วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตำลึง..

ตำลึง



ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt
วงศ์ Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ Scarlet-fruited gourd, ivy gourd
ชื่ออื่น ผักแคบ, สี่บาท (ภาคเหนือ); ตำลึง (ทั่วไป)




ตำลึงเป็นไม้เถาล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเกลี้ยง มีมือจับออกตามซอกใบ

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ มี 3-5 แฉกตื้นๆ ปลายใบแหลม เป็นติ่ง โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบสากด้านล่าง มีต่อม 3-8 ต่อมใกล้โคนใบ ขอบใบจักซี่ฟัน มีก้านใบ



ดอก ส่วนมากออกเดี่ยว บางครั้งออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ มี 2-3 ดอก มีก้านดอก กลีบเลี้ยงรูปลิ่มแคบหรือรูปแถบ โค้งออก กลีบดอกรูประฆัง สีขาว ปลายเป็น 5 แฉก รูปไข่ เกสรเพศผู้ 3 อัน
มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน ขนาดเล็ก
ในดอกเพศเมีย รังไข่รูปขอบขนาน มีก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรแยกเป็น 3 แฉก



ผลรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สุกสีแดงสด ยาว. เมล็ดรูปผลแพร์ แบน





ผักตำลึงมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในแอฟริกา อินเดีย และเอเชีย ขึ้นเป็นวัชพืชในหลายประเทศ



ในไทยนิยมปลูกเป็นผักเพื่อรับประทานในครัวเรือน พบได้ตั้งแต่ป่าชายหาด ที่รกร้าง ข้างถนน และชายป่าต่างๆ ระดับความสูงไม่เกิน 100 เมตร



ประโยชน์
ใช้เป็นผักปรุงอาหารหลายอย่าง



สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบ แก้ไข้ โดยเป็นส่วนผสมในยาเขียว
ราก แก้ไข้
ใบสด ทาขยี้แก้คัน ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน
ตำรายากลางบ้าน ใช้ผลแก้เบาหวาน มีรายงานทดลองในสัตว์ ระบุว่าสารสกัดเถาด้วยแอลกอฮอร์ น้ำคั้นผลดิบและผงใบแห้งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
น้ำคั้นจากใบผักตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็นดับพิษร้อน






พืชสกุล Coccinia Cucurbitaceae
สกุล Coccinia เป็นไม้เถาล้มลุก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious) ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะ กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดบนฐานรองดอก อับเรณูหันออก มี 2 พู รังไข่ติดใต้วงกลีบ ผลแบบมีเนื้อหนึ่งหรือหลายเมล็ด (berry)



สกุลผักตำลึงมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน โดยเฉพาะในแอฟริกา ทั่วโลกมีประมาณ 20 ชนิด ในไทยพบเพียงชนิดเดียวคือ ผักตำลึง Coccinia grandis (L.) Voigt



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%BC%D1%A1%B5%D3%C5%D6%A7&typeword=group
สารานุกรมสมุนไพร เล่ม1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ



มีข้อมูลตำลึงในหนังสือปลูกผักไทยได้ทั้งอาการและยาของ รศ.ดร วีณา เชิดบุญชาติดังนี้

รากและใบ มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง สำหรับภายนอก เป็นยาแก้พิษ แก้คัน แก้อักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อยหรือถูกพืชพิษ บำรุงผิวหนัง ดับพิษร้อน รักษาโรคตา แก้ไข้

เมล็ด โขลกผสมน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด

ทั้งต้น ใช้ลดน้ำตาลในเลือด อาจนำมาใช้เป็นยารักษาเบาหวาน แก้โรคผิวหนัง

ผล แก้เบาหวาน



ใบ ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง ต้องกินสดหรือไม่ใช้ความร้อนสูง เพราะเป็นเอนไซม์มิเลส ( amylase) ซึ่งสลายตัวเมื่อถูกความร้อน

น้ำคั้นจากใบสามารถแก้อาการแพ้ แก้คัน ลดอาการปวดแสบปวดร้อน ใช้ทาซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกว่าจะหาย ใช้ได้ดีเมื่อถูกมดคันไฟกัด แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ ใช้ต้มดื่มดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ



หัว ต้มดื่ม ดับพิษ แก้ตาฟาง ลดไข้ แก้อาเจียน

ดอก ตำพอกหรือทาแก้คัน

น้ำยางในทุกส่วน แก้โรคเบาหวาน



หมายเหตุ
ตำลึงมีทั้งตำลึงตัวผู้และตำลึงตัวเมีย

ตำลึงตัวผู้หรือผักแคบ ใช้ใบปรุงเป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใบสดตำละเอียด ทารักษาอาการปวดแสบปวดร้อนหรือคัน และใช้เถาทำเป็นยาเย็นดับพิษต่าง ๆ

ใช้ใบสด 2 กำมือตำให้ละเอียด ผสมดินสอพอง 1 ต่อ 4 ส่วน ทาแก้เริมหรืองูสวัด








ตำลึงตัวเมีย



ตำลึงตัวผู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น