วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ...หยีน้ำ

หยีน้ำ



ขอขอบคุณภาพจาก สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

หยีน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris indica (Lamk.) Bennet
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : กายี ราโยด (ภาคใต้); ปากี้ (มลายู สงขลา)




หยีนํ้า เป็นไมัยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 5-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง


ลำต้น
มักคดงอ แตกกิ่งมาก เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาล ถึงน้ำตาลเทาคล้ำ




ใบ
เป็นใบประกอบชั้นเดียว เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ เรียงตรงข้ามกัน และที่ปลายก้านอีก 1 ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือ รูปขอบขนานแกมรี เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบ 8-10 คู่




ดอก
ออกเป็นช่อตามง่ามใบ แบบข่อกระจะ แต่ละช่อ ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมชมพู วงกลีบเลี้ยงรูปถ้วย วงกลีบดอกรูปวงกลม




ขอขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ออกดอกเดือนมกราคม-พฦษภาคม



ผล
เป็นฝัก หนา โป่งออก รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ปลายฝักมีจะงอยสั้นๆ ผลเกลี้ยง เมึ่อแก่สีน้ำตาล ไม่แตก มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีแดงคล้ำ รูปโล่แกมรูปขอบขนาน







ผลแก่ประมาณเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

หยีน้ำมีการกระจายพันธุ์ตามฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล และในป่าชายหาดทางภาคใต้พบตามริมชายฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล บริเวณที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย




เมล็ดของหยีน้ำให้ต้นอ่อนมากมาย ตามโคนต้น  จนต้องกำจัดทิ้ง มิฉะนั้น จะเติบโตขึ้นมาเบียดเสียดกันเกินไป



ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
ชอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.aquatoyou.com
http://www.bedo.or.th



หยีน้ำเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีไรโซเบียมอยู่ในปมราก ช่วยในการตรึงไนโตรเจน เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ชื่ออื่นๆได้แก่ Indian Beech, Pongam Oiltree, Karanj (ภาษาฮินดี), ಹೊಂಗೆ Honge (ภาษากันนาดา), புங்கை Pungai (ภาษาทมิฬ), కానుగ Kānuga (ภาษาเตลูกู), नक्तमाल Naktamāla (ภาษาสันสกฤต) พืชชนิดนี้ใช้ทำไบโอดีเซลในอินเดีย

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพดอกหยีน้ำจาก วิกิพีเดีย




ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับพืชพลังตัวใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในประเทศอินเดีย และออสเตรเลีย และพืชดังกล่าวก็เป็นพืชท้องถิ่นในไทยคือ หยีน้ำ (Pongamia Pinnata, Millettia pinnata, Derris Indica Bennet)
หยีน้ำเป็นพืชตระกูลถั่วเพียงไม่กี่ชนิดที่มีปริมาณน้ำมันในเมล็ดสูง คือประมาณ 30-40% ของน้ำหนัก
ข้อดีของหยีน้ำมีมากมาย คือ มีปมรากที่มีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน (ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย) ทนแล้ง เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง มีรากแขนงจำนวนมาก รากหยั่งลึกลงดิน กล่าวกันว่าสามารถหยั่งลงดินได้ลึกถึง 10 เมตร นอกจากนี้ พุ่มใบยังทึบ ทำให้ลดการระเหยของน้ำได้ดี เป็นพืชที่ทนเค็ม ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว (ได้ถึง 0 องศา C) และเมื่อโตเต็มที่แล้วยังทนน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ ยังปลูกได้ดีในดินแทบทุกประเภท


.

หยีน้ำ ถือว่าเป็นพืชพลังงานที่มีศักยภาพสูงมากสำหรับประเทศไทย เนื่องจากปลูกได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งในภาคอีสาน เนื่องจากทนแล้ง และทนเค็ม ให้ผลผลิตมากกว่าสบู่ดำ กว่า 2-3 เท่าตัว การดูแลรักษาง่าย โรคแมลงน้อย ทั้งยังใช้ปุ๋ยน้อยกว่าปาล์มน้ำมันมาก เนื่องจากมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน กากของเมล็ดที่หีบน้ำมันแล้วยังเป็นอาหารสัตว์ได้อย่างดี เนื่องจากมีโปรตีนสูง
ปัจจุบัน University of Queensland โดย Center of Excellence for Integrative Legume Research (cilr.uq.edu.au) ได้กำลังคัดเลือกสายพันธุ์ หยีน้ำเพื่อทำการส่งเสริมปลูกในภาคเหนือของออสเตรเลีย
สำหรับน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จากหยีน้ำนั้น ได้มีผู้ทดสอบหลายราย รวมทั้ง อ.วิทยา พรรณสุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าสามารถใช้เป็นไบโอดีเซลได้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://abhisit.org/smf/index.php?topic=47949.0 เชิญติดตามไปอ่านรายละเอียดได้




ฝักของหยีน้ำที่บริเวณยอดไม้
ภาพต้นหยีน้ำข้างต้นขึ้นเป็นกลุ่ม5-6 ต้น อยู่ใกล้บ้านพักข้าราชการของ ศ.พ.ช. ฉะเชิงเทรา




