พลอยโพยมขออภัยท่านผู้อ่านที่เข้ามาอ่านบทความวิถีชีวิตไทยในวันวานเมื่อ 50 ปีเศษที่ย่านบ้่านตำบลบางกรูด และสารพันเรื่องเล่่าที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เขียน เนื่องจากบทความระยะสามสี่วันนี้พลอยโพยมจะเล่าเรื่องส่วนตัวจริง ๆ ของตัวเอง
ช่วงเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมาพลอยโพยมและญาติพี่น้องอีกหลายท่านร่วมกันเตรียมงาน หาข้อมูล หาภาพ เตรียมข้อมูล สำหรับงานสำคัญของสายตระกูล แซ่อื้อ ของคุณยายสมใจ พัวพันธุ์ (เจริญวงษ์) และเพิ่งเสร็จสิ้นงานการทำบุญฉลองเจดีย์ ฉลองการบูรณะพระพุทธรูปในพระอุโบสถและลอยอัฐิบรรพบุรุษตระกูล แซ่อื้อ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่วัดประศาสน์โสภณ (บางกรูด) ส่วนหนึ่งของงานคือการนำเสนอ POWER POINT แต่ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้นำเสนอ คือฉาก ทำให้ ญาติ ๆ ที่มาร่วมงาน ร้อยกว่าท่านเห็นภาพไม่ชัด พลอยโพยมจึงขอให้ ญาติ ๆ เข้ามาอ่านบทความและภาพที่นำเสนอ POWER POINT ใน BLOG วันวานของบางกรูด ทดแทน เพราะสิ่งที่พลอยโพยมนำเสนอนั้นเป็นเรื่องราวที่ญาติผู้มาร่วมงานส่วนใหญ่ไม่เคยทราบมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งญาติ ๆ ที่ติดภารกิจมาร่วมงานไม่ได้
พลอยโพยมขออภัยที่ต้องใช้ BLOG นี้นำเสนอประวัติเรื่องราวของสายตระกูลตนเอง บทความอาจไม่มีประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านส่วนใหญ่ที่เข้ามาอ่านบทความ แต่มีความหมายมากสำหรับญาติพี่น้องร่วมสายตระกูล จึงขอใช้พื้นที่สักระยะสั้น ๆ
เรื่องราวที่ใช้นำเสนอด้วย POWER POINT มีดังนี้
余
แซ่อื้อ
ตระกูลแซ่อื้อจากเมืองแต้จิ๋วประเทศจีน สู่สยามประเทศ
กำเนิดสกุลเจริญวงษ์และสายสัมพันธ์กับสกุล พัวพันธุ์ , สัตยมานะ
ภาพวาดของเมืองกวางตุ้ง
ขอขอบคุณภาพจาก http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art39/art39.html
ภาพเรือสำเภา
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.phuket-trips.com/th/june-bahtra-daytrip.htm
ป้ายไม้ธรรมดาประวัตินายตงจงอื้อ และ ป้ายไม้ทาสีทองด้วยทองคำเปลวประวัตินายกงหงงอื้อ
รายละเอียดของแผ่นป้ายนายตงจงอื้อ
ผู้ชายชื่อ ตงจง อื้อ เกิดเมื่อ ปีมะเส็ง เดือน 8 เสียชีวิต ปีมะโรง ขณะที่มีอายุ 66 ปี ผู้หญิงชื่อ ไช้เนี๊ยว แซ่ลิ้ม เสียชีวิตในปีมะเมีย
อ่านรายละเอียดเมื่อพ.ศ.2555 ตรงกับปีมะโรง ให้เอา 66 ปี บวก รอบนักษัตร คือ 61 ปี บางคนใช้ 60 ปี เท่ากับ 127 ปี ในปี พ.ศ. 2556 รวมเป็นเวลา 128 ปี จากปีที่เกิด
รายละเอียดของแผ่นป้ายนายกงหงงอื้อ
ส่วนชั้นในของแผ่นป้ายมีใจความว่า
