วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สู่แดนพระพุทธงค์ ๗๖ เรื่องราวคราวพุทธกาล ๗ ที่ธรณีสูบ






ในปัจจุบันนี้ ที่ใกล้ประตูทางออกพระเชตวันวิหาร ไม่ห่างกันนักกับที่จอดรถข้างวัดพม่าในปัจจุบัน มีบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ที่กล่าวกันว่าเป็นที่ซึ่งแผ่นดินสูบพระเทวทัตเมื่อบั้นปลายชีวิต เมื่อครั้งเดินทางมาเฝ้าพระพุทธองค์





ด้านตะวันออกเเฉียงใต้จากวัดศรีลังกา จะเป็นบ่อน้ำที่มีมาแต่โบราณ กล่าวกันว่า นั่นคืออนุสรณ์สถานของนางจิญจมาณวิกา ที่ถูกแผ่นดินสูบในครั้งที่สร้างบาปกล่าวตู่พระบรมศาสดาจนแผ่นดินไม่อาจรับไว้ได้ต้องแยกออก เมื่อนางถูกประชาชนลากออกมานอกพระเชตวันวิหาร พระธรณีสูบนางจิญจมาณวิกา ส่งให้นางจิญจมาณวิกาไปสู่อเวจีตามกำลังบาปที่สร้างไว้


ในคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวถึงบุคคลที่ถูกพระธรณีสูบ มี ๕ คนด้วยกัน ในจำนวนนั้น เหตุเกิดเพราะ

กระทำกรรมหนักต่อพระพุทธองค์ มี ๓ คน
๑. พระเทวทัต ๒. นางจิญจมาณวิกา ๓. พระเจ้าสุปปพุทธะ

กระทำกรรมหนักต่อพระภิกษุณี อุบลวรรณาเถรี
๔. นันทมานพ

กระทำกรรมใต่อพระอัครสาวก พระสารีบุตร คือ
๕.นันทยักษ์

สระน้ำนี้มองเห็นได้จากถนนที่รถผ่าน ไม่ห่างจากวัดพุทธของชาวพม่า ในที่นั้นเป็นท้องนา มีสระใหญ่กลางนาซึ่งมีน้ำเต็ม มีความสำคัญในพุทธประวัติมาก เป็นที่ธรณีสูบพระเทวทัตดิ่งลงสูอเวจีนรก แต่ถึงอย่างไรในอรรถกถาธรรมบทกล่าวว่า พระเทวทัตจะได้เกิดเป็นพระปัจเจกพุทธะชื่อ "อัฏฐิสสร"

สระน้ำพระเทวทัตแห่งนี้ พวกฮินดูแถวนี้ถือว่า เป็นสระศักดิ์สิทธิ์มีขุมทรัพย์อยู่ข้างใต้ ทุกปีในเดือนมิถุนายนเขาจะมาอาบน้ำที่สระนี้เป็นการเอกเกริก มีการเลี้ยงพราหมณ์ และทำอามิสบูชาด้วยดอกไม้ตามพิธีพราหมณ์



ขอขอบคุณภาพจากwww.phuttha.com

เรื่องเกี่ยวกับพระเทวทัต หลวงจีนฟาเหียน กับ หลวงจีนถ้งซำจั๋ง บันทึกไว้แตกต่างกัน 

ที่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทกล่าวว่า พระเทวทัตสำนึกในความผิดที่ได้คิดร้ายต่อพระบรมศาสดา จึงมาเข้าเฝ้าเพื่อขอลุแก่โทษ

แต่หลวงจีนฟาเหียนว่าพระเทวทัตตามมาที่นี่เพื่อสังหารพระบรมศาสดาให้ได้ จึงใส่ยาพิษไว้ที่เล็บมือ แต่ถูกธรณีสูบไปเสียก่อน จึงทำการไม่สำเร็จ 

ส่วนหลวงจีนถ้งซำจั๋งได้อธิบายเพิ่มว่า เมื่อใส่ยาพิษไว้ที่เล็บมือแล้ว ก็กะการจะสังหารพระบรมศาสดาในขณะที่เข้าเฝ้าถวายความเคารพ



ขอขอบคุณภาพจากwww.phuttha.com

สระคนบาปทั้งชายหญิงที่แผ่นดินสูบพระเทวทัตและนางจิญจมาณวิกา แสดงถึงความว่าใครให้ร้ายพระผู้บริสุทธิ์ ใครทำลายพระผู้ทรงเมตตาต่อชาวโลกอย่างหาประมาณมิได้ แม้ธรณีก็ไม่่สามารถจะรองรับน้ำหนักแห่งคนบาปของเขาได้ ดังนี้เอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)


