วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สู่แดนพระพทธองค์ ๘๓ เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสด์
กบิลพัสดุ์ ขอขอบคุณภาพจากwww.wathuataparn.com
เมื่อพระกาฬุทายีเถระ กราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะว่า พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ๋ นั้น เหล่าพระประยูรญาติทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อเตรียมหาที่ประทับแก่พระบรมศาสดาเห็นว่าปราสาทของเจ้านิโครธศากยะน่ารื่นรมย์ จึงซ่อมแซมตกแต่งเพื่อเตรียมรับเสด็จ
นิโครธาราม ขอขอบคุณภาพจาก www.watthailumbini-th.org
บริเวณวัดนิโครธารามแห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นพระอารามหลวงของขาวศากยะแห่งกรุงกบิลพ้สดุ์ ในปัจจุบันเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า กุดาน (Kudan ) มีสถูปขนาดใหญ่ ฐานโดยรอบนับว่าสมบูรณ์มากเมื่อเทียบกับสถูปในบริเวณเดียวกันนี้
ในครั้งพุทธกาล เป็นสถานที่พระประยูรญาติของพระพุทธองค์ จัดเตรียมไว้เป็นที่รองรับการเสด็จกลับนครกบิลพัสดุ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่ให้การบรรพชาแก่พระราหุล พระนันทะและแสดงธรรมในพระสูตรสำคัญจำนวนมาก ปัจจุบันกองโบราณสถานได้รักษาไว้ให้เห็นถึงมหาวิหารที่ปรากฎในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ในกาลนั้นพระพุทธองค์เสด็จนิวัติเมืองกบิลพัสดุ๋เป็นครั้งแรก มีพระสาวกตามเสด็จ ๒๐,๐๐๐ รูป พระกาฬุทายีเถระแห่งศากยะนำทางเสด็จ ได้ประทับแรมที่นิโครธาราม ซึ่งเป็นสวนอยู่ใกล้เมือง ทรงแสดงเวสสันดรชาดก กินรีชาดก มหาธรรมแาลชาดก ยังให้พระเจ้าสุทโธทนะได้สำเร็จพระอนาคามี
กรุงกบิลพัสด๋ในครั้งพุทธกาล เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง มีคนนหนทางสมบูรณ์ มีตลาดหลายแห่ง มีสวนไม้ดอกไม้ผล มีประตูทั้ง ๔ ทิศ หอคอยสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นที่ชุมนุมของนักปราชญ์ราชบัณฑืตทั้งหลาย ไม่มีการเก็บภาษีอากรที่ไม่สมควร และไม่ปรากฏความยากจนในที่ใด ๆ ปรากฏแต่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างเดียว
ประตูเมืองด้านตะวันออกของกบิลพัสดุ์ ที่ระบุไว้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวช
ขอขอบคุณภาพจากwww.palungdham.com
เมื่อพระบรมศาสดา เสด็จกหรุงกบิลพ้สดุ์แล้วปรัะทับที่นิโครธารามของเจ้านิโครธศากยะ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้ว เหล่าศากยะวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ดำริว่า สิทธัตถะอาวุโสน้อยกว่าพวกเรา จึงรับสั่งให้ราชกุมารหนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงถวายบังคม พวกเราจักนั่งข้างหลังพวกเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเหล่าเจ้าศากยะ ทรงดำริว่า พวกพระญาตืไม่ยอมไหว้เรา จึงทรงเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิยญา ทรงทำปาฏิหารย์ราวจะทรงโปรยธุลีบาทลงบนพระเศียรแห่งพระญาติเหล่านั้น
ขอขอบคุณภาพจากwww.kunkroo.com
พระเจ้าสุทโธทนะเห็นอัศจรรย์ดังนั้นตรัสว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หลังจากพระองค์ประสูติแล้ว ๗ วัน ขณะที่ะี่เลี้ยงนำเข้าไปไหว้กาฬเทวินดาบส หม่อมฉันได้เห็นพระบาทของพระองค์ไปประดิษฐานบนชฎาของดาบส จึงไหว้พระองค์เป็นครั้งแรก ต่อมาในวันวัปปมงคลแรกนาขวัญ หม่อมฉันเห็นเงาไม้หว้าต้นที่พระองค์ประทับ มิได้คล่อยไปตามดวงตะวัน หม่อมฉันจึงไหว้เป็นครังที่สอง บัดนี้ หม่อมฉันเห็นปาฏิหารย์ซึ่งยังไม่เคยเห็นมาก่อน จึงถวายบังคมพระบาทของพระองค์ นี่เป็นการไหว้ครั้งที่สามของหม่อมฉัน "