“ เป็นลำดับที่ 20 ของสายบรรพบุรุษตระกูลอื้อ ผู้ชายชื่อกงหงง แซ่อื้อ เกิด ปีวอก เดือน 6 วันที่ 16 ช่วง เวลา 9-11 โมง ตอนกลางคืนเมื่อปีที่ 10 ยุคฮ่ำฮง เสียชีวิตเมื่อ ปีระกา เดือน 2 วันที่ 19 ช่วงเวลา7-9 โมงในปีที่ 1 ยุคซวงท่ง ผู้หญิงชื่อ หงี่เซี้ยง แซ่เงี๊ยบ เกิด ปีระกา เดือน 1 วันที่ 11 เป็นปีที่ 11 ยุคฮ่ำฮง ไม่มีระบุปีที่เสียชีวิต มาจากเมืองแต้จิ๋ว เขตไห่หยาง ตำบลคิ้วโค่ย (คิ้วโค่ยโต่ว) ภูเขาตงซัว ได้เดินทางมาเมืองไทย ที่เมืองปั๊กลิ่ว มาปักหลักฐานอยู่ข้าง ๆ ถ่งทั้งเซี้ยง “
นายกงหงง อื้อ มีอายุ รวม 48-49 ปี หากนับถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2556 รวมเป็นเวลา 153 ปี จากปีที่เกิด
ฮ่ำฮง เป็นชื่อยุคซึ่งจะเรียกตามการครองราชย์ของจักรพรรดิต่าง ๆ กัน ยุคฮ่ำฮงเป็นยุคของจักรพรรดิเสียนเฟิง ลำดับที่ 9 ในราชวงศ์ชิง เป็นจักรพรรดิอยู่ 11 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2393 - 2404) ตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย จักรพรรดิเสียนเฟิงมีเจ้าจอมซึ่งต่อมาคือซูสีไทเฮา ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2454 ในยุคซวงท่งของจักรพรรดิปูยี่(ผู่อี๋ ,Puyi ) ระหว่างปี พ.ศ. 2451-2554 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์
ที่มาของข้อมูล –วิกิพีเดีย
เมือง แต้จิ๋ว (Teochiu) ปัจจุบันเรียกว่าเมือง เฉาโจว (Chaozhou) หรือเฉาอัน (Chaoan) อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง
มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นภูเขา 50.45% ที่ราบ 35.5% อ่าวและชายฝั่งทะเล 14.05%
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า ชาวจีนที่เดินทางมาไทยในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่นั้นเป็นจีนฮกเกี้ยน มักมีอาชีพรับราชการ แต่หลังสมัยอยุธยานั้น จะมีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก จีนฮกเกี้ยนมีเป็นจำนวนมากแถบภาคใต้ของจังหวัดภูเก็ต ปัตตานี สงขลา และระนอง สำหรับจีนแต้จิ๋ว อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นส่วนใหญ่ ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในระยะหลังปี 2310 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนและได้รับสิทธิพิเศษบางประการเพราะพระเจ้าตากสินทรงมีพระบิดาเป็นชาวแต้จิ๋ว
พวกแต้จิ๋วส่วนใหญ่จะอพยพมาทางเรือ และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ได้แก่เมืองต่าง ๆ ในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ ตราด จันทบุรี บางปลาสร้อย (ชลบุรี) แปดริ้ว และในกรุงเทพฯ ต่อมาภายหลังในคริสตศตวรรษที่ 19 พวกแต้จิ๋วจึงขยับขยายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกเขตดังกล่าว ได้แก่ อุตรดิตถ์ ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) ตลอดจนพิจิตร พิษณุโลก สวรรคโลก เด่นชัย เมื่อมีการสร้างทางรถไฟไปถึงแก่งคอยและขึ้นไปทางเหนือ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.angelfire.com/mi4/hainanthai/taijuy.html
ในปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวจีนอพยพเข้ามาประเทศไทยเป็นจำนวนมากเนื่องจากเกิดทุพภิกขภัย เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเมืองฉะเชิงเทรามากเพื่อทำไร่อ้อยและตั้งโรงหีบอ้อยสำหรับทำน้ำตาล เมืองฉะเชิงเทรามีโรงหีบอ้อยตั้ง 28 โรง มีโรงหีบอ้อยหลวง 1 โรง ที่เมืองพนัสนิคม 1 โรง
แม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางที่มีเรือสำเภาแล่นไปเมืองจีน เพื่อขนน้ำตาลไปขาย
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตำบลท่าพลับและตำบลบางกรูดเคยมีโรงสีไฟเครื่องจักร ที่เรียกว่าโรงสีกลไฟ 3 โรงริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง คือโรงสีบน โรงสีกลาง โรงสีล่าง สามารถส่งข้าวออกไปขายที่สิงค์โปร์ ฮ่องกงได้โดยตรง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ปริญญานิพนธ์ของ อังคณา แสงสว่าง
หลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของคนจีนก็คือคือศาลเจ้าและโรงเจ ซึ่งตามริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงจะมีศาลเจ้าและโรงเจหลายแห่ง
หมายเหตุ
ที่บ้านฝั่งตรงข้ามวัดบางกรูดบริเวณบ้านบรรพบุรุษของพลอยโพยม มีศาลเจ้า 1 แห่ง บางคนอ่านชื่อป้ายศาลเจ้าว่า ทั้งเซี้ยงโกวเมี่ย ซึ่งเมื่อนำภาพอักษรจีนบนป้ายชื่อศาลเจ้าไปให้คนอ่านแผ่นป้ายประวัติ ผู้อ่านและแปลไทยให้บอกว่าเป็นสถานที่เดียวกัน
และเยื้อง ๆ กับบ้านบรรพบุรุษนี้เคยมีโรงสีกลางซึ่งมีปล่องไฟสูงใหญ่มาก จากคำบอกเล่าของนายแพทย์วิจิตร พัวพันธุ๋คือ ก๋งบุญเล่าให้ฟังสมัยคุณน้าเป็นเด็ก ๆ ว่าเรือบรรทุกข้าวเป็นเรือกระแซงลำใหญ่ จะจอดรอเทียบท่าโรงสีกลางโดยจอดเรียงรายเต็มท่าน้ำก่อนแล้วต้องผูกโยงลำเรือ ต่อ ๆ กันมาถึงกลางลำน้ำบางปะกง โรงสีกลางมีกำลังการสีข่าว วันละ 100 เกวียน
เรือกระแซงขนาดเล็ก
เรือเอี๊ยมจุน
ประวัติสกุลเจริญวงษ์
1. นายกงหงงอื้อ ทายาทสกุลอื้อลำดับที่ 20 เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2403 มีภรรยาชื่อนางหงี่เซี้ยง แซ่เงี๊ยบ
เกิดปี พ.ศ. 2404 เดินทางมาจากเมืองแต้จิ๋ว เขตไห่หยาง ตำบลคิ้วโค่ย (คิ้วโค่ยโต่ว) ภูเขา ตงซัว
ได้มาประเทศไทยที่เมือง แปดริ้ว (ปั๊กลิ่ว ) โดยมาปักหลักฐานอยู่ข้าง ๆ ถ่งทั้งเซี้ยง ท่านกงหงง อื้อ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2451
2.นายตงจงอื้อ มีภรรยาชื่อ ไช้เนี๊ยว แซ่ลิ้ม เกิด ปีมะเส็ง เดือน 8 เสียชีวิต ปีมะโรง เมื่ออายุ ได้ 66 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2556 รวมเป็นเวลาผ่านมา 128 ปี จากปีเกิด
