วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธงค์ ๗๗ กรุงกบิลพัสดุ์ หลังพุทธกาล
ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เกิดในกรุงสาวัตถี แต่จะขอลัดข้ามเรื่องราวออกนอกเมืองสาวัตถี ละแคว้นโกศลของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าปเสนทิโกศล ไว้กับอดีตครั้งพุทธกาล มุ่งไปสู่ เมืองกบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ (บาลี: Kapilavatthu กปิลวัตถุ; สันสกฤต: Kapilavastu กปิลวัสตุ; อังกฤษ: Kapilavastu)
เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ
เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ ๒๙ ปี
ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน
กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
กบิลพัสดุ์ หลังพุทธกาล
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=483641
หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เจ้าศากยะแห่งกบิลพัสดุ์ต่างก็ได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากกุสินาราแล้ว จึงได้สร้างพระสถูปในรามคามในแคว้นศากยะเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุตั้งไว้เป็นที่สักการ บูชาสืบไป.
กบิลพัสดุ์เมืองร้าง
ในจดหมายเหตุโบราณกล่าวถึงสถานการณ์ของเมืองกบิลพัสดุ์ในระยะหลังพุทธกาลว่า:-
กบิลพัสดุ์ ไม่มีราชาปกครอง บ้านเมืองสกปรก เต็มไปด้วยฝุ่น ครอบครัวศากยะยังมีอยู่ประมาณ ๒๐ คน สืบเชื้อสายจากพระเจ้าสุทโธทนะ และเป็นกำลังสำคัญ แก่พระพุทธศาสนาสืบมา และยังคงมีศรัทธา ในพระพุทธศาสนา อย่างมั่นคงอยู่. กบิลพัสดุ์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หลวงจีนฟาเหียน ได้บันทึกว่า ในเมืองกบิลพัสดุ์พบแต่สิ่งปรักหักพัง และในครั้งนั้น มีพระภิกษุอยู่ เป็นจำนวนน้อย พุทธบริษัทเหลืออยู่ไม่กี่คน พระสถูปในที่ต่างๆ ซึ่งสร้างอุทิศ แด่พระพุทธเจ้านั่น ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่.
กบิลพัสดุ์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หลวงจีนเฮียงจัง หรือ พระถังซัมจั๋ง ได้พรรณนา เมืองกบิลพัสดุ์แห่งนี้ว่า:-
“แคว้นกบิลพัสดุ์ มีอาณาเขตโดยรอบ ประมาณ ๔,๐๐๐ ลี้ เขตนครหลวงโดยรอบ ประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้ เป็นที่ร้าง ปรักหักพัง กำแพงพระราชวัง โดยรอบราว ๑๕ ลี้ เหลือแต่ฐาน ก่อด้วยอิฐแข็งแรงมาก. ภายในนั้น ยังมีฐานพระราชวัง ของพระเจ้าสุทโธทนะ (พระพุทธบิดา) แต่ได้สร้าง ปราสาทขึ้นไว้ ณ ที่นั้น และได้ประดิษฐาน พระรูปของพระมหากษัตริย์ พระองค์นั้น. ด้านเหนือมีฐานเดิม ห้องบรรทม ของพระนางมหามายา (พระพุทธมารดา) และได้สร้างปราสาทขึ้น ทั้งมีพระรูป ของพระนาง ประดิษฐานไว้เช่นเดียวกัน
ข้างปราสาทนี้ ยังมีปราสาทอีกแห่งหนึ่ง เป็นอนุสาวรีย์ พระศากยมุนีโพธิสัตว์ เมื่อเสด็จสู่ ปฏิสนธิในมาตุคัพโภทร (ตามที่พระพุทธมารดา ทรงสุบิน) และมีรูปแสดงไว้ด้วย (ภาพวาดที่ฝาผนัง).
ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถูป อันเป็นที่ซึ่ง พระอสิตดาบส ทำนายลักษณะ พระมหาบุรุษราชกุมาร เบื้องซ้ายขวาของเมือง เป็นที่ซึ่งพระราชโอรส ประลองศิลปศาสตร์ ในท่ามกลาง วงศ์ศากยราช
อีกแห่งหนึ่งเป็นที่ซึ่งทรงม้าออกจากราชธานี (สู่มหาภิเนกษกรม) กับยังมีแห่งอื่น ๆ อันเป็นที่ ได้ทอดพระเนตร เห็นคนชรา คนป่วย คนถึงมรณกรรม กับพระสมณะ แล้วเสด็จกลับ ด้วยพระหฤทัย เหนื่อยหน่ายในโลกิยวิสัย”
ต่อจากนั้น พระถังซัมจั๋ง ได้เดินทางไปตามป่าทึบ ทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕๐๐ ลี้ ถึงรามคาม อันเป็นถิ่น มีผู้คนอาศัยอยู่น้อย ด้านตะวันออก ของเมืองเก่า มีสถูปก่อด้วยอิฐสูง ๑๐๐ เฉี้ยะ เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับส่วนแบ่ง มาจากโทณพราหมณ์.
