วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พรรณไม้น้ำ.... หลุมพอทะเล

หลุมพอทะเล


ขอขอบคุณภาพวาดหลุมพอทะเลของคุณธัญลักษณ์ สุนทรมัฎฐ์
สำนักหองานพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

หลุมพอทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Intsia bijuga (Colebr.) O. Ktze.
วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่ออื่น : ประดู่ทะเล (กลาง); งือบาลาโอ๊ะ (มาลายู-นราธิวาส)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง มีพูพอนสูงได้ประมาณ 2 เมตร



ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย




ลำต้นบางครั้งคดงอ เปลือกเรียบ สีเทาถึงเทาแกมชมพู เปลือกชั้นในสีส้มถึงชมพู




ใบ


เป็นใบประกอบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยมักมี 2-3 คู่ รูปขอบขนาน หรือรูปรี ปลายใบ เว้าบุ๋ม หรือ แหลมมน ฐานใบมนถึงแหลมเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบเกลึ้ยงทั้งสองด้าน มีก้านใบย่อย โคนก้านขยายใหญ่ เส้นใบมี 5-7 คู่



ดอก
ออกที่ปลายกิ่งแบบช่อแยกแขนง มีขนสั้นนุ่มละเอียด ช่อดอก กลีบเลี้ยง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 1 กลีบ สีขาว หรือชมพู และเปลี่ยนเป็นสีแดงในเวลาต่อมา ขอบกลีบดอกเป็นคลื่น มีขนสั้นนุ่ม




เกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณู เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 4-7 อัน รังไข่มีก้านสั้นๆ มีขนปกคลุม ก้านเกสรเพศเมีย มีขนที่โคน



ออกดอกประมาณเดือนธันวาคม-เมษายน

ผล
เป็นฝักแข็ง แบน รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ขอบฝักหนา เรียบ ฝักอ่อนสีเขียว บางมาก คล้ายใบ เมื่อแก่ฝักจะหนาขึ้น และเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อแก่จัดจะแตกออกตามรอยตะเข็บตามยาวยฝัก แต่ละฝักมี 4-8 เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ ปลายมน โคนตัด



ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.nectec.or.th

ผลแก่เดือนกรกฎาคม-กันยายน




หลุมพอทะเลมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบที่เกาะมาดากัสการ์ อินเดียและพม่าตอนใต้ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย


ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามพื้นที่น้ำกร่อยและชายฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล
และภาคใต้ ขึ้นในป่าพรุ ป่าใกล้ชายฝั่งป่าโกงกาง ระดับความสูงจนถึง 600 เมตร


ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้ก่อลร้างได้ดี



หมายเหตุ หลุมพอ เป็นไม้ในสกุล Intsia อยู่ในวงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae


สกุล Intsia เป็นไม้ต้น ใบประกอบปลายคู่ ใบย่อยเรียงตรงข้าม หูใบเชื่อมติดกันที่โคน ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะหรือแยกแขนง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 1 กลีบ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 3 อัน ก้านเกสรเพศผู้ติดกันที่โคน เกสรที่เป็นหมัน 4-7 อัน อับเรณูติดด้านหลัง รังไข่มีก้าน ผลเป็นฝัก แบน มี 2 ซีก

สกุลหลุมพอมีสมาชิกทั่วโลก 6-7 ชนิด มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่หมู่เกาะมาดากัสการ์ไปจนถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ในไทยพบ 2 ชนิด คือ หลุมพอ Intsia palembanica Miq และ หลุมพอทะเล Intsia bijuga (Colebr.) O. Kuntze




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.aquatoyou.com
http://web3.dnp.go.th




หลุมพอทะเลต้นนี้อายุสิบกว่าปีแล้ว แต่เนื่องจากถูกขนาบด้วยไม้ใหญ่ทั้ง นนทรี และหูกวาง การชูยอดรับแสงตะวันของหลุมพอทะเลก็จะได้โอกาสเพียงบางช่วงของวันเท่านั้นเอง   ต้นจะเอนไปหาแสงอาทิตย์  จึงทำให้ต้นหลุมพอทะเลต้นนี้ต้นเล็กกว่าที่ควรเป็นมากดังในภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น