ขอขอบคุณภาพจากwww.9artgallery.com
ขอขอบคุณภาพจากwww.9artgallery.com
ดอกไม้ประจำโรงเรียนดัดดรุณี คือ ดอกเสลา
เสลาใบใหญ่หรือที่เรียกอีกชื่อว่า อินทรชิค
ขอขอบคุณภาพจากwww.thongthailand.com
เพลงเสลารำพึง
คำร้อง - ทำนอง
คุณครูสอิ้ง กานยะคามิน
คำร้อง - ทำนอง
คุณครูสอิ้ง กานยะคามิน
(สร้อย)
เสลา เสลา เสลาของเรา ของเรายังอยู่ น้ำเงินๆ ชมพูๆ คู่เสลาๆ
ดอกเสลาพริ้งเพราเหล่านั้นคือขวัญใจ อยู่หนไหนน้อมนำหทัย ครวญถึง
ดุจรั้วเราเรียกหา ดุจพาให้เรารำพึง ดัดดรุณี สีน้ำเงินชมพูซึ้ง
เสลาชวนเรารำพึง คิดถึงดัดดรุณี
(สร้อย)
ดอกเสลาร่มเงาแผ่เพี้ยงเราเพียงเยาว์ กล่อมกลมเกลาสีธงแห่งเราสดสี
โบกงามพลิ้วลมสุดสวย รื่นรวยระคนปนปรีดิ์
จากไปไกล ถึงไหนไหน ไกลที่ เสลาของเราย่อมมี ม่วง สีเด่นเหมือนเตือนเรา
(สร้อย)
ดอกเสลาร่มเงาแผ่ครึ้มยังซึมใจ แกว่งลมไกวสวยงามกระไรเสลา
ช่องามนั้นสีผสมป้องลมระวังบังเงา ดัดดรุณีสีน้ำเงินชมพูเร้า
รำพึงถึงดินแดนเก่า ร่มเงาดัดดรุณี
(สร้อย)
เสลา เสลา เสลาของเรา ของเรายังอยู่ น้ำเงินๆ ชมพูๆ คู่เสลาๆ
ดอกเสลาพริ้งเพราเหล่านั้นคือขวัญใจ อยู่หนไหนน้อมนำหทัย ครวญถึง
ดุจรั้วเราเรียกหา ดุจพาให้เรารำพึง ดัดดรุณี สีน้ำเงินชมพูซึ้ง
เสลาชวนเรารำพึง คิดถึงดัดดรุณี
(สร้อย)
ดอกเสลาร่มเงาแผ่เพี้ยงเราเพียงเยาว์ กล่อมกลมเกลาสีธงแห่งเราสดสี
โบกงามพลิ้วลมสุดสวย รื่นรวยระคนปนปรีดิ์
จากไปไกล ถึงไหนไหน ไกลที่ เสลาของเราย่อมมี ม่วง สีเด่นเหมือนเตือนเรา
(สร้อย)
ดอกเสลาร่มเงาแผ่ครึ้มยังซึมใจ แกว่งลมไกวสวยงามกระไรเสลา
ช่องามนั้นสีผสมป้องลมระวังบังเงา ดัดดรุณีสีน้ำเงินชมพูเร้า
รำพึงถึงดินแดนเก่า ร่มเงาดัดดรุณี
(สร้อย)
ขอขอบคุณภาพจากpantip.com
ยังมีเพลง สวมแหวนแทนใจ ที่แต่งตามมติของคณะกรรมการจัดงาน วันเกษียณอายุราชการคุณครูสอิ้ง กานยะคามิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการโรงเรียนดััดดรุณี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้
เนื้อร้อง ทำนอง โดยคุณครูประยุทธ์ เรืองสวัสดิ์
สวมแหวนแทนใจ มอบไว้แด่แม่
ซึ้งพระคุณแม่แท้ ก่อนที่แม่ลับลา
แม่เคยอาทร สั่งสอนด้วยใจเมตตา
สู้ตรากตรำกายา นับเวลาสี่สิบปี
สวมแหวนวงบาง น้้วนางนวลผ่อง
แหวนลงยาเรือนทอง โปรดจงคล้องฤดี
อาลัยสุดแสน วอนแหวนดลใจแม่ที
อย่าร้างไปไกลที่ " ดัดดรุณี " ถิ่นทอง
"เสลา" เฉาใบ เหมือนใจจะขาด
โอ้เอ๋ย " ปาริชาต " เคยผุดผาดไยหมอง
" ศรีตรัง" โรยลา เหมือนน้ำตาลูกนอง
ยามแม่ลับลาล่อง ขอแหวนทองเตือนอุรา
สวมแหวนแทนรัก ปักทรวงสถิต
คำว่า " มิ่งขวัญศิษย์" สวมดวงจิตชั่วฟ้า
นับปีนับเดือน อย่าเลือนลับไปไกลตา
แม่โปรดย้อนเยือนมา ปลอบขวัญชีวาลูกเอย..