ขอขอบคุณภาพจากtopicstock.pantip.com
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะราชทั้งปวงได้พากันถวายบังคมทั้งหมดไม่เหลือแต่พระองค์เดียว พร้อมกันนั่งประชุมด้วยพระหฤทัยที่แน่วแน่ ลำดับนั้นฝนโบกขรพรรษได้ตกลงมา น้ำแม้แต่หยาดหนึ่งก็มิได้ตกลงบนสรีระของผู้ใด พระญาติทั้งปวงทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว เกิดความอัศจรรย์ยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"ฝนโบกขรพรรษที่ตกในญาติสมาคมของเรา มิใช่กาลนี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ได้ตกแล่ว "
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammatalks.net/Articles/Life_of_the_Buddha_in_Pictures.htm
เหล่าเจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารหลังใหม่ถวายแด่พระพุทธองค์ทรงใช้สอยก่อนเป็นปฐมฤกษ์ พระบรมศาสดาทรงรับด้วยดุษณีภาพ โปรดให้เจ้าศากยะให้เห็นแจ้งในสมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยพระธรรรมเทศนาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสอานิสงส์ของการถวายอาวาสว่า
"ดูกรมหาบพิตร การถวายที่อยู่เป็นทานใหญ่ เสนาสนะของพวกท่าน เราตถาคตได้ใช้สอยแล้ว ภิกษุสงฆ์ใช้แล้ว อันพระธรรมรัตนะก็ได้ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระรัตนะทั้งสามใช้สอยแล้ว ก็เมื่อพวกท่านถวายอาวาสทานแล้ว ท่านทั้งปวงก็เป็นอันว่าพวกท่านได้ถวายแล้วเหมือนกัน อานิสงส์ของบรรณศาลาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินก็ดี มณฑปที่ตั้งอยู่บนต้นไม้ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะวิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน ฝน ลมและแดดให้บรรเทา ย่อมป้องกันให้พ้นจาก งู ยุง และสัตว์ทั้งหลาย การถวายวิหารแก่งสงฆ์เพื่ออยู่เร้น เพื่อเพ่งฌาน เพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ "
จากนั้นมีรับสั่งให้พระอานนท์กล่าวเลขปฏิปทาต่อจากพระองค์เพื่อพระองค์จะทรงสำเร็จสีหไสยา ด้วยมีพุทธประสงค์จะใช้สอยสัณฐาคารนี้ด้วยอิริยาบททั้ง ๔
จากนั้น ตรัสเวสสันดรชาดก
ขอขอบคุณ ภาพวาดอาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต .ที่www.watjakdaeng.com
บุคคลสำคัญๆที่อยู่ในชาดกเรื่องนี้ว่า ได้มาเกิดเป็นใครในสมัยพุทธกาล
ขอขอบคุณภาพจากwww.bl.msu.ac.th
ชูชก มาเกิดเป็น พระเทวทัต
นางอมิตดา มาเกิดเป็น นางจิญจมาณวิกา
พรานเจตบุตร มาเกิดเป็น พระฉันนะ
อัจจุตดาบส คือ พระสารีบุตร
ท้าวสักกเทวราช มาเกิดเป็น พระอนุรุทธะ
พระเจ้าสญชัย มาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ
พระนางผุสดี มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา
พระนางมัทรี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา
ชาลี มาเกิดเป็น พระราหุล
กัณหา มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พระเวสสันดร มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า
ขอขอบคุณภาพจากwww.bloggang.com
ป้ายกำกับ:
[บทความ]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น