ส่วนพระเจ้าสุปปพุทธะนั้น

ทรงเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเทวทหะ แห่งแคว้นโกลิยะ มีพระมเหสี พระนามว่าอมิตาเทวี แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ

พระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระราชโอรสและพระธิดา  ๒ พระองค์
องค์แรกนามว่า เจ้าชายเทวทัต ซึ่งคิดอิจฉาริษยากับพระพุทธเจ้ายิ่งนัก
ส่วนองค์ที่  ๒ เป็นพระธิดามีนามว่า พระนางยโสธรา หรือ พระนางพิมพา ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระพุทธองค์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นเจ้าชายสิตถัตถะนั้นเอง

เมื่อพระเจ้าสุปปพุทธะทราบว่าพระเทวทัตถูกธรณีสูบลงมหาอเวจีนรกก็มิสำนึกในบาปบุญคุณโทษ กลับมีจิตอาฆาตพยาบาทพระพุทธองค์ เพราะนอกจากจะทำให้พระเทวทัตต้องธรณีสูบ พระพุทธองค์ยังทำให้เจ้าหญิงยโสธราธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะเป็นหม้าย




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm

พระเจ้าสุปปพุทธะ จึงกลั่นแกล้งพระพุทธองค์ด้วยการเกณฑ์อำมาตย์ข้าราชบริพารไปนั่งเสพเมรัยขวางทางที่พระพุทธองค์จะออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งทางนั้นมีเพียงทางเดียวเท่านั้นที่พระพุทธองค์จะเสด็จดำเนินไปได้ เมื่อเสด็จดำเนินผ่านไม่ได้เพราะพระเจ้าสุปปพุทธะกับบริวารขวางอยู่วันนั้น พระพุทธองค์ทรงอดพระกระยาหาร ๑ วัน พระอานนท์จึงทูลถามอยากจะทราบโทษของพระเจ้าสุปปพุทธะ พระพุทธองค์จึงทรงได้มีพุทธฎีกาตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ หลังจากนี้ไปนับได้ ๗ วัน พระเจ้าสุปปพุทธะจะลงอเวจีตามพระเทวทัตไป

เมื่อบริวารของพระเจ้าสุปปพุทธะกลับไปถวายรายงาน
พระเจ้าสุปปพุทธะก็มีจิตต้องการให้พุทธฎีกาของพระพุทธองค์มิเป็นความจริง จึงขึ้นประทับ ณ ปราสาท ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีนายทวารป้องกันแข็งขัน

 และได้ตรัสสั่งกับนายทวารที่มีร่างกายกำยำนั้นว่า
"ในระหว่าง ๗ วันนี้ ถ้าฉันลงมาละก็ พวกเธอจงขัดขวางเอาไว้ไม่มีใครทำโทษ"
โดยประกาศต่ออำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระบรมวงศานุวงศ์ไว้ดังนั้น เพื่อมิให้นายทวารทั้งหลายต้องโทษ

จนกระทั่งถึงวันที่ ๗
วันนั้นปรากฏว่า ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าทรงศึกที่พระเจ้าสุปปพุทธะโปรดปราน อาละวาดกระทืบโรง ร้องเสียงดังมาก พระเจ้าสุปปพุทธะเกิดเป็นห่วงม้า ด้วยอาการขาดสติจึงทรงลงจากปราสาทชั้น ๗

แต่ปรากฏว่านายทวารมิได้ขัดขวางด้วยคิดว่าเลยครบกำหนด ๗ วันแล้ว

พอพระเจ้าสุปปพุทธะย่างพระบาทเหยียบแผ่นดิน ก็ถูกพระธรณีสูบหายไปสู่มหานรกอเวจี ตรงตามพุทธฎีกาที่พระพุทธงค์ตรัสไว้แก่พระอานนท์
พระอานนท์ทราบข่าว จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ทรงตรัสพระคาถาในเรื่องนี้ไว้ว่า
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ
น ปพฺพตาน วิวร ปวีส
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส
ยตฺรฏฺิต นปฺปสเหยฺย มจฺจุ.

" บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
 หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้. 
หนีไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้
 (เพราะ) เขาอยู่แล้วใน ประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึงครอบงำไม่ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่. "


ส่วนนันทมานพนั้น มีเรืองราวดังนี้



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm


นันทมานพมิได้ทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ทำร้ายสาวกของพระพุทธองค์ คือพระ “ อุบลวรรณาเถรี ”

พระอุบลวรรณาเถรีเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ออกบวชตั้งแต่อายุ ๑๖ มีความสวยงามมาก ซึ่งก่อนนั้นที่เป็นฆราวาสความสวยเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่หมายปองของพระราชาคหบดี และมหาเศรษฐีมากมาย แต่พระอุบลวรรณาเถรีเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส เห็นเป็นทุกข์จึงออกบวชเป็นภิกษุณี เมื่อบวชได้ไม่นานก็บรรลุอรหัตผลมีฤทธิ์มาก

 แต่ว่านันทมาณพมีความต้องการด้านกามราคะฝังแน่นในใจมาช้านาน

วันหนึ่งนันทมานพทราบว่า พระอุบลวรรณาเถรีจำพรรษาอยู่ในป่า ในกระท่อมเล็ก ๆ ด้วยจิตอันฝังแน่นด้วยราคะตัณหานันทมาณพได้แฝงตัวแอบรออยู่จนถึงเช้า

พระอุบลวรรณาเถรีออกบิณฑบาตแล้ว นันทมานพได้หลบเข้าไปแอบซ่อนอยู่ใต้เตียงนอนในกระท่อม เมื่อพระอุบลวรรณาเถรีกลับจากบิณฑบาต ยังมิได้ฉันข้าว นั่งพักสงบอยู่บนเตียง นันทมาณพได้ออกมาจากที่ซ่อนเข้าปลุกปล้ำ พระอุบลวรรณาเถรีแม้นจะร้องหาคนช่วยก็ไม่เป็นผล เพราะไม่มีใครอยู่ใกล้ จึงกล่าวให้สติแก่นันทมาณพว่า

 “ จงอย่าทำเช่นนี้ .. ความหายนะจะมาสู่ท่าน ”

นันทมาณพมิได้ฟังกลับปลุกปล้ำพระอุบลวรรณาเถรีจนสำเร็จความใคร่ดังใจปรารถนา พอก้าวลงจากแคร่ก็ถูกแผ่นดินสูบตกลงสู่มหานรกอเวจีด้วยกรรมลามกนั้นหนักมาก

พระอุบลวรรณาเถรี ถูกวิจารณ์ว่าการสัมผัสเช่นนี้ พระอุบลวรรณาเถรีจะไม่มีความยินดีไม่ได้

 พระพุทธองค์จึงทรงตรัสบอกต่อพุทธสาวก...

“ พระอรหันต์นั้นมิใช่ไม้ผุ ไม่มีกิเลส ไม่มีความยินดีในกิเลส เฉกเช่นตุ๊กตาที่ไม่มีความปรารถนาในการสัมผัสฉันใด พระอรหันต์ก็เป็น เช่นนั้น .

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย


ในพุทธประวัติยังมีผู้ถูกพระธรณีสูบอีก ๑ คนคือ นันทยักษ์

นันทยักษ์ มีเรื่องราวความเป็นมาดังนี้

นันทยักษ์มิได้สร้างกรรมต่อพระพุทธองค์ แต่กระทำเบียดเบียนต่อพระสารีบุตร ผู้บำเพ็ญธรรม ..

ครั้งนั้น นันทยักษ์ ผู้มีฤทธิ์เดชเหาะมาบนอากาศพร้อมด้วยเหมตายักษ์ เมื่อเหาะมาถึงตรงที่พระสารีบุตรกำลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ในอากาศธาตุ ในบริเวณนั้นว่างเปล่าจากอากาศธาตุนันทยักษ์เหาะผ่านไม่ได้ จึงเกิดบันดาลโทสะ ด้วยในชาติปางก่อนนั้น นันทยักษ์ได้อาฆาตพยาบาทพระเถระเอาไว้ จึงมีจิตคิดกระทำปาณาติบาตต่อพระสารีบุตรด้วยความพาลในสันดาน เหมตายักษ์ได้ทัดทานให้ละเว้นเสีย แต่นันทยักษ์ก็มิฟัง เหาะขึ้นบนอากาศ ใช้กระบองซึ่งเป็นอาวุธแห่งตนฟาดลงบนศีรษะของพระสารีบุตร ความแรงแห่งการฟาดนั้น สามารถพังภูเขาในคราวเดียวกันได้ถึง ๑๐๐ ลูก


แต่พระสารีบุตรซึ่งอยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น หาได้รับอันตรายจากการประทุษร้ายของนันทยักษ์ไม่ เมื่อเห็นพระสารีบุตรมิได้รับอันตราย นันทยักษ์ก็บังเกิดเพลิงเร่าร้อนในอารมณ์ กล่าวออกมาด้วยเสียงอันดังว่า “ เราร้อน ... เราร้อน ” แล้วตกลงมาจากอากาศ แผ่นดินเปิดช่องดึงร่างของนันทยักษ์ หายลับตาไปในบัดดลดิ่งลงสู่มหานรกอเวจี อันลึกสุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara60.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น