สวมแหวนแทนใจ มอบไว้แด่แม่
ซึ้งพระคุณแม่แท้ ก่อนที่แม่ลับลา
แม่เคยอาทร สั่งสอนด้วยใจเมตตา
สู้ตรากตรำกายา นับเวลาสี่สิบปี
สวมแหวนวงบาง น้้วนางนวลผ่อง
แหวนลงยาเรือนทอง โปรดจงคล้องฤดี
อาลัยสุดแสน วอนแหวนดลใจแม่ที
อย่าร้างไปไกลที่ " ดัดดรุณี " ถิ่นทอง
"เสลา" เฉาใบ เหมือนใจจะขาด
โอ้เอ๋ย " ปาริชาต " เคยผุดผาดไยหมอง
" ศรีตรัง" โรยลา เหมือนน้ำตาลูกนอง
ยามแม่ลับลาล่อง ขอแหวนทองเตือนอุรา
สวมแหวนแทนรัก ปักทรวงสถิต
คำว่า " มิ่งขวัญศิษย์" สวมดวงจิตชั่วฟ้า
นับปีนับเดือน อย่าเลือนลับไปไกลตา
แม่โปรดย้อนเยือนมา ปลอบขวัญชีวาลูกเอย..
คุณครูสอิ้ง สอนที่ดัดดรุณี สี่สิบปี
ยังมีกาพย์ยานี ๑๑ ที่คุณครูสอิ่้ง กานยะคามิน เขียนให้พลอยโพยมที่เกี่ยวข้องกับเสลาดังนี้
อมรสงวนสัตย์ ปฏิบัติทฤษฎี
งามจริงยิ่งทวี เป็นศักดิ์ศรีห้องสามก.
หมั่นมั่นขยันเรียน ทั้งพากเพียรประโยชน์พอ
นิสัยทั้งใจคอ นับหนักแน่นความภักดี
เปรียบเดือนก็เหมือนเพ็ญ เปรียบเย็นเหมือนวารี
เปรียบหอมเหมือนมาลี ชื่อราตรีขจายจร
หวังใดฤทัยตั้ง ให้สมดั่งคำอวยพร
รุ่งโรจน์นิรันดร เหมือนดาวเด่นเห็นตระการ
* เมื่อใดได้แลเห็น เสลา เด่นระทวยบาน
เมื่อนั้นขอบันดาล ให้รำพึงคิดถึงกัน
๑๐ มีนาคม ๒๕๑๓
งามจริงยิ่งทวี เป็นศักดิ์ศรีห้องสามก.
