วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง



เถาวัลย์เปรียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens ( Roxb ) Benth.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เครือตาปลา, เครือตับปลา (อีสาน), เครือเขาหนัง, เถาวัลย์เปรียงแดง, เถาวัลย์เปรียงขาว, ย่านเหมาะ (นครศรีธรรมราช เถาตาปลา (นครราชสีมา) พานไสน (ชุมพร)




เถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ พาดพันตามต้นไม้อื่น เถาใหญ่มักจะบิด มีใบดกหนาทึบ ยอดอ่อนและช่อดอกมีขน



ใบ
ใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยรูปรี ขอบขนานหรือรีแกมรูปหอกกลับ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย ปลายแหลมน้อย ๆ




ดอก
เป็นช่อพวงระย้าสีชมพูอ่อนแกมขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งห้อยลง ดอกมีก้านสั้น กลีบดอก 5 กลีบ คล้ายดอกถั่ว รูปร่างและขนาด ต่าง ๆ กัน กลีบรองดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้ 10 อัน




ดอกมักบานพร้อม ๆ กันทำให้ดูขาวไปทั้งต้น
ออกดอก เดือน กันยายน-พฤศจิกายน




ผล
ฝักแบนยาว มี 1-5 เมล็ด

การขยายพันธุ์
โดยเมล็ด และสกัดราก


ถิ่นกำเนิด
ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงออสเตรเลีย
เถาวัลย์เปรียงเป็นพืชที่สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้งจะพอว่าสามารถออกดอกดก แต่ดอกจะมีขนาดเล็กกว่า ปลูกในที่ชุ่มชื้น





ประโยชน์ เถา ใช้เข้ายาขับปัสสาวะ ใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ แก้ปวดเมื่อย

ข้อควรระวัง
เถามีสารที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ถ้าผู้ชายรับประทานนาน ๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระได้

 สารสำคัญ
scandenin , Mallanin และ chandanin


ขอขอบคุณข้อมมูลจาก หนังสือ ไม้ดอกและไม้ประดับ และพรรณไม้ในสวนหลวง ร. ๙




มีข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นดังนี้
สรรพคุณ
ราก : จะมีสารพวก flavonol ที่มีชื่อว่า scadenin, nallanin ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในตำรับยาไทยนั้นเขาใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ

เถา : นำมากินจะมีรสเฝื่อนเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ ลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ใช้สำหรับเด็กเป็นยาที่ดีมาก

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้บางจังหวัดใช้เถานำมาหั่นตาก แล้วคั่วไฟชงน้ำกิน แทนน้ำชา ทำให้เส้น หย่อนรักษาอาการเมื่อยขบ ส่วนใหญ่แล้ว มักนิยมใช้เถาวัลย์เปรียงแดง เพราะมีเนื้อไม้ เป็นสีแดงเรื่อ ๆ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://thaiherb-tip108.blogspot.com/2011/02/blog-post_1135.html




และมีข้อมูลจาก
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/plant/mpri/Q_toawan.shtm

สรรพคุณ
ราก แก้กระษัยเหน็บชา

เถา ขับปัสสาวะ ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อน แก้ปวด แก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคบิด แก้โรคหวัด แก้ไอ ถ่ายเสมหะ ขับเสมหะ ถ่ายเสมหะลงสู่คูถวาร ถ่ายอุจจาระ ขับรดู บีบมดลูก

เอกสารอ้างอิง สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล “สมุนไพร ไม้พื้นบ้าน (2) “ พิมพ์ที่ บริษัท ประชาชน จำกัด กรุงเทพมหานคร 2541 หน้า 290




เถาวัลย์เปรียงเถานี้พาดพันอยู่กับต้นสะแก  พลอยโพยมขับรถผ่านในวันที่จะไปหาญาติคนหนึ่งแถบวัดผาณิตาราม หากไม่รู้จักต้นเถาวัลย์เปรียงมาก่อน ก็คงผ่านเลยไปเพราะต้นสะแกต้นนี้สูงมากเกินระดับสายตาของผู้ขับรถ  เผอิญมีช่อล่าง ๆ ที่ย้อยห้อยลงมาและพลอยโพยมรู้จัก จึงหยุดรถและถอยรถกลับมาตั้งไกลเพื่อถ่ายภาพ  แต่ได้ภาพชัดมาเพียงสองสามภาพที่อยู่ต่ำ ๆ เท่านั้น น่าเสียดายว่าพลอยโพยมมาช้าไปสองสามวัน  ดอกเถาวัลย์เปรียงร่วงลงกับพื้นมากแล้วกำลังใกล้จะโรยรา  เถาวัลย์เปรียงนี้มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แต่เพราะบานพร้อมกันทีเดียวทั้งต้นจึงส่งกลิ่นให้เจ้าของหรือผู้มาเยี่ยมเยียนได้ชื่นใจกับกลิ่นที่หอมระรินโชยมาตามลม



พลอยโพยมเคยปลูกเถาวัลย์เปรียงไว้ที่บ้าน ปลูกได้ประมาณ 2-3 ปี ก็ถูกพี่ชายฟันทิ้ง เพราะเลื้อยระรานต้นไม้อื่นไปทั่ว แม้พลอยโพยมจะแย้งว่าเวลาออกดอกจะงดงามมากก็ตามที เผอิญเถาวัลย์เปรียงเลื้อยไปคลุมต้นมะขามเทศมันฝักใหญ่พันธุ์ใหม่ของโปรดของแม่ละม่อมถึงสองต้นไม่รวมต้นไม้อื่น  พลอยโพยมก็เห็นด้วยว่าถ้าปล่อยไว้คงไม่มีฝักมะขามเทศเก็บมาให้แม่ละม่อมแน่ก็เลยจำยอม   แม่ละม่อมเป็นคนปลูกต้นมะขามเทศอุตส่าห์รดน้ำพรวนดินอย่างดี เวลาให้ฝักก็มีไม่กี่ฝักเองแต่แม่ละม่อมก็ชื่นอกชื่นใจว่าปลูกแล้วได้กินผลผลิตที่ปลูกเองกับมือ

เจ้าของบ้านที่ปลูกเถาวัลย์เปรียงเดินอยู่ในรั้วบ้านพอดี พลอยโพยมก็เลยทักทายขออนุญาต นอกจากจะใจดีว่าเชิญเลยครับยังใจดีเปิดประตูรั้วให้เข้าไปถ่ายมุมที่มีดอกเยอะ และบอกว่าปีหน้าให้รีบมาถ่ายตอนดอกกำลังเพิ่งบานโดยบอกช่วงเวลาไว้เสร็จสรรพ  พาไปดูโคนต้นด้วยและบอกแถมท้ายไว่ว่าคุณมาช้าไปเพราะดอกโรยหมดแล้ว

น้ำใจไมตรีอย่างนี้้ยังมีอยู่ที่ตำบลบางกรูดของพลอยโพยม แม้เราจะไม่ได้รู้จักกันมาก่อนเลยก็ตามที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น