พิฬาลปทกะเศรษฐี
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร
ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ พิฬาลปทกะ (เศรษฐีตีนแมว) ว่า
ชาวเมืองสาวัตถึได้ถวายทาน เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาพระองค์ตรัสว่า
"บุคคลบางคนให้ทานด้วยตน แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เขาย่อมได้โภคสมบัติ แต่ไม่มีบริวารสมบัติ ในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว"
"บุคคลบางคนไม่ให้ทานด้วยตน ชักชวนแต่ผู้อื่น เขาย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้ทรัพย์สมบัติ ในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว"
"บุคคลบางคนไม่ให้ทานด้วยตน ไม่ได้ชักชวนผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ ในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว"
"บุคคลบางคนให้ทานด้วยตน และชักชวนผู้อื่นด้วย เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ ในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว"
อุบาสกผู้หนึ่งฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหมด รับบิณฑบาตของตนในวันรุ่งขึ้น แล้วออกเที่ยวป่าวร้องเพื่อนบ้านให้พร้อมกันมาถวายทาน
ในที่นั้น เศรษฐีผูหนึ่งโกรธว่า เหตุใดจึงไม่นิมนต์แค่กำลังของตน ต้องมาชักชวนชาวบ้าน เมื่อจะให้ เศรษฐีเอานิ้วมือเพียงสามนิ้ว หยิบข้าวสารและถั่วเป็นต้น แม้จะให้เภสัช มีเนยใส และน้ำอ้อย ก็เอียงปากขวดไหลลงทีละหยดให้ได้หน่อยหนึ่งเท่านั้น ด้วยความตระหนี่
ตั้งแต่นั้น เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่าพิฬาลปทกเศรษฐี.เศรษฐีตีนแมว
อุบาสกนั้นได้แยกเอาวัตถุทานของเศรษฐีนี้ไว้ต่างหาก เมื่อเศรษฐีเห็นการกระทำเช่นนี้ จึงส่งคนของตรตามไปดูพฤติกรรมของอุบาสกนั้น
เมื่ออุบาสกกลับไปแล้วได้นำข้าวสาร ๒-๓ เมล็ด ใส่ลงในส่วนที่จะทำยาคู ภัต และขนมทุกอย่าง คนงานเห็นดังนั้นแล้วกลับมาบอกเศรษฐี
ในวันรุ่งขึ้น เศรษฐีเหน็บกฤชไว้ระหว่างชายผ้า คิดว่าถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา จักประหารให้ตาย
ในเวลาถวายทาน อุบาสกนั้นกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชักชวนมหาชนถวายทานนี้ ตามกำลังของแต่ลคน ขอผลอันไพศาล จงมีแก่มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด "
เศรษฐีได้ฟังคำถวายทานของอุบาสกนั้นแล้วหมอบลงแทบเท้าอุบาสกนั้นกล่าวว่า
"ขอนายจงยกโทษให้ผมด้วย" แล้วเล่าเรื่องทั้งหมดแก่อุบาสกนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบความนั้น ตรัสว่า
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า ‘บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง’
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา ทีละหยาด ๆได้ฉันใด,
ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น.
ในกาลจบพระธรรมเทศนา เศรษฐีนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วพระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชนที่มาประชุมกันนั้นทั้งหมด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺฺโธ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น