หมั่นมั่นขยันเรียน ทั้งพากเพียรประโยชน์พอ
นิสัยทั้งใจคอ นับหนักแน่นความภักดี
เปรียบเดือนก็เหมือนเพ็ญ เปรียบเย็นเหมือนวารี
เปรียบหอมเหมือนมาลี ชื่อราตรีขจายจร
หวังใดฤทัยตั้ง ให้สมดั่งคำอวยพร
รุ่งโรจน์นิรันดร เหมือนดาวเด่นเห็นตระการ
* เมื่อใดได้แลเห็น เสลา เด่นระทวยบาน
เมื่อนั้นขอบันดาล ให้รำพึงคิดถึงกัน
๑๐ มีนาคม ๒๕๑๓
ดอกเสลาเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนดััดดรุณี
แต่ต้นเสลาเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด นครสวรรค์
และต่อมาภายหลังยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกด้วย
ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ขอขอบคุณภาพจากwww.9artgallery.com
ก่อนอื่นขอแนะนำพรรณไม้ที่ขอใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (แปลเป็นภาษาไทยของเราแล้วว่า) อาณาจักร ( อาณาจักรพืช ) หมวด ชั้น อันดับวงศ์ สกุล สปิชี่ส์
แต่บทความนี้มิใช่บทเรียนชีววิทยาจึงขอนำมาใช้บางชื่อที่สำคัญเพียงยกตัวอย่างให้เห็นเท่านั้นว่า พรรณไม้เหล่านี้ในบทความเป็นพืชสกุลเดียวกัน วงศ์เดียวกัน
หรือขอใช้ศัพท์ตามถนัดของพลอยโพยมว่า
โคตรเดียวกัน และเป็นวงศ์วานหว่านเครือหน่อเนื้อเดียวกันนั่นเอง
หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าดอกเสลาแตกต่างจาก ตะแบก และอินทนิล (ทั้งอินทนิลบกและอินทนิลน้ำ) ซึ่งแน่นอนว่า เป็นความสังเกตของคุณครูสอิ้ง ที่ยกดอกเสลามาเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน ข้อนี้มิใช่คำบอกกล่าวเล่าขานของท่านใด ๆ ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณภาพจากwww.9artgallery.com
เป็นการประมวลผลข้อมูลของพลอยโพยมเองล้วน ๆ ไม่ใช้ศาสตร์ (Data processing ) หรือศิลป อะไรเลย
ใช้เพียงแค่ความรู้สึกนึกคิด ของพลอยโพยมเอง
๑. คำว่าเสลา เป็นคำงดงามทางด้านภาษาใช้เป็นบทร้อยกรองได้ไพเราะเพราะพริ้งกว่า ตะแบก และอินทนิล
๒. คำว่าเสลา ถือว่าเป็นคำพ้องรูป มีความให้อ่านได้เป็นสองทาง คือ สะ- เหลา หรือ เส-ลา
ลูกดัดดรุณีต้องรู้ตัวว่า เราเป็นเหล่าสะ-เหลา หรือเหล่า เส-ลา
๓. คำแปลของ สะ-เหลา หมายถึงชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำเครื่องเกวียน. ก. เป็นสร้อยบทของสลัก, ใช้ว่า สลักเสลา ก็แปลว่า สลัก นั้นเอง. ว. เปลา, โปร่ง, สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, เฉลา ก็ว่า.
