. ดอกอัญชันถูกกล่าวถึงในวรรณคดี หลาย ๆ เรื่อง เช่น
. แล้วโฉมงามทรามสงวนนวลระหง
ชวนพระลักษณวงศ์เก็บบุปผา
ที่ปลูกไว้ใกล้บรรณศาลา
เก็บจำปาพุทธชาดอัญชันปน
บทประพันธ์เรื่องลักษณวงศ์ของสุนทรภู่
และในนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ได้กล่าวถึงความเชื่อของคนโบราณที่เกี่ยวกับดอกอัญชันว่าสามารถนำมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ในพระนิพนธ์มีการ เปรียบเทียบคิ้วของผู้หญิงว่างามราวดอกอัญชันดังนี้
นิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
อัญชันเรียกอัญขัน ทาคิ้วมันกันเฉิดปลาย
ชำเลืองเยื้องตาชาย ชายชมนักมักแลตาม
อัญชันคนึงอ่าเจ้า โฉมฉาย
คิ้วเคลือบมันกันปลาย เฉิดช้อย
ชำเลืองเยื้องตาชาย เนืองนั่ง
ชมเพลินเดิรคล้ายคล้อย บ่ายหน้าแลตาม
“…มะลิวัลย์อัญชันช่อ ทุกก้านกอสรล่มสรลอน
ชงโคยี่โถขจร รสรื่นรรวยรมย์…”
สรรพสิทธิ์คำฉันท์ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ในหนังสือพรรณพฤกษา ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวถึงดอกอัญชัน
ในหมู่ไม้แม่กนว่า
ฉนวนสนุ่น
ทนดียี่สุ่น ขนุนขนัน
กระวานกานพลู ซ่อนชู้อัญชัน
มณฑามะลิวัลย์ อินจันกรรณิการ์
ช่อตะแบก ชาติบุษย์พุทรา
การะเกดกรรณิการ์นมสวรรค์
มะลุลีมะลิลาแสลงพัน
อัญชันแอบช่อชบาบาน
พระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์
ป่าหิมพานต์
ขอขอบคุณภาพจาก
http://audio.palungjit.com
นอกจากเป็นการกล่าวถึงดอกไม้แล้ว
อัญชันมีปรากฏชื่ออยู่ในมหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก ในกัณฑ์จุลพน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส โดยเป็นชื่อภูเขาอันเป็นเส้นทางไปสู่เขาวงกตดังนี้
เขาที่แลเห็นนั้นเป็นต้นทางที่จะเดินต่อไป คือ “เขาคันธมาทน์” อันเป็นถิ่นที่อุดมไปด้วยไม้หอมนานาชนิดถัดไปที่แลเห็นสีเขียวครามนั้น คือ “เขาอัญชัน” มีพันธุ์ไม้ต่างๆ หลายชนิดน่าชม เดินต่อไปอีกสักครู่ ก็จะถึงสถานอัมพวันใหญ่ คือ ป่ามะม่วงถัดไปจะถึงป่าตาล และมะพร้าวกับต้นเป้ง แล้วถึงป่าไม้ดอกต่างๆ มีกลิ่นหอมตลบไปทั่วป่า
ขอบคุณมากกกค่ะ ได้ใช้ไปทำการบ้าน หาตั้งนาน ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