วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของ...ไมยราบ...

ไมยราบ



สกุลไมยราบมีสมาชิกประมาณ 480 ชนิด ส่วนใหญ่มีการกระจายพันธุ์ในเอมริกาใต้
ในไทยพบขึ้นเป็นวัชพืช 3 ชนิดคือ
ไมยราบ Mimosa pucida L.,
ไมยราบขาว Mimosa diplotricha C. Wright ex Suavale และ
ไมยราบต้น Mimosa pigra L




ไมยราบขึ้นเป็นวัชพืชไป มีถิ่นกำเนิดในเอมริกาใต้ ในไทยนำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน
หมายเหตุ ในหนังสือพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยได้จำแนกไมยราบออกเป็น 3 ชนิดย่อย และพบในไทย 2 ชนิดย่อยคือ Mimosa pucida L. var. hispida Brenan และ Mimosa pucida L. var. unijuga (Duchass. & Walp.) Griseb.



ไมยราบ
ชื่อสามัญ Sensitive plant
ชื่ออื่น กระทืบยอด, หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี); กะหงับ (ภาคใต้); ก้านของ (นครศรีธรรมราช); ระงับ (ภาคกลาง); หงับพระพาย (ชุมพร); หญ้าจิยอบ, หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ)






อนึ่งในหนังสือรายชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ใช้ชื่อ หญ้าปันยอด เป็นชื่อทางการ





ฝักของไมยราบ
ขอขอบคุณภาพจาก สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้
และ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

ไมยราบขาว
Mimosa diplotricha C. Wright ex Suavale
Fabaceae (Leguminosae-Mimosoideae)



ไม้พุ่มเตี้ยทอดเลื้อยตามพื้นดิน ขึ้นหนาแน่น บางครั้งสูงถึง 1 เมตร



ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีหนามโค้งตามสันเหลี่ยมเป็นแถว และตามแกนก้านใบหรือตามข้อ พบประปรายตามท้องใบ มีขนปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ใบ และช่อดอก ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น




ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.5-6 ซม. ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.4 มม. กลีบดอกรูปกรวยแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมน ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศผู้มี 8 อัน รังไข่ยาวประมาณ 1 มม. มีขนละเอียด




ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 1.5-3.5 ซม. มีขนแข็งตามขอบ

ไมยราบขาวขึ้นเป็นวัชพืช มีถิ่นกำเนิดในเอมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้าโดยกรมวิชาการเกษตรเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช
ชื่อพ้อง Mimosa insiva Mart. ex Colla



ไมยราบต้น
Mimosa pigra L.
Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)






ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 เมตร มีหนามทั่วไป และตามรอยต่อใบประกอบย่อย มีขนหยาบตามกิ่ง แกนก้านใบ ขอบใบและช่อดอก ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น


ช่อดอกออกเป็นคู่ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2 ซม. ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 1 มม. บางและแห้ง กลีบดอกรูปแตร ยาวประมาณ 3 มม. หลอดกลีบเกลี้ยง กลีบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ 1.2 มม. เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่ยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนกำมะหยี่หนาแน่น

ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปแถบแกมรูปขอบขนาน ตรง ยาวประมาณ 6 ซม. เป็นจงอย มีขนสากหนาแน่น



ไมยราบต้นขึ้นเป็นวัชพืชไป มีถิ่นกำเนิดในเอมริกาใต้
ชื่อสามัญ Giant sensitive plant
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%E4%C1%C2%C3%D2%BA&typeword=group
http://kromchol.rid.go.th
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th


ยังมีข้อมูลไมยราบยักษ์จาก http://kromchol.rid.go.th/research/vijai_rid/wd/mimosa.html  อีกดังนี้
ไมยราบยักษ์
วงศ์ Mimosaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Mimosa pigra L.)
ชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ giant mimosa, giant sensitive plant, giant thorny sensitive plant, thorny sensitive plant ไมยราบต้น ไมยราบน้ำ กระถินน้ำ