ส่วน เส – ลา หมายถึง เขา, หิน เช่น ที่เนินเสลามีต้นไม้เต็มไปหมด
แค่ความหมายของสะ-เหลา ก็บ่งบอกความหมายในตัวเองของบรรดาลูกสาวของ สะ-เหลาแล้วว่า เป็นคนอย่างไร แน่นอนว่าเป็นคนที่ ปลอดโปร่ง สวยงาม เกลี้ยงเกลา งดงามแบบเฉิดเฉลาเพราเพริด
๔. ดอกเสลา มีความงดงามอ่อนช้อย ย้อยระย้า ท้าแสงสุริยา เพราะบานสะพรั่งในช่วงจะเข้าฤดูร้อน
เมื่อเสลา (สะ-เหลา) ออกดอกจะทิ้งใบ คือผลัดใบเกือบหมดทั้งต้น ช่อดอกของเสลาจะยาวกว่าข่อดอกตะแบก ช่อดอกอินทนิล จำนวนดอกก็มีมากกว่า
ดอกช่อล่าง ๆ ของเสลาจะย้อยห้อยลงต่ำ เข้าตำรารวงข้าวที่มีรวงมากย่อมน้อมรวงลง เป็นการบอกกล่าวว่าชาวดัดดรุณี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และจำนวนดอกย่อยที่มีมากมายบอกกล่าวว่า ชาวดัดดรุณีมีความสมัครสมานสามัคคี
ที่สำคัญ ชาวดัดดรุณี มีขนบธรรมเนียมประเพณี แบบระบบ SOTUS ของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย และมีมาเนิ่นนานแต่กาลก่อนกว่าที่พลอยโพยมเข้าไปรู้จัก SOTUS ในรั้วจามจุรี อาจจะได้แบบอย่างจากใครสักคนหรือหลาย ๆ คนจากรั้วจามจุรี เพราะที่ดััดดรุณี มีขวัญใจน้ำเงิน-ชมพู มีเพลงด้วย เหมือนขวัญใจจุฬา ฯ ที่มีเพลงขวัญใจจุฬา ฯ ของวงสุนทราภรณ์ที่มีความหมายมากสำหรับคนที่ได้เป็นขวัญใจจุฬา ฯ ในแต่ละปี
ขอขอบคุณภาพจาก
พลอยโพยมตัดสินใจให้ใบเตยลูกสาวคนโตไปอยู่ใต้ร่มเสลา แทนโรงเรียนมีชื่อในกรุงเทพมหานคร ฯ ที่แย่งกันสอบเข่้า แต่น่าแปลกใจที่ใบเตยไม่รู้จักต้นเสลา ดอกเสลา เพลงเสลารำพึง
ในขณะที่ใบเตยเรียนจบชั้น ม .๖ ซึ่งรุ่นของใบเตยนั้นมีห้องเรียน ๙ ห้อง เด็ก ๆ ใช้ชื่ื่อรุ่นตนเองว่า " รุ่นนพเก้า " มี ผู้อำนวยการ ชาตรี ศิวรานนท์ ผู้บริหารคนที่ ๑๕ และเป็นผู้บริหารชายคนแรกในประวัติของโรงเรียน เด็กนพเก้ากำลังคิดหาสิ่งของมอบให้โรงเรียนก่อนอำลาจากโรงเรียนไป
นักเรียนรุ่น" นพเก้า " ชุดของใบเตย นี้ (พลอยโพยมไม่แน่ใจว่า มีรุ่น"นพเก้า" ซ้ำกันไหม) ก็ไปเป็นดาวจรัสแสง เปล่งประกายระยิบระยับที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือเรียนได้เกียรตืนิยมนั่นเอง
ขอขอบคุณภาพจาก
คราวนั้นวันหนึ่งพลอยโพยมและใบเตยไปที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มีต้นเสลากำลังออกดอกอยู่ใกล้กับศาลาพระเกี่ยว (ด้านคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบัญชี) พลอยโพยมชี้ต้นเสลาให้ใบเตยดูและบอกใบเตยว่า
เมื่อก่อนที่โรงเรียนดัดฯ มีต้นเสลา และ ใช้ดอกเสลาเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน มีเพลงเสลารำพึง และเสลามีความหมายกับนักเรียนรุ่นเก่าเช่นแม่ของใบเตยเป็นอันมาก
ใบเตยก็เกิดความคิดทันทีที่จะซื้อต้นเสลามอบให้เป็นที่ระลึกของรุ่น "นพเก้า" มอบให้โรงเรียน หลังจากกลับมาพูดคุยกับเพื่อนนักเรียนแล้ว ก็มีออร์เดอร์ซื้อต้นเสลา ๙ ต้น ทันที และด่วนจี๋ เร็วจ้า ด้วย
ปกติเสลาเป็นพันธุ์ไม้ดาษดื่นของตลาดพันธุ์ไม้วันพุธที่สวนจตุจักร สนนราคาต้นละ ๒๐ บาท สูงประมาณ เมตรเศษ ๆ แต่ออร์เดอร์ด่วนจี๋ ทำให้พลอยโพยมจะไปหาจากตลาดนัดจตุจักรวันพุธไม่ทันการ จึงวิ่งหาซื้อ (ใช้รถวิ่งน่ะเอง) ตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป
ดังนั้นจึงต้องจำยอมซื้อในราคา ตั้งแต่ราคา ๕๐ - ๑๐๐ บาท ขึ้นไป จนราคาต้นที่แพงที่สุด ๒๐๐ บาท แล้วเด็กดัดดรุณี รุ่น "นพเก้า " นี้ ก็เอากระดาษสวยงามมาหุ้มกระถางเสลา ๙ ต้น มอบให้โรงเรียน
ขอขอบคุณภาพจาก
ต่อมา พลอยโพยมไปถามหาเสลา ๙ ต้น กับเพื่อน ๆ ที่เป็นครู ในโรงเรียน (ขอไม่ใช้คำว่าอาจารย์) พลอยโพยมมีเพื่อนเป็นครูในโรงเรียนนี้หลายคน เพื่อนสนิทคนหนึ่ง คือ ราตรี วัฒนอาภรณ์ชัย ไปเที่ยวเหลียวแลชะแง้ชะเง้อค้นหาให้ตามสุมทุมพุมไม้ของโรงเรียนก็ไม่พบเห็นว่าเอาไปปลูกไว้ที่บริเวณไหน
เป็นเพราะพลอยโพยมไม่เล่าสู่ให้เพื่อนครูที่เป็นศิษย์เก่าดัดดรุณีนั่นเอง ต้นเสลาในสายตาผู้มิใช่ศิษย์เก่าจึงไร้ค่าถูกเมินเมยคุณค่าของต้นเสลา ๙ ต้น ชุดนั้น
ขอขอบคุณภาพจาก
พรรณไม้ในสกุล Lagerstroemia
วงศ์ Lythraceae
ที่เรารู้จักพบเห็นเสมอ ๆ ทั่วไป มีพรรณไม้ เสลา ตะแบก และอินทนิล
หากแต่บางครั้งเราก็ออกจะสับสนว่า ทั้งเสลา ตะแบก และอินทนิล แตกต่างกันอย่างไร มิหนำซ้ำ แต่ละชื่อก็มีความแตกต่างกัน เสลามีหลายเสลา อินทนิลก็มีทั้งอินทนิลน้ำอินทนิลบก ตะแบกก็มีหลายตะแบก
ขอคัดลอกบทความจากสำนักหอพรรณไม้เพื่อแยกชนิดของพรรณไม้เหล่านี้ และแน่นอนว่าต้องขอต้นเสลาเป็นพระเอกนางเอกของบทความนี้ ตามชื่อของบทความว่า เสลารำพึง คิดถึงดัดดรุณี
เสลา ตะแบก และอินทนิลเป็นพืขในสกุล Lagerstroemia อยู่ในวงศ์ Lythraceae
๑..เสลาขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia tomentosa C. Presl
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่อสามัญ White Crape Myrtle
ชื่ออื่น เบาะโยง เบาะสะแอน เบาะเส้า (เชียงราย); เปื๋อยขาว (ภาคเหนือ); เสลา (ราชบุรี สระบุรี); เสลาเปลือกบาง (กำแพงเพชร); เส้า เส้าขาว เส้าเบาะ (เชียงใหม่)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
กลีบดอกสีขาว มีก้านกลีบ
เสลาขาวเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๕ ม. เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงเทาเข้ม แตกและหลุดเป็นแผ่นตามยาว ใบอ่อนมีขนรูปดาวสีเหลืองปกคลุม ใบเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบมนหรือกลม แผ่นใบด้านล่างมีขนยาว
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว ๖-๒๐ ซม. มีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาวหรือสีชมพูอ่อน กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ ๕-๖ แฉก มีสัน 1 ๑๐ - ๑๒ สัน ติดทน กลีบดอก ๕-๖ กลีบ รูปไข่กลับ ขอบกลีบเป็นคลื่น แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ที่สมบูรณ์มี ๖-๗ อัน ยาวและหนากว่า รังไข่มีขนสั้นนุ่มสีเหลืองอมน้ำตาลหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียเรียว
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
เกสรเพศผู้จำนวนมาก มีที่สมบูรณ์มี ๖-๗ อัน
ผลแบบผลแห้งแตกเป็น ๖ ซีก รูปขอบขนาน ยาว ๑.๒-๑.๗ ซม. ปลายมีขน เมล็ดจำนวนมาก
เสลาขาวมีเขตการกระจายพันธุ์ที่ พม่า จีนตอนใต้ เวียดนาม ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ระดับความสูง ๑๐๐-๗๐๐ ม.