3.นายจี้เค็ง แซ่อื้อ มีภรรยาชื่อ อำแดงแจ่ม ทั้งสองชื่อนี้ปรากฏในโฉนดที่ดินที่ หมู่ 9 บ้านท่าพลับ ตำบลท่าพลับว่าเป็นบิดามารดา ของนายโหงว แซ่อื้อ
4.นายโหงว แซ่อื้อ เป็นบุตร นายจี้เค็ง แซ่อื้อ และอำแดงแจ่ม มีภรรยาชื่อ นางอิ่ม อื้อเฮียบหมง บรรพบุรุษแซ่อื้อพำนักที่บ้านซึ่งมีลักษณะเป็นเรือนไทยปนจีนหลังใหญ่ คือมีเรือนใหญ่ตรงกลางมีเรือนขวางซ้ายขวา บ้านเรือนกลางยกระดับ 3 ชั้น คือจากนอกชานชั้นที่ 1 และยกระดับในเรือนอีก 2 ระดับ รวมทั้งมีเล่าเต้ง (ชั้นบน) ต่อมาเป็นบ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาจากญาติผู้ใหญ่รุ่นก๋งว่าบ้านหลังนี้สร้างโดยย่าแดง ( ยังหาความสัมพันธ์ของย่าแดงไม่ได้ว่าคือใคร ) นายโหงว และนางอิ่มไม่มีบุตรธิดา แต่นายโหงว มีน้องชาย คือ นายไซ แช่อื้อ
5.นายไซ แซ่อื้อ มีภรรยาชื่อ นางจู มีบุตรธิดา รวม 5 คน ต่อมานายมานิตย์ ( กุ่ยฮั้ว แซ่อื้อ) บุตรชายคนที่สี่ของนายไซ นางจู ได้ขอตั้งนามสกุล เจริญวงษ์ โดยนางจู ยังมีชีวิตทันได้ใช้นามสกุล เจริญวงษ์ เป็นนางจู เจริญวงษ์
ก่อนนายกงหงง อื้อเข้ามาอยู่เมืองไทย มีคนในตระกูลอื้อ ซึ่งเข้ามาปักหลักฐานที่ตำบลบางกรูด ได้ร่วมบริจาคเงินสร้างศาลเจ้าทั้งเซี้ยงโกวเมี่ย ที่ตำบลบางกรูด 3 คน คนที่หนึ่งมีชื่อว่าอื้อกุ่ยชุน คนที่สองชื่ออื้อกวง...(ตัวสุดท้ายอ่านไม่ชัด) และคนที่สาม อ่านได้แต่คำว่าอื้อ.. (อ่านจากป้ายรายนามผู้บริจาคเงินสร้างศาลเจ้าซึ่งสีหมึกดำที่ใช้เขียนเลือนรางมาก)
นายกงหงง อื้อ นับอายุถึงปัจจุบัน 153 ปี อาจมีบุตร ธิดา ท่านอื่นอีก แต่หาข้อมูลไม่ได้
นายตงจง แซ่อื้อ เกิดหลังนายกงหงง นับอายุถึงปัจจุบัน 128 ปี อาจมีบุตรธิดา ท่านอื่น ๆ อีก
นายจี้เค็ง แซ่อื้อและอำแดงแจ่ม มีบุตรชาย 2 คนคือ นายโหงว แซ่อื้อ และนายไซ แซ่อื้อ
สันนิษฐานว่า
นายโหงว และนายไซ น่าจะเป็นทายาทแซ่อื้อ ลำดับที่ 23
บุตรธิดาของ นายไซ แซ่อื้อและ นางจู เจริญวงษ์ น่าจะเป็น แซ่อื้อ ลำดับที่ 24
นายโหงว แซ่อื้อและ นางอิ่ม อื้อเฮียบหมง ได้ขอบุตรคนที่ 2 และธิดาคนที่ 5 ของนายไซ นางจู มาเป็นบุตรบุญธรรม
ลำดับของบรรพบุรุษสรุปได้ตามหลักฐานที่มีอยู่เป็นดังนี้
นายกงหงง แซ่อื้อ นางหงี่เซี้ยง แซ่เงี๊ยบ
นายตงจง แซ่อื้อ นางไช้เนี๊ยว แซ่ลิ้ม
นายจี้เค็ง แซ่อื้อ อำแดงแจ่ม มีบุตรชาย 2 คน คือ
1.นายโหงว แซ่อื้อ สมรสกับ นางอิ่ม อื้อเฮียบหมง ไม่มีบุตร ธิดา
2.นายไซ แซ่อื้อ สมรสกับ นางจู แซ่อื้อ(ภายหลังใช้สกุล เจริญวงษ์) มีบุตรธิดา 5 คน คือ
1. นางสาวสมใจ เจริญวงษ์ (กุ่ยเอ็ง)
2.นายชาญ เจริญวงษ์ (กุ่ยชุน)
3.นางสาวอุไร เจริญวงษ์ (กุ่ยฮวย)
4.นายมานิตย์ เจริญวงษ์ (กุ่ยฮั้ว)
5.นางสาวประไพ เจริญวงษ์ ( กุ่ยเฮียง)
ชวดจู แซ่อื้อ ( เจริญวงษ์ )
ซ้าย กุ่ยเฮียง แซ่อื้อ ขวา กุ่ยเอ็ง แซ่อื้อ