ไมยราบยักษ์จัดเป็นพืชข้ามปีตระกูลถั่ว เป็นวัชพืชปัญหาที่ร้ายแรง ถิ่นกำเนิดของไมยราบยักษ์อยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนในทวีปอเมริกา

ลักษณะพิเศษของไมยราบยักษ์ที่เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาด
1. ต้นสามารถขึ้นได้ในดินทุกสภาพ แม้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากปมรากสามารถตรึงไนโตรเจนได้
2. เป็นไม้พุ่ม พืชยืนต้น ที่มีระบบรากลึก โดยลึกมากกว่าพืชอื่นในขนาดเดียวกันสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี และติดเมล็ดมาก
3. ฝักสามารถหลุดออกเป็นข้อๆ และลอยน้ำได้นับเดือน ทำสามารถแพร่กระจายได้ไกล เมล็ดมีเปลือกหุ้มป้องกันการซึมข้าวของน้ำ หรืออาจติดไปกับเสื้อผ้า หรือสัตว์
4. เมล็ดมีชีวิตอยู่ได้นาน เมล็ดที่แช่น้ำไว้ 10 เดือน จะงอกถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่โดยทั่วไปจะอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี
5. เนื่องจากขึ้นอยู่ริมน้ำได้ เมล็ดจึงมักติดไปกับดินหรือทรายที่ถูกขุดไปใช้ในการก่อสร้าง
6. ขาดศัตรูธรรมชาติ ในประเทศไทยยังไม่สามารถพบศัตรูธรรมชาติอย่างแท้จริง
7. ลำต้นมีหนามเป็นอุปสรรคในการกำจัด


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=1528&id=8945

ประโยชน์ของไมยราบยักษ์
1. ลำต้นใช้ทำรั้ว ไม้ค้ำ หรือทำเป็นฟืน
2. ป้องกันการชะล้างของดิน ป้องกันการพังทลายของตลิ่ง
3. สามารถตรึงไนโตรเจน ทำดินมีความอุดมสมบูรณ์
4. ใช้เป็นอาหารสัตว์
5. ใช้เป็นยา


และยังพบข้อมูลของไมยราบยักษ์ จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/198378? ดังนี้





“ไมยราบยักษ์” เป็นวัชพืชที่สันนิษฐานว่าได้มีการนำเมล็ดเข้ามาจากอินโดนีเซีย โดยผู้นำเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 เพื่อใช้เป็นพืชปุ๋ยสดในไร่ยาสูบ ที่อำเภอแม่แตง และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้ ยังพอมีหลักฐานพอเชื่อได้ว่า การนำเอาไมยราบยักษ์เข้ามาปลูกในประเทศไทยคราวนั้น ยังมุ่งที่จะใช้ไมยราบยักษ์เป็นพืชอาศัยของครั่งแทนต้นจามจุรี (Samanea saman Merr.)





หรืออาจจะมีความประสงค์ต้องการปลูกไมยราบยักษ์เป็นไม้ยึดฝั่ง ป้องกันการพังทลายของตลิ่ง หรือริมฝายน้ำของกรมชลประทาน

พืช ในวงศ์ Mimosaceae ในไทย เช่น กระถินเหลือง,กระถินณรงค์,ไม้ตระกูลไมยราบ,จามจุรี,ผักกระเฉด,สะตอ.ชะอม,กระถิน เป็นต้น

พลอยโพยมก็ชักสับสนกับเรื่องราวของไมยราบ เพราะ หากสรุปความตามข้อมูลเหล่านี้ ก็ มีทั้งหน่วยงานรัฐ ( คือ กรมทางหลวง กรมวิชาการเกษตร หรืออาจะบางที่เป็นกรมชล ฯ ด้วย ) และเอกชน นำเข้าไมยราบ แต่ต่างพรรณกันเข้ามาซึ่งน่าจะต่างวัตถุประสงค์และต่างวาระกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น