เสียดายที่พลอยโพยมเคยถ่ายภาพเสลาดอกขาวที่ปลูกไว้ที่บ้าน แต่ค้นหาภาพไม่พบ ค้นหามาครึ่งวันตั้งแต่เช่้าแล้ว เลยไม่ภาพที่เป็นช่อดอกประกอบ
๒. เสลาดำ
ชื่อวิทยาศาสตรฺ์ Lagerstroemia venusta C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ดูที่ เสลาเปลือกบาง
๓.เสลาเปลือกบาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia venusta C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่อสามัญ Crepe Myrtle
ชื่ออื่น เซ้า ติ้ว ทิ้ว (สระบุรี); เปื๋อยขี้หมู (นครพนม); เปื๋อยช่อ (ภาคเหนือ); เสลาดำ (ราชบุรี); เส้า เส้าชิ้น เส้าดำ เส้าหมื่น (ภาคเหนือ)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง
เสลาเปลือกบางเป็นไม้พุ่มหรือม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ประมาณ ๒๒ ม. เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาว กิ่งมีขนละเอียด ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือกลม โคนใบเบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ระหว่างกลีบเลี้ยงมีติ่งยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง เกสร ๖-๗ อันด้านนอกยาวกว่าอันด้านใน
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ยาวได้ถึง ๓๐ ซม. มีขนละเอียดหนาแน่น มีก้านดอกเทียม กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีขนสั้นนุ่ม หลอดกลีบ มี ๖ สัน กลีบเลี้ยง ๖ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ระหว่างกลีบมีติ่งยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง ติดทนในผล กลีบดอกสีชมพูอมม่วง มี ๖ กลีบ รูปไข่ ขอบกลีบเป็นคลื่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก มี ๖-๗ อันนอกยาวกว่าอันใน รังไข่เกลี้ยง เกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม
ผลแห้งแตกเป็น ๔-๕ ซีก รูปรี . เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากเรียวยาว
เสลาเปลือกบางมีที่จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ระดับความสูง ๑๕๐-๘๐๐ เมตร
๔..เสลาใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ดูที่ อินทรชิต
๕.อินทรชิต
ชื่อวิทยาศาตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่อสามัญ Crepe Myrtle
ชื่ออื่น เซ้า ติ้ว ทิ้ว (สระบุรี); เปื๋อยขี้หมู (นครพนม); เปื๋อยช่อ (ภาคเหนือ); เสลาดำ (ราชบุรี); เส้า เส้าชิ้น เส้าดำ เส้าหมื่น (ภาคเหนือ)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ดอกสีขาวอมม่วง ขอบกลีบดอกจักชายครุย
อินทรชิตเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูงได้ประมาณ ๒๐ เปลือกสีเทาเข้มถึงสีเทาดำ แตกเป็นร่องตามยาว เปลือกในสีม่วง ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือเกือบกลม . ปลายใบแหลม มน หรือเกือบกลม ปลายเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลม มน หรือกลม แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้ง ๒ ด้าน
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว ๑๐-๓๐ ซม. ดอกสีชมพูสด หรือขาวอมม่วง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันนูนตามยาวไม่ชัดเจน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม ๖-๘ แฉก ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ปลายกลีบพับกลับลง กลีบดอกมี ๖-๘ กลีบ รูปไข่กลับ ขอบกลีบเป็นคลื่น จักชายครุย แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวเท่า ๆ กัน รังไข่มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ดอกสีชมพู ขอบกลีบดอกจักชายครุย
ผลแบบแห้งแตกเป็น ๔-๖ ซีก รูปรีหรือรูปขอบขนาน เกือบเกลี้ยง เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
อินทรชิตมีเขตการกระจายพันธุ์ที่พม่า ลาว กัมพูชา ปลูกประดับทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาด ระดับความสูงจนถึงประมาณ ๔๐๐ ม.