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นประไพ เจริญวงษ์ และ สมใจ พัวพันธุ์ (เจริญวงษ์)
คุณยายประไพ เจริญวงษ์ เด็กน้อยหน้ายู่ยี่ที่เรียกหาว่า เล็กจี๊ด ( เล็กอย่างเดียวไม่พอยังจี๊ดอีกด้วย ) ฉัตรชัย สงวนสัตย์ คุณยายสมใจ พัวพันธุ์ (ยายขา)
แถวหลัง ละม่อม สงวนสัตย์ (พัวพันธุ์ ) ละออ อุดมพงษ์ (พัวพันธุ์) และ ประทุม พัวพันธุ์ (สะใภ้)
นั่ง - ละออ อุดมพงษ์ (พัวพันธุ์)
ยืน - ละม่อม สงวนสัตย์ (พัวพันธุ์) ประทุม พัวพันธุ์
พี่สาวคนโต กับน้องสาวคนสุดท้อง นั่งเรียงหมากที่หั่นซอยแล้วตากแห้ง กลางนอกชานบ้านของยายขา เด็กชายนพฤทธิ์ สงวนสัตย์ ในชุดเท่ห์ไม่เบา
ตาชื่อโปตี้ แซ่อื้อเกี่ยวกันไหม
ตอบลบทวดเราชื่อจั่ว แซ่อื้อครับ
ลบพ่อของปู่ ชื่อเล่นว่าก๋งอํ่า แซ่อื้อ ย้ายมาจาก.. จ.อุทัย ธานี มาอยู่ที่นครสวรรค์ มีญาติพี่น้องอยู่ที่ปากนํ้าโพ นครสวรรค์ รูปก๋งอํ่ายังเก็บไว้อย่างดียังอยู่กับผม แต่ผมไม่รู้จักใครเลยในเวลานี้
ตอบลบลูกของก๋งอํ่าปู่ของผมชื่อว่า..ปู่ตั๋ง แต่งงานกับ ย่าตี๋ ก๋งอํ่าเป็นผู้มีวิชาอาคมมากที่พ่อได้เล่าสืบต่อกันมา หลวงปู่เฮงเกจิชื่อดังสมัย ร. 5 ได้มารํ่าเรียนวิชาจากปู่ทวดอํ่า ซึ่งหลวงปู่เฮง ร. 5 นับถือมากครั้งเสด็จประภาสต้นได้มานมัสการหลวงปู่เฮงที่วัดเขาดินใต้ และได้นิมนต์หลวงปู่เฮงเข้าไปในวัง และแต่งตั้งหลวงปู่เฮงเป็นพระครูชั้นพิเศา บวชบวชกุลบุตรธิดาทั่วราชอานาจักรไทย ก๋งอั๋า มีญาติพี่น้องในตัวเมืองปากนํ้าโพ นครสวรรค์ แต่ตัวทวดย้ายมาจาก จ. อุทันธานีมาอยู่ที่อำเภอเก้าเลี้ยว ต. เขาดิน และญาติที่มาจากเมืองจีนด้วยกันมาทำมาหากินที่ปากนํ้าโพนครสวรรค์ รูปลักษณืของก๋งอํ่า แตงชุดจีนเต็มยศถือพัด ไว้ผมเปียยาวมากๆถึงแผ่นหลัง อาวุธที่ติดตัวมาจากเมืองจีนคือมีดดาบ เป็นมีดดาบที่อ่อนมากสามารถพันรอบเอวได้ ที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง และเป็นผู้เรืองวิชาอาคมมากหาใครเปรียบได้ จนหลวงปู่เฮงมาเล่าเรียนวิชาอาคม และได้มอบถวายตำราวิชาให้กับหลวงปู่เฮง หลวงปู่เฮงมีอภินิหารย์มากมายสมัยพ่อได้เป็นลูกศิษย์หลวงปู่เฮง ซึ่ง ร. 5 นับถือหลวงปู่เฮงมาก
ลบทิ้ง blog ไปนานเลย มีภาระกิจมากค่ะ ไว้มาคุยด้วยนะคะ ขอบคุณนะคะ
ตอบลบสวัสดีครับ.คือผมอยากตามหาที่อยู่ เลขที่บ้าน, หรือเบอร์โทร,id วีแชต,ของเด็กจีนคนหนึ่ง ซึ่งผมเลี้ยงดูแลเขาขณะอยู่เมืองไทย ตั้งแต่เขาอายุ 4 ขวบกว่าๆจนอายุ 12 ขวบ(เรียนใน กทม. ตั้งแต่อนุบาล-ป.5)อยู่กับผม7ปี ผมจะเรียกชื่อเขาว่าอาตี๋ ครอบครัวผมรักเขาเหมือนลูก เมื่อวันที่ 24 ก.ย.62 นี้ เขาเดินทางกลับจีน และไม่ติดต่อกลับมาอีกเลย ผมทุกข์ใจมากอยากติดต่อเขา เพื่อได้ทราบว่าเขากินอยู่อย่างไร สบายดีไหม(เขาพูดจีนไม่ได้ด้วย)ถ้าผมติดต่ออาตี๋ได้จะได้ส่งเงินให้เขาบ้าง แม่ของอาตี๋เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงป่วยติดเตียง เขาอยู่ เฉาโจว(แต้จิ๋ว) เหราผิง(เหยี่ยวเพ้ง) ตามใบเกิดอาตี๋เกิดที่นี่ รพ.