ความรู้เรื่องดอกอัญชัน จากรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
ดอกอัญชัน พันธุ์ดังเดิมของไทย เป็นดอกชั้นเดียวที่เรียกกันว่าดอกลา ส่วนพันธุ์ดอกซ้อนที่พบเห็นกันในขณะนี้คาดว่าน่าจะมาจากการกลายพันธุ์
สีของดอกอัญชัน จะมีมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับสภาพดินที่ปลูก ถ้าดินที่ปลูกมีความเป็นกรด ดอกของสีอัญชัน จะเป็นสีอ่อนกว่าปกติ และถ้าสภาพดินที่ปลูกมีความเป็นด่างสีของดอกอัญชันก็จะเข้ม
และเมื่อเก็บดอกอัญชันแห้งไว้นาน ๆ กลิ่นของดอกอัญชันก็จะเปลี่ยนแปลงอีก คล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง
กลิ่นของดอกอัญชันเป็นกลิ่นที่พึงประสงค์ เมื่อได้กลิ่นแล้วจะทำให้รู้สึกอยากดื่มน้ำ เมื่อได้ดื่มน้ำแล้ว ก็จะรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย
สรรพคุณทางยาของดอกอัญชัน
ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน(สารรงควัตถุ ที่ทำให้มีสี) ซึ่งสารนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันดอกและผลของตัวเอง โดยป้องกันอันตรายจากแสงแดด สารแอนโธไซยานิน มีคุณสมบัติช่วยชะลอความชรา โดย ป้องกันความจำเสื่อม ผิวพรรณหน้าตา เพราะมีผลในการเพิ่มปริมาณสาร อะซิตี้โกลีน และลดปริมาณสารอะซิตี้โกลีนแอสเตอเลส (ซึ่งหากมีสารตัวนี้มากจะทำให้ความจำเสื่อม)
สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้ จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น ในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
ใน ดอก เมล็ด ใบ และรากของอัญชันยังมีสารต่าง ๆ ที่สำคัญ อีก ดังนี้
สารอดีโนซีน (adenosine) มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
สารแอสตรากาลิน (astragalin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
สารเคอร์เซติน (quercetin) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ
นอกจากนี้ยังมี
สารแอฟเซลิน (afzelin)
สารอปาราจิติน (aparajitin)
กรดอราไชดิก (arachidic acid)
กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy)
และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น
สรรพคุณของอัญชัน
ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร เพิ่มสีสันให้สดสวย หุงข้าวสวย ข้าวเหนียว ผสมแต่งสีในขนมหวานไทย ๆ เช่นขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู ขนมชั้น ขนมดอกอัญชัน และอื่น ๆ
น้ำคั้นจากดอกอัญชัน ใช้ดื่มดับกระหาย
ใช้ดอกทาผม ขนคิ้ว ให้ดกดำ
อัญชัน ใช้บำรุงเส้นผมให้ดกดำ เป็นเงา คนโบราณเชื่อกันว่าดอกอัญชันช่วยปลูกผม ปลูกคิ้วได้ดี จึงนิยมใช้ดอกอัญชันเขียนคิ้วโดยนำมาขยี้ ๆ แล้วนำมาทาคิ้วเด็ก จะทำให้ขนคิ้วขึ้นดกดำ มีเหตุผลเสริมความเชื่อเรื่องนี้ว่า เด็กอ่อนอยู่ในวัยสร้างรูขุมขนการใช้ดอกอัญชันวาดคิ้วเหมือนเป็นการใส่ปุ๋ย
เด็กอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตนั้น เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังสร้างรูขุมขน เมื่อนำดอกอัญชันไปวาดคิ้วจึงเป็นการใส่ปู๋ยให้ขนขึ้น เมื่อขึ้นแล้วก็เป็นขนที่แข็งแรงดกดำ เพราะดอกอัญชันมีสารเร่งบำรุงรากขนให้แข็งแรง
แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าดอกอัญชันสามารถกระตุ้นให้เกิดการงอกของขนผม แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากรงควัตถุ สีของดอกอัญชัน เข้าไปแทรกตามเส้นผมในขณะสระผม จึงทำให้เส้นผมดูดำและเงางาม คนคิดว่าสระผมด้วยสมุนไพรดอกอัญชันแล้วผมจะมีสุขภาพผมดี ทั้งนี้เพราะในขณะสระผมเราจะใช้มือนวดศีรษะซึ่งมีส่วนช่วยให้มีการไหลเวียนของเส้นเลือดบนศีรษะ
ในปัจจุบันจึงนำดอกอัญชันมาใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด
สีจากกลีบดอกสดของอัญชันซึ่งมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน ใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus)
เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง
หมายเหตุ
บทความนี้เน้นความหมายถึงดอกอัญชันที่เป็นสีน้ำเงิน
ไม่เกี่ยวข้องกับการสื่อด้วยภาพ เพราะมีเจตนาใช้ภาพเป็นเพียงการเบรคสายตาในการอ่านตัวอักษรเท่านั้น
เมล็ด เป็นยาระบาย
ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รายการภัตตาคารบ้านทุ่ง
และhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/349042
http://www.braklung.com/?p=1316
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น