ในระยะแรกผลมีสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลีอง เมื่อแก่จะเป็นสีส้มหรือแดง เมล็ดรูปกระสวย





ออกดอกและผลตลอดปี





เตยทะเลเป็นพืชท้องถิ่นในไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียตะวันออก และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้ตามแนวชายหาดใกล้ทะเล ติดต่อกับชายหาด




ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวบ้านชอบปลูกเพื่อบังลมเพราะทนต่อลมแรงและอากาศแล้ง อีกทั้งลำต้นรวมทั้งใบมีหนาม ต้นเป็นพุ่มใหญ่เหมาะสำหรับปลูกเป็นรั้วบ้าน
ใบใช้ สานเสื่อ ทำเครื่องจักสาน โดยเฉพาะชนพื้นเมืองในมหาสมุทรแปซิฟิก
รากและเปลือก ทำเชือก




สรรพคุณทางสมุนไพร
รากอากาศ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว(ระดูขาว) ขับเสมหะ
ราก แก้พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ
ดอก ช่อดอกตัวผู้จัดอยู่ในเกสรทั้งเก้าใช้ปรุงเป็นยาหอม  บำรุงหัวใจ แก้ลม
ต้น ใช้เป็นยาแก้กษัยน้ำเบาพิการ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
ใบ มีรสเย็นสบาย เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รักษาโรคผิวหนัง โรคหัด
สารสกัดหยาบจากลำต้นใต้ดินสามารถยับยั้งการเจริญของไมยราบยักษ์ ถั่วผี ถั่วเขียวผิวดำ ผักกาดหอมได้





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.aquatoyou.com
http://www.nanagarden.com http://www.dailynews.co.th
หนังสือไม้ดอกและไม้ประดับ
สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1
วิกิพีเดีย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น