วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๗๘ นครกบิลพัสดุ์ แดนดินถิ่นเจ้าชายสิทธัตถะ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
นครกบิลพัสดุ์ เป็นนครหลวงของสักกชนบท ตั้งอยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ตอนเหนือของชมพูทวีป จัดอยู่ในมัชฌิมชนบท ขึ้นอยู่กับแคว้นโกศล เดิมเป็นดงไม้สักกะ เหล่าราชุตรของพระเจ้าโอกกากราชเป็นผู้สร้างร่วมกัน คราวเมื่อพระเจ้าโอกกากราชโปรดให้พระราชทานสมบัติให้ชันตุกุมาร โอรสของมเหสีใหม่ รับสั่งให้เชษฐกุมาร ให้ภคินีพาไปตั้งสำนักอาศัยอยู่ราวป่่าสักกะใหญ่ ริมสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ โดยรับสั่งให้ช้างมงคล คนติดตามประมาณหนึ่งโยชน์ วันที่สองประมาณสองโยชน์ วันที่สามประมาณสามโยชน์ พระกุมารปรึกษากันว่าจะใช้กองทัพนี้รบเอาเมืองต่าง ๆ แต่แล้วทรงเปลี่ยนพระทัยว่า การเบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดประโยชน์ ทรงดำริสร้างเมืองใหม่ตามคำแนะนำของกบิลดาบส
ขอขอบคุณภาพจากwww.kunkroo.com
กบิลดาบส
ตามอรรถกถากล่าวว่า กบิลพราหมณ์ผู้นี้คือพระโพธิสัตว์ รู้วิชาภูมิบาล ว่าด้วยการทำให้คนมองเห็นคุณ เห็นโทษ ในเบื้องบน ในอากาศ ในเบื้องล่าง ในเบื้องหน้า โดยให้คำทำนายว่า เมื่องที่สร้างขึ้นในที่นี้จะเป็นเมืองเลิศในชมพูทวีป ผู้ชายที่เกิดในเมืองแต่ละคน จะสามารถเอาชนะคน ร้อยคน พันคนได้ จงสร้างเมืองที่นี้ และจงสร้างราชมณเฑียร ณ ที่ตั้งบรรณศาลานี้ แล้วจึงได้นามว่ากบิลพัศดุ์
ชาวชมพูทวีปให้การยกย่องราชวงศ์แห่งศากยะมาก ด้วยว่าสูงส่งโดยชาติตระกูล เป็นเผ่าพงศ์แห่งอาทิตย์โคตร มีอารยธรรมขนบธรรมเนียมเฉพาะตน เคร่งครัดในการกำรงความบริสุทธิ์ของเชื้อสายเป็นอย่างมาก โดยไม่ยอมวิวาห์กับต่างตระกูล เพราะฉะนั้นในยุคพุทธกาลจึงชื่อว่า ชาวศากยราชเป็นวงศ์แห่งกษัตริย์ที่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อนมลทินใด ๆ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
สักกชนบท
สักกชนบทมีอาณาเขตกว้างใหญ่ เป็นเสมือนศูนย์กลางของนครน้อยใหญ่ เช่น มัลละ โกศล มคธ วัชชี เป็นต้น มีการปกครองแบบมุขสภา กษัตริย์ผู้ครองราชสมบัติ ทรงมีอำนาจและกล้าแกร่งในเชิงรบมาก โดยเฉพาะในยุคของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา นอกจากนั้นกบิลพัสดุ์ยังเป็นเมืองที่มีพราหมณาจารย์ ปุโรหิตาจารย์ที่เรืองนามอยู่มากมาย
ก่อนพุทธกาล สถานที่เป็นมหานครมานานแล้ว ดังปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก กล่าวถึงกรุงเชตุรราชธานี เป็นที่บำเพียรบารมีของพระโพธิสัตว์ เคียงคู่กับเมืองพาราณสีของพระเจ้าพรหมทัตเลยทีเดียว
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งหลายทั้งฝ่ายมหายานและฝ่ายเถรวาทต่างให้ความเห็นตรงกันว่า พระพุทธองค์ก่อนเสด็จออกผนวช เคยประทับอยู่ ณ พระราชวังกบิลพัสดุ์ เป็นเวลา ๒๙ ปี
ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
ในบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ( Chinese Pilgrim Fa-Hien) จาริกมาราว พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗ ( ค.ศ. ๓๙๙- ๔๑๔ ) ยังเห็นซากปรักหักพังของกบิลพัสดุ์ เมื่อมาถึงนครเคเว้ โลเว้ (กบิลพัสดุ์) ไม่มีกษัตริย์ และไม่มีพลเมืองอาศัยอยู่ มองดูเวิ้งว้างน่าใจหาย เห็นแต่พระสองสามรูป และมีบ้านเรือนเป็นหย่อม ๆ ราว ๒๐ หลัง นอกนั้นเป็นที่ว่างเปล่าแห้งแล้ง
พระถังซำจั๋ง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=48662
หลวงจีนถังซำจั๋ง ( Chinese traveler Hiuen -Tsang) บันทึกการเดินทางมาราว พ.ศ. ๑๓๐๐ (ค.ศ. ๗๕๖ ) เล่าเรื่องเมืองกบิลพัสดุ์ว่า ในแคว้นนี้โดยรอบประมาณ ๔๐๐ ลี้มีเมืองรกร้างอยู่สิบหัวเมือง ทุกเมืองเหลือแต่ซากปรักหักพัง หัวเมืองใหญ่ คือกบิลพัสดุ์ มองเห็นอิฐหักและกากปูน ราชสำนักภายในกรุงกบิลพัสดุ์กะว่ายาว ๑๔-๑๕ ลี้ ตัวเมืองก่ออิฐ รากกำแพงยังแข็งแรง ตั้งอยู่ให้เห็นเป็นแนวยาว มีสังฆารามร้างอยู่ประมาณ ๑.๐๐๐ หลัง มีสงฆ์สาวกอาศัยอยู่ มีเทวสถาน ๒ แห่ง มีรูปเทวะมากมาย ภายในบริเวณพระราชฐานมีกำแพงกั้นเป็นสัดส่วน พระราชวังของกษัตริย์สุทโธทนะยังเหลือเป็นซากอยู่ในวิหารมีรูปปั้นกษัตริย์สุทโธทนะ และวิหารเล็กสร้างไว้หลังหนึ่ง เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระนางสิริมหามายา
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
นครกบิลพัสดุ์แห่งสักกชนบทในปััจจุบันเรียกว่า ติเลารโกฏิ (Tilaurakot) หรือ (Ancient Kapilavastu ) จากลุมพินีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ยังเหลือเพียงซากอิฐกากปูนของโบราณสถาน ที่รัฐบาลเนปาลรักษาไว้เป็นประวัติศาสตร์เท่านั้น ทำให้หวนระลึกถึงพระมหาบุรุษเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะ ที่เคยประทับในที่แห่งนี้นานถึง ๒๙ ปี ก่อนที่จะพบเทวทูตทั้ง ๔ อันเป็นมูลเหตุให้สละพระราชฐานแห่งนี้ออกบรรพชา เพื่อมุ่งประโยชน์ของมหาชน
บริเวณโบราณสถาน
ด่านทิศตะวันออก เป็นทางเข้าออกของหมู่มุขอำมาตย์และข้าราชบริพาร ห่างจากกำแพงไม่ไกลนัก จะมองเห็นเนินดินอยู่กลางทุ่ง นั้นคือ สถูปกัณฐกะ ไม่ห่างจากแม่น้ำคัณฑัก ตามบันทึกของสมณะฟาเหียน กล่าวว่าสถูปนี้คือ อนุสรณ์ของการเสด็จออกบรรพชาในยามค่ำคืน ทางประตูด้านทิศตะวันออก ขณะนี้ยังมีกำแพงขนาดใหญ่ และช่องประตูให้เห็นเป็นหลักฐานสำคัญอยู่
ขอขอบคุณภาพจากtopicstock.pantip.com
บริเวณทิศตะวันตก เป็นประตูเสด็จพระราชดำเนินในยามฉุกเฉิน ด้านในมีสระโบกขรณี ๓ แห่ง สันนิษฐานว่าคงเป็นสระที่พระเจ้าสุทโธทนะ สร้างให้พระราชกุมารพร้อมด้วยปราสาท ๓ ฤดู ห่างออกไปทางทิศเหนือ จะมีฐานสถูปขนาดใหญ่ คือสถูปพระพุทธมารด่ากับสถูปพระพุทธบิดา ผู้เดินทางมาแสวงบุญ นอกจากสวดมนต์แผ่เมตตาที่ประตูเสด็จออกผนวชแล้ว ยังมาสักการะ ณ ที่แห่งนี้ด้วย
ขอขอบคุณภาพจากwww.trueplookpanya.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น