ประชาชน เหราผิงคันทรี่ "แซ่อื้อ" แม่อาตี๋ชื่อ YU DONGRUI อาตี๋ชื่อ YU GUIFU จึงขอความเมตตากรุณาจากท่านผู้ใจบุญ ใจดีในตระกูล"แซ่อื้อ"หรือใครก็ได้ที่พอจะมีหนทางในการสืบเสาะหา แม่-ลูกคู่นี้หรือพอหาญาติพี่น้องของเขาได้ผมขอความกรุณาครับ ผมขอกราบขอบพระคุณครับ ติดต่อผมมือถือ 085-074-6911 ครับ
ตอบลบลูกชายของฉันแซ่อื้อ ซึ่งทวดของสามีชื่อ ไช้ แซ่อื้อค่ะเดินทางจากจีนมาทางภูเขามาลงหลักปักฐานที่ จ.ราชบุรีค่ะ
ตอบลบเหล่าม่าชื่อกิ๋ม(แม่ของตา) เหล่ากงชื่ออู๋(พ่อของตา)แซ่อื๊อ;ไม้ตรี(ไม่ใช่แซ่อื้อไม้โท) ขึ้นเรือสำเภามาจากเมืองซัวเถาพูดภาษาแต้จิ๋ว แต่เราใช้นามสกุลพ่อเพราะพ่อเป็นคนไทยแต่ ตระกูลแม่เป็นคนจีนทั้งหมด และพูดภาษาจีนทั้งหมด ตระกูลตายาย ตั้งรกรากมาอยู่ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่เพียงอยากรู้ว่า (แซ่อื๊อ แปลว่าอะไร ใครรู้บ้าง) ไม่เคยถามทางบ้านอ่ะครับ
ตอบลบผมก็ลูกหลานตระกูลแซ่อื๊อเหมือนกันครับ แซ่อื๊อ แปลความหมายว่า เหลือกินเหลือใช้ครับ
ลบก๋งทวดผมชื่อก๋งแช แซ่อื๊อ และย่าทวดผมชื่อย่าแขก วงศ์ศาโรจน์ครับ อยู่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีครับดีใจมากๆๆครับที่เกิดเป็นลูกหลานตระกูลอื๊อครับ
ลบผมนี้ นามสกุล เอื้อผาติกุล แซ่อื้อเหมือนกันครับ ทำไมไม่เคยเจอญาติที่สมาคมเลย เจริญวงศ์ งงมากครับ
ตอบลบแซ่อื๊อ(ไม้ตรี) ส่วนตัวเข้าใจว่า จากที่คนไทยไม่น้อย โดยเฉพาะสมัยนั้น คงผันเสียงวรรณยุกต์ "อักษรกลาง" พลาด(อือ อื่อ อื้อ อื๊อ อื๋อ) หรือ สำเนียงเสียงสูงต่ำของภาษา ตปท. จึงทำให้การระบุ แซ่อื๊อ(ไม้ตรี) เป็น แซ่อื้อ(ไม้โท)
ตอบลบอื๊อ(อื้อ) ชื้อ อึ๊ง(อึ้ง) 3แซ่ มาจาก3พี่น้อง อดีตจึงห้ามไม่ให้แต่งงานกัน(เลือดชิด) แต่ ภายหลัง สายเลือดห่างกันหลายรุ่น(generation) จึงไม่ห้าม
ตอบลบคล้ายกับ "กฎหมาย" ของเกาหลี ที่ห้ามแซ่เดียวกันแต่งกัน แต่ภายหลังจึงแก้ กม.2พระ-นาง จึงแต่งกันได้ (ลืมชื่อเลย55) เราก็ แซ่อื๊อค่ะ นามสกุล เอื้อ....
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและเล่าเรื่องตระกูลอื้อ กันนะคะ พลอยโพยม ติดภาระกิจสำคัญทั้งงานสาธารณะชุมชนหลายปี และงานระดับชาติที่ใช้วลาเฉพาะเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2562 คือจังหวัดทำเรื่องเสนอพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ปูชนียบุคคลชาวฉะเชิงเทราเป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน ปี 2565 ได้รับประกาศแล้วจากยูเนสโก และปีนี จัดงานฉลองทั้งปี จบภาระกิจ แล้ว จะกลับมาเขียนเรื่องราว เรื่องเล่า ใหม่ อีกครั้งค่ะ ทิ้ง blog ไปหลายปีเลยค่ะ
ตอบลบ