กบิลพัสดุ์สมัยปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=483641
กรุงกบิลพัสดุ์ ในปัจจุบัน เป็นเพียงชนบทเล็กๆ อยู่ที่ Piparawa จังหวัดสิทถัตถะนคร(Sidharatnagar) ชายแดน เขตประเทศอินเดีย ต่อกับประเทศเนปาล.
พระราชวัง และบ้านเมือง เหลือให้เห็นแต่เพียง ซากอิฐซากหิน ซึ่งมีไม่มาก ส่วนใหญ่ น่าจะจมอยู่ใต้พื้นดิน ที่ยังไม่มีการขุด ค้นหากันแต่อย่างใด. ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกองโบราณคดีอินเดีย
ภาพผอบหินสบู่(Soap Stone) ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมอักษรพรหมีที่สลักเป็นหลักฐานว่า นี้คือพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากศากยวงศ์ ที่ถูกอัญเชิญเข้าเมืองไทย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=483641
ประวัติการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์ภูเขาทองวัดสระเกศ ฯ
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๑
มิตเตอร์ วิลเลี่ยม แคลกตัน เปปเป ชาวอังกฤษได้ขุดพบอิฐธาตุใน พระสถูป ณ ที่ใกล้ตำบลปิปราหวะ ตั้งอยู่ปลายชายแดนเนปาล คือเมืองกบิลพัสดุ์ มีอักษรจารึกเป็นอย่างเก่าแก่ที่สุดในอินเดียบอกว่าเป็นพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า คือส่วนที่กษัตริย์ศากยราช ในกรุงกบิลพัสดุ์ได้รับแบ่งปันในเวลาที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
เวลานั้นมาเครสเคอสัน เป็น อุปราชครองอินเดียอยู่ แต่ก่อนเคยอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรารภว่า สมเด็จพระเจ้า แผ่นดิน ที่เป็นพุทธศาสนูปถัมภกมีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่พระองค์เดียว มีความประสงค์จะถวายพระบรม สารีริกธาตุนั้นแด่พระองค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุมเปรียญ) แต่ครั้งยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิตเป็นผู้แทน ประเทศไทย ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นและครั้งนั้น พวกที่นับถือพุทธศาสนาในนานาประเทศ คือ ญี่ปุ่น พม่าลังกาและประเทศไซบีเรีย ต่างก็ได้ส่งฑูตเข้ามาทูลขอพระบรมสารีริกธาตุนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไปตามประสงค์ พระบรมสารีริกธาตุ ที่เหลือนั้น โปรดสร้างพระเจดีย์ทองสัมฤทธิ์เป็นที่บรรจุ แล้วโปรดให้ประกอบพระราชพิธีบรรจุในพระเจดีย์บนยอดบรมบรรพตเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒ การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุคราวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรจึงเสด็จ พระราชดำเนินไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา เสด็จแทนพระองค์
หมายเหตุ กบิลพัสดุ์ใหม่แห่งนี้ สัญนิษฐานว่า หลังจากเจ้าศากยวงศ์ทั้งหลายถูกทำลายโดยพระเจ้าวิฑูทภะ ส่วนที่ยังเหลืออยู่ได้มาสร้างวังแห่งใหม่ ณ สถานที่แห่งนี้ และสร้างสถูปพร้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย ซึ่งเมืองกบิลพัสดุ์เก่า ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากลุมพินีวันทางทิศเหนือ ๒๒ กิโลเมตร
บทความโดย ท่านคมสรณ์
จากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=483641
ซากอาคารพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ปัจจุบันกรุงกบิลพัสดุ์ เท่าที่ได้ค้นคว้ากันมาหลาย ๆ ท่านสรุปว่า เป็นบริเวณทั้งที่อยู่ในเนปาล และอินเดียบริเวณ ที่อยู่ในเนปาลเรียกว่า ติเลาราโกฏิ จากลุมพินีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๒๗ก.ม. อยู่ในบริเวณเขตปาเคเรียในเนปาล ตอนนี้มีเหลืองเพียซากโบราณสถานเท่านั้น และพบซากพระราชฐาน ปราสาทที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเคยใช้ชีวิตถึง ๒๙ พรรษาและโบราณสถานอื่นๆ เมืองโบราณรกร้างแห่งหนึ่งชื่อติเลาราโกต หรือป้อมปราการแห่งติเลารา เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับเมืองกบิลพัสดุ์ ในเอกสารทางประวัติศาสตร์และคัมภีร์พุทธศาสนาหลายฉบับได้ระบุไว้ว่า ห่างออกไปทางทิศเหนือราว ๑๖ กิโลเมตรคือเชิงเขาหิมาลัย มีสวนลุมพินีวันอยู่ทางทิศตะวันออก ในระยะ ๓๕ กิโลเมตร ทิศตะวันตกมีแม่น้ำสายเล็กๆ สาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่าน ส่วนทางทิศใต้ คือตำแหน่งของเมืองโกติฮาวา
