วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพุทธองค์ ๘๑ สหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ
สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า)
อ้างจาก เวรัญชกัณฑ์, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
ขอขอบคุณภาพจากthaimisc.pukpik.com
สมัยพุทธกาล กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นดินแดนที่รองรับหมู่พระอรหันต์ เป็นตำนานแห่งชาติภูมิของพระอริยสาวก คือพระอัญญาโกณทัญญะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระอุบาลี พระนันทะ พระราหุล เป็นต้น
ในกาลประสูติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วันวิสาขปุรณี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐
ในวันนี้มีสิ่งที่เกิดพร้อมกัน ๗ อย่างทั้งมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ
๑. พระนางพิมพา
หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานาเถรี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
๒. พระอานนท์
เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ
๓. นายฉันนะ
เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
๔. อำมาตย์กาฬุทายี
เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดา เพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส
๕. ม้ากัณฐกะ
ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"
๖.“ต้นอัสสัตถะ” หรือ “ต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือที่เรียกต่อมาภายหลังว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสรู้ต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)
๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่
ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammathai.org/buddha/g27.php
นอกจากนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล ก็ประสูติในปีเดียวกันกับพระพุทธองค์อีกพระองค์หนึ่งด้วย รวมถึงสิ้นพระชนม์ เมื่อ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ก่อนพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน
ขอขอบคุณภาพจากwww.gotoknow.org
ในวันที่กาฬเทวิลดาบส หรืออสิตดาบส ผู้ได้สมาบัติ ๘ ซึ่งมีความสนิทสนมกับราชสำนัก และทรงเป็นราชครูของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวการประสูติ จึงเหาะมายังกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อถวายพระพร เมื่ออัญเชิญพระกุมารออกมาก็ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ กล่าวคือ พระราชบิดาทอดพระเนตรเห็นพระบาทราชกุมารไปประดิษฐานบนชฎาของพระดาบส พระราชบิดาจึงอภิวาทพระราชโอรส เป็นครั้งแรก (พระเจ้าสุทโธทนะทรงทรงอภิวาทพระโอรส รวม ๓ ครั้ง)พระดาบสเห็นพระลักษณะของพระโพธิสัตว์ ก็ทราบด้วยอนาคตังสญาณว่า พระโอรสจักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พระโอรสนี้เป็นอัจฉริยบุคคล จึงได้ทำการอัญชลี และสรรเสริญว่า “พระราชกุมารทรงเป็นอัจฉริยบุคคลจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” พระเจ้าสุทโธทนะ ทอดพระเนตรเห็นสิ่งอัศจรรย์และสดับคำนั้นก็ทรงเลื่อมใสและอภิวาทพระโอรสตามอย่างพระดาบส
ขอขอบคุณภาพจากmahamodo.com
๕ วันหลังประสูติพระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระนางสิริมหามายา พระประยูรญาติได้จัดพิธีขนานพระนามพระราชกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา ๑๐๘ คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมาร จึงได้พระนามว่า "สิทธัตถะ"
จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๘ คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์ พรหมาณ์ ๗ คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น ๒ สถาน คือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เว้นแต่พราหมณ์อยุน้อยสุดชื่อ "โกณฑัญญะ" พยากรณ์ว่าพระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ( นาลกสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต )
หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว ๗ วัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคต ในปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบให้พระนางประชาบดีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายาเป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ ๘ พรรษาได้ทรงศึกษาในสำนักครูวิศวะมิตร พระองค์ทรงศึกษาได้อย่างรวดเร็ว มีความจำดีเลิศ และทรงพระปรีชาสามารถในการกีฬา ขี่ม้า ฟันดาบ และยิงธนู
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
"สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammathai.org/buddha/g27.php
http://watchanasongkram.com/?p=1383
สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)
วิกิพีเดีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น