ตะแบก
ตะแบก
ประกอบด้วย ๑. ตะแบกกราย Terminalia pierrei Gagnep. Combretaceae ๒.ตะแบกเกรียบ Lagerstroemia cochinchinensis Pierre Lythraceae ๓.ตะแบกขน (Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn. Lythraceae ๔..ตะแบกไข่ Lagerstroemia floribunda Jack Lythraceae ๕.ตะแบกตัวเมีย Lagerstroemia subangulata Craib Lythraceae ๖.ตะแบกใบขน Terminalia pierrei Gagnep. Combretaceae ๗.ตะแบกใบเล็ก Lagerstroemia cochinchinensis Pierre Lythraceae ๘.ตะแบกเลือด Terminalia pedicellata Nanakorn Combretaceae ๙.ตะแบกหนู Lagerstroemia subangulata Craib Lythraceae
๑๐.ตะแบกนา
ตะแบกนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda Jack
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่อสามัญ Crepe Myrtle
ชื่ออื่น เซ้า ติ้ว ทิ้ว (สระบุรี); เปื๋อยขี้หมู (นครพนม); เปื๋อยช่อ (ภาคเหนือ); เสลาดำ (ราชบุรี); เส้า เส้าชิ้น เส้าดำ เส้าหมื่น (ภาคเหนือ)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ตะแบกนาเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๔-๑๕ ม. เปลือกสีเทาบาง แตกเป็นแผ่น ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมนหรือกลม แผ่นใบมีขนตามเส้นกลางใบด้านล่าง ใบแก่เกือบเกลี้ยง
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๒๐-๔๐ ซม. มีขนกระจุกสั้นนุ่มทั่วไป ดอกสีชมพูเข้มหรืออมขาว มีก้านดอกเทียม ปลายดอกตูมมีตุ่มขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีขนกระจุกสีน้ำตาลหนาแน่น กลีบเลี้ยง ๖ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ติดทน กลีบดอก ๖ กลีบ รูปรี ยาว ๑-๑.๖ ซม. รวมก้านกลีบเกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวเท่า ๆ กัน รังไข่มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล เกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตก ๖ ซีก รูปรี มีขนประปราย หนาแน่นช่วงปลายผล
ตะแบกนามีเขตการกระจายพันธุ์ที่ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ระดับความสูง ๕๐-๕๐๐ เมตร ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามสองข้างถนน
อินทนิล
ขอขอบคุณภาพจากwww.khaosod.co.th
๑.อินทนิลน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstoemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่อสามัญ Giant Crape-myrtle, Queen's Crape-myrtle, Pride of India
ชื่ออื่น ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ); บาเย (มาเลย์)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
ชอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง เกสรเพศผู้จำนวนมาก
อินทนิลน้ำเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สูงได้ประมาณ ๒๐ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือกลม แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ตั้งตรง . มีขนสั้นนุ่ม ร่วงง่าย ดอกจำนวนมาก ก้านดอกตาดอกทรงกลมหรือรูปปิรามิด มีจุกสั้นๆ ที่ปลาย กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีขนสั้นนุ่มด้านนอก ปลายแยกเป็น ๖ กลีบ บานออกหรือพับงอ ขอบกลีบค่อนข้างหนา กลีบดอก ๖ กลีบ กลีบเกือบกลม . ขอบย่น มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนกลีบเลี้ยงใกล้โคน ยาวเท่าๆ กัน รังไข่ทรงกลม เกือบเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม กลีบเลี้ยงในผลพับงอ เกือบเกลี้ยง
