วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ...โปรงขาว

โปรงขาว



โปรงขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops decandra Ding Hou.
ชื่อพื้นเมือง โปรงขาว
ชื่ออี่น  โปรง, โปรงหนู, ปะโลง, โหลง (กลาง): กระปูโลง, โปลง, โปรง (เพชรบุร): แหม (ภูเก็ต); แสมมาเนาะ (สตูล)
วงศ์  RHIZOPHORACEAE



โปรงขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กกึ่งไม้พุ่ม สูง 2-7 เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อยพองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น กลม เหนือผิวดิน




เรือนยอดกลม แน่นทึบ เปลือกสีเทาอ่อน เรียบ ถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีน้ำตาลอมชมพู






ใบ





ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูไข่กลับ หรือรูปรีเแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี เป็นมัน ปลายใบป้านมน กลม หรือเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด มีก้านใบ มีหูใบ











ดอก
ออกเป็นช่อตามง่ามใบ แด่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกหนา สั้น ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกอยู่เป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อดอก มีวงกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่แหลม ตรง หรือโค้งขึ้น กลีบดอกสีขาวก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล




ผล
เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ "ฝัก" เป็นรูปทรงกระบอกเรียว สีเขียว โคนสีม่วงเข้ม มีสันตามยาว ส่วนโคนชี้ไปทางปลายกิ่ง ไม่เป็นระเบียบ
ออกดอกและผลเกือบตลอดปี








โปรงขาวมักพบตามพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนแห้ง และจะมีลักษณะเหมือนไม้พุ่มหากขึ้นในสภาพที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโต

ประโยชน์
ลำต้นใช้ทำไม้ค้างพลู

สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกต้น แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อาเจียน ใช้ชำระล้างบาดแผลห้ามเลือด ย้อมผ้า หนังให้สีน้ำตาล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.aquatoyou.com
http://202.143.144.83/~pojanart/105.html
http://dit.dru.ac.th




โปรงขาวไม่มีที่ตำบลบางกรูด และพรรณไม้น้ำ (ของชาวมีนกร ) จากหลาย ๆ บทความนี้ ล้วนไม่มีในธรรมชาติที่บางกรูด  แต่พลอยโพยมเสียดายภาพที่มีอยู่ ก็เลยนำบทความมาลง ( โดยคัดลอกข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น