ชื่อวิทยาศาสตร์: Canavalia rosea (Sw.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: ถั่วคล้า
ชื่อท้องถิ่น: ถั่วแปบ
วงศ์ FABACEAE
ถ้่วคล้าเป็นไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามไม้พุ่ม หรือ พื้นดิน มีรากฝอยแตกรอบ ๆ
ลำต้นยึดดิน ต้น ขนาดเล็ก สีเขียว
ใบ เรียงสลับใบประกอบแบบใบย่อยสามใบ ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างกว้าง ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวเกลี้ยง
ดอก
ดอกออกเป็นช่อ ติดที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบนอกกลีบดอกคู่ล่างเชื่อมประสานกันด้านล่าง เกสรเพศผู้ 8 – 10 อัน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ 1 อัน ดอกสีชมพูอมม่วง
ผล ชนิดฝักแบบถั่ว ตรง หรือ โค้งแบน เป็นฝักแบบหนา ฝักมีเมล็ด 3 - 6 เมล็ด รูปไข่
ถ้่วคล้า พบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ พื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล
ประโยชน์ ดอกใส่แกงส้ม นำมาลวก ดอง หรือ ทอดกับไข่ รับประทานกับน้ำพริก ฝักใส่แกงส้ม หรือรับประทานสด หรือ ต้ม จิ้มน้ำพริก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://tanhakit.blogspot.com
บางทีมดแดงก็แอบซ่อนอยู่ตามขั้วของดอกซึ่งคล้ายป็นกระจุก มองไม่เห็นตัวมดแดงแต่พอเอื้อมมือไปที่ดอกถั่วคล้าหมายเด็ดดอม มดแดงก็เริ่มออกมาแสดงความเป็นเจ้าของว่าดอกถั่วคล้าช่อนี้ฉันจับจองไว้ก่อนเธอนะ ไม่ใช่่เพียงตัวเดียว บางครั้งเป็นฝูงเกือบสิบตัว ดอกที่เด็ดออกมาได้ก็ต้องโยนออกไปไกลตัวแล้วมารบรากับมดแดงที่ไต่ขึ้นมาตามมือ หากปัดออกทันก็ไม่เจ็บตัวถ้าไม่ทันก็ต้องเจ็บแปลบแสบแผลเพราะปากที่คมกัดแบบจิกปากลงไปกระดกก้นมดแดงขึ้นมาแสดงอาการว่าออกแรงกัดเต็มที่ ดูภาพเจ้ามดแดงตัวน้อยนี้ตามภาพ ที่ก้านดอกยังมีอีกหลายตัวแต่พลอยโพยมรู้ดีก็เลยถอยฉากออกมา มองไปมองมาเท้าที่เหยียบกอถั่วคล้าอยู่ ก็มีมดแดงอีกหลายตัวทีเดียว เพราะต้องเดินบุกกอกอหญ้าและพืชอื่น ๆ รวมทั้งถั่วคล้าเองด้วยเข้าไปถ่ายภาพใกล้ ๆ ดอกนั้นเอง ดูท่าว่าถั่วคล้าจะเป็นของรักของหวงของปวงพวกมดแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น