ต้นหยีน้ำที่บ้านพลอยโพยม
เมื่อสิบกว่าปีก่อนแม่ค้าขายพรรณไม้ดอกหอมเจ้าประจำของพลอยโพยมที่สวนจตุจักรวันพุธ ได้แนะนำต้นไม้ต้นหนึ่งให้โดยบอกว่า เป็นประดู่ดอกสีม่วง เพิ่งค้นพบใหม่ หายาก ดอกสวยมาก สนนราคาต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ราคาต้นละ 200 บาท พลอยโพยมเดินสวนจตุจักรมานาน ก็ไม่เคยเห็นต้นไม้นี้ รู้สึกว่าใบก็คล้าย ๆ ใบประดู่ และทนเสียงเชียร์ไม่ไหว แม้จะรู้สึกว่าราคาแพง เพราะต้นเล็กนิดเดียวจึงซื้อมาประคบประหงมอย่างดีเลือกปลูกใกล้บ้านด้านหลังของบ้าน

เมื่อคุณมีนกรย้ายมาดูแล ศ.พ.ช.ฉะเชิงเทรา จึงได้รู้ความจริงว่า ต้นประดู่ดอกม่วง (ของคุณแม่ค้า ) คือต้นหยีน้ำนั่นเอง ต่อมาก็เห็นดอก เห็นฝัก เห็นต้นอ่อนขึ้นโคนต้นมากมาย
ไม่ได้โทษคุณแม่ค้าว่าหลอกพลอยโพยม เขาคงได้พันธุ์มาใหม่ โดยผู้ขายมา present ว่า เป็นต้นประดู่ดอกม่วง

อันที่จริงการซื้อต้นไม้ที่รู้สึกว่าราคาแพง ผู้ซื้อควรศึกษาข้อมูลก่อนซื้อ ปฎิบัติให้เหมือนคำเตือนของการซื้อขาย กองทุน ต่าง ๆ ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง (หากเป็นคำโฆษณา เสียงของประโยคนี้จะพูดเร็ว ๆ และเบามาก หากเป็นเอกสารก็จะเป็นอักษรที่ตัวเล็กมากเช่นกัน เป็นกลยุทธ์บอกคำเตือนตามกฎบังคับ)
การซื้อต้นไม้ก็มีความเสี่ยงว่า ได้ชื่อพรรณไม้มาผิด ๆ พรรณไม้หาง่าย ขึ้นง่าย กลายเป็น พันธุ์ไม้ค้นพบใหม่ หายากมาก
จะเกิดความรู้สึกว่า "รู้เขาหลอก แต่ไม่เต็มใจให้หลอก " ในภายหลัง



แนวหลังต้นหยีน้ำมีคูน้ำกั้นล้วนเป็นแนวมะฮอกกานียาวไปทั้งด้านซ้าย ขวา    การปลูกต้นไม้มาก ๆ จนร่มครึ้มก็เกิดปัญหา เพราะพอเริ่มมีฝนแนวต้นไม้เหล่านี้ก็เป็นที่อยู่ของยุงตามซากใบไม้ที่ร่วงทับถมกัน หากเดินผ่านแนวต้นไม้อย่างนี้ไปแม้ไม่หยุดเลยก็จะถูกยุงกัดตัวลายพร้อยด้วยตุ่มยุงได้ จะดีในฤดูร้อนที่มีต้นไม้ให้ความร่มเย็น  ทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้แม้จะมีคุณอนันต์ ก็เกิดโทษมหันต์ได้หากไม่ใช้ความพอดีมากำกับบทบาทของคุณประโยชน์ของสิ่่งนั้น ๆ  เป็นทำนองว่าเกินพอดีก็ไม่ดีนั่นเอง




 แม้นว่าจะปีนขึ้นไปบนตุ่มใส่น้ำขนาดใหญ่ก็ยังไร้สิทธิ์ที่จะชื่นชมดอกของหยีน้ำ  ใกล้กันนี้ก็ยังมีต้นพยอม ซึ่งปลูกก่อนต้นหยีน้ำสูงชะลูดกว่า ก็จะไม่มีโอกาสชื่นชมดอกพยอมด้วยเข่นกัน  แต่พยอมต้นนี้ก็ไม่เคยมีดอก  อาจเป็นเพราะตัดกิ่งแขนงออกหมดเหลือแต่ยอดจริง ๆ พอมองเห็นลำต้นเล็ก ๆ สูง ๆ ลำต้นตั้งตรงอยู่ใกล้ใบกล้วยพัด อายุต้นพยอมมากกว่าต้นหยีน้ำแต่ลำต้นเล็กกว่ากันมาก แสดงว่าเป็นไม้เติบโตช้า   บริเวณนี้มีต้น ประดู่ ต้นมะฮอกกานี ต้นปีบ ซึ่งเพิ่งตัดทิ้งไป ประมาณ 5-6  ต้น มิฉะนั้นก็จะถ่ายภาพต้นหยีน้ำไม่ได้เลย






อย่างที่เคยเล่าว่าพลอยโพยมปลูกไม้ป่าแบบดำนา มีที่ว่างก็ขุดหลุมปลูกเลยซึ่งล้วนเป็นไม้ต้นใหญ่ พอนานไปก็เบียดเสียดแย่งกันชูลำต้นขึ้นไปหาแสงตะวัน  และต้นปีบที่เพิ่งโค่นทิ้งไป (สูงเท่าต้นหยีน้ำ)  เพียงไม่นานก็งอกต้นใหม่ขี้นมายังไม่มีเวลาไปฟันทิ้งใหม่ รวมทั้งประดู่และมะฮอกกานี ที่มีต้นอ่อนอีกมากมายที่พื้นดินบริเวณนี้  การเดินอยู่ใต้ต้นไม้เเหล่านี้ ก็เป็นการเดินเหยียบอยู่บนบรรดาต้นไม้ อ่อนของต้นแม่ทั้งหลาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น