เมืองโบราณที่ระบุไว้ในบันทึกพระถังซัมจั๋ง มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ติเลาราโกตหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ จนถึงวันนี้ ได้พบหลักฐานมากมายที่ยืนยันความเป็นนครโบราณที่มีอายุเก่าแก่ก่อน พระพุทธเจ้า ประสูติถึง ๑๐๐ ปี และเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ก่อนนครแห่งนี้จะถูกทิ้งร้างไป
ซากประตูเมืองฝั่งตะวันออก
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
จากการขุดค้นของนักโปราณคดี พบว่าที่นี่เป็นเมืองเก่าราว ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาลแน่นอน จากร่องรอยกำแพงเก่า มันเป็นแนวเส้นตรง แล้วเลี้ยวมาทางนี้ แสดงว่าต้องมีโครงสร้างของกลุ่มอาคารเก่าจากที่เราขุด เราพบว่าเมืองนี้มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีคูเมืองและประตูเมืองสี่ทิศ ภายในเมืองมีถนนกว้างเกือบ ๖ เมตร ที่นี่เคยเป็นเมืองที่มั่งคั่ง มีร้านค้าตั้งอยู่สองฟากถนน ตรงนี้เป็นร้านช่างเหล็ก ประชาชนมีอาชีพค้าขาย ทำไร่ทำนา แล้วก็เลี้ยงสัตว์ ในจำนวนเนินดินทั้ง ๘ แห่งภายในกำแพงเมือง หนึ่งในนั้นเราได้ขุดพบโครงสร้างของอาคารที่เราสันนิษฐานว่าเดิมอาจจะเป็น ปีกวังด้านเหนือของพระราชวังหลวงที่พระเจ้าสุทโธทนะประทับ วังหลวงมักอยู่ตรงกลางและมีอาคารต่อเนื่องไปรอบๆ แต่ละอาคารก็ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ตรงนี้อาจเป็นส่วนของเนินดินลูกอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ขุดสำรวจ โดยเฉพาะเนินลูกกลางที่สูงที่สุด อาจเป็นอาคารที่เป็นพระราชวังหลวง... เราจะเริ่มขุดกันอีกครั้งเร็ว ๆ นี้” ฉันได้เห็นประตูกำแพงเมืองด้านตะวันออก ซึ่งเป็นจุดที่ระบุไว้ในพุทธประวัติว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชโดยทรง ม้ากัณฐกะไปทางประตูนี้ คุณพสันตาชี้ให้ฉันมองผ่านประตูออกไปที่ทุ่งนากว้าง จะเห็นสถูปเล็กๆ เชื่อว่าสร้างไว้เป็นอนุสรณ์สถานให้ม้ากัณฐกะที่ตายขณะที่เดินทางกลับวังมา ลำพัง
ซากประตูเมืองทิศตะวันตก
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย
ความสำคัญของกรุ งกบิลพัสดุ์ ไม่ได้จบลงพร้อมกับการเสด็จละทิ้งชีวิตในวังไปแสวงหาความหลุดพ้น แต่หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ระยะหนึ่ง พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาก็ได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ จากเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ไปทางใต้ราว ๕ กิโลเมตร ทีมนักโบราณคดียังได้พบสถานที่ที่ พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับที่เมืองกบิลพัสดุ์ โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่พระถังซัมจั๋งระบุไว้ในบันทึก และจากคัมภีร์ พุทธศาสนา เช่นกัน นั่นคือวัดนิโครธาราม พระสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ณ ตำแหน่งที่พระนางปชาบดีถวายผ้าสังฆาฏิแด่ พระพุทธเจ้า และได้บูรณะใหม่อีกครั้งในสมัยคุปตะ คือเมื่อราว ๑,๐๐๐ ปีหลังยุคพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับที่วัดนิโครธารามหลายครั้งและได้แสดงธรรมโปรดชา วกบิลพัสดุ์ จนกล่าวกันว่าในสมัยนั้นมีชาวกบิลพัสดุ์ ทั้งประชาชนและพระญาติใน ศากยวงศ์บวชเป็นพระสงฆ์นับหมื่นรูป
การเดินทางสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ในเนปาลนั้น เดินทางนั่งเครื่องบินจากกาฐมัณฑุ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยังบริเวณ ไพราวาห์ และลงที่ลุมพินี จากนั้นเดินทางจากลุมพินี ลงมาทางทิศใต้ราว ๒๗ ก.ม. ดังได้กล่าวแล้ว
ขณะที่ทางเนปาล ค้นพบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ากลุ่มโบราณสถานที่ติเลาราโกตเป็นเมืองกบิลพัส ดุ์ เวลาเดียวกัน ทางฝ่ายอินเดียเองก็อ้างว่าได้ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์เหมือนกัน เพราะมีการขุดค้นพบร่องรอยของโบราณสถานหลายแห่งที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่ากานวาเรีย ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนอินเดีย-เนปาล ไม่กี่กิโลเมตร
เมืองกบิลพัสดุ์จริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน ในอินเดีย หรือเนปาล เป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งสองแห่งอยู่ในอาณาเขตของเมืองเดียวกัน โบราณสถานที่กานวาเรีย (Ganwaria) เป็นตำแหน่งที่กองโบราณคดีอินเดียเชื่อว่าคือพระราชวังและตัวเมืองกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ ซึ่งขุดพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ปัจจุบันการขุดค้นยังคงดำเนินต่อไป หลังจากที่ได้พบอาคารขนาดใหญ่สร้างด้วยอิฐเผาสองหลัง นักโบราณคดี พบว่าโครงสร้างอิฐนี้สร้างเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนพุทธกาล ถึงพุทธศักราชที่ ๓๐๐ มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยม มีลานกว้างตรงกลาง ล้อมรอบด้วยห้องขนาดเล็กทั้งสี่ด้านกว่า ๒๐ ห้อง โบราณสถานหลังใหญ่นั้นเชื่อว่าเป็นพระราชวังกบิลพัสดุ์ กำแพงด้านตะวันออกของอาคารมีประตูใหญ่ที่อาจเป็นประตูที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกผนวช
ปัจจุบัน นักโบราณคดี ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ คุณฎสันตาซึ่งเป็น นักโบราณคดี เนปาลบอกว่า กลุ่มโบราณสถานในเขตอินเดียนี้น่าจะเป็นวัดมากกว่าวัง เพราะวังควรจะอยู่ในย่านชุมชนเมือง แต่กลับไม่พบหลักฐานที่แสดงความเป็นชุมชนเมืองแต่อย่างใด ที่สำคัญ ได้พบแผ่นจารึกอักษรว่า กบิลพัสดุ์สังฆาราม ซึ่งอาจเป็นชื่อกลุ่มอารามสงฆ์แห่งนี้ก็ได้
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5381.0
กรุงเทวทหะในปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/09/09/entry-1
กรุงเทวทหะในปัจจุบัน
เทวทหะ ในปัจจุบันเรียกว่า Davedaha ขึ้นต่ออำเภอรูปันเวหิ กับ Nawalparais district ตามเส้นทาง มเหนทรา ไฮเวย์ จากลุมพินี ผ่านเมือง Butwal ไปกาฐมัณฑุ เมื่อผ่านแม่น้ำโรหิณี จะมีป่าสาละต้นใหญ่ๆจำนวนมาก มีป้ายข้างทาง บอกว่า Devadaha Capital of Ancient Koliya Kingdom Birth Place of Mayadevi the Mother of Lord Buddha (เทวทหะ เมืองหลวงสมัยโบราณของอาณาจักรโกลิยะ เป็นมาตุภูมิเดิมของพระนางมหามายา พุทธมารดา) แสดงว่า เข้าเขตเมืองเทวทหะแล้ว
ระหว่างทางจะเห็นป่าสาละขึ้นอยู่ มีเนินดิน บ่อน้ำ กองหิน คูเมืองยาวประมาณ ๓ ก.ม. ซากปรักหักพัง โบราณสถานอื่นๆ สถานที่สำคัญในเมืองเทวทหะนั้น มี เทวาลัยสองแห่ง (เทวาลัย สถานที่สร้างเพื่อบูชาเทพเจ้า) คือ วิหารมหามายา (คนละแห่งกับที่อยู่ที่ลุมพินี) เรียกว่า ไบริไม กับที่บูชาพระแม่มหาปชาบดี (พระน้านางของพระพุทธเจ้า , พระภิกษุณีองค์แรก) เรียกว่า กันยาไม
สถานที่ที่ควรกล่าวถึงอีกสองแห่ง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองกบิลพัสดุ์ เทวทหะ และเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนเสด็จออกบรรพชา คือ แม่น้ำอโนมานที กับ แม่น้ำโรหีณี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://group.wunjun.com/truthoflife/topic/170990-4044
ขออภัยที่เสนอข้อมูล ตามข้อมูลดิบของแหล่งที่มาข้อมูลข้างต้น
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น