ผลทรงรีหรือเกือบกลม แข็ง เกลี้ยง ปลายเป็นติ่งแหลม แตกเป็น ๖ ซีก เมล็ดจำนวนมาก เรียวยาว มีปีก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
แคปซูลเกลี้ยง ปลายเป็นติ่งแหลม
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
อินทนิลน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในอินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงออสเตรเลียตอนบน ในไทยพบกระจายทุกภาค ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ และสองข้างถนน
ประโยชน์ อินทนิลน้ำมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง เช่น เปลือกแก้ไข้ แก้ท้องเสีย ใบหรือแก่นต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ และลดความดัน เนื้อไม้แข็ง ใช้ในการก่อสร้าง
อินทนิลบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstoemia macrocarpa Wall. ex Kurz
ชื่อวงศ์ Lythraceae
ชื่ออื่น กาเสลา, กาเสา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); จ่อล่อ, จะล่อหูกวาง (ภาคเหนือ)
อินทนิลบกเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ ๑๐-๑๕ ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ ปลายใบมนกลมหรือแหลม โคนใบมน กลม หรือแหลม แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอกขนาดใหญ่ เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ตั้งตรง มีขนสั้นนุ่ม ดอกจำนวนมาก มีก้านดอก ตากดอกทรงกลม ๆ มีจุกสั้นๆ ที่ปลายหรือไม่มี กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันประมาณ ๑๒ สัน มีขนละเอียดด้านนอก ปลายแยกเป็น ๖ กลีบ หนา บานออก กลีบดอก ๖ กลีบ กลีบกลมหรือรี ขอบย่น มีก้านกลีบเกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนกลีบเลี้ยงใกล้โคน ยาวเท่าๆ กัน รังไข่ทรงกลม เกือบเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม กลีบเลี้ยงในผลบานออก หนา
ขอขอบคุณภาพจาก http://web3.dnp.go.th
กลีบดอก ๖ กลีบ มีก้านกลีบ
ผลทรงรีหรือเกือบกลม . แข็ง เกลี้ยง ปลายเป็นติ่งแหลม แตกเป็น ๖ ซีก เมล็ดจำนวนมาก เรียวยาว มีปีก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://web3.dnp.go.th
แคปซูลแตกเป็น ๖ ซีก
อินทนิลบกมีเขตการกระจายพันธุ์ในพม่า ลาว ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ขึ้นในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ระดับความสูงจนถึงประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ และสองข้างถนน เช่นเดียวกับอินทนิลบก
หมายเหตุ ลักษณะทั่วไปคล้ายอินทนิลน้ำ แต่ตาดอกและแคปซูลมีขนาดใหญ่กว่า เป็นพันธุ์ไม้สัญญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แทนความแข็งแกร่ง อดทน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน เจริญเติบโตได้ทุกสภาพในประเทศไทย ช่อเรียงแน่นเป็นกลุ่ม ดอกสีสด หมายถึง ความรัก ความสามัคคี
ขอขอบคุณข้อมูลอละภาพจากจาก สารานุกรมพืช สำนักงานหอพรรณไม้
http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2&typeword=group
ขอบคุณค่ะ เป็นคนชอบเสลาใบเล็ก เปลือกต้นสีดำ สีดอกอ่อนหวาน มีทั้งม่วง ชมพู และขาวในช่อเดียวกัน
ตอบลบเคยปลูกไว้ ให้ดอกสวย อ่อนโยน แต่ช่วงนั้นแห้งแล้งมาก เธอจึงไปสวรรค์แล้ว จะหาปลูกใหม่ก็หายาก ถ้ามีโอกาสคงจะต้องหามาปลูกอีก