วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ....ชะคราม...แลงามตา

ชะคราม





ชะคราม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อพื้นเมือง: ชะคราม
ชื่ออื่น : ชักคราม (กลาง); ส่าคราม (สมุทรสาคร)
วงศ์ CHENOPODIACEAE




ชะคราม เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี เมื่ออายุมากขึ้นจะพัฒนาจนลำต้นมีเนื้อไม้ ขึ้นเป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 เมตร






ลำต้น
ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่มแผ่กระจาย แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น มักมีรากงอกบริเวณข้อในระดับต่ำ ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะมีเนื้อ







ใบ
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเบียดกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ใบอวบน้ำ มีนวล สีเขียวสด หรือสีเขียวอมม่วง สำหรับต้นที่ขึ้นบริเวณแห้งแล้ง แดดจัดมีสีแดงอมม่วงอ่อน ๆ







ดอก
ดอกสมบูรณ์เพศ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ช่อดอก ยาว 3 - 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับที่อยู่ระดับต่ำมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปที่ปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวมมี 2 - 3 ใบ รูปขอบขนานมน โปร่งใส มีผลึกเกลือเกาะตามผิวและติดคงทน มีวงกลีบรวม สีเขียว หรือ สีเขียวอมม่วง








ผล
มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก อยู่ภายในวงกลีบรวม แต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่จะหลุดออกมาและปลิวไปตามลม ตกในที่ต่าง ๆ ถ้ามีความชื้นก็จะงอกต้นขึ้นมาใหม่




ออกดอก - ผลตลอดปี




ลักษณะเด่น ใบเดี่ยวมีขนาดเล็ก ดอก ผล ขนาดเล็กมาก




ชะครามมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในทวีปยุโรปและเอเซีย
ในไทย
ชะคราม ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด หรือ พบทั่วไปบริเวณดินเค็มที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรือ มักพบในพื้นที่ราบโล่งที่เป็นดินเลน และดินที่มีความเค็มสูง ทนแล้ง และความเค็มได้ดี พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ พบตามชายป่าโกงกาง ที่รกร้างรอบ ๆ นาเกลือ




ประโยชน์และสรรพคุณ ของส่่วนต่าง ๆ
1 ราก
ใช้รากรับประทานเป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน โรคผิวหนัง และเส้นเอ็นพิการ



2 ลำต้นและใบของชะคราม
- ป้องกันโรคคอพอก เพราะชะครามดูดเกลือจากดินมาเก็บไว้ ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้
- รักษารากผม แก้ผมร่วงได้ด้วย





3 ใช้ทำอาหาร
ใบของชะคราม ทำอาหารได้อร่อยหลายเมนู
โดยที่ใบของชะครามจะดูดเอาความเกลือจากดินมาเก็บไว้ จึงทำให้ใบมีรสเค็ม ดังนั้นในการปรุงอาหารจึงใช้ใบอ่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้ม คั้นน้ำทิ้งไป 2-3 ครั้ง เพื่อให้ลดความเค็มลง





 อาหารที่ทำได้เช่น

- ยำชะคราม ใส่ลงไปในแกงเผ็ดกับปูหรือกุ้ง
- ผักลวกจิ้มราดกะทิกินคู่กับน้ำพริก
- ใบชะครามชุบไข่ทอด แบบชะอม
- ใบชะครามชุบแป้งทอด
-ใบใช้แกงคั่ว คั่วส้ม แกงส้ม
-ใบใข้ทำห่อหมกใบชะคราม
-ใบชะครามผัดกุ้ง
-อื่น ๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tanhakit.blogspot.com
http://www.aquatoyou.com
http://www.baanmaha.com





ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่งเมื่อ  25 มีนาคม 2555  เคยไปที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ทำเมนูอาหารจากใบชะครามเช่นแกงคั่วส้มใบชะครามใส่ปูทะเล ใบชะครามชุบแป้งทอดกินกับส้มตำ




เสียดายที่ทัศนวิสัยวันที่คุณมีนกรคนดีของพลอยโพยมถ่ายภาพมาให้ไม่ดีนีก สีสันของภาพเลยดูมัวซัวแทนที่จะจัดจ้าน




บ้านญาติพลอยโพยมที่อำเภอบ้านโพธิ์นี้เองก็ปลูกต้นชะครามลงดินแปลงเล็ก ๆ ไว้ นำมาทำอาหาร  แต่จะได้ต้นไม่โตนัก ไปบ้านนี้ กี่ครั้ง ๆ ก็จะเห็นต้นชะครามโตอยู่ในระดับนี้แล้วก็แห้งตาย แล้วเจ้าของบ้านก็ปลูกใหม่




บริเวณนาเกลือที่ดูแห้งแล้ง เห็นแต่น้ำในนา แล้วก็กลายเป็นกองเกลือสีขาวผ่องฝ่าไอแดดที่แผดเผา  จนตาคนมองพร่าพราย  ก็จะได้ต้นชะครามเป็นสีเขียวให้คนมองได้